เยอรมัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 07 Aug 2023 09:32:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในเยอรมนีอาการน่าเป็นห่วง ยอดขายลด ต้นทุนเพิ่ม แถมสู้คู่แข่งจากจีนไม่ได้ https://positioningmag.com/1440051 Mon, 07 Aug 2023 05:43:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440051 อุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับเยอรมนีอย่างการผลิตรถยนต์ ล่าสุดทุกอย่างอาจไม่แน่นอนแล้ว เมื่อยอดขายรถยนต์ลดลง ขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนที่กำลังบุกตลาดโลกตอนนี้

DW สื่อในประเทศเยอรมนี ได้ออกรายงานถึงสถานการณ์ของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนผ่านมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้านั้นอาการน่าเป็นห่วงไม่น้อย เนื่องจากยอดขายรถยนต์นั้นลดลง ยังไม่กลับมาฟื้นตัวเท่าเดิม

โดยรายงานดังกล่าวได้ชี้ถึงยอดขายรถยนต์ประเภทสันดาปที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากความไม่แน่นอนต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงกระแสรักษ์โลกจากปัญหาสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

ขณะเดียวกันการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของเยอรมนีเองก็ประสบปัญหาเนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้ในรถยนต์เหล่านี้ได้สร้างต้นทุนเพิ่มให้กับผู้ผลิตรถยนต์ นอกจากนี้รถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศกลับมียอดขายไม่เติบโตมากนัก

Hildegard Müller ประธานสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งเยอรมนีได้กล่าวว่า ยอดสั่งซื้อรถยนต์ในประเทศลดลง โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้านั้นความต้องการลดลงเหลือเพียงประมาณ 60% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะเดียวกันรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปกลับมียอดขายต่ำกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดโควิด-19 ถึง 20%

ปัญหาต่อมาของผู้ผลิตรถยนต์ในเยอรมนีคือเรื่องของต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหา Supply Chain หยุดชะงัก ปัญหาด้านพลังงานจากการบุกยูเครนโดยรัสเซีย ปัญหาการขาดแคลนชิป นอกจากนี้ต้นทุนการเงินจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูง ได้สร้างปัญหาใหม่ทำให้บริษัทต้องลดค่าใช้จ่ายลง

นอกจากนี้ผู้ผลิตรถยนต์ในเยอรมนีเองก็ต้องรับมือกับคู่แข่งรายสำคัญคือผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ซึ่งกำลังตีตลาดทั่วโลก ทั้งในเอเชีย หรือแม้แต่ทวีปยุโรปเอง

ซึ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนถือว่ามีการแข่งขันที่สูงแห่งหนึ่งในโลก นอกจากนี้ยังมีการนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาเพิ่มเติมในตัวรถยนต์ของผู้ผลิตแต่ละราย ผลกระทบดังกล่าวทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนีที่บุกตลาดจีนอย่าง Volkswagen มียอดขายสู้แบรนด์จีนอย่าง BYD ไม่ได้ด้วยซ้ำ

BYD ถือเป็นแบรนด์ใหญ่จากจีนอีกรายที่กำลังตีตลาดยุโรป – ภาพจาก Shutterstock

จากเดิมที่รถยนต์ยุโรปแสดงให้เห็นถึงความหรูหราของชาวจีนที่ซื้อรถยนต์ขับ แต่เรื่องดังกล่าวนี้กำลังจะกลายเป็นอดีตแล้ว

Berylls บริษัทที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้กล่าวในรายงานล่าสุดของบริษัทว่า ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนกำลังเกิดการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ เมื่อลูกค้าเลือกรถยนต์ไฟฟ้าของจีนที่หรูหรากว่าแบรนด์ของยุโรปที่ครองตลาดมาเป็นเวลายาวนาน เนื่องจากทนไม่ได้กับเทคโนโลยีของผู้ผลิตจากทวีปยุโรป

ปัจจัยดังกล่าวนี้ยังส่งผลกลับไปยังที่เยอรมนีเองด้วย เมื่อผู้ผลิตรถยนต์จากจีนกำลังจะกลับไปตีตลาดยุโรปแทน

ในช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมาผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนหลายแห่งได้นำรถเข้าตรวจสอบมาตรฐานรถยนต์กับหน่วยงานประเมิน European New Car Assessment Programme (Euro NCAP) ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนหลายแบรนด์นั้นได้การประเมินถึง 5 ดาว

ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนหลายรายนั้นได้โฟกัสตลาดหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกของ Great Wall Motors ที่ส่งรุ่น ORA Funky Cat ที่มีราคาถูกกว่าผู้ผลิตในเยอรมนีอย่าง Volkswagen ID.3 ในราคาหลายพันยูโรด้วยซ้ำ

ปัจจัยดังกล่าวเมื่อนำมารวมกันแล้วจะเห็นว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนีนั้นอาการน่าเป็นห่วงไม่น้อย โดยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า 10 แบรนด์ที่ขายดีในประเทศจีนนั้นไม่มีผู้ผลิตจากแดนอินทรีเหล็กอีกต่อไป

ไม่เพียงเท่านี้ ความพยายามที่จะพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ายังประสบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้ทันคู่แข่ง หรือแม้แต่เรื่องของ Supply Chain ที่แม้ว่าสถานการณ์จะดูดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ทำให้หลายบริษัทต้องประสบปัญหาการผลิตชะงักงัน ส่งผลกระทบกับแบรนด์ของชาวเยอรมันไม่น้อย

]]>
1440051
‘อินเดีย’ จ่อแซง ‘ญี่ปุ่น-เยอรมัน’ ขึ้นแท่นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก https://positioningmag.com/1410951 Fri, 02 Dec 2022 07:15:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410951 ตามข้อมูลของ S&P Global คาดการณ์ว่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของอินเดียจะเฉลี่ยอยู่ที่ 6.3% จนถึงปี 2030 ขณะเดียวกัน Morgan Stanley ก็ได้คาดการณ์ว่า GDP ของอินเดียมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากระดับปัจจุบันภายในปี 2031 ดังนั้น อินเดียกำลังจะแซง ญี่ปุ่น และ เยอรมัน ขึ้นแท่นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก

Ridham Desai และ Girish Acchipalia 2 นักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley ได้ระบุไว้ในรายงานว่า การเติบโตของเศรษฐกิจอินเดียนั้นขับเคลื่อนโดยต่างประเทศในการลงทุนด้านการผลิต นอกจากนี้ยังมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลขั้นสูงของประเทศ

“แรงผลักดันเหล่านี้จะทำให้อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจและตลาดหุ้นใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกภายในปี 2030”

ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา GDP ของอินเดียเติบโต 6.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ที่ 6.2% และก่อนหน้านี้ GDP อินเดียมีการขยายตัว 13.5% ในช่วงไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ภาคการบริการที่แข็งแรงภายในประเทศ ทั้งนี้ GDP อินเดียเคยมีการเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 20.1% ไตรมาส 2 ของปี 2021 ตามข้อมูลของ Refinitiv

ด้านการคาดการณ์ของ S&P มองว่า การเติบโตของ GDP อินเดียนั้นขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องของการเปิดเสรีทางการค้าและการเงินของอินเดีย รวมถึงการปฏิรูปตลาดแรงงาน ตลอดจนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและทุนมนุษย์ของอินเดีย

“นี่เป็นความคาดหวังที่สมเหตุสมผลจากอินเดีย ซึ่งมีหลายสิ่งที่ต้องตามให้ทัน ทั้งในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้ต่อหัว” Dhiraj Nim นักเศรษฐศาสตร์จากฝ่ายวิจัยกลุ่มธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กล่าว

ปัจจุบัน รัฐบาลอินเดียมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเป็นศูนย์กลางสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ผ่านโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต (Production Linked Incentive Schemes ; PLIS) มูลค่ากว่า 1.39 หมื่นล้านบาท เพื่อกระตุ้นการผลิตและการส่งออก หรือที่เรียกว่า PLIS ที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2020 เพื่อจูงใจแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบของส่วนลดภาษีและใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น การจัดสรรที่ดินสำหรับกิจการเฉพาะทาง ฯลฯ

“เป็นไปได้มากว่ารัฐบาลจะใช้ PLIS เป็นเครื่องมือในการทำให้เศรษฐกิจอินเดียขับเคลื่อนด้วยการส่งออกมากขึ้นและเชื่อมโยงกันมากขึ้นในซัพพลายเช่นทั่วโลก”

ทางด้าน Morgan Stanley ประมาณการว่าสัดส่วนการผลิตของอินเดียใน GDP จะเพิ่มขึ้นจาก 15.6% เป็น 21% ภายในปี 2031 ซึ่งหมายความว่ารายได้จากการผลิตอาจเพิ่มขึ้น 3 เท่าจาก 4.47 แสนล้านดอลลาร์ในปัจจุบันเป็นประมาณ 1.49 ล้านล้านดอลลาร์ จากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้อินเดียเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการตั้งศูนย์กลางการผลิตจนถึงปี 2030

“บริษัทข้ามชาติมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการลงทุนในอินเดียและรัฐบาลก็ส่งเสริมการลงทุนทั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการจัดหาที่ดินสำหรับโรงงาน นอกจากนี้ อินเดียยังมีข้อได้เปรียบที่แรงงานต้นทุนต่ำจำนวนมาก ต้นทุนการผลิตต่ำ การเปิดกว้างต่อการลงทุน นโยบายที่เป็นมิตรต่อธุรกิจ และกลุ่มประชากรอายุน้อยที่มีใจรักการบริโภคสูง” สุเมธา ดาสคุปต์ นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Economist Intelligence Unit กล่าว

อย่างไรก็ตาม อินเดียก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยืดเยื้อทั่วโลกที่อาจส่งผลกระทบต่ออินเดีย เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจพึ่งพาการค้าสูงโดยคิดเป็นเกือบ 20% ของผลผลิตที่ส่งออก ดังนั้น การชะลอตัวทั่วโลกอาจบั่นทอนแนวโน้มธุรกิจส่งออกของอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องจำนวนของแรงงานฝีมือ ข้อผิดพลาดด้านนโยบายที่อาจเกิดขึ้นจากการลงคะแนนเสียงในรัฐบาลที่อ่อนแอกว่า

Source

]]>
1410951
เก๋ ๆ ร้านกาแฟในเยอรมนี แจก ‘หมวกวัดระยะ’ เพื่อรักษามาตรการ social distancing https://positioningmag.com/1278987 Sun, 17 May 2020 09:57:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278987 เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเจ้าของร้าน Cafe Rothe ในเมือง Schwerin ของประเทศเยอรมันได้เปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากที่ Angela Merkel ประธานาธิบดีได้ผ่อนปรณมาตรการล็อกดาวน์ภายในประเทศลง

ภาพร้าน Cafe-Rothe ก่อนจะเกิดวิกฤติ COVID-19

ในขณะที่ผู้คนเพลิดเพลินกับกาแฟ, วิวจากนอกที่พัก และการได้สูดอากาศภายนอก แต่ร้าน Cafe Rothe ยังต้อง “รักษาระยะห่างทางสังคม” แต่แทนที่จะใช้เครื่องหมายแสดงจุดระยะห่าง หรือกั้นกระจกใสในแต่ละโต๊ะเพื่อให้นั่งแยกกัน แต่ Jaqueline Rothe ผู้เป็นเจ้าของร้าน Cafe Rothe กลับแจก ‘หมวกฟางพร้อมแท่งโฟมสีสันสดใส’ ติดไว้บนหมวกเพื่อแสดงระยะที่สามารถใกล้กันได้

“ลูกค้าหลายคนแห่กันไปที่คาเฟ่เพื่อเพลิดเพลินกับกาแฟเค้กหรือเบียร์ท่ามกลางแสงแดด และนี่เป็นวิธีที่สมบูรณ์แบบในการแยกลูกค้า เพื่อมันทำให้เป็นเรื่องสนุก และทำให้สามารถรักษาระยะห่าง 1.5 เมตร (4.9 ฟุต) ได้จริง”

ที่ผ่านมา ร้านมีโต๊ะจำนวน 36 โต๊ะด้านใน และอีก 20 โต๊ะอยู่นอกร้าน แต่ด้วยมาตรการด้านสุขอนามัยและการรักษาระยะห่างทางสังคม เราจึงปรับเหลือเพียง 12 โต๊ะภายในร้าน และอีก 8 โต๊ะบริเวณนอกร้าน

“เราเชื่อว่าหลังจากที่ปลดล็อกมาตรการล็อกดาวน์ลง เราจะได้เห็นผู้คนจำนวนมากเดินทางและเรามีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า”

ทั้งนี้ เยอรมนีมีผู้ป่วยจากไวรัส COVID-19 มากกว่า 174,400 รายและมีผู้เสียชีวิตประมาณ 7,884 ราย

Source

]]>
1278987
เยอรมนี ผลักดัน Work from Home เป็นสิทธิแรงงานตามกฎหมาย แม้จะผ่านช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1275785 Tue, 28 Apr 2020 08:48:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275785 เยอรมนี เตรียมผลักดันกฎหมายให้ “Work from Home” หรือการทำงานที่บ้าน เป็นสิทธิเเรงงานที่ได้รับการคุ้มครองอย่างถูกกฎหมาย เเม้ว่าจะเป็นช่วงหลังผ่านพ้นการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ไปเเล้วก็ตาม

Hubertus Heil รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เยอรมนี ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Bild am Sonntag ว่าเขาเริ่มจะผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อให้เเรงงานที่ได้รับการอนุมัติจากผู้จ้างงานสามารถทำงานที่บ้านได้ทั้งแบบบางวันหรือทุกวัน

โดยจะช่วยให้พนักงานชาวเยอรมัน เลือกได้ว่าพวกเขาต้องการทำงานจากที่บ้าน 1-2 วันต่อสัปดาห์หรือทั้งสัปดาห์ก็ได้ หากบริษัทของพวกเขาอนุญาตให้ทำเช่นนั้น

