โลกออนไลน์ไม่ได้มีแค่แก็งค์คอลเซ็นเตอร์ ที่เป็นภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน แต่ยังมีการหลอกลวงอีกหลากหลายวิธี ที่วันนี้มิจฉาชีพได้หากลลวงมาหลวงลวง ที่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล
‘เอไอเอส’ ตระหนักถึงจุดนี้ดี จึงสร้างเครื่องมือให้คนไทยใช้ ‘เช็คภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์’ พร้อมกับสามารถรับ ‘วัคซีนป้องกัน’ ให้รู้เท่าทันการใช้งานดิจิทัล
จากการเปิดเผยของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า นับตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2567 มีการแจ้งความอาชญากรรมไซเบอร์ผ่านระบบแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด 612,603 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 69,186 ล้านบาท เฉลี่ยความเสียหายวันละกว่า 78 ล้านบาท
เมื่อเจาะลึกลงไปพบว่า เหยื่อคดีอาชญากรรมไซเบอร์ส่วนใหญ่เป็น ผู้หญิง (64%) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 22-59 ปี มากที่สุด ขณะที่ 5 คดีที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่
จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงระดับความเสี่ยงที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์กำลังเผชิญอยู่ในทุก ๆ วัน และ AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัล จึงได้ออก Digital Health Check เครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ อีกทั้งจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันด้วยหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เพื่อส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ที่ถูกต้องเหมาะสม
“Digital Health Check ก็เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพประจำปี และรอฟังผลได้เลยว่าเราอยู่ในระดับไหน ซึ่งเอไอเอสจะมีวัคซีนที่เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะหลักที่ย่อยง่าย เช่น ละครคุณธรรม, การ์ตูน เป็นต้น” สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าว
นอกเหนือจาก Digital Health Check แล้ว ทาง AIS ยังได้จัดทำ Thailand Cyber Wellness Index ที่ AIS ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการในการจัดทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นหนึ่งในชุดข้อมูลสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและความเข้าใจการใช้งานและรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ในมิติต่าง ๆ ได้แก่
การแสดงความสำพันธ์ทางดิจิทัล
สำหรับผลการศึกษาในปีนี้ จากกลุ่มตัวอย่างทุกเจนเนอเรชั่น จำนวน 50,965 ราย ใน 77 จังหวัด พบว่า คนไทยมีความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลเพิ่มขึ้น แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับ พื้นฐาน (46%) ขณะที่กลุ่มที่มีความรู้ระดับสูงอยู่ที่ 35.5% และกลุ่มที่ต้องระมัดระวัง 18.5% ขณะที่กลุ่มวัยที่เสี่ยงที่สุด ได้แก่ เด็กอายุ 10-15 ปี และ ผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม จุดที่น่ากังวลที่สุดคือ คนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) โดยเฉพาะในประเด็น ความเสี่ยงที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่าน รวมถึงยังไม่ทราบว่า การเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะเป็น HTTPS เป็นต้น
“ในแกนการสร้างวิสดอม เราจะมีการสื่อสารที่เข้มข้นมากขึ้น เพราะเราต้องการนำเครื่องมือนี้เข้าสู่ประชาชนมากขึ้นเพื่อให้คนรู้ว่ามีภูมิแค่ไหน เพราะเป็นภัยใกล้ตัวมาก ดังนั้น ไม่ใช่แค่ร่วมกับโรงเรียนที่เราทำร่วมกับสพฐ. และกทม. แต่เราคุยกับกระทรวงพม. เพื่อนำตรงนี้เข้าไปสู่ประชาชนให้มากที่สุด”
นอกจากการเผยแพร่องค์ความรู้แล้ว AIS ยังมีสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยนับตั้งแต่ให้บริการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการกว่า 2 ล้านสาย นอกจากนี้ AIS ยังมีบริการ AIS Secure Net โดยในระยะเวลา 1 ปี สามารถบล็อกเว็บไซต์อันตรายไปแล้วกว่า 16.57 ล้านครั้ง บล็อกเว็บไซต์ปลอม 940,267 เว็บไซต์ และในปีนี้ AIS ให้ ลูกค้า AIS ใช้บริการ AIS Secure Net ฟรี 12 เดือน โดยกด *689*6#
นอกจากนี้ ยังเพิ่มเลือกให้กับลูกค้าด้วย บริการ Secure Net+ Protected by MSIG โดยจะช่วยปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง พร้อมแถมประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG ที่มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท ในราคาเดือนละ 39 บาท โดยกด *689*10# โทรออก เพื่อสมัคร
“ที่ผ่านมาเรามีการร่วมมือกับทั้งกรมตำรวจ กระทรวงดีอี นำไปสู่การจับกุมมิจฉาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการบล็อกสัญญาณตามแนวตะเข็บชายแดน, การลงทะเบียนซิม ดังนั้น AIS จะไม่หยุดแค่การสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยี แต่ AIS จะมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับการป้องกันมากขึ้น โดยปีหน้าเราจะยกระดับเน็ตเวิร์กให้ปลอดภัยกว่าเดิม” สายชล ทิ้งท้าย
]]>คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพด เล่าให้ฟังว่า ตลาดรวม เบอร์มงคล อาจมีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านบาท เพราะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการขายของพ่อค้า-แม่ค้าที่ขายเบอร์มงคล แต่ถ้านับเฉพาะยอดขายของเบอร์มงคลของเอไอเอสอยู่ที่ปีละ 1,000 ล้านบาท โดยลูกค้าที่เปิดเบอร์มงคล 70% จะมี 2 เบอร์ขึ้นไป และ 90% เมื่อเปิดเบอร์แล้วจะไม่ทิ้ง ดังนั้น ลูกค้ากลุ่มนี้จะมีอัตรา Churn Rate หรือยกเลิกการใช้บริการที่ต่ำกว่าเบอร์ทั่วไป 5%
ที่สำคัญ ลูกค้าเบอร์มงคลจะมียอดใช้งานเฉลี่ย หรือ ARPU (Average Revenue Per User) ที่สูงกว่าลูกค้าโพสต์เพด (ลูกค้ารายเดือน) ปกติเกือบ 2 เท่า อยู่ที่ประมาณ 800 บาทต่อเดือน จากปกติเฉลี่ย 448 บาทต่อเดือน
“80% ของคนไทยมีความเชื่อเรื่องโชคลางเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องตัวเลขมันเป็นพื้นฐานของความเชื่อ ซึ่งเราเข้ามาเติมในส่วนนั้น ซึ่งกลุ่มลูกค้าเบอร์คงมคลถือเป็นกลุ่มลูกค้าคุณภาพ เพราะ Chun rate ต่ำ, ยินดีใช้แพ็กสูง และมีโอกาสซื้อต่อ เพราะเขาเชื่อมั่น” คณาธิป ธีรทีป กล่าว
คณาธิป เล่าต่อว่า สำหรับเอไอเอสได้เริ่มทำตลาดเบอร์มงคลตั้งแต่ปี 2014 โดยเริ่มจากการดึง แมน การิน (แมน แมทจิเซียน) มาช่วยคัดเบอร์มงคล โดยเริ่มจากเลขสี่ตัวท้าย จนปัจจุบันเป็นเบอร์มงคลผลรวม นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับอาจารย์ท่านอื่น ๆ อีก แต่เบอร์ของแมน การิน ถือว่าได้รับความนิยมที่สุด
ปัจจุบัน เอไอเอสมียอดขายเบอร์มงคลเฉลี่ย 3 หมื่นเบอร์/เดือน นับตั้งแต่เอไอเอสได้เริ่มทำตลาดเบอร์มงคลตั้งแต่ปี 2014 ปัจจุบัน เอไอเอสมีจำนวนเบอร์มงคลในตลาดสะสมกว่า 1.2 ล้านเบอร์ และเบอร์มงคลสามารถเติบโตเฉลี่ย 5-10% ทุกปี ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีก็ตาม
“30% ของคนเปิดเบอร์ใหม่ ถ้าเลือกได้เขาจะเลือกเบอร์มงคลหรือเบอร์สวย โดยส่วนใหญ่ต้องการไปเสริมเรื่องการเงิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องของค่าใช้จ่ายก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาจะเลือก”
แม้ว่าจำนวนเบอร์จะมีมากกว่าจำนวนประชากร แต่เบอร์มงคลยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก จากจำนวน ดีไวซ์อื่น นอกเหนือจากสมาร์ทโฟน แม้บางดีไวซ์จะใช้ อีซิม แต่ผู้บริโภคไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา ขอแค่ได้เบอร์ที่ความหมายดี นอกจากนี้ กลุ่ม New Gen อายุต่ำกว่า 30 ปี ก็เป็นกลุ่มที่สนใจเลือกใช้เบอร์มงคลด้วย โดยจะช่วยกระตุ้นให้ เปลี่ยนจากพรีเพด เป็นโพสต์เพดเพื่อใช้เบอร์มงคล
“ตอนแรกเราคิดว่าพอเป็นอีซิมแล้วจะไปไม่ได้ แต่กลายเป็นว่าเบอร์มันกลายเป็น Identity ที่สร้างความเชื่อมั่น ดังนั้น ขอแค่มีเบอร์ก็สามารถสร้างความมั่นใจให้ลูกค้ากลุ่มนี้ แม้จะไม่มีซิม”
อย่างไรก็ตาม ตลาดเบอร์มงคลก็ใช่ว่าจะไม่มีการแข่งขัน แต่แข่งขันกันที่ อาจารย์ ซึ่งเป็นส่วนที่มีผลมากในการตัดสินใจ โดยเอไอเอสร่วมกับแมน การินมาเป็นสิบปี ทำให้มีฐานแฟนคลับเหนียวแน่น ซึ่งจุดนี้ทำให้เอไอเอสสามารถทำตลาดได้ง่าย เพราะต้องยอมรับว่าเอไอเอสเป็นบริษัทเกี่ยวกับ เทคโนโลยี ดังนั้น การจะทำการตลาดเกี่ยวกับเรื่องสายมูถือเป็น ความท้าทาย ดังนั้น เอไอเอสจะทำการตลาดเฉพาะกลุ่มที่มีความเชื่อหรือสนใจมากกว่าทำแบบแมส
“ตอนแรกเราก็กังวลว่าการตลาดแบบนี้จะทำให้กระทบภาพลักษณ์ของบริษัทที่ทำเรื่องเทคโนโลยีหรือเปล่า ดังนั้น เราก็มีการทำรีเสิร์ชเยอะ แต่เราไม่ได้ทำให้เขาเชื่องมงาย ไม่ได้ไปคอมมิดว่าใช้แล้วจะได้นั่นนี่ แค่เสริมสร้างความมั่นใจกับลูกค้ากลุ่มนี้”
ล่าสุด เอไอเอสได้เปิดตัว เบอร์ตระกูลกวนอู 639 ซึ่งถือเป็นตระกูลเลขอันดับ 3 ที่ได้รับความนิยมต่อจาก กลุ่มเลขเบอร์หงส์-มังกร 789 / 289 สำหรับเบอร์ตระกูลกวนอูมีจำหน่ายทั้งหมด 20,000 เบอร์ เอไอเอสจำหน่ายในราคา 199 บาท แพ็กเกจเริ่มต้น 399 บาท สัญญาขั้นต่ำ 6 เดือน
“คนจีนยกให้กวนอูเป็นเทพแห่งสวรรค์ อยากชนะเหนือคู่แข่ง เติบโตในหน้าที่การงาน เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง หรือการสอบแข่งขัน และเรื่องของความยุติธรรม ใครโดนกลั่นแกล้งให้บูชาเทพกวนอู โดยเลข 639 เป็นเลขวีรบุรุษ ฝ่าฟันอุปสรรค เลขแห่งชัยชนะ” แมน การิน เล่า
สำหรับรายได้จากกลุ่มเบอร์มงคล เอไอเอสคาดว่าจะเติบโต 10% มีรายได้ 1,300 ล้านบาท
]]>นับตั้งแต่ปี 2019 ที่ เอไอเอส (AIS) ประกาศวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนอุตสาหกรรม เกม ของไทย เอไอเอสก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมจนปัจจุบันคาดว่าจะมีมูลค่าทะลุ 4 หมื่นล้านบาท และหนึ่งในตัวช่วยสำคัญก็คือ AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์
นับตั้งแต่ประเทศไทยมี สมาคมอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย เกิดขึ้นในปี 2017 และในปี 2019 เอไอเอส (AIS) ก็ประกาศ 3 นโยบายสนับสนุนโดยมีจุดมุ่งหมาย ยกระดับเกมเมอร์ไทยไปมืออาชีพ ได้แก่ 1. สร้างเน็ตเวิร์คอินฟราสตรัคเจอร์สำหรับอีสปอร์ต 2. สร้างเวทีการแข่งขัน เพื่อเสริมสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้นักกีฬาอีสปอร์ต และผู้ที่มีความสนใจในวงการนี้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน และ 3. สร้างคอมมูนิตี้อีสปอร์ตให้แข็งแรงผ่านทาง AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ และ AIS eSports STUDIO at SIAM
สำหรับ AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 ซึ่งถือเป็น คอมมูนิตี้ฮับอีสปอร์ตแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใจกลางกรุงเทพฯ ณ ชั้น 2 สามย่านมิตรทาวน์ และมาปลายปี 2023 เอไอเอสก็เปิด AIS eSports STUDIO at SIAM ตามมา ปัจจุบัน AIS eSports STUDIO ทั้ง 2 สาขามีจำนวนผู้ใช้งานรวมกันเฉลี่ยกว่า 300 คน/วัน หรือราว 10,000 คน/เดือน และมีจำนวน Members กว่า 30,000 ราย
“ในปี 2019 ที่เราประกาศวิสัยทัศน์ว่าจะสนับสนุนอีสปอร์ต ซึ่งอาจจะเกิดคำถามว่าถึงการสนับสนุนดังกล่าวเพราะคนทั่วไปอาจจะยังติดภาพจำในอดีตของการเล่นเกม แต่ในปัจจุบันนี้ เราเห็นนักกีฬาที่ได้เหรียญในการแข่งขันซีเกมส์ และอีกจุดเปลี่ยนคือ ในปี 2021 ที่ราชกิจจาฯ ประกาศให้อีสปอร์ตเป็นกีฬา” รุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการพันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS กล่าว
นับตั้งแต่ที่เอไอเอสประกาศวิสัยทัศน์ด้านอีสปอร์ต เอไอเอสก็ได้ทำงานร่วมกับ พันธมิตร หลากหลายด้าน รวมถึงมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดทัวร์นาเมนต์แข่งขันอีสปอร์ต, โครงการ AIS eSports Young Caster Talent ที่ช่วยฝึกฝนให้เด็กรุ่นใหม่ที่อยากเป็นนักพากย์แข่งเกม จนสามารถป้อนบุคลากรด้านอีสปอร์ตใหม่ ๆ เข้าสู่อุตสาหกรรม อาทิ ณัฏฐณิชชา ภูวสิริโรจน์ หรือ MORFINN ที่เคยเข้าโครงการ AIS eSports Young Caster Talent ปี 2 โดยปัจจุบันเป็นทั้งนักกีฬาอีสปอร์ตและแคสเตอร์
“เรามองว่าความครบและความสม่ำเสมอคือหัวใจสำคัญ ดังนั้น เราพยายามทำให้ครบและต่อเนื่อง อย่างโครงการ AIS eSports Young Caster Talent เราทำมา 3 ปีติดต่อกัน แต่เราไม่ได้มองว่าจะไปสร้างสังกัดส่งนักกีฬาแข่ง เราเป็นแค่เวทีให้เด็ก ๆ แสดงความสามารถ เพื่อให้สังกัดหรือค่ายที่เห็นแววมานำเข้าไปในอุตสาหกรรม” รุ่งทิพย์ อธิบาย
อีกความต่อเนื่องที่ทำก็คือ อักเกรด AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ โดยครั้งนี้เอไอเอสตั้งใจจะพลิกโฉมให้ยกระดับไปอีกขั้นด้วยประสบการณ์ที่เหนือกว่าด้วย บรอดแบนด์ไฟเบอร์ระดับ 5000/5000 Mbps ควบคู่ไปกับ สุดยอดเทคโนโลยีเกมมิ่งพีซี เกมมิ่งเกียร์สเปกไฮเอนด์ระดับโปรเพลเยอร์แบบครบวงจร อาทิ การใส่ INTEL CORE i7-14700KF และการ์ดจอตัวแรงระดับเทพ VGA GALAX RTX 4080 SUPER SG PCI-E 16GB GDDR6X ในคอมพิวเตอร์ การใช้จอภาพ Samsung Odyssey G7 Series 28” 4K 144Hz เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับ RIOT Games นำเกมยอดนิยมอย่าง Valorant, League of Legends และ Teamfight Tactics มาเปิดให้บริการที่นี่ที่เดียว
นอกจากอัพเกรดเครื่องและได้พาร์ทเนอร์ค่ายเกมระดับโลกเป็นพันธมิตร AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ ยังการเปิด Arena Zone ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับจัดการแข่งขันอีสปอร์ต และกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการจัดการที่ครบครันทั้งระบบแสง สี เสียง ที่ทันสมัย เพื่อรองรับการแข่งขันอีสปอร์ตที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเปิดกว้างให้กับโปรโมเตอร์, แบรนด์, และองค์กรต่าง ๆ เข้ามาใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมและการแข่งขัน โดยที่ผ่านมา Arena Zone ได้จัดกิจกรรมและการแข่งขันมาแล้ว มากกว่า 100 รายการ
