โปรเจ็คเตอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Feb 2024 01:19:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มาถูกทาง! ‘เอปสัน’ คาดโต 8% แม้ตลาดติดลบ หลังเดินหน้าลุยตลาด B2B พร้อมมองเทรนด์ ‘ซับสคริปชัน’ โอกาสใหม่ https://positioningmag.com/1463069 Sun, 18 Feb 2024 10:13:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463069 หากพูดถึงภาพรวมตลาดไอทีไทยในปี 2023 ที่ผ่านมามีมูลค่า 28,618 ล้านบาท หดตัวถึง 14.7% และหากเจาะไปในตลาดปริ้นเตอร์มูลค่า 2,720 ล้านบาท ลดลง 4% และเชิงปริมาณ 669,000 เครื่อง ลดลง 7% อย่างไรก็ตาม เอปสัน คาดว่าผลประกอบการจะสามารถเติบโตได้ 8% สวนทางตลาด เพราะว่าการเบนเข็มไปจับตลาด B2B

มั่นใจโต 8%

ตามปีปฏิทินของ เอปสัน (Epson) จะปิดปี 2023 ที่ไตรมาส 1 ปี 2024 หรือประมาณอีก 1 เดือน ซึ่ง ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เชื่อว่าเอปสันประเทศไทยจะสามารถเติบโตได้ 8% แม้ว่าภาพรวมตลาดไอทีจะติดลบก็ตาม เพราะโปรดักส์หลายอย่างสามารถเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา ได้แก่

  • เครื่องพิมพ์ป้ายโฆษณา Epson SureColor S-series เติบโต 37% เนื่องจากสื่อ Out Of Home กลับมาถูกเลือกใช้มากขึ้นหลังวิกฤตโควิด อีกทั้ง บริษัทฯ สามารถดึงผู้ประกอบการที่เคยใช้เครื่อง Non-brand
  • เครื่องพิมพ์มินิแล็บ Epson SureLab ที่โตขึ้นในปีนี้เกือบ 10% ซึ่งเป็นผลจากธุรกิจรับพิมพ์ภาพขนาดย่อมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ได้แรงหนุนจากกระแสการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการลงทุนซื้อในกลุ่ม Startup และ SME
  • เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสำหรับองค์กร Epson WorkForce โตเกือบ 30% โดยเป็นการการชิงส่วนแบ่งตลาดจากเครื่องถ่ายเอกสารตามสำนักงานที่เคยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์
  • สแกนเนอร์ เติบโตขึ้น 37% ซึ่งได้รับอานิสงค์จากการที่ พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ ทำให้หน่วยงานราชการหลายแห่งจำเป็นต้องทำเอกสารดิจิทัล เพื่อให้บริการประชาชนผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึงธนาคาร ห้องสมุด และสถาบันศึกษาที่ต้องการเก็บข้อมูลถาวรในรูปแบบดิจิทัล และองค์กรธุรกิจที่เริ่มทำงานผ่านระบบเครือข่ายมากขึ้น
  • โปรเจคเตอร์ เติบโตเกือบ 20% โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูงตั้งแต่ 5,000 ลูเมนขึ้นไปและสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ และเลเซอร์โปรเจคเตอร์เพื่อธุรกิจ เช่น Epson 2000-series

อย่างไรก็ตาม มีสินค้าบางกลุ่มที่เติบโตได้น้อย อาทิ เครื่องพิมพ์อิงค์แท็งค์ ที่ตลาดมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในด้านราคา อย่างไรก็ตาม เอปสันยังคงเป็นผู้นำตลาดโดยมีส่วนแบ่งตลาดที่ 57% นอกจากนี้ กลุ่มเครื่องพิมพ์สิ่งทอ และ กลุ่มหุ่นยนต์แขนกล ก็ไม่เติบโต

กลุ่มหุ่นยนต์ปีก่อนไม่เติบโต แม้มีออเดอร์แต่มีการระงับการติดตั้ง เพราะต้องยอมรับว่าการลงทุนเปิดโรงงานในไทยปีก่อนนั้นไม่ค่อยดี แต่หวังว่าปีนี้จะฟื้น เพราะเห็นเทรนด์ของแบรนด์อีวีที่เข้ามา อย่างไรก็ตาม สินค้าของเอปสันจะเป็นแขนกลสำหรับผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ระดับสูง ดังนั้น จะเน้นที่ความซับซ้อนและคุณภาพ ไม่ได้ใช้ในงานทั่วไป”

