ไอบีเอ็ม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 14 Feb 2023 07:46:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘IBM’ ฟ้องอดีตผู้บริหารประเทศไทยเรียก ‘โบนัส’ มูลค่า 15 ล้านบาทคืน เหตุย้ายไปอยู่กับคู่แข่ง https://positioningmag.com/1419176 Tue, 14 Feb 2023 06:52:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419176 หากพูดถึงชื่อหญิงแกร่งของวงการไอทีไทย ชื่อของ ปฐมา จันทรักษ์ ต้องขึ้นมาเป็นชื่อแรก ๆ แน่นอน เพราะคร่ำวอดอยู่ในวงการมานานกว่า 30 ปี ได้ร่วมงานกับทั้ง ไมโครซอฟท์, IBM และล่าสุด Accenture แต่เพราะการย้ายไปร่วมงานกับ Accenture ก็ทำให้เกิดเรื่องราวฟ้องร้อง เนื่องจากถือเป็นบริษัทคู่แข่งของ IBM

IBM (ไอบีเอ็ม) บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของโลกกำลัง ฟ้องร้อง ปฐมา จันทรักษ์ อดีตผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย โดย IBM ต้องการเรียกคืนโบนัสมูลค่า 4.7 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 15 ล้านบาท เนื่องจากเธอนั้นทำผิดสัญญา โดยย้ายไปทำงานกับบริษัท Accenture ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ IBM โดยตรง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นคู่แข่งรายใหญ่ที่สุด

“หน่วยงานของ IBM และ Accenture แข่งขันกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านข้อมูล การช่วยทรานส์ฟอร์มองค์กรให้เป็นดิจิทัล และการให้คำปรึกษา ทