แบรนด์จีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 13 Jan 2025 14:11:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘โมชิ โมชิ’ กับการเทคออฟสู่ปีที่ 9 แบบไม่แคร์เศรษฐกิจ ไม่กลัวคู่แข่ง และหมุดหมายต่อไปการเติบโต ‘นอกประเทศ’ https://positioningmag.com/1506211 Mon, 13 Jan 2025 08:55:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1506211 จากร้านเล็กๆ ที่เปิดสาขาแรก ณ แพลตตินั่ม ประตูน้ำ มาถึงตอนนี้ ‘โมชิ โมชิ’ (Moshi Moshi) กลายเป็นร้านไลฟ์สไตล์สัญชาติไทยที่สามารถต่อกรกับร้านดังทั้งจากญี่ปุ่นและจีนได้แบบไม่หวั่น ซึ่งในปีนี้โมชิ โมชิ กำลังก้าวสู่ปีที่ 9 และมีหลายเป้าหมายที่อยากไปให้ถึง รวมถึงการไปเติบโต ‘นอกประเทศ’

 

ปัจจุบันร้านโมชิ โมชิ มีสาขารวมแล้วประมาณ 158 สาขา ครอบคลุมพื้นที่กว่า 65 จังหวัด ส่วนผลประกอบการก็มีเติบโตทุกปีทั้งในส่วนของรายได้และกำไร โดย

 

ปี 2564 ทำรายได้ไป  1,263.84 ล้านบาท กำไร 131.27 ล้านบาท

ปี 2565  ทำรายได้ไป  1,895.89 ล้านบาท กำไร 253.17 ล้านบาท

ปี 2566 ทำรายได้ไป  2,543.26 ล้านบาท กำไร 401.51 ล้านบาท

9 เดือน ปี 2567 ทำรายได้ไป 2,076.47 ล้านบาท กำไร 314.74 ล้านบาท

 

ความเข้าใจลูกค้าคือกุญแจความสำเร็จ

 

‘สง่า บุญสงเคราะห์’ ผู้ก่อตั้ง และ CEO  บริษัท โมชิ โมชิ รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารโมชิ โมชิ เล่าให้ Positioning ฟังว่า นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจช่วงปลายปี 2559 เขาต้องการให้ร้านแห่งนี้เป็น ‘เบอร์ 1 ของธุรกิจร้านไลฟ์สไตล์’ แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ด้วยการเข้าใจตลาดและสามารถตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคไทยได้อย่างตรงใจ ภายใต้จุด ‘จุดขาย’ ที่เป็น ‘จุดแข็ง’ ของร้าน นั่นคือ ‘สวย ถูก ดี’

 

โดย ‘สวย’ หมายถึง ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้าหรือการจัดหน้าร้าน ต้องมีดีไซน์สวยงาม อยู่ในเทรนด์แฟชั่นที่ผู้บริโภคชื่นชอบ, ‘ถูก’ หมายถึง ราคาสินค้าต้องจับต้องได้และเข้าถึงง่าย, ‘ดี’ หมายถึง สินค้าต้องมีคุณภาพ นั่นทำให้โมชิ โมชิ สามารถแจ้งเกิดและแซงหน้าคู่แข่งขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ภายใน 3 ปีแรกของการทำธุรกิจ

เน้นออกสินค้าใหม่ บวก Collab แก้โจทย์ ‘คนไทยเบื่อง่าย’

 

อย่างไรก็ตาม ณ วันที่เริ่มต้นธุรกิจ จนมาถึงวันนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย และการทำธุรกิจยากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในปี 2568 การรับมือกับการแข่งขันและสร้างการเติบโตให้กับโมชิ โมชิ สง่ายังให้ความสำคัญกับการยึด ‘ผู้บริโภค’ เป็นแกนหลัก ดูตั้งแต่ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ไปจนถึงชอบหรือไม่ชอบอะไร เพื่อนำมาพัฒนาและออกแบบสินค้าให้โดนและตรงใจลูกค้ามากที่สุด โดยตอนนี้คนอายุ 13-17 ปีถือเป็นฐานลูกค้าหลักของโมชิ โมชิ รองลงมาเป็นกลุ่ม 18-35 ปี

 

