เศรษฐกิจหมุนเวียน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 21 Nov 2023 14:55:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กัลฟ์ ดัน ศูนย์การเรียนรู้เกษตรฯ โรงไฟฟ้าหนองแซง ต้นแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน https://positioningmag.com/1452427 Wed, 22 Nov 2023 09:50:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452427

นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่พิสูจน์ให้เห็นว่าชุมชนกับภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูล สำหรับ ศูนย์การเรียนรู้เกษตร และแปลงนาสาธิต บนพื้นที่ 42 ไร่ ภายในโรงไฟฟ้าหนองแซง จ.สระบุรี ที่บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ค้นคว้าและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมทางการเกษตรให้กับคนในชุมชนได้เรียนรู้มาตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี

ล่าสุด กัลฟ์ ได้จัดกิจกรรม “กัลฟ์สืบสานวิถีชาวนาไทย ร่วมใจลงแขกเกี่ยวข้าว” เพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งสะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวนาไทยที่มีความผูกพันกับธรรมชาติ รวมทั้งยังมีการนำผลผลิตที่ได้จากการเก็บเกี่ยวภายในบริเวณศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้แก่ ข้าวเหนียวเขี้ยวงูและไข่จากฟาร์มไก่ไข่ มาสาธิตการทำข้าวจี่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นำแนวคิดไปต่อยอดและพัฒนาเป็นอาชีพสร้างรายได้ รวมทั้งยังมีการนำผลิตภัณฑ์จากข้าวหลายสายพันธุ์ ซึ่งบางส่วนเป็นผลผลิตที่ได้จากแปลงนามาทำ ไอศกรีมข้าวกล้องมรกต ข้าวเม่าจากข้าวเหนียวเขี้ยวงู และซีเรียลจากข้าวไรซ์เบอร์รี่

นายธนญ ตันติสุนทร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

นายธนญ ตันติสุนทร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรและแปลงนาสาธิตว่า ตั้งแต่เริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหนองแซงนั้น กัลฟ์ มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้โรงไฟฟ้าและวิถีเกษตรชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และด้วยพื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงได้เกิดโครงการสร้างศูนยการเรียนรู้ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และโครงการต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ให้แก่คนในชุมชน

ซึ่งหลังจากที่ได้ดำเนินโครงการมาก็มีทั้งเกษตรกรชุมชนโดยรอบ นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานราชการจากที่ต่างๆ เข้ามาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง กัลฟ์ จึงได้พยายามหาแนวทางพัฒนาโดยมีเป้าหมายเป็นต้นแบบของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มีการวางแผนและออกแบบให้นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างคุณค่าจากทรัพยากรที่มีให้ได้มากที่สุดและที่สำคัญจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ยังได้จัดแปลงนาลดการสร้างมลภาวะเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยจะไม่เผาตอข้าวเก่าซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดก๊าซเรือนกระจก แต่เปลี่ยนเป็นการทำนาข้าวตอที่ 2 แทน ซึ่งตอข้าวเก่าจะถูกหมุนเวียนโดยใช้จุลินทรีย์ย่อยเป็นปุ๋ยสำหรับการปลูกข้าวรอบใหม่ สามารถสะท้อนแนวคิด “Zero Waste” หรือการกำจัดขยะจนไม่มีเหลือเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังมีแผนที่จะนำพลังงานสะอาดอย่างโซลาร์เซลล์มาใช้ในการบริหารจัดการระบบของศูนย์ฯ อย่างครบวงจรมากขึ้นในอนาคต

นายธนากิจ กายพรมราช ผู้จัดการโรงไฟฟ้าหนองแซง

ด้านนายธนากิจ กายพรมราช ผู้จัดการโรงไฟฟ้าหนองแซง อธิบายเพิ่มเติมถึงศูนย์การเรียนรู้เกษตรและแปลงนาสาธิตว่า ตอนนี้พื้นที่หลักเป็นนาสำหรับปลูกข้าว เสมือนห้องทดลองในการปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ เพื่อเป็นแนวทางให้ชาวบ้านสามารถนำไปต่อยอดในที่นาของตัวเองได้ และยังมีการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ ที่สามารถนำไปแปรรูปต่อเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้

โดยศูนย์การเรียนรู้ฯ ตั้งเป้าที่จะผลักดันวิถีเกษตรอินทรีย์ผ่านการอบรมให้กับชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการให้ความรู้ในหลายเรื่อง เช่น การเลี้ยงไส้เดือนและทำปุ๋ยมูลไส้เดือนใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัว, การเลี้ยงหนอนแมลงทหารดำ ที่ใช้วิธีการนำปลายข้าวและเศษพืชผักมาเป็นอาหารให้หนอน และนำหนอนระยะดักแด้มาเป็นอาหารไก่ไข่ภายในศูนย์การเรียนรู้ฯ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในการนำร่องสู่การทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรและสร้างความยั่งยืนให้กับวิถีเกษตรชุมชนอย่างแท้จริง

นายดุรงค์ฤทธิ์ ศิริวัฒนพันธ์ ปลัดจังหวัดสระบุรี

ขณะที่นายดุรงค์ฤทธิ์ ศิริวัฒนพันธ์ ปลัดจังหวัดสระบุรี ได้ขอบคุณ กัลฟ์ ที่ให้ความสำคัญกับวิถีชุมชนและได้ริเริ่มโครงการศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้กับชุมชน ทั้งนี้ อ.หนองแซง มีการทำนาเป็นหลักเนื่องจากมีคลองชลประทาน ซึ่งการทำนาในปัจจุบันเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วมักจะเผาตอฟาง สร้างมลพิษในอากาศ ซึ่งการที่ กัลฟ์ ได้ทำแปลงนาสาธิต เพื่อเป็นแนวทางให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องของการทำนาโดยไม่ต้องเผาฟางนั้น เป็นการทำเกษตรแบบหมุนเวียนที่ได้ผลผลิตไม่ต่างไปจากการทำนาโดยใช้เครื่องจักรและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบยั่งยืนก็สามารถเดินทางเข้ามาศึกษาดูงานได้ที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรและแปลงนาสาธิต โรงไฟฟ้าหนองแซง จ.สระบุรี

]]>
1452427
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งสุดท้าย ชูร่างเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วย BCG #APECพร้อมไทยพร้อม https://positioningmag.com/1409024 Sun, 20 Nov 2022 10:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409024

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 มีการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งสุดท้าย (APEC Concluding Senior Officials’ Meeting: CSOM) ในช่วงที่ 3 ต่อเนื่องจากการประชุมในวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 โดยมีการหารือกันในประเด็น “การสร้างสมดุลในทุกด้าน” ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญของการประชุม คือ เจ้าหน้าที่อาวุโสรับทราบสถานะล่าสุดของร่างเอกสารเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Economy)

ร่างเอกสารเป้าหมายกรุงเทพฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย 4 เป้าหมาย ได้แก่ 1) การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ 2) การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน 3) การบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และ 4) การลดและบริหารจัดการของเสีย ซึ่งประกอบด้วย 4 แนวทางขับเคลื่อน ได้แก่ 1) กรอบระเบียบและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เหมาะสม 2) การเสริมสร้างศักยภาพ 3) สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ 4) เครือข่ายสำหรับความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยจะมีการนำเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคพิจารณา เพื่อให้ที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปครับรองต่อไป

ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบข้อเสนอโครงการจัดตั้งรางวัล APEC BCG ของไทย เพื่อมอบให้แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่นำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อพัฒนาการเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม โดยแบ่งรางวัลออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) สตรี 2) เยาวชน และ 3) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) เพื่อเน้นย้ำบทบาทของกลุ่มคนและภาคส่วนเหล่านี้ รางวัลดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักในการเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ให้ถูกนำไปปรับใช้มากขึ้นในเอเปค และขยายไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไป โดยผู้ชนะรางวัลจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเงินสนับสนุนจากไทย จีน แคนาดา และเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่สนใจ ทั้งนี้ จะมีการเปิดตัวกิจกรรมการมอบรางวัลนี้ในที่ประชุมรัฐมนตรี ครั้งที่ 33 และจะเริ่มมอบรางวัลนี้ในปีหน้าเป็นต้นไป

แม้ว่าความยั่งยืนจะเป็นเรื่องที่หารือกันในเอเปคมานานแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ การดำเนินงานด้านนี้ยังกระจัดกระจายตามกลไกต่าง ๆ ของเอเปค เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยรวบรวมการดำเนินงานของเอเปคด้านความยั่งยืนไว้ในที่เดียว และผลักดันการทำงานให้เกิดบูรณาการและเป็นองค์รวมมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน รางวัล APEC BCG จะเป็นการถ่ายทอดภาพจำความสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพจัดงาน APEC 2022 ของไทยต่อเนื่องต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเรื่องการแต่งตั้งผู้อำนวยการของหน่วยสนับสนุนนโยบายของเอเปค (APEC Policy Support Unit – PSU) ของสำนักเลขาธิการเอเปคคนใหม่ และรับฟังเรื่องการเตรียมการจัดการประชุม APEC 2023 จากสหรัฐอเมริกา

