เอเยนซี่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 29 Jan 2021 01:21:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 GroupM แนะ 6 แนวทาง นักการตลาดฝ่าวิกฤต COVID-19 รอบใหม่ https://positioningmag.com/1315869 Thu, 28 Jan 2021 14:50:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315869 จากช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในหลายจังหวัด แม้รอบนี้จะยังไม่ถูกล็อกดาวน์ และหยุดกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจ แต่ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยในวงกว้าง แม้จะมีบทเรียนมาแล้วจากปี 2563 แต่แบรนด์และนักการตลาดยังจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ รวมถึงวางแผนที่ต้องปรับตามสถานการณ์อย่างเหมาะสมจากความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นใหม่ในปีนี้

กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย (GroupM) กลุ่มเอเยนซี่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) จับมือกับเอเยนซี่ในเครือได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ ได้ทำการสรุปคำแนะนำสำคัญดังนี้

1. เร่งขยายช่องทางจัดจำหน่ายออนไลน์ให้เหมาะสมกับธุรกิจ

บทเรียนจากปีที่แล้ว ผู้บริโภคไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงกังวลเรื่องความปลอดภัยจึงหันไปพึ่งพาการซื้อของออนไลน์แทน โดยพบว่าในช่วงการแพร่ระบาดนั้น ผู้บริโภคกว่า 89% ใช้เวลาไปกับการการซื้อของออนไลน์มากขึ้น (GroupM Consumer Eyes) อีกทั้งเพื่อความอยู่รอด หลายอุตสาหกรรมต่างปรับตัวสร้างช่องทางจำหน่ายบนตลาดออนไลน์ของตัวเอง ส่งผลให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในภาพรวมปี 2020 สูงขึ้นถึง 35% (FOCAL 2020 – eCommerce Outlooks)

การกลับมาของ COVID-19 ระลอกใหม่นี้ ผู้บริโภคไทยมีความคุ้นเคยกับการซื้อของผ่านทางออนไลน์อยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ ที่เคยสร้างอีโคซิสเท็มในการจำหน่ายทางออนไลน์ให้ตัวเองไปแล้วได้ลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อต่อยอดการสร้างโอกาสในการขายอย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์นี้

ซึ่งตอนนี้นักการตลาดไม่ควรมองแค่แพลตฟอร์มการขายเดียว แต่ยังต้องเข้าถึงแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ลักษณะการขายของที่เหมาะสมกับสินค้าของตัวเอง รวมถึงหาพาร์ตเนอร์ที่สามารถขยายช่องทางการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ได้ เพิ่มเติมจากแต่เดิมที่อาจใช้เว็บไซต์ และการขายผ่านทาง Online Marketplace ไปยังช่องทางอื่นๆ เช่น Social Commerce การร่วมมือกับ Influencer เพื่อสร้างยอดขาย ตลอดจนการมองหาช่องทางใหม่ๆ หรือแอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคใช้ในการจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้า เฉพาะหมวดหมู่

2. เพิ่มการลงทุนในช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างจำเพาะเจาะจง

ในวันนี้คอนเทนต์ที่ผู้บริโภคติดตามไม่ได้จำกัดแค่ทางสื่อโซเชียลหรือเว็บไซต์ และผู้บริโภคมีพฤติกรรมการข้ามไปมาระหว่างแพลตฟอร์มมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น การวางแผนซื้อสื่อทีละแพลตฟอร์มด้วยวิธีเดิม ไม่สามารถตอบสนองการเข้าถึงผู้บริโภคและสร้างความน่าสนใจได้อย่างทันเวลา

ต่อจากนี้แบรนด์และนักการตลาดต้องสามารถเข้าถึง Touchpoint ต่างๆ ได้ตลอดเวลา และสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อให้การลงทุนทางการตลาดมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีอย่าง Programmatic ที่มี AI วิเคราะห์ข้อมูลและยิงโฆษณาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเดียวกันในแพลตฟอร์มที่ต่างกัน ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าและคุ้มค่ากว่าการลงทุนแบบแยกทีละแพลตฟอร์ม

3. เตรียมตัวสู้การแข่งขันในยุค Data Driven

ธุรกิจต่างๆ มีบทเรียนจากการแพร่ระบาดครั้งที่แล้ว และหันไปพึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือดเพื่อแยกลูกค้ากันในแต่ละแพลตฟอร์ม พื้นฐานของการตลาดแบบ Data Driven ที่แข่งกันว่าใครใช้ Data เก่งกว่ากัน และไม่ได้จำกัดอยู่ที่การยิงโฆษณา แต่เป็นการทำ Promotion การใช้ Performance Marketing และการทำ Personalisation รวมไปถึงการทำ CRM ที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างโอกาสเพิ่มยอดขาย

