โซเชียล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 28 Dec 2023 11:09:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 นักวิจัยเผย ‘โซเชียลมีเดีย’ ทำเงินเฉพาะแค่ ‘เยาวชน’ รวมกันกว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1457421 Thu, 28 Dec 2023 05:06:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457421 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ถูกตั้งคำถามว่าส่งผลเสียต่อเยาวชนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของ Harvard TH Chan School of Public Health พบว่า แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้งหลาย สามารถสร้างรายได้จากการโฆษณาในสหรัฐฯ รวมกันมากกว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์จากเยาวชน

เพื่อหาตัวเลขรายได้ นักวิจัยได้เก็บข้อมูลผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาที่ อายุต่ำกว่า 18 ปี บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ได้แก่ Facebook, Instagram, Snapchat, TikTok, X และ YouTube ในปี 2022 เพื่อประเมินรายได้โฆษณาในสหรัฐฯ ของแต่ละแพลตฟอร์ม และเวลาที่เด็ก ๆ ใช้ต่อวันในแต่ละแพลตฟอร์ม หลังจากนั้น นักวิจัยได้สร้างแบบจำลองเพื่อประเมินรายได้โฆษณาที่แพลตฟอร์มได้รับจากเยาวชนในสหรัฐอเมริกา

จากการศึกษาพบว่า รายได้จากโฆษณาสูงสุดจากผู้ใช้ อายุ 12 ปีหรือต่ำกว่า แพลตฟอร์ม YouTube ทำเงินสูงสุด (959.1 ล้านดอลลาร์) ตามมาด้วย Instagram (801.1 ล้านดอลลาร์) และ Facebook (137.2 ล้านดอลลาร์)

ในส่วนของรายได้โฆษณาจากผู้ใช้ อายุ 13-17 ปี แพลตฟอร์ม Instagram ทำรายได้สูงสุดที่ (4 พันล้านดอลลาร์) ตามมาด้วย TikTok (2 พันล้านดอลลาร์) และ YouTube (1.2 พันล้านดอลลาร์)

นอกจากนี้ นักวิจัยยังคาดการณ์ว่า Snapchat ได้รับส่วนแบ่งสูงสุดของรายได้จากโฆษณาโดยรวมในปี 2022 จากผู้ใช้อายุต่ำกว่า 18 ปี (41%) ตามมาด้วย TikTok (35%), YouTube (27%) และ Instagram (16%)

“การค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมโซเชียลมีเดียของรัฐบาล เนื่องจากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถควบคุมตัวเองในการใช้แพลตฟอร์มได้ ดังนั้น แพลตฟอร์มควรจะมีความโปร่งใสที่มากขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาอันตรายต่อสุขภาพจิตของเยาวชน และลดแนวทางการโฆษณาที่อาจเป็นอันตรายซึ่งกำหนดเป้าหมายไปที่เด็กและวัยรุ่น” นักวิจัยกล่าว

people using smart phone ,Social, media, Marketing concept

ทั้งนี้ นักวิจัยและผู้ร่างกฎหมายได้มุ่งความสนใจไปที่ผลกระทบด้านลบที่เกิดจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมานานแล้ว ซึ่งอัลกอริทึมที่ปรับแต่งเฉพาะบุคคลสามารถผลักดันให้ เด็ก ๆ ใช้งานมากเกินไป โดยที่ผ่านมา สมาชิกสภานิติบัญญัติในรัฐ เช่น นิวยอร์กและยูทาห์ แนะนำหรือผ่านกฎหมายที่จะควบคุมการใช้โซเชียลมีเดียในหมู่เด็ก โดยอ้างถึงอันตรายต่อสุขภาพจิตของเยาวชนและข้อกังวลอื่น ๆ

ปัจจุบัน Meta ซึ่งเป็นเจ้าของ Instagram และ Facebook กำลังถูกฟ้องโดยรัฐหลายสิบแห่งในข้อหามีส่วนทำให้เกิดวิกฤตสุขภาพจิต และจากผลวิจัยพบว่า เด็กและวัยรุ่นวัยเรียนอาจจำโฆษณาได้ และมักจะไม่สามารถต้านทานโฆษณาได้เมื่อโฆษณานั้นฝังอยู่ในโซเชียลเน็ตเวิร์กที่เชื่อถือได้ และได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอิทธิพลคนดัง

“แม้ว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอาจอ้างว่าพวกเขาสามารถควบคุมแพลตฟอร์มเพื่อลดอันตรายต่อเยาวชนได้ แต่การศึกษาของเราชี้ให้เห็นว่า แพลตฟอร์มโซเชียลฯ ยังมีแรงจูงใจทางการเงินอย่างล้นหลามเพื่อชะลอการดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อปกป้องเด็ก ๆ ต่อไป” Bryn Austin ศาสตราจารย์ภาควิชาสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ที่ Harvard กล่าว

ทั้งนี้ ตัวแพลตฟอร์มเองไม่ได้เปิดเผยว่าพวกเขาทำรายได้จากเยาวชนมากน้อยแค่ไหน

]]>
1457421
สรุป 15 อินไซต์การใช้ ‘โซเชียลฯ’ ของ ‘ภาคธุรกิจ’ ปี 66 ปีแห่งการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคผ่าน “เรียลไทม์คอนเทนต์” https://positioningmag.com/1455076 Mon, 11 Dec 2023 01:51:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455076 ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลและสถิติการใช้งาน Facebook, X, Instagram, YouTube และ TikTok ของภาคธุรกิจกว่า 2,000 แบรนด์ชั้นนำจาก 20 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์ข้อมูลกว่า 3 ล้านข้อความ ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี 2566 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2566 ผ่าน “INSTANT REPORT BUSINESS USAGE ภาพรวมการใช้งานโซเชียลมีเดียเชิงธุรกิจไตรมาส 1-3 2566” โดยมีสรุป 15 สาระสำคัญ ดังนี้

1. ภาคธุรกิจได้รับเอ็นเกจเมนต์ (Engagement) โดยรวมมากถึง 421 ล้านครั้ง และจากการโพสต์ (Post) รวมมากกว่า 1 ล้านครั้ง โดยที่ 66% ของแบรนด์เน้นใช้พื้นที่บน Facebook เป็นหลัก รองลงมาคือ Instagram ที่มีสัดส่วนประมาณ 20%

