ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Jul 2024 12:03:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก ‘WIZ’ สตาร์ทด้านอัพไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ที่ ‘Google’ กำลังทุ่ม 2.3 หมื่นล้านเหรียญเพื่อปิดดีล! https://positioningmag.com/1482847 Tue, 16 Jul 2024 09:48:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1482847 Alphabet เจ้าของ Google อยู่ในการเจรจาเพื่อซื้อ Wiz สตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สําหรับคลาวด์คอมพิวติ้ง ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในราคาประมาณ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์  ซึ่งถ้าดีลดังกล่าวสำเร็จ จะถือเป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่สุดของ Alphabet

สำหรับ Wiz ถือเป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอลที่ทำธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยมี Assaf Rappaport เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งเป็นคนเดียวกับที่ก่อตั้ง Adallom ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งถูกขายให้กับ Microsoft ในราคา 320 ล้านเหรียญ เมื่อประมาณเกือบ 10 ปีก่อน

หลังจากขายธุรกิจไปได้ 3 ปี เขาก็ลาออกจาก Adallom เพื่อรวมตัวกับเพื่อน ๆ เพื่อสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ จนมาปี 2020 ได้ก่อตั้ง Wiz ที่ให้บริการด้านระบบรักษาความปลอดภัยบน คลาวด์ โดยตลาดคลาวด์มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านเหรียญ และมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 20%

Assaf Rappaport

หลังก่อตั้งได้ 9 เดือน Wiz สามารถระดมทุน Series A มูลค่า 100 ล้านเหรียญ และ 5 เดือนจากนั้น ก็สามารถระดมทุน Series B มูลค่า 120 ล้านเหรียญ ภายในเวลา 18 เดือน บริษัทสามารถทำรายได้ถึง 100 ล้านเหรียญ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนปี 2023 สามารถสร้างรายได้ประมาณ 350 ล้านเหรียญ ซึ่งช่วยให้ได้รับการลงทุนเพิ่มเติม 1 พันล้านเหรียญ เดือนพฤษภาคม 2024 ด้วยการประเมินมูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญ ส่งผลให้ Wiz เป็น บริษัทซอฟต์แวร์ที่เติบโตเร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา

โดยจุดเด่นของ Wiz คือ ช่วยให้ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มองเห็นภาพรวมของระบบคลาวด์ทั้งหมด ขณะที่กลยุทธ์ของ Wiz จะเน้นมุ่งไปที่ บริษัทยักษ์ใหญ่ โดยจะระดมทุนมหาศาลเพื่อเร่งการจ้างงานและเร่งเครื่องการเติบโตของบริษัท ปัจจุบัน 40% ของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 100 เป็นลูกค้าของบริษัท อาทิ Fox, Morgan Stanley และ LVMH 

ล่าสุด Alphabet บริษัทแม่ของ Google ได้เจรจากับ Wiz หลังจากที่บริษัทระดมทุนได้ โดย Alphabet อาจเสนอเงินสูงถึง 2.3 หมื่นล้านเหรียญ เพื่อซื้อบริษัท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าที่ประเมินเกือบ 2 เท่า และหากดีลสำเร็จ ดีล ดังกล่าวกลายเป็นดีลที่มีมูลค่าสูงสุดของบริษัท แซงหน้าดีลการซื้อ Motorola ที่มีมูลค่า 1.25 หมื่นล้านเหรียญ เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว  อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขของข้อตกลงยังไม่เสร็จสิ้นและการเจรจาอาจล่มได้

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคม 2022 Alphabet ได้ซื้อบริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์ Mandiant ในราคา 5.4 พันล้านเหรียญ เพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ จัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ดีขึ้นและสนับสนุนธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้ง โดย Google พยายามจะดันรายได้ในฝั่ง Google Cloud เพื่อเป็นการกระจายรายได้นอกเหนือจากธุรกิจโฆษณา และแม้ว่ายอดขายบนคลาวด์จะเติบโตขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาในการแข่งขันกับบริการที่คล้ายคลึงกันจาก Microsoft และ Amazon

“การซื้อ Wiz แสดงให้เห็นว่า Google กําลังเดิมพันครั้งใหญ่ในพื้นที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อเสริมธุรกิจ  คลาวด์” Dan Ives กรรมการผู้จัดการและนักวิเคราะห์วิจัยหุ้นอาวุโสที่ Wedbush กล่าว

CNN / Forbes / CCN

]]>
1482847
จับตาความ Beyond ของ ‘ดีแทค’ เมื่อแอปใหม่ใช้ได้ทุกค่าย ลูกค้า ‘ค่ายอื่น’ จะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง? https://positioningmag.com/1378471 Fri, 25 Mar 2022 10:00:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378471

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมดีแทคแอป ถึงเปิดให้ทุกค่ายใช้ได้? แล้วกลยุทธ์นี้จะช่วยให้ดีแทคแข่งขันหรือเพิ่มลูกค้าได้อย่างไร และมันสะท้อนอะไรในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่กำลังจะเปลี่ยนไป

หากพูดถึงการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมหรือเหล่าโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 รายหลักของคนไทยเราจะนึกถึงจำนวนคลื่นในมือ, โปรโมชั่น, การบริการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แน่นอนว่าทั้ง 3 ค่ายก็ไม่มีใครยอมใครเพื่อจะรักษาฐานลูกค้าของตัวเองให้อยู่ในมือนานที่สุด เพราะต้องยอมรับว่าการจะหา ‘ลูกค้าใหม่’ ในตอนนี้แทบจะเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะแค่จำนวนเบอร์ที่เปิดในตลาดก็มากกว่าประชากรไทยทั้งประเทศไปแล้ว

ในขณะที่ลูกค้าเปิดเบอร์ใหม่หายาก ทำให้เห็นว่าตลาดโทรคมนาคมในตอนนี้กำลังก้าวไปอยู่ในจุดที่ ยังเติบโตได้แต่น้อย แน่นอนว่าทุกค่ายก็พยายามที่จะหารายได้ใหม่ ๆ อย่างเช่นการทำ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง หรือไปจับมือกับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง แต่จะมีเอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์ที่เป็นค่ายตัวเองเท่านั้นที่ดูได้ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกวิธีที่จะดึงลูกค้าใหม่เข้าค่ายไปในตัว

สำหรับดีแทคได้เลือกที่จะหันมาพัฒนา ดีแทคแอป ไม่เพียงเพื่อให้เป็นอีกทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท แต่ยังเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และต่อยอดเป้าหมายการเติบโตด้านดิจิทัลด้วย จากตอนแรกดีแทคแอปนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าใช้บริการทำธุรกรรมพื้นฐาน อาทิ ชำระค่าบริการรายเดือน เติมเงิน รับสิทธิ์ดีแทครีวอร์ด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้คนไทยคุ้นเคยกับดิจิทัลมากขึ้น จนทำให้ลูกค้าคุ้นเคยกับการใช้งานธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น และความต้องการก็เพิ่มสูงขึ้นในทุกกลุ่ม ดังจะเห็นได้ว่าลูกค้ากลุ่ม ดังจะเห็นได้ว่าลูกค้ากลุ่มเติมเงินใช้งานแอปดีแทคเพิ่มขึ้น 3 เท่า และเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 124% ในกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด

ในเมื่อบริษัทมีฐานลูกค้า 20 ล้านราย แม้ตอนนี้จะยังไม่ใช่ลูกค้าทุกคนที่ใช้แอป แต่โอกาสที่จะเข้าใช้งานมากขึ้นก็มี ดังนั้น ดีแทคก็เดินเกมต่อไปโดยการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่มากกว่าโทรคมนาคม เพื่อตอบสนองการใช้งานดิจิทัลที่โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านการร่วมมือกับ พันธมิตร ที่มีความเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือ ต่อยอดสู่บริการต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม

อย่าง ดีแทค ดีชัวรันส์ บริการประกันออนไลน์ ที่ร่วมกับพันธมิตรประกัน 11 ราย เพื่อคัดสรรกรมธรรม์ที่คุ้มค่าและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่สุด หรือล่าสุด บริการ dtac Safe สำหรับปกป้องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยการร่วมมือกับ Cyan ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้มาตรฐานยุโรป นอกจากนี้ก็มีบริการอย่าง Gaming Nation จุดหมายปลายทางเพื่อคอเกมที่รวบรวมดีลเติมเกมดี ๆ พร้อมไอเทมเกมสุดเอ็กคลูซีฟ และบริการ และ Pay via dtac ให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้า และบริการต่าง ๆ ได้ผ่านระบบโอเปอเรเตอร์บิลลิ่ง สะดวก ครบจบในที่เดียว

หากพิจารณากลยุทธ์ดังกล่าวถือว่า Win-Win-Win ทั้ง 3 ฝ่าย ดีแทคเองได้ต่อยอดทรัพยากรที่มี และสามารถนำไปสู่การสร้างรายได้ใหม่ ๆ สำหรับพาร์ทเนอร์ก็สามารถขายบริการได้โดยไม่ต้องไปเหนื่อยหาลูกค้าเอง และสำหรับลูกค้าดีแทคและแม้ไม่ใช่ดีแทคเอง ก็ได้ใช้บริการที่อาจกำลังมองหา แต่ยกระดับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริการประกัน ที่ในไทยมีผู้ให้บริการหลายรายมาก กว่าจะหาข้อมูลครบแต่ละรายคงจะหมดความอดทนก่อน ซึ่งบริการดีแทค ดีชัวรันส์ ก็เข้าใจปัญหานี้จึงทำให้หาง่ายและเปรียบเทียบบริการแต่ละประกันให้เสร็จ แถมยังจ่ายผ่านบิลดีแทค และทำธุรกรรมทั้งหมดนี้บนดีแทคแอปที่เดียวจบ ทั้งสะดวกทั้งปลอดภัย

ถ้าดูจากตัวเลขในช่วง 2 เดือนที่บริการดีแทค ดีชัวรันส์ให้บริการก็พบว่ามีผู้เข้าชมมากกว่า 2.5 ล้านครั้ง และที่สำคัญคือ  25% ไม่ใช่ลูกค้าดีแทคด้วยซ้ำ จากตัวเลขก็แสดงให้เห็นแล้วว่า โอกาสไม่ได้อยู่แค่ลูกค้าในค่ายอีกต่อไป ดีแทคเลยอัพเกรด ดีแทคแอปเวอร์ชันใหม่ ให้สามารถ ใช้ได้ทุกค่าย พร้อมกับรองรับการใช้งาน 4 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ พม่า และกัมพูชา เพื่อเปิดรับโอกาสให้มากขึ้น ซึ่งหมายถึงประชากรไทยอีก 50 ล้านคน ที่อาจจะเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าดีแทคในอนาคต

หากดูจากผลลัพธ์ในการเดินกลยุทธ์ Fast forward digital ที่ดีแทคจะมุ่งสู่บริการที่ ‘มากกว่าโทรคมนาคม’ โดยให้บริการดิจิทัลแบบไม่จำกัดค่าย อาจพูดได้ว่า มาถูกทาง เพราะสามารถดึงลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 7 แสนราย มีผู้ใช้งานดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 6.7 ล้านคน ซึ่งถ้าหากดีแทคยังเดิมกลยุทธ์แบบเดิม ๆ มุ่งเน้นแต่ในด้านโทรคมนาคม ผลลัพธ์อาจไม่เป็นอย่างที่เห็นก็เป็นได้

ก็ต้องมารอดูกันว่าปีนี้ ดีแทคจะมีบริการใหม่ ๆ อะไรเพิ่มเข้ามาอีกบ้าง และจะไปถึงเป้าที่วางไว้ว่าต้องการเพิ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการดิจิทัล 10 ล้านคนต่อเดือน และมียอดลูกค้าใหม่ผ่านดิจิทัลมากกว่า 5 เท่า ได้ไหม แต่ที่แน่ ๆ ตอนนี้ดีแทคแอปไม่ได้มีไว้เพื่อลูกค้าดีแทคอีกต่อไป แต่มีไว้เพื่อตอบสนองความต้องการของคนไทยทุกคน

]]>
1378471