โครงการดังกล่าว เป็นการดำเนินการเพื่อสร้างคุณค่าร่วมกัน (Creating Shared Values : CSVs) ให้ธุรกิจและสังคมเติบโตไปพร้อม ๆ กันอย่าง ‘ยั่งยืน’ ตาม 6 แนวทาง ประกอบด้วย
แนวทางที่ 1 Community – พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
แนวทางที่ 2 Inclusion – การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม
แนวทางที่ 3 Talent – พัฒนาศักยภาพที่เป็นเลิศของบุคลากร
แนวทางที่ 4 Circularity – ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน
แนวทางที่ 5 Climate – การฟื้นฟูสภาพอากาศ
แนวทางที่ 6 Nature – การอนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ปัจจุบันเซ็นทรัล ทำ ได้ดำเนินงานใน 44 จังหวัด โดยปี 2567 ได้สร้างงานและสนับสนุนอาชีพให้แก่คนพิการกว่า 1,100 คน, สร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 1,700 ล้านบาท, ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในชุมชนมากกว่า 150,000 ราย, สนับสนุนและพัฒนาโรงเรียน 192 แห่ง, เพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูป่ากว่า 19,385ไร่
ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารกว่า 19,254 ตัน, ลดปริมาณขยะที่เข้าสู่หลุมฝังกลบกว่า 43,663 ตัน, ติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 1,430 สถานที่, ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา 215 แห่ง และผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากถึง 207,176 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า ในปี 2568 เซ็นทรัล ทำยังเดินสานหน้าต่อภารกิจอย่างต่อเนื่อง ด้วยหลักคิดที่ว่า เน้น ‘คุณภาพ’ มากกว่า ‘ปริมาณ’ โดยพยายามสร้างให้แต่ละชุมชนที่เข้าไปให้กลายเป็น ‘ชุมชนแข็งแรง’ อย่างยั่งยืน มากกว่าจะเน้นเพิ่มจำนวนชุมชนหรือจำนวนจังหวัดให้มากขึ้น
สำคัญไปกว่านั้น ทุกที่ที่เซ็นทรัล ทำ เข้าไป ชาวบ้านต้องร่วมมือและลงมือทำไปด้วยกัน เพื่อให้พวกเขารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ เกิดความภูมิใจ และพร้อมใจกันช่วยพัฒนาต่อได้ในระยะยาว ซึ่งแต่ละที่จะมีการตั้ง KPI วัดความสำเร็จจาก Pain Point ของแต่ละพื้นที่
“ก่อนเราจะเข้าไปทำโครงการที่ไหน เราจะลงไปสัมผัสในพื้นที่นั้นก่อนว่าเป็นอย่างไร มี Pain point อะไร โดยเราจะเริ่มจากจังหวัดที่มีธุรกิจของเซ็นทรัล เพราะเราต้องใช้คนในเซ็นทรัลเป็นคนทำ และดึงให้ทุกคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมสร้างการพัฒนาแบบยั่งยืน”
1.จังหวัดน่าน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลบัวใหญ่ อ.นาน้อย ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปลูกไม้ยืนต้น ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และพัฒนาผลผลิตเพื่อเตรียมเข้าสู่การจดทะเบียนเป็นสินค้า GI (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) เช่น ฟักทองพันธุ์ไข่เน่า โกโก้ มะม่วงหิมพานต์ รวมถึงส่งต่อไปยังธุรกิจในเครือกลุ่มเซ็นทรัล เช่น ท็อปส์ ฯลฯ โดยในปี 2567 สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชน 10 ล้านบาท
ด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมสร้างฝาย แหล่งน้ำ ระบบกระจายน้ำ ช่วย 50 ครัวเรือนทำเกษตรอินทรีย์ ลดภัยแล้ง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 2,800 ไร่ ส่วนด้านการศึกษา พัฒนาโรงเรียนชุมชนบ้านอ้อยครบวงจร สนับสนุนห้องเรียน ICAP ทักษะ EF, STEM, ห้องสมุด จัดตั้งห้องทักษะอาชีพ สนับสนุนห้องกีฬาปันจักสีลัต และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
2.จังหวัดอยุธยา ความสำเร็จของเกษตรกรบ้านหมู่ใหญ่ใน หรือ ‘กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมล่อนหมู่ใหญ่ร่วมใจพัฒนา’ ต.คู้สลอด อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ผลิตเมล่อนภายใต้ชื่อ Smile Melon” สามารถเปิดช่องทางการขายในตลาดไปยังประเทศสิงคโปร์ และยังคงมียอดการสั่งต่อเนื่องมาถึงปี 2568 รวมยอดที่ส่งออกไปสิงคโปร์ 25.2 ตัน รายได้รวม 2 ล้านบาท
