โออาร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 01 Sep 2022 06:14:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โออาร์ = โอกาส โอกาสของใคร?… ทุนใหญ่ (ผู้บริหาร)!? https://positioningmag.com/1398458 Thu, 01 Sep 2022 03:08:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398458 บทความโดย ibusiness
วิกฤตพลังงาน เศรษฐกิจถดถอย ประชาชนสาหัส แต่ OR กลับพร้อมเปย์เทหน้าตัก 200,000 ล้าน เดินหน้าลุยซื้อกิจการร่วมลงทุน ด้วยนโยบายโออาร์เท่ากับโอกาสสร้างโอกาสให้ทุนใหญ่ครอบงำตลาด เพิ่มอำนาจเหนือคู่แข่งสู่ธุรกิจผูกขาด? ขณะที่ความเหลื่อมล้ำทำลายโอกาสของรายเล็กสวนทางพันธกิจที่ประกาศจะช่วยเหลือชุมชน

เริ่มต้น ปี 2565 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ได้ประกาศ วิสัยทัศน์และทิศทางการดำเนินธุรกิจ ภายใต้คอนเซ็ปต์เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกันหรือ “Empowering All toward Inclusive Growth” หรือโออาร์=โอกาสซึ่งจะเห็นได้ว่า โออาร์ได้เข้าไปซื้อกิจการ และ ร่วมลงทุนในหลากหลายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดย นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ประกาศตั้งงบลงทุนไว้ 2 แสนล้านบาท ใน 10 ปี (ปี 2563-2573) ที่จะหว่านเงินลงให้ผู้ประกอบการทุกขนาด

ทว่า ตลอดปีนี้ ท่ามกลางภาวะวิกฤติพลังงานราคาน้ำมัน และ แก๊ส ปรับตัวพุ่งสูง ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ต้นทุนสินค้าของผู้ประกอบการ เกิดภาวะเงินเฟ้อ และ ฉุดเศรษฐกิจที่บอบช้ำจากพิษโควิดอยู่แล้วให้เลวร้ายมากขึ้น การทุ่มเงินลงทุนที่มาจาก ผลกำไรจากการค้าน้ำมันและแก๊ส ไปในกิจการหลายกิจการที่บ้างก็เป็นกิจการที่อาจจะมีมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริง และ บางธุรกิจเป็นของ นายทุนผู้ประกอบการรายใหญ่ ก็นำมาซึ่งคำถามในขณะนี้ว่า โออาร์ = โอกาส โอกาสนั้นเป็นของใครกันแน่?

ประเด็นสำคัญ หากพิจารณาพันธกิจของโออาร์ที่เคยระบุว่า จะมุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ผ่านการดำเนินธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจค้าปลีก และจะเป็นองค์กรที่ดีของสังคม ดำเนินธุรกิจที่มีการบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคม ชุมชน แต่เพราะเพื่อแสดงให้ผู้ถือหุ้นรวมไปถึงพันธมิตร เห็นว่าวิสัยทัศน์ โออาร์=โอกาส ดังกล่าวสามารถจับต้องได้จริง ดูเหมือนจะไปสวนทางกับ พันธกิจที่โออาร์ได้ประกาศหรือไม่?

OR – สิงห์ดุสิต โอกาสทุนใหญ่สู่ธุรกิจผูกขาด?

ภายใต้ โออาร์=โอกาส มีตัวอย่างของการร่วมทุนที่เป็นประเด็นคำถามว่า ท้ายที่สุดการร่วมลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันของโออาร์ต้องการผลลัพธ์อะไรกันแน่

กรณีโออาร์ได้ร่วมกับ ภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์ตราสิงห์ที่มีส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มในสัดส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นเจ้าตลาดลงนามในสัญญาจัดตั้งบริษัทร่วมทุน วงเงินรวม 400 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ระหว่างบริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่โออาร์ถือหุ้นในสัดส่วน 100% และบริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด

นักวิเคราะห์ต่างมองว่า การร่วมลงทุนกันของ โออาร์ และ บุญรอดฯ ซึ่งถือเป็นทุนใหญ่ด้วยกันทั้งคู่ ย่อมสร้างโอกาส WIN-WIN เพิ่มขีดความสามารถในการแสวงหากำไรให้แก่ธุรกิจของตัวเอง ในสมรภูมิตลาดเครื่องดื่มกลุ่มบุญรอดฯ เป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่แต่ละปีมีรายได้นับแสนล้านบาท ขณะที่โออาร์ ณ 30 มิ.. 65 บริษัทมีจำนวนสถานีบริการน้ำมันทั้งในและต่างประเทศรวม 2,473 แห่ง ร้าน Café Amazon ทั้งในและต่างประเทศรวม 4,051 สาขา ถือเป็นจุดแข็งในการกระจายสินค้าและช่องทางจำหน่ายที่ได้เปรียบคู่แข่งขันรายอื่นๆ