“เอไอเอสย้ำมาตลอดเรื่องการไปกับพันธมิตร ดังนั้น เราคิดว่าเอไอเอสทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มมากกว่าจะสร้างทั้งต้นน้ำและปลายน้ำเอง”
สำหรับอุตสาหกรรมเกมไทยถือเป็น อันดับ 2 ของอาเซียน โดยในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 41,000 ล้านบาท มีจำนวนประชากรที่เล่นเกมราว 42 ล้านคน และกว่าครึ่ง (23 ล้านคน) มีการใช้จ่ายกับเกมโดยเฉลี่ยแตะเกือบ 1,800 บาท เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอุตสาหกรรมเกมไทยจะใหญ่ และภาพลักษณ์ก็ดีขึ้นกว่าอดีต แต่ รุ่งทิพย์ มองว่า อุตสาหกรรมยัง มีความท้าทาย คือ ไทยยังเป็นประเทศผู้บริโภค ยังขาดส่วนของ การผลิต นี่จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ต้องเร่งพัฒนาในอนาคต
“อุตสาหกรรมเกมไทยพัฒนาขึ้นมาก แต่เราพัฒนาแต่ยังไม่สุด โดยเฉพาะเกมจากคนไทยที่ยังมีน้อย ส่วนใหญ่ยังเป็นเกมอินดี้เล็ก ๆ ดังนั้น ขาของเดเวลอปเปอร์ยังต้องพัฒนาอีกเยอะ อีกเรื่องคือ เรายังไม่มีสถานที่ที่จัดแข็งระดับโปรจริง ๆ ส่วนใหญ่จะจัดในห้างฯ ยังไม่มีสเตเดี้ยมเฉพาะ ซึ่งถ้าเป็นประเทศใหญ่ ๆ อย่างเกาหลีมี แต่ในอาเซียนยังไม่มีใครมี” รุ่งทิพย์ ทิ้งท้าย
]]>
หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เป็นอย่างดี เพราะถือเป็นองค์กรชั้นนำด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานยั่งยืนในระดับภูมิภาค แต่ที่หลายคนอาจไม่รู้ก็คือ GULF ได้ทำโครงการ CSR มากว่า 30 ปี และหนึ่งในโครงการที่ทำอยู่ก็คือ การติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) ในพื้นที่ทุรกันดาร โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2566 ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ บ้านห้วยน้ำไซ อ.นครไทย จ.พิษณุโลกเกาะทุ่งนางดำ อ.คุระบุรี จ.พังงา และบ้านดอกไม้สด อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
หลังจากที่ไปติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ GULF ก็เห็นปัญหาว่าในหลายพื้นที่ที่ไปนั้น ไม่มีเสาสัญญาณดิจิทัล ดังนั้น เพื่อจะให้พื้นที่นั้น ๆ เข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน GULF จึงได้ร่วมกับ AIS ทำโครงการ Green Energy Green Network for THAIs เพื่อผนึกกำลังขยายสัญญาณสื่อสาร มอบโอกาสในการเข้าถึงพลังงานและเทคโนโลยีดิจิทัล มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาอาชีพ และการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข
“ที่ที่เราไปถนนก็ไม่มี สายไฟไม่มี และเพราะเป็นพื้นที่ห่างไกลมีคนไม่หนาแน่น อาจไม่คุ้มกับการลงทุนของรัฐ ทำให้ระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ ซึ่งเมื่อก่อนเราทำได้แค่ให้พลังงาน ทำให้ไม่มีการต่อยอด ไม่มีแวร์ลูแอดไป เราจึงร่วมกับเอไอเอสเพื่อต่อยอด” ธีรตีพิศา เตวิชพศุตม์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าว
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS เล่าเสริมว่า สำหรับการร่วมมือกับ GULF จะเป็นโครงการระยะยาว โดยภายในปีนี้คาดว่าจะดำเนินโครงการ Green Energy Green Network for THAIs เพิ่มอีกประมาณ 5-6 แห่ง โดยได้รับความร่วมมือจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ในการคัดเลือกพื้นที่ที่ไฟฟ้าหรือสัญญาณยังเข้าไม่ถึง และภายใน 3-5 ปี คาดว่าจะสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ประมาณ 30 แห่ง
โดยหลังจากติดตั้งเสาสัญญาณ ทาง AIS จะมีการประเมินงาน 3 ระยะ เกี่ยวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดย สมชัย ย้ำว่า โครงการดังกล่าวเป็น โครงการระยะยาว และ AIS ต้องการให้ชุมชนใช้เทคโนโลยีสร้างโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ และต่อยอดการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งบริการด้านสาธารณสุข การศึกษา การพัฒนาทักษะด้านอาชีพ และการตลาด เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างประโยชน์ทั้งชุมชน เศรษฐกิจ และยังเป็นการดูแลรักษาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
“ตลอด 34 ปีที่ผ่านมาเราลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน จนปัจจุบันสัญญาณโมบายครอบคลุม 98% และ 5G ครอบคลุม 90% ของพื้นที่ประเทศไทย ส่วนอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ครอบคลุม 13 ล้านครัวเรือนจากทั้งหมด 20 ครัวเรือน แต่เป้าหมายของ AIS ไม่ใช่แค่สร้างรายได้ แต่ต้องยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น”
ชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สวพส. ดูแลพื้นที่ที่อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปากลาง 500 เมตร ซึ่งในประเทศไทยมีพื้นที่ดังกล่าวประมาณ 20 ล้านไร่ กระจายใน 20 จังหวัด รวมแล้วกว่า 4,000 ชุมชน ซึ่งปัจจุบัน สวพส. สามารถเข้าถึงได้ประมาณ 2,000 ชุมชน และคาดว่ามีประมาณ 1,000 ชุมชนที่ยังไม่มีไฟฟ้าหรือคลื่นสัญญาณดิจิทัลเข้าถึง โดย สวพส. จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลและจัดลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ
“AIS ยังเชื่อมั่นใน Ecosystem Economy หรือการทำงานร่วมกัน ทั้ง GULF และ AIS เข้าไปช่วยก็ทำให้มันดีขึ้น แต่ก็ยังไม่เท่าเทียม ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องช่วยเหลือ ดังนั้น ก็หวังว่าจะมีภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือกันช่วยเหลืออีก” สมชัย ทิ้งท้าย
]]>การเล่นเกมในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ต้องใช้อินเทอร์เน็ตทั้งนั้น ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกหาก เอไอเอส จะโดดเข้ามาในอีโคซิสเต็มส์นี้ตั้งแต่ปี 2019 ไม่ว่าจะเป็นการจัดงาน Thailand Game Expo การสร้าง Facebook AIS eSports ไว้สำหรับเป็นช่องทางพูดคุยกับเหล่าแฟนเกม จนมาปี 2020 เอไอเอสได้เปิดตัว AIS eSports STUDIO ที่สามย่านมิตรทาวน์ และเป็นสปอนเซอร์การแข่งขันต่าง ๆ จากนั้นก็ได้ขยับไป จัดทัวร์นาเมนต์การแข่งขันเป็นของตัวเอง
“เอไอเอสมี 4 ยุทธศาสตร์หลักในด้านอีสปอร์ต คือ Connect โดยมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ, Complete คือมีเวทีแข่งขันอีสปอร์ต, Co-Educate เป็นแหล่งให้ได้มาเรียนรู้ และ Share เผยแพร่กีฬาอีสปอร์ตให้คนได้รับรู้ในวงกว้าง” รุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการพันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS กล่าว
หลังจากที่ AIS eSports STUDIO ที่สามย่านมิตรทาวน์ จะได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉลี่ยจะมีทราฟฟิกประมาณ 200 คน/วัน ปัจจุบันมี Members แล้วกว่า 2 หมื่นราย โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น First Jobber และนักศึกษาเป็นหลัก ล่าสุด เอไอเอสก็เปิด AIS eSports STUDIO แห่งที่สอง ที่สยามสแควร์ ซอย 7
โดยเอไอเอสมองว่าพื้นที่ย่านสยามแคร์ จะช่วยให้เอไอเอสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็น กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน และนักศึกษา โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้วันละกว่า 100 คน โดยมอง่าช่วงที่พีคจะเป็นแต่ละช่วง เช่น ช่วงบ่ายที่น้อง ๆ นักเรียนเลิกเรียน, ช่วงเย็นเป็นกลุ่มคนทำงาน ส่วนนักศึกษาจะมาช่วงค่ำ และตอนเช้าก่อนเรียน
จะเห็นว่าเป้าหมายการเข้าถึงของเอไอเอสจะเด็กลงเรื่อย ๆ ซึ่งนับตั้งแต่เอไอเอได้เข้ามาในอีสปอร์ต รุ่งทิพย์ ยอมรับว่า ช่วยให้แบรนด์ ดูเด็กลง และกลายเป็น เพื่อน กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบัน ยอดผู้ติดตามในเพจ AIS eSports ก็มีกว่า 2.8 แสน Followers
นอกจากนี้ การเปิด AIS eSports STUDIO ยังไม่ได้แค่ช่วยให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ แต่ยังเป็นพื้นที่ โชว์ศักยภาพ ของเอไอเอส อย่างที่สาขาสามย่านมิตรทาวน์ก็เป็นที่เปิดตัวความเร็วอินเทอร์เน็ต 1000/1000 Mbps จนทำให้ผู้ใช้งานบางคนใช้งานเพื่อน กดบัตรคอนเสิร์ต และสำหรับสาขาสยาม เอไอเอสก็เปิดตัวความเร็วอินเทอร์เน็ต 5000/5000 Mbps และจะรองรับเทคโนโลยี WiFi 7 ในอนาคตอีกด้วย
ดังนั้น จะเห็นว่าการมาของของ AIS eSports STUDIO สามารถใช้ทั้งสร้างการรับรู้แบรนด์, สร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกดีกับแบรนด์ในกลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ ที่อาจจะกลายมาเป็นลูกค้าของเอไอเอสในอนาคตได้ ซึ่งปัจจุบันผู้ใช้งานครึ่งหนึ่งของ AIS eSports STUDIO ไม่ใช่ลูกค้าเอไอเอส ดังนั้น ก็มีโอกาสที่ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการอาจเปลี่ยนใจเมื่อได้สัมผัสกับ AIS eSports STUDIO
“ตอนนี้ลูกค้าที่ AIS eSports STUDIO ครึ่งหนึ่งไม่ใช่ลูกค้าเอไอเอส ซึ่งเราไม่ได้ปิดกั้นอยู่แล้ว เราเปิดให้ทุกค่ายได้มาใช้งาน”
นับตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบันที่เริ่มจากการเป็นแบรนด์สปอนเซอร์ ซึ่งปัจจุบันเอไอเอสมองว่าตัวเองมาถึงสเต็ป 3 ก็คือการ ผันตัวจากเทเลคอมมาเป็นผู้รับจ้างจัดการแข่งขันอีสปอร์ต เนื่องจากมองว่าตอนนี้มีความพร้อมทั้งอีโคซิสเต็มส์และคอมมูนิตี้ ดังนั้น ส่วนนี้ก็จะเป็นรายได้ใหม่ ๆ จากฝั่งเกมของเอไอเอส นอกเหนือจากการที่ลูกค้าเข้ามาเติมเกม ซื้อเกมผ่านช่องทาง Google Store Apple Store และ Huawei Store ซึ่งที่ผ่านมาทั้งจำนวนผู้เล่นเกมและการใช้ดาต้าเพื่อเล่นเกมมีการเติบโตประมาณ 7-8% และเกมถือเป็นรายได้มากกว่าครึ่งของกลุ่มเอนเตอร์เทนต์เมนต์ (บริการสมัครสตรีมมิ่ง)
“รายได้จากเกมหลัก ๆ เรามาจากการเติมเกม ซื้อเกม และเราก็มีการออก Seed ซิม รวมถึงแพ็กเกจสำหรับเล่นเกม ส่วน AIS eSports STUDIO ไม่ได้ทำรายได้เยอะขนาดนั้น แค่พอเลี้ยงตัวเองได้ เพราะเราไม่ได้มองว่าจะมาเป็นแค่ส่วนเสริมให้การกลยุทธ์ด้านอีสปอร์ตของเอไอเอสแข็งแรงยิ่งขึ้น”
ในปีหน้า เอไอเอสจะการแข่งขันต่อเนื่อง แม้ปริมาณการจัดจะไม่เยอะเท่าปีก่อน ๆ แต่จะจัดใหญ่ขึ้น และให้นักกีฬาหรือผู้ชนะสามารถไปต่อในระดับต่างประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันไทยถือเป็นประเทศที่สำคัญ โดยค่ายเกมมองไทยเป็นหมุดหมายประเทศแรก ๆ
“ความยากของกีฬาอีสปอร์ตคือ หาสปอนเซอร์ เพราะในอุตสาหกรรมนี้คนที่ได้เงินเยอะคือสตรีมเมอร์ เนื่องจากเขามีแฟนคลับ เป็นเหมือนดารา ส่วนค่ายเกมที่อยู่รอดก็จะเป็นเกมรายใหญ่ ๆ ซึ่งจุดอ่อนของไทยตอนนี้คือ เราเป็นผู้บริโภคไม่ใช่ผู้ผลิต” รุ่งทิพย์ ทิ้งท้าย
]]>ทั้งนี้การยกทีมผู้บริหารลงพื้นที่ ณ หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เกาะชินโชกุประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการซึมซับแนวคิด Zero Waste และกระบวนการจัดการขยะที่ทรงประสิทธิภาพและต่อเนื่องอย่างการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท ผ่านหลักการพื้นฐานที่ทุกคนทำได้โดยการลดขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) จนกลายเป็นเมืองต้นแบบปลอดขยะระดับโลกพร้อมนำมาต่อยอดการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า
“นโยบายหลักของเรา นอกจากสร้างมาตรฐานของสินค้า บริการ นวัตกรรม และการดูแลลูกค้าอย่างเป็นเลิศแล้ว ยังมีภารกิจในการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม สนับสนุนสู่ Sustainable Nation โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ใน 2 แกนหลัก คือ 1) ลดผลกระทบผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ 2) ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัด E-Waste อย่างถูกวิธี เพราะการมาถึงของ Digital ส่งผลให้เกิดขยะ E-Waste มากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาระดับโลก เช่นกรณีมูลค่าขยะ E-Waste ที่ถูกเผาทำลายมีมากถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลับมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและรีไซเคิลได้เพียง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ปริมาณที่สูญหายในระหว่างทางนั้นมีอยู่มหาศาลและสามารถส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหากกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง”
“จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนภารกิจคนไทยไร้ e-waste ในปี 2562 เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี 2563 รณรงค์และเป็นช่องทางรับทิ้ง E-Waste ได้สะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น ผ่านศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัลที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 37 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงร้าน Power Buy ผู้นำธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที มือถือ แกดเจ็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร รวม 40 สาขาทั่วประเทศ และผ่าน Application E-Waste Plus ที่เพิ่มเติมเข้ามา อันเป็นการร่วมเสริมพลังกับ 190 องค์กร ขับเคลื่อน HUB of e-waste ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแห่งแรกของไทย ที่มีทั้งความรู้ เครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ การขยายจุดรับทิ้งให้ครอบคลุม การบริการด้านการขนส่ง และการรีไซเคิลสู่กระบวนการ Zero e-waste to landfill ได้ในท้ายที่สุด”
พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า
การจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากตัวเราเองที่ต้องทำทุกวันและต่อเนื่องจนเป็นนิสัย และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสำเร็จได้ต้องร่วมมือกันทำจากทุกภาคส่วน จึงเป็นที่มาของการผนึกกำลังกันระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล และ เอไอเอส ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนาน การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการสานต่อจากโครงการ การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ซึ่งทางกลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นสานต่อเจตนารมณ์ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทำ – ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ” โครงการเพื่อความยั่งยืนดำเนินการโดยกลุ่มเซ็นทรัลผ่าน 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน
การเดินหน้าภารกิจศึกษาแนวคิด และกระบวนการจัดการขยะในครั้งนี้ ทั้ง 2 บริษัทเห็นพ้องตรงกันว่า เราจะร่วมมือกันทำ ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากเห็นประเทศไทยมีโมเดลต้นแบบในการ คัด แยก ทิ้งขยะ ได้อย่างถูกที่และถูกวิธีและยังเป็นการลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาอีกมากมาย พร้อมสร้างพฤติกรรมการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นถัดไป
กรณีศึกษา Kamikatsu Zero Waste เมืองคามิคัตสึ
คามิคัตสึ เป็นเมืองในจังหวัดโทคุชิมะ ที่ตั้งอยู่บนเกาะชิโกกุทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น มีประชากรเพียง 1,401 คน หรือ 734 ครัวเรือน (ตัวเลข ณ วันที่ 1 ต.ค. 2023) โดยมีสัดส่วนเป็นผู้สูงอายุ เป็น 52.25%
เมืองคามิคัตสึ มีพื้นที่ขนาด 109.63 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ป่าไม้ 88% และ 80% เป็นป่าปลูก) มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-700 เมตร
โดยที่เมืองคามิคัตสึ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องปลอดขยะ และการจัดการขยะอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นต้นแบบการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่เรียนรู้ของคนที่รักสิ่งแวดล้อม เริ่มทำโครงการ Zero Waste ตั้งแต่ปี 2003 มีการแยกขยะอย่างจริงจัง ส่งไปรีไซเคิล หรือรียูสได้
ในปี 2020 สามารถทำให้ขยะเป็นศูนย์ได้ราว 80% โดยมีกระบวนการเอาไปรียูส รีไซเคิล ส่วนอีก 19% ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ต้องนำไปฝังกลบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มหนังยางรัดแกง รองเท้า ของที่แยกชิ้นส่วนไม่ได้ และขยะอันตราย เช่น ผ้าอ้อม หน้ากากอนามัย ทิชชู และขยะปนเปื้อนต่างๆ
Zero waste หรือขยะเป็นศูนย์ หมายถึง การกำจัดของเสียและขยะ แต่สำหรับเมืองคามิคัตสึไม่เพียงหมายถึงการจัดการขยะเท่านั้น แต่ยังหมายถึงวิธีคิดที่จะไม่สร้างขยะตั้งแต่เริ่มแรก
ประวัติศาสตร์ของ เมืองคามิคัตสึ
1974 โรงบำบัดดินส่วนเกินฮิบิกาทานิถูกใช้เป็นโรงบำบัดขยะชั่วคราว
1991 มีการให้เงินอุดหนุนสำหรับซื้อถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 3,100 เยน) จนถึงปี 1999
1994 จัดทำแผนเมืองรีไซเคิลคามิคัตสึ
1995 มีการอุดหนุนการซื้อเครื่องกำจัดขยะไฟฟ้า (Gomi nice) สำหรับครัวเรือน (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 10,000 เยน)
1996 ปิดโรงบำบัดขยะฮิบิกาทานิบางส่วน (ยกเลิกในส่วนการฝังกลบขยะที่เผาไม่ได้และขยะขนาดใหญ่)
1997 เปิดสถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิ และเริ่มการคัดแยกขยะออกเป็น 9 ประเภท
1998 ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก 2 แห่ง และปิดสถานที่เผาขยะฮิบิกาทานิ (เผาขยะกลางแจ้ง)
2001 ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก เริ่มจัดระบบการคัดแยกเป็น 33 หมวดหมู่ (หลังจากปีนี้ไม่นานก็ได้เพิ่มเป็น 35 หมวดหมู่) ที่สถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน
2003 ออกปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste)
2005 เปิดตัวองค์กรไม่แสวงหากำไร (NPO) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ขยะเป็นศูนย์ ชื่อ Zero Waste Academy
2006 เปิดศูนย์ส่งเสริมการซื้อสินค้าใช้ซ้ำ Kurukuru Shop
2007 เปิดร้านรีเมค Kurukuru Kobo แหล่งรวบรวมสินค้ารีไซเคิล
2008 เริ่มมีการให้เช่าอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่ใช้แล้วนำไปใช้ซ้ำ
2013 เริ่มแคมเปญสะสมคะแนน Chiritsumo (เป็นคะแนนที่ได้จากจากการคัดแยกกระดาษต่างๆ ฯลฯ และดัดแปลงเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน)
2016 เปลี่ยนจำนวนหมวดหมู่การคัดแยกขยะอย่างเป็นทางการ จาก 34 ประเภทเป็น 13 ประเภท และ 45 หมวดหมู่สามารถทำยอดรีไซเคิลขยะได้ในอัตราสูงกว่า 80% เป็นครั้งแรก
2017 ริเริ่มการให้การรับรองขยะเป็นศูนย์เริ่มการทดสอบการขายขยะตามน้ำหนักเริ่มนำเสนอเซ็ตผ้าอ้อมที่ทำจากผ้า
2018 เริ่มรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก
2020 ก่อสร้างศูนย์ Kamikatsu-cho Zero Waste Center เพื่อช่วยกำจัดขยะเมืองคามิคัตสึให้เป็นศูนย์เสร็จสมบูรณ์
ปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ของเมืองคามิคัตสึ
17 ปีหลังจากออกปฏิญญา Zero Waste ในปี 2003 คนในชุมชนทุกคนได้ร่วมกันลดขยะในเมืองคามิคัตสึและได้พิสูจน์ตนเองด้วยสถิติรีไซเคิลขยะได้ในอัตรามากกว่า 80% ซึ่งความท้าทายในการร่วมกันกำจัดขยะของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ได้ดึงดูดความสนใจจากคนทั่วโลก และได้ปูทางเมืองแห่งนี้ไปสู่สังคมที่ยั่งยืนโดยเมืองคามิคัตสึมีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้มีความงามทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่ที่ทำให้ทุกคนมีความสุข และสามารถเติมเต็มความฝันของพวกเขาได้ และในฐานะผู้บุกเบิกเรื่องขยะเป็นศูนย์ เมืองคามิคัตสึก็ได้ประกาศนโยบายขยะเป็นศูนย์อีกครั้ง ผ่านเป้าหมายหลัก “การคิดถึงอนาคตของสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลาน ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล และส่งเสริมผู้อื่นให้ร่วมลงมือ” โดยตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายภายในปี 2030
เมืองคามิคัตสึดำเนินโครงการริเริ่มการรีไซเคิลอย่างทั่วถึงเพื่อบรรลุสังคมขยะเป็นศูนย์ โดยสื่อสารปรัชญาและความคิดริเริ่มขยะเป็นศูนย์ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มเปอร์เซ็นต์คนที่มีความคิดไปในแนวเดียวกันในสังคม
]]>หนึ่งในพาย 3 ชิ้นที่ เอไอเอส (AIS) ยึดเป็นแนวทางในการทำงานก็คือ ความยั่งยืน ทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ รวมถึง สิ่งแวดล้อม ที่เอไอเอสให้ความสำคัญมาโดยตลอด ล่าสุดเอไอเอสเปิดเวทีสัมมนา “AIS Greenovation The Road Towards Digital World เชื่อมต่อนวัตกรรมสู่การเติบโตในโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน” ชวนพาร์ทเนอร์และ Stake Holder มาถกประเด็นถึงด้านสิ่งแวดล้อมและแนวทางการทำงานเพื่อร่วมกันลด และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
ภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ได้มาเล่าให้ฟังว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม พื้นที่กรุงเทพฯ มีอุณหภูมิทะลุเกิน 40 องศา ที่ 42-44 องศาเลยทีเดียว ส่วนในยุโรปเองอุณหภูมิก็สูงขึ้น 5 องศาต่อเนื่อง 5 วัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากการเปลี่ยนเเปลงทางสภาพภูมิอากาศถึง 6 ราย และการที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3-5 องศา ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 7 เมตร เลยทีเดียว
โดยนับตั้งแต่ปี 2011 ประเทศไทยได้สูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 6 แสนล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น เป็น 2.89 ล้านล้านบาท หรือเทียบเท่างบของประเทศทั้งหมดกว่า 3 ล้านล้านบาท
เอื้อง สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS เล่าถึงสาเหตุที่เอไอเอสริเริ่มโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ว่า ในช่วง 6 ปีหลังมานี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) มีส่วนทำให้ก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้นกว่า 53% โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกเผาทำลายคิดเป็นมูลค่าถึง 57,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลมีมูลค่าเพียง 10,000 ล้านดอลลาร์ เท่านั้น ขณะที่ประเทศไทย มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 10% เท่านั้น
จากการคาดการณ์ของ GSMA พบว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกถือครองโทรศัพท์ราว 5.4 พันล้านเครื่อง และภายในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 9 พันล้านเครื่อง หรือเกือบเท่าตัว หรือเฉลี่ยแล้วแต่ละคนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 8 กิโลกรัม และปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นเป็น 110 เมตริกตัน ภายในปี 2050
โดยจากการสำรวจพบว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วไว้กับตัว หรือทิ้งแบบผิด ๆ ได้แก่
ดังนั้น ในแกน ลดและรีไซเคิลของเสีย จากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เอไอเอสและพาร์ทเนอร์กว่า 190 องค์กรทั่วประเทศ ร่วมกับเป็น Hub of E-Waste ที่จะเป็นพื้นที่สร้างการตระหนักรู้ สร้างจุดดร็อปพ็อยต์รับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ สร้างกระบวนการคัดแยก จัดส่ง และนำไปรีไซเคิลโดยปราศจากการฝังกลบ รวมถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามายกระดับการจัดการโดยแอปฯ E-Waste Plus ที่ช่วยให้ติดตามเส้นทางการกำจัดและคำนวนคาร์บอนสกอร์ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต และลูกค้าเอไอเอสจะได้รับพ็อยต์เมื่อทิ้ง E-Waste กับเอไอเอส
“ยิ่งโลกเข้าสู่โลกดิจิทัลแค่ไหน อุปกรณ์ก็ยิ่งเพิ่มเท่านั้น นี่คือสิ่งที่เอไอเอสตระหนักและทำให้เกิดเป็นวาระที่ต้องพูดคุยว่าจะทำอย่างไรกับมัน และเราไม่เหนื่อยที่จะสร้างอแวร์เนสหรือเอดดูเขตผู้คน เราพร้อมที่จะร่วมกับทุกหน่วยงาน เราพร้อมมาก” สายชล ย้ำ
สมปรารถนา นาวงษ์ ผู้ก่อตั้ง “เพจอีจัน” กล่าวต่อว่า การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบไม่ถูกวิธีส่งผลเสียมากกว่าการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจหรือทรัพยากรในการนำไปรีไซเคิล แต่ขยะอิเล็กทรอนิกส์หากนำไปเผาทำลายหรือทำลายไม่ถูกวิธีจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกาย เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มีทั้งตะกั่ว, ปรอท และสารพิษอื่น ๆ ซึ่งมันก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย หรือถ้าไปอยู่ในดินหรือแหล่งน้ำ มันก็จะกลับมาสู่ห่วงโซ่ระบบนิเวศและมาสู่ร่างกายคนเราในที่สุด
“คนไทยหลายคนเลือกขายให้กับซาเล้ง เขาก็ไปชำแหละหาของที่นำไปขายได้ อะไรขายไม่ได้เขาก็เผาทิ้ง ซึ่งก็ไปทำลายชั้นบรรยากาศ ตัวเขาเองก็สูดดมควันพิษ มีการสุ่มเจาะเลือดแรงงานหลายคนพบว่ามีสารตะกั่วปนในเลือด บางรายเกินมาตรฐาน หรือในดินที่มีการเผาหรือฝังขยะอิเล็กทรอนิกส์มีสารตะกั่วเกินมาตรฐาน 20 เท่า สารหนู 5 เท่า” สมปรารถนา กล่าว
ไม่ใช่แค่แกนลดและรีไซเคิลของเสีย แต่เอไอเอสก็มีแผน ลดผลกระทบผ่านการบริหารจัดการกระบวนการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ โดย วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไปแล้วถึง 131,752 ตัน หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้รวม 17 ล้านต้น
โดยหนึ่งในกิจกรรมที่เอไอสทำคือ เปลี่ยนสถานีฐานมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 8,884 สถานี โดยสามารถ ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 39,832 ตัน โดยเอไอเอสมีแผนเปลี่ยนสถานีฐานมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มขึ้น 4,000 สถานี รวมถึงมีแผนการนำ AI มาใช้จัดการเครือข่ายอัตโนมัติ Autonomous Network โดยตั้งเป้าพัฒนาเครือข่าย Autonomous Network ไปสู่มาตรฐาน L3 (Level 3) ในปีนี้และ L5 ในปี 2025
“หากนับเฉพาะอุตสาหกรรมโทรคมคอนซูเมอร์ มีการใช้พลังงาน 0.4% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทั่วโลก อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการโทรคมนาคมกว่า 50% รวมถึงเอไอเอสก็มีความพยายามลดใช้พลังงาน สร้างกรีนเน็ตเวิร์ก และต้องการไป Net Zero” วสิษฐ์ ทิ้งท้าย
]]>
จากประเด็นในโลกโซเชียลฯ ว่าหลังจากที่ตลาดโทรคมนาคมเหลือผู้เล่นหลัก 2 ราย ทำให้ราคาค่าบริการสูงขึ้นสวนทางกับคุณภาพหรือไม่ ทาง สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS อธิบายว่า หากเทียบคุณภาพกับราคา ตลาดไทยถือว่า ถูกกว่าหลายประเทศ เพียงแต่ในช่วง 2-3 ปีก่อนมีการแข่งขัน ผิดปกติ เพราะมีการแข่งขันเพื่อขยับจากเบอร์ 3 ขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ซึ่งผู้บริโภคอาจจะเคยชิน แต่ปัจจุบันตลาดกลับไปสู่ ราคาที่สมเหตุสมผล นอกจากนี้ ตลาดไทยมี กสทช. ควบคุมราคาอยู่แล้ว ซึ่งราคาในปัจจุบันยังถือว่า ต่ำกว่าที่ กสทช. กำหนด
“การแข่งขันยังมีเพราะเราก็ไม่ยอมอยู่แล้ว ตอนนี้สงครามราคาก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ตอนนี้มันถูกปรับมาสู่ภาวะการตลาด เพราะเรามีการลงทุนปีละหลายหมื่นล้านบาท ตอนนี้ต้นทุนเรื่องค่าไฟต่าง ๆ ก็สูงขึ้น” สมชัย อธิบาย
ในส่วนของเรื่องคุณภาพ Network สมชัยก็ย้ำว่า ไม่เกี่ยวกับที่เหลือผู้เล่น 2 ราย แต่เป็นหน้าที่ของเอไอเอสที่จะทำให้ดีขึ้น โดยนอกจากการลงทุนปีละหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ล่าสุด เอไอเอสได้ร่วมกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT นำคลื่น 700 MHz จำนวน จำนวน 5 MHz มาเสริมทำให้เอไอเอสมีคลื่น 700 MHz รวม 20 MHz ก็จะยิ่งทำให้เน็ตเวิร์กกว้างขึ้น ทะลุทะลวงมากขึ้น
“การที่ได้คลื่น 700 MHz มาอีก 5 MHz จะช่วยให้สัญญาณเราดีขึ้น 30%” สมชัย ย้ำ
นอกจากนี้ เอไอเอสเปิดตัวบริการ 5G Living Network ที่เป็นบริการ Network on Demand ให้ผู้ใช้สามารถเลือกความเร็ว เลือกเวลา และเลือกสถานที่ที่จะอัปสปีดความเร็วของสัญญาณได้ ซึ่งจะมีค่าบริการเพิ่มเติม และใช้ได้ 3 ชั่วโมง โดยจะเปิดให้ใช้บริการในช่วงต้นเดือนหน้า
ในส่วนของดีลระหว่างเอไอเอสกับ 3BB ที่ยังไม่จบนั้น สมชัย เชื่อว่า ไม่ผูกขาด เพราะในตลาด อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ยังมีผู้เล่นรายใหญ่อีกหลายราย อาทิ ทรู และ ToT อีกทั้งธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ยัง ไม่ต้องมีคลื่นความถี่ ดังนั้น สามารถมีผู้เล่นใหม่เข้ามาได้ตลอด ซึ่งปัจจุบันตลาดก็มีผู้เล่นรายย่อยหลายร้อยราย
ทั้งนี้ เอไอเอสเชื่อว่าหากควบรวมกับ 3BB สำเร็จจะทำให้บริการครอบคลุมกว่า 13 ล้านครัวเรือน ล่าสุด เอไอเอสได้เปิดตัวเทคโนโลยีล่าสุด WiFi 7 รายแรกในไทย โดยร่วมกับ TP-Link ที่มาพร้อมเราเตอร์มาตรฐาน WiFi 7 ในการรองรับดีไวซ์ Device ให้เชื่อมต่อได้ ลดปัญหาเกี่ยวกับช่องสัญญาณที่แออัด ทำให้ใช้งานได้ไหลลื่น รองรับการ สตรีมแบบวิดีโอแบบ 8K การใช้งาน VR ที่ตอบโจทย์ทุกคนในบ้านได้อย่างครบถ้วน
สำหรับทิศทางของเอไอเอสยังคงอยู่บนเส้นทางการเป็น องค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co พร้อมยึดหลัก พาย 3 ชิ้น หรือ ECOSYSTEM ECONOMY โดยเอไอเอสยังคง 1. ลงทุนในอินฟราสตรักเจอร์พร้อมพัฒนาสู่โครงข่ายเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ โดยจะมีบริการใหม่ ๆ เช่น 5G Living Network, WiFi 7, Enterprise Platform – CPaaS (Communication Platform as a Service) และ AIS Paragon ที่เชื่อมต่อเครือข่าย 5G, Fibre, Edge Computing, Cloud, และ Software Application
2. Cross Industry Collaboration เพราะเอไอเอสไม่อยากโตคนเดียว ดังนั้น ด้วยฐานลูกค้ากว่า 44 ล้านเลขหมาย จะช่วยให้พาร์ตเนอร์สามารถเติบโตไปพร้อมกับเอไอเอส อาทิ ความร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย เชื่อมโยงร้านค้าถุงเงินรวมกว่า 1.8 ล้านร้านค้า และจับมือห้างสรรพสินค้าชั้นนำ รวมถึงร้านค้าพาร์ตเนอร์ทั่วประเทศกว่า 30,000 แห่ง ให้นำ AIS Point ใช้แทนเงินสด ล่าสุด สามารถนำ Point ของพันธมิตรเอไอเอสมาเปลี่ยนเป็น AIS Point ได้ด้วย
ในส่วนขององค์กร ได้ร่วมกับ ZTE เพื่อเตรียมเปิดตัวบริการ Cloud PC for Enterprise ให้องค์กรใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านคลาวด์ในรูปแบบ Desktop as a Service (DaaS) และถือเป็น ครั้งแรกในอาเซียน ที่พร้อมให้บริการ Microsoft Teams Phone ให้องค์กรและพนักงานสามารถโทรออกไปยังเบอร์ภายนอกและรับสายได้ผ่าน Microsoft Teams รวมไปถึงการนำสุดยอดนวัตกรรม genAI ช่วยยกระดับการทำงานของ Microsoft 365 Copilot for Enterprise
สุดท้าย 3. ความยั่งยืน เพราะองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการดูแล เศรษฐกิจ ผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กัน ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ทำหลักสูตร AIS อุ่นใจ CYBER ตั้งแต่ปี 2009 ในด้านสิ่งแวดล้อมก็มุ่งสร้าง Green Network ผ่านการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรม อาทิ การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในสถานีฐานเพื่อบริหารจัดการพลังงานให้, การเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนจากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และการรณรงค์แยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste
“เราไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนเลย เรายังยึดมั่นในพาย 3 ชิ้น เราอยากทำ ECOSYSTEM ECONOMY หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เพราะเราเชื่อว่าพาย 3 ชิ้นนี้จะนำไปสู่ Sustainable Nation เพื่ออนาคตไทยอย่างยั่งยืน” สมชัย ทิ้งท้าย
]]>เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จักกับ โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ (UAV : Unmanned Aerial Vehicle) และน่าจะรู้ถึงข้อจำกัดที่โดรนต้องมีคนบังคับ แต่ล่าสุดข้อจำกัดดังกล่าวได้ถูกปลดล็อคแล้ว พร้อมยกระดับความสามารถไปอีกขั้นสู่ 5G AI Autonomous Drone ที่เกิดจากความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่าง AIS 5G กับกลุ่ม ปตท. ผ่านการทำงานกับบริษัท ARV ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของไทย
หลายคนน่าจะรู้จักกับ วังจันทร์วัลเลย์ ฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ที่เป็นพื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอากาศยานไร้คนขับ, ยานยนต์อัตโนมัติ, นวัตกรรมพลังงาน และด้านคลื่นความถี่พิเศษ
โดยนับตั้งแต่ปี 2561 เอไอเอส ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ในการนำ 5G และดิจิตัลแพลตฟอร์มมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ และล่าสุด AIS ได้ร่วมกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. พัฒนา 5G AI Autonomous Drone System โดยใช้ชื่อว่า Horrus ที่พัฒนาโดยคนไทยทั้งหมด
“เทคโนโลยี 5G ไม่ใช่ประโยชน์พื้นฐานของผู้บริโภคเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมมาก 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และเป็นตัวเชื่อมของทุกเทคโนโลยีบนโลกนี้ โดยในพื้นที่โซนภาคตะวันออกซึ่งครอบคลุมพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี (EEC) รวมถึงพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ AIS 5G ได้ ครอบคลุมแล้ว 100% และครอบคลุมประเทศไทยแล้ว 87%” ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าว
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย เล่าว่า โจทย์ของการพัฒนา Horrus คือ การบินได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้มนุษย์มาบังคับ แต่การจะทำได้นั้นจำเป็นต้องใช้ เซลลูลาร์โดรน (Cellular Drone) เนื่องจากต้องใช้ แบนด์วิดท์ที่สูง และ ความหน่วงต่ำ เพื่อให้ตอบสนองแบบเรียลไทม์ มีระยะครอบคลุมเส้นทางการบินให้มีความเสถียรและปลอดภัย สามารถรับ-ส่งต่อข้อมูลทั้งภาพ เสียง และวิดีโอ กลับมายังศูนย์ควบคุมได้แบบรวดเร็วและเรียลไทม์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยี 5G ถูกนำเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโดรนให้ตอบโจทย์การใช้งาน
ดังนั้น ทีมวิศวกรของ AIS จะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ อาทิ การออกแบบ Network Architecture หรือ สถาปัตยกรรมโครงข่าย 5G SA (Standalone) บนคลื่น 2600 MHz โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี Autonomous Network ซึ่งมีความอัจฉริยะในการจัดการและดูแลระบบได้ด้วยตัวเอง, การใช้ Network Slicing เพื่อตอบสนองแอปพลิเคชันที่ต้องการคุณสมบัติทางเครือข่ายที่แตกต่างกัน รวมถึงบริการ MEC (Multi-access EDGE Computing) และ PARAGON Platform เพื่อรองรับการบริหารจัดการ และพัฒนาโซลูชันที่ต้องการความหน่วงต่ำ
“ข้อจำกัดทางเทคโนโลยีโดรน คือ ต้องมีคนบังคับโดรน แบบ Line of sight หรือ ต้องคือต้องบินโดรนอยู่ในระยะสายตาของผู้บังคับโดรนเท่านั้น ดังนั้น เราจึงต้องการทำให้เหนือกว่านั้น โดยใช้เซลูลาร์โดรน จากตอนแรกเราต้องติดมือถือไปกับโดรน แต่ตอนนี้เพียงแค่ใส่ซิม โดรนก็สามารถทำงานได้เลย”
ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ในเครือ ปตท. สผ. อธิบายว่า ด้วยเทคโนโลยี 5G และ Network Slicing จะช่วยเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล ลดความหน่วงในการสั่งการควบคุมโดรน มีความเสถียรมากกว่าสัญญาณวิทยุและ Wifi จึงทำให้ Horrus สามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัย และเป็นระบบอัตโนมัติตามเวลาและเส้นทางการบินที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติและส่งแจ้งเตือนกลับมาที่ศูนย์ควบคุมได้แบบเรียลไทม์
ที่ผ่านมาบริษัท ARV ได้เริ่มมีการทดลองใช้ Horrus ในการ ติดตามความคืบหน้าในการก่อสร้าง โดย Horrus จะเก็บข้อมูลภาพเพื่อมาทำการเทียบกับข้อมูลก่อนหน้าเพื่อตรวจสอบความคืบหน้า นอกจากนี้ ได้มีการร่วมกับ กรมทางหลวง ในการใช้ Horrus สำรวจข้อมูลสภาพการจราจรและรายงานอุบัติเหตุต่าง ๆ ในช่วงเทศกาล นอกจากนี้ในอนาคตยังสามารถนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกมากมาย
“ด้วยเครือข่าย 5G ทำให้ Horrus สามารถบินไกลกว่าการใช้สัญญาณวิทยุทั่วไป ช่วยให้สามารถบินได้หลายครั้ง และบินพร้อมกันได้หลายลำ ไม่ว่าจะอยู่กรุงเทพหรือที่ไหนก็สามารถสั่งงานได้ โดย Horrus จะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีข้อจำกัด อาทิ การใช้โดรนตรวจสอบการทำงานในพื้นที่โรงงาน, การสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ในธุรกิจของกลุ่ม ปตท.” ดร.ธนา กล่าว
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ทิ้งท้ายว่า ความร่วมมือกับบริษัท ARV แสดงให้เห็นถึงภารกิจของ AIS ที่ต้องการนำนวัตกรรมมาเสริมสร้างและพัฒนา พร้อมขับเคลื่อน Digital Economy ของไทย ผ่านการเป็นพาร์ทเนอร์กับองค์กรต่าง ๆ และ Use case ซึ่งการใช้ 5G ยกระดับโดรน เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความเป็นไปได้ในการใช้โดรนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
“เรามองว่าสิ่งที่เราทำเป็นแค่ 10% ของโซลูชันที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีในอนาคต ดังนั้น ต้องจับตาดูถึงความร่วมมือใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามวิสัยทัศน์ของ AIS ที่จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ รองรับการเติบโตของภาคอุตสหกรรมในอนาคต” ธนพงษ์ ย้ำ
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
“Your Trusted Smart Digital Partner”
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://business.ais.co.th
]]>
สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับตลาดและลูกค้าไปตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน เมื่อ เอไอเอส (AIS) ได้เป็นพันธมิตรกับ เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) พร้อมจัดแพ็คเกจรายเดือน ล่าสุด เอไอเอสก็ได้อีกแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง เอชบีโอ (HBO) กลับเข้ามาสู่มืออีกครั้ง ซึ่งจะยิ่งเสริมแกร่งคอนเทนต์ให้กับเอไอเอส
ย้อนไปปี 2560 ใครที่ใช้บริการ AIS Play บริการบันเทิงเต็มรูปแบบของเอไอเอสน่าจะคุ้นเคยกับช่อง HBO แต่ในปี 2563 ช่อง HBO ก็หมดสัญญาไป จนมาปี 2566 นี้ เอไอเอสก็ได้พา HBO กลับมาให้บริการอีกครั้ง และครั้งนี้พิเศษกว่าเดิม เพราะนอกจากแพลตฟอร์ม HBO Go แล้วยังมีอีก 5 ช่องเอ็กซ์คลูซีฟ ได้แก่ HBO, HBO Signature, HBO HITS, HBO Family และ Cinemax
การที่เอไอเอส ได้ HBO เข้ามาเป็นพันธมิตรใหม่อีกราย ทำให้เอไอเอสแทบจะกวาดแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่ให้บริการในไทยครบทุกรายแล้ว เพราะก่อนหน้านี้เอไอเอสก็พึ่งได้ Netflix เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา หรืออีกแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง Disney+ Hotstar นอกจากนี้ ไม่ว่าจะ IQIYI, VIU, WeTV หรือช่องกีฬาอย่าง beIN Sports ก็เป็นพาร์ทเนอร์กับเอไอเอสทั้งหมด ตอนนี้คงจะเหลือเพียง Prime Video แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของ Amazon ที่พึ่งทำตลาดในไทยไปไม่นานมานี้เท่านั้น
ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าทั่วไป บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS อธิบายว่า การแข่งขันของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่ว่าจะเป็น 5G หรืออินเตอร์เน็ตบ้าน คอนเทนต์ ได้กลายเป็น ส่วนเสริม และกลายเป็นเรื่องปกติถ้าไม่มีแปลว่าแปลก
ขณะที่เทรนด์ของไทยและทั่วโลก การใช้งานแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยจากจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต 71 ล้านคนในไทย มีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งถึง 25.15 ล้านราย คิดเป็น 38% มีมูลค่าจับจ่ายราว 12,341 ล้านบาท เติบโต 14.4% และมียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 1,291 บาท/คน/ปี เติบโต 8.26%
นอกจากนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการว่า คอนเทนต์เอนเตอร์เทนต์เมนต์ เป็นตัวขับเคลื่อนในการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยปัจจุบัน ค่าเฉลี่ยการใช้โมบายดาต้าทั่วไปเฉลี่ยที่ 22-24 GB ส่วนกลุ่มที่ใช้งานหนัก ๆ จะเกิน 40 GB ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรับชมวิดีโอ
ดังนั้น การเป็นพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มคอนเทนต์ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของเอไอเอส คือ นำเสนอโครงข่ายที่ดีคอนเทนต์ที่ดีให้กับลูกค้า ปัจจุบัน 5G ของเอไอเอสครอบคลุมพื้นที่กว่า 87%
“เราร่วมงานกับทุกคอนเทนต์พาร์ทเนอร์เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงคอนเทนต์คุณภาพ แต่ไม่จำเป็นว่าเราต้องเป็นเจ้าของคอนเทนต์ แต่เป็นพาร์ทเนอร์กับคนที่มีคอนเทนต์ โดยการเติบโตไปของเราจะอยู่บนพื้นฐานของอีโคซิสเต็มส์ที่ร่วมกับนี่พาร์ทเนอร์
การได้ HBO เข้ามา ทำให้ตอบโจทย์ลูกค้าสาวก DC, Harry Potter, ซีรีส์ Game of Thrones และ คอนเทนต์คุณภาพจากค่าย Warner Bros. อีกมากมาย บอกเลยว่าห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง ยิ่งลูกค้า AIS ทั้งในระบบเติมเงิน และรายเดือน รวมถึงลูกค้า AIS Fibre สามารถสมัครแพ็กเกจราคาพิเศษเริ่มต้นเพียง 99 บาท/เดือน นาน 3 เดือน (จากนั้นจะคิดค่าบริการตามปกติ 149 บาท/ เดือน) เพียงกด USSD *888# โทรออก
นอกจากนี้ ยังมีแพ็คเกจรายปี 999 บาท เพียงกด USSD *888*1#โทรออก ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 กรกฎาคม 2566 เท่านั้น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาและรายละเอียดแพ็กเกจ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ AIS PLAY https://www.ais.th/play/hbo.html และ HBO GO
]]>