]]>
1409024
สยามพิวรรธน์ จับมือ สถาบันพลาสติก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย PPP Plastics และ Dow เดินหน้าโครงการ Siam Pieces สร้างโมเดลจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน https://positioningmag.com/1343158 Tue, 20 Jul 2021 12:00:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343158

บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ร่วมกับ สถาบันพลาสติก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย PPP Plastics กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และเขตปทุมวัน เดินหน้าโครงการ Siam Pieces (สยาม พีซเซส) เพื่อสร้างต้นแบบการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ผ่านการศึกษาวิจัยพฤติกรรมจากกลุ่มตัวอย่างของผู้บริโภคในพื้นที่เขตปทุมวัน โดยได้รับทุนสนับสนุนโครงการจาก บพข. (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) ภายใต้สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สอวช. มีเป้าหมายที่จะพัฒนาแบบแผนธุรกิจในการนำพลาสติกใช้แล้วทุกชนิดกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างโมเดลศูนย์คัดแยกที่มีศักยภาพในการจัดเก็บขยะพลาสติกทุกประเภท บนพื้นที่ศูนย์กลางแห่งธุรกิจค้าปลีกของประเทศไทยอย่าง วันสยาม ที่ประกอบด้วย 3 ศูนย์การค้าระดับโลก ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ รวมถึงการคัดแยกประเภทวัสดุที่สามารถนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลและอื่นๆ ได้ ตลอดจนเพื่อส่งต่อแนวคิดในการใช้ชีวิตให้ผู้คนในสังคมร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของวิกฤตขยะพลาสติกในปัจจุบันที่ทุกคนมิอาจมองข้าม ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดวัฏจักรของการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานปฏิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า

“การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยความมุ่งมั่น ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน เราจึงได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาพัฒนาเป็นหลักการบริหารจัดการขยะ ในทุกกระบวนการของธุรกิจ ตั้งแต่การรณรงค์ภายในองค์กร ไปจนถึงการสร้างจิตสำนึกให้ลูกค้า และล่าสุดกับการร่วมเปิด Recycle Collection Center จุดรับขยะรีไซเคิลที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถนำมาทิ้งได้ โดยสยามพิวรรธน์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับสถาบันพลาสติก และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการใช้พื้นที่วันสยาม ในการทำวิจัย รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากพนักงาน และลูกค้าวันสยาม เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการขยะพลาสติกในสังคมอย่างยั่งยืน พร้อมต่อยอดไปใช้แก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งยังสอดรับกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ที่ขณะนี้ทางสหภาพยุโรป หรืออียู ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโลกในการลดปริมาณขยะพลาสติก และมุ่งมั่นที่จะสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงได้ออกระเบียบว่าด้วยการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวของสหภาพยุโรป (EU Single Use Plastics Directive) ที่เริ่มต้นใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา”

ด้าน นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่า

ด้วยความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่ร่วมกันสร้างแนวคิดและแบบแผนเศรษฐกิจหมุนเวียนในปัจจุบัน หรือ Circular Economy ทำให้ในปัจจุบันหลากหลายหน่วยงานเกิดความตระหนักในเรื่องการใส่ใจของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดการขยะพลาสติก ทางสถาบันพลาสติกเห็นถึงโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก และ เพิ่มการรีไซเคิลของขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบมากยิ่งขึ้น สถาบันพลาสติกจึงได้รับงบประมาณจาก บพข.เพื่อจัดตั้งโครงการพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) สำหรับการบริหารจัดการขยะพลาสติกหลังการใช้โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน โดยเล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่เขตปทุมวัน ที่ประกอบด้วยสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น สถานศึกษา ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล และ ชุมชน โดย “โครงการ SIAM PIECES” นี้เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) สำหรับการบริหารจัดการขยะพลาสติกหลังการใช้โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน ที่ทำการศึกษาตั้งแต่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการคัดแยกและทิ้งขยะพลาสติก เพื่อเข้าใจและหาเครื่องมือที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการคัดแยกพลาสติกของผู้บริโภคที่มากขึ้น และ ต่อยอดไปจนถึงการศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนา และจัดทำแบบแผนธุรกิจ (Business Model) เพื่อลดการเพิ่มขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้มีการนำขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น

