โควิด19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 15 Jan 2023 12:12:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘จีน’ เผยจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดเฉพาะที่โรงพยาบาลเกือบ ‘6 หมื่นคน’ นับตั้งแต่เลิกนโยบายควบคุม https://positioningmag.com/1415496 Sun, 15 Jan 2023 10:50:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415496 หลังจากที่มีการโจมตีว่า จีน ปกปิดตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิต ล่าสุด รัฐบาลได้เปิดเผยว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เกือบ 60,000 คนที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล นับตั้งแต่ยกเลิกนโยบายปลอดโควิดเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากตัวเลขที่รายงานก่อนหน้านี้

นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนธันวาคม รัฐบาลจีนได้ยกเลิกระบบควบคุมโควิดที่เข้มงวดนาน 3 ปี ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบผลการติดเชื้อ การจำกัดการเดินทาง และการปิดเมืองจำนวนมาก และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีผู้ติดเชื้อทั่วประเทศถึง 1.4 พันล้านคน

Jiao Yahui หัวหน้าสำนักบริหารการแพทย์ภายใต้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (NHC) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 8 ธ.ค. ถึง 12 ม.ค. จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 ในโรงพยาบาลของจีนอยู่ที่ 59,938 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านั้น 5,503 รายมีสาเหตุจากการหายใจล้มเหลวเนื่องจากโควิด และส่วนที่เหลือเกิดจากการรวมกันของโควิดและโรคอื่น ๆ

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 อย่างน้อย 1 ล้านคนในปีนี้ แต่ก่อนหน้านี้จีนรายงานผู้เสียชีวิตเพียง 5,000 รายนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด ซึ่งเป็นหนึ่งในอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำที่สุดในโลก

องค์การอนามัยโลกกล่าวในสัปดาห์นี้ว่าจีนรายงานผู้เสียชีวิตจากโควิดต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมาก แม้ว่าขณะนี้จีนจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการระบาดของโรคก็ตาม

Yanzhong Huang นักวิชาการอาวุโสด้านสุขภาพโลกของสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในนิวยอร์ก กล่าวว่า การเสียชีวิตที่ เพิ่มขึ้น 10 เท่า ของการประกาศเมื่อวันเสาร์ บ่งชี้ว่า การระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ คนสูงอายุ

อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนว่าข้อมูลใหม่นี้สะท้อนถึงการเสียชีวิตที่แท้จริงหรือไม่ เนื่องจากแพทย์ไม่ต้องการรายงานการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโควิด และตัวเลขดังกล่าวรวมเฉพาะการเสียชีวิตในโรงพยาบาลเท่านั้น

“ตัวอย่างเช่น ในชนบท ผู้สูงอายุจำนวนมากเสียชีวิตที่บ้านแต่ไม่ได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงชุดทดสอบหรือไม่เต็มใจที่จะรับการตรวจ”

]]>
1415496
‘WHO’ ย้ำโควิดจะไม่มีวันเป็น ‘โรคประจำถิ่น’ โดยจะยังคงสถานะ ‘โรคระบาด’ เสมอ https://positioningmag.com/1372728 Wed, 02 Feb 2022 10:33:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372728 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วองค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่าเชื้อโควิดรุ่นต่อไปหรือ BA.2 จะติดต่อได้ง่ายกว่าโอมิครอน (Omicron : BA.1) โดยตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่าการแพร่ระบาดมีจำนวนผู้ป่วยโรคเพิ่มขึ้นเหนือกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดย WHO ได้ออกมาย้ำว่า COVID-19 จะไม่กลายเป็นโรคประจำถิ่น (endemic one) และจะยังเป็นโรคระบาด (epidemic virus)

Raina MacIntyre ศาสตราจารย์ด้านความมั่นคงทางชีวภาพระดับโลกที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ในซิดนีย์ กล่าวว่า แม้ว่าการระบาดของโรคประจำถิ่นอาจมีผู้ติดเชื้อได้เป็นจำนวนมาก แต่จำนวนผู้ป่วยจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเหมือนการระบาดของ COVID-19

“ในส่วนของโรคประจำถิ่นหากจำนวนผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงก็มักจะช้า โดยทั่วไปจะใช้เวลาหลายปี ดังนั้น โรคระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาหลายวันถึงหลายสัปดาห์ไม่ใช่โรคประจำถิ่น”

นักวิทยาศาสตร์ใช้สมการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า R naught (หรือ R0) เพื่อประเมินว่าโรคแพร่กระจายได้เร็วแค่ไหน R0 ระบุว่าจะมีคนติดเชื้อจากผู้ติดเชื้อจำนวนเท่าใด โดยผู้เชี่ยวชาญที่ Imperial College London ประเมินค่าโอมิครอนอาจสูงกว่า 3 ซึ่งหาก R0 ของโรคมากกว่า 1 การเติบโตจะเป็นแบบ ทวีคูณ หมายความว่าไวรัสกำลังเป็นที่แพร่ระบาดมากขึ้น

