โลกร้อน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 10 Nov 2023 04:17:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สรุปเวทีสัมมนา “AIS Greenovation The Road Towards Digital World” ที่ยิ่งตอกย้ำว่าปัญหา ‘สิ่งแวดล้อม’ ต้องเร่งช่วยกันแก้ https://positioningmag.com/1451302 Fri, 10 Nov 2023 01:43:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451302

หนึ่งในพาย 3 ชิ้นที่ เอไอเอส (AIS) ยึดเป็นแนวทางในการทำงานก็คือ ความยั่งยืน ทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ รวมถึง สิ่งแวดล้อม ที่เอไอเอสให้ความสำคัญมาโดยตลอด ล่าสุดเอไอเอสเปิดเวทีสัมมนา AIS Greenovation The Road Towards Digital World เชื่อมต่อนวัตกรรมสู่การเติบโตในโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน” ชวนพาร์ทเนอร์และ Stake Holder มาถกประเด็นถึงด้านสิ่งแวดล้อมและแนวทางการทำงานเพื่อร่วมกันลด และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน


ไทยสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 6 แสนล้านบาทจากโลกร้อน

ภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ได้มาเล่าให้ฟังว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม พื้นที่กรุงเทพฯ มีอุณหภูมิทะลุเกิน 40 องศา ที่ 42-44 องศาเลยทีเดียว ส่วนในยุโรปเองอุณหภูมิก็สูงขึ้น 5 องศาต่อเนื่อง 5 วัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากการเปลี่ยนเเปลงทางสภาพภูมิอากาศถึง 6 ราย และการที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3-5 องศา ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 7 เมตร เลยทีเดียว

โดยนับตั้งแต่ปี 2011 ประเทศไทยได้สูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 6 แสนล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น เป็น 2.89 ล้านล้านบาท หรือเทียบเท่างบของประเทศทั้งหมดกว่า 3 ล้านล้านบาท


มี E-Waste ในไทยเพียง 10% ที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้อง

เอื้อง สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS เล่าถึงสาเหตุที่เอไอเอสริเริ่มโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ว่า ในช่วง 6 ปีหลังมานี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) มีส่วนทำให้ก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้นกว่า 53% โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกเผาทำลายคิดเป็นมูลค่าถึง 57,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลมีมูลค่าเพียง 10,000 ล้านดอลลาร์ เท่านั้น ขณะที่ประเทศไทย มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 10% เท่านั้น

จากการคาดการณ์ของ GSMA พบว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกถือครองโทรศัพท์ราว 5.4 พันล้านเครื่อง และภายในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 9 พันล้านเครื่อง หรือเกือบเท่าตัว หรือเฉลี่ยแล้วแต่ละคนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 8 กิโลกรัม และปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นเป็น 110 เมตริกตัน ภายในปี 2050

โดยจากการสำรวจพบว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วไว้กับตัว หรือทิ้งแบบผิด ๆ ได้แก่

  • ไม่รู้จะทิ้งที่ไหน (83%)
  • ไม่รู้ว่ารีไซเคิลได้ (60%)
  • กลัวข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล (52%)

ดังนั้น ในแกน ลดและรีไซเคิลของเสีย จากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เอไอเอสและพาร์ทเนอร์กว่า 190 องค์กรทั่วประเทศ ร่วมกับเป็น Hub of E-Waste ที่จะเป็นพื้นที่สร้างการตระหนักรู้ สร้างจุดดร็อปพ็อยต์รับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ สร้างกระบวนการคัดแยก จัดส่ง และนำไปรีไซเคิลโดยปราศจากการฝังกลบ รวมถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามายกระดับการจัดการโดยแอปฯ E-Waste Plus ที่ช่วยให้ติดตามเส้นทางการกำจัดและคำนวนคาร์บอนสกอร์ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต และลูกค้าเอไอเอสจะได้รับพ็อยต์เมื่อทิ้ง E-Waste กับเอไอเอส

“ยิ่งโลกเข้าสู่โลกดิจิทัลแค่ไหน อุปกรณ์ก็ยิ่งเพิ่มเท่านั้น นี่คือสิ่งที่เอไอเอสตระหนักและทำให้เกิดเป็นวาระที่ต้องพูดคุยว่าจะทำอย่างไรกับมัน และเราไม่เหนื่อยที่จะสร้างอแวร์เนสหรือเอดดูเขตผู้คน เราพร้อมที่จะร่วมกับทุกหน่วยงาน เราพร้อมมาก” สายชล ย้ำ


ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจเสียหาย ตัวมนุษย์เองยิ่งเสีย

สมปรารถนา นาวงษ์ ผู้ก่อตั้ง “เพจอีจัน” กล่าวต่อว่า การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบไม่ถูกวิธีส่งผลเสียมากกว่าการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจหรือทรัพยากรในการนำไปรีไซเคิล แต่ขยะอิเล็กทรอนิกส์หากนำไปเผาทำลายหรือทำลายไม่ถูกวิธีจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกาย เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มีทั้งตะกั่ว, ปรอท และสารพิษอื่น ๆ ซึ่งมันก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย หรือถ้าไปอยู่ในดินหรือแหล่งน้ำ มันก็จะกลับมาสู่ห่วงโซ่ระบบนิเวศและมาสู่ร่างกายคนเราในที่สุด

“คนไทยหลายคนเลือกขายให้กับซาเล้ง เขาก็ไปชำแหละหาของที่นำไปขายได้ อะไรขายไม่ได้เขาก็เผาทิ้ง ซึ่งก็ไปทำลายชั้นบรรยากาศ ตัวเขาเองก็สูดดมควันพิษ มีการสุ่มเจาะเลือดแรงงานหลายคนพบว่ามีสารตะกั่วปนในเลือด บางรายเกินมาตรฐาน หรือในดินที่มีการเผาหรือฝังขยะอิเล็กทรอนิกส์มีสารตะกั่วเกินมาตรฐาน 20 เท่า สารหนู 5 เท่า” สมปรารถนา กล่าว


เดินหน้าสร้างเน็ตเวิร์กสีเขียว

ไม่ใช่แค่แกนลดและรีไซเคิลของเสีย แต่เอไอเอสก็มีแผน ลดผลกระทบผ่านการบริหารจัดการกระบวนการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ โดย วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไปแล้วถึง 131,752 ตัน หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้รวม 17 ล้านต้น

โดยหนึ่งในกิจกรรมที่เอไอสทำคือ เปลี่ยนสถานีฐานมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 8,884 สถานี โดยสามารถ ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 39,832 ตัน โดยเอไอเอสมีแผนเปลี่ยนสถานีฐานมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มขึ้น 4,000 สถานี  รวมถึงมีแผนการนำ AI มาใช้จัดการเครือข่ายอัตโนมัติ Autonomous Network  โดยตั้งเป้าพัฒนาเครือข่าย  Autonomous Network ไปสู่มาตรฐาน L3 (Level 3) ในปีนี้และ L5 ในปี 2025

“หากนับเฉพาะอุตสาหกรรมโทรคมคอนซูเมอร์ มีการใช้พลังงาน 0.4% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทั่วโลก อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการโทรคมนาคมกว่า 50% รวมถึงเอไอเอสก็มีความพยายามลดใช้พลังงาน สร้างกรีนเน็ตเวิร์ก และต้องการไป  Net Zero” วสิษฐ์ ทิ้งท้าย

 

 

]]>
1451302
รู้หรือไม่? ความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกมีมูลค่าสูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท/วัน https://positioningmag.com/1449104 Tue, 24 Oct 2023 10:34:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449104 ทุกวิกฤตไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ไฟป่า พายุ ดินถล่ม ฝุ่น PM2.5 ฯลฯ ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกทั้งสิ้น และจากการประเมินพบว่า ความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ สูงถึง 391 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/วัน ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เผยให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยกว่าแสนล้านต่อปีตั้งแต่ปี 2543 ถึง 2562 หรือเฉลี่ยประมาณ 391 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน (ราว 1.4 หมื่นล้านบาท)

“เราพบว่าค่าเสียหายที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศสูงถึงปีละ 1.43 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี โดย 63% เกิดจากการสูญเสียชีวิตของมนุษย์ ส่วนที่เหลือเกิดจากการทำลายทรัพย์สินและทรัพย์สินอื่น ๆ”

โดยปีที่มีการสูญเสียมากที่สุดคือปี 2551 ตามมาด้วยปี 2546 และ 2553 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ไม่ว่าจะเป็น พายุไซโคลนนาร์กิสถล่มพม่าในปี 2551 คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 80,000 ราย หรือในปี 2546 เกิดคลื่นความร้อนรุนแรงทั่วทวีปยุโรปคร่าชีวิตผู้คนไป 70,000 ราย และในปี 2553 เกิดคลื่นความร้อนในรัสเซีย และความแห้งแล้งในโซมาเลีย

