โควิดระลอกสี่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Aug 2021 14:11:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โควิดทำ ‘ความสุขคนพื้นที่แดงเข้ม’ หดอีก 2% เหตุ ‘ค่าใช้จ่าย’ สวนทางรายได้ https://positioningmag.com/1344932 Mon, 02 Aug 2021 12:55:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344932 หากพูดถึงการ ‘ล็อกดาวน์’ เพราะการระบาดของ COVID-19 ในไทยมีทั้งหมดถึง 5 ครั้งไปแล้ว โดยย้อนไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มี.ค.-31 พ.ค. 2563 มีผลทั่วประเทศ และมาในปี 2564 หลังเกิดการระบาดระลอก 4 ก็เริ่มมาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. 2564 ใน 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม จากนั้นก็ขยายเวลามาเป็นครั้งที่ 4 เริ่ม 20 ก.ค. 2564 พร้อมเพิ่ม 3 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม และล่าสุด ครั้งที่ 5 เริ่ม 3-31 ส.ค. 2564 ขยายพื้นที่ สีแดงเข้ม จาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด ซึ่งการระบาดจนต้องล็อกดาวน์นั้นก็ส่งผลให้ คนไทยมีความสุขลดลงไปอีก

ความสุขลดลง 2% ในพื้นที่แดงเข้ม

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท โซซิอัส จำกัด เผยผลสำรวจการคาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภคไทยประจำเดือนสิงหาคม 2564 โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามประกอบไปด้วยเพศชายและเพศหญิงจำนวน 1,200 คน อายุระหว่าง 20-59 ปี จาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า คนไทยมีความสุขลดลง ซึ่งมีผลกระทบมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระลอก 4

นางสาวชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า เพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงมากขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านเป็นหลักโดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งจากการสำรวจพบว่าสังคมไทยส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม มีความสุข ลดลง 2% เมื่อเทียบจากผลสำรวจในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา

ด้วย ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับสภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ทำให้ต้องเน้นใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น รวมไปถึงการกักตุนอาหารเพื่อการดำรงชีพของตนเองและครอบครัวภายในบ้าน และเพิ่มความรู้และทักษะในการ หารายได้จากออนไลน์มากขึ้น

คนกรุงเทพฯ เน้นการใช้จ่ายเพื่อใช้ชีวิตที่สะดวกในบ้าน เช่น เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนคนต่างจังหวัดอยากจับจ่ายนอกบ้านมากขึ้น อาทิ ภาคเหนือและภาคตะวันออก ผู้คนอยากออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารนอกบ้าน กิจกรรมกลางแจ้ง รวมไปถึงการท่องเที่ยว

ในขณะที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก ผู้คนอยากออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารนอกบ้าน กิจกรรมกลางแจ้ง รวมไปถึงการท่องเที่ยว เพราะสถานการณ์โควิดในภูมิภาคนั้นไม่รุนแรงเท่า อีกปัจจัยหนึ่งในการใช้จ่ายก็คือ เทศกาลวันแม่ นอกจากมีโอกาสพาแม่ไปรับประทานอาหารแล้ว ผู้คนยังวางแผนซื้อกระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับเป็นของขวัญในวันแม่อีกด้วย

คนกลับภูมิลำเนาระยะยาว

นางสาวอานันท์ปภา ศิริวรรณ ผู้อำนวยการสายงานวางแผนกลยุทธ์ บริษัท โซซิอัส จำกัด กล่าวว่า จากผลวิจัยในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ปัญหาปากท้องของประชาชนที่มองว่าไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไปและต้องปรับตัวอย่างมากเพื่ออยู่รอด เมื่อดูจากพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งในกลุ่มเสี่ยง (พื้นที่สีแดงเข้ม) และกลุ่มพื้นที่เสี่ยงในต่างจังหวัด (พื้นที่ควบคุม) หากแบ่งตามภูมิภาคจะพบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากภาครัฐประกาศล็อกดาวน์ทำให้ผู้คนต่างกลับภูมิลำเนาและวางแผนอยู่แบบระยะยาว ส่งผลให้มีแนวโน้มการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งนอกจากเครื่องอุปโภคบริโภคที่มากขึ้นแล้ว ยังรวมถึงค่าน้ำมันและยานพาหนะ และใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักอาศัยไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมหรือตกแต่งบ้าน

หากจำแนกเป็นช่วงอายุ สำหรับวัย 20-39 ปี พบว่ามีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่รองรับในช่วง Work from home เช่น ของตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ และในช่วงอายุ 50-59 ปี มีความต้องการสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพื่อความสะดวกสบายและมีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในเรื่องสุขภาพและความงามจากข้อมูลพบว่า 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่คนไทยใช้จ่ายมากที่สุดในช่วงสถานการณ์ล็อกดาวน์ เป็นกลุ่มสินค้าที่เน้นอำนวยความสะดวกการใช้ชีวิตในบ้านเป็นหลัก ได้แก่

  • อาหาร 25%
  • ของใช้เป็นในประจำวัน 17%
  • โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน 11%
  • อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแท็บเล็ต 6%
  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ 5%

หวยแม่น้ำหนึ่งติดโผข่าวที่คนไทยสนใจสูงสุด

นางสาวอรุณโรจน์ เหล่าเจริญวงศ์ รองผู้อำนวยการสายงานวางแผนกลยุทธ์ บริษัท โซซิอัส จำกัด กล่าวเสริมว่า ประเด็นข่าวร้อนที่คนไทยติดตามและถูกพูดถึงมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่

