เออร์ลีรีไทร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Jan 2021 07:11:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “บางกอกโพสต์” ประกาศโครงการเออร์ลีรีไทร์ ปรับโครงสร้าง ลดค่าใช้จ่าย ชดเชยสูงสุด 400 วัน https://positioningmag.com/1312970 Tue, 05 Jan 2021 06:53:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312970 เครือบางกอกโพสต์ ลดค่าใช้จ่าย-ปรับโครงสร้างองค์กร ประกาศโครงการเออร์ลีรีไทร์ พร้อมจ่ายชดเชยสูงสุด 400 วัน เผยพนักงานที่จะไปต่อกต้องพร้อมทำงานหนักขึ้น

เมื่อวันที่ 4 ม.ค. มีรายงานว่า บริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ Bangkok Post, เว็บไซต์ Post Today, นิตยสาร Forbes Thailand และนิตยสาร elle ประกาศโครงการร่วมใจจากองค์กรโดยการสมัครใจเกษียณอายุก่อนกำหนด ปี 2564 (Early Retirement) ทั้งนี้ พนักงานที่ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน โดยจ่ายชดเชยสูงสุด 400 วัน

สำหรับประกาศดังกล่าวซึ่งลงนามโดย นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) มีการระบุข้อความว่า

“บริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) กำลังจะเปลี่ยนแปลง และกำลังก้าวสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ถ้าคุณพร้อมจะไปกับเรา คุณมีข้อผูกพัน หรือ Commitment ที่ต้องทำดังนี้ พร้อมทำงานหนักขึ้น พร้อมสนับสนุนการทำงานในทิศทางใหม่ของบริษัทฯ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เปิดรับระบบการทำงานใหม่ หยุดการทำงานแบบไซโล พร้อมทำงานเป็นทีมหลากแผนก อดทนเสียสละ และทุ่มเทเพื่อจุดหมายร่วมกัน หากคุณไม่พร้อมที่จะเดินไปกับเราในเส้นทางใหม่ เราขอขอบคุณที่คุณเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทฯ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

บริษัทฯ มีโครงการสมัครใจเกษียณอายุก่อนกำหนด (Early Retirement) โดยได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน จุดประสงค์หลักเพื่อต้องการลดค่าใช้จ่ายระยะยาว และปรับโครงสร้างองค์กร

พนักงานที่ประสงค์ข้าร่วมโครงการฯ ให้แจ้งหัวหน้าแผนกหรือหัวหน้าฝ่าย เพื่อรวบรวมรายชื่อแล้วนำส่งมาที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ภายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 เพื่อเสนอต่อบริษัทฯ ให้พิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ และแจ้งผลการพิจารณาให้พนักงานที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ทราบ

ทั้งนี้ นอกเหนือจากที่มีพนักงานสมัครใจ และผู้บริหารอนุมัติแล้ว ผู้บริหารอาจจะพิจารณาร่วมกับหัวหน้าแผนกหรือฝ่าย และอนุมัติเพิ่มเติม เพื่อให้จำนวนพนักงานเป็นไปตามโครงสร้างขององค์กรที่เหมาะสม

พนักงานที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ดังนี้

ค่าชดเชยตามอายุงาน โดยนับอายุงานตั้งแต่วันที่เข้าทำงานกับบริษัทฯ จนถึงวันสุดท้ายที่มีสภาพเป็นพนักงาน

  • พนักงานที่ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราเดือนสุดท้าย 30 วัน
  • พนักงานที่ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง อัตราเดือนสุดท้าย 90 วัน
  • พนักงานที่ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง อัตราเดือนสุดท้าย 180 วัน
  • พนักงานที่ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง อัตราเดือนสุดท้าย 240 วัน
  • พนักงานที่ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง อัตราเดือนสุดท้าย 300 วัน
  • พนักงานที่ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง อัตราเดือนสุดท้าย 400 วัน

พนักงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับการอนุมัติจากบริษัทฯ จะมีผลในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 และรับค่าชดเชยพร้อมเงินค่าจ้างเดือนสุดท้ายผ่านระบบการจ่ายเงินเดือนในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

]]>
1312970
ตลาดแรงงานปี 64 ยังเปราะบาง คนแก่เสี่ยง Early Retire เด็กจบใหม่ตกงานสะสม https://positioningmag.com/1307099 Sun, 27 Dec 2020 14:07:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307099 สภาองค์กรนายจ้างฯ คาดปี 2564 ตลาดแรงงานไทยยังคงเปราะบาง แม้เศรษฐกิจจะดีขึ้นแต่ค่อย ๆ ฟื้นตัว นายจ้างยังมุ่งเน้นรัดเข็มขัดเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด การจ้างงานแรงงานใหม่ยังต่ำ จับตาแรงงานอายุ 45-50 เสี่ยงถูกเออร์ลีรีไทร์สูงขึ้น แรงงานที่ตกงานปัจจุบันอาจตกถาวร และแรงงานเด็กจบใหม่ .. 64 อีก 5 แสนคนส่อเคว้ง