“เป้าหมายด้านสาธารณสุขคือการรักษา R ที่มีประสิทธิผล ซึ่ง R0 ได้รับการแก้ไขโดยการแทรกแซง เช่น วัคซีน หน้ากาก หรือการบรรเทาทุกข์อื่น ๆ ให้ต่ำกว่า 1 แต่ถ้า R0 สูงกว่า 1 เรามักจะเห็นคลื่นแพร่ระบาดซ้ำสำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจที่แพร่ระบาด นี่คือเหตุผลที่เราต้องการวัคซีน เพื่อรักษา R ให้ต่ำกว่า 1 เพื่อให้เราสามารถอยู่กับไวรัสได้โดยไม่กระทบต่อสังคมครั้งใหญ่”

ทั้งนี้ MacIntyre กล่าวเตือนว่า “จะมีรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น” ขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว WHO เตือนว่าเชื้อโควิดรุ่นต่อไปจะติดต่อได้ง่ายกว่าโอมิครอน และ Global Biosecurity ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มแผนกวิจัยของ UNSW ที่ครอบคลุมเรื่องโรคระบาดได้โต้เถียงกันเมื่อปีที่แล้วว่า Covid จะยังคง เป็นโรคระบาดและจะเป็นตลอดไป

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้โควิดกลายเป็นโรคเฉพาะถิ่น ต้องมีผู้คนจำนวนมากพอที่จะได้รับการปกป้องภูมิคุ้มกันจากโควิด ตามรายงานของ American Lung Association ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนจะทำให้ไวรัสเปลี่ยนสถานะออกจากสถานะการระบาดใหญ่

เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า มีโอกาสที่โควิดจะสิ้นสุดลงในปีนี้ หากดำเนินการตามแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งรวมถึงการจัดการวัคซีนและความไม่เท่าเทียมกันในการดูแลสุขภาพ

Source

]]>
1372728
‘ไฟเซอร์’ ฟัน! โควิดจะกลายเป็น ‘โรคประจำถิ่น’ ภายในปี 67 https://positioningmag.com/1367768 Mon, 20 Dec 2021 05:32:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367768 2 ปีผ่านไปสำหรับการระบาดของ COVID-19 แม้จะมีวัคซันออกมาแต่ไวรัสเองก็พัฒนาสายพันธุ์ใหม่ ๆ ออกมาหนีภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารของ ‘ไฟเซอร์’ (Pfizer) ได้ออกมาคาดการณ์ว่า COVID-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น หรือเป็นเหมือน ‘ไข้หวัดใหญ่’ อย่างเร็วที่สุดในปี 2567

“เราเชื่อว่า COVID-19 จะเปลี่ยนไปเป็นสถานะเป็นโรคประจำถิ่นภายในปี 2024 ซึ่งหมายความว่าไวรัสจะไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินทั่วโลกอีกต่อไป” Nanette Cocero ประธานบริษัท Pfizer Vaccines กล่าว

ทั้งนี้ ไวรัส COVID-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นก็ต่อเมื่อ ประชากรมีภูมิคุ้มกันเพียงพอจากวัคซีนหรือจากการติดเชื้อ จนสามารถรักษาการแพร่เชื้อ การรักษาในโรงพยาบาล และการเสียชีวิต แม้ว่าไวรัสจะแพร่ระบาดอยู่ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงของ COVID-19 ไปสู่สถานะเฉพาะถิ่นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตามข้อมูลของ Mikael Dolsten หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ของไฟเซอร์

“สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการของโรค ปริมาณการใช้วัคซีนและการรักษาว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด และการกระจายวัคอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อัตราการฉีดวัคซีนยังต่ำ แต่แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่อาจส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง” Dolsten กล่าว

ความคิดเห็นจากผู้บริหารของไฟเซอร์เกิดขึ้นในขณะที่ทั่วโลกยังต้องต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 ที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะจากตัวแปรเดลต้า ในขณะที่ สายพันธุ์โอมิครอน เองกำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยในสหรัฐฯ จำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 7 วันเพิ่มขึ้น 4%

แองเจลา ฮวัง ประธานกลุ่มบริษัท Pfizer Biopharmaceuticals Group กล่าวว่า การเก็บวัคซีนและการรักษาโควิด เช่น ยาเม็ดต้านไวรัสของไฟเซอร์อาจกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นเนื่องจากโรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น โดยคาดว่าประเทศต่าง ๆ จะให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนโควิดประจำปี

Source

]]>
1367768
ซีอีโอ ‘ไฟเซอร์’ คาดจำนวนเคส ‘โอมิครอน’ จะเพิ่มจากหลักสิบเป็นหลักล้านในอีกไม่กี่สัปดาห์ https://positioningmag.com/1365810 Wed, 08 Dec 2021 05:37:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365810 ปัจจุบัน COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้ระบาดไปแล้วใน 54 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยที่พบผู้ป่วยติดเชื้อรายแรก โดยเป็นผู้ป่วยชาวอเมริกันเดินทางจากประเทศสเปน ซึ่งทาง อัลเบิร์ต บูร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ ได้ออกมาพูดถึงการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนว่าแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์ก่อน และจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มเป็นหลักล้านในไม่กี่สัปดาห์จากนี้

