เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Dec 2022 11:33:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องเหล่า “บิ๊กเทคอาเซียน” ปีนี้ “ปลดพนักงาน” ไปมากน้อยแค่ไหนหลังเจอพิษเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1411739 Fri, 09 Dec 2022 05:13:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411739 หากนับเฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก จะเห็นการปลดพนักงานครั้งใหญ่ โดยเฉพาะ Meta บริษัทแม่ของ Facebook ที่ปลดพนักงานราว 11,000 คน หรืออย่าง Microsoft ก็มีรายงานว่าปลดพนักงานน้อยกว่า 1,000 คน เนื่องจากการชะลอตัวของการเติบโต ดังนั้น มาดูในฝั่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้านเรากัน ว่าเหล่าสตาร์ทอัพปลดพนักงานกันไปมากน้อยแค่ไหนในปีนี้

ในปีนี้ มีเหล่าสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนหลายรายที่ เลิกจ้างพนักงาน เนื่องจากความผันผวนของเศรษฐกิจ อย่างเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คารูเซลล์ (Carousell) แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้ามือสองออนไลน์สัญชาติ สิงคโปร์ ประกาศว่าจะปลดพนักงานประมาณ 10% ของจำนวนพนักงาน หรือประมาณ 110 ตำแหน่ง

หรือในเดือนพฤศจิกายน โกทู กรุ๊ป (GoTo Group) แพลตฟอร์มธุรกิจส่งอาหารและธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่เกิดจากการควบรวมของ โกเจ็ก (Gojek) และ Tokopedia สองยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย ก็ได้ลดพนักงานลง 1,300 ตำแหน่ง หรือประมาณ 12% ของจำนวนพนักงาน เนื่องจากนับตั้งแต่เดือยมกราคม-กันยายน บริษัทยังคงขาดทุนเพิ่มขึ้น

ส่วนบริษัทที่มีการลดพนักงานมากที่สุดก็คือ ซี กรุ๊ป (Sea Group) เจ้าของธุรกิจเกม Garena อีคอมเมิร์ซ Shopee และอีเพย์เมนต์ โดยได้ลดขนาดพนักงานกว่า 7,000 คน ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา เพื่อลดภาวะขาดทุนเป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีศักยภาพมากขึ้น

สำหรับ Carousell ตัวซีอีโออย่าง Quek Siu Rui ได้ออกมายอมรับกับพนักงานว่า เขา “มองโลกในแง่ดีเกินไป” เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักโควิด และประเมินผลกระทบของการเติบโตของทีมอย่างรวดเร็วนั้นผิดไป ทั้งนี้ รายได้ของ Carousell ในปี 2021 แม้จะยังเติบโต แต่ก็ช้าลงถึง 21% เมื่อเทียบกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นสามเท่าในปี 2020

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทสตาร์ทอัพอื่น ๆ ที่ลดจำนวนพนักงาน อาทิ

  • Foodpanda แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ลด 60 ตำแหน่ง
  • Zenius แพลตฟอร์มด้านการศึกษาเบอร์ 2 ของอินโดนีเซีย ลดกว่า 200 ตำแหน่ง
  • Carsome แพลตฟอร์มซื้อ-ขายรถยนต์มือสองออนไลน์ ลด 10%
  • Glints แพลตฟอร์มค้นหางานของสิงคโปร์ ลด 18%

รัดเข็มขัด โฟกัสความยั่งยืน

Jia Jih Chai ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Rainforest ผู้รวบรวมแบรนด์อีคอมเมิร์ซในสิงคโปร์ กล่าวว่า หนึ่งในสาเหตุที่เหล่าสตาร์ทอัพต้องลดจำนวนพนักงานเป็นเพราะ ต้องระมัดระวังในการจัดการต้นทุนในสภาพแวดล้อมนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถวิ่งได้ไกลถึงปี 2567

“มีสัญญาณว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ดังนั้น ความต้องการของลูกค้าจึงมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2566 และความจริงก็คือ เราเพิ่มค่าใช้จ่ายและจ้างงานได้อย่างรวดเร็ว แต่เราใช้เวลาในการหารายได้นานกว่าที่คิดไว้

เควกยังกล่าวอีกว่า เป็นเรื่องรอบคอบเท่านั้นที่บริษัทจะสามารถทำกำไรเป็นกลุ่มได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากยังไม่ชัดเจนว่าสภาวะตลาดจะดีขึ้นหรือไม่

ด้าน เจฟรีย์ โจ ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Alpha JWC Ventures ในอินโดนีเซีย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เหล่าสตาร์ทอัพถูกออกแบบมาให้ เร่งการเติบโต อาทิ Sea Group และ Grab ที่ขาดทุนสะสมมาหลายปี แต่ปัจจุบันบริษัทจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเปลี่ยนจากการเติบโตอย่างรวดเร็วไปสู่ การเติบโตอย่างยั่งยืนแทน ขณะที่เหล่านักลงทุนในปัจจุบันก็กำลังเน้นให้เหล่าสตาร์ทอัพโฟกัสการทำตลาดในระยะยาวมากกว่า

Source

]]>
1411739
มองตลาด IPO ในอาเซียนยัง ‘ร้อนเเรง’ จับตาครึ่งปีหลัง ‘หุ้นไทย’ มีแนวโน้มทำสถิติสูงสุด https://positioningmag.com/1337449 Thu, 17 Jun 2021 05:13:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337449 นักวิเคราะห์จาก Dealogic ประเมินตลาด IPO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงร้อนเเรงจับตาครึ่งปีหลัง หุ้นไทยโดดเด่นมีแนวโน้มทำสถิติสูงสุดในปีนี้

Ken Fong หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Dealogic ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC ว่า ในปีนี้จำนวนการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหุ้นไทย มีแนวโน้มจะทำสถิติสูงสุด เมื่อเทียบกับตลาดอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศไทยกำลังไปได้สวย และยังคงมีแนวโน้มที่ดีต่อจากปีที่แล้ว

จากข้อมูลของ Dealogic ระบุว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2021 มูลค่าดีล IPO ในตลาดหุ้นไทย อยู่ที่ 2.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละยังไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนแรงลง ทำให้คาดการณ์ว่า IPO ในตลาดหุ้นไทยจะทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ในปีนี้

ตามปกติเเล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีรายชื่อบริษัทที่เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ราว 30 รายต่อปี ส่วนใหญ่จะเลือกเข้าจดทะเบียนและซื้อขายในช่วงครึ่งปีหลัง

ประมาณ 70-80% ของการทำ IPO มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 4 และ ไตรมาส 3 ของทุกปี” 

โดยหุ้น IPO ในประเทศไทย นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน มีการเข้าจดทะเบียนแล้ว 14 ราย คิดเป็นครึ่งหนึ่งของข้อมูลเชิงสถิติรายปี ซึ่งมีเม็ดเงินจากการทำ IPO สูงกว่าค่าเฉลี่ยของแต่ละปีที่ 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปเรียบร้อยแล้ว

Fong มองว่า เเม้ผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาด จะส่งผลต่อตลาดหุ้นหลายแห่ง แต่ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อตลาด IPO มากนัก

สำหรับตลาด IPO ของประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะตลาดฟิลิปปินส์ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง เมื่อบริษัท ‘Monde Nissin’ ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ของประเทศนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาด ขณะที่ตลาดหุ้น IPO ในมาเลเซียและสิงคโปร์ อยู่ในภาวะค่อนข้างเงียบเหงา

Fong กล่าวเสริมถึงประเด็นที่น่าสนใจอย่าง ‘Very high one-day pop’ หรือหุ้น IPO ที่เป็นที่นิยมแค่วันเดียว คือเเม้ตลาดหุ้นในอาเซียนจะมีทิศทางที่ดี เเต่มักจะได้รับความสนใจเเค่วันที่เข้าซื้อขายวันเเรก

ยกตัวอย่างหุ้น IPO ในไทย เช่น หุ้นของบมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR ที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ไปเมื่อเดือนก..ที่ผ่านมา โดยมีราคาซื้อขายวันแรกเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 62.5% และหุ้นของ บมจ.เงินติดล้อ หรือ TIDLOR ที่ราคาซื้อขายก็เพิ่มขึ้นประมาณ 25% จากราคา IPO ในวันเปิดตัว

โดยทั้ง 2 บริษัทดังกล่าว ติด 1 ใน 3 ของบริษัทจดทะเบียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เขายืนยันว่า ช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ตลาดหุ้น IPO ในอาเซียนจะยังร้อนแรงต่อเนื่อง เเละการเสนอขายหุ้นขนาดใหญ่เหล่านี้ ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ก้าวเข้ามาสู่ตลาด IPO ได้มากขึ้นเช่นกัน

 

ที่มา : CNBC , SET 

 

]]>
1337449