ปีหน้า แรงงานยังเปราะบาง

ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า

แนวโน้มปี 2564 ตลาดแรงงานของไทยยังอยู่ในภาวะเปราะบางตามทิศทางเศรษฐกิจที่จะค่อย ๆ ฟื้นตัวและยังมีปัจจัยที่ไม่แน่นอนสูงจาก COVID-19 ส่งผลให้แรงงานไทยที่มี 3 รูปแบบหลัก ได้แก่

  1. แรงงานในตลาดแรงงานปัจจุบัน
  2. แรงงานที่ตกงาน
  3. แรงงานใหม่ที่เตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงาน

ยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสูง เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างต้องเร่งปรับลดรายจ่ายลงเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด

Photo : Shutterstock

ปัจจุบันอัตรากำลังแรงงานไทยขณะนี้มีราว 37 ล้านคน 50% เป็นแรงงานในระบบประกันสังคม ซึ่งมีแนวโน้มว่าแรงงานที่จะถูกปรับเปลี่ยน ได้แก่

  • แรงงานอายุ 45-50 ปีมีทิศทางที่จะถูกให้เข้าโครงการสมัครใจลาออก (เออร์ลีรีไทร์) มากขึ้น

และแรงงานเหล่านี้เมื่อเข้าโครงการแล้วจะไม่ปรากฏเป็นผู้ว่างงานในการจัดเก็บสถิติว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ยึดคำนิยามขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศที่ยังคงไม่ปรับเปลี่ยน

  • รงงานที่มีอายุการทำงานเพียง 1 ปีก็เป็นเป้าหมายในการลดจำนวนคนของนายจ้างเช่นกัน

เนื่องจากมองว่ามีประสบการณ์น้อยและจ่ายชดเชยต่ำ

  • แรงงานที่ตกงานอยู่แล้วกำลังจะกลายเป็นปัญหาหนัก

อาจกลายเป็นแรงงานที่ตกงานถาวรหากรัฐบาลไม่มีมาตรการใด ๆ ที่จะเข้ามาดูแลเพิ่มเติม

  • ส่วนแรงงานใหม่เสี่ยงตกงานสะสม

ซึ่งเป็นเด็กจบใหม่ที่คาดว่าจะเข้ามาอีกในช่วง ก.. 64 ราว 5 แสนคน จะส่งผลให้เมื่อรวมกับเด็กที่จบไปแล้วปี 2563 แต่ยังไม่มีงานทำประมาณเกือบ 4 แสนคนจะสะสมราว 9 แสนคน

แม้ว่าแรงงานบางส่วนที่อาจจะมีจ้างเพิ่มในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลแต่คาดว่ายังคงมีไม่มากนัก โดยอาจเป็นไปได้ในการเพิ่มขึ้นมากในปี 2565-66 แต่กระนั้น เด็กที่กำลังเรียนอยู่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นสาขาที่ไม่ตรงต่อความต้องการตลาดอยู่ดี

แรงงานต้องเพิ่มทักษะ

แรงงานภาพรวมต้องเร่งแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะอายุ 40 ปีขึ้นไปต้องเร่งเพิ่มทักษะความรู้ใหม่ ๆ หรือไม่ก็ต้องมองหาอาชีพเสริมไว้สำรองในอนาคต ขณะที่การศึกษาต้องเร่งปรับให้สอดรับกับโลกที่จะเปลี่ยนไปเพื่อให้แรงงานตรงต่อความต้องการตลาดในอนาคต

Photo : Shutterstock

โดยปี 2564 คาดว่าอัตราการว่างงานของแรงงานไทยยังคงสะสมอยู่ในระดับ 2.9 ล้านคน ปรับตัวลดลงเล็กน้อยตามทิศทางเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวมากขึ้น แต่จะเป็นลักษณะของการค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาด COVID-19 ยังคงมีอยู่ ซึ่งจะส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยที่อาศัยการท่องเที่ยวจากต่างชาติเป็นหลักยังคงอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวเช่นเดิม

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยพึ่งพาการค้าโลกในสัดส่วนที่สูง ทั้งท่องเที่ยว ส่งออก การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2564 แม้หลายฝ่ายต่างคาดว่าจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 แต่ความไม่แน่นอนก็ยังคงมีสูงเมื่อการระบาดของโควิด-19 เริ่มกลับมาอีกครั้ง ซึ่งแม้ว่าจะมีข่าวดีเรื่องวัคซีนแต่ก็ยังต้องรอผลพิสูจน์ที่จะสร้างความเชื่อมั่นอีกระยะหนึ่ง

ประกอบกับหากพิจารณาจากอัตราการใช้กำลังผลิต (CUP) ของภาคอุตสาหกรรมไทยเฉลี่ย 63-65% จากที่ต่ำสุดราว 52% แต่ก็ยังคงเป็นอัตราการผลิตที่ทำให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้างไม่คิดที่จะเพิ่มอัตรากำลังคนแต่อย่างใด และยังคงดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอดเป็นหลัก

]]>
1307099