อัลเบิร์ต บูร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ มองว่า COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนมีโอกาสที่จะรุนแรงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ เพราะแพร่กระจายเร็วขึ้นและอาจนำไปสู่ การกลายพันธุ์ที่มากขึ้นในอนาคต และคาดว่าจำนวนเคสโอมิครอนที่ได้รับการยืนยันจะเพิ่มขึ้นจากหลายสิบเป็นล้านในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

“เราไม่คิดว่ามันเป็นข่าวดี เมื่อมันสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เพราะนั่นหมายความว่าจะมีผู้คนหลายพันล้านคนที่ติดเชื้อ และการกลายพันธุ์อื่นอาจเกิดขึ้น”

ด้าน ดร.แอนโธนี เฟาซี หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ของทำเนียบขาว กล่าวว่า รายงานในช่วงสุดสัปดาห์จากแอฟริกาใต้ระบุว่า โอมิครอนไม่รุนแรงเท่าที่กลัวในตอนแรก อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากตัวแปรนี้อย่างเต็มที่

โดยรายงานของสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้ที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์ ระบุว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในพริทอเรีย ซึ่งป่วยด้วยโรค COVID-19 ไม่ต้องการออกซิเจนเสริม นอกจากนี้รายงานยังตั้งข้อสังเกตว่าผู้ป่วยจำนวนมากเข้ารับการรักษาด้วยเหตุผลทางการแพทย์อื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม บูร์ลาเตือนว่า เป็นเรื่องยากที่จะสรุปผลจากการระบาดของการติดเชื้อในแอฟริกาใต้ในขณะนี้ เพราะมีชาวแอฟริกาใต้เพียง 5% เท่านั้นที่อายุเกิน 60 ปี และคนที่อายุน้อยกว่ามักติดเชื้อ COVID-19 น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมากในแอฟริกาใต้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงจากโควิด

ทั้งนี้ ไฟเซอร์สามารถพัฒนาวัคซีนที่สามารถต่อต้านสายพันธุ์โอมิครอนได้ภายในเดือนมีนาคม 2565 แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนใหม่หรือไม่ และอาจจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ในการพิจารณาว่า วัคซีนปัจจุบันให้การป้องกันที่เพียงพอต่อตัวแปรหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ไฟเซอร์มั่นใจว่ายาต้านไวรัส Paxlovid จะต่อสู้กับโอมิครอนและไวรัสอื่น ๆ ทุกชนิดที่โผล่ออกมา เพราะยาเม็ดยับยั้งเอนไซม์ที่ไวรัสจำเป็นต้องทำซ้ำหรือที่เรียกว่า โปรตีเอส เพราะมันเป็นเรื่องยากมากสำหรับไวรัสที่จะกลายพันธุ์โดยปราศจากเอนไซม์โปรตีเอส

“มันยากมากสำหรับไวรัสที่จะสร้างสายพันธุ์ที่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากโปรตีเอสนี้”

ทั้งนี้ บูร์ลาไม่ได้คาดหวังว่าจะสามารถกำจัดโควิดได้ทั้งหมดในเร็ว ๆ นี้ แต่เชื่อว่าสังคมจะเริ่มมองไวรัสเหมือนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากขึ้นได้รับการฉีดวัคซีนและการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นออกสู่ตลาด

Source

]]>
1365810
‘เยอรมนี’ เล็ง ‘บังคับฉีดวัคซีน’ พ่วงล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ หลังผู้ติดเชื้อพุ่ง https://positioningmag.com/1363887 Wed, 24 Nov 2021 15:52:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363887 เยอรมนีเตรียมตัดสินใจเกี่ยวกับข้อจำกัดด้าน COVID-19 ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และอาจถึงขั้นปิดเมืองแบบเต็มรูปแบบ นอกจากนี้อาจจะ บังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีน เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อรายวันทะลุ 66,884 ราย และซึ่งส่งผลต่อเตียงโรงพยาบาลที่อาจไม่เพียงพอ

เยนส์ สปาห์น รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของประเทศ ได้ออกคำเตือนต่อชาวเยอรมันว่า อาจจะจำกัดพื้นที่สาธารณะให้มากขึ้น เช่น บาร์ ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ และพิพิธภัณฑ์ โดยจะจำกัดการเข้าถึงเฉพาะผู้ที่ได้รับวัคซีนเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันโรงพยาบาลอาจไม่มีกำลังมากพอในการรับผู้ป่วย เพราะห้องไอซียูเต็ม และนั่นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย COVID-19 เท่านั้น

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เยอรมนีมีผู้ป่วยรายใหม่ 66,884 ราย จากเมื่อวันอังคารมีผู้ป่วยรายใหม่ 45,326 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 100,000 ราย  

นอกจากนี้ รัฐบาลของเยอรมนีกำลังพิจารณา บังคับฉีดวัคซีน โดยได้ขอร้องให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เข้ารับการฉีดวัคซีน ซึ่งปัจจุบันเยอรมนีมีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำกว่าหลายประเทศในยุโรปตะวันตก โดยมีเพียง 68% ของประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน

เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป เยอรมนีพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะส่งเสริมการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เนื่องจากการแพร่กระจายของโควิดสายพันธุ์เดลตาที่แพร่เชื้อได้สูง และรุนแรงกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้ามาก อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องการฉีดวัคซีนบังคับเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกันในยุโรป แต่เจ้าหน้าที่บางคนเชื่อว่าการให้วัคซีน เป็นวิธีเดียวที่จะหยุดไวรัสได้

ทั้งนี้ วัคซีนโควิดช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อรุนแรง การรักษาในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตจากไวรัสได้อย่างมาก แต่ภูมิคุ้มกันของวัคซีนจะลดลงหลังจากผ่านไปประมาณ 6 เดือน และไม่ได้ผล 100% ในการลดการแพร่กระจาย

Source

]]>
1363887
เจาะ Insight ผู้บริโภคหลังเจอโควิดเกือบ 2 ปี ‘แบรนด์’ จะมัดใจอย่างไรในวันที่ใคร ๆ ก็อยาก Move On https://positioningmag.com/1353249 Fri, 24 Sep 2021 06:01:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353249 เหลืออีกแค่ 3 เดือนก็จะลาปี 2021 เตรียมเข้าสู่ปี 2022 แต่เพราะการระบาดของ COVID-19 ที่ลากยาวตั้งแต่ต้นปี 2020 มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงเดือนเม.ย.-ก.ย. ที่การใช้ชีวิตส่วนใหญ่ต้องอยู่แต่บ้าน ทำงานหรือเรียนจากที่บ้าน เลยทำให้เวลาต่าง ๆ ดูเหมือนผ่านไปไว ซึ่งภายในงาน GropM FOCAL 2021 ก็ได้เผยถึง Consumer Insight หลังจากที่ต้องอยู่กับโควิดเกือบ 2 ปี และแบรนด์ควรจะ Move อย่างไรเพื่อที่จะได้ใจผู้บริโภคที่กำลัง Move On ไปข้างหน้า

เส้นบาง ๆ ระหว่างกลัวโควิดหรือไม่มีกิน

ย้อนไปปี 2020 ที่ต้องรับมือกับการระบาดเวฟแรกซึ่งต้องยอมรับว่ายังไม่หนักหนาสาหัสเท่ากับเวฟ 3-4 ที่ส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่ ตกงาน ก็ ป่วย ดังนั้น ที่พักพิงสุดท้ายที่ทุกคนนึกถึงก็คือ บ้าน ซึ่งจะเห็นว่าแรงงานส่วนใหญ่เลือกจะกลับภูมิลำเนามากขึ้นเพื่ออย่างน้อยจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเดินทางส่วนใหญ่มาจากจังหวัดสีแดงไปยังจังหวัดสีเขียว ดังนั้น ท้องถิ่นนั้น ๆ ก็ต้องรับมือและต้องเรียนรู้กับโควิดจนทำให้เกิดความกังวลไปหมด

“มีเส้นบาง ๆ ระหว่างกลัวโควิดหรือจะไม่มีกิน เพราะติดโควิดครั้งนี้มันกระทบทั้งครอบครัว รายได้หายไป และหาสถานพยาบาลก็ยาก พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป ยอมไปซื้อของในห้างฯ ที่ไกลกว่า เพราะกลัวคนเยอะ”

Photo : Shutterstock

ไม่ต้องการกำลังใจ แต่อยากเห็นอนาคต

ผู้บริโภคมีความเครียดสูงขึ้น เพราะกังวลว่าอยู่บ้านไม่มีกิน แต่ถ้าออกไปทำงานก็กังวลว่าอาจเสี่ยงติดเชื้อ และนำกลับมาติดคนในครอบครัว ขณะที่การใช้ชีวิตอยู่บ้านค่าใช้จ่ายกลับยิ่งเพิ่มขึ้น ทั้งค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นถึง 30-40% รวมไปถึงค่าเพื่อความบันเทิงต่าง ๆ โดยเฉพาะวิดีโอสตรีมมิ่งเพื่อเครียดภายในบ้าน อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะแค่ลอง ใช้ฟรี หมดโปรฯ ก็จะหันกลับมาใช้ของฟรีที่เคยใช้

ขณะที่ นักศึกษา ก็กังวลว่าประสบการณ์จากการเรียนออนไลน์จะสู้นักศึกษาที่เรียนแบบปกติได้หรือไม่ กลัวว่าจะหางานได้ยากในอนาคต อย่างไรก็ตาม สำหรับบางคน โควิดก็เป็นโอกาสให้ได้ ลองเดินตามฝัน หรือทำอะไรที่อยากทำแต่ไม่มีโอกาส

จากความเครียดดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคมองว่าไม่ต้องการ กำลังใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่แบรนด์มักจะพยายามสื่อสาร แต่ผู้บริโภคต้องการทำเห็น อนาคต ว่าจะมีสิ่งที่ดีกว่าหรือไม่ สามารถก้าวไปข้างหน้าได้หรือเปล่า ผู้บริโภคคิดถึงชีวิตแบบปกติมาก อยากออกไปเที่ยว ไม่จำเป็นต้องไปเที่ยวไกลก็ได้ขอแค่ให้ได้ออกไป ไปเดินใช้ชีวิตปกติบ้างก็ยังดี

“ไม่ต้องมาสงสารเขาหรอก แต่เขาอยากรู้ว่าอนาคตยังมีหวังไหม เขาแค่อยากได้ชีวิตปกติคืน”