“คนไทยแตกต่างจากคนชาติอื่น คือ คนไทยขี้เบื่อ อย่างลูกค้าบางคนมาร้านเราแทบทุกวัน บางคนมา 2-3 วันครั้ง แต่หากมาแล้วไม่เห็นสินค้าใหม่ พวกเขาจะรู้สึกว่า ไม่รู้จะซื้ออะไร ทำให้เราต้องเติมสินค้าใหม่ตลอดเวลา”

 

ปัจจุบันโมชิ โมชิ มีจำนวนสินค้าค้ารวมแล้วมากกว่า 20,000 รายการ ซึ่งปีนี้จะมีการเพิ่มจำนวน รายการสินค้าให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตอนนี้มีการพัฒนาไปแล้วกว่าหมื่นรายการ จากเดิมวางแผนจะมีการพัฒนาสินค้าใหม่ประมาณ 800-1,000 รายการต่อปี

 

ขณะเดียวกัน ยังเลือกใช้กลยุทธ์ Collaboration จับมือกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ในการพัฒนาและออกสินค้าร่วมกัน โดยเป้าหมายต้องการเพิ่มความหลากหลายไม่เฉพาะหมวดสินค้าเท่านั้น ยังหมายถึงความหลากหลายด้านดีไซน์ อีกทั้งต้องการ Value added ให้ตัวสินค้า และขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มใหม่ ๆ ด้วย

 

อย่างช่วงที่ผ่านมาได้จับมือกับหลากหลายพาร์ทเนอร์ ไม่ว่าจะเป็น ค่ายดิสนีย์, ซาริโอ, วอเนอร์บาร์เธอร์, การ์ตูน เน็ตเวิร์ค, สนูปปี้ รวมถึงศิลปินเกาหลีอย่าง NCT Dream ทำโปรเจกต์ Moshi x NCT DREAM DREAM และ TEN (เตนล์) ในโปรเจกต์ Moshi Moshi x TEN & CANELE รวมถึงศิลปินไทยอย่างแบรนด์ ‘Butterclub’ (บัตเตอร์คลับ), แบรนด์ Fluffy Omelet (ฟลัฟ ฟี่ ออม เล็ต) และ Jukka and Friends

เดินหน้าขยายสาขา แบบ ‘ลูกค้าอยู่ตรงไหน จะไปบุกที่นั่น’

 

นอกจากการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าทั้งหมวดหมู่และดีไซน์แล้ว ‘การขยายสาขา’ ถือเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญในการสร้างการเติบโตให้กับโมชิ โมชิ โดยจะเน้นเปิดแบบ ‘ลูกค้าอยู่ตรงไหน จะไปบุกที่นั่น’

 

สง่าเล่าว่า ตอนนี้โมชิ โมชิ มีสาขารวมแล้วประมาณ 158 สาขา ครอบคลุมพื้นที่กว่า 65 จังหวัด ซึ่งตามแผนในปีนี้จะมีการเปิดสาขาเพิ่มอีก 40 สาขา เพื่อให้มีสาขาครบ 200 สาขา โดยเฉพาะในรูปแบบ ‘สแตนอะโลน’ ที่จะมีการขยายพื้นที่เป้าหมายจาก ‘มหาวิทยาลัย’ ไปยัง ‘พื้นที่ตามชุมชน’

 

“ตอนนี้ร้านสแตนด์อะโลนมี 5 แห่ง ซึ่งช่วงเริ่มต้นเราเน้นพื้นที่ใกล้มหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาอยู่อย่างน้อย 15,000 คน ขนาดร้านราว ๆ 80-100 ตร.ม. แต่ตอนนี้เราจะขยายไปเปิดตามชุมชน ที่จะเห็นในช่วงไตรมาส 1 ของปี 68 ย่านชุมชนโรงเรียนวัดเทียนดัด อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งจะเป็นสแตนด์อะโลนที่มีพื้นที่ใหญ่ประมาณ 300 ตร.ม.”

