เทเลนอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 21 Jan 2025 12:45:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลสำรวจชี้ ‘คนไทย’ ใช้ AI ทำงานน้อยสุดในอาเซียน เพราะ ‘กลัวถูกแย่งงาน’ และมองว่าคนใช้ AI = ‘ขี้โกง’ https://positioningmag.com/1507418 Tue, 21 Jan 2025 12:12:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1507418 ไทยถือเป็นประเทศที่ชั่วโมง ออนไลน์ มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังมีมุมมองที่ บวก เกี่ยวกับ เอไอ อย่างไรก็ตาม คนไทยแม้จะมองบวกเกี่ยวกับเอไอ แต่ก็เป็นการใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่าจะใช้มาทำงาน เพราะยังมีความกลัวว่าเอไอจะมาแย่งงาน

เทเลนอร์ เอเชีย (Telenor Asia) ได้ทำรายงาน Digital Lives Decoded 2024 ของประเทศไทย เพื่อเจาะลึกถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและทัศนคติด้านดิจิทัลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยพบว่า ชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานชาวไทยนั้นถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล โดย คนไทยใช้เวลาออนไลน์เกือบ 5 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ที่ 4 ชั่วโมง 35 นาที โดยเจนเนอเรชั่นที่มีการออนไลน์มากที่สุด ได้แก่

  • Gen Z – 5.42 ชั่วโมง/วัน
  • Millennials – 5.13 ชั่วโมง/วัน
  • Gen X – 4.28 ชั่วโมง/วัน
  • Baby Boomers – 3.49 ชั่วโมง/วัน

มอง เอไอ เป็นเรื่องดี แต่ไม่ใช้ทำงานนะ

ในส่วนของ เอไอ (Artificial Intelligence : AI) กำลังก้าวขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับวิถีชีวิตของคนไทย โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย เกือบครึ่ง มองว่า อไอเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พวกเขาตื่นเต้นมากที่สุด ที่น่าสนใจคือ คนรุ่นเก่า (Gen X และ Baby Boomers) แสดงความตื่นเต้นเกี่ยวกับเอไอมากกว่าคน Gen Z และ Millennials

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 77% ใช้เครื่องมือเอไอ อยู่แล้ว แต่ส่วนใช้เพื่อ ความบันเทิง โดยมากกว่าครึ่ง ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้เอไอสำหรับโซเชียลมีเดีย และเกือบ 40% มีส่วนร่วมกับเอไอบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง และแม้ว่า 85% จะมองว่าเอไอจะส่งผลดีต่อการศึกษาในประเทศไทยก็ตาม แต่ ไทยยังไม่มีการนำเอไอมาใช้ในการทำงานอย่างที่เป็นรูปธรรมมากนัก

โดยมีคนไทยเพียง 21% ที่ใช้เอไอในการทำงาน เมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งการทำงานเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานมากที่สุด ทั้งที่ไทยเองก็มีเครื่องมือพร้อมในการทำงาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจาก Mindset ที่กลัวว่า เอไอจะมาแทนที่มนุษย์ เนื่องจากเคยมีผลการศึกษาออก ระบุว่า 40% ของชั่วโมงการทำงานจะถูกแทนที่ด้วยเอไอ ทำให้คนไทยรู้สึกว่ากลัวจะตกงาน ทำให้เลือกจะไม่ใช้เอไอ

นอกจากนี้ ยังมีบางส่วนที่มองว่า ไม่รู้จะใช้เอไอทำอะไร อีกทั้งยังมีแนวคิดที่ว่า คนที่ใช้เอไอ ขี้โกง เมื่อเกิดการกลัว ทำให้ ไม่ศึกษา ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทย ไม่มีสกิล ก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรไม่มีวัฒนธรรมที่จะส่งเสริมการใช้เอไอ

“ในความเป็นจริงคือ เอไอไม่ได้มาแทนที่ แต่คนที่ใช้เอไอเป็นจะมาแทนที่”