ยิ่งเมื่ออุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นและภัยพิบัติรุนแรงขึ้น โดยในปี 2566 นี้ โลกได้บันทึกสถิติว่าเป็นปีที่ ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปีนี้จะมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย อาทิ ไฟป่าที่ร้ายแรงสุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่เมืองเมาวี รัฐฮาวาย และทั่วยุโรปต้องดิ้นรนกับอุณหภูมิที่ร้อนจัดและน้ำท่วมที่รุนแรง

นอกจากนี้ ปีนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่รูปแบบสภาพอากาศเอลนิโญยังคงดำเนินอยู่แม้เข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งหมายความว่าพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก เช่น ทางตอนเหนือของอลาสกาและชายฝั่งอ่าวไทย มีแนวโน้มที่จะเผชิญฝนที่ตกในช่วงฤดูหนาวมากกว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม แม้การประเมินความเสียหายจะดูมีมูลค่าสูงหลักหมื่นล้านบาทต่อวัน แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการประเมินต้นทุนที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่ำเกินไป เนื่องจากยังไม่มีการนำปัจจัยอย่าง การสูญเสียผลิตภาพที่เกิดจากคลื่นความร้อน ผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่เกิดจากผู้คน หรือการสูญเสียการเข้าถึงการศึกษาและงานหากสถานที่ทำงานได้รับความเสียหาย

ด้วยความเสียหายที่มหาศาล รัฐบาลทั่วโลกจึงเห็นพ้องในข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในกรุงปารีสปี 2558 ที่จะจำกัดความร้อนทั่วโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และดำเนินการพยายามที่จะจำกัดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นให้เหลือ 1.5 องศาเซลเซียส

ก็ต้องดูกันว่ามาตรการต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนรถอีวี การนำพลังงานสะอาดมาใช้ จะช่วยลดอุณหภูมิให้โลกได้สำเร็จหรือไม่? เพราะจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ น่าจะเป็นสัญญาณเตือนว่าโลกต้องการการเยียวยาอย่างรอไม่ได้

]]>
1449104
สหรัฐฯ เตรียมทุ่ม 1.2 พันล้านดอลลาร์ สร้าง “โรงงานดักจับคาร์บอนในอากาศ” เพื่อสู้กับภาวะโลกร้อน https://positioningmag.com/1440907 Sun, 13 Aug 2023 08:31:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440907 รัฐบาลสหรัฐฯ จะทุ่มเงินสูงถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์ สร้างโรงงานดักจับคาร์บอนออกจากอากาศ จำนวน 2 แห่ง ซึ่งเป็นการเดิมพันครั้งประวัติศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

สำหรับโรงงานทั้ง 2 แห่งนั้น แห่งหนึ่งจะตั้งในรัฐเท็กซัส ส่วนอีกแห่งจะตั้งที่รัฐหลุยเซีย โดยสหรัฐฯ ตั้งเป้าที่จะ กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งล้านตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนของรถยนต์จำนวน 445,000 คันต่อปี ซึ่งการลงทุนดังกล่าว นับได้ว่าเป็น การลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดของโลกในการกำจัดคาร์บอนเชิงวิศวกรรม

เนื่องจากโรงงานแต่ละแห่งที่สหรัฐฯ มีแผนจะสร้างนั้น จะสามารถกำจัด CO2 จากอากาศได้มากกว่าแหล่งดักจับคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันถึง 250 เท่า สำหรับเทคนิคการดักจับอากาศโดยตรง (DAC) หรือที่เรียกว่าการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ (CDR) เน้นที่ CO2 ที่ปล่อยออกมาในอากาศ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศที่รุนแรง

เจนนิเฟอร์ แกรนโฮล์ม รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ดังนั้น โลกจำเป็นต้องกำจัดก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศด้วย โดยทางด้านของ คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (IPCC) พิจารณาว่า การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงจากชั้นบรรยากาศถือเป็น หนึ่งในวิธีการที่จำเป็นในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

อย่างไรก็ตาม ตามรายงานของ International Energy Agency ระบุว่า ภาคส่วนนี้ยังคงมีขนาดเล็ก โดยปัจจุบันมีไซต์ดักจับคาร์บอนเพียง 27 แห่งทั่วโลก และมีโครงการอย่างน้อย 130 โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา

]]>
1440907
‘เอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ ทำสถิติ ‘ร้อน’ สุดเป็นประวัติการณ์ คาดในช่วง 10 ปีข้างหน้าอาจแตะ 51 องศาเซลเซียส https://positioningmag.com/1430633 Tue, 16 May 2023 07:43:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430633 ชาวไทยอย่างเราอยากชินแต่ก็คงไม่ชินสักทีกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุขึ้นทุกวัน ๆ ได้แต่หวังว่าที่กรมอุตุฯ คาดว่าจะมีฝนจะตกจริงอย่างที่ว่า แน่นอนว่าไม่ใช่ไทยที่ร้อนขึ้น แต่เป็นทั้งภูมิภาค และนี่ยังไม่ใช่จุดสูงสุด แต่ยังร้อนขึ้นได้อีกในช่วง 10 ปีจากนี้ โดยภูมิภาคเอเชียอาจร้อนได้สูงสุด 51 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

ปัจจุบัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด ซึ่งทำให้เกิดคลื่นความร้อนบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น และทำให้มลพิษทางอากาศในภูมิภาคเลวร้ายลง การรวมกันของความร้อนสูงและระดับหมอกควันสูงในภูมิภาคทำให้ความเสี่ยงของการเจ็บป่วยจากความร้อนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับปัญหาระบบทางเดินหายใจและหัวใจและหลอดเลือด

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกทำให้ทั้งคลื่นความร้อนและมลพิษทางอากาศทวีความรุนแรงขึ้นในภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบกับอุณหภูมิที่ร้อนระอุในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยบางพื้นที่ทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์

อย่างเมือง เตืองเดือง ใน เวียดนาม อุณหภูมิพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 44.2 องศาเซลเซียส ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ตามมาด้วย หลวงพระบาง ในประเทศ ลาว มีอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 43.5 องศาเซลเซียส ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา 

ส่วน กรุงเทพฯ เมืองหลวงของ ไทย ก็เจอกับอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 41 องศาเซลเซียส ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน ด้านอุณหภูมิใน สิงคโปร์ เองแม้จะไม่สูงเท่าประเทศก่อนหน้า โดยอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส แต่ก็เท่ากับสถิติสูงสุดตลอดกาลที่บันทึกไว้เมื่อ 40 ปีก่อน

สำหรับอุณหภูมิที่ร้อนระอุในปีนี้สามารถเชื่อมโยงกับปัญหาหลายอย่าง รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่ลดลงในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา และปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งเป็นรูปแบบสภาพอากาศที่โดยทั่วไปจะนำสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งมาสู่ภูมิภาค 

เดือนที่ร้อนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไปคือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอุณหภูมิมักจะสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปแล้วฤดูแล้งของภูมิภาคจะสิ้นสุดลงเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุม ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิเย็นลงและมีฝนตกชุก

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปี 2565 จากวารสาร Communications Earth & Environment เตือนว่า ระดับความร้อนที่เป็นอันตรายนั้นคาดว่าจะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น 3 ถึง 10 เท่าภายในสิ้นศตวรรษนี้ โดยภูมิภาคเขตร้อนรวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียอาจเผชิญกับ ความร้อนที่อันตรายอย่างยิ่ง ที่ 51 องศาเซลเซียส หรือเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตามการศึกษา และเอเชียเผชิญกับอันตรายทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง และไต้ฝุ่น นอกเหนือไปจากความร้อนและความชื้นที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ ในปี 2565 ถือเป็นปีที่ทั่วโลกเผชิญกับอากาศที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากความร้อนของมหาสมุทรเพิ่มขึ้นและน้ำแข็งที่ปกคลุมทะเลในแอนตาร์กติกาละลายจนใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ตามข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ

]]>
1430633
ข่าวดี! UN เผยชั้น ‘โอโซน’ โลกกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ https://positioningmag.com/1415019 Tue, 10 Jan 2023 12:24:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415019 บรรยากาศโลกชั้น โอโซน ถือเป็นชั้นบรรยากาศที่ใช้ปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลตของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นตัวก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจกตา และทำลายพื้นที่เกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำลายชั้นโอโซนก็คือ มนุษย์ แต่ในช่วงหลายปีมานี้ มนุษย์เองก็พยายามจะลดการปล่อยมลพิษ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเริ่มเห็นผล

สหประชาชาติ หรือ UN คาดว่า ชั้นโอโซนที่ปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์กำลัง ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวเท่ากับระดับปี 1980 ภายใน 40 ปีข้างหน้า ถ้านโยบายการควบคุมในปัจจุบันยังใช้อยู่ โดยพื้นที่ในแถบอาร์กติกจะกลับมาเป็นปกติภายในปี 2045 ขณะที่แอนตาร์กติกาน่าจะกลับสู่ระดับปกติภายในปี 2066