ด้านสิ่งแวดล้อม เน้นยกระดับการจัดการของเสียทางการเกษตร โดยฟาร์มเมล่อนหมู่ใหญ่ร่วมใจพัฒนานำเมล่อนที่เน่าเสียมาเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงไก่ โดยมีแผนขยายโครงการไปยังชุมชนเกษตรและโรงเรียน รวมถึงเพิ่มการใช้ประโยชน์จากของเสียทางการเกษตร เช่น ฟางข้าวและผักตบชวา ฯลฯ
นอกจากนี้ได้พัฒนาโรงเรียนวัดหนองไม้ซุง สนับสนุนฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิส และความเป็นอยู่ของนักเรียน พร้อมขยายเครือข่ายคนพิการเข้าสู่โครงการส่งเสริมอาชีพ โดยมีเป้าหมายปี 2568 ต้องการขยายเครือข่ายคนพิการที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพให้มากขึ้น
3.จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีชีวิตยั่งยืนแม่ทา อ.แม่ออน ได้พัฒนา ‘พื้นที่วิถียั่งยืนแม่ทา’ ตั้งแต่ปี 2560 สร้างเกษตรอินทรีย์ต้นแบบและผลักดันคนรุ่นใหม่สู่บทบาทเกษตรกรรุ่นใหม่ พร้อมสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารอบรมห้องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ อาคารคัดบรรจุผักมาตรฐาน อย. ตลอดจนรถขนส่งห้องเย็น ฯลฯ
นอกจากนี้ได้ดำเนินการจัดการขยะ ณ ตลาดจริงใจ แปรรูปขยะอินทรีย์ 7.52 ตัน เป็นปุ๋ยและก๊าซชีวภาพ รีไซเคิลวัสดุ 8.74 ตัน เตรียมเปิดศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการขย ปี 2568 และพร้อมขยาย “กาแฟสร้างป่า” ที่แม่แจ่ม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,570 ไร่ ในปี 2568 จะเริ่มดำเนินโครงการความริเริ่มไม่เผา Zero Burning Initiatives ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อต่อสู้กับมลพิษ PM2.5 ในเชียงใหม่ เป็นต้น
4.จังหวัดชัยภูมิ วิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจบ้านเทพพนา อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เป็น 1 ใน 7 ของผู้ปลูกอะโวคาโด พันธุ์แฮสส์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสายพันธุ์คุณภาพระดับโลกสู่เกษตรอัจฉริยะแบบยั่งยืน และเพาะเห็ดเรืองแสง สิรินรัศมี เพื่อแก้ปัญหาโรคพืชในการปลูกอะโวคาโด ซึ่งในปี 2567 ที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชน 40 ล้านบาท และขยายผลเครือข่ายผู้ปลูกอะโวคาโดเป็น 1,000 ราย
นอกจากนี้ ได้พัฒนาต่อยอดด้านการท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตรอินทรีย์ ร่วมกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด โดยสร้างศูนย์การเรียนรู้ 2 อาคาร สามารถรองรับผู้เข้าอบรมและนักท่องเที่ยวรวมทั้งหมด 14,000 คน โครงการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวและส่งเสริมนวัตกรรมเกษตรยั่งยืน ครอบคลุม 5,000 ไร่ ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรมและรายได้ไม่มั่นคง โดยส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง เช่น อะโวคาโด, แมคคาเดเมีย, ทุเรียน และกาแฟโรบัสต้า เป็นต้น
]]>“หัวใจสำคัญของเซ็นทรัล ทำ คือได้ขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า และสะท้อนถึงแนวคิดการเติบโตของธุรกิจต้องเดินไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เช่น ชุมชน คู่ค้า ลูกค้า หรือพนักงาน นำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน” พิชัยทิ้งท้าย
พบกับเซ็นทรัล ทำ พาวิลเลียนภายใต้คอนเซ็ปต์ “ข้าวดี ชีวิตดี” ภายในบริเวณงาน “Thailand Rice Fest 2023” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-17 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ชั้น LG ฮออล์ 6 และพร้อมจำหน่ายข้าวทั้ง 11 สายพันธุ์พื้นเมืองที่ร้าน Good Goods สาขาเซ็นทรัลเวิลด์หรือทาง www.centraltham.com/rice-fest
พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า
“ข้าว มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ข้าวบางชนิดมีคุณประโยชน์ในการรักษาและป้องกันโรค ถือว่าเป็นสินค้าเกษตรอันดับ 1 ของไทย และมีการส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ สามารถสร้างรายได้ให้กับคนไทย รวมทั้งสร้างความยั่งยืนให้ประเทศ และยังมีคุณค่าในตัวเอง อีกทั้งยังเป็นความร่วมมือร่วมใจ ร่วมกันลงมือทำในการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งนับว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” ได้ลงไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้านและสอนให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้คุณภาพของข้าวที่ดี โดยในครั้งนี้ “เซ็นทรัล ทำ” ได้นำสายพันธุ์ข้าวกว่า 11 สายพันธุ์ มาจาก 9 ชุมชน7 จังหวัด ทั่วประเทศ ซึ่งมีเอกลักษณ์ด้านรสชาติและคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ที่เซ็นทรัล ทำ พาวิลเลียนภายใต้คอนเซ็ปต์ “ข้าวดี ชีวิตดี” ภายในบริเวณงาน “Thailand Rice Fest 2023” ณ ฮออล์ 6 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์”
โดยภายในงาน “เซ็นทรัล ทำ” พาวิลเลียนแบ่งออกเป็น 5 โซน ดังนี้
นอกจากนี้ภายในงานยังมีบริการห่อของขวัญในรูปแบบสไตล์ญี่ปุ่น ฟุโรชิกิด้วยผ้าพิมพ์ลายที่ทำขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะในงานทั้งหมด 3 ลาย 1. วิถีข้าว เรื่องเล่าจากชาวนา 2.กิน กับ ข้าวและ 3.ผืนดิน ถิ่นเดิมซึ่งทั้ง 3 ลายได้แรงบันดาลใจมาจาก นาข้าว วัฒนธรรมการปลูกข้าว และการกินอยู่สามารถนำไปมอบเป็นของขวัญเนื่องในโอกาสพิเศษ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามข้อกำหนด และยังมีส่วนลดพิเศษอีกมากมาย
ทั้งนี้ สามารถรับคูปองแทนเงินสดในวันงาน มูลค่า 100 บาท ณ จุดลงทะเบียนตรงทางเข้า ฮออล์ 2 ตั้งแต่ 10 โมงหรือจนกว่าคูปองจะหมดและซื้อสินค้าภายในบูธ CMG Hall 8 (ขั้นต่ำ 500 บาท) จะได้รับคูปองแทนเงินสด 100 บาท เพื่อใช้จ่ายภายใน เซ็นทรัล ทำ พาวิลเลียน ระหว่างวันที่ 14-17 ธันวาคม 2566
มาสัมผัสข้าวหลากสายพันธุ์ที่ เซ็นทรัล ทำ พาวิลเลียนภายในงาน Thailand Rice Fest 2023 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ชั้น LGฮออล์ 6 ประตูเปิดเวลา10.00-20.00 น.ตั้งแต่วันนี้-17 ธันวาคม 2566
]]>ทั้งนี้การยกทีมผู้บริหารลงพื้นที่ ณ หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เกาะชินโชกุประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการซึมซับแนวคิด Zero Waste และกระบวนการจัดการขยะที่ทรงประสิทธิภาพและต่อเนื่องอย่างการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท ผ่านหลักการพื้นฐานที่ทุกคนทำได้โดยการลดขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) จนกลายเป็นเมืองต้นแบบปลอดขยะระดับโลกพร้อมนำมาต่อยอดการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า
“นโยบายหลักของเรา นอกจากสร้างมาตรฐานของสินค้า บริการ นวัตกรรม และการดูแลลูกค้าอย่างเป็นเลิศแล้ว ยังมีภารกิจในการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม สนับสนุนสู่ Sustainable Nation โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ใน 2 แกนหลัก คือ 1) ลดผลกระทบผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ 2) ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัด E-Waste อย่างถูกวิธี เพราะการมาถึงของ Digital ส่งผลให้เกิดขยะ E-Waste มากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาระดับโลก เช่นกรณีมูลค่าขยะ E-Waste ที่ถูกเผาทำลายมีมากถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลับมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและรีไซเคิลได้เพียง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ปริมาณที่สูญหายในระหว่างทางนั้นมีอยู่มหาศาลและสามารถส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหากกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง”
“จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนภารกิจคนไทยไร้ e-waste ในปี 2562 เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี 2563 รณรงค์และเป็นช่องทางรับทิ้ง E-Waste ได้สะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น ผ่านศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัลที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 37 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงร้าน Power Buy ผู้นำธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที มือถือ แกดเจ็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร รวม 40 สาขาทั่วประเทศ และผ่าน Application E-Waste Plus ที่เพิ่มเติมเข้ามา อันเป็นการร่วมเสริมพลังกับ 190 องค์กร ขับเคลื่อน HUB of e-waste ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแห่งแรกของไทย ที่มีทั้งความรู้ เครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ การขยายจุดรับทิ้งให้ครอบคลุม การบริการด้านการขนส่ง และการรีไซเคิลสู่กระบวนการ Zero e-waste to landfill ได้ในท้ายที่สุด”
พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า
การจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากตัวเราเองที่ต้องทำทุกวันและต่อเนื่องจนเป็นนิสัย และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสำเร็จได้ต้องร่วมมือกันทำจากทุกภาคส่วน จึงเป็นที่มาของการผนึกกำลังกันระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล และ เอไอเอส ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนาน การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการสานต่อจากโครงการ การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ซึ่งทางกลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นสานต่อเจตนารมณ์ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทำ – ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ” โครงการเพื่อความยั่งยืนดำเนินการโดยกลุ่มเซ็นทรัลผ่าน 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน
การเดินหน้าภารกิจศึกษาแนวคิด และกระบวนการจัดการขยะในครั้งนี้ ทั้ง 2 บริษัทเห็นพ้องตรงกันว่า เราจะร่วมมือกันทำ ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากเห็นประเทศไทยมีโมเดลต้นแบบในการ คัด แยก ทิ้งขยะ ได้อย่างถูกที่และถูกวิธีและยังเป็นการลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาอีกมากมาย พร้อมสร้างพฤติกรรมการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นถัดไป
กรณีศึกษา Kamikatsu Zero Waste เมืองคามิคัตสึ
คามิคัตสึ เป็นเมืองในจังหวัดโทคุชิมะ ที่ตั้งอยู่บนเกาะชิโกกุทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น มีประชากรเพียง 1,401 คน หรือ 734 ครัวเรือน (ตัวเลข ณ วันที่ 1 ต.ค. 2023) โดยมีสัดส่วนเป็นผู้สูงอายุ เป็น 52.25%
เมืองคามิคัตสึ มีพื้นที่ขนาด 109.63 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ป่าไม้ 88% และ 80% เป็นป่าปลูก) มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-700 เมตร
โดยที่เมืองคามิคัตสึ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องปลอดขยะ และการจัดการขยะอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นต้นแบบการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่เรียนรู้ของคนที่รักสิ่งแวดล้อม เริ่มทำโครงการ Zero Waste ตั้งแต่ปี 2003 มีการแยกขยะอย่างจริงจัง ส่งไปรีไซเคิล หรือรียูสได้