ขณะที่ ศ.ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า

“ปัจจุบัน ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม มีการคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการวัสดุเหลือใช้ โดยเฉพาะกลุ่มพลาสติก อย่างไรก็ตาม การจัดการปัญหาขยะพลาสติกนั้นไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านอื่นมาร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของผู้ใช้พลาสติกหรือผู้บริโภค และการสร้างกลไกทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดจัดการพลาสติกที่ครบวงจร เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งจะทำให้พลาสติกทั้งที่มีมูลค่าสูงและส่วนที่ยังมีมูลค่าต่ำอยู่ได้กลับเข้าสู่ระบบเพื่อการจัดการอย่างเหมาะสม การดำเนินการในส่วนนี้จำเป็นต้องมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อให้สามารถนำผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นไปอ้างอิงและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาจึงจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIAM PIECES ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาแบบแผนธุรกิจที่ส่งเสริมให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกอย่างครบวงจร เพื่อร่วมขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ”

ด้าน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธาน PPP Plastics กล่าวว่า

“โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติก และขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastics) ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมให้ทุนสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) สำหรับการบริหารจัดการขยะพลาสติกหลังการใช้โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน ปัจจุบันองค์กรภาคธุรกิจได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก เพื่อร่วมหาทางออกการบริหารจัดการขยะพลาสติก เพื่อสร้างรูปแบบที่สมดุลอันมุ่งไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้มีการดำเนินงานในบริบทที่มีความสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green: BCG Model) ที่รัฐบาลกำหนดเป็นโมเดลเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นวาระแห่งชาติ อีกด้วย นับได้ว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นการตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืนในอนาคต”

พร้อมกันนี้ นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า

“โครงการนี้สอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับหนึ่งในเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ ดาว ได้ประกาศไปเมื่อปีที่แล้วคือ “การหยุดขยะพลาสติก” โดยเราตั้งเป้าจะผลักดันให้พลาสติกที่ใช้แล้วจำนวน 1 ล้านตันจากทั่วโลกถูกเก็บกลับมาใช้ประโยชน์ หรือ รีไซเคิล ผมรู้สึกภูมิใจที่ ดาว ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในการก่อตั้งโครงการ Siam Pieces อีกทั้งร่วมผลักดันให้เกิด business model ของการจัดการพลาสติกใช้แล้วที่มีประสิทธิภาพ และช่วยยกระดับผู้ประกอบการรับซื้อของเก่า ซาเล้ง รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียตลอดทั้ง value chain ให้มีรายได้พอเพียงที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้การจัดการพลาสติกเป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคต”

นอกจากนี้ ภายใต้งานแถลงข่าวโครงการ Siam Pieces ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM และ Facebook Live เพจ สถาบันพลาสติก ยังมีการจัดเสวนาหัวข้อ “Siam Pieces โมเดลเส้นทางการจัดการพลาสติกใช้แล้วครบวงจร” โดยมี นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ผู้บริหารระดับสูงแห่งบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด พร้อมด้วยเหล่า คนดังสายนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้เชี่ยวชาญทางท้องทะเลมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและร่วมหาทางออก ในการกู้วิกฤตขยะพลาสติก ทั้ง ผศ.ดร. ธรณ์ ธำรงนาราสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีกิจการพิเศษ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , เชอรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ นักขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม , เปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจ ‘ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป , ศ.ดร. พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ พิธีกรหนุ่มสายกรีนที่หันมาเอาจริงเอาจังในการสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อม

โครงการ Siam Pieces ครั้งนี้ นับเป็นโครงการความร่วมมือในการผสานพลังขับเคลื่อนที่ต้องการจะพัฒนาระบบการจัดการพลาสติกใช้แล้วในสังคมเมืองอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง เพื่อนำไปต่อยอดใช้บริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วในประเทศไทย และนำไปพัฒนาแบบแผนธุรกิจในการนำพลาสติกใช้แล้วทุกชนิดกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมขยายผลสร้างเป็นโมเดลธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดเป็นวัฏจักรของการจัดการขยะพลาสติกในสังคมเมืองที่ยั่งยืน เพื่อเราทุกคนในวันนี้และอนาคต

ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างยั่งยืนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบแผนธุรกิจตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ด้วยการตอบแบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมการ คัดแยกขยะได้ในช่องทาง https://bit.ly/3xLS8GG  หรือ Scan QR Code

]]>
1343158