นักวิทยาศาสตร์และกลุ่มสิ่งแวดล้อมยกย่องการห้ามใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนทั่วโลกว่าเป็นหนึ่งในความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดจนถึงปัจจุบัน และอาจเป็นแบบอย่างสำหรับการควบคุมการปล่อยมลพิษจากภาวะโลกร้อนที่กว้างขึ้น

“ความสำเร็จของเราในการเลิกใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซน แสดงให้เราเห็นถึงสิ่งที่สามารถทำได้และต้องทำอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในการเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ” Petteri Taalas เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าว

นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า การปล่อยสารเคมีของคลอโรฟลูออโรคาร์บอน-11 หรือ CFC-11 ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและโฟมฉนวน ซึ่งเป็นสารต้องห้ามที่เป็นศัตรูตัวฉลากของโอโซนได้ลดลงตั้งแต่ปี 2018 หลังจากเพิ่มขึ้นอย่างไม่เป็นเวลาหลายปี รายงานระบุว่าส่วนใหญ่ของการปล่อย CFC-11 ส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกของจีน

รายงานยังพบว่าสารเคมีคลอรีนที่ทำลายโอโซนลดลง 11.5% ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ นับตั้งแต่จุดสูงสุดในปี 1993 ขณะที่โบรมีนลดลง 14.5% นับตั้งแต่จุดสูงสุดในปี 1999

Source

]]>
1415019
‘IMF’ ชี้ ประเทศกำลังพัฒนาต้องใช้เงินกว่า 1.6 แสนล้านเหรียญเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน https://positioningmag.com/1407079 Mon, 07 Nov 2022 11:40:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407079 เมื่อวานนี้เป็นวันแรกที่เปิดฉากการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP 27 ที่ประเทศอียิปต์ โดยมีการเสนอให้ประเทศร่ำรวยจ่ายชดเชยค่าเสียหายจากภาวะโลกร้อน รวมถึงการจัดหาเงินทุนให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำ หรือประเทศยากจน เพราะประเทศร่ำรวยนั้นก่อให้เกิดมลพิษมากกว่า แต่ IMF มองว่าแค่นั้นไม่พอ

ก่อนการประชุม สหประชาชาติเรียกร้องให้ เพิ่มเงินทุนและการดำเนินการตามมาตรการ เพื่อช่วยให้ประเทศที่เปราะบางปรับตัวเข้ากับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ อย่างไรก็ตาม คริสตาลินา จอร์จีวา หัวหน้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF กล่าวว่า ประเทศที่ร่ำรวยเพียงอย่างเดียวไม่สามารถ ปิดช่องว่างเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการ ลงทุนภาคเอกชน มากขึ้นเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“ความช่วยเหลือสาธารณะและเงินทุนจากรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอที่จะปิดช่องว่างเงินทุนในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศกำลังพัฒนา” คริสตาลินา กล่าว

ตามรายงานของสหประชาชาติ ประเทศที่อ่อนแอและกำลังพัฒนาจะต้องใช้เงินระหว่าง 1.6-3.4 แสนล้านดอลลาร์ภายใน 10 ปีนี้ เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ และต้องใช้สูงถึง 5.65 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2050

“ความต้องการในการปรับตัวในประเทศกำลังพัฒนานั้นตั้งเป้าให้พุ่งสูงขึ้นถึง 3.4 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 แต่การสนับสนุนด้านการปรับตัวในปัจจุบันมีน้อยกว่า 1 ใน 10 ของเงินจำนวนนั้น” อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติกล่าว

อิงเกอร์ แอนเดอร์เซน กรรมการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศกำลังพัดถล่มหลังจากพายุถล่มมนุษยชาติ อย่างเห็นตลอดปี 2022 อาทิ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปากีสถาน, คลื่นความร้อนในจีน

ซึ่งการหยุดชะงักของซัพพลายเชนที่เกิดจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าปัญหาที่เกิดจากการระบาดใหญ่ ดังนั้น จำเป็นต้องมีการผลักดันให้มากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วมีความรับผิดชอบต่อการลดการปล่อยมลพิษ และภาษีและกฎระเบียบเป็นกลไกสำคัญที่รัฐบาลหลายแห่งสามารถใช้ได้

“เราต้องตระหนักว่าเราล้าหลังในการปกป้องสวัสดิภาพของลูกหลานของเรา ภายในปี 2020-2030 เราต้องลดการปล่อยมลพิษระหว่าง 25-50% แต่ปัจจุบันการปล่อยมลพิษยังคงเพิ่มขึ้น”