แน่นอนว่า เมื่อโออาร์หยิบยื่นโอกาสให้บุญรอดฯ ทุนใหญ่+ทุนใหญ่ ที่มาพร้อมการตลาดที่พร้อมเปย์หนัก นั่นหมายถึง อำนาจผูกขาดอยู่เหนือคู่แข่ง ตลาดเครื่องดื่มที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านน่าจะได้รับผลกระทบอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่มทั้งการผลิต การจำหน่าย อยู่ในมือของทั้งคู่ โอกาสที่จะนำไปสู่ธุรกิจผูกขาดในตลาดนี้ก็ย่อมมีสูง ขณะเดียวกันโอกาสของ SME ผู้ประกอบการรายย่อย ที่คาดหวังจะเข้าสู่ตลาดเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่มก็แทบจะปิดประตูลั่นดาลการเติบโตไปได้เลย

ต่อจากการร่วมทุนกับบุญรอดฯ เมื่อเร็วๆ นี้ จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ยังได้ร่วมลงนามในสัญญาการร่วมลงทุนใน บริษัท ดุสิต ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มดุสิตธานี ทุนใหญ่อีกราย โดยบริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด หรือ Modulus ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ OR เข้าลงทุนในสัดส่วน 25% ใช้ลงทุน 300 ล้าน โดยระบุเหตุผลการลงทุน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ

การร่วมลงทุนระหว่าง โออาร์กับดุสิต ก็ไม่ต่างจากโมเดลการร่วมลงทุนกับสิงห์ ขณะที่กลุ่มดุสิตธานี เป็นเบอร์ต้นๆ ในธุรกิจการให้บริการของประเทศ และที่ผ่านมาได้เดินหน้าขยายการลงทุนในธุรกิจอาหารที่เชื่อมโยงกับธุรกิจหลัก มีแนวโน้มการเติบโตสูง และครอบคลุมทุกห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งความร่วมมือกับ OR ในครั้งนี้ ดุสิต จะได้โอกาสเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับการเติบโตของธุรกิจอาหารขยายไปในตลาดหน้าร้านของโออาร์

ขณะที่โอกาสกลายเป็นของทุนใหญ่อย่างดุสิต จากการเอื้อประโยชน์ของโออาร์ บรรดานักวิเคราะห์ต่างกังวลว่า ผลลัพธ์ M&A ของทุนยักษ์จะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างรายใหญ่กับ SME หรือผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็กมากขึ้นไปอีก ทุนใหญ่สามารถที่จะครองส่วนแบ่งตลาด และสะสมกำไรจากการผูกขาดได้โดยง่าย เพิ่มอำนาจอยู่เหนือตลาดที่ทำให้คู่แข่งไม่มีโอกาสที่จะแม้แต่จะแข่งขันได้

Venture Capital ลงทุนกวาดดะ

นอกจากทุนใหญ่อย่างสิงห์ และดุสิตที่ผ่านมา จากแคมเปญ โออาร์=โอกาส โออาร์ ยังแปลงร่างเป็น “Venture Capital” ได้ประกาศเข้าลงทุนในหลายกิจการ อาทิ บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด เจ้าของร้านอาหารสุขภาพชื่อดังโอ้กะจู๋ซึ่งเหตุผลฟังดูดีว่าโอ้กะจู๋ปลูกผักเองด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ และส่งตรงจากฟาร์มผักขนาดใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทฯ ในแง่ธุรกิจ โออาร์ ตั้งเป้าขยายสาขาร้านโอ้กะจู๋เพิ่มเติมในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น รวมถึงการจำหน่ายอาหารแบบ Grab & Go ผ่านร้าน Café Amazon ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และภาคเหนือ

ขณะที่ในแง่สังคมชุมชน คาดหวังเอาไว้ว่า การเข้าลงทุนดังกล่าว จะเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรผู้ปลูกผักในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่มีโอกาสเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านทางสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และร้าน Café Amazon

คำถามคือ ณ วันนี้ มีผลในทางปฎิบัติเช่นนี้จริงหรือไม่ เพราะในความเป็นไปมีเพียงฟาร์มผักของ โอ้กะจู๋ เพียงเท่านั้นที่ได้โอกาส ใช่หรือไม่?