Photo : Shutterstock

ผู้สูงอายุปรับใช้เทคโนโลยีทันวัยรุ่น

ตั้งแต่โควิดระลอกแรกในปี 2020 คนทุกกลุ่มต้องเริ่มปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ทำให้ ชีวิตเริ่มคุ้นเคยกับดิจิทัลมากขึ้น โดยในกลุ่มผู้สูงอายุ การใช้สื่อออนไลน์ได้ถือเป็น ความภูมิใจ ส่วนพ่อค้า-แม่ค้าก็เปลี่ยนมาขายของออนไลน์กันมากขึ้นโดยเฉพาะการ LIVE เช่นเดียวกับผู้บริโภคที่หันมาซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น และแน่นอนว่า คุณครู ก็ต้องปรับตัวมาทำสื่อการสอนออนไลน์ รวมถึงติดต่อผู้ปกครองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย

ทั้งนี้ สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคแต่ละ Gen จากปี 2020 สู่ปี 2021 ได้แก่ Old Generation ที่ไม่ใช่แค่ขายของออนไลน์มากขึ้น แต่ปี 2021 มีกาสร้างคอมมูนิตี้เพื่อขายสินค้า ส่วน Young Generation จากที่เริ่มจากขายของออนไลน์ หรือมาเป็นไรเดอร์ส่งอาหาร แต่ปี 2021 เริ่มทำอย่างจริงจัง มองเป็นงานประจำ

TikTok มาแรงในกลุ่มผู้ใหญ่

แม้แพลตฟอร์มที่สร้าง Awareness มากที่สุดในปี 2021 จะยังคงเป็น Youtube, Facebook, Instagram และ TV แต่ TikTok ก็มาแรงไม่แผ่ว โดยกว่า 80% จากการสำรวจกลุ่มผู้ใหญ่พบว่าแม้ไม่ได้ถ่ายคลิปลง TikTok แต่ใช้ TikTok ดูข่าวสารเป็นประจำ เนื่องจากเป็นการสรุปจึง สั้นกระชับ กว่าดูทีวี ส่วนช่องทางอื่น ๆ ที่ใช้เสพข่าวจะมี Facebook, YouTube และเว็บไซต์ข่าว

Photo : Shutterstock

ส่วน Twitter ที่เคยมาแรงในการรับข่าวสาร แต่เพราะการที่มีข้อมูลมากเกินไป และมาจากหลายด้านทำให้ผู้บริโภคเลือกจะใช้ช่องทางอื่นเสพข่าวมากกว่า เพื่อจะได้ไม่เครียด อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจใน Fake News มากขึ้นโดยผู้บริโภคในปัจจุบันมักจะอ่านข่าวมากกว่า 1 แหล่ง และระวังในการเผยแพร่ข้อมูลมากขึ้น

ด้านการ ฟังเพลง Youtube, Sportify, Joox และ Radio App ต่าง ๆ ยังคงได้รับความนิยม แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้บริโภคยอมเสียเงินใช้ Youtube Premium มากขึ้น แต่ในส่วนของแพลตฟอร์มที่ให้ลองใช้ VIP ฟรีอย่าง Sportify แม้จะดึงดูดให้มีผู้ใช้มากขึ้น แต่เมื่อหมดโปรผู้บริโภคกลับเลือกที่จะไม่ต่ออายุ แต่กลับไปใช้แอปเดิมที่เคยใช้แทน

ในส่วนของ ซีรีส์หรือละคร พบว่าผู้บริโภคชมละครในทีวีละครน้อยลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีละครใหม่เนื่องจากออกกองถ่ายทำไม่ได้ ดังนั้น จึงหันไป ดูซีรีส์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ แทน แต่ก็ยังคิดถึงละครไทย

Me Me Me Moment

จากพฤติกรรมการอยู่กับมือถือตลอดเวลา ทำให้สิ่งที่นักการตลาดต้องเตรียมพร้อมรับมือก็คือ Me Me Me Moment ของผู้บริโภคที่จะโฟกัสเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองสนใจเท่านั้น โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันคือจะเลือกจะ เสิร์ช ทันทีในสิ่งที่ต้องการรู้ ไม่ใช่แค่ในเสิร์ชเอนจิ้น แต่รวมไปถึงบน Facebook และ e-Marketplace ด้วย

เจอจองถูกต้องซื้อไว้ก่อน

แน่นอนว่าในวิกฤตอย่างนี้ ผู้บริโภคจำเป็นต้องลดการใช้จ่ายไม่จำเป็นมากขึ้นอย่างเช่น หวย ที่แม้จะลดมูลค่าลง แต่ก็ยังคงเล่น เพราะหวยยังคงเป็นความหวัง ในขณะที่การเลือกซื้อสินค้า จะรอ โปรโมชัน อาทิ ดับเบิลเดย์ แต่บางสินค้าซื้อมาก็ไม่ได้ใช้ แต่ซื้อไว้ก่อนเพราะเห็นว่าถูก

นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะเลือกซื้อกับ e-Marketplace หรือ แบรนด์ ที่ระบุตัวตนได้ เพราะมีหลายคนเคยถูก โกง บนออนไลน์ ทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อกับร้านที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าบางประเภทที่ผู้บริโภคไม่เกี่ยงว่าจะซื้อออนไลน์หรือออฟไลน์ อาทิ Dairy Product, ยา และอาหารเสริมต่าง ๆ

แบรนด์ต้องปรับตัวอย่างไร?