Source

]]>
1407079
งานวิจัยชี้ ‘สมาร์ทโฟน’ กว่า 5.3 พันล้านเครื่องถูก ‘เก็บไว้เฉย ๆ’ รอวันเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ https://positioningmag.com/1404567 Tue, 18 Oct 2022 08:28:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404567 รู้หรือไม่ว่าการกำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่ทำอย่างถูกวิธีจะส่งผลให้เกิด ก๊าซมีเทน และมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจากสภาพอากาศที่แปรปรวนที่เป็นผลพวงจากสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพยายามรณรงค์ให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี

ผลวิจัยขององค์กร Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) หรือ องค์กรว่าด้วยการกำจัดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีมือถือมากกว่า 5.3 พันล้านเครื่อง ที่เลิกใช้แล้ว จากที่มีการครอบครองทั้งหมด 1.6 หมื่นล้านเครื่องทั่วโลก โดยมีแนวโน้มที่จะถูกทิ้งหรือเก็บเอาไว้เฉย ๆ โดยไม่นำมาทิ้งอย่างถูกวิธี และภายในปี 2030 เชื่อว่าจะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์จากมือถือมีมากถึง 74 ล้านตัน

จากผลการวิจัยพบว่า 46% ของ 8,775 ครัวเรือนในยุโรปที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า ที่เก็บอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสมาร์ทโฟนไว้โดยไม่กำจัดอย่างถูกวิธีเป็นเพราะ อาจนำไปใช้ในอนาคต อีก 15% ระบุว่าที่เก็บไว้เพราะ ตั้งใจที่จะขายหรือมอบให้แก่ผู้อื่น ขณะที่ 13% เก็บไว้เนื่องจากเป็น คุณค่าทางจิตใจ

อย่างไรก็ตาม ภายในมือถือนั้นมีวัตถุดิบมากมายที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ ทองแดง เงิน แพลเลเดียม ฯลฯ แต่ถ้านำไปกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี อย่างเช่น เผาทำลายก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ขณะที่ผู้บริโภคมักไม่ทราบว่าสิ่งของที่ดูเหมือนไม่มีความสำคัญเหล่านี้มีมูลค่ามหาศาล

“สมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราให้ความสำคัญสูงสุด ถ้าเราไม่รีไซเคิลวัสดุหายากที่เรามีอยู่ เราจะต้องขุดพวกมันในประเทศอย่างจีนหรือคองโก” Pascal Leroy ผู้อำนวยการทั่วไปของ WEEE Forum กล่าว

แม้ว่ามือถือที่ไม่ได้ใช้แล้วจะมีมากกว่า 5 พันล้านเครื่อง แต่ก็ถือว่าเป็นแค่ส่วนน้อย เพราะตามรายงานการตรวจสอบขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกปี 2020 พบว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดมีปริมาณกว่า 44.48 ล้านตัน ที่เกิดขึ้นทุกปีและไม่สามารถรีไซเคิลได้

ทางฝั่งของสหภาพยุโรปได้พยายามลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยพึ่งผ่านในกฎหมายใหม่ในเดือนตุลาคมนี้ ที่กำหนดให้ USB-C เป็นมาตรฐานเครื่องชาร์จเดี่ยวสำหรับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องใหม่ทั้งหมดเริ่มปลายปี 2024 ซึ่งการออกกฎหมายนี้ คาดว่าจะช่วยประหยัดเงินได้อย่างน้อย 195 ล้านดอลลาร์ต่อปี และลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรปกว่า พันตันทุกปี

ปัจจุบัน มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่ถูกรีไซเคิลอย่างเหมาะสมมีสัดส่วนเพียง 17% เท่านั้น แต่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ภายในปีหน้า

Source

]]>
1404567
‘ศูนย์พยากรณ์อากาศ’ ชี้ อีก 5 ปีโลกมีโอกาสที่จะ ‘ร้อนเกินเกณฑ์’ https://positioningmag.com/1384743 Tue, 10 May 2022 13:39:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384743 ศูนย์พยากรณ์อากาศซึ่งนำโดย UK Met Office เปิดเผยว่า มีโอกาส 50% ที่อุณหภูมิโลกจะร้อนเกินขีดจำกัด ซึ่งเสี่ยงเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว

ในปี 2558 นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศคาดว่า อุณหภูมิโลกมีโอกาสจะร้อนเพิ่มมากขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า และแนวโน้มที่จะเกินระดับนี้ได้รับการเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี 2560-2564 เป็นเกือบ 50% ในช่วงปี 2565-2569