ไม่เพียงแต่ธุรกิจด้านอาหารซึ่งเข้าใจได้ว่า โอ้กะจู๋ มีร้านอาหาร โออาร์มีหน้าร้านและพื้นที่ แต่ โออาร์ ที่ขยายการลงทุนไปในกิจการถูกตั้งคำถามว่า เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างไรกับโออาร์? สนับสนุนพันธกิจของโออาร์อย่างไร?

ดังกรณีตัวอย่าง โออาร์ได้เข้าลงทุน “GoWabi” แอปพลิเคชัน จองบริการความสวยความงามผ่านกองทุน “ORZON Ventures” ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ กรณี OR ควักเงินถึง 480 ล้านบาท เพียงแลกกับการเข้าลงทุนร้อยละ 25 ใน บริษัท คามุ คามุ จำกัด เจ้าของแบรนด์คามุ ที” (Kamu Tea)

กรณี ลงนามสัญญาจองซื้อหุ้นและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น ระหว่าง บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด หรือ Modulus ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ OR และ บริษัท เคเน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (KNX) ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องซักผ้า และเครื่องอบผ้าแบบอุตสาหกรรม รวมถึงประกอบกิจการร้านสะดวกซัก ภายใต้แบรนด์อ๊อตเทริ วอชแอนด์ดรายโดยเข้าลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 40 ในวงเงินประมาณ 1,105 ล้านบาท

ทั้งนี้ 6 เดือนแรกของปี 2565 โออาร์ใช้เงินลงทุนไปประมาณ 2,433 ล้านบาท ผ่านการให้ บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) บริษัทย่อยที่ OR ถือหุ้น 100% เข้าไปลงทุนเรียกว่า Venture Capital พร้อมเปย์ทุกกิจการ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่า ธุรกิจเหล่านั้นมีอนาคตแค่ไหนอย่างไร จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพียงเพราะ โออาร์ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ขอเพียงแค่ธุรกิจไหนที่โออาร์ หรือ ผู้บริหาร คิดว่ามีเคมีทางธุรกิจตรงกัน โออาร์ ก็พร้อมที่จะสร้างโอกาสกับทุกธุรกิจกระนั้นหรือ?

โจทย์ใหญ่ของ ปตท.

OR เป็นบริษัทเรือธงของกลุ่ม ปตท. ในธุรกิจน้ำมัน (Mobility) และธุรกิจค้าปลีก (Lifestyle) โดยเป็นผู้นำในธุรกิจน้ำมัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 44%

ปตท.นั้นถือหุ้นใหญ่ใน OR แต่ก็ทราบกันดีว่า วิสัยทัศน์โออาร์ = โอกาสคนขับเคลื่อนผลักดันสำคัญคือ จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR โดยในครึ่งปีหลัง 2565 นี้ คาดว่าโออาร์ = โอกาสจะเดินหน้าต่อไม่หยุดยั้ง ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรอีกหลายราย เพื่อลงทุนทั้งในรูปแบบการเข้าซื้อกิจการ (M&A) และการร่วมลงทุน (JV) ในธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน

ขณะเดียวกัน ผลประกอบการงวด 6 เดือนของปีนี้ (30 มิ..) โออาร์มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 229,552 ล้านบาท รายได้รวม 390,512 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10,412 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับปีที่แล้วทั้งปีกำไรอยู่ที่ 11,474 ล้านบาท งบปีนี้เหลืออีก 6 เดือนนักวิเคราะห์คาดว่า โออาร์จะทำกำไรเพิ่มจากปีที่แล้วมากกว่าเท่าตัว

นั่นหมายความว่า การรับรู้รายได้จากธุรกิจน้ำมันที่ยังเป็นธุรกิจหลัก รวมกับธุรกิจที่ให้ดอกออกผลที่ไปลงทุนในกิจการอื่นๆ ที่ไม่ใช้น้ำมัน หรือ การค้าปลีกมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โออาร์ = โอกาส เป็นวิสัยทัศน์การลงทุนที่วันนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า โออาร์นั้น มุ่งหากำไรมากกว่าจะตอบแทนสังคม ชุมชน ตามพันธะกิจที่ควรจะเป็นองค์กรที่ผ่องถ่ายกำไรจากธุรกิจค้าน้ำมันและแก๊ส คืนกลับหรือบรรเทาค่าครองชีพให้ประชาชน

ละทิ้งโมเดลคาเฟ่อะเมซอน?

