เมืองนวัตกรรม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 06 Feb 2021 12:16:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 IOC : อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ “วอร์รูม” แห่งเมืองนวัตกรรม “วังจันทร์วัลเลย์” https://positioningmag.com/1318229 Mon, 08 Feb 2021 10:00:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318229

“วังจันทร์วัลเลย์” กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ในไตรมาส 3 ปี 2564 นี้ โดยเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ และจะเป็นต้นแบบเมืองนวัตกรรมแห่งอนาคตของประเทศไทย การจัดการภายในเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีจึงต้องมี “วอร์รูม” ศูนย์กลางการรับข้อมูล มอนิเตอร์ และสั่งการ ซึ่งก็คือ “อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ” หรือ IOC แห่งนี้

สำหรับท่านที่ยังไม่คุ้นหูกับ “วังจันทร์วัลเลย์” พื้นที่นี้คือแหล่งวิจัยและพัฒนานวัตกรรมขนาด 3,454 ไร่ ในตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดยระยอง พัฒนาโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ภายในประกอบด้วยโครงสร้างหลายส่วนที่จะสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมของไทย สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ประเทศ

เมื่อเป็น “เมืองนวัตกรรม” แหล่งบ่มเพาะงานวิจัย ตัวเมืองเองจึงสร้างขึ้นบนพื้นฐานการจัดการอัจฉริยะเช่นกัน ทำให้วังจันทร์วัลเลย์มีองค์ประกอบภายในแบบ Smart City ครบทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ Smart Economy, Smart People, Smart Living, Smart Environment, Smart Mobility, Smart Energy และ Smart Governance องค์ประกอบเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดมาเป็นโครงสร้างภายในเมือง เช่น การติดโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานสะอาดกระจายไฟฟ้าไปทั้งโครงการ รถประจำทางพลังงานไฟฟ้ารับส่งภายในพื้นที่ เป็นต้น

การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะรูปแบบนี้ย่อมต้องมีดาต้ามหาศาล และต้องมีศูนย์กลางของระบบบริหาร ทำให้วังจันทร์วัลเลย์มีอาคารหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญในการดูแลระบบทั้งหมดโดยเฉพาะคือ “อาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center หรือ IOC)”

IOC เป็นอาคารปฏิบัติการ 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 3,700 ตารางเมตร ยังไม่รวมพื้นที่ดาดฟ้าอีก 1,300 ตารางเมตร ภายในจะมีห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ และที่เป็นไฮไลต์ก็คือ “ห้องควบคุมปฏิบัติการ” (Control Room) ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นวอร์รูมแห่งวังจันทร์วัลเลย์ เป็นศูนย์กลางควบคุมให้ระบบในพื้นที่นี้ดำเนินการได้อย่างราบรื่น

ระบบสุดไฮเทคภายในห้องควบคุมฯ ของ IOC

ภายในห้องควบคุมปฏิบัติการจะนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้อย่างเต็มที่ ในแง่โครงสร้างพื้นฐาน ห้องนี้จะมี Video Wall สูงประมาณ 2.7 เมตร ยาวประมาณ 14.5 เมตร ซึ่งเกิดจากจอ LED ขนาด 55 นิ้ว จำนวน 48 ชุดเรียงต่อกัน และแน่นอนว่ามี Work Station ด้านหน้าจอเหล่านี้ให้กับพนักงานปฏิบัติการ (operators) ได้นั่งทำงานระหว่างวัน

ส่วนระบบที่มีการนำมาใช้งานเพื่อควบคุมเมืองอัจฉริยะ ได้แก่

o Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA) : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ แบบ Real-time เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบรวบรวมน้ำเสีย

o Energy Management System (EMS) : แสดงปริมาณการรับจ่ายสาธารณูปโภคแบบ Real-time โดยรับข้อมูลมาจาก Smart Meter ที่ติดตั้งใน Tie-in Building และสามารถคำนวณค่าบริการรวมถึงออกใบแจ้งหนี้

o Building Management System (BMS) : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์งานระบบของอาคาร เช่น ระบบปรับอากาศ Access Control ระบบลิฟต์ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบ Fire Alarm ระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบ Public Address