เติบโตเพราะเน้น B2B

สำหรับตลาดที่หดตัวลงของตลาดไอทีปีที่ผ่านมาเกิดจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือนที่สูง ทำให้กลุ่ม B2C (Business to Consumer) นั้นชะลอการจับจ่าย และสำหรับเครื่องพิมพ์ก็ต้องยอมรับว่าลูกค้าในกลุ่ม B2C ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนนักศึกษากับ SME ดังนั้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทิศทางของเอปสันจึงเน้นไปที่กลุ่ม B2B (Business to Business) ซึ่งทำให้ปี 2023 บริษัทสามารถเติบโตได้ โดยปัจจุบัน สัดส่วนรายได้ B2C ในอดีตคิดเป็น 80% แต่ปัจจุบันเหลือ 60%

“เราเปลี่ยนทิศทางไปโฟกัสที่ตลาด B2B ตั้งแต่ปี 2018 แต่มาปี 2020-2022 ก็ชะงักไปเพราะเกิดวิกฤตโควิด หลายบริษัท Work From Home ปิดออฟฟิศ แต่พอหลังโควิด ทุกบริษัทกลับมาทำงานปกติ ตลาด B2B ก็เติบโต”

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ตลาด B2B ของเอปสันเติบโตก็คือ Sales Model ที่สามารถซื้อขาดหรือใช้ในรูปแบบ ซับสคริปชัน ด้วยบริการ EasyCare ที่ลูกค้าสามารถควบคุมต้นทุนการพิมพ์ของตัวเองได้ ไม่ต้องสต๊อกหมึก เพราะเอปสันจะส่งหมึกให้โดยคำนวณค่าใช้จ่ายจากจำนวนพิมพ์รายแผ่น เป็นต้น นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ของเอปสันมีการลดใช้พลังงาน ซึ่งก็เป็นอีกจุดที่องค์กรให้ความสำคัญกับเรื่อง Sustainability

“เราเห็นเลยว่าองค์กรส่วนใหญ่สนใจที่จะใช้รูปแบบซับสคริปชันมากขึ้น เพราะเขาจ่ายเท่าที่ใช้ ไม่ต้องมากังวลเรื่องเครื่องเรื่องหมึก เราเองก็ชอบเพราะเราจะได้ทำธุรกิจกับเขายาว ๆ ไม่ได้ซื้อครั้งเดียวแล้วจบ ซึ่งเราเชื่อว่าอนาคตรายได้จากซับสคริปชันจะเติบโตมากขึ้น”

มั่นใจปี 2024 ตลาดดีขึ้น

สำหรับภาพรวมตลาดไอทีปีนี้คาดว่าจะ ติดลบ 3-5% ทั้งในด้านจำนวนและมูลค่าตลาด เนื่องจากยังมีปัญจัยลบ ด้านหนี้ครัวเรือนและสภาพเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เอปสันตั้งเป้าที่จะเติบโตให้ได้ 8% เหมือนกับปี 2023 โดยกลุ่มสินค้าที่เติบโตยังใกล้เคียงกับปี 2023

ทั้งนี้ เอปสันมีแผนจะยกระดับ บริการ ให้ดีขึ้น โดยปัจจุบัน เอปสันมีสาขาทั้งหมด 182 สาขา ทั่วประเทศ และมี 140 สาขาที่ให้บริการ onsite service ซึ่งปีนี้เอปสันจะเพิ่มเป็น 150 สาขา ที่ให้บริการ onsite service นอกจากนี้ เอปสันได้ลงทุนกว่า 30 ล้านบาท สร้าง Solution Center แห่งใหม่บนพื้นที่มากกว่า 600 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นที่จัดแสดงและสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์ทุกกลุ่มของเอปสัน เพื่อสร้างประสบการณ์จริงให้กับลูกค้าก่อนตัดสินใจซื้อ