  • Brand Awareness ยิ่งสำคัญ เพราะผู้บริโภคโหยหาชีวิตปกติ ดังนั้น ต้องทำให้แบรนด์กลายเป็นแบรนด์แรกที่เขานึกถึง หากอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ วันที่เขาใช้ชีวิตข้างนอกได้อิสระ เราจะเป็นแบรนด์แรกที่เขาไปหาทันที ดังนั้น การมองถึง Consumer Journey จึงสำคัญมาก
  • The Me Moment ต้องไม่ลืมว่าคอนซูเมอร์อยู่กับ Me Moment ตลอดเวลา ดังนั้น แบรนด์ต้องทำความคุ้นเคยกับ personalization และใช้ข้อได้เปรียบของการใช้เทคโนโลยี เพื่อใช้สื่อสารทางการตลาด
  • Entrusted Marketplace เพราะปัญหาการ โกง ดังนั้น แบรนด์หรือร้านที่น่าเชื่อถือ ที่สามารถระบุตัวตนได้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความไว้ใจและสามารถทำการปิดการขายได้
  • Be Inspired ผู้บริโภคเบื่อแล้วกำลังใจจากแบรนด์ เขาไม่ต้องการคำว่า สู้ ๆ แต่ผู้บริโภคต้องการเห็นว่าจุดสิ้นสุดมันมี แสงสว่างข้างหน้า อะไรบ้าง เพื่อให้ผู้บริโภคตั้งตารอได้เลย
  • คนไทยคิดถึงละคร เพราะออกกองไม่ได้ทำให้ไม่มีละครใหม่ ๆ คนเลยต้องดูซีรีส์ ดังนั้น นี่เป็นโอกาสของนักการตลาดที่จะไปชิงพื้นที่ของละครก่อน
]]>
1353249
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงสหรัฐฯ รับ ‘ล้มเหลว’ จากการสกัดโควิดระลอกใหม่ https://positioningmag.com/1345755 Mon, 09 Aug 2021 05:09:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345755 ในช่วงวันที่ 2-6 สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในสหรัฐฯ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 เดือน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงได้เตือนว่าประเทศกำลัง ‘ล้มเหลว’ ในการต่อสู้เพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 เนื่องจากตัวแปรเดลตาที่ระบาดอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันมีรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 6.16 แสนราย ซึ่งสูงสุดของโลก

ยอดผู้ป่วยรายใหม่รายวันในสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 118,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 89% ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่โรงพยาบาลเด็กในสหรัฐอเมริกา เช่น ฟลอริดา กำลังมีคนไข้มากขึ้น เนื่องจากคนหนุ่มสาวได้รับผลกระทบมากขึ้น

“เราไม่ควรไปถึงที่ที่เราอยู่เลยจริง ๆ และเรากำลังล้มเหลว” ฟรานซิส คอลลินส์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) กล่าว

ปัจจุบัน เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปียังไม่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีน แต่ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่า แม้แต่เด็กที่ไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อ COVID-19 ได้ ดังนั้น เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปควรสวมหน้ากากในที่สาธารณะซึ่งรวมถึงโรงเรียนด้วย

อย่างไรก็ตาม มีการเตือนว่าหากเด็กหลายล้านคนที่กลับไปเรียนที่โรงเรียนและไม่สวมหน้ากาก ไวรัสจะ แพร่กระจายไปในวงกว้างมากขึ้น

แม้ความกลัวเกี่ยวกับตัวแปรเดลตาได้ทำให้ประชาชนกระตือรือร้นที่จะฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น แต่คนนับล้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่เอนเอียงไปทางอนุรักษ์นิยมของประเทศยังคงมีข้อกังวลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน

“เราจะไม่อยู่ในจุดที่เราอยู่ตอนนี้แม้จะมีตัวแปรเดลตาที่ระบาดเพิ่มขึ้น ถ้าเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นในการฉีดวัคซีนทุกคน”

Photo : Shutterstock

Anthony Fauci ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงอีกคนเตือนว่า ความล้มเหลวในการควบคุมตัวแปรเดลตา อาจจะเพิ่มโอกาสที่เชื้อจะกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ซึ่งอาจมีปัญหามากกว่าเดลตา

จากการระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้จัดงาน New Orleans Jazz Fest ได้ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ว่างานที่จะจัดขึ้นในวันที่ 8-17 ตุลาคมได้ถูกยกเลิก ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีความกลัวที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น

ย้อนไปช่วงเดือนพฤษภาคม ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ ประกาศเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ไม่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย หลังจากที่มีหลักฐานยืนยันว่าวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดลงอย่างมาก และยังมีประสิทธิภาพต่อไวรัสกลายพันธุ์ จนกระทั่งการมาของสายพันธุ์เดลตา ทำให้ในเดือนกรกฎาคม บางรัฐออกกฎบังคับให้ประชาชนกลับมาสวมหน้ากากอนามัยอีกครั้ง