o Security Management System (SMS) : แสดงผลควบคุม และสั่งการ ระบบ CCTV ระบบ Fire Alarm ระบบ Smart Parking ระบบ Network Monitoring System ระบบ Bus Tracking ระบบ Environmental Monitoring System ระบบ Emergency Phone

o Substation Automation System (SA) : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบจำหน่ายไฟฟ้าภายใน Substation

o Smart Street Lighting System : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของระบบไฟส่องสว่างตามแนวถนน ทางเดิน และทางจักรยาน

o Lighting Control System : ตรวจสอบสถานะและควบคุมการทำงานของระบบไฟส่องสว่างของอาคารต่าง ๆ ภายใน Utility Center

ระบบล้ำสมัยเหล่านี้เมื่อนำมาใช้งานจริงจะเป็นประโยชน์อย่างไร? ขอยกตัวอย่างระบบ EMS ที่ใช้บริหารด้านพลังงาน ทำงานควบคู่ไปกับ Smart Meter ที่ส่งข้อมูลมายังห้องควบคุมส่วนกลางและเห็นข้อมูลการใช้พลังงาน เช่น ไฟฟ้า ได้แบบ real-time ดังนั้น สามารถส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบว่าตนเองกำลังใช้ไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน และจะนำไปสู่การจูงใจให้ร่วมกันประหยัดพลังงาน รวมถึงยังออกบิลค่าไฟฟ้าได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพนักงานออกจดหน่วยไฟฟ้าที่ใช้จากหน้ามิเตอร์

ที่น่าสนใจอีกระบบหนึ่งคือ Smart Street Lighting System เพราะระบบนี้ทำงานร่วมกับ IoT ที่ติดตั้งในไฟส่องสว่างตามทางเดินพื้นที่สาธารณะ ทำให้ระบบสามารถสั่งเปิด-ปิดไฟได้จากระยะไกล หรือตั้งเวลาเปิด-ปิดได้ ที่สำคัญคือ ถ้ามีเหตุผิดปกติ เช่น ไฟฟ้าไม่ทำงาน ระบบสามารถแจ้งเตือนเพื่อให้ห้องควบคุมส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลได้อย่างรวดเร็ว แก้ปัญหาเมืองในปัจจุบันที่เรามักจะพบไฟส่องทางเดินเสียอยู่เสมอ โดยที่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ทราบว่าต้องการการซ่อมแซม

ห้องทำงานอัจฉริยะ-อาคารรักษ์สิ่งแวดล้อม

ดังที่กล่าวไปว่าใน IOC ยังมีห้องประชุมและห้องสัมมนารองรับด้วย ภายในห้องประชุมขนาด 40 ที่นั่งนี้มีการติดตั้ง Video Wall ขนาดใหญ่ ด้วยจอแสดงผล 75 นิ้วเรียงต่อกัน 2 ชุด พร้อมกับมีจอแบบ Smart Touch-screen Interactive Display ขนาด 70 นิ้ว ผู้ร่วมประชุมสามารถเขียนลงบนหน้าจอโดยตรงและบันทึกเข้าคอมพิวเตอร์หรือส่งเป็นอีเมลได้ทันที

จอภาพในห้องนี้สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายกับคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต หรือสมาร์ทโฟนได้ และอุปกรณ์ไฟฟ้ายังสั่งการด้วยเสียงได้ด้วย กลายเป็นห้องประชุมที่สร้างเสริมให้การทำงานคล่องตัว เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้แบบไม่มีสะดุด

การออกแบบตัวอาคาร IOC นอกจากจะเป็นแหล่งรวมเทคโนโลยีทันสมัย ตัวอาคารนี้ยังก่อสร้างได้มาตรฐาน LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design ในระดับ Certified  ซึ่งเป็นระบบที่ถูกนำมาใช้ประเมินมาตรฐานการออกแบบอาคารให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้รับการยอมรับไปทั่วโลก

การจะได้ LEED ในระดับ Certified นี้แปลว่าอาคารจะต้องเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ทั้งจากการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ภายใน เช่น ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบเครื่องปรับอากาศ ใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ เป็นต้น การออกแบบอาคาร IOC จึงไม่ได้คิดเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีเพียงมิติเดียว แต่ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย

เพราะ กลุ่ม ปตท. มีเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ภายใต้วิสัยทัศน์ Smart Natural Innovation Platform อยู่แล้ว และจะเป็นเมืองต้นแบบแห่งอนาคตในยุค Thailand 4.0 ต่อไป

 

]]>
1318229
รู้จัก “วังจันทร์วัลเลย์” โครงการยักษ์ 3,400 ไร่ แหล่งปั้น “นวัตกรรม” โดย ปตท. https://positioningmag.com/1311370 Mon, 28 Dec 2020 04:00:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311370
ประเทศไทยกำลังยกระดับเศรษฐกิจด้วย “นวัตกรรม” ทำให้ ปตท. เลือกลงทุนโครงการ “วังจันทร์วัลเลย์” เนื้อที่กว่า 3,400 ไร่ ในจังหวัดระยอง ให้เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation; EECi) ส่งเสริมนวัตกรรมแบบครบวงจร ทั้งการวิจัยและพัฒนา โรงเรียนนักวิทย์ จนถึงแหล่งที่อยู่อาศัยที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับนักวิจัย

บนพื้นที่ 3,454 ไร่ ในตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง คือที่ตั้งของ “วังจันทร์วัลเลย์” พัฒนาโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ตามนโยบาย Thailand 4.0 สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ประเทศ

วิสัยทัศน์แหล่งนวัตกรรมของ ปตท. ไม่ใช่แค่เพียงนวัตกรรมด้านพลังงานเท่านั้น แต่มองครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ขยายไปถึงภาคเกษตรกรรมและบริการ ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้คนไทยในอนาคต และยังเปิดให้บริษัทที่สนใจเข้าร่วมในระบบนิเวศนี้ได้ทั้งหมด

เมื่อเป็นแหล่งวิจัยนวัตกรรม วังจันทร์วัลเลย์ จึงมีทั้งพื้นที่เพื่อการศึกษา เพื่อปั้นนักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่รุ่นเยาว์ รวมถึงมีแหล่งที่พักอาศัย แหล่งสันทนาการ พื้นที่ธรรมชาติให้กับนักวิจัย ซึ่งเปิดให้ชุมชนใกล้เคียงเข้ามาใช้งานได้ด้วย ทำให้ภาพของโครงการนี้มีความสมบูรณ์ครบวงจร มองแบบครบลูปในการสร้างแหล่งนวัตกรรม และครอบคลุมไปไกลกว่าเฉพาะ ปตท.

3 ส่วนประกอบสร้างนวัตกรรมใน “วังจันทร์วัลเลย์”

พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ แบ่งเป็น 3 ส่วนประกอบหลักตามคอนเซ็ปต์ Smart Natural Innovation Platform ได้แก่

1) พื้นที่เพื่อการศึกษา (Education Zone) กลุ่มที่ตอบโจทย์การสร้างการศึกษา คือ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) และ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เป็นแหล่งบ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยรุ่นใหม่ของประเทศ ช่วย Up-skill หรือ Re-skill ให้บุคลากร และเป็นตัวกลางสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ รวมถึงมีกลุ่มที่ตอบโจทย์ด้านการพัฒนาทางการเกษตร มุ่งสู่การสร้างประสิทธิภาพผลผลิตและ Smart Farming ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ และ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

2) พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม หรือ Smart Innovation Platform เพื่อยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด โดยออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการไว้อย่างครบวงจร  พร้อมรองรับวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ EECi  นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ส่วนกลาง และอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center: IOC) ซึ่งมีการวางโครงข่ายเชื่อมโยงกับระบบอัจฉริยะต่างๆ เพื่อบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ต่อยอดในเชิงธุรกิจ

3) พื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ (Community Zone) นักวิจัย นักเรียน และชุมชนที่เกี่ยวข้องจะใช้ชีวิตได้จริงในโครงการนี้ เพราะโครงการมีการพัฒนา ที่พักอาศัย โรงแรม ศูนย์การค้า แหล่งนันทนาการ พื้นที่อาคารต่างๆ ยังดีไซน์แบบ Universal Design ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญเพื่อดึงดูดบุคลากรชั้นนำให้มาร่วมสร้างสรรค์งานในพื้นที่นี้

วังจันทร์วัลเลย์ ยังได้รับการประกาศเป็น “เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ” (Smart City) จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้น องค์ประกอบภายในโครงการจะพัฒนาตามหลักการ Smart City ครบทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ Smart Economy, Smart People, Smart Living, Smart Environment, Smart Mobility, Smart Energy และ Smart Governance ดังนั้น นอกจากโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบมาตรงกับองค์ประกอบของ Smart City ในหลายด้าน เรายังจะได้เห็นวังจันทร์วัลเลย์เป็นเมืองตัวอย่างของการปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยภายในจะมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานสะอาด กระจายไฟฟ้าสู่ทั้งโครงการด้วยระบบ Smart Grid มีรถประจำทางไฟฟ้ารับส่งภายในพื้นที่ มีทางเดินและทางจักรยานที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เมือง “แซนด์บ็อกซ์” ทดลองนวัตกรรมได้ที่นี่

แหล่งพัฒนานวัตกรรมคงเกิดขึ้นจริงไม่ได้เลยถ้าไม่สามารถ “ทดลอง” สิ่งใหม่ได้ ดังนั้น วังจันทร์วัลเลย์จึงประสานงานทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเปิดพื้นที่ให้โครงการนี้เป็น “แซนด์บ็อกซ์” ผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆ

โครงการที่ได้ดำเนินการแล้วขณะนี้คือ 5G Play Ground เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการใช้โครงข่าย 5G และ UAV Regulatory Sandbox ทดสอบเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Unmanned Aerial Vehicle หรือก็คือ “โดรน” นั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือหลายฝ่าย ได้แก่

  • สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) : สนับสนุนให้พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์สามารถบินโดรนเพื่อการทดลองและทดสอบได้ ช่วยให้การอนุญาตปฏิบัติแตกต่างจากเงื่อนไขที่กำหนด
  • สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) : บริหารและจัดสรรคลื่นความถี่ สนับสนุนการทดสอบ 5G ในพื้นที่เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) : ในฐานะผู้บริหารจัดการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ให้การสนับสนุนการดำเนินการ UAV Sandbox
  • สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) ทดสอบและพัฒนาโดรนวิศวกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาสินทรัพย์
  • บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ทรู) : ทดสอบและพัฒนาโดรนลาดตระเวนติดกล้องที่ควบคุมและเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G
  • บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) (ดีแทค) : พัฒนาการทดสอบกล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ 5G ควบคุมจากทางไกลและถ่ายทอดข้อมูลความละเอียดสูง สั่งการรวดเร็วและให้ภาพที่คมชัด

เปิดรับผู้ที่สนใจ โครงการพร้อม 100% ในปี 2564

ขณะนี้โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 95% จะเสร็จสมบูรณ์ 100% ภายในไตรมาส 3 ปี 2564 ระหว่างนี้โครงการกำลังเปิดรับผู้ที่สนใจและพันธมิตรเพิ่มเติม โดย ปตท. จะทำหน้าที่เป็น Enabler ผู้สร้างระบบนิเวศความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังตัวอย่างแซนด์บ็อกซ์ 5G และ UAV ข้างต้น จุดประสงค์เพื่อมุ่งสู่นวัตกรรมสร้าง New S-Curve ให้กับธุรกิจ

วังจันทร์วัลเลย์มีสิทธิประโยชน์ให้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าใช้บริการในโครงการ ดังนี้

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 13 ปี
  • ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ
  • ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ร้อยละ 17 ซึ่งต่ำที่สุดในเอเชีย
  • สมาร์ทวีซ่า สำหรับผู้เชี่ยวชาญและครอบครัว
  • พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบในการทำนวัตกรรม (Regulatory Sandbox)
  • ศูนย์บริการด้านการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อีเมล [email protected]

]]>
1311370