2. ช่องทาง TikTok วิดีโอที่มียอดไลก์ (Like) สูง ส่วนมากจะเป็นวิดีโอสั้น เช่น คอนเทนต์โปรโมตสินค้าจากทางแบรนด์และไลฟ์สไตล์ของเจ้าของแบรนด์

3. ช่องทาง TikTok มีจำนวนการรับชม (View) และจำนวนคอนเทนต์สูงกว่า YouTube แต่แนวโน้มการเพิ่มขึ้น-ลดลงตลอดทั้งปีของทั้ง 2 แพลตฟอร์มมีทิศทางเหมือนกัน คือ ยอดการรับชมเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ในเดือนมีนาคม และลดลงเรื่อย ๆ ทุกเดือน ในขณะที่การโพสต์คอนเทนต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาพจาก Pexels

4. พื้นที่บนโซเชียลมีเดียของบัญชีทางการ มีการใช้ Facebook เป็นหลัก โดยแบรนด์เลือกใช้ Facebook มากที่สุด (99%) รองลงมาคือ Instagram (73%), YouTube (50%), TikTok (38%) และ X (34%) ซึ่ง 95% ของแบรนด์ มีบัญชีทางการอย่างน้อย 2 แพลตฟอร์ม โดยใช้ Facebook เป็นหลัก มีเพียงแค่ 5% ของแบรนด์เท่านั้น ที่ยังคงใช้เพียงแค่ 1 แพลตฟอร์มในการทำการตลาดกับผู้บริโภค

5. ในภาพรวมแบรนด์เน้นทำคอนเทนต์สร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหาที่ตลกและสนุกสนานให้ดูเข้าถึงง่าย, เรียลไทม์คอนเทนต์ รวมถึงการเกาะกระแสไวรัลต่าง ๆ สร้างความรู้สึกเป็นกันเอง และทำให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์เพิ่มขึ้น

6. ช่องทาง Facebook Reaction ถูกใช้เป็นฟังก์ชันในการโหวตเพื่อร่วมกิจกรรม และใช้แสดงความรู้สึก โดย Love คือรู้สึกดีชื่นชอบ, Haha คือขำขัน, Wow คือประหลาดใจ, Sad คือแสดงความเสียใจ ต่อการสูญเสีย, Angry คือไม่พอใจการให้บริการ

ภาพจาก Unsplash

7. ช่วงเวลาในการโพสต์คอนเทนต์ของแบรนด์ในทุกแพลตฟอร์ม คือ วันจันทร์-ศุกร์ โพสต์ตามเวลาทำการ (Working Hours) โดยเฉพาะก่อนเวลาพักเที่ยง และก่อนเลิกงาน ส่วนเสาร์-อาทิตย์จะเน้นโพสต์ช่วงครึ่งเช้า

8. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram มากที่สุดคือ Department Store แต่เอ็นเกจเมนต์ที่สูงที่สุดอยู่ในกลุ่มธุรกิจ Cosmetics & Skincare

9. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม X มากที่สุดคือ Bank แต่เอ็นเกจเมนต์ที่สูงที่สุดไปอยู่ในกลุ่มธุรกิจ Marketplace & E-Commerce Platform

10. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม YouTube มากที่สุดคือ Hospital, Mobile & Consumer Electronics และ Bank ตามลำดับ

11. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม TikTok มากที่สุดคือ Shopping Center & Department Store, Cosmetics และ Skincare ตามลำดับ

ภาพจาก Shutterstock

12. กลุ่มธุรกิจที่เน้นโปรโมตโดยใช้ศิลปิน คือ กลุ่มธุรกิจ Marketplace & E-Commerce Platform โดยจะใช้แพลตฟอร์ม X และ Instagram ควบคู่กัน

13. แพลตฟอร์มที่แบรนด์เลือกใช้ถัดจาก Facebook จะเป็นไปตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในธุรกิจนั้น เช่น Skincare จะใช้ TikTok ควบคู่กับ Facebook ในขณะที่ Hospitality & Travel Agency และ Restaurant จะใช้ Instagram ควบคู่กับ Facebook ไปด้วย

14. กลุ่มธุรกิจที่ได้รับยอดเข้าชมรวม (View) สูงสุดบน TikTok 5 อันดับ คือ 1. Skincare, 2. Marketplace & E-Commerce Platform, 3. Beverage, 4. Cosmetics และ 5. Food & Snacks

15. กลุ่มธุรกิจที่ได้รับยอดเข้าชมรวม (View) สูงสุดบน YouTube 5 อันดับ คือ 1. Beverage, 2. Marketplace & E-Commerce Platform, 3. Personal Care & Skin Care, 4. Mobile & Consumer Electronics และ 5. Food & Snacks โดยกิจกรรมส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การโปรโมทคลิปโฆษณาที่มีความยาว 15-30 วินาที

]]>
1455076
สรุปภาพ ‘โซเชียลมีเดีย’ ครึ่งปีแรก สำหรับ ‘แบรนด์’ เตรียมพร้อม รับมือช่วงเวลาที่เหลือ https://positioningmag.com/1394817 Wed, 03 Aug 2022 09:58:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394817 จากข้อมูลของ We Are Social พบว่าช่วง 6 เดือนแรกคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 9.06 ชั่วโมงต่อวัน สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก เฉพาะเวลาที่ใช้กับโซเชียลมีเดียอยู่ที่ 2.59 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 2.27 ชั่วโมงต่อวัน โดยไทยอยู่อันดับ 15 ร่วงลงมาจาก Top 5 เมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า โดยแนวโน้มชี้ไปว่าคนไทยเริ่มใช้โซเชียลมีเดียน้อยลง

ในส่วนของโซเชียลมีเดียยอดนิยมของไทย 5 ปีหลังพบว่า YouTube แซง Facebook ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ส่วน Line อยู่อันดับ 3 ตามด้วย Facebook Messenger เป็นอันดับ 4 ขณะที่ TikTok มาแรงแซงทั้ง Instagram และ Twitter

Facebook ไม่ได้ Dominated โซเชียลอีกต่อไป

ในส่วนของแพลตฟอร์มที่มีแบรนด์เปิดบัญชีทางการของตัวเองมากที่สุดในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2022 ได้แก่

  • Facebook 99%
  • Instagram 65%
  • YouTube 53%
  • Twitter 33%

“ตัวเลขของ Facebook ไม่เปลี่ยนมานาน มันกลายเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกแบรนด์ต้องมี ที่น่าสนใจคือ YouTube กับ Instagram ที่เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงในแง่เอ็นเกจเมนต์ด้วย แปลว่า Facebook ไม่ได้ dominated แบรนด์เริ่มกระจายไปยังแพลตฟอร์มอื่นแล้ว” กล้า ตั้งสุวรรณ Chief Executive Officer, Wisesight