ว่าไปแล้ว ปตท.เคยประสบความสำเร็จกับพันธะกิจการมีส่วนช่วยเหลือชุมชน และ คนตัวเล็ก จากการก่อตั้งและสร้างแบรนด์ คาเฟ่อะเมซอน ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้เป็นร้านกาแฟ สถานที่นัดพบของผู้เดินทางขณะเดียวกัน รูปแบบแฟรนไซส์ที่เสนอให้ประชาชนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของด้วยทุนที่ไม่มากได้ให้โอกาสสร้างงานสร้างอาชีพเป็นผู้ประกอบการให้กับหลายคนจนถึงทุกวันนี้ ด้วยจำนวนสาขาที่มีมากกว่า 4 พันแห่งโดยที่ ปตท.เป็นเจ้าของเองไม่ถึง 10% หรือ ราว 400 สาขา จึงทำให้เป็นโมเดลที่สนับสนุนพันธกิจของปตท.อย่างน่าเสียดายหากโมเดลนี้จะถูกลืมเลือนไป

ภายใต้การบริหารและวิสัยทัศน์จองโออาร์วันนี้กลับเลือกที่จะเดินหน้าลงทุนกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ให้โอกาสนายทุนที่มีธุรกิจอยู่ในมือได้โอกาสขยายกิจการมากขึ้น ซึ่งเมื่อหันหลังกลับไปมอง การก่อตั้งคาเฟ่อะเมซอน เปรียบเทียบกับการเข้าลงทุน กรณี OR ทุ่มเงิน 480 ล้านบาทเข้าถือหุ้น 25% ใน บริษัท คามุ คามุ จำกัด เจ้าของแบรนด์คามุ ที” (Kamu Tea) ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ชาไข่มุก คามุที เปิดมากว่า 11 ปี หลังจากมีชื่อก็เปิดบริการขายแฟรนซ์ไซส์ให้กับคนทั่วไป โดยมีสาขามากกว่า 100 สาขาทั่วประเทศ แต่สำหรับการเข้าลงทุนของโออาร์ โอกาสของเจ้าของแฟรนซ์ไซส์ของคามุทีที่มีอยู่แล้วจะขยายกิจการเปิดสาขาในสถานีน้ำมันก็มากขึ้น ขณะที่คาเฟ่อะเมซอนมอบโอกาสให้คนทั้วไปและชุมชนโดยตรงมากกว่า

สิ่งที่เกิดขึ้นกับการลงทุนของโออาร์จึงทำให้ธุรกิจที่เป็นรายใหญ่จะสามารถมีอำนาจผูกขาดในตลาดเอาเปรียบคู่แข่งขันทางการค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันกิจการเหล่านั้นมีศักยภาพเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าและบริการจะให้ขึ้นหรือลงเพื่อครอบครองส่วนแบ่งตลาด มิหนำซ้ำ การถ่ายโอนกำไรจากธุรกิจหรือวิสาหกิจชุมชนที่โออาร์มีพื้นที่ตั้งอยู่น่าจะเป็นตัวกลางได้กลับมากระจุกตัวอยู่ในกลุ่มทุนรายใหญ่นำไปสู่การสะสมทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่ และ กลายเป็นธุรกิจผูกขาดในที่สุด

นี่หรือการสร้างโอกาสให้วิสาหกิจชุมชน โออาร์ = โอกาส โอกาสของใคร? ทุนใหญ่ ผู้ถือหุ้น และ ผู้บริหาร ใช่หรือไม่? ที่แน่ๆ คนที่ได้โอกาสและได้ประโยชน์จากการลงทุนของโออาร์ ไม่ใช่ ประชาชนผู้บริโภค และ ผู้ประกอบการรายเล็กๆ แน่นอน

นี่เป็นโจทย์ใหญ่ของปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่โออาร์ คิดและจะแก้ไขอย่างไร รายได้บนคราบน้ำตาของประชาชนผู้ใช้น้ำมัน และก๊าซที่ถูกผ่องไปสู่มือทุนใหญ่ที่มีโอกาสทำกำไรและการผูกขาดทางธุรกิจ ใช่เป็นความต้องการของ ปตท.ด้วยหรือไม่? เป็น New-S-Curve ที่จะมุ่งไปแบบนี้หรือ?!

Source

]]>
1398458
OR เข้าซื้อหุ้น ‘โอ้กะจู๋’ 20% ขยายสาขาผ่านปั๊มน้ำมัน ‘PTT Station’ ขายอาหาร Grab & Go ผ่าน Café Amazon https://positioningmag.com/1320954 Thu, 25 Feb 2021 06:10:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320954 OR เข้าซื้อหุ้นโอ้กะจู๋’ 20% มูลค่าไม่เกิน 500 ล้านบาท เตรียมขยายสาขาผ่านปั๊มน้ำมัน ‘PTT Station’ พร้อมขายอาหารแบบ Grab & Go ผ่านร้าน Café Amazon

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เริ่มขยับหารายได้ใหม่ หลังเข้าระดมทุน IPO ตลาดหุ้นไทยสำเร็จ ล่าสุดตัดสินใจเข้าไปลงทุนในร้านอาหารเพื่อสุขภาพชื่อดังจากเชียงใหม่อย่างโอ้กะจู๋ของบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด ผ่านการลงทุนระหว่างบริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ OR

OR ใช้กลยุทธ์มุ่งเน้นการเติบโตจากภายนอก (Inorganic Growth) เพื่อเพิ่มผลกำไรในระยะยาว เน้นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบการร่วมทุนกับบริษัทที่มีศักยภาพ และได้แสวงหาโอกาสและช่องทางในการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage : F&B)

โดยมองว่าโอ้กะจู๋มีจุดเด่นในเรื่องความสดใหม่ของผักที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ และส่งตรงจากฟาร์มผักขนาดใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เเละขยายส่วนธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่นๆ (Non-Oil) ไปพร้อมๆ กัน

OR จะเข้าลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 20 หรือมีมูลค่า ไม่เกิน 500 ล้านบาท ตั้งเป้าขยายสาขาร้านโอ้กะจู๋เพิ่มเติมในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station รวมถึงการจำหน่ายอาหารแบบ Grab & Go ผ่านร้าน Café Amazon ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และภาคเหนือ

ทั้งนี้ สถานีบริการน้ำมัน PTT Station ซึ่งมีจำนวนกว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศ และร้าน Café Amazon ซึ่งมีจำนวนสาขาถึงกว่า 3,000 สาขา

ถือเป็นการเพิ่มความหลากหลาย และเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีไลฟ์สไตล์ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ รวมถึงมีวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ และหันมาเลือกซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จพร้อมรับประทานหรืออาหารสำเร็จรูปเพื่อนำกลับไปรับประทานที่อื่น แทนที่นั่งรับประทานอาหารในร้านมากขึ้น

โอ้กะจู๋เริ่มจากธุรกิจปลูกผักสวนครัว ในปี 2553 จากนั้นจึงได้ขยายมาสู่ธุรกิจร้านอาหารในปี 2556 เริ่มต้นจากการปลูกผักในฟาร์มของตนเองที่และส่งตรงถึงหน้าร้านเพื่อรักษาคุณภาพและความสดใหม่ มีสาขาแรกอยู่ที่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นในปี 2560 จึงเริ่มขยายสาขามายังกรุงเทพฯ ที่สยามสแควร์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันมีจำนวนสาขารวมทั้งสิ้น 14 สาขา ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำร้านอาหารเพื่อสุขภาพของไทย โดยปี 2562 ‘โอ้กะจู๋มีรายได้ประมาณ 643 ล้านบาท ทำกำไร 79 ล้านบาท

สำหรับเงินทุนที่ได้รับในครั้งนี้ บริษัทจะนำไปใช้เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ อาทิ การนำเทคโนโลยี Smart Farm มาใช้เพื่อทำให้ได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอและมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างครัวกลางที่จังหวัดเชียงใหม่ การสร้างศูนย์กระจายสินค้าเพื่อรองรับการขยายสาขาไปยังภูมิภาคต่างๆ

ในส่วนของการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนนั้น ทางบริษัทมีโครงการที่จะทำศูนย์การเรียนรู้การปลูกผักแบบวิถีเกษตรอินทรีย์ ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ รวมถึงมีแผนการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรโดยเป็นตัวกลางที่เชื่อมระหว่างเกษตรกรที่ไม่มีช่องทางขายกับผู้บริโภคที่ต้องการผักอินทรีย์ ผ่านทางแอปพลิเคชันที่อยู่ระหว่างการพัฒนา

 

 

]]>
1320954