ในปี 2020 สามารถทำให้ขยะเป็นศูนย์ได้ราว 80% โดยมีกระบวนการเอาไปรียูส รีไซเคิล ส่วนอีก 19% ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ต้องนำไปฝังกลบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มหนังยางรัดแกง รองเท้า ของที่แยกชิ้นส่วนไม่ได้ และขยะอันตราย เช่น ผ้าอ้อม หน้ากากอนามัย ทิชชู และขยะปนเปื้อนต่างๆ
Zero waste หรือขยะเป็นศูนย์ หมายถึง การกำจัดของเสียและขยะ แต่สำหรับเมืองคามิคัตสึไม่เพียงหมายถึงการจัดการขยะเท่านั้น แต่ยังหมายถึงวิธีคิดที่จะไม่สร้างขยะตั้งแต่เริ่มแรก
ประวัติศาสตร์ของ เมืองคามิคัตสึ
1974 โรงบำบัดดินส่วนเกินฮิบิกาทานิถูกใช้เป็นโรงบำบัดขยะชั่วคราว
1991 มีการให้เงินอุดหนุนสำหรับซื้อถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 3,100 เยน) จนถึงปี 1999
1994 จัดทำแผนเมืองรีไซเคิลคามิคัตสึ
1995 มีการอุดหนุนการซื้อเครื่องกำจัดขยะไฟฟ้า (Gomi nice) สำหรับครัวเรือน (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 10,000 เยน)
1996 ปิดโรงบำบัดขยะฮิบิกาทานิบางส่วน (ยกเลิกในส่วนการฝังกลบขยะที่เผาไม่ได้และขยะขนาดใหญ่)
1997 เปิดสถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิ และเริ่มการคัดแยกขยะออกเป็น 9 ประเภท
1998 ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก 2 แห่ง และปิดสถานที่เผาขยะฮิบิกาทานิ (เผาขยะกลางแจ้ง)
2001 ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก เริ่มจัดระบบการคัดแยกเป็น 33 หมวดหมู่ (หลังจากปีนี้ไม่นานก็ได้เพิ่มเป็น 35 หมวดหมู่) ที่สถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน
2003 ออกปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste)
2005 เปิดตัวองค์กรไม่แสวงหากำไร (NPO) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ขยะเป็นศูนย์ ชื่อ Zero Waste Academy
2006 เปิดศูนย์ส่งเสริมการซื้อสินค้าใช้ซ้ำ Kurukuru Shop
2007 เปิดร้านรีเมค Kurukuru Kobo แหล่งรวบรวมสินค้ารีไซเคิล
2008 เริ่มมีการให้เช่าอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่ใช้แล้วนำไปใช้ซ้ำ
2013 เริ่มแคมเปญสะสมคะแนน Chiritsumo (เป็นคะแนนที่ได้จากจากการคัดแยกกระดาษต่างๆ ฯลฯ และดัดแปลงเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน)
2016 เปลี่ยนจำนวนหมวดหมู่การคัดแยกขยะอย่างเป็นทางการ จาก 34 ประเภทเป็น 13 ประเภท และ 45 หมวดหมู่สามารถทำยอดรีไซเคิลขยะได้ในอัตราสูงกว่า 80% เป็นครั้งแรก
2017 ริเริ่มการให้การรับรองขยะเป็นศูนย์เริ่มการทดสอบการขายขยะตามน้ำหนักเริ่มนำเสนอเซ็ตผ้าอ้อมที่ทำจากผ้า
2018 เริ่มรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก
2020 ก่อสร้างศูนย์ Kamikatsu-cho Zero Waste Center เพื่อช่วยกำจัดขยะเมืองคามิคัตสึให้เป็นศูนย์เสร็จสมบูรณ์
ปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ของเมืองคามิคัตสึ
17 ปีหลังจากออกปฏิญญา Zero Waste ในปี 2003 คนในชุมชนทุกคนได้ร่วมกันลดขยะในเมืองคามิคัตสึและได้พิสูจน์ตนเองด้วยสถิติรีไซเคิลขยะได้ในอัตรามากกว่า 80% ซึ่งความท้าทายในการร่วมกันกำจัดขยะของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ได้ดึงดูดความสนใจจากคนทั่วโลก และได้ปูทางเมืองแห่งนี้ไปสู่สังคมที่ยั่งยืนโดยเมืองคามิคัตสึมีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้มีความงามทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่ที่ทำให้ทุกคนมีความสุข และสามารถเติมเต็มความฝันของพวกเขาได้ และในฐานะผู้บุกเบิกเรื่องขยะเป็นศูนย์ เมืองคามิคัตสึก็ได้ประกาศนโยบายขยะเป็นศูนย์อีกครั้ง ผ่านเป้าหมายหลัก “การคิดถึงอนาคตของสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลาน ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล และส่งเสริมผู้อื่นให้ร่วมลงมือ” โดยตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายภายในปี 2030
