โรคหัวใจ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 18 May 2021 10:49:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 งานหนักคร่าชีวิต 7 เเสนคนต่อปี ทำเกิน 55 ชั่วโมง/สัปดาห์ เสี่ยงตายโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง https://positioningmag.com/1332677 Tue, 18 May 2021 09:05:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332677 ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเกินไป ได้คร่าชีวิตผู้คนหลายเเสนคนต่อปี เเละยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในช่วงโรคโควิด-19 โดยคนที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฝั่งแปซิฟิกตะวันตก ได้รับผลกระทบมากที่สุด

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เผยแพร่งานวิจัยในวารสาร Environment International ระบุว่า การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต้องทำงานทางไกล และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก เพิ่มความเสี่ยงให้ลูกจ้างมีชั่วโมงการทำงานยาวนานขึ้นตามไปด้วย

โดยการทำงานมากกว่า ’55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้น 35% และเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจสูงขึ้น 17% เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานสัปดาห์ละ 35-40 ชั่วโมง

ในปี 2016 ประชาชนกว่า 745,000 คน เสียชีวิตจากอาการเส้นเลือดในสมองแตกและโรคหัวใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทำงานยาวนานหลายชั่วโมง สูงขึ้นเกือบ 30% จากปี 2000

ผลวิจัยของ ILO พบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกือบ 3 ใน 4 เป็นผู้ชายในวัยกลางคนหรือสูงอายุ หลายกรณีเสียชีวิตในช่วงบั้นปลายชีวิต 10 ปีให้หลังจากที่ทำงานหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน

โดยแรงงานที่ใช้ชีวิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก ตามนิยามของ WHO รวมจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้มากที่สุด

Photo : Shutterstock

นักวิจัย ชี้ว่าชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งด้านสรีรวิทยาโดยตรงเเละก่อให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ยังส่งผลให้เเรงงานมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมทำลายสุขภาพ เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับน้อยลง ไม่มีเวลาออกกำลังกายและทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

การทำงาน 55 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง ต้องยอมรับว่าการทำงานที่ยาวนาน อาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร” Maria Neira ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพของ WHO กล่าว

การทำงานทางไกล ประชุมออนไลน์ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากพิษไวรัส เร่งให้พนักงานต้องเเบกภาระงานหนักมากขึ้น WHO ประเมินว่า ประชาชนอย่างน้อย 9% มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานกว่าเดิม

ในทางตรงกันข้าม การลดชั่วโมงการทำงานลงจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างมากกว่า เนื่องจากผลการศึกษาพบว่าจะช่วยให้ผลิตภาพของพนักงานเพิ่มขึ้น

ไม่มีงานใดที่คุ้มค่าจะเสี่ยงกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อบรรลุข้อตกลงเพื่อปกป้องสุขภาพของเเรงงาน

 

ที่มา : BBC , Reuters 

 

 

]]>
1332677
“นักวิทยาศาสตร์จีน” เปิดผลวิจัย AI อาจตรวจจับโรคหัวใจได้จาก “รูปเซลฟี” https://positioningmag.com/1295057 Fri, 04 Sep 2020 14:38:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295057 ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนจีนร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถตรวจจับโรคหลอดเลือดหัวใจผ่านภาพใบหน้า

หลายปีมานี้ จีนได้ขับเคลื่อนการใช้ AI ในการปฏิบัติงานทางคลินิกประจำวัน เช่น การตีความภาพทางการแพทย์ การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการติดตามสัญญาณชีพ

โดยการศึกษาล่าสุด นักวิจัยชาวจีนได้สำรวจความเป็นไปได้และความสะดวกในการใช้ AI เพื่อคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านภาพใบหน้า

ลักษณะต่างๆ ของช่วงใบหน้าถูกพบว่าเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจมานานแล้ว เช่น ศีรษะล้านแบบผู้ชาย รอยย่นที่ติ่งหู ซานธีลาสม่า (Xanthelasmata – ไขมันสะสมเป็นก้อนนูนสีเหลืองที่เปลือกตา) และผิวหนังที่เหี่ยวย่น เหล่านี้เป็นลักษณะที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด

คณะนักวิจัยจากศูนย์โรคหัวใจ และหลอดเลือดแห่งชาติของจีน และมหาวิทยาลัยชิงหวาได้ลงทะเบียนผู้ป่วยชาวจีน 5,796 คนเป็นครั้งแรก ผู้เข้าร่วมได้รับการทดสอบการถ่ายภาพหัวใจ การถ่ายภาพใบหน้าและการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานะทางสังคม-เศรษฐกิจ วิถีชีวิต และประวัติทางการแพทย์

จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาและฝึกฝนอัลกอริทึมของ AI ตามข้อมูลที่ได้จากผู้ป่วย และนำอัลกอริทึมดังกล่าวไปทดสอบกับภาพใบหน้าของผู้ป่วยรายอื่น 1,013 รายในโรงพยาบาลจีน 9 แห่ง

(Photo by Omar Vega/Getty Images)

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารยูโรเปียน ฮาร์ต เจอร์นัล ระบุว่า อัลกอริทึมดังกล่าวมีความไวถึง 80% และความจำเพาะ 54% ซึ่งทำงานได้ดีกว่าแบบจำลองทำนายโรคหลอดเลือดหัวใจแบบดั้งเดิม

ความไวในที่นี้หมายถึงความสามารถของอัลกอริทึมในการระบุตัวผู้ป่วยโรคดังกล่าวว่าให้เป็นบวก ส่วนความจำเพาะคือความสามารถของการทดสอบในการระบุตัวผู้ป่วยที่ไม่มีโรคให้เป็นลบ

คณะนักวิจัยกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้อัลกอริทึมนี้ได้จริง เนื่องจากยังมีความกังวลเรื่องความจำเพาะที่มีระดับต่ำในปัจจุบัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ผิดพลาดและสร้างความฉงนแก่ทั้งผู้ป่วยและแพทย์

โดยรวมแล้วผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าอัลกอริทึมการเรียนรู้เชิงลึกที่ใช้ภาพใบหน้าเป็นพื้นฐาน สามารถช่วยระบุตัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่ามันจะสามารถใช้ในการตรวจคัดกรองโรคก่อนการทดสอบจริงในชุมชนต่างๆ ได้

ในบทบรรณาธิการที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับเดียวกันนี้ คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดระบุว่า “การใช้เซลฟี่เป็นวิธีคัดกรองที่ทั้งง่ายและมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้สามารถคัดกรองประชากรทั่วไปในเบื้องต้น ก่อนเข้าสู่การประเมินทางคลินิกที่มีความครอบคลุมมากขึ้น” และ “วิธีวินิจฉัยที่แปลกใหม่และนอกกรอบอันเปี่ยมไปด้วยศักยภาพนั้นรอเราอยู่เบื้องหน้า”

Source

]]>
1295057