“ปกติตลาดไอทีพอหดตัวหนักแล้ว ปีต่อไปมันจะดีขึ้น ดังนั้น ปีนี้เราเลยคิดว่าน่าจะดีขึ้น ส่วนเทรนด์การพิมพ์เรามองว่ามันคงไม่หายไป แต่จะทรงตัวอยู่แบบนี้ เพราะออฟฟิศก็ยังมีการใช้งานอยู่” ยรรยง ทิ้งท้าย

]]>
1463069
‘วัด-พิพิธภัณฑ์’ น่านน้ำใหม่ขาย ‘โปรเจคเตอร์’ ตัวแพงของ ‘เอปสัน’ https://positioningmag.com/1410119 Sun, 27 Nov 2022 05:43:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410119 หากพูดถึงตลาด ‘โปรเจคเตอร์’ หลายคนคงหวนนึกถึงตอนเป็นนักเรียน-นักศึกษา แต่เมื่อปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาทดแทน อย่าง จอกระดานอัจฉริยะ เอปสัน ที่เป็นเบอร์ 1 ในตลาดเลเซอร์โปรเจคเตอร์ ก็ได้ออกมายอมรับว่าตลาดกลุ่มการศึกษานั้นหดตัวอย่างมาก ดังนั้น เอปสันจึงหันไปโฟกัสที่ตลาดพรีเมียม ที่เอาไปใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น

ตลาด Entry ดร็อป บอลโลกก็ไม่ช่วย

ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน ตลาดเลเซอร์โปรเจคเตอร์กำลังเข้ามาแทนที่โปรเจคเตอร์แบบหลอดภาพ จากในปี 2558 เลเซอร์โปรเจคเตอร์มีสัดส่วนเพียง 4% แต่ปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 86%

โดยตลาดเลเซอร์โปรเจคเตอร์ปีนี้คาดว่าจะมีจำนวน 42,500 เครื่อง โดยจะแบ่งตลาดตามความสว่าง ได้แก่

  • ความสว่าง 2,000-5,000 ลูเมน (ความสว่างต่ำ, Entry) 76%
  • ความสว่าง 5,000 ลูเมนขึ้นไป 8%
  • ความสว่าง 5,000 ลูเมนขึ้นไป เปลี่ยนเลนส์ได้ (High Brightness) 2%
  • ใช้ภายในบ้าน (Home) 6%
  • อื่น ๆ 6%

ในด้านการเติบโตของจำนวน คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5% เนื่องจากตลาด Entry ที่มีสัดส่วนใหญ่สุดนั้นเริ่มดร็อป เนื่องจากส่วนใหญ่จะใช้ในโรงเรียน, ห้องประชุม แต่ตอนนี้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาทดแทน นอกจากนี้ก็มีกลุ่มร้านอาหาร เช่น ร้านหมูกระทะ ซึ่งปกติช่วงบอลโลกจะกระตุ้นยอดมาก แต่ปีนี้กลับไม่ค่อยหวือหวา

“เมื่อก่อนตลาดโปรเจคเตอร์ใหญกว่านี้ เพราะมีตลาดการศึกษา แต่ตอนนี้ลดลงเรื่อย ๆ เพราะเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีอื่น หรือปกติมีบอลโลกร้านอาหารจะเปลี่ยนใหม่เลย เพราะเครื่องละไม่กี่หมื่นบาท แต่บอลโลกปีนี้ไม่แน่ใจว่าคนไม่ค่อยสังสรรค์หรือร้านหมูกระทะปิดตัว ทำให้ตลาดไม่ค่อยหวือหวา”

‘วัด-พิพิธภัณฑ์’ น่านน้ำใหม่

แม้ในด้านจำนวนจะเติบโตน้อย แต่ในด้าน มูลค่า คาดว่าจะเติบโตได้ 10% มีมูลค่าราว 1,340 ล้านบาท เนื่องจากกลุ่ม High Brightness เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตมากที่สุด โดยปัจจุบันกลุ่ม High Brightness แม้จะมีสัดส่วนในด้านจำนวนเพียง 2% แต่ในแง่มูลค่ามีสัดส่วนถึง 31% ส่วนกลุ่ม Entry มีสัดส่วนด้านมูลค่า 40%

“กลุ่ม High Brightness แม้มีจำนวนน้อยแต่มูลค่าสูงมาก เพราะราคาเริ่มต้นที่ 5 แสน – 10 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตเรื่อย ๆ”