“กฎหมายนี้จะมีการป้องกันไม่ให้การทำงานที่บ้าน ไปลุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวเเละโฮมออฟฟิศจะต้องมีเวลาเลิกงาน เเละต้องไม่ใช่เวลา 22.00 น. อย่างเเน่นอน”

ทั้งนี้ ในช่วงการควบคุมการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โรงเรียนเเละสถานศึกษาถูกสั่งปิด ขณะที่บริษัทส่วนใหญ่สนับสนุนให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน ทำให้ตอนนี้ชาวเยอรมันทำงานเเบบ Work from Home เพิ่มขึ้นเป็น 25% จากก่อนหน้านี้ที่มีอยู่ราว 12% โดยล่าสุดเยอรมนีผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 แล้วเกือบ 6,000 ราย และมียอดผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 157,000 ราย

ด้าน Olaf Scholz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเยอรมนี ก็ได้สนับสนุนแนวคิดนี้เช่นกัน “หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นแล้วว่า มีความเป็นไปได้มากเพียงใดที่เราจะทำงานที่บ้าน นี่คือความสำเร็จที่เราไม่ควรละทิ้ง”

อย่างไรก็ตาม เเนวคิดนี้ไม่ค่อยถูกใจนายจ้างมากนัก โดยสมาคมนายจ้างเยอรมัน ออกมาเเสดงความเห็นว่า “ไม่เห็นด้วย” เพราะกฎระเบียบใหม่คือสิ่งสุดท้ายที่เศรษฐกิจยามย่ำเเย่ต้องการ

ขณะที่ Katrin Goering-Eckardt ผู้นำรัฐสภาฝ่ายค้านจากพรรค Greens สนับสนุนการให้สิทธิทำงานที่บ้าน เเต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่ารัฐบาลต้องรับประกันว่าจะมี “อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” ให้ทุกคนด้วย

“การทำงานที่บ้านหรือทำงานผ่านทางโทรศัพท์ จะต้องเป็นความสมัครใจและต้องมีกฎชัดเจน ต้องไม่มีใครถูกบังคับให้ทำ และการทำงานที่บ้านไม่ควรนำไปสู่การทำงานเเบบไร้ข้อจำกัด”

 

ที่มา : Reuters , thelocal

]]>
1275785
มีความหวัง ‘เยอรมัน’ อนุมัติการทดลองวัคซีน COVID-19 กับมนุษย์ครั้งแรก https://positioningmag.com/1275044 Thu, 23 Apr 2020 09:55:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275044 เยอรมนีถือเป็นหนึ่งในประเทศที่สามารถรับมือกับ COVID-19 ได้ดีอันดับต้น ๆ ของโลก แม้จะมีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 1 แสนราย แต่มีผู้เสียชีวิตเพียง 1,584 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 1.58% เท่านั้น ล่าสุด ทางเยอรมนีได้อนุมัติการทดลองทางวัคซีน COVID-19 กับมนุษย์ครั้งแรก

บรรยากาศในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี วันที่ 5 เม.ย. 63 ยังไม่มีการล็อกดาวน์ในประเทศ แต่รัฐบาลได้สั่งปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย และหลายธุรกิจร้านค้า เพื่อให้ประชาชนใช้ชีวิตในที่สาธารณะน้อยลง (Photo by Maja Hitij/Getty Images)

Paul-Ehrlich-Institut หน่วยงานกำกับดูแลของเยอรมัน กล่าวว่า โครงการวัคซีนของบริษัท BioNTech ได้รับอนุญาตให้ทำการทดลองกับมนุษย์ หลังจากประเมินความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างระมัดระวัง

“นี่คือการทดลองกับมนุษย์ครั้งที่ 4 ของโลกที่ได้รับอนุญาต โดยมีการทดสอบวัคซีน COVID-19 ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อการป้องกันในมนุษย์ หากพิจารณาถึงผลกระทบร้ายแรงของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 นี่เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาวัคซีน COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่มีอยู่ในเยอรมนีและวางจำหน่ายทั่วโลกโดยเร็วที่สุด”

บริษัท BioNTech ของศาสตราจารย์ Ugur Sahin และ Pfizer ยักษ์ใหญ่ด้านเภสัชกรรมกำลังร่วมกันหาผู้สมัครรับวัคซีนซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระดับโลก โดยมองหาผู้ที่มีสุขภาพดีจำนวน 200 คน อายุระหว่าง 18 ถึง 55 ปี

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทั่วโลกพยายามเพื่อหาวัคซีนสำหรับ COVID-19 ที่ปัจจุบันมีติดเชื้อมากกว่า 2.58 ล้านคนทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 178,000 คน ขณะที่มีผู้ที่หายจากโรคกว่า 693,000 คน

Source

]]>
1275044