อย่าสนใจ Like ให้สนรีแอคชั่นอื่น ๆ

จำนวนการกดไลก์เริ่มลดลงจาก 98% เหลือ 96% เนื่องจากผู้ใช้เริ่มกดอีโมชั่นอื่น ๆ มากขึ้น แปลว่า ไลก์ไม่ใช่ตัวชี้วัดอีกต่อไป แต่รีแอคชั่นอื่น ๆ มีความหมายมากขึ้น เพราะไลก์เป็นปุ่มที่กดง่ายที่สุด ดังนั้น ไม่มีความหมายอะไรทั้งนั้น

“ไลก์เยอะไม่ได้แปลว่าดี เพราะมันกดง่าย แต่ควรใส่ใจกับอีโมชั่นอื่น ไม่ว่าจะ Love หรือ Angry”

แบรนด์ทำคอนเทนต์เองมากกว่าจ้าง

จำนวนคอนเทนต์ของแบรนด์ในโลกโซเชียลมีปริมาณเพิ่มขึ้น 10.2% จาก 222,000 โพสต์ต่อเดือน เป็น 225,000 โพสต์ต่อเดือน แต่ที่ เอเจนซี่ กลับยิ่งเหนื่อยเป็นเพราะ แบรนด์ผลิตเอง เลือกที่จะไม่จ้างเอเจนซี่เนื่องจากต้องการ ประหยัดงบ ขณะที่อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทำก็หาได้ง่ายในราคาที่ไม่แพง

คนพิมพ์สั้นลงแต่โพสต์เยอะขึ้น

ชาวโซเชียลในปัจจุบันมีพฤติกรรมที่ชอบโพสต์ แต่พิมพ์ข้อความน้อยลง เนื่องจากกลัวว่าจะถูกมองว่า ไม่เรียล หรือถูกมองว่า โดนจ้างโพสต์ ซึ่งแปลว่าจากนี้ แบรนด์จะจับพฤติกรรมผู้บริโภคได้ยากขึ้นหากยังยึดติดกับ คีย์เวิร์ด หรือ แฮชแท็ก ดังนั้น แบรนด์อาจต้องหาเอไอจับโลโก้ เป็นต้น

“เรานึกภาพของโซเชียลมีเดียช่วง 3 เดือนก่อนไม่ออกด้วยซ้ำ เพราะอุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดียเปลี่ยนแปลงเร็วมาก คงมีแค่ตลาดคริปโตฯ ที่เปลี่ยนเร็วกว่า และพฤติกรรมใหม่ ๆ ของผู้บริโภคถือเป็นสัญญาณที่ทำให้แบรนด์เข้าใจผู้บริโภคได้น้อยลง ถ้ายังวนเวียนกับคำว่าคีย์เวิร์ด”

]]>
1394817
‘สหรัฐฯ’ เตรียมสอบ ‘TikTok’ ถึงอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ ‘เด็ก-วัยรุ่น’ https://positioningmag.com/1376436 Fri, 04 Mar 2022 10:15:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376436 เชื่อว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ชาวโซเชียลไทยน่าจะเห็นคลิปไวรัลที่มาจาก TikTok เป็นจำนวนมาก รวมถึง ‘ชาเลนจ์’ แปลก ๆ อาทิ ‘กินโรตีดิบ’ รวมไปถึงระยะเวลาในการใช้งาน ทำให้รัฐจำนวน 8 รัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศว่าจะมีการสอบสวนร่วมกันเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นของ TikTok ต่อผู้ใช้รุ่นเยาว์ โดยเฉพาะในหมู่เด็กที่นิยมใช้ TikTok อย่างมาก

เจ้าหน้าที่ทั่วสหรัฐอเมริกาได้เปิดตัวการไต่สวนและฟ้องร้องดำเนินคดีกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ และมีจำนวน 8 รัฐ ที่พิจารณาถึงอันตรายของ TikTok ที่อาจเกิดหรือสิ่งที่บริษัทรู้เกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้อายุน้อย โดยการสืบสวนมุ่งเน้นไปที่เทคนิคของ TikTok เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ที่มีอายุน้อย ซึ่งรวมถึงความพยายามในการเพิ่มความถี่และระยะเวลาในการใช้งานของเด็ก

“เราไม่รู้ว่าบริษัทโซเชียลมีเดียรู้อะไรเกี่ยวกับอันตรายเหล่านี้บ้าง การสอบสวนทั่วประเทศของเราจะช่วยให้เราได้รับคำตอบว่า TikTok ละเมิดกฎหมายในการส่งเสริมแพลตฟอร์มของตนแก่ชาวแคลิฟอร์เนียรุ่นเยาว์หรือไม่” อัยการสูงสุดแห่งแคลิฟอร์เนีย Rob Bonta กล่าว

วิดีโอแบบสั้นของ TikTok ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้ที่อายุน้อย ทำให้เกิดความกังวลมากขึ้นจากผู้ปกครองเกี่ยวกับศักยภาพที่บุตรหลานของตนอาจพัฒนานิสัยการใช้งานที่ไม่ดี รวมถึงอาจส่งผลต่อสุขภาพ หรืออาจเจอกับเนื้อหาที่เป็นอันตราย

ด้าน TikTok ได้ออกมาระบุว่า ทางแพลตฟอร์มยินดีที่จะให้สอบสวน และมองว่าเป็นโอกาสที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความพยายามในการปกป้องผู้ใช้

“เราใส่ใจอย่างยิ่งกับการสร้างประสบการณ์ที่ช่วยปกป้องและสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนของเรา เราตั้งตารอที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยและการปกป้องความเป็นส่วนตัวมากมายที่เรามีสำหรับวัยรุ่น” TikTok แถลง

ทั้งนี้ ผลกระทบของโซเชียลมีเดียต่อผู้ใช้อายุน้อยได้รับการตรวจสอบอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว โดย Frances Haugen ผู้แจ้งเบาะแสถึงเอกสารภายในของ Facebook ที่ตั้งคำถามว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการเติบโตมากกว่าความปลอดภัยของผู้ใช้หรือไม่

จนนำไปสู่ความร่วมมือของรัฐในสหรัฐฯ ได้ประกาศการสอบสวน Meta บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram ว่าส่งผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นหรือไม่อย่างไร

Source

]]>
1376436
รายได้ ‘Twitter’ Q2 พุ่ง 74% โตเร็วสุดในรอบ 8 ปี https://positioningmag.com/1343963 Fri, 23 Jul 2021 10:30:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343963 คงปฏิเสธไม่ได้ว่าแพลตฟอร์ม ‘ทวิตเตอร์’ (Twitter) แม้จะอยู่มานานแล้ว แต่ในช่วงวิกฤต COVID-19 กลับกลายเป็นแพลตฟอร์มที่คนหันมาเล่นมากขึ้นโดยเฉพาะวันรุ่น ไม่ว่าจะใช้เพื่อกระจายข่าวและสื่อสารกับกลุ่มคนที่สนใจเรื่องคล้าย ๆ กัน รวมไปถึงการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ อย่าง Spaces เลยทำให้รายได้พุ่งตามไปด้วยซึ่งถือว่าโตเร็วสุดนับตั้งแต่ปี 2014

ทวิตเตอร์เปิดเผยถึงผลประกอบการไตรมาสสองที่เติบโตกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ โดยมีรายได้ 1.19 พันล้านดอลลาร์ จากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเติบโต 1.07 พันล้านดอลลาร์ จำนวนผู้ใช้งานประจำทุกวันที่สร้างรายได้ หรือ mDAU (monetizable daily active users) เพิ่มขึ้น 7 ล้านบัญชี จากไตรมาสแรกรวมเป็น 206 ล้านบัญชี

รายได้ของทวิตเตอร์เพิ่มขึ้น 74% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสนี้ และเติบโตขึ้น 28% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยบริษัทชี้ว่าการเติบโตมาจากความต้องการผู้ลงโฆษณาที่เพิ่มขึ้นในวงกว้าง ส่งผลให้ไตรมาสนี้เป็นการเติบโตแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 โดยมีกำไรที่ 65.6 ล้านดอลลาร์ ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานรายวันที่สร้างรายได้หรือผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ดูโฆษณาบนไซต์เพิ่มขึ้น 11%

ในไตรมาสที่ 2 นี้ ทวิตเตอร์ได้เปิดตัวบริการ สมัครสมาชิก ครั้งแรกซึ่งให้ผู้ใช้เข้าถึงคุณสมบัติอื่น ๆ อีกทั้งแพลตฟอร์มยังได้เปิดตัวฟีเจอร์ Spaces ที่เป็นห้องการสนทนาด้วยเสียงที่เหมือนกับ Clubhouse และได้เพิ่มฟีเจอร์ Tip Jar ที่จะให้ผู้ใช้สามารถส่งเงินให้ผู้ที่ชื่นชอบได้

ในส่วนของไตรมาส 3 ทวิตเตอร์คาดว่ารายได้จะอยู่ที่ราว 1.22 – 1.30 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่นักวิเคราะห์จาก Refinitiv คาดว่ารายได้จะอยู่ที่ 1.17 พันล้านดอลลาร์ และสำหรับปี 2021 ทั้งปี ทวิตเตอร์คาดว่าจำนวนพนักงานและค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30% แต่รายได้จะยังเติบโตเร็วกว่าค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ หลังจากปิดตลาดหุ้นของ Twitter ขยับขึ้นมากกว่า 13% ส่วน Facebook เพิ่มขึ้น 2% และ Google เพิ่มขึ้น 1%

Source

]]>
1343963
เจาะ Insight ‘ของไหว้ตรุษจีน’ ยอดฮิตที่ถูกพูดถึงมากที่สุดบนโซเชียลฯ https://positioningmag.com/1319123 Fri, 12 Feb 2021 09:37:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319123 ถ้าพูดถึงเทศกาลตรุษจีน หนึ่งในสิ่งที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้น ‘ของไหว้’ แน่นอน แต่ในยุคที่วิกฤต COVID-19 ยังไม่หมดไป ผู้คนต่างปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ อย่างผู้บริโภคก็เริ่มหันมาซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ขณะเดียวกันหลายแบรนด์ต่างปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้น โดยการพัฒนาสินค้าให้มีความแปลกใหม่ ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภค โดย Wisesight ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับของไหว้เจ้าที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงเทศกาลตรุษจีน ผ่าน ZOCIAL EYE โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 11 ก.พ. 64  ดังนี้

ไก่ไหว้เจ้า Bonchon 31,594 เอ็นเกจเมนต์

ไก่ต้มหลบไป ปีนี้ต้องไหว้ด้วยไก่ทอดไหว้เจ้าจากบอนชอน ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาจากโซเชียลอย่างล้นหลามที่ร้านอาหารบอนชอนได้นำจุดขายอย่างไก่ทอดมาขายเป็นของไหว้เจ้าในตรุษจีนปีนี้

ภาพจาก Facebook Bonchon

เป็ดมงคล MK 13,459 เอ็นเกจเมนต์

พูดถึง MK ก็ต้องนึกถึงเป็ดย่าง ซึ่งตรุษจีนปีนี้ MK ก็ไม่พลาด เปิดเมนูเสริมเฮง ด้วยชุดเป็ดมงคล

ภาพจาก Facebook MK

ชุดไหว้เจ้า เรียกความเฮง Tesco Lotus 11,475 เอ็นเกจเมนต์

ช่วงนี้ออกมาซื้อของข้างนอกก็ลำบาก ห้างสรรพสินค้า Tesco Lotus เลยขอจัดชุดไหว้เจ้า วันตรุษจีนแแบบหลายเซต หลายราคา เรียกความเฮงได้แบบประหยัดงบ

ภาพจาก website tesco lotus

แมสก์กงเต๊ก 7,790 เอ็นเกจเมนต์

ตรุษจีนนี้บรรพบุรุษต้องรอด! มีหลายแแบรนด์ หลายร้านค้า ได้ผลิตแมสก์กงเต๊ก หรือหน้ากากอนามัยสีทองมาวางขาย สื่อถึงความห่วงใยที่เข้ากับสถานการณ์ได้ดีเลยทีเดียว

ภาพจาก ผู้จัดการออนไลน์

สกินแคร์กงเต๊ก 4,496 เอ็นเกจเมนต์

นอกจากบรรพบุรุษต้องมีสุขภาพกายดีแล้ว สุขภาพผิวต้องเป๊ะปังด้วย ด้วยสกินแคร์กงเต๊ก มีทั้งเซตสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย ให้บรรพบุรุษมีผิวเนียนใสจากสวรรค์ชั้นฟ้า

ภาพจาก ผู้จัดการออนไลน์

ชุดฮัทเฮงยกกำลัง 3 จาก Pizza Hut 2,127 เอ็นเกจเมนต์

ปีนี้จะไหว้เจ้าด้วยพิซซ่าก็น่าสนใจครับ Pizza Hut ได้ออกชุดพิซซ่าฉลองเทศกาลตรุษจีน เสริมโชคลาภ และแก้ชงไปในตัว

ภาพจาก Facebook Pizza Hut

จักรยานไปซื้อของไหว้เจ้า จาก Louis Vuitton 984 เอ็นเกจเมนต์

แบรนด์ชื่อดัง Louis Vuitton ก็ออกจักรยานรุ่นใหม่ แม้จะไม่ได้ออกมาเกี่ยวกับเทศกาลตรง ๆ เเต่จากสีก็ทำให้เข้ากับช่วงตรุษจีนจนชาวโซเชียลพูดถึงซะงั้น เผื่อใครอยากจะไปซื้อของไหว้เจ้าแบบประหยัดน้ำมัน ก็ลองจับจองกันดูได้ ราคาก็เเค่ประมาณ 9700,000 – 1,100,000 บาทเท่านั้นเอง

ชุดไหว้เจ้าเสริมโชค จาก Big C 809 เอ็นเกจเมนต์

ทางฝั่งห้างสรรพสินค้า Big C เองก็ออกเซตไหว้เจ้าออกมาเช่นกัน ที่จัดเซตเสริมโชค เสริมความมงคลโดย ดร.คฑา ชินบัญชร ไม่ว่าจะเป็นชุดไหว้ไท้ส่วยเอี้ย (แก้ชง) เสริมมงคลโชคดีตลอดปี, ชุดไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ย เสริมเรื่องทรัพย์สิน, ชุดไหว้ส่งเจ้าขึ้นสวรรค์, ชุดไหว้เจ้าที่ในบ้าน และชุดไหว้บรรพบุรุษครับ

ภาพจาก YouTube BigC

เค้กส้มมงคล Bake a Wish 537 เอ็นเกจเมนต์

ร้านเบเกอรี่ Bake a Wish ก็จัดสินค้าในเทศกาลตรุษจีนกับเขาเช่นกัน โดยนำเสนอเค้กส้มมงคล ของหวานรสชาติดีแถมเพิ่มความโชคดีให้ด้วย

ภาพจาก Facebook Bake A Wish

ชุดไหว้เจ้าหลากหลายจาก CP Freshmart 55 เอ็นเกจเมนต์

ปิดท้ายด้วย ชุดไหว้เจ้าหลากหลาย จัดเซตมาในชื่อจีน ที่เรียกได้ว่าซื้อแล้วมั่นใจว่า เป็นของไหว้ตรุษจีนของแท้ถึงมือบรรพบุรุษแแน่นอน

ภาพจาก Facebook CP Freshmart

จะเห็นได้ว่าของไหว้ตรุษจีนปีนี้นั้นมีความหลากหลาย และใส่ความครีเอทีฟหรือความแปลกใหม่เข้าไปในตัวสินค้ามากยิ่งขึ้น มีการประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ COVID-19 และใส่ใจความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งขายแบบยกเซตทีเดียวได้ครบครัน รวมถึงการเปิดช่องทางการขายทางโซเชียลมีเดีย แม้ของไหว้ตรุษจีนจะเป็นสิ่งที่คนซื้อไปเพื่อไหว้บรรพบุรุษที่จากไปแล้ว แต่คนซื้อคือผู้มีชีวิตอยู่ ดังนั้นยิ่งขายของที่ตรงใจคนเป็น ก็ยิ่งอยู่รอดได้ในตรุษจีนยุคนี้

]]>
1319123
กรณีศึกษา : ดราม่าข้าวห่อไข่ OMU จุดเสี่ยงการตลาดอีโมชันนอล ความสงสารสู่กระเเสตีกลับ https://positioningmag.com/1283268 Fri, 12 Jun 2020 12:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283268 ต้องยอมรับว่า “ร้านอาหาร” เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเเบบ “หนักหนาสาหัส” จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง แม้ตอนนี้จะกลับมาเปิดให้บริการได้เเล้ว แต่ด้วยมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมก็ทำให้ “ยอดขาย” ไม่อาจกลับมาได้เท่าเดิม หลายร้านต้องงัดกลยุทธ์การตลาดกันออกมาเพื่อดึงดูดลูกค้า ทั้งลดเเลกเเจกเเถม รวมไปถึงใช้การตลาดเชิงอีโมชันนอล

เเต่การเล่นกับความรู้สึกลูกค้า “มากเกินไป” อาจจะนำมาสู่กระเเสตีกลับในทางลบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตโรคระบาดที่ไม่เเน่นอน ดังเช่นกรณีของร้านข้าวห่อไข่ชื่อดังอย่าง OMU ที่กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนบนโลกออนไลน์ขณะนี้ ซึ่งเป็น #CaseStudy การทำการตลาดบนโลกออนไลน์ที่น่าสนใจไม่น้อยเราจะมาย้อนดูไทม์ไลน์ดราม่าครั้งนี้กัน

ส่งสัญญาณเฮือกสุดท้าย OMU ประกาศอาจจะปิดกิจการ

ย้อนไปเมื่อช่วงปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ร้าน OMU (โอมุ) ที่มีเมนูยอดนิยมอย่างคือข้าวห่อไข่ ออกมากล่าวอำลาลูกค้าเเละเตรียมปิดกิจการภายใน 3 เดือน ผ่านเพจเฟซบุ๊ก OMU Bangkok ว่า ขอบคุณลูกค้าที่สนับสนุนตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ทำให้ยอดขายตกลงกว่า 80% จึงจำเป็นต้องแจ้งให้คุณลูกค้าทราบว่า OMU ของเราอาจต้องปิดตัวลงภายในอีก 3 เดือนข้างหน้าจากผลกระทบทางด้านการเงิน
เรื่องของการขาดทุนและรายจ่ายต่างๆ โดยทีมงานจะเร่งระดมสมองเเละออกเเคมเปญกู้ชีพ

“เราอยากให้ลูกค้ารู้ว่าเราเสียใจอย่างที่สุด และไม่ต้องการให้เหตุการณ์เป็นเช่นนั้นเลย อย่างไรก็ตาม ภายใน 3 เดือนที่เหลืออยู่นี้ เราตั้งใจที่จะพยายามอย่างถึงที่สุดครับ”

โดยแฟนเพจเเละลูกค้าได้เข้ามาให้คอมเมนท์ให้กำลังใจทางร้านเป็นจำนวนมากเเละพร้อมจะช่วยอุดหนุนเพื่อให้ OMU อยู่รอดฝ่าวิกฤต COVID-19 นี้ไปให้ได้

ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งระบุว่า “ไม่มีข้าวห่อไข่ร้านไหนอร่อยเท่าโอมุแล้วครับ อยากเป็นกำลังใจให้สถานการณ์ดีขึ้นเมื่อไหร่ทุกคนรออุดหนุนเหมือนเดิม”

“รักเรา ช่วยเรานะ” ลูกค้าเเห่อุดหนุน ต่อลมหายใจ 

หลังจากทางร้านประกาศ “อาจจะ” ปิดกิจการดังกล่าว ทำให้ลูกค้า “เอาใจช่วย” เเละสั่งซื้อเมนูอาหารออนไลน์จากทางร้าน จนยอดออเดอร์เพิ่มขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด

โดยทางร้านได้ตั้งเป้าทำยอดออเดอร์ให้ได้ “300 จานต่อวัน” ด้วยสโลเเกน “รักเรา ช่วยเรานะ Now More Than Ever” ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีในช่วงเเรกหลังจากที่ออกเเคมเปญนี้มา

เเละช่วงกลางเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา OMU รายงานความคืบหน้าว่า “จากแรงสนับสนุนของคุณลูกค้าทุกท่าน
ทำให้สถานการณ์ทางการเงินของเราตอนนี้ดีขึ้นมาก แต่ยังไม่สามารถผ่านพ้นสภาพวิกฤตไปได้ และตอนนี้เราได้เปิดบริการให้นั่งทานภายในร้านได้เพิ่ม ซึ่งเรายังคงมุ่งมั่นทำเต็มที่ โดยเราเพียงหวังว่า เราจะสามารถมีเงินเพียงพอที่จะดูแลพนักงานทุกคนของเราได้ต่อไป เรายังคงรอการสนับสนุนจากคุณลูกค้าทุกท่านอยู่นะครับ”

การเพิ่ม Engagement ให้กับแบรนด์เเละการขอการสนับสนุนจากลูกค้าของ OMU ครั้งนี้ ดูเหมือนจะ “สำเร็จเเละราบรื่น” เหมือนเเคมเปญการตลาดออนไลน์ของเจ้าอื่นๆ ที่นำมาเพิ่มยอดขายในช่วงวิกฤต เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้

เเต่ทว่า “จุดเปลี่ยน” ของเรื่องนี้ เริ่มเด่นชัดขึ้นเหมือนละครที่ถึงตอน “plot twist” จากการที่ทางเเบรนด์พยายามโปรโมทร้านด้วยการ “อัพเดทยอดขายรายวัน” ให้ลูกค้าได้รับทราบต่อเนื่องมองเผินๆ ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องดี เเต่ในทางกลับกันลูกค้าหลายรายก็รู้สึกอึดอัดใจขึ้นมา

Plot Twist : จากความสงสาร กลายเป็นน่ารำคาญ

ยิ่งตอกย้ำไปอีก เมื่อทางเเอดมินเพจใช้คำเรียกประเด็นดราม่า สร้างความ “ไม่สบายใจ” ให้ลูกค้าจำนวนไม่น้อย เพราะทำให้พวกเขารู้สึกโดนกดดันให้ช่วยเหลือ

“เป็นอีกวันที่ยอดของโอมุลดลงอย่างต่อเนื่อง”
“เพราะการสนับสนุนโอมุของคุณ ณ ตอนนี้มีความสำคัญกว่าเวลาไหน ๆ ”
“ยอดโอมุ 3 วันที่ผ่านมา ยอดออเดอร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง” 

นอกจากนี้ ด้วยความที่ยอดขายของ OMU เริ่มกระเตื้องขึ้นมาเเละ “เกินเป้า” ที่คาดไว้ที่ 300 จานต่อวัน ที่เป็นตัวเลขเป้าหมายของบริษัทที่จะทำให้มีรายได้เพียงพอที่จะจ่ายเงินเดือนพนักงานแลอยู่รอดในสภาวะวิกฤตนี้ อย่างวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา เเอดมินโพสต์ว่า “ยอดวันศุกร์ 506 ออเดอร์ วันเสาร์ 477 ออเดอร์ วันอาทิตย์ 399 ออเดอร์และยอดวันจันทร์นี้คือ 367 ออเดอร์” 

ทำให้ลูกค้าหลายคนมองว่า ยอดขายก็เกินเป้าเเล้วเเละสถานะการเงินของร้านก็เริ่มดีขึ้นเเล้ว เเต่ทางเพจยังคงโปร
โมทเเคมเปญขอความช่วยเหลือต่อเนื่อง “ทุกวัน” นี่คือจุดที่เริ่มปลุกกระเเสให้ตีกลับ

 

การรุกทำตลาดที่ “ถี่เเละมากเกินไป” ก็ทำให้ลูกค้าเกิดความหงุดหงิดได้เช่นกัน จุดกระเเสดราม่า OMU ขึ้นมาในโลกโซเซียล ลูกค้าเข้าไปเเสดงความคิดเห็นในเพจของทางร้านจำนวนมาก โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมียอดเเชร์กว่า 1,400 เเชร์เเละ 1,300 คอมเมนท์ ซึ่งล่าสุด ณ วันที่ 12 มิ.ย. ทางร้านยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ในกรณีนี้

ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางราย เเสดงความคิดเห็นว่า “คนไทยขี้สงสาร หลักการนี้ใช้ได้แค่ครั้งแรกครับ ทำต่อไปเรื่อยๆกระแสมันจะตีกลับ” เเละ “ไม่ใช้การตลาดแบบโชว์ลำบากแล้วขอเงินบริจาค ไปเลยละครับ แหม่!! จากที่จะน่าสงสาร เป็นน่ารำคาญไปเลย”

ขณะที่อีกรายให้คำเเนะนำกับทางร้าน เเทนที่จะมาอัพเดทยอดรายวันเพื่อเรียกร้องความสนใจว่า “ลองปรับราคาอาหารแทนไหมครับ คิดเมนูใหม่ๆ ที่ราคาไม่แรง ข้าวห่อไข่ต้นทุนไม่น่าจะสูงขนาดนั้นนะครับ”

ไม่ใช่เเค่ในเฟซบุ๊กเท่านั้นที่มีการถกเถียงถึงประเด็นนี้ ในชุมชนโลกทวิตเตอร์ก็มีการเเสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน โดยล่าสุดมีผู้รีทวีตไปเเล้วกว่า 9,000 ทวีต เเละมองว่าสถานการณ์ของร้านอื่นน่าสงสารกว่านี้มาก “บางร้านไม่ได้มีโอกาสบอกใครด้วยซ้ำว่าเค้าไปไม่รอด ปิดไปเเบบเงียบๆเลย”

ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งระบุว่า “ไม่ใช่ข้อมูลที่ลูกค้าต้องมารับรู้ ลูกค้าไม่ได้ติดหนี้บุณคุณอะไรกับทางร้านที่ต้องมากดดันเเบบนี้ ราคาก็เเพงเกินจะเรียกว่าช่วย อย่าดึงดราม่ามาก ครั้งเดียวก็มากเกินพอเเล้ว ตอนนี้คนไทยก็พังกันทั้งนั้นถ้าไม่ใช่อีลีท ต้องหยุดดราม่าทั้งที่ขายจานละ 200+ มันเริ่มเอียน”

ปมดราม่าร้านข้าวห่อไข่ OMU ครั้งนี้ นับเป็นกรณีศึกษาเเละบทเรียนของเเบรนด์ที่กำลังทำการตลาดเชิงอีโมชันนอล (Emotional Marketing) เพราะการเล่นกับความรู้สึกของลูกค้ามากเกินไปหรือบ่อยเกินไป สุดท้ายเเล้วผลลัพธ์อาจไม่ดีอย่างที่คาด มากไปกว่านั้นต้องเจอกับ “กระเเสตีกลับ” ที่เกิดขึ้นจากความไม่สบายใจ ความรู้สึกว่าโดนกดดัน ไปจนถึงทำให้ลูกค้ารู้สึก “รำคาญ” ก็เป็นได้

ดังนั้นเเบรนด์ต่างๆ ควรจะคำนึงถึงเเละระวังในจุดนี้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตที่ทุกคนต้องเจอกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติ โดยร้านอาหารควรนำกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ มาช่วยพยุงธุรกิจไปด้วย เช่น การออกโปรโมชั่น ลดเเลกเเจกเเถม ออกเมนูใหม่เพื่อดึงดูดใจ ลดค่าส่งออนไลน์ เพิ่มบริการให้เข้ากับพฤติกรรม New Normal เพิ่ม Engagement ด้วยการสร้างความบันเทิงต่างๆ ให้ลูกค้า รวมไปถึงการปรับปรุงร้านให้มีมาตรฐานความปลอดภัย ให้ลูกค้ามั่นใจเเละกลับมาทานที่ร้านได้อย่างสบายใจ

 

]]>
1283268
ตลาดกล้อง ขาลงหนักมาก “ฟูจิฟิล์ม” ฮึดสู้รอบใหม่ เน้นถ่ายวิดีโอ หวังพึ่ง Vlogger-Youtuber https://positioningmag.com/1265659 Mon, 24 Feb 2020 12:10:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265659 ตลาดกล้องขาลง “หนักมาก” ฟูจิฟิล์มฮึดสู้รอบใหม่ วางกลยุทธ์เน้นคนรุ่นใหม่ชอบถ่ายวิดีโอ เจาะกลุ่ม Vlogger- Youtuber หวั่นกำลังซื้อคนไทยลดลงจากพิษเศรษฐกิจ เเบรนด์กล้อง DSLR เจ้าใหญ่หันมาเเข่งตลาดมิลเลอร์เลส

สิทธิเวช เศวตรพัชร์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสผลิตภัณฑ์กล้องดิจิตอล อิมเมจจิ้ง บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมของตลาดกล้องดิจิทัลในประเทศไทย (ไม่รวมยอดขายออนไลน์) ในปี 2562 มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 190,000 ตัว มูลค่าตลาดประมาณ 5,800 ล้านบาท รวมกล้องคอมแพค กล้อง DSLR และกล้องมิลเลอร์เลส โดยมีอัตราการเติบโตติดลบ ประมาณ -29% ในเชิงปริมาณ และติดลบ -28% เชิงมูลค่า 

สำหรับ “กล้องมิลเลอร์เลส” ในปี 2562 ตลาดโดยรวมจำนวนตัว ประมาณ 117,000 ตัว ติดลบประมาณ -29% ในแง่จำนวนตัว และ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,900 ล้านบาท ลดลงประมาณ -20% เมื่อเทียบกับปี 2561

โดยขณะที่ กล้อง DSLR จำนวนตัวประมาณ 3,400 ตัว มีอัตราลดลงถึง -36% เมื่อเทียบกับปี 2561 ขณะที่เชิงมูลค่าประมาณ 1,400 ล้านบาท มีสัดส่วนลดลงถึง -44%

“สาเหตุหลักของการเติบโตที่ลดลงนั้นเกิดจากการที่ผู้บริโภคได้เปลี่ยนพฤติกรรมการถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอล มาเป็นการถ่ายภาพโดยสมาร์ทโฟน เเละคำนึงถึงความง่ายในการใช้งานผ่านทางสั่งการแบบ Easy GUI และความสะดวกในการแชร์ภาพ หรือไฟล์ วิดีโอไปยังโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook , Line และ Instagram”

จากแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงนี้ มีผลโดยตรงต่อดีมานด์ของกล้องดิจิตอลลดต่ำลงที่ไม่แต่เพียงปีนี้ แต่ยังจะส่งผลใปในปีต่อๆ ไปด้วย

สำหรับการสำรวจตลาดล่าสุดในเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา ฟูจิฟิล์มยังครองมีส่วนแบ่งการตลาด “กล้องมิลเลอร์เลส” ที่ 43% เชิงปริมาณ และ 34% เชิงมูลค่า และในปีนี้ฟูจิฟิล์มตั้งเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาดของกล้องมิลเลอร์เลสเป็น 50%

ทั้งนี้ ผลสำรวจเผยว่า คนไทยจำนวนมากชอบถ่ายภาพเเบบ “หน้าชัดหลังเบลอ” ชอบภาพที่มีมิติ ไม่แบน ชอบ Live วิดีโอ เเละชอบการใช้งานง่ายพร้อมแชร์โชเชียลได้ทันที

ห่วงกำลังซื้อคนไทยลด ตลาดมิลเลอร์เลสเเข่งดุ 

“ความท้าทายหลักของเราในปีนี้ เป็นเรื่องกำลังซื้อของคนไทยที่ลดลงมากจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง เป็นผลกระทบโดยรวมเพราะเมื่อเหล่าร้านอาหาร ร้านค้าขายของไม่ได้ คนก็ประหยัดเเละใช้จ่ายน้อยลง ก็ส่งผลต่อเราว่าคนก็จะงดการซื้อกล้องในช่วงนี้เช่นกัน” 

สิทธิเวช กล่าวต่อว่า นอกจากความท้าทายจากกำลังซื้อในประเทศที่ลดลงเเล้ว ฟูจิฟิล์มยังต้องสู้กับผู้ผลิตกล้อง DSLR เจ้าใหญ่ที่กำลังลงมาชิงตลาดมิลเลอร์เลสด้วย เพราะยอดขายกล้องใหญ่ตกลงมากเเละฟื้นคืนยาก ดังนั้นนั้นเราจึงต้องวางกลยุทธ์ใหม่

“เทรนด์ซื้อสมาร์ทโฟนเเทนกล้องใหญ่ มีเเต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราต้องปรับตัวตาม โดยไม่ต้องไปเเย่งลูกค้าในส่วนนั้น เเต่ต้องดึงดูดใจให้คนที่ซื้อสมาร์ทโฟนอยู่เเล้ว อยากซื้อกล้องของเราด้วย”

โดยในปี 2019 กล้องรุ่นที่ขายดีที่สุดของฟูจิฟิล์ม ได้เเก่
อันดับ 1 รุ่น X-A5
อันดับ 2 รุ่น X-A7
อันดับ 3 รุ่น X-T30
อันดับ 4 รุ่น X-T3
อันดับ 5 รุ่น X-PRO3

 จับลูกค้าคนรุ่นใหม่ Vlogger – Youtuber

กลยุทธ์ใหม่ของ “ฟูจิฟิล์ม” ในปีนี้ คือการจับตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นิยมเป็น Vlogger และ Youtuber ซึ่งมีกำลังซื้อสูงเเม้เศรษฐกิจไม่อำนวย เเละกระแสการถ่ายคลิปวิดีโอเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ซึโตมุ วาตะนาเบ้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การถ่ายวิดีโอเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เห็นได้จากพฤติกรรมกลุ่มวัยรุ่นที่เปลี่ยนไปจากที่ชอบถ่ายภาพนิ่งก็เริ่มหันมาถ่ายวิดีโอเกี่ยวกับการเล่าเรื่องราว ไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิตประจำวันแล้วแชร์ลงโซเชียลมากขึ้น ทำให้เห็นว่าเทรนด์การเติบโตของ Content Creator กำลังมาแรง

“เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ฟูจิฟิล์มรุกตลาดกล้องดิจิทัล ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการถ่ายภาพด้วยสมาร์ทโฟน มาเป็นการถ่ายภาพด้วยกล้อง X-A7 Smart Mirrorless ที่ให้คุณภาพของไฟล์ภาพเเละเลนส์ที่ดีกว่า ขนาดของเซ็นเซอร์รับภาพที่ใหญ่กว่าหลายเท่าตัว เเชร์คอนเทนต์ลงโซเชียลได้รวดเร็วเเละพกพาสะดวก” 

สำหรับการเจาะกลุ่มลูกค้าของฟูจิฟิล์มนั้นจะครอบคลุมทุก segment ตั้งแต่ระดับผู้เริ่มใช้ และปีนี้ขยายไปยังกลุ่มระดับกลางทีเป็นกลุ่มใหม่อย่าง Vlogger และ YouTuber

ดัน Fujifilm X-T200 บูมกระเเสถ่ายวิดีโอ

ล่าสุดกล้อง Fujifilm X-T200  เปิดราคาในไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในคอนเซ็ปต์ “Smart Mirrorless V” เน้นในเรื่องการถ่ายวีดีโอเป็นหลัก ด้วยฟีเจอร์เน้นงานวีดีโอเอาใจสาย Vlogger และ Youtube เช่น  Digital Gimba, HDR Movie , Smart LCD , Film Simulatio, Vdo Slow motion 120fps เป็นต้น 

เเละในที่สุดก็รองรับการต่อไมโครโฟน พอร์ต 3.5mm เเล้ว (รุ่นก่อนๆ เป็น 2.5 mm) หน้าจอ LCD ขนาด 3.5 นิ้ว ระบบทัชสกรีน ปรับพับหมุนจอได้และสามารถถ่ายเซลฟี่ได้ขณะถ่ายวิดีโอ 

  • Fujifilm X-T200 ชุด [Body] ราคา 24,990.-
  • Fujifilm X-T200 [Standard Set] ชุด Kit 15-45mm ราคา 27,990.-
  • Fujifilm X-T200 [Portrait Set] ชุด Kit 15-45 + Lens XC 35mm F2 ราคา 31,990.-
  • Fujifilm X-T200 [VLogger Set] ชุด Kit XF 16mm F2.8 R ราคา 31,990.-
  • Fujifilm X-T200 Lens XC 35mm./F2 ราคา 7,990.-

“เราหวังว่าจะเป็นการปลุกกระแสความต้องการของกลุ่ม Content  Creator ทำให้ตลาดมีการแข่งขันและขยายตัวในอุตสาหกรรมการถ่ายภาพโดยรวม” สิทธิเวชระบุ

ด้านกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ของกล้อง “Fujifilm X-T200” ในครั้งนี้ ปัทมาพร จันทร์จารุกุลกิจ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บอกว่า บริษัทยังคงมุ่งเน้นการสื่อสารแบบ Total Communication ทั้งสื่อ Online และ Offline และในครั้งนี้ฟูจิฟิล์มได้มุ่งเน้นการสื่อสารกับกลุ่ม Content creator หรือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ผ่านคลิปวิดีโอเป็นหลัก

โดยมีการดึงเหล่า Micro Influencer จากหลายแขนงร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์การใช้กล้อง Fujifilm X-T200 เเละโปรโมตผ่านช่องทางออนไลน์ยอดนิยมต่างๆ รวมถึงได้มีการเปิดตัว Smart Mirrorless Microsite ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก XA7 Microsite เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ข้อมูลข่าวสาร พร้อมทั้งกิจกรรมต่างๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย

 

]]>
1265659