Source

]]>
1345755
WHO ขอประเทศร่ำรวยเบรกฉีด ‘เข็ม 3’ เพื่อกระจายวัคซีนสู่ประเทศรายได้ต่ำ https://positioningmag.com/1345321 Thu, 05 Aug 2021 05:04:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345321 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกมาเรียกร้องให้ประเทศที่ร่ำรวยหยุดการแจกจ่ายวัคซีนกระตุ้น COVID-19 โดยอ้างถึงความไม่เท่าเทียมกันของวัคซีนทั่วโลก โดยต้องการให้หยุดการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เดือน เพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนให้ถึง 10% ภายในสิ้นเดือนกันยายน

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การฉีดวัคซีนให้กับประชากรทั้งหมดในโลกมีความสำคัญต่อการยุติการระบาดใหญ่ของ COVID-19 รวมถึงตัวแปรเดลตาที่กำลังระบาดหนัก ซึ่งการติดเชื้อที่สูง มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ มากขึ้น และจะยิ่งสร้างความเสี่ยงให้กับทุกประเทศ ทั้งที่ได้รับวัคซีนหรือไม่ได้รับวัคซีน เว้นแต่ประชากรโลกจะได้รับวัคซีนมากขึ้น

ทั้งนี้ เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก มีเป้าหมายที่จะกระจายการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม 40% ของประชากรโลกภายในเดือนธันวาคมนี้ ดังนั้น การที่ประเทศร่ำรวยจะชะลอการฉีดวัคซีนไป 2 เดือน อาจช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้

“เราต้องการการพลิกกลับจากวัคซีนส่วนใหญ่ที่ส่งไปยังประเทศที่มีรายได้สูง ไปสู่ประเทศที่มีรายได้ต่ำส่วนใหญ่อย่างเร็วที่สุด โดยเฉพาะในจุดที่ประชากรสูงอายุ, ผู้ที่เป็นโรคประจำตัว, ผู้ที่ทำงานแนวหน้า เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าว

คำขอดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่หลายประเทศเริ่มมีแผนที่จะฉีดวัคซีนเข็ม 3 เพื่อกระตุ้นภูมิเพื่อสู้กับสายพันธุ์เดลตา อาทิ อิสราเอล ที่ประกาศว่าประเทศจะให้ฉีดเข็ม 3 เสริมแก่ประชากรสูงอายุ เช่นเดียวกันกับ สาธารณรัฐโดมินิกัน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเฮติเพิ่งได้รับวัคซีนชุดแรกเมื่อไม่นานมานี้

เจ้าหน้าที่ของ WHO ยังกล่าวอีกว่าเขาหวังว่าภายในกลางปี 2022 อัตราการฉีดวัคซีนทั่วโลกจะครอบคลุม 70% และจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับโลกหวังว่าประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงจะปฏิบัติตามคำขอโดยการเรียกร้องให้ยุติความไม่เท่าเทียมกันของวัคซีน

“เราต้องการกลยุทธ์ด้านวัคซีน และเราต้องการมาตรการด้านสาธารณสุขและสังคมในระดับบุคคลและระดับชุมชน เราต้องการให้ทุกคนก้าวข้ามในตอนนี้” มาเรีย แวน เคอร์คอฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลกกล่าว

Source

]]>
1345321
ครม.เเจก ‘เงินเยียวยา’ ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 เพิ่มอีก 1 เดือน ใน 29 จังหวัด งบรวม 6 หมื่นล้าน เล็งขยายช่วยเเท็กซี่ https://positioningmag.com/1345042 Tue, 03 Aug 2021 09:42:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345042 ครม. ทุ่มงบ 6 หมื่นล้าน เเจกอีก ‘เงินเยียวยา’ ให้นายจ้าง-ลูกจ้าง ระบบประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม เพิ่มอีก 1 เดือน เล็งขยายช่วยรถเเท็กซี่ 

วันนี้ (3 ส.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จากคำสั่งข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 30 ขยายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เป็น 29 จังหวัด (เพิ่มอีก 16 จังหวัดจากเดิม 13 จังหวัด) จำนวน 1 เดือน

สำหรับ 29 จังหวัดสีเเดงเข้มล่าสุด ได้เเก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง

การช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและมาตรการควบคุมการระบาด จะครอบคลุม 9 กลุ่มสาขาอาชีพ-ธุรกิจ ในระบบประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 คือ

-กิจการก่อสร้าง
-กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
-กิจการศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
-กิจการกิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ
-การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
-การขายส่งและการขายปลีก
-การซ่อมยานยนต์
-กิจกรรมการบริหารและสนับสนุนวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมวิชาการ
-ข้อมูลข่าวสารและการศึกษา

ในส่วนที่เป็น ‘แรงานนอกระบบ’ กำหนดให้ลงทะเบียนเป็นแรงงานตามระบบประกันสังคมก่อน เพื่อรับความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลได้วางไว้ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

โดยครม.ได้ขยายวงเงินจากเดิม 3 หมื่นล้านบาทเป็น 6 หมื่นล้านบาท เเหล่งเงินงบประมาณจากพ.ร.ก.กู้เงิน เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท พร้อมขยายระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือขยายระยะเวลาในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้มที่ประกาศไปเเล้วในรอบเเรก ‘เพิ่มเป็น 2 เดือน’ (ก.ค. – ส.ค. ) ส่วนใน 16 จังหวัดที่เพิ่มมาใหม่จะให้ความช่วยเหลือ 1 เดือน (ส.ค.)

สำหรับรูปเเบบการช่วยเหลือ ตามที่ประกาศไปในรอบเเรก ระบุว่า ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับเงินความช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อ 1 เดือน ผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 5,000 บาทต่อ 1 เดือน

นายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวของลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน เช่น ถ้ามีลูกจ้าง 10 คน เจ้าของร้านจะได้รับ 30,000 บาท

ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ ‘ไม่ได้อยู่’ ในมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ยังประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ให้นำหลักฐานไปลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคม เพื่อที่จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

เบื้องต้นทางกระทรวงแรงงาน จะโอนเงินเยียวยา ‘งวดแรก’ ให้ลูกจ้างผู้ประกันตน ‘มาตรา 33’ จำนวน 2,500 บาท และนายจ้าง ผู้ประกอบการมาตรา 33 ตามจำนวนลูกจ้าง ให้พื้นที่ 10 จังหวัดแรก คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา ภายในวันที่ 4 ส.ค.- 6 ส.ค. 64 ผ่านเข้าบัญชี ‘พร้อมเพย์’ ที่ลูกจ้างผูกไว้กับบัตรประชาชนเท่านั้น เเละบัญชีนิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ

ต่อมาในวันที่ 9 ส.ค. 64 จะมีการโอนเงินเยียวยารอบเเรกให้นายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่ 3 จังหวัดอย่าง ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และฉะเชิงเทรา ผ่านบัญชีพร้อมเพย์เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมสำรวจฐานข้อมูล เเละจะนำมาพิจารณาในขั้นตอนต่อไป

 

]]>
1345042
แพทย์เผย ‘ผู้ติดเชื้อโควิด’ ราว 10% อาจมีความผิดปกติในการรับกลิ่นนาน 3 ปี https://positioningmag.com/1343013 Mon, 19 Jul 2021 05:23:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343013 ในปี 2020 มีหญิงชาวอังกฤษรายหนึ่งที่หายจากโรคโควิด แม้จะหายขาดแต่สิ่งหนึ่งที่ไม่กลับมาเป็นเหมือนเดิมก็คือการรับ กลิ่น ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยแพทย์พบว่า 90% ของผู้ป่วยโควิดอาการจะหายไปในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางคนอาจต้องใช้เวลาถึง 3 ปี ถึงการรับกลิ่นจะกลับมาปกติ

มีสาวอังกฤษได้แชร์ประสบการณ์หลังจากหายจาก COVID-19 โดยในช่วงแรกนั้นเธอสูญเสียการรับรู้รสชาติและกลิ่น แต่ 3 เดือนต่อมาการรับกลิ่นก็กลับมาแต่ไม่เหมือนเดิม โดยเธอเรียกมันว่า ‘กลิ่นโควิด’ เพราะไม่ว่ากลิ่นอะไรก็ตามที่เธอได้รับมันผิดเพี้ยนไปหมดเป็นกลิ่นที่เหม็นแทน ซึ่งเธอต้องอยู่กับอาการดังกล่าวมานานกว่า 1 ปี

โดยศัพท์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับอาการดังกล่าวเรียกว่า Parosmia เป็นความผิดปกติการตรวจจับกลิ่น โดยสมองจะเปลี่ยนเป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์โดยทั่วไป เช่น กลิ่นเน่า แม้ไม่ทราบจำนวนผู้ป่วยโรค Parosmia ที่แน่นอน แต่ผล การศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม 2020 พบว่า 89% ของผู้ที่สูญเสียกลิ่นเนื่องจากโควิดจะฟื้นตัวภายใน 4 สัปดาห์

ส่วนที่เหลืออีก 11% รายงานการสูญเสียกลิ่นอย่างต่อเนื่องหรือ Parosmia และการศึกษาอีกครั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 พบว่าใน 47% ของผู้ป่วย COVID-19 จะรับกลิ่นและรสชาติที่เปลี่ยนไป

อย่างไรก็ตาม Carl Philpott จากโรงเรียนแพทย์ Norwich Medical School แห่งมหาวิทยาลัย East Anglia ระบุว่า การสูญเสียกลิ่นอันเนื่องมาจาก COVID-19 จะกลับมาในที่สุด แต่มีประมาณ 10% ที่อาจใช้เวลาถึง 3 ปี ส่วนอีก 90% ของผู้คนจะได้รับกลิ่นของพวกเขากลับคืนมาภายใน 2-3 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ

ทั้งนี้ แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษา parosmia แต่วิธีหนึ่งในการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วคือการเริ่มฝึกการดมกลิ่น โดยต้องฝึกเพื่อกระตุ้นและขยายเส้นประสาทในจมูกที่มีหน้าที่ในการดมกลิ่น โดยการศึกษาดั้งเดิมแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างการบำบัดด้วยกลิ่นและการฟื้นฟู ได้แก่ โคลเวอร์, ยูคาลิปตัส, มะนาว และดอกกุหลาบ

“ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแสดงให้เห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไปมันอาจจะดีขึ้น”

Source

]]>
1343013