ปัจจุบันที่ทำให้กลุ่ม High Brightness เติบโตขึ้นเนื่องจากภาคการ ท่องเที่ยว ฟื้นตัว เนื่องจากโปรเจคเตอร์กลุ่ม High Brightness ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถฉายภาพบนพื้นผิวที่ไม่เรียบได้ ดังนั้น จะถูกนำไปใช้ในการแสดงแสง สี เสียง เพิ่มความตื่นตาตื่นใจ ดึงดูดผู้ชม อาทิ การ Mapping อาคารต่าง ๆ

สำหรับกลุ่มลูกค้าของเอปสันในปัจจุบัน หลัก ๆ จะเป็นโรงแรม, พิพิธภัณฑ์, ศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ และ วัด นอกจากนี้ยังเห็นเทรนด์ในอีกหลายอุตสาหกรรม เช่น รีเทล และ ร้านอาหาร

“ตอนนี้เราเห็นวัดใช้ไปฉายภาพบนกำแพงหรือโบราณสถานเพื่อบอกเล่าเรื่องราว นอกจากนี้ เทรนด์ของกลุ่มรีเทลก็กำลังมา อย่างในอิเกียต่างประเทศก็มีการใช้ฉายภาพลงบนเฟอร์นิเจอร์ เพื่อจำลองแนวทางการออกแบบการตกแต่งบ้าน”

จากการเติบโตดังกล่าว ดังนั้น ทิศทางของเอปสันจากนี้จะเน้นเจาะไปที่กลุ่ม High Brightness เพื่อรักษาตำแหน่ง เบอร์ 1 ในตลาดเลเซอร์โปรเจคเตอร์ ครองส่วนแบ่งตลาด 38% ล่าสุดได้เปิดตัวโปรเจกเตอร์พร้อมกัน 3 รุ่นในซีรีส์ EB-PU2200 ได้แก่ รุ่น EB-PU2213B ที่มีความสว่าง 13,000 ลูเมน, รุ่น EB-PU2216B ความสว่าง 16,000 ลูเมน และรุ่นไฮไลต์ EB-PU2220B ความสว่าง 20,000 ลูเมน

]]>
1410119
เมื่อตลาด ‘โปรเจ็คเตอร์’ ถึงทางตัน ‘BenQ’ ขอดัน ‘กระดานอัจฉริยะ’ รุกตลาดการศึกษา https://positioningmag.com/1372294 Mon, 31 Jan 2022 06:19:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372294 สำหรับคนวัยทำงานในปัจจุบันนี้ สมัยเรียนคงจะคุ้นเคยกับ ‘โปรเจ็คเตอร์’ ที่แต่ละห้องมีไว้ใช้เพื่อนำเสนอสื่อการเรียนการสอนแน่ ๆ ยิ่งเทรนด์การเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปเนื่องจากการมาของ COVID-19 ทำให้การใช้งานแค่โปรเจ็คเตอร์นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป เบ็นคิว (BenQ) ที่คร่ำวอดในตลาดการศึกษามานานกว่า 20 ปี จึงต้องแก้เกมใหม่เพื่อรักษารายได้ให้เติบโต

โปรเจ็คเตอร์กำลังไม่เป็นที่ต้องการ

หากพูดถึงตลาดโปรเจ็คเตอร์นั้นจะสามารถแบ่งได้หลากหลาย แต่ทิศทางของตลาดนั้นไม่ได้สดใสมากนัก โดยตลาดรวมของโปรเจ็คเตอร์ไทยปี 2020 อยู่ที่ 50,485 เครื่อง และในปี 2021 ลดลงเหลือ 42,343 เครื่อง ส่วนยอดขายของตลาด อินเทอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์ (Interactive Projector) ยิ่งแย่ เพราะจากปี 2018 มียอดขาย 164 เครื่อง พอมาปี 2020 ลดลงเหลือ 7 เครื่อง เท่านั้น

