เท่าเทียม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 12 Jun 2024 08:00:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เพื่อความเท่าเทียม! ‘ญี่ปุ่น’ เตรียมให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ‘เงินเดือนระหว่างเพศ’ เพื่อลดช่องว่างค่าตอบแทนของ ‘ชาย-หญิง’ https://positioningmag.com/1477788 Wed, 12 Jun 2024 07:49:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477788 ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ถือเป็นอีกประเด็นใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดย ญี่ปุ่น ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวัฒนธรรม ชายเป็นใหญ่ ทำให้ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นพยายามจะส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างชาย-หญิง ในสังคมการทำงาน

ล่าสุด รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาตรการให้ บริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 100 คนขึ้นไป ต้องเปิดเผยข้อมูล เงินเดือนระหว่างเพศ โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการกับ ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 300 คนขึ้นไปประมาณ 17,800 บริษัท และวางเป้าเก็บข้อมูลเพิ่มเป็น 50,700 บริษัท

ในปี 2023 ที่ผ่านมา ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น พบว่า พนักงานชายเต็มเวลาในญี่ปุ่นมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ 350,900 เยน (ราว 93,000 บาท) ในขณะที่ผู้หญิงมีรายได้ 262,600 เยน (ราว 62,000 บาท) คิดเป็น 74.8% ของรายได้ของผู้ชาย

จากข้อมูลปี 2022 หรือข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศใน ญี่ปุ่นอยู่ที่ 21.3% ส่วนใน สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 17%, ฝรั่งเศส 11.6% และ อิตาลี 5.7% ซึ่งใกล้เคียงกันกับประเทศอื่น ๆ

โดยความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างเพศในญี่ปุ่น คาดว่ามาจากสาเหตุที่ ผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งอาวุโสมีจำนวนน้อยลง และ ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะทำงานนานกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเองก็เรียกร้องให้บริษัทต่าง ๆ วิเคราะห์ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังช่องว่างดังกล่าว และให้แต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขสถานการณ์

ไม่ใช่แค่มาตรการการเปิดเผยช่องว่างระหว่างเงินเดือนของชาย-หญิง แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามออกมาตรการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม โดยตั้งเป้าหมายสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนใน Prime Market ระดับสูงสุดของตลาดหุ้นโตเกียว ให้มีอัตราส่วนของสมาชิกคณะกรรมการหญิงที่ 19% ภายในปี 2025 และ 30% หรือมากกว่านั้นภายในปี 2030

โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา จำนวนสมาชิกคณะกรรมการหญิงมีสัดส่วนอยู่ 13.4% เพิ่มขึ้นจาก 11.4% ในปี 2021

Source

]]>
1477788