แอสตร้าเซนเนก้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 28 May 2021 05:12:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 นักวิทย์เยอรมนีรู้ทางแก้ปัญหา “ลิ่มเลือดอุดตัน” หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ และ J&J https://positioningmag.com/1334271 Fri, 28 May 2021 04:59:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334271 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เยอรมนี อ้างว่าพบต้นตอของภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดขึ้นน้อยมาก อันเกี่ยวข้องกับวัคซีน COVID-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ากับจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ระบุสามารถปรับแก้วัคซีนเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวได้

งานวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์โรล์ฟ มาร์สชาเลค จากมหาวิทยาลัยเกอเธ่ ในแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันพุธที่ 26 พ.ค. ชี้ว่าปัญหาอยู่ที่ เทคโนโลยีใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา (Adenovirus Vector) ที่วัคซีนทั้งสองตัวเลือกใช้ โดยวัคซีนไวรัสเวคเตอร์จะใช้ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ มาดัดแปลงเป็นพาหะนำคำสั่งที่สำคัญเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ในร่างกายผู้ได้รับวัคซีน เพื่อผลิตโปรตีนหนาม (spike protein) และกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ศาสตราจารย์มาร์สชาเลค และคณะทำงานของพวกเขาเชื่อว่าบางส่วนของโปรตีนหนามหลุดออกจากกัน และส่งผลให้โปรตีนเหล่านั้นเกิดการกลายพันธุ์ จากนั้นโปรตีนดังกล่าวก็จะเข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งในเอกสารให้คำจำกัดความว่า “Vaccine-Induced Covid-19 Mimicry” syndrome

และผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่าพวกผู้ผลิตวัคซีนสามารถแก้ไขด้วยการนำวัคซีนไปปรับแต่งสารพันธุกรรม เพื่อป้องกันไม่ให้สไปค์โปรตีนแตกตัวโดยไม่ตั้งใจเมื่อเข้าสู่เซลล์ร่างกาย และเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

“ด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่ในมือ เราสามารถบอกบริษัทต่างๆ ถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงลำดับพันธุกรรม รหัสของสไปค์โปรตีน ในแนวทางที่ป้องกันเกิดปฏิกิริยาที่ไม่ตั้งใจ” มาร์สชาเลคกล่าว

vaccine Johnson
Photo : Shutterstock

พวกนักวิจัยบ่งชี้ต่อว่าวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ทั้งหมด รวมถึงที่พัฒนาโดยไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา “น่าจะเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย” เพราะใช้เทคโนโลยีต่างออกไป โดย mRNA ไม่ได้ใช้ไวรัสอ่อนแอ หรือไวรัสเชื้อตายใส่เข้าไปในเซลล์ แต่วัคซีน mRNA เป็นการสอนพวกมันให้เรียนรู้ถึงการสร้างโปรตีนโดยที่ไม่ได้เข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์

เอกสารนี้ถูกเผยแพร่ก่อนตีพิมพ์บนเว็บไซต์ Research Square แต่การศึกษาดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน มีความเกี่ยวข้องกับอาการลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดขึ้นน้อยมากๆ แต่รุนแรง และในบางรายถึงขั้นเสียชีวิต

ผู้เสียชีวิตรายแรกในอียูที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เกิดขึ้นในเบลเยีม เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเป็นผู้หญิงวัย 37 ปี ส่งผลให้ประเทศแห่งระงับใช้วัคซีนกับบุคคลอายุต่ำกว่า 41 ปี

ส่วนวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า พบผู้มีอาการลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดแล้วมากกว่า 140 รายในเขตเศรษฐกิจยุโรป ขณะที่ในสหราชอาณาจักรพบ 300 ราย ในนั้นเสียชีวิต 56 คน

Astrazeneca vaccine
Photo : Shutterstock

หลายประเทศทั่วโลกระงับใช้วีคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ส่วนประเทศอื่นๆ จำกัดการใช้เฉพาะกับผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ก็พบประเด็นปัญหาในวัคซีนเทคโนโลยี mRNA เช่นกัน โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) แถลงในช่วงกลางเดือนว่า กำลังสืบสวนรายงานเกี่ยวกับประเด็นการอักเสบของหัวใจในคนหนุ่มสาว ส่วนใหญ่เกิดกับเพศชายที่ได้รับวัคซีนของโมเดอร์นา และไฟเซอร์

นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือ “โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก” 3 เคส ในบรรดาผู้รับวัคซีนของไฟเซอร์ และไบโอเอ็นเทคในฝรั่งเศส

คนที่มีอาการฮีโมฟีเลีย จะมีโปรตีนตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดหายไป หรือมีไม่เพียงพอ เฉพาะฉะนั้นผู้ป่วยฮีโมฟีเลียจึงมีเลือดออกเป็นระยะเวลานานกว่าคนปกติ หลังจากถูกของมีคมบาดหรือมีเลือดออกภายใน การมีเลือดออกภายในมักเกิดขึ้นในข้อต่อและกล้ามเนื้อ แต่อาจเกิดขึ้นได้ที่สมองหรืออวัยวะอื่นๆ

Source

]]>
1334271
หลายชาติในเอเชีย เเข่งหา ‘วัคซีน COVD-19’ หลังอินเดียระงับส่งออก สะเทือนโครงการ COVAX https://positioningmag.com/1325808 Wed, 31 Mar 2021 10:16:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325808 หลายประเทศในเอเชีย กำลังเร่งหาเเหล่งผลิตวัคซีน COVID-19’ แห่งใหม่ หลังอินเดียต้องระงับส่งออกวัคซีนแอสตราเซเนกาหลังยอดติดเชื้อในประเทศกลับมาพุ่งสูง ส่งผลให้โครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลกต้องเจอปัญหาขาดเเคลนวัคซีน ส่วนจีนเเละรัสเซียกำลังจะเข้ามาเจาะตลาดนี้

โดยเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์อยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของวัคซีนในโครงการ COVAX ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในกระจายวัคซีนให้แก่ประเทศยากจนกว่า 64 ประเทศ

ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่ออินเดีย’ หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลกต้องระงับการส่งออกวัคซีนของ แอสตราเซเนก้า (AstraZeneca) ซึ่งผลิตโดย Serum Institute of India (SII) เป็นการชั่วคราวจากความจำเป็นต้องเก็บสำรองวัคซีนไว้เพื่อใช้งานภายในประเทศ

โดย SII ได้ผลิตวัคซีนส่งให้กับ COVAX แล้วประมาณ 17.7 ล้านโดส จากกำหนดเดิมที่ต้องส่งมอบวัคซีนจำนวน 90 ล้านโดสให้กับ COVAX ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน

ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าอินเดียจะนำมอบวัคซีนส่วนนี้มาใช้ในประเทศเป็นจำนวนเท่าใด เเละไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาในการควบคุมการส่งออก

UNICEF ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการจัดจำหน่ายของ COVAX เปิดเผยเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อินเดียอาจจะกลับมาส่งมอบวัคซีนไปต่างประเทศได้อีกครั้งภายในเดือนพฤษภาคม

(Photo by Chaiwat Subprasom/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

ยังคงมีอีกหลายชาติที่จำเป็นต้องพึ่งพาโครงการกระจายวัคซีนนี้ โดยเกาหลีใต้เพิ่งจะได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพียง 432,000 โดสจากทั้งหมด 690,000 โดส โดยจะได้รับวัคซีนที่เหลือล่าช้าจากกำหนดเดิมไปเป็นสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน

ด้านประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ของฟิลิปปินส์ ประกาศปลดล็อกข้อจำกัดในการนำเข้าวัคซีนของเอกชน โดยอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ สามารถนำเข้าวัคซีนเพื่อนำมาใช้สำหรับพนักงานของตนเอง นอกเหนือจากที่รัฐจะจัดหาให้ เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดในประเทศที่กลับมาอีกครั้ง

ส่วนทางการเวียดนาม ได้ขอให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ หลังจากถูกปรับลดวัคซีนจากโครงการ COVAX ลงกว่า 40% เหลือ 811,200 โดส และคาดว่าจะได้รับวัคซีนล่าช้าออกไปอีกหลายสัปดาห์ 

ด้านเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียเผยกับ Reuters ว่า รัฐบาลอาจจะได้รับวัคซีนจำนวนกว่า 10.3 ล้านโดสจากโครงการ COVAX ล่าช้าออกไปจนถึงเดือนพฤษภาคม

ก่อนจะเจอปัญหานี้ นักวิเคราะห์มองไปในทิศทางเดียวกันว่า ‘อินเดีย’ มีเเนวโน้มจะขึ้นตัวท็อปในการผลิตวัคซีน COVID-19 ของโลก ทั้งในด้านการคิดค้นวัคซีนและผลิตเอง หรือเป็นโรงงานรับจ้างผลิตให้กับต่างชาติ

โดยอินเดีย’ กำลังจะเป็นผู้ผลิตวัคซีน รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ โดยจะมีกำลังผลิตที่สูงมาก ครอบคลุมทั้งประชากรในประเทศ 1.3 พันล้านคน เเละยังส่งต่อไปยังประเทศกำลังพัฒนา ผ่านโครงการ วัคซีนไมตรี (VaccineMaitr) เป็นของขวัญเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

นับเป็น ‘การทูตเเบบใหม่’ เพื่อยกระดับบทบาทในเวทีโลก ไปพร้อมๆ กับการ ‘ต่อต้านจีน’ ที่กำลังขยายอิทธิพลในเอเชียใต้ ต้องลุ้นว่าอินเดียจะกลับมาส่งมอบวัคซีนไปต่างประเทศอีกครั้งได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อใด

ขณะเดียวกันจีนเเละรัสเซียก็กำลังจะเข้ามาคว้าโอกาสนี้ โดยฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย พึ่งพาวัคซีนจาก Sinovac ของจีนจำนวนมากเพื่อการขับเคลื่อนการกระจายวัคซีน เเละเพิ่งอนุมัติใช้วัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย ซึ่งฟิลิปปินส์คาดว่าจะได้รับ Sputnik V ล็อตแรกภายในเดือนเมษายนนี้

โดยรัฐบาลจีนประกาศว่า จะส่งความช่วยเหลือด้านวัคซีน COVID-19 ให้แก่ 80 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศอีก 3 แห่ง รวมถึงส่งออกวัคซีนไปยังกว่า 40 ประเทศ

 

 

ที่มา : CNA , Aljazeera

]]>
1325808
ข่าวดี! ผลทดลองวัคซีน AstraZeneca ป้องกันการติดเชื้อรุนแรง และการเสียชีวิตได้ 100% https://positioningmag.com/1318290 Sun, 07 Feb 2021 04:42:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318290 วารสารการแพทย์ เดอะ แลนเซต (Preprints with The Lancet) ได้รายงานผลวิเคราะห์เบื้องต้นการทดลองคลินิกระยะที่สามจากกลุ่มวิจัยในสหราชอาณาจักร, บราซิล และแอฟริกาใต้ ยืนยันวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของ ‘แอสตร้าเซนเนก้า’ (AstraZeneca) ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค COVID-19 โดยไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลังจาก 22 วันหลังได้รับวัคซีนเข็มแรก

ผลการวิเคราะห์ระบุหลังจากได้รับโดสแรก วัคซีนปรากฏประสิทธิผลเฉลี่ย 76% (ดัชนีค่าประสิทธิผลอยู่ระหว่าง 59% ถึง 86%) และมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อได้ยาวนานจนถึงการฉีดวัคซีนโดสที่สอง โดยวัคซีนจะมีประสิทธิผลสูงถึง 82% (ดัชนีค่าประสิทธิผลอยู่ระหว่าง 63% ถึง 92%) เมื่อเว้นระยะเวลาระหว่างการฉีดวัคซีนโดสแรกและโดสที่สองเป็นเวลา 12 สัปดาห์ขึ้นไป

“การฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน (JCVI) ที่เสนอให้ระยะเวลาระหว่างการให้วัคซีนโดสแรกและโดสที่สองห่างกัน 12 สัปดาห์ ซึ่งเห็นพ้องว่าเป็นรูปแบบการให้วัคซีนที่เหมาะสมที่สุดและสามารถป้องกันโรค COVID-19 ได้ตั้งแต่ 22 วันหลังการฉีดวัคซีนโดสแรก” ศาสตราจารย์ แอนดรูว์ โพลลาร์ด หัวหน้าผู้ตรวจสอบการวิจัยวัคซีนออกซ์ฟอร์ดและผู้ร่วมเขียนรายงานวิจัยกล่าว

ผลวิเคราะห์จากการตรวจหาผู้ติดเชื้อในกลุ่มอาสาสมัครที่เข้าร่วมทดลองในอังกฤษ ยังได้แสดงให้เห็นว่าวัคซีนสามารถลดการติดเชื้อไวรัสที่ไม่แสดงอาการได้ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าหลังจากได้รับวัคซีนโดสแรกแล้ว อัตราตรวจพบการติดเชื้อ (ตามเทคนิค PCR) ลดลง 67% (ค่าดัชนีระหว่าง 49% ถึง 78%) และภายหลังได้รับวัคซีนครบสองโดส อัตราตรวจพบการติดเชื้อลดลงเหลือ 50% (ค่าดัชนีระหว่าง 38% ถึง 59%) ตอกย้ำว่าวัคซีนมีผลในการลดการแพร่เชื้อ COVID-19 อย่างมาก

ทั้งนี้ ข้อมูลการวิเคราะห์การทดลองคลินิกระยะที่สามโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและแอสตร้าเซนเนก้า มาจากการศึกษาจากกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 17,177 ราย โดย 332 รายจากจำนวนดังกล่าวเป็นผู้ป่วย COVID-19 ที่ร่วมกลุ่มการวิจัยระยะสามในสหราชอาณาจักร (กลุ่ม COV002) บราซิล  (กลุ่ม COV003) และแอฟริกาใต้ (กลุ่ม COV003) นับเป็นจำนวนผู้ป่วยซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายงานครั้งก่อน 201 ราย

“ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นยืนยันว่าวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการติดเชื้ออย่างรุนแรงและช่วยลดอัตราผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล นอกจากนี้การยืดระยะเวลาระหว่างการให้วัคซีนโดสแรกและโดสที่สองไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิผลของวัคซีนเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มให้ประชาชนอีกส่วนหนึ่งสามารถได้รับวัคซีนอีกด้วยเซอร์ เมเน่ แพนกาลอส รองประธานบริหารวิจัยและพัฒนาชีวเภสัชภัณฑ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม แอสตร้าเซนเนก้ายังรอการพิจารณาจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ขึ้นทะเบียนวัคซีนสำหรับการใช้ฉุกเฉิน เพื่อเร่งกระบวนการจัดส่งวัคซีนไปยังประเทศที่มีรายได้ต่ำ โดยวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถเก็บและจัดส่งที่อุณหภูมิเครื่องแช่เย็นทั่วไปที่มีใช้อยู่แล้วในระบบสาธารณสุข (อุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส) ได้นานอย่างน้อย 6 เดือนบรรจุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีอยู่

]]>
1318290