โรเบิร์ต วอลเทอร์ส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 21 Nov 2024 11:08:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลวิจัยชี้ คนไทย 95% อยากทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ สูงสุดในอาเซียน https://positioningmag.com/1500060 Thu, 21 Nov 2024 03:33:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1500060 ปฏิเสธไม่ได้ว่า เทรนด์ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นประเด็นที่กำลังมาแรงทั่วโลกจากกระแสที่ผู้คนต้องการสร้าง Work-Life Balance ในชีวิต รวมถึงในประเทศไทย ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า มนุษย์เงินเดือนไทยต้องการทำงานในรูปแบบนี้สูงถึง 95% มากสุดในแถบประเทศอาเซียน และน่าสนใจ คือ คนไทย 59% ยอมทำงานเพิ่มขึ้น 2 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อแลกกับการได้ทำงานในรูปแบบนี้

ผลสำรวจดังกล่าว เป็นการสำรวจของ ‘บริษัท โรเบิร์ต วอลเทอร์ส’ ที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับโลกที่ได้สำรวจในหัวข้อ The 4-day work week: Is Asia ready for it? ด้วยการสอบถามบุคลากรและองค์กรกลุ่มตัวอย่างกว่า 5,000 แห่งใน 11 ประเทศทั่วเอเชีย รวมถึงประเทศไทย พบว่า

พนักงานที่อยากทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์มากสุดในอาเซียน ได้แก่ คนไทย 95%, มาเลเซีย 94%, สิงคโปร์ 93%, ฟิลิปปินส์ 89% ขณะที่อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีความต้องการในเรื่องในสัดส่วนเท่ากันอยู่ที่ 88%

ผลสำรวจยังระบุอีกว่า สาเหตุที่พนักงานในไทยส่วนใหญ่อยากลดชั่วโมงทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์นั้น

อันดับ 1 ต้องการ Work-Life Balance มีสมดุลชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน 73%

อันดับ 2 อยากเพิ่ม Productivity 58%

อันดับ 3 อยากมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น และอยากประหยัดค่าเดินทาง 42%

นอกจากนี้ มนุษย์เงินเดือนไทยจากกลุ่มตัวอย่างมากถึง 59% บอกว่า ยินดีที่จะทำงานเพิ่มขึ้นอีก 2 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้สามารถทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ได้ โดยยังคงได้รับค่าจ้างเท่าเดิม และ 45% ของพนักงานยังยินดีที่หยุดการทำงานแบบไฮบริดหรือกิจกรรมงานสังคมต่างๆ อีกด้วย

ขณะที่ 58% ของพนักงานที่ต้องการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์เชื่อว่า จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาได้ และการได้ลดเวลาทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ ยังเป็นแรงจูงใจในการเลือกงานใหม่ของพนักงานถึง 41% รองลงมา 29% ทำงานจากที่ไหนก็ได้ และ 27% เป็นเรื่องผลตอบแทน

อย่างไรก็ตาม 36% ในกลุ่มพนักงานที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้มีความกังวลในเรื่องความเครียดที่จะเพิ่มขึ้นจากการทำงานในจำนวนวันน้อยลง แต่ยังต้องทำงานในปริมาณงานเท่าเดิม และ 27% กังวลว่า อาจจะมีการลดค่าจ้างตามมา

แล้วฝั่งนายจ้างหรือบริษัทมีความคิดเห็นอย่างไรกับนโยบายนี้ ?

เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย การใช้นโยบายทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ในประเทศไทยมีแนวโน้มปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป โดย 90% ของบริษัทในไทยมองนโยบายนี้มีความเป็นไปได้ และเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงาน, 77% คิดว่า การทำงานในรูปบบนี้ จะช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานไว้ และ 46% เชื่อว่า นโนบายนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้

นอกจากนี้ นายจ้างและบริษัทในประเทศไทย 77% มองว่า การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์มีความเป็นไปได้ แต่มีนายจ้างเพียง 26% เท่านั้นที่วางแผนจะนำนโยบายนี้ไปใช้จริงในภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ส่วนนายจ้างอีก 50% มองว่า การทำงานในรูปแบบดังกล่าว ไม่น่าจะเกิดการทดลองใช้ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า

ขณะเดียวกัน ก็มีอีกหลายบริษัทที่มองว่า รูปแบบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ‘ไม่สามารถทำได้จริง’ และมีความกังวลต่อนโยบายดังกล่าว โดย 67% กังวลจะพนักงานไม่เพียงพอในการให้บริการลูกค้า, 50% กังวลจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการดำเนินโครงการล่าช้า และ 42% ห่วงว่า การนำนโยบายนี้ไปใช้จะนำไปสู่คงวามไม่พอใจในหมู่พนักงาน