สาเหตุที่ตลาดโปรเจ็คเตอร์และอินเทอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์เริ่มดร็อปลงเป็นเพราะเทรนด์เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะการมาของ จอกระดานอัจฉริยะ (Interactive Flat Panel : IFP) เพราะด้วยคุณสมบัติที่มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการลงโปรแกรมเสริม ผู้สอนไม่ต้องใช้โน้ตบุ๊กมาเชื่อมต่อ แต่สามารถดึงไฟล์จากคลาวด์มาใช้สอนได้เลย ทำให้เทรนด์การใช้กระดาน IFP เพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2018 กระดาน IFP มียอดขายในเอเชียแปซิฟิกกว่า 1 ล้านเครื่อง และเติบโตเป็น 1.4 ล้านเครื่องในปี 2020 ส่วนไทยเองก็เติบโตจาก 1,200 เครื่องในปี 2018 เป็น 2,200 เครื่องในปี 2020

“ในช่วง 3-4 เดือนแรกของการล็อกดาวน์ในปี 2020 ตลาดการเรียนการสอนชะงักลง หลายโรงเรียนเริ่มปรับมาสอนผ่าน Zoom มีการเบรกการจัดซื้อ แต่ปัญหาของการเรียนผ่าน Zoom มันไม่ได้ผลขนาดนั้น โรงเรียนเลยให้ครูมาสอนที่โรงเรียนผ่าน IFP ซึ่งได้ผลที่ดีกว่ามาก เด็กสนุกกับการเรียน ทำให้ในปี 2021 โรงเรียนเอกชนและนานาชาติเริ่มลงทุน” วัชรพงษ์ วงษ์มา รองผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ เบ็นคิว ประเทศไทย กล่าว

เดินหน้าดัน IFP เจาะโรงเรียนรัฐ

กลยุทธ์ในการทำตลาด IFP ปีนี้ของเบ็นคิว 80% จะเจาะภาคการศึกษา 20% เจาะตลาดองค์กร โดยจะเน้นองค์กรใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนภาคการศึกษาจะเริ่มรุกกลุ่ม โรงเรียนรัฐ ที่อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเฉพาะโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีงบกลางของตัวเอง ส่วนตลาด โรงเรียนนานาชาติ เบ็นคิวค่อนข้างแข็งแกร่ง โดยที่ผ่านมามีลูกค้ากว่า 35 โรงเรียน จากทั้งหมด 175 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยในปีนี้ได้ตั้งเป้าไปเพิ่มอีกเท่าตัวเป็น 70 โรงเรียน

“ตอนนี้ไทยเป็น strategic country ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในตลาด IFP เพราะแม้ว่าประเทศเพื่อนบ้านจะมีไซส์ใหญ่กว่าก็จริง แต่ตลาดการศึกษาของไทยเติบโกว่า ไม่ว่าจะจากงบของภาครัฐที่ลงมา และการสนับสนุนของผู้ปกครอง”

ปัจจุบัน เบ็นคิวเป็นเบอร์ 1 ในตลาดกระดาน IFP ปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดไม่ต่ำกว่า 25% มียอดขายกว่า 3,200 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพียง 2.7% และในปีนี้ เบ็นคิวตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดเป็น 30% และภายใน 3 ปีต้องเพิ่มเป็น 50%

“จากนี้จะเริ่มเติบโตลำบาก เพราะในตลาด IFP เริ่มมีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากปี 2016 บริษัทมีคู่แข่งราว 7-8 ราย ปัจจุบันมีกว่า 25 ราย ซึ่งทำให้การแข่งขันดุเดือดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เราต้องเร่งสร้างการเติบโต”

ดันสมาร์ทโปรเจ็คเตอร์เจาะตลาด B2C

ด้วยความที่โปรเจ็คเตอร์กำลังอยู่ในช่วงขาลง โดยยอดขายของเบ็นคิวในปี 2021 อยู่ที่ 3,900 กว่าเครื่อง ถือว่าทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2020 แต่ในแง่รายได้เติบโต 34% เนื่องจากเบ็นคิวผลักดัน สมาร์ทโปรเจ็คเตอร์ (smart projector) ในตลาด B2C เพื่อใช้สำหรับ เอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง เล่นเกม เป็นต้น รวมถึงใช้สำหรับเป็นตัวเลือกให้กับภาคการศึกษาที่งบไม่ถึงที่จะซื้อกระดาน IFP ซึ่งราคาเริ่มต้นที่ 99,000-599,000 บาท ขณะที่สมาร์ทโปรเจ็คเตอร์สูงสุดอยู่ที่ 79,000 บาท