  1. ข่าวประเด็นสังคมที่เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 (40%)
  2. ข่าวการจัดสรรววัคซีน COVID-19 ของรัฐบาล (24%)
  3. ข่าวกระแสสังคมการเมืองที่หวังเห็นความโปร่งใส (8%)

อันดับ 4 ได้แก่ ข่าวลุงพล-น้องชมพู่ อันดับ 5 อุบัติเหตุรถ BMW Z4 ส่วนในอันดับที่ 6-10 ยังคงเป็นข่าวเศรษฐกิจ การช่วยเหลือจากภาครัฐ หรือแม้กระทั่งการหารายได้ด้วยการเสี่ยงโชคจาก หวยแม่น้ำหนึ่ง ที่จะช่วยเยียวยาสถานการณ์ด้านการเงิน

สำหรับแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารในช่วงนี้ มีข้อเสนอแนะสองส่วนคือ

1. การสื่อสารที่แตกต่างกันในพื้นที่เสี่ยง โซนสีแดงเข้ม เน้นสื่อสารแบบออนไลน์กับคนที่ต้องทำงาน รวมถึงการเรียนออนไลน์ที่บ้าน ส่วนในพื้นที่ควบคุม โซนสีแดง-สีเหลือง-สีส้ม-สีเขียว เน้นการสื่อสารทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ให้เข้าถึงประชาชนที่ยังต้องเดินทางและใช้ชีวิตนอกบ้าน

  1. เน้นการสื่อสารแบ่งแยกตามกลุ่มที่มีความสนใจเน้นกิจกรรมในที่พักอาศัย การพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เพื่อพึ่งพาและเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง ซึ่งแบรนด์ยังคงสามารถช่วยเพิ่มความสุขให้กับประชาชนที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านได้
]]>
1344932
พิษโควิดทำ ‘อัตราว่างงาน’ ญี่ปุ่นพุ่งสูงสุดในรอบ 11 ปี https://positioningmag.com/1330323 Mon, 03 May 2021 06:42:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330323 อัตราส่วนการมีงานทำโดยเฉลี่ยของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2020 (สิ้นสุดมีนาคม 2021) ลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 47 ปี โดยอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบอย่างรุนแรงของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

อัตราส่วนงานต่อผู้สมัครงานสำหรับปี 2020 ที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคมลดลง 0.45 จุดมาอยู่ที่ 1.10 ซึ่งเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วที่สุด นับตั้งแต่การลดลง 0.76 จุดในปีงบประมาณ 2517 หลังวิกฤตการณ์น้ำมันโลกในปี 2516 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการ ซึ่งหมายความว่ามีการเปิดรับสมัครงาน 110 ตำแหน่งสำหรับผู้หางาน 100 คน

ซึ่งถือว่าลดลงเป็นปีที่สองติดต่อกันหลังจากที่ลดลง 0.07 จุดในปีงบประมาณ 2019 อัตราส่วนล่าสุดเป็นการแสดงที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ 0.97 ในปีงบประมาณ 2013 อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยซึ่งเปิดเผยโดยกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารเพิ่มขึ้น 0.6% จากปีงบประมาณ 2019 เป็น 2.9% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2552 ที่เพิ่มขึ้น 1.1 จุดเป็น 5.2% จากปัญหาวิกฤตการเงินโลก

ปัจจุบัน จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้น 360,000 คนเป็น 1.98 ล้านคน และคนที่มีงานทำลดลง 690,000 คน เหลือ 66.64 ล้านคน พนักงานพาร์ตไทม์ลดลง 970,000 คนเหลือ 20.66 ล้านคน ซึ่งลดลงมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการที่ต้องพึ่งพาพนักงานพาร์ตไทม์ เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ต้องเลิกจ้างและ งดให้บริการต่อสัญญาในช่วงที่มีการแพร่ระบาด

(Photo : Shutterstock)

ทั้งนี้ สถานการณ์การจ้างงานในประเทศเริ่มเลวร้ายลงอย่างมากเมื่อประมาณเดือนเมษายนปีที่แล้วเมื่อรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งแรกเกี่ยวกับการระบาดของไวรัส COVID-19 จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยมีการร้องขอให้ผู้คนอยู่บ้านและให้ภาคธุรกิจ Work from Home

มาตรการดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกหดตัว 29.3% ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายนในปี 2563 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งเป็นภาวะถดถอยที่เลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์

“เหตุฉุกเฉินของไวรัสครั้งแรกเป็นปัจจัยสำคัญมากที่สุด ดัชนีการจ้างงานอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่ดัชนีเหล่านี้เริ่มลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2019 เนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนและผลกระทบจากการระบาดของโรคได้เร่งตัวขึ้น” Yuriko Shimanaka นักเศรษฐศาสตร์จาก Mizuho Research & Technologies กล่าว

นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะยังคงทรงตัวหรือเพิ่มขึ้น เนื่องจากร้านอาหารและบาร์จำนวนมากถูกขอให้ปิดก่อนเวลา ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโดยไม่มีสัญญาณว่าจะลดลง และด้วยการติดเชื้อไวรัสระลอกที่ 4 คาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะแย่ลงอีกครั้ง ซึ่งอาจเพิ่มถึง 3.5% ในเดือนกันยายน ในขณะที่อัตราส่วนการว่างงานจะอยู่ที่ประมาณ 1.0

Source

]]>
1330323