แนะ 4 ข้อองค์กรเป็น AI First

สำหรับองค์กรที่ต้องการสร้างคนให้มีสกิลในการใช้งานเอไอ มีข้อแนะนำ ดังนี้

  • องค์กรและผู้นำต่องมีวิสัยทัศน์ และการสื่อสารที่ชัดเจน เพื่อขจัดความกลัวของพนักงาน ต้องย้ำให้เห็นว่า เอไอไม่ได้มาแทนที่ แต่มาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • องค์กรต้องให้การศึกษาในทุกระดับ ว่ามีการใช้งานเครื่องมือไหนบ้าง ใช้งานอย่างไร และเครื่องมือไหนเหมาะที่จะนำมาใช้
  • หาพาร์ทเนอร์มาช่วย องค์กรไม่จำเป็นต้องทำเองทั้งหมด แต่ควรหาพาร์ทเนอร์ภายนอกที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเอไอมาช่วย
  • เอาคนเป็นศูนย์กลาง ต้องระลึกว่า เอไอเข้ามาเพื่อช่วยมนุษย์ให้ทำงานดีขึ้น และต้องใช้เอไออย่างมีจรรยาบรรณด้วย

ให้ความสำคัญกับความสบายมากกว่าความเป็นส่วนตัว

แม้ว่าคนไทยจะมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว แต่ผู้ตอบแบบสอบถาม 3 ใน 4 คนรู้สึกว่า ตนเองไม่สามารถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของตนทางออนไลน์ได้ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (68%) ขณะที่การหลอกลวงทางการเงิน และการขโมยข้อมูลส่วนตัวยังเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้น ๆ ของคนไทย โดยอย่างน้อย 1 ใน 2 ของกลุ่มคนยังกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

แม้จะกลัวและกังวล แต่คนไทยกลับ มั่นใจในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของตนทางออนไลน์ และมีแนวโน้มน้อยที่สุดที่จะกังวลเกี่ยวกับวิธีที่บริษัทต่าง ๆ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ โดยมีมากถึงกว่า 38% เทียบกับเพียง 21% ในประเทศสิงคโปร์ และมีแนวโน้มที่จะอนุญาตให้บริษัทเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาเพื่อ แลกกับข้อเสนอและบริการส่วนบุคคล (6 ใน 10 เทียบกับประเทศมาเลเซีย และ 5 ใน 10 เทียบกับประเทศสิงคโปร์) 

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เน้นย้ำถึงความ ย้อนแย้ง ในด้านของความเป็นส่วนตัวทั่วไป โดยขณะที่ผู้คน แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว แต่พวกเขายอมเสียความเป็นส่วนตัวบางส่วนเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย

“การจะแก้ปัญหาดังกล่าวต้องใช้ความร่วมมือจากหลาย ๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการดิจิทัล รวมถึงภาครัฐ และภาคการศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย”

]]>
1507418
‘เอไอเอส’ ไม่ขออยู่เฉยส่งแคมเปญ ‘อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด’ พร้อมอัดส่วนลด 50% ดึงย้ายค่าย https://positioningmag.com/1363591 Tue, 23 Nov 2021 13:59:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363591 ในช่วงสัปดาห์นี้ ในแวดวงโทรคมนาคมคงไม่มีข่าวไหนจะใหญ่ไปกว่าการที่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ dtac จะควบรวมกัน แน่นอนว่าหลังจากมีข่าว หลายคนต่างก็ต้องคิดแล้วว่าการแข่งขันจากนี้จะเป็นอย่างไร และพี่ใหญ่อย่าง ‘เอไอเอส’ (AIS) จะงัดไม้ไหนออกมาสู้

ในตลาดโทรคมนาคมที่ผ่านมา เอไอเอสถือว่าเป็นเบอร์ 1 ที่แข็งแรงมาโดยตลอด หากอ้างอิงจากตัวเลขไตรมาส 3 ปี 64 เอไอเอส มีลูกค้าทั้งสิ้น 43.7 ล้านเลขหมาย มีคลื่นความถี่รวม 1,420 MHz และมีรายได้ รายได้ 130,995 ล้านบาท ขณะที่เบอร์ 2 อย่าง ทรูมูฟ เอช มีลูกค้า 32 ล้านเลขหมาย มีคลื่นรวม 990 MHz มีรายได้ 96,678 ล้านบาท ส่วน ดีแทค มี 19.3 ล้านเลขหมาย มีคลื่นรวม 270 MHz และมีรายได้ 78,818 ล้านบาท

แน่นอนว่าหากทรูและดีแทคควบรวมกันแล้วจะพลิกขึ้นนำเอไอเอสทันที แต่ในส่วนของจำนวนคลื่นความถี่ยังถือว่าน้อยอยู่ ดังนั้น ก่อนที่ทั้ง 2 บริษัทจะควบรวมกันอย่างสมบูรณ์ เอไอเอสก็ไม่รอช้าที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคด้วยการใช้จุดแข็งของ จำนวนคลื่นความถี่ ว่ามีมากที่สุดพร้อมทั้งขยี้ด้วยแคมเปญ อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด

โดยเอไอเอสถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่กวาดเอาดาราตัวท็อปมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ได้มากเบอร์ต้น ๆ ของไทย ไม่ว่าจะ เจมส์ จิรายุ, เป๊ก ผลิตโชค, เวียร์ ศุกลวัฒน์, เบลล่า ราณี, น้องเทนนิส, แบมแบม กันต์พิมุกต์, ลิซ่า ลลิษา และน้อง ๆ BNK48 ดังนั้น เอไอเอสจึงได้ปล่อยภาพเหล่าพรีเซ็นเตอร์เพื่อสื่อสารถึงความเป็น เบอร์ 1 เผยแพร่ลงในโซเชียลทุกช่องทาง โดยในทวิตเตอร์ก็ขึ้นเทรนด์เป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว

ไม่ใช่แค่ย้ำว่า อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด แต่ถ้าย้ายมาอยู่ด้วยกันมันก็จะดีนะ เพราะมีความเห็นในโซเชียลบางส่วน ที่รู้สึกอยากย้ายค่ายหากทรูและดีแทคควบรวมกัน ดังนั้น เอไอเอสจึงอัด โปรย้ายค่าย โดยโปร 4G มีส่วนลด 50% แถมใช้ฟรี 1 เดือนด้วย ส่วนโปร 5G ลด 25%

ก็ไม่รู้ว่ากว่าจะถึงเวลาที่ทรูและดีแทคควบรวมกันเสร็จ เอไอเอสจะสามารถดึงลูกค้าย้ายค่ายไปได้มากน้อยแค่ไหน และไม่รู้ว่าทางทรูและดีแทคจะออกแคมเปญอะไรออกมารักษาลูกค้าไหม หรือจัดหนักทีเดียวตอนควบรวมไปเลย คงต้องรอดูกัน

]]>
1363591
จับตา! ‘เทเลนอร์’ จับมือ ‘ซีพี’ ควบรวม ‘ดีแทค-ทรู’ https://positioningmag.com/1363008 Fri, 19 Nov 2021 10:06:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363008 เทเลนอร์ (Telenor) ร่อนจดหมายแจงกำลังพิจารณาควบรวมกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ผู้โชคดีคือเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นักสังเกตการณ์จับตาการเจรจาจะนำไปสู่การควบรวมกิจการมือถือระหว่างดีแทค (Dtac) และทรู (True) ในอนาคต

ดีแทคนั้นเป็นบริษัทลูกของเทเลนอร์ในประเทศไทย ขณะที่ทรูเป็นธุรกิจด้านสื่อและโทรคมนาคมของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ ล่าสุด รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ และ E24 ระบุว่า เทเลนอร์ได้ส่งเอกสารชี้แจงหลักทรัพย์ (​​stock exchange release) ว่าบริษัทกำลังพิจารณาการควบรวมกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย โดยจะร่วมเจรจากับเครือเจริญโภคภัณฑ์เพื่อก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา

แถลงการณ์ของเทเลนอร์ไม่เพียงชี้ว่า การควบรวมกิจการจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อตั้งบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศ แต่ระบุว่า ยังคงต้องตกลงกันในประเด็นสำคัญ และไม่แน่ใจว่าการเจรจาจะนำไปสู่ข้อตกลงขั้นสุดท้าย รวมถึงกรอบเวลาในเบื้องต้นที่ยังไม่มีการเปิดเผย ดังนั้น ยังไม่มีความแน่นอนว่าการเจรจาครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ โดยจะมีการแถลงความชัดเจนในวันที่ 22 พ.ย.นี้ อีกที