เมืองคามิคัตสึดำเนินโครงการริเริ่มการรีไซเคิลอย่างทั่วถึงเพื่อบรรลุสังคมขยะเป็นศูนย์ โดยสื่อสารปรัชญาและความคิดริเริ่มขยะเป็นศูนย์ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มเปอร์เซ็นต์คนที่มีความคิดไปในแนวเดียวกันในสังคม
]]>บุษบาเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหาระดับสูงฝ่ายจัดซื้อของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และเซน โดยที่ในปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสื่อสารองค์กร กลุ่มเซ็นทรัล มีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการเพื่อสังคมต่างๆ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืน
แพชชั่นของบุษบาเน้นที่ 3 มิติใหญ่ๆ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสตรี เด็ก และชุมชน ภายใต้โครงการเพื่อสังคมหลักของกลุ่มเซ็นทรัล
เซ็นทรัล ทำ (CENTRAL THAM) เป็นโครงการเพื่อสังคมหลักของกลุ่มเซ็นทรัลที่ชวนทุกคนร่วมมือกัน ทำ ภายใต้แนวคิด Creating Shared Values (การสร้างคุณค่าร่วม) เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงานและสังคมอย่างยั่งยืน
5 โครงการเด่นในมิติ 3 ด้าน ได้แก่ สตรี เด็ก ชุมชน ภายใต้ “เซ็นทรัล ทำ”
SME ไทยในปัจจุบัน มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี มีสินค้าส่งออกเดือน มิ.ย. 65 เพิ่มขึ้น 37.7% โดยอันดับ 1 คือ ผลไม้ รองลงมา คือ อัญมณีและเครื่องประดับ SME มีจำนวนมากขึ้นและยังต้องการช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ต้องการเวทีสำหรับการจัดแสดงและเผยแพร่สินค้าของไทยให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งปัจจุบันยังมีไม่มากนัก
กลุ่มเซ็นทรัล สนับสนุนพื้นที่ในการจำหน่าย และจัดแสดงสินค้าไทย สนับสนุนผลิตภัณฑ์ ยกระดับแบรนด์ไทยออกสู่ตลาดโลก ตั้งแต่ ปี 2557 กลุ่มเซ็นทรัล ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ค้าปลีกสู่ชุมชน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จนเป็นสินค้าคุณภาพ และนำมาจำหน่ายในร้านค้าในเครือกลุ่มเซ็นทรัล ภายใต้โครงการสินค้าชุมชน
ได้ต่อยอดความช่วยเหลือด้วยการเปิด ท็อปส์ ท้องถิ่น ดำเนินงานโดยเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม และวิสาหกิจขนาดเล็ก สมัครเพื่อนำเสนอสินค้าในหมวดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีความโดดเด่น ผ่าน www.topstongtin.com โดยสินค้าที่ได้รับคัดเลือกจะได้วางจำหน่ายในร้านค้าเครือเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ในรูปแบบออมนิแชแนล โดยท็อปส์จะทำหน้าที่เสมือนพาร์ตเนอร์ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ เพื่อยกระดับสินค้าให้ไปไกลระดับประเทศ
รวมไปถึงเปิดตัวจริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต แหล่งรวมผัก ผลไม้ปลอดภัย ปลอดสารพิษ และของดีประจำจังหวัด จากเกษตรกรท้องถิ่น ปัจจุบันมี 32 สาขา ทั่วประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ให้เกษตรกรชุมชนไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท
ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าในปี 2563 ผู้หญิงไทยป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 18,000 คนต่อปี มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมราว 4,800 คน ตก 13 คนต่อวัน สถิติจากองค์กรอนามัยโลก พบว่าปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกประมาณ 2.3 ล้านคน เสียชีวิตราว 685,000 คนต่อปี พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ทั้งการกิน ความเครียด การพักผ่อน การออกกำลังกาย