ทางด้านคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ UN ได้เคยออกมาเตือนว่า ทั่วโลกต้องการต่อสู้เพื่อป้องกันไม่ให้โลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนจะไม่มีโอกาสให้แก้ตัวอีกต่อไป โดยนักวิทยาศาสตร์ของ IPCC ได้เรียกร้องให้มีการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อควบคุมความร้อนของโลก ซึ่งขณะนี้อยู่สูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมที่ 1.1 องศาเซลเซียส

“ตัวเลข 1.5 องศาเซลเซียส นั้นบ่งชี้ว่าผลกระทบจากสภาพอากาศจะเป็นอันตรายต่อผู้คนและโลกทั้งใบมากขึ้น” Petteri Taalas เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าว

Taalas ของ WMO เตือนว่า อุณหภูมิโลกจะยังคงไต่ระดับต่อไปตราบเท่าที่มนุษยชาติยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ มหาสมุทรของเราจะยังคงอุ่นขึ้นและเป็นกรดมากขึ้น น้ำแข็งในทะเลและธารน้ำแข็งจะละลายต่อไป ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสภาพอากาศของเราจะรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ หากอุณหภูมิโลกจะร้อนเกินขีดจำกัด โลกจะยิ่งเสี่ยงเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ตัวอย่างเช่น คลื่นความร้อนรุนแรงได้พัดผ่านบางส่วนของอินเดียและปากีสถาน หรืออิรักอยู่ที่เผชิญกับพายุทรายปกคลุมประเทศ และชั้นน้ำแข็งขนาดเท่ามหานครนิวยอร์กได้ถล่มในแอนตาร์กติกาตะวันออก หลังจากอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์

โดยการศึกษาแสดงให้เห็นว่าขณะนี้ใกล้จะแน่นอนว่าอย่างน้อยหนึ่งปีระหว่างปี 2565-2569 จะเป็นปีที่ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ แซงหน้าปี 2559 นอกจากนี้ยังมีโอกาสถึง 93% ที่ค่าเฉลี่ยความร้อนที่พุ่งสูงขึ้นในปี 2565-2569 จะสูงกว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

Source

]]>
1384743
‘Suntory’ เปิดตัวขวด PET ที่ผลิตจากพืช 100% พร้อมตั้งเป้าใช้งานในปี 2030 https://positioningmag.com/1365463 Sun, 05 Dec 2021 05:32:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365463 Suntory Group ได้ประกาศว่าจะใช้ขวด PET ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ 100% ทั่วโลกภายในปี 2030 และกำจัดพลาสติกบริสุทธิ์ที่ใช้ปิโตรเลียมทั้งหมดออกจากการผลิตขวด PET ทั่วโลก หลังบริษัทประสบความสำเร็จในการสร้างขวด PET ต้นแบบที่ทำจากพืช 100% และใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ต้นแบบของแบรนด์ Orangina ในยุโรป และแบรนด์ Suntory Tennensui น้ำแร่บรรจุขวดที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น

การประกาศครั้งนี้ถือเป็นความก้าวหน้าหลังจากเป็นพันธมิตรที่ยาวนานเกือบ 10 ปีกับบริษัท Anellotech บริษัทเทคโนโลยีด้านความยั่งยืนในสหรัฐฯ โดยขวดต้นแบบจากพืชของ Suntory ผลิตขึ้นจากการผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ของ Anellotech ที่นำพาราไซลีนจากพืชซึ่งได้มาจากเศษไม้ และได้แปลงเป็น PTA (กรดเทเรฟทาลิก) จากพืช 70% และ MEG (โมโนเอทิลีนไกลคอล) จากพืช 30% ที่มีอยู่แล้วซึ่งทำจากกากน้ำตาลที่ Suntory ใช้ในแบรนด์ Tennensui ในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2013

“เรายินดีกับความสำเร็จนี้ เนื่องจากมันทำให้เราเข้าใกล้อีกขั้นในการส่งมอบขวด PET แบบยั่งยืนให้ถึงมือผู้บริโภคของเรา” Tsunehiko Yokoi เจ้าหน้าที่บริหารของ Suntory MONOZUKURI Expert Ltd. กล่าว

นวัตกรรมนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งสู่การบรรลุความทะเยอทะยานของ Suntory Group ในการเลิกใช้ขวดพลาสติก PET บริสุทธิ์ที่ได้จากปิโตรเลียมทั้งหมดทั่วโลก โดยเปลี่ยนไปใช้ขวด PET รีไซเคิลหรือจากพืช 100% ภายในปี 2030 โดยขวดต้นแบบจากพืชที่รีไซเคิลได้ทั้งหมดคาดว่าจะ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับขวดบริสุทธิ์ที่ได้จากปิโตรเลียม

เทคโนโลยีนี้เป็นหนึ่งในการลงทุนล่าสุดจาก Suntory ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของบริษัทในการจัดการกับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ในปี 1997 Suntory ได้กำหนด “แนวทางสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม” สำหรับขวดพลาสติกโดยเฉพาะ บริษัทได้ใช้กลยุทธ์ 2R+B (ลด/รีไซเคิล + ชีวภาพ) เพื่อลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ รวมถึงฉลากและฝาปิด และแนะนำวัสดุรีไซเคิลหรือจากพืชในขวดพลาสติกที่ใช้ทั่วโลกอย่างจริงจัง ที่สำคัญคือ ได้สร้างฝาขวดที่เบาที่สุด ฉลากขวดที่บางที่สุด และขวด PET ที่เบาที่สุดที่ผลิตในญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ในไทยประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้พลาสติก PET กับบรรจุภัณฑ์ทุกชนิด เป็นขวด PET แบบใส ไม่มีสี และฝาขวดก็ไร้การพิมพ์สี เพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% มีมูลค่าการรับซื้อสูงกว่าขวดสี เพราะง่ายต่อการรีไซเคิล ด้วยกระบวนการคัดแยกขยะ

Source

]]>
1365463
ไม่ใช่แค่ไทย! ราคาอาหารโลกขึ้น 30% ใน 1 ปี เหตุจากภัยพิบัติ การขาดแรงงาน และต้นทุน https://positioningmag.com/1360801 Mon, 08 Nov 2021 04:52:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360801 ผลพวงจากปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดของประเทศไทย ส่งผลให้ ‘ผัก’ ราคาพุ่งสูงขึ้น ที่เห็นหลัก ๆ คงจะเป็น ‘ผักชี’ ที่ราคาเคยแตะถึง 400 บาท/กิโลกรัม จากเมื่อต้นปีราคาไม่เกิน 100 บาท/กิโลกรัม และหากมองภาพรวมทั่วโลกก็พบว่าไม่ใช่แค่ไทย แต่ในปีนี้ราคาอาหารแพงขึ้น 30% ถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว

ราคาอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนตุลาคม โดยเพิ่มขึ้น 3% จากเดือนกันยายน ตามดัชนีที่เผยแพร่โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งเกิดจากแรงหนุนจากราคาน้ำมันพืชและข้าวสาลีที่พุ่งสูงขึ้น และหากดูภาพรวมทั้งปีพบว่า ราคาอาหารโลกพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่าทศวรรษ โดยพุ่งสูงขึ้นถึง 30% ในปีนี้ และอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554

ราคาน้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน และน้ำมันเรพซีดที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ดัชนีราคาผักของ FAO เพิ่มขึ้น 9.6% ซึ่งปัญหาวัตถุดิบราคาแพงเกิดปัญหาการเก็บเกี่ยววัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยพิบัติที่ส่งผลต่อผลผลิต การขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนที่สูงขึ้น อย่างราคาน้ำมันปาล์มพุ่งขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับการผลิตที่ชะลอตัวในมาเลเซียเนื่องจากการขาดแคลนแรงงานข้ามชาติ

ซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเศรษฐกิจหลักบางแห่งพยายามดิ้นรนเพื่อให้ชั้นวางสินค้ามีสินค้าเพียงพอในช่วงการระบาดใหญ่ อย่างในสหราชอาณาจักร กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานรุนแรงขึ้นจาก Brexit ขณะที่เชนฟาสต์ฟู้ดบางรายจำต้องถอดรายการเมนูยอดนิยมออกเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบ

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ของจีนเองได้ออกมาประกาศให้หน่วยงานท้องถิ่นตรวจสอบให้แน่ใจว่าพลเมืองของตนมี “สิ่งของจำเป็นที่เพียงพอ” ในฤดูหนาวนี้ และพยายามตรึงราคาอาหารให้คงที่

ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาหารที่สูงขึ้นนำไปสู่ต้นทุนที่สูงขึ้นสำหรับบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งบางบริษัทได้ส่งต่อการขึ้นราคาไปยังผู้ซื้อ Unilever ( UL ) , Kraft Heinz ( KHC ) และ Mondelez ( MDLZ ) ได้ปรับราคาสินค้ายอดนิยมทั้งหมดขึ้น

Source

]]>
1360801