 

นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายขยายสาขาของร้านให้ครบพื้นที่ 77 จังหวัดหรือครอบคลุมทั่วทั้งประเทศในเร็ว ๆ นี้ด้วย

 

ขอโตนอกประเทศ

 

ณ วันนี้ แม้โมชิ โมชิ จะมีการเติบโตทั้งการขยายสาขาและรายได้ แต่ด้วยภาพที่สง่ามองตลาดไลฟ์สไตล์เป็น ‘ตลาดค่อนข้างใหญ่’ หากทำดี ๆ จะสามารถขยายตลาดได้มากและกว้างกว่านี้ โดยเป้าหมายสูงสุดของเขา คือ ต้องการทำให้โมชิ โมชิ เป็น One stop shopping มีสินค้าครบที่สุด และเป็นแบรนด์ในใจของผู้บริโภค

 

แน่นอนว่า เป้าหมายที่วางไว้จะไม่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่หมายถึงการไปปักหมุดธุรกิจให้เติบโตในตลาดต่างประเทศด้วย เบื้องต้นจะโฟกัสในภูมิภาคเอเชีย และ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) โดยรูปแบบที่จะไปจะเป็น Join venture หรือการร่วมทุน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา

 

“แผนไปต่างประเทศเราศึกษาตลาดมาระยะหนึ่งแล้ว ในเรื่องสินค้าไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก อาจจะปรับ เช่น ความต้องการ พฤติกรรม การใช้จ่ายของคนในแต่ละประเทศมากกว่า และมีโอกาสไปได้สูงที่ในอีก 3 ปีต่อจากนี้จะเห็นการเปิดสาขาของโมชิ โมชิในต่างประเทศ”

 

พร้อมสู้ทั้งเศรษฐกิจและคู่แข่ง

 

คุยมาถึงตรงนี้ เราถามผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ โมชิ โมชิ ว่า ในปี 2568 อะไรคือความท้าทายในฐานะผู้นำและคนทำธุรกิจแบบเขา

 

สง่าตอบว่า ความท้าทายในปี 2568 ของเขา คือ การเข้ามาของ ‘ผู้เล่นรายใหม่’ ที่คาดว่า ในปีนี้จะเข้ามาอย่างน้อย 2-3 ราย แต่ไม่ได้รู้สึกกังวล เพราะมีการติดตามศึกษาคู่แข่งและวางแผนรับมือ เพื่อให้ตัวเองมีความแข็งแกร่งและพร้อมสู้มาโดยตลอด

ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจหรือกำลังซื้อ เป็นเรื่องปกติที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญ และแม้ในปีที่เศรษฐกิจไม่ดี หรือกระทั่งปีที่เกิดวิกฤตโควิด โมชิ โมชิ ก็สามารถเติบโตได้ทุกปี เฉลี่ยปีละ 10-20% อย่างในปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 15-20%

 

“ย้อนกลับไปเมื่อ 8 ปีก่อนวันที่เริ่มต้นธุรกิจโมชิ โมชิ ก็มีผู้เล่นเข้ามาในบ้านเราจำนวนมากทั้งจากญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะจีน ที่ตอนนั้นมีเข้ามา 4-5 ราย แต่ตอนนี้เหลือ 2 รายที่แข็งแรง ขึ้นอยู่กับเราจะปรับตัวได้มากแค่ไหน”

 

สำหรับโมชิ โมชิ เอง การเข้าใจ ‘ตลาด’ และ ‘ลูกค้า’ ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการรับมือกับการแข่งขันและสร้างการเติบโต โดยในปีนี้นอกจากจุดขายเดิม ‘สวย-ถูก-ดี’ แล้ว ยังเพิ่ม ‘ความยั่งยืน’ เข้าไป โดยตอนนี้สินค้าของโมชิ โมชิ นอกจากสวย ราคาถูก และมีคุณภาพดี ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และต้องมีประโยชน์ต่อชุมชนด้วย

 

เพราะความยั่งยืน ถือเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ และเป็นโจทย์ที่องค์กรต่าง ๆ ต้องนำมาคิด เพื่อกำหนดเป็นหนึ่งในนโยบายสำหรับทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน

]]>
1506211
แบรนด์จีนรุกไทยอีกราย ล่าสุด ‘อู่เหลียงเย่’ ขอท้าชิง ‘เหมาไถ’ แชร์ตลาดสุราจีนในไทย https://positioningmag.com/1500902 Wed, 27 Nov 2024 03:30:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1500902 ดูท่าทางแล้วประเทศไทยน่าจะเป็นตลาดที่หอมหวนสำหรับแบรนด์จีน เพราะนอกจากบรรดาแบรนด์ระดับโลกในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สินค้าเทคโนโลยี รถยนต์และรถอีวีแล้ว ล่าสุด ‘อู่เหลียงเย่’ ผู้ผลิตสุราจีนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 700 ปี และยักษ์ใหญ่เบอร์ต้น ๆ ในธุรกิจนี้ของจีนก็ประกาศขอรุกตลาดในบ้านเราจริงจัง ท้าชิงกับ ‘เหมาไถ’ สุราจีนแบรนด์ระดับตำนาน

 

“ตอนนี้เราเห็นการหลั่งไหลเข้ามาในไทยของแบรนด์จีนในไทย เพราะตลาดภายในประเทศจีนมีซัพพลายมากกว่าดีมานด์ ทำให้แบรนด์จีนต้องไปโต ‘นอกบ้าน’ บวกกับพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีได้ทลายกำแพงทางการค้า และสุดท้าย ตอนนี้สินค้าจีนได้รับการยอมรับในระดับโลกมากมาย ทั้ง หัวเว่ย เสียวหมี่ และ BYD จึงทำให้แบรนด์จีนมั่นใจในการบุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น ส่วนสินค้าจีนที่คุณภาพไม่ดี ผมมองว่าจะไปต่อลำบาก”  

เป็นคำอธิบายจาก ‘เติมพงศ์ อยู่วิทยา’ กรรมการ บริษัท แกแล็คซี่ เอ็ดดูเทนเม้นท์ จำกัด  ผู้จัดจำหน่ายสุราจีนอู่  เหลียงเย่อย่างเป็นทางการในประเทศไทยว่า ทำไมถึงได้เห็นการเข้ามาบุกตลาดของแบรนด์จีนในบ้านเรากันอย่างคึกคักในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับอูเหลียงเย่ เป็นผู้ผลิตสุราจีนและตัวแทนของไป๋จิ่ว (เหล้าขาว) ระดับชาติจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน โดยมีตำนานกว่า 700 ปี และมีการรีแบรนด์ใหม่กว่าร้อยปี ปัจจุบันเป็นแบรนด์สุราจีนเบอร์ 2 มีมาร์เก็ตแคปกว่า 1 ล้านล้านหยวน โดยเมื่อปี 2566 อู่เหลียงเย่ กรุ๊ป มีรายได้จากการขายรวม 177.1 พันล้านหยวน หรือราว 847.6 พันล้านบาท และมีมูลค่าแบรนด์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ส่วนการเข้ามารุกตลาดในไทยครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่าง ‘อู่เหลียงเย่ กรุ๊ป’ เจ้าของอู่เหลียงเย่ กับ ‘บริษัท แกแล็คซี่ เอ็ดดูเทนเม้นท์ จำกัด’ ซึ่งเติมพงศ์ บอกว่า อู่เหลียงเย่วางประเทศไทยเป็น ‘หมุดหมาย’ ที่ต้องปักธงทางธุรกิจให้ได้ ไม่ใช่ ‘ทางผ่าน’ เพื่อหวังผลไปสร้างการเติบโตในประเทศอื่น

โดยเหตุผลที่ผู้ผลิตสุราจีนยักษ์ใหญ่รายนี้ให้สนใจตลาดไทย นั่นเพราะว่า

1.ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียน

  1. ประเทศมีคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

3.คนไทยเป็นคนที่พร้อมเปิดรับประสบการณ์ใหม่

4 .สุราจีนมีให้เลือกหลากหลาย แต่ในไทยมีการทำตลาดจริงจังเพียงรายเดียว นั่นคือ ‘เหมาไถ’ ทำให้ช่องว่างในตลาดที่จะเติบโต

“คนดื่มสุราจีนในไทยยังน้อย เราเลยมองเป็นโอกาส โดยอู่เหลียงเย่วางโพสิชั่นของแบรนด์จับกลุ่มพรีเมียม โฟกัสคนอายุ 40 ปีขึ้นไปในกลุ่มนักธุรกิจและผู้บริหาร รวมถึงกลุ่มคนเมืองที่มีไลฟ์สไตล์พร้อมเปิดรับกับสิ่งใหม่”

อย่างไรก็ตาม ด้วยพฤติกรรมคนไทยที่นิยมดื่มเหล้าแดง และคุ้นชินกับวัฒนธรรมการดื่มจากฝั่งตะวันตกมากกว่า นั่นถือเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับอู่เหลียงเย่

ดังนั้น สเต็ปแรกของการทำมาร์เก็ตติ้ง จะโฟกัสในการของสร้างแบรนด์ และ Awareness ด้วยการสื่อสารถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 700 ปี และเน้นถ่ายทอดวัฒนธรรมการดื่มเหล้าขาวแบบจีน ภายใต้คอนเซ็ปต์ Baijiu of Harmony: From China to Thailand ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับสากลของแบรนด์ที่ว่า The Baijiu of Harmony: From China to the World

ขณะเดียวกัน จะพยายามให้เกิดการได้ทดลอง ผ่านการจัดอีเวนต์ โดยเฉพาะในรูปแบบกาล่าดินเนอร์ ตลอดจนร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ด้านต่าง ๆ อาทิ การผนึกกับนักออกแบบเครื่องดื่มหรือ Mixologist เพื่อสร้างสรรค์เมนูเครื่องดื่มต่างๆ , ความร่วมมือกับ Campari Group และ Michelin  Guide เพื่อทำแคมเปญการตลาดร่วมกัน เป็นต้น

ส่วนช่องทางจำหน่ายนั้น จะเริ่มจากช่องทางที่รู้จักแบรนด์ดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ภัตตาคารและร้านอาหารจีน ที่มีลูกค้าชาวจีน รวมถึงโรงแรม, ห้างค้าปลีกและร้านค้าต่าง ๆ

“วันนี้ตลาดและผู้บริโภครับรู้เร็วขึ้น แต่ด้วยเรายังใหม่ในตลาดประเทศไทย ต้องใช้ระยะเวลา”

ดังนั้น 2 ปีแรกของการทำตลาดอย่างจริงจัง อู่เหลียงเย่จึงไม่ได้มุ่งเน้นที่ยอดขาย แต่โฟกัสสร้างการรับรู้ ควบคู่ไปกับให้เกิดการทดลอง และในปีหน้าจะมีการนำสินค้าใหม่เข้าเสริมทัพ เพื่อเจาะตลาดในวงกว้างมากขึ้นด้วย

หลังจากนั้นอีก 3 ปี เมื่อคนเริ่มรู้จักและคุ้นเคยมากขึ้นน อู่เหลียงเย่จะขยับมาจับกลุ่มเป้าหมายที่อายุน้อยลง นั่นคือ กลุ่มอายุ 25-35 ปี ซึ่งเป็นลูกค้าฐานใหญ่ ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของโปรดักส์ที่นำมาวางจำหน่ายในไทยให้มากขึ้น เพราะนอกจากเหล้าขาวแล้ว อู่เหลียงเย่ยังมีไลน์โปรดักส์สินค้าอื่น ๆ อาทิ เครื่องดื่ม RTD (Ready to Drink) เป็นต้น  

สำหรับ ‘เหมาไถ’ สุราจีนยักษ์ใหญ่แบรนด์ดังอีกรายที่เข้ามาทำการตลาดในไทยก่อนหน้านานพอสมควร เติมพงศ์ ยอมรับว่า แบรนด์ดังกล่าวทั้ง ‘ดัง’ และ ‘แข็งแกร่ง’ บวกกับการบุกตลาดต่างประเทศมาก่อน จึงถือว่าได้เปรียบไม่น้อย แต่เขาคิดว่า อู่เหลียงเย่สู้ได้

“ในตลาดจีนทั้งสองแบรนด์สูสีกัน ทั้งเรื่องของแบรนด์ มาร์เก็ตแคป และความแข็งแกร่งทางการเงิน แต่ด้วยในไทยเขามาทำตลาดก่อน รู้จักในกว้าง เรามาทีหลังต้องใช้เวลาและต้องทำให้ดีกว่า อย่างเรื่องราคา ตัวท็อปของเราอยู่ที่ 8,600 บาท ของเหมาไถอยู่ประมาณ 14,000 บาท”

]]>
1500902