Photo : Shutterstock

ข่าวนี้ทำให้โลกเทความสนใจไปที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือที่เรียกกันในนามซีพี กรุ้ป (CP Group) ซึ่งมีธุรกิจหลากหลายด้านทั้งเกษตรกรรม การค้าปลีก โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เภสัชกรรม และการเงิน จากข้อมูลของบลูมเบิร์ก (Bloomberg) เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าของเครือซีพีนั้นมีตำแหน่งเป็นมหาเศรษฐีระดับโลกที่มีทรัพย์สินมากกว่า 4,800 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ซีพี กรุ๊ปถูกจัดเป็นบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ปัจจุบัน ดีแทคมีฐานลูกค้ารวม 19.3 ล้านราย แบ่งเป็นลูกค้ารายเดือนราว 6.2 ล้านราย และลูกค้าในระบบเติมเงิน 13.1 ล้านราย ในขณะที่กลุ่มทรู มีฐานลูกค้าของทรูมูฟ เอช ราว 32 ล้านราย แบ่งเป็นรายเดือน 10.8 ล้านราย และเติมเงิน 21.2 ล้านราย

ดังนั้น ในกรณีที่เกิดการควบรวมกิจการกันจะทำให้มีฐานลูกค้ารวมมากกว่า 51 ล้านราย และขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทยทันที เนื่องจากปัจจุบันเอไอเอสมีฐานลูกค้ารวมอยู่ที่ 43.7 ล้านราย

โดยหลังจากที่มีความคืบหน้าจากสื่อต่างประเทศออกมา ทั้งทรู และดีแทคต่างส่งจดหมายแจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า หากมีข้อชี้แจงใดที่บริษัทมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทางบริษัทฯ จะแจ้งข้อมูลให้ตลาดหลักทรัพย์ต่อไป

Source

]]>
1363008
ลาแล้ว 1! “เทเลนอร์” ขายกิจการในเมียนมาให้ M1 Group มูลค่า 105 ล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1341445 Thu, 08 Jul 2021 15:09:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341445 เทเลนอร์ (Telenor) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์ได้ขายกิจการในเมียนมาให้บริษัท M1 Group กลุ่มนักลงทุนจากเลบานอนในมูลค่า 105 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่ประเทศที่ตกอยู่ในความโกลาหลวุ่นวายนับตั้งแต่การรัฐประหารในเดือน ก.พ.

“สถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงไปอีกและการพัฒนาล่าสุดในเมียนมาเป็นมูลเหตุสำหรับการตัดสินใจขายบริษัท” เทเลนอร์ระบุในคำแถลง

เทเลนอร์ หนึ่งในนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมาเป็นบริษัทตะวันตกเพียงไม่กี่รายที่เสี่ยงเดิมพันกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้หลังหลุดพ้นจากการปกครองของทหารเมื่อทศวรรษก่อน

เทเลนอร์เริ่มตัดหนี้สูญตั้งแต่เดือน พ.ค. โดยขาดทุนสุทธิ 6,500 ล้านโครน (ราว 752 ล้านดอลลาร์) หลังธุรกิจมือถือถูกจำกัดอย่างรุนแรงหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. และเมื่อวันที่ 15 มี.ค. รัฐบาลทหารได้สั่งปิดข้อมูลมือถือทั่วประเทศ เพื่อให้นักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยจัดการชุมนุม และส่งข้อความสนับสนุนรัฐบาลพลเรือนที่ถูกโค่นล้มได้ยากมากขึ้น

ความรุนแรงนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ได้ผลักดันให้ประชาชนมากกว่า 230,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนของตนเอง และประชาชนมากกว่า 880 คน ถูกกองกำลังความมั่นคงสังหาร และถูกควบคุมตัวอีก 5,200 คน ตามการระบุของสหประชาชาติ

รัฐบาลทหารยังห้ามผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่เดินทางออกจากประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และกำลังกดดันพวกเขาให้ใช้เทคโนโลยีสกัดกั้น ที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบผู้ใช้งานได้ ตามการระบุของแหล่งข่าวที่เปิดเผยกับรอยเตอร์เมื่อต้นสัปดาห์

“สถานการณ์ในเมียนมาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมากลายเป็นความท้าทายมากขึ้นสำหรับเทเลนอร์ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของพนักงาน กฎระเบียบ และการปฏิบัติตาม” ซิกเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเทเลนอร์ กล่าว และว่า การขายกิจการให้ M1 Group จะรับประกันการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์รายนี้ดำเนินงานอยู่ในแถบนอร์ดิก รวมถึงเอเชีย โดย 95% ของลูกค้ากว่า 187 ล้านคนของบริษัท อยู่ในบังกลาเทศ ปากีสถาน ไทย และมาเลเซีย รวมถึงพม่า

บริษัทมีลูกค้าในเมียนมาอยู่ราว 18 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากร 54 ล้านคนของประเทศ

