แก๊งคอลเซ็นเตอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 18 Sep 2024 09:36:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Whoscall เปิดตัวฟีเจอร์ Scam Alert ไม่ได้แค่เตือนเบอร์มิจฉาชีพ แต่ช่วยเช็กลิงก์ดูดเงินได้ด้วย https://positioningmag.com/1490787 Wed, 18 Sep 2024 09:15:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1490787 ปัจจุบันการโจรกรรมออนไลน์ หรือ โกงออนไลน์ กลายเป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะความเสียหายทางมูลค่าทรัพย์สิน หรือ ความเสียหายทางใจ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศด้วยเช่นกัน

ใน 2-3 ปีมานี้ภาพรวมการเกิดการโจรกรรมออนไลน์ในประเทศไทยมีมากขึ้น โดยสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างเดือนมีนาคม 2565 – กรกฎาคม 2567 พบว่า ความเสียหายจากการโจรกรรมออนไลน์ หรือ การถูกหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ มีมูลค่ารวมเกือบ 70,000 ล้านบาท หรือ เฉลี่ย 78 ล้านบาทต่อวัน 

ข้อมูลจาก บริษัท โกโกลุก (Gogolook)  ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ได้เผยข้อมูลจากรายงานปี 2565 พบว่า มีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 405.3 ล้านครั้ง

คนไทยเสี่ยงโดนหลอกโกงเพิ่ม 

จากข้อมูลยังพบว่า ในปี 2566 คนไทยกลับเสี่ยงโดนหลอกเพิ่มขึ้น ทั้งสายโทรเข้าและข้อความ 

  • ปี 2566 ยอดรวม 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% แบ่งเป็นจำนวนสายโทรเข้า 20.8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 22% และข้อความหลอกลวง 58.3 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้น 17% 
  • ปี 2565 ยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง จำนวนสายโทรเข้า 17 ล้านครั้ง และข้อความหลอกลวง 49.7 ล้านข้อความ

สอดคล้องกับผลสำรวจเบื้องต้นจากรายงานของ องค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) ประจำปี 2567 ยังพบว่า มีคนไทยเพียง 55% เท่านั้นที่มั่นใจว่า รู้เท่าทันมิจฉาชีพ และ 89% เผยว่าต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง อาทิ การกดรับเบอร์แปลกที่โทรเข้ามาแล้วพบว่าเป็นเบอร์มิจฉาชีพ เป็นต้น

จากปัญหาระดับชาติทำให้โกโกลุก ได้ประกาศจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการทำแคมเปญรณรงค์ รวมถึงการให้ความรู้และรู้เท่าทันการโกงออนไลน์ อาทิ แคมเปญชวนโหลดแอปฯ Whoscall พร้อมแจกโค้ดใช้บริการฟรี แบบพรีเมียม-เบสิก เป็นต้น 

อัตราหลอกโกงน้อยลง แต่ก็ยังไม่ทันมุกใหม่มิจฉาชีพ

จากความร่วมมือที่ผ่านมาถือว่ามีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 347.3 ล้านครั้ง ลดลงจากปี 2565 14% เนื่องจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน ที่มีการสร้างความตระหนักถึงภัยการหลอกลวงออนไลน์ 

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ก็ได้เปิดเผยว่า ทางหน่วยงานฯ สามารถปิดกับเว็ปไซต์ที่บิดเบือน/หลอกลวง จำนวนกว่า 47,000 รายการ ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 – สิงหาคม 2567 ในขณะที่ Whoscall เผยว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 Whoscall สามารถตรวจพบสายโทรเข้าจากมิจฉาชีพได้เกือบถึง 19 ล้านครั้ง 

แม้ตัวเลขการโจรกรรมออนไลน์จะมีแนวโน้มลดลง แต่มิจฉาชีพก็มีการพัฒนารูปแบบการโกงอยู่เสมอ จากเดิมที่รูปแบบการหลอกโกงเป็นแบบการเข้าหาเหยื่อโดยตรง พัฒนามาอยู่ในรูปแบบของแอพฯ หรือ ลิงก์ดูดเงิน กระทั่งปัจจุบันรูปแบบการหลอกโกงเป็นรูปแบบการส่ง QR Code ให้ลงทะเบียนรับเงินคืนต่างๆ เช่น ค่าไฟ แต่กลายเป็นการโอนเงินให้มิจฉาชีพแทน เป็นต้น

Scam Alert ฟีเจอร์ใหม่ นำ AI มาช่วยเช็กลิงก์ดูดเงิน

ล่าสุด Whoscall ได้เปิดตัวฟีเจอร์ ‘Scam Alert’ (เตือนภัยกลโกง) ฟีเจอร์ที่รวมข้อมูลสำหรับป้องกันการหลอกหลวงจากมิจฉาชีพ โดยเป็นแพลตฟอร์มฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ ที่ช่วยแจ้งเตือนภัยกลลวง และรับมือกับการหลอกลวงจากมิจฉาชีพออนไลน์ในรูปต่างๆ โดยแบ่งเป็น

– เตือนภัยกลโกงล่าสุด (Scam Trending Alert) – ผู้ใช้งาน Whoscall สามารถเปิดการแจ้งเตือน อัตโนมัติบนแอปพลิเคชันเพื่อรับข้อมูลแจ้งเตือนภัยมิจฉาชีพที่สำคัญและเร่งด่วน เช่น การแอบอ้าง หน่วยงานที่สำคัญ การหลอกลวงที่มีมูลค่าความเสียหายขนาดใหญ่และก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างและการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลจากองค์กรภาครัฐ เช่น กองบัญชาการตํารวจ สอบสวนกลาง ตำรวจไซเบอร์ กสทช. และ สกมช. 

– เตือนภัยกลโกงรู้ทันมิจฉาชีพ (Scam Education Content) – ฟีเจอร์นี้จะเป็นแพลตฟอร์ม ที่รวมความรู้เกี่ยวกับ กลวิธีการหลอกลวง และเคล็ดลับการป้องกันต่างๆ จากภาคีเครือข่ายภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เช่น การหลอกลวงด้านการลงทุน การหลอกลวงการชำระบิล การหลอกลวง ในการซื้อของ การหลอกลวงทางอีคอมเมิร์ซ รวมถึงรายงานและข้อมูลเชิงลึกจาก Whoscall และ องค์กร Global Anti-Scam Alliance (GASA)  

โดยนาย แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) ได้เผยข้อมูลจาก Whoscall ว่า ไต้หวัน ซึ่งประเทศแม่ของ Whoscall มีการใช้งานฟีเจอร์ ‘Scam Alert’ (เตือนภัยกลโกง) เป็นที่แรก โดยเปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนมิถุนายน ปี 2567 และพบว่าอัตราการหลอกลวงลดลงเกือบ 30% ทั้งรูปแบบสายโทรเข้า และ ข้อความ SMS ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย ประสบปัญหากับภัยหลอกลวงออนไลน์ โดยเฉพาะการหลอกโกงในรูปแบบ SMS ที่พบมากกว่าประเทศในโซนเอเชียด้วยกันอย่าง ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลี รวมถึงญี่ปุ่น จึงได้นำ ฟีเจอร์ ‘Scam Alert’ (เตือนภัยกลโกง) นี้มาเปิดตัวในไทยและหวังว่าช่วยลดจำนวนมิจฉาชีพในไทยให้ลดลง โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถลดอัตราการหลอกลวงได้เป็น 2 เท่าจากไต้หวัน

ฟีเจอร์ Scam Alert (เตือนภัยกลโกง) นี้ ผู้ใช้งาน Whoscall สามารถใช้งานได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งผู้ใช้งานแบบธรรมดา และแบบพรีเมียม โดยสามารถใช้งานได้โดยการเข้าไปที่แอปฯ Whoscall จากนั้นเลือกกดแถบเมนู ‘การป้องกัน’ (ระบบ Android เมนูจะอยู่แทบด้านล่าง ส่วนระบบ IOS แถบเมนูจะอยู่แถบแรก) จากนั้นกดปุ่ม เตือนภัยกลโกง ที่มุมขวาบน เมื่อเข้าสู่หน้าเนื้อหาให้กดเปิดการแจ้งเตือนแบบ Real-Time จากนั้นเลือกกดอ่านเนื้อหา อาทิ วิธีรับมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือ เนื้อหาอื่นๆ ตามที่สนใจได้เลย

ส่วนการเช็กกรอง sms หรือ ลิงก์ดูดเงิน หากผู้ใช้งานต้องการตรวจสอบ sms หรือ ลิงก์ ที่น่าสงสัย สามารถใช้งานได้โดยการเข้าไปที่แอปฯ Whoscall จากนั้นเลือกกดแถบเมนู ‘การป้องกัน’ (ระบบ Android เมนูจะอยู่แทบด้านล่าง ส่วนระบบ IOS แถบเมนูจะอยู่แถบแรก) จากนั้นเข้ามาในส่วนของ Web Checker จากนั้นนำคัดลอกลิงก์น่าสงสัยมาวางที่ช่องตรวจสอบได้เลย 

]]>
1490787
‘Whoscall’ เผย ปี 65 ยอดสายมิจฉาชีพพุ่ง 165% เบอร์มือถือคนไทยรั่วไหลกว่า 13 ล้านเบอร์ https://positioningmag.com/1425849 Fri, 31 Mar 2023 11:38:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425849 Whoscall เผยในปี 2565 คนไทยเจอสายจากมิจฉาชีพ 17 ล้านครั้ง และจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยมีกว่า 13 ล้านเบอร์ โดยการหลอกลวงทางข้อความ SMS ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง

ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Gogolook ผู้ให้บริการ Whocall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปมสำหรับสมาร์ทโฟน กล่าวว่า 7 ใน 10 ครั้งของข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับเป็นข้อความสแปมและข้อความหลอกลวง หรือคิดเป็น 73% ของข้อความที่ได้รับทั้งหมด ในส่วนของยอด สายโทรศัพท์หลอกลวงพุ่งขึ้น 165% จาก 6.4 ล้านครั้งในปี 2564 เป็น 17 ล้านครั้งในปี 2565

มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวงเนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS ถูกใช้เป็น เครื่องมือเพื่อ “ติดต่อครั้งแรก” โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิ่งเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือ โอนเงินให้ กลอุบายที่พบบ่อยได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร และการให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ ที่ผิดกฎหมาย คีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงานที่พบบ่อยที่สุดเช่น “รับสิทธิ์ยื่นกู้” “เครดิตฟรี” “เว็บตรง” “คุณได้รับสิทธิ์” “คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ” “คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ” และ “คุณคือผู้โชคดี”

สำหรับประเทศไทย ถือเป็นอันดับต้น ๆ ที่มีข้อความและสายโทรเข้าหลอกลวง เฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี (เพิ่มขึ้น 7%) ขณะที่ไต้หวันมี 17.5 ครั้ง (ลดลง 20%) และมาเลเซีย 16.5 ครั้ง (เพิ่มขึ้น 15%) ตัวเลขดังกล่าวตอกย้ำว่าการหลอกลวงนั้นยังคงแพร่หลายไปยังหลายประเทศ

ทั้งนี้ กลหลอกลวงใหม่ ๆ ในประเทศไทยมักเกิดขึ้นตามความสนใจและเทรนด์ต่าง ๆ อาทิ ข้อความ SMS และสายหลอกลวงที่เกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้ หลอกส่งพัสดุเพื่อเก็บเงินปลายทาง หลอกเป็นกรมทางหลวง หลอกให้คลิกไปเล่นพนันออนไลน์ หลอกว่ามีงาน part time หลอกว่าได้รางวัลจาก TikTok และแพลตฟอร์มต่าง ๆ  มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

และจากการเก็บข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมีการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ 45% ทั้งนี้ รหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อ เป็นข้อมูลส่วนตัว ที่มีการรั่วไหลมากที่สุด ตามด้วยสัญชาติ อีเมล ที่อยู่ และวันเกิด ซึ่งข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลมักเป็นด่านแรกที่มิจฉาชีพใช้เข้าถึงรายละเอียดการติดต่อเพื่อหลอกลวงเหยื่อ การรั่วไหลอาจเกิดขึ้นจาก ฐานข้อมูลขององค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือเมื่อผู้ใช้กรอกแบบสำรวจ แบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือแบบฟอร์มในเว็บไซต์ฟิชชิ่ง

สำหรับข้อแนะนำจาก Whoscall เพื่อป้องกันตนเองจากเหล่ามิจฉาชีพ ได้แก่

  • อย่าคลิก: หากคุณได้รับลิงก์ใน SMS อย่าคลิกลิงก์นั้น โดยเฉพาะข้อความที่มาจากธนาคารหรือหมายเลขที่ไม่รู้จัก เนื่องจาก ปัจจุบัน มีข้อห้ามไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทยส่งลิงก์ทาง SMS ให้กับลูกค้าโดยตรง
  • อย่ากรอก: หากได้รับ SMS เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือขออัปเดตชื่อผู้ใช้/รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงินที่มีลิงก์ไปยัง เว็บไซต์ที่น่าสงสัย อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ เด็ดขาด
  • อย่าเพิกเฉย: ผู้ใช้สามารถช่วยกันต่อต้านกลโกงและหลอกลวงทางโทรศัพท์ โดยการรายงานเบอร์โทรศัพท์ที่น่าสงสัย หรือหลอกลวง ทางแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันและช่วยส่งคำเตือนไปยังกลุ่มผู้ใช้รายอื่น

จากการหลอกลวงจำนวนมาก ปัจจุบัน รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ร่างนโยบายต่อต้านการหลอกลวง และจัดตั้ง     หน่วยงานพิเศษเพื่อรับมือ รวมทั้งร่วมมือกับบริษัทเอกชนและคนดังเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกลโกงและการหลอกลวง ซึ่งในประเทศไทยได้มีการร่วมมือระหว่างภาครัฐ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน กสทช.) และภาคเอกชน (Whoscall ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น) เช่นกัน

มนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Gogolook กล่าวว่า ภัยคุกคามจากการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อต้านการทุจริต (Anti-Fraud Prevention) จากข้อมูลของ Fortune Business Insight อุตสาหกรรมนี้คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2572 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 22.8% จากการเพิ่มขึ้นของ เอไอแบบรู้สร้าง (Generative AI) และช่องโหว่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กร คาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยี เพื่อหลอกลวง และเกิดผลเสียทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต เพื่อต่อสู้กับการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน Gogolook กำลังร่วมมือ กับพันธมิตรหลายแห่งในประเทศไทยและทั่วโลก พัฒนาโซลูชันส์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อจัดการกับภัยคุกคามเหล่านี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการหลอกลวงอย่างครอบคลุมและมอบความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ Whoscall

]]>
1425849