“โควิดให้ธุรกิจโรงแรมเจ็บหนัก การลงทุนในโปรเจ็คเตอร์ตัวแพงเลยไม่มี เราเองก็พยายามเน้นขายสมาร์ทโปรเจ็คเตอร์แทนแมนสตรีม โดยจะอุดช่องว่ากลุ่มที่ไม่มีงบใช้กระดาน IFP แต่อยากได้ฟีเจอร์ใกล้เคียงกัน รวมถึงกลุ่มโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ที่จะเพิ่มสินค้าอีก 4-5 SKU โดยปีนี้เราเราตั้งเป้าที่จะขายให้ได้ 1,200 เครื่อง จากปี 2021 ที่ขายได้ 800 เครื่อง”

คอมขายยาก สะเทือนจอมอนิเตอร์

สำหรับตลาดจอมอนิเตอร์ของเบ็นคิวจะมีตัวชูโรงคือ ZOWIE จอมอนิเตอร์สำหรับ ‘เกมเมอร์’ แต่จากปัญหาซัพพลายเชนในช่วงปี 2021 ทำให้ ‘คอมประกอบ’ ขายยากขึ้นเนื่องจากมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้จอมอนิเตอร์เองก็ขายยากไปด้วย รวมไปถึงการที่บางร้านค้าต้องขายสินค้าแบบ ‘พ่วง’ กับจอมอนิเตอร์ เพราะไม่สามารถขายอุปกรณ์แยกชิ้นได้ ทำให้ลูกค้าบางคนเลือกใช้แบรนด์จอมอนิเตอร์ไม่ได้

“เราไม่เจอปัญหาซัพพลายเชน เพราะเรามีโรงงานผลิตของตัวเอง แต่เราได้ผลกระทบทางอ้อมจากยอดขายคอมประกอบที่ลดลง และค่าขนส่งที่แพงมากขึ้นเยอะ”

แม้ตลาดจะเจอผลกระทบทางอ้อมจากพิษโควิด แต่แบรนด์ ZOWIE ยังเติบโตได้อยู่ โดยในปี 2021 จอกลุ่ม 144Hz มียอดขาย 10,481 เครื่อง เติบโตขึ้นเท่าตัว ขณะที่ภาพรวมของตลาดจอ 249Hz มียอดขาย 2,272 เครื่องเติบโต 28.94% โดยเบ็นคิวจะยังคงรักษาโพสิชั่นของแบรด์คือ ไม่ลดราคา เพื่อรักษาแวร์ลูของสินค้า และทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าไม่โดนหักหลัง

“เราต้องการเป็น king of monitor ในใจผู้บริโภค โดยนอกจากด้านคุณภาพแล้ว เราก็จะไม่หักหลังผู้บริโภค ต่อให้ออกรุ่นใหม่ แต่ราคาตัวเก่าก็จะไม่ได้ลดลงมาก เหมือนกับ iPhone ของ Apple เพราะเราอยากให้เขารู้สึกว่าซื้อตอนไหนก็ได้ ไม่ต้องรอลดราคา อีกทั้งยังทำให้แบรนด์ดูมีมูลค่า”

ทั้งนี้ ในปี 2022 เบ็นคิวจะยังคงใช้งบการตลาดที่ 2% ของยอดขาย โดยจะเน้นในด้านของโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการทำ SEO การใช้อินฟลูเอนเซอร์รีวิวสินค้า รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดการบอก ปากต่อปาก หรือก็คือมี Social Response ที่ดีจากแฟน ๆ

ปีที่ผ่านมามีโควิดเป็นความท้าทาย แต่ตอนนี้การตลาดถือเป็นสิ่งที่ท้าทายมากกว่า โจทย์เราคือ ทำยังไงให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าแล้วฟีดแบ็กในโซเชียลออกมาดี อย่างลูกค้าองค์กรเรามองไม่เห็นฟีดแบ็กเพราะเขาแค่คุยกันภายใน ดังนั้น ถ้าเรามีบริการหลังขายที่ดี การแนะนำการใช้งานฟีเจอร์ให้ใช้ได้จริงแบบนี้จะทำให้ Social Response ได้ดี แบรนด์เติบโตได้”

]]>
1372294