เหล็ก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 28 Oct 2024 09:38:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อนาคต ‘เหล็กจีน’ อาจไม่สดใสอีกต่อไป แม้ปีนี้การส่งออกจะแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี เพราะเจอมาตรการภาษีสกัด https://positioningmag.com/1495742 Mon, 28 Oct 2024 04:24:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495742 จีน ถือเป็นผู้ส่งออก เหล็ก รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยครองส่วนแบ่งประมาณ 55% ของการผลิตเหล็กของโลก และปีนี้คาดว่า การส่งออกเหล็กของจีนจะทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปี อย่างไรก็ตาม อนาคตจากนี้เริ่มไม่ค่อยสดใส เพราะหลายประเทศออกมาตรการสกัด และดีมานด์ที่ลดลง

การส่งออก เหล็ก ของจีนได้ลดลงหลายปี ก่อนที่จะเริ่มดีขึ้นในปี 2563 จนปัจจุบันตลาดต่างประเทศถือเป็นตลาดที่มีความสําคัญอย่างมากของจีน เนื่องจากจีนกำลังเผชิญกับวิกฤติอสังหาริมทรัพย์และการชะลอตัวของการผลิต ส่งผลให้ในเดือนกันยายน การส่งออกเหล็กของจีนเพิ่มขึ้น 26% จากปีที่แล้วเป็น 10.2 ล้านตัน และในช่วงเก้าเดือนแรกของปี การส่งออกเพิ่มขึ้น 21.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีที่ 80.7 ล้านตัน

โดยในปีนี้ คาดว่าการส่งออกเหล็กของจีนจะแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 ปีในปีนี้ โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 109 ล้านต้น ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2559 ที่มีการส่งออกทะลุหลักร้อยล้านตัน อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 คากว่าการส่งออกจะลดลงเหลือ 96 ล้านต้น

โดย Macquarie Group มองว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกเหล็กของจีนลดลงมาจากมาตรการ ภาษี ในหลายประเทศที่ต้องการ ต่อต้านการทุ่มตลาด ของจีน เพราะต้องยอมรับว่า มีผู้ประกอบการในหลายประเทศที่ได้รับผล กระทบจากเหล็กจีนที่มี ราคาถูก ซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ในหลายประเทศต้องออกมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง อาทิ ประเทศไทย ได้ขยายภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดเป็น 31% สําหรับเหล็กม้วนดำ (hot-rolled coil) และเหล็กกล้า (high-strength steel) จากจีนในเดือนสิงหาคม เม็กซิโก ก็ได้กําหนดภาษีเกือบ 80% สําหรับการนําเข้าเหล็กของจีนบางส่วนเมื่อปลายปีที่แล้วหรือ บราซิล และ แคนาดา ได้กําหนดภาษี 25% สําหรับผลิตภัณฑ์เหล็กทั้งหมดจากประเทศจีน เป็นต้น

ด้าน สหรัฐอเมริกา ก็มีการเรียกร้องให้เพิ่มภาษีเหล็กจีนเป็น สามเท่า ในเดือนเมษายน และ โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงตําแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน กล่าวว่า เขาสามารถเพิ่มภาษีได้ 60% สําหรับสินค้าจีนหากได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนหน้า

อย่างไรก็ตาม Tomas Gutierrez หัวหน้าฝ่ายข้อมูลของที่ปรึกษา Kallanish Commodities มองว่า มาตรการคุ้มครองประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะมี ผลกระทบระยะสั้น เท่านั้น เพราะจากนี้ผู้ส่งออกเหล็กหันไปใช้ช่องโหว่อื่น ๆ เช่น การขนส่งผ่านประเทศบุคคลที่สาม เป็นต้น

“เราเห็นสถานการณ์ Whac-A-Mole” และภาษีศุลกากรทําให้ผู้ผลิตเหล็กของจีนเปลี่ยนเส้นทางไปยังตลาดทางเลือก จนกว่าตลาดนั้นจะกําหนดข้อจํากัดทางการค้าใหม่”

ไม่ใช่แค่มารตรการภาษี แต่ สมาคมเหล็กโลก ประเมินว่า ความต้องการเหล็กในประเทศของจีนในปีนี้จะน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการทั่วโลก ซึ่งถือว่าลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี เนื่องจากวิกฤติภาคอสังหาริมทรัพย์ของประเทศ และความต้องการอาจไม่ฟื้นยาวจนถึงปี 2569 เพราะไม่มีโครงสร้างสร้างอสังหาฯ ใหม่ ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้เหล็กมากที่สุด

จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ ผู้ผลิตเหล็ก ในประเทศจํานวนมากขึ้นได้ ลดการผลิตลง เนื่องจาก ไม่มีกำไร โดยเกือบ 3 ใน 4 ของบริษัทผู้เหล็กของจีนรายงานการ ขาดทุนในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ และมีหลายบริษัทที่มีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย

สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี ไทยมีการนำเข้าเหล็กทั้งหมด 5.553 ล้านตัน ลดลง 6.03% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 แต่การนำเข้าเหล็กจากจีนมีปริมาณ 2.397 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.84% คิดเป็นสัดส่วน 43% ของการนำเข้าเหล็กทั้งหมด

]]>
1495742
ไม่ใช่แค่รัสเซีย! นักวิเคราะห์ชี้ ‘จีน’ อีกตัวการทำ ‘เงินเฟ้อ’ ทั่วโลกพุ่ง https://positioningmag.com/1383762 Tue, 03 May 2022 07:57:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383762 สถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (Peterson Institute for International Economics : PIIE) ระบุว่า รัสเซียมีความผิดในการสร้างวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารและราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากการทำสงครามกับยูเครน แต่จีนก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกแย่ลง

Chad Bown และ Yilin Wang นักวิเคราะห์จาก PIIE กล่าวว่า สงครามของรัสเซียในยูเครนส่งผลกระทบอย่างน่าตกใจ เนื่องจากรัสเซียกำลังปิดกั้นการส่งออกปุ๋ย จึงถือเป็นส่วนทำให้เกิดวิกฤตอาหารทั่วโลก ขณะที่บทบาทของยูเครนในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับแอฟริกาและตะวันออกกลางได้ถูกทำลายลง

แต่ยังมีความเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่ไม่อาจประเมินค่าได้ต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก ซึ่งนั่นก็คือ การตั้งกำแพงภาษีการนำเข้าสำหรับปุ๋ยและเนื้อหมู นอกจากนี้ จีนซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก ก็ได้มีการลดกำลังการผลิตลงอีกด้วย ซึ่งนโยบายเหล่านี้ของจีน นำไปสู่ราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้นในทั่วโลก

“ปัญหาคือ จีนทำตัวเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ออกมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนจีนก่อน เช่น ลดต้นทุนการผลิตให้กับอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรชาวจีน แต่ผลักภาระต้นทุนให้กับคนทั้งโลก”

ปุ๋ย

ราคาปุ๋ยในจีนและทั่วโลกเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่และราคาพลังงานที่สูงขึ้น และราคาก็ยิ่งสูงขึ้นอีก หลังจากที่เกิดภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยย้อนไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางการจีนได้สั่งให้บริษัทผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่ระงับการส่งออก เพื่อให้แน่ใจว่ามีเกษตรกรจีนจะมีปุ๋ยใช้เพียงพอ และในเดือนตุลาคมทางการก็ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งออกปุ๋ย ในขณะที่ราคายังคงสูงขึ้น โดยคาดว่ามาตรการควบคุมต่าง ๆ ที่ออกมาจะดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้

มาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลจีนออกมาทำให้การส่งออกปุ๋ยของจีนลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาปุ๋ยของจีนก็ทรงตัวและตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มต่ำลง สวนทางกับสถานการณ์ทั่วโลกที่ราคาปุ๋ยยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพุ่งขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า”

เหล็ก

ราคาเหล็กในจีนและทั่วโลกพุ่งขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เนื่องจากจีนประกาศว่าจะลดการผลิตเหล็กในประเทศลงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ขณะที่ปีที่แล้วทางการได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าเศษเหล็ก อีกทั้งยังจำกัดการส่งออก 2-3 รอบ และเพิ่มภาษีส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็ก 5 รายการ ส่งผลให้ช่วงในเดือนมีนาคมปีนี้ ราคาเหล็กของจีนลดลง 5%

เนื้อหมู

ส่วนราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้นทั่วโลกเริ่มต้นขึ้นในปี 2018 เมื่อจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตเนื้อหมูถึงครึ่งหนึ่งของโลก ได้เจอผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู ส่งผลให้จีนต้องกำจัดหมูไปประมาณ 40% ทำให้ราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงปลายปี 2019 ส่วนราคาเนื้อหมูทั่วโลกได้พุ่งขึ้น 25% เนื่องจากจีนนำเข้าเนื้อหมูมากขึ้น ทำให้ดึงปริมาณเนื้อหมูออกจากตลาดโลก

“จีนเลือกที่จะนำเข้าเนื้อหมูจำนวนมาก เพื่อลดแรงกดดันด้านราคาภายในประเทศตั้งแต่ปี 2019 นโยบายเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ของโลก”

นอกจากนี้ ปักกิ่งยังปรับลดภาษีนำเข้าเนื้อหมูในปี 2020 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะทำให้ผู้บริโภคที่ทั่วโลกต้องเจอปัญหาราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้น ทนเนื่องจากอุปทานที่ลดลง ซึ่งทางการจีนก็ได้ขึ้นอัตราภาษีดังกล่าวอีกครั้งในปีนี้ เนื่องจากปัญหาโรคอหิวาต์ในหมูเริ่มคลี่คลายลง

Source

]]>
1383762