อ้างอิง http://RW Asia 4-Day Work Week E-Guide.pdf

]]>
1500060
พนักงานกว่า 3 ใน 4 ในไทย กำลังมองหา “แผนสำรอง” ในอาชีพการงาน “วัฒนธรรมองค์กรไม่ดี” ปัจจัยกระตุ้นการหางานใหม่ https://positioningmag.com/1485518 Wed, 07 Aug 2024 08:58:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485518
  • ผลสำรวจชี้ 78% ของพนักงานคนไทยได้เริ่มต้นหรือกำลังวางแผนหางานใหม่ในปีนี้
  • 62% ของพนักงานมั่นใจว่า การเตรียมตัวเพื่อยกระดับความสามารถของตัวเองจะช่วยให้พวกเขาได้งานใหม่เร็วขึ้น  
  • วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดีและระดับความพึงพอใจในการทำงานที่ต่ำเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้พนักงานเริ่มมองหางานใหม่
  • ผลสำรวจล่าสุดโดยโรเบิร์ต วอลเทอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับโลกชี้ว่า กว่า 70% ของพนักงานในประเทศไทยกำลังวางแผนเปลี่ยนงาน พบอีกว่า 62% ของพนักงานเหล่านี้เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการเตรียมตัวเพื่อยกระดับความสามารถของตัวเองจะช่วยให้ได้งานใหม่เร็วขึ้น แนวโน้มดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมในหมู่พนักงานในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการแสวงหาความก้าวหน้าในอาชีพ

    การเตรียมตัวเพื่อยกระดับความสามารถของตัวเองถือเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่พนักงานใช้เพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นกับงานในปัจจุบันของตน โดยถือเป็นการแสวงหาโอกาสในการพัฒนาทักษะ เพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ๆ และได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้จะเสริมสร้างความสามารถในรับมือกับความไม่แน่นอนในตลาดงานและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม

    การพัฒนาและยกระดับทักษะในปัจจุบันไม่เพียงแต่จะช่วยด้านการพัฒนาตนเองและการเติบโตทางอาชีพ แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการเรียนรู้ การเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง มันเป็นทั้งการต่อยอดทักษะปัจจุบันและการแสวงหาทักษะใหม่ ซึ่งทำให้การเตรียมตัวเพื่อยกระดับความสามารถเป็นแนวคิดที่น่าสนใจและตอบโจทย์ในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง” วรัปสร พงษ์ศิริบัญญัติ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน กฎหมาย และ เทคโนโลยีและทรานส์ฟอร์เมชั่น ที่โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประเทศไทย กล่าว

    ผลสำรวจล่าสุดที่จัดทำโดยโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประเทศไทย พบข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้:

    • แรงจูงใจที่ทำให้พนักงานเริ่มหางานใหม่ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ตอบโจทย์ (55%), ความพึงพอใจในการทำงานต่ำ (20%) และความไม่มั่นคงในงาน (16%)
    • กลยุทธ์การเตรียมตัวเพื่อยกระดับความสามารถของตัวเองที่เป็นที่นิยม ได้แก่ การพัฒนาทักษะ/การฝึกอบรม (33%), การทำอาชีพเสริมควบคู่กับงานประจำ (17%) และการขอคำปรึกษาจากโค้ชด้านอาชีพ (6%)

    การพัฒนาทักษะและความสามารถไม่เพียงแต่สร้างความมั่นใจให้กับตนเองแต่ยังเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร ทำให้ตนเองเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญสำหรับองค์กร ส่งผลให้พนักงานมีความรู้สึกมั่นคงในงานรวมถึงความภาคภูมิใจงาน ซึ่งส่งผลดีต่อขวัญและกำลังใจโดยรวม

    บริษัทสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาตนเองเพื่อรักษาบุคลากร

    บริษัทส่วนใหญ่มีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการให้พนักงานเตรียมตัวเพื่อยกระดับความสามารถ ซึ่งมากกว่า 50%  ของบริษัทมองว่ามันเป็นหนึ่งในแนวทางที่พนักงานจะแสวงหาความก้าวหน้าทางอาชีพ ในขณะที่ 35% เชื่อว่าจะกระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ในบริษัท แม้ว่าบริษัทจะให้การสนับสนุนแนวทางนี้ แต่บริษัทยังจำเป็นต้องมุ่งเน้นการรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัท เพื่อลดโอกาสที่พวกเขาจะลาออกไปเริ่มงานใหม่ ซึ่งทำได้โดยการสื่อสารแนวทางที่ชัดเจนแก่พนักงาน ประเมินผลการทำงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการให้ฟีดแบคเชิงสร้างสรรค์ และลงทุนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้พนักงานมีทักษะที่พร้อม

    ]]>
    1485518