ส่วนบริษัท M1 Group ก่อตั้งขึ้นโดยนาจิบ อัซมี มิคาติ อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน ที่ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท MTN Group ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในแอฟริกา แต่มีการดำเนินงานในเอเชียด้วย

อย่างไรก็ตาม บริษัท M1 อยู่ในบัญชีดำขององค์กร Burma Campaign UK ที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ทางธุรกิจของบริษัทระหว่างประเทศกับกองทัพพม่า และในรายงานปี 2562 ที่ดำเนินการโดยคณะสอบสวนอิสระระหว่างประเทศที่รายงานต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกองทัพพม่า พบว่าบริษัท M1 Group มีหุ้นส่วนในบริษัทที่ให้เช่าเสาสัญญาณมือถือกับบริษัท MEC ที่เป็นกิจการของกองทัพ

Source

]]>
1341445
[ข่าวลือ] “เทเลนอร์” เล็งขายธุรกิจในพม่า หั่นฐานลูกค้า 18 ล้านคน เหตุความไม่มั่นคงในประเทศ https://positioningmag.com/1340600 Sun, 04 Jul 2021 14:35:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340600 สื่อต่างประเทศรายงาน “เทเลนอร์” (Telenor) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์ กำลังเตรียมขายหน่วยธุรกิจในพม่า เป็นการตัดสินใจบอกลาฐานลูกค้ากว่า 18 ล้านคนเพราะปัญหาความไม่มั่นคงในพื้นที่

สำนักข่าวทีเอ็มทีไฟแนนซ์ (TMT Finance) รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 64 ระบุว่า เทเลนอร์ได้จ้างสถาบันการเงินอย่างซิตี้ (Citi) เพื่อดำเนินการขายธุรกิจด้วยการเสนอราคาที่ไม่มีผลผูกพัน คาดว่าจะมีการประกาศดีลในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

เบื้องต้น โฆษกของเทเลนอร์ปฏิเสธไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวลือที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับ Citi ที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้เช่นกัน

ก่อนหน้านี้ พบว่าเทเลนอร์เริ่มตัดหนี้สูญหรือลดมูลค่าการดำเนินงานของพม่าในงบการเงินของบริษัทเมื่อเดือนพฤษภาคม เนื่องจากสถานการณ์ด้านความมั่นคงและสิทธิมนุษยชนที่สั่นคลอนในประเทศ โดยธุรกิจโทรทัศน์เคลื่อนที่ในประเทศยังคงถูกจำกัดอย่างเข้มงวด นับตั้งแต่การปฏิวัติทางทหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 64

Sigve Brekke ประธานและซีอีโอเทเลนอร์ เคยยอมรับกับสื่อต่างประเทศว่า ความเสี่ยงทางการเมืองเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ถูกนำมาพิจารณาเมื่อมีการตัดสินใจขยายธุรกิจเข้าสู่พม่า

ล่าสุด TMT Finance ชี้ว่า บริษัทสัญชาติจีนบางรายได้รับเชิญให้เข้าร่วมประมูลเพื่อซื้อหน่วยธุรกิจจากเทเลนอร์ เนื่องจากบริษัทจีนมีโอกาสไม่ถูกคว่ำบาตร เหมือนที่บริษัทโทรคมนาคมนานาชาติรายอื่นเผชิญอยู่ ขณะนี้มีการอ้างชื่อบริษัท “โอรีดู” (Ooredoo) สัญชาติกาตาร์ที่ประกอบการอยู่ในพม่า ว่าเป็นบริษัทที่แสดงความสนใจซื้อคู่แข่งในตลาด และกำลังมองหาที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับกระบวนการที่จะเกิดขึ้น

ในขณะที่ Ooredoo ไม่แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม แหล่งข่าวจากรอยเตอร์ยืนยันว่ารายละเอียดของรายงาน TMT นั้นถูกต้อง ปัจจุบัน เทเลนอร์มีลูกค้าประมาณ 18 ล้านคนในพม่า โดยให้บริการ 1 ใน 3 ของประชากร 54 ล้านคน

เทเลนอร์ถือเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในพม่า ซึ่งเข้ามาปักหลักธุรกิจในปี 2557 สถิติล่าสุดชี้ว่าพม่าคิดเป็น 7% ของรายได้ของเทเลนอร์ในปีที่แล้ว

Source

]]>
1340600