โครงการนี้ได้ช่วยเหลือผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการรักษาหรือตรวจวินิจฉัย ตั้งแต่ปี 2548 โดยเฉพาะกลุ่มมะเร็งในสตรี ระดมทุนจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับหน่วยงานที่ต้องการ, ปรับปรุง-ก่อสร้างอาคาร และร่วมคืนความมั่นใจให้ผู้ป่วยที่รักษาด้วยเคมีบำบัด ด้วยการเชิญชวนบริจาคเส้นผมเพื่อผลิตวิกผม
ที่ผ่านมาได้ส่งมอบเครื่องมือ-อุปกรณ์ทางการแพทย์และปรับปรุงอาคาร มอบให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สถาบันมะเร็งเต้านมแห่งชาติ 5 ปี, มูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติฯ โครงการบ้านพิงพัก 4 ปี, มูลนิธิถันยรักษ์ฯ 2 ปี ระดมเงินช่วยเหลือไปแล้ว 36 ล้านบาท ตั้งเป้าปี 2565 ระดมทุนเพิ่มอีก 2 ล้าน รวมเป็นเงิน 38 ล้านบาท ต่อยอดแนวคิดสู่การเปิด Healthiful, Tops Green จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ทั้งของกิน ของใช้
งานวิ่งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล กรุงเทพมหานคร, สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และกองทัพบก เป็นธุรกิจค้าปลีกคนแรกที่ริเริ่มกิจกรรมวิ่งมินิมาราธอนการกุศล ตั้งแต่ปี 2550 อีกทั้งยังเป็นงานวิ่งใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุด และเป็นรายการวิ่งที่นักวิ่งให้ความสนใจใช้เป็นสนามซ้อมเพื่อพัฒนาไปสู่ฮาล์ฟมาราธอน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่หน้าลานเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
ที่ผ่านมาได้โปรแกรมวิ่งการกุศลที่จัดมาอย่างยาวนานถึง 14 ปี มียอดจำหน่ายบัตรวิ่งสะสมมากกว่า 1 แสนใบ รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย สมทบทุนเพื่อการกุศลมากกว่า 10 ล้านบาท เตรียมขยายการจัดงานในจังหวัดต่างๆ ให้เป็นโปรแกรมวิ่งซิกเนเจอร์ที่นักวิ่งรอคอย
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เผยว่าปี 64 มี ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว 1,492 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 81% ซึ่งมักไม่ดำเนินคดี สูงถึง 78% เป็นการทำร้ายร่างกาย มากที่สุดถึง 64.5% รองลงมาคือ จิตใจ 31.4% และเรื่องเพศ 3.6%
กลุ่มเซ็นทรัลได้ส่งมอบ “ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ” ศูนย์บริการแบบครบวงจรที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทั้งจากครอบครัวและสังคม โดยมอบเงินสนับสนุน จำนวน 5.8 ล้านบาท
ที่ศูนย์นี้ให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจชันสูตร, งานชันสูตรผู้ป่วยคดี, การตรวจร่างกาย การเก็บหลักฐานและวัตถุพยาน, การบำบัดฟื้นฟูทางจิตใจ และสังคมจากพยาบาล, นักสังคมสงเคราะห์, นักจิตวิทยา, แพทย์นิติเวช และคุ้มครองสวัสดิภาพ เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับความปลอดภัย เพื่อให้สามารถกลับมามีกำลังใจที่เข้มแข็ง และใช้ชีวิตได้
ในแต่ละปีมีผู้ร้องเรียนผ่านศูนย์พึ่งได้ฯ ในแต่ละปีกว่า 800 คน ผ่านช่องทางโทรศัพท์ 02-252-1175 และ Facebook : Because We Care
จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว กระทบต่อ เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจ ในปี 2564 เยาวชนถูกหลุดออกจากระบบการศึกษาหลังเปิดเทอมใหม่แล้วกว่า 10%
กลุ่มเซ็นทรัล และกองทัพบก สานต่อโครงการ Million Gifts Million Smiles ปีที่ 13 โดยการส่งมอบความรักความห่วงใย ผ่านของขวัญจากคนไทยทั้งประเทศ เพื่อมอบให้เด็ก และเยาวชนเพื่อสร้างรอยยิ้มกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนใต้ เป็นการส่งมอบกำลังใจและปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการให้สู่เยาวชน
ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา มีของขวัญส่งถึงน้องๆ ในจังหวัดชายแดนใต้รวมกว่า 2.2 ล้านชิ้น มีเป้าหมายจำนวนทุนการศึกษาระดับมัธยมต้น ต่อเนื่อง 6 ปี ปีละ 240 ทุน (ตั้งแต่ปี 2564 – 2569)
]]>