สิ่งสำคัญของแบรนด์และนักการตลาดคือการหาพาร์ตเนอร์ที่มีความสามารถในการช่วยแปลง Data ให้กลายเป็นความรู้ที่สามารถสร้างข้อได้เปรียบในการวางแผนกลยุทธ์การขาย เพราะสามารถเลือกทำกลยุทธ์ได้หลายแบบ ทั้งในเรื่องของ ราคา การจัด Promotion การหาลูกค้าเพิ่มจากแพตลฟอร์มใหม่ อีกทั้งแบรนด์ใหญ่ ๆ ยังสามารถสร้างข้อได้เปรียบจากการใช้สื่อที่มี Outcome Guaranteed

4. ต้องไม่หยุดสร้าง Brand Awareness

แม้การแข่งเรื่องโปรโมชัน ราคา จะรุนแรงขึ้น แต่แบรนด์ใหญ่ต้องไม่ลดการลงทุนสื่อเพื่อสร้างการจดจำ ซึ่งเป็นโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มความมั่นใจและเชื่อใจในระยะยาว อีกทั้งเป็นการลดโอกาสในการถูกคู่แข่งแย่งผู้บริโภคไปในการแข่งขันเรื่องราคา และโปรโมชันที่เข้มข้นขึ้น

สำหรับแบรนด์หน้าใหม่ ช่วงนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะการเข้าถึงผู้บริโภคที่อยู่บ้านและมีเวลารับสื่อมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อ Offline อย่างโทรทัศน์ หรือการเลือกใช้ Influencer Marketing เพื่อสร้างการจดจำ รวมถึงมีโอกาสสร้างยอดขายมากขึ้นตามไปด้วย

Beautiful asian woman blogger is showing how to make up and use cosmetics. In front of the camera to recording vlog video live streaming at home.Business online influencer on social media concept.

5. ตามติดสถานการณ์ แบบ Realtime จากภาครัฐ

เมื่อเทียบกับการแพร่ระบาดในระลอกแรก มาตราการต่างๆ จากภาครัฐในเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าเดิม รวมถึงพื้นฐานความเข้าใจต่อการใช้เทคโนโลยีของผู้บริโภคก็เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว และพร้อมเข้ารวมกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น เราชนะ หรือ คนละครึ่ง ที่ผู้บริโภคเข้าถึงการใช้สิทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับมาตรการอื่นๆ ในปี 2563

นักการตลาดต้องทำงานแบบ Agile ที่ต้องมีความรวดเร็ว และปรับตัวให้เข้าถึงโอกาสที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

6. เตรียมแผนไว้รองรับเหตุกาณ์ไม่คาดฝันเสมอ

ต้องมีแผนสำรองในการรับมือกับสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ โดยจำเป็นมีแผน 2 3 หรือ 4 เผื่อไว้ ทีมงานต้องมีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ รวมถึงทำงานร่วมกันเพื่อให้แผนสำรองที่เตรียมไว้สามารถทำงานได้ทันทีเมื่อจำเป็น ซึ่งจะทำให้จัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าการมีแผนเดียวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นรายครั้งไป

]]>
1315869
โกลบอลผนึกโลคอล! YDM Thailand ฮุบ MullenLowe เสริมจุดแข็งครีเอทีฟเอเยนซี่ https://positioningmag.com/1267684 Wed, 11 Mar 2020 13:50:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1267684 เป็นอีกดีลที่น่าสนใจในวงการเอเยนซี่โฆษณา เมื่อ YDM Thailand เข้าซื้อกิจการ MullenLowe Thailand เอเยนซี่ในเครือ IPG แม้จะไม่เปิดเผยมูลค่าดีล แต่ชี้ให้เห็นถึงทิศทางของวงการเอเยนซี่ระดับโลกที่ต้องพึ่งพาเอเยนซี่โลคอลมากขึ้น

เติมพอร์ตครีเอทีฟเอเยนซี่

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวถึงการซื้อกิจการในวงการเอเยนซี่โฆษณา โดยที่ YDM Thailand ดิจิทัลเอเยนซี่สัญชาติไทย ได้เข้าซื้อกิจการ MullenLowe Thailand (มัลเลนโลว์ ไทยแลนด์) เป็นเอเยนซี่ในเครือ IPG กลุ่มธุรกิจเอเยนซี่ยักษ์ใหญ่ของโลกสัญชาติอเมริกันอีกราย แต่ไม่มีการเปิดเผยถึงมูลค่าการซื้อขาย

การที่ทั้ง 2 เอเยนซี่ผนวกรวมเข้าด้วยกัน เปรียบเหมือนการทำงานของเอเยนซี่ระดับโกลบอล และระดับโลคอล โดยที่เบื้องหลังของดีลนี้เกิดจากที่ IPG มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารในโซนอาเซียนจากที่ดำเนินธุรกิจด้วยตัวเองเป็นการหาพาร์ตเนอร์ที่เป็นเอเยนซี่โลคอลช่วยดูแลแทนก่อนหน้านี้มีการเปลี่ยนมือที่เวียดนาม และมาเลเซียแล้ว จนมาถึงประเทศไทย และกำลังจะเปลี่ยนที่ฟิลิปปินส์ต่อเป็นประเทศถัดไป

จริงๆ แล้วก่อนหน้านี้ YDM ได้เคยซื้อกิจการ FCB Bangkok ครีเอทีฟเอเยนซี่ ทำให้ IPG ได้เห็นประสบการณ์ในการบริหาร จึงเจรจาในการส่ง MullenLowe เข้ามาอยู่ในครอบครัวอีกราย

MullenLowe เป็นครีเอทีฟแอดเวอร์ไทซิ่งเอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ระดับตำนาน เดิมจะรู้จักกันในชื่อ ลินตาส ประเทศไทย ทำตลาดในไทยมากว่า50 ปีมาแล้ว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “MullenLowe” และในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

โดยพื้นฐานแล้ว YDM Thailand เติบโตจากการเป็นดิจิทัลเอเยนซี่ ปัจจุบันมีบริษัทในเครือ 10 บริษัท มีบริการที่โฟกัสในธุรกิจดิจิทัล การที่ได้ MullenLowe เข้ามาอีกบริษัท เป็นการเติมพอร์ตบริการครีเอทีฟเอเยนซี่ หรือครีเอทีฟงานโฆษณามากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริการออฟไลน์ เรียกว่าอุดจุดอ่อนที่บริษัทเคยมี

เดินเกม Under One Roof บริการลูกค้าครอบจักรวาล

ถ้าดูจาก 10 บริษัทในเครือของ YDM แล้ว ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ปั้นขึ้นมาเอง มีทั้งโมเดลสร้างเอง พาร์ตเนอร์ และร่วมทุน มีเพียง 3 บริษัทที่ทำการซื้อกิจการ

ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ CEO บริษัท YDM Thailand เล่าว่า

การได้ MullenLowe เข้ามาอีกแบรนด์เป็นกลยุทธ์ระยะยาว ก่อนหน้าซื้อ FCB เข้ามาก็ลองทำงานแบบกลยุทธ์ แต่เดิมจุดแข็งคืองานดิจิทัล แต่จุดอ่อนคือ การทำแบรนดิ้ง เลยเอา FCB เอามาเติมให้แข็งมากขึ้น จึงเห็นโมเดลความสำเร็จที่เคยทำกับ FCB ซึ่ง MullenLowe เชี่ยวชาญด้าน Branding & Creative”

ทำให้ตอนนี้ YDM มีครีเอทีฟเอเจนซี่ในเครือ 3 บริษัท คือ นวิน คอนซัลแทนต์, FCB Bangkok และ MullenLowe Bangkok 

เป็นการเดินกลยุทธ์ Under One Roof ภายใต้บริษัทเดียว สามารถบริการลูกค้าได้ครบวงจรได้ ให้บริการด้านการตลาดครบวงจรทั้งออฟไลน์ออนไลน์แบบ One Stop Service 

เตรียมแต่งตัวเข้าตลาด ระดมทุนเสริมเรื่องดาต้า

ในปี 2019 YDM มีรายได้รวม 580 ล้านบาท ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ 650 ล้านบาท ในตัวเลขนี้มีรายได้จาก MullenLowe เพิ่มมาอีก 50 ล้านบาท

มีการตั้งเป้าว่าภายใน 1-2 ปีจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะเป็นการระดมทุนในการลงทุนเพื่อเติมจุดแข็งให้บริษัทมากขึ้น

ถ้าถามว่าสนใจธุรกิจด้านไหนอีกธนพลบอกว่ายังมีบริการอื่นๆ อีกหลายอย่างที่เข้ามาเสริมการพาตลาดเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อต้องการระดมทุนขยายนวัตกรรมอื่นๆ เรื่องดาต้า รวมถึงการขยายไปต่างประเทศในโซนอาเซียนมากขึ้นด้วย

ปัจจุบัน YDM มีพนักงานกว่า 200 คน และมีธุรกิจในเครือ 10 บริษัท ประกอบด้วย

  • แอดยิ้ม (Adyim) ให้บริการด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่น
  • ก็อตติไมซ์ (Gottimize) เชี่ยวชาญด้านการวางแผน และการซื้อสื่อโฆษณาออนไลน์
  • เรวู (REVU)  แพลทฟอร์มด้านการสร้างรีวิวสินค้าผ่าน Micro influencer
  • เอวีจีไทยแลนด์ (AVG Thailand) ให้บริการด้านการตลาดดิจิทัลสำหรับแบรนด์ไทยที่ต้องการบุกตลาดจีน
  • แอดพ็อกเก็ต (AdPocket) ให้บริการโฆษณาบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ
  • ดูเออร์ (Doer) แพลตฟอร์มรับพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมีทีมฟรีแลนซ์ทำงานผ่านระบบมากกว่า 200 คน
  • นวิน คอนซัลแทนต์ (Nawin Consultant) บริษัทที่ปรึกษาแบรนด์ในยุคดิจิทัล
  • แจ่มจรัส (Jamjaras) ให้บริการด้านการตลาดภูธร
  • เอฟซีบี แบงคอก (FCB Bangkok) ครีเอทีฟ แอดเวอร์ไทซิ่ง เอเจนซี
  • MullenLowe Bangkok เครือข่ายเอเจนซี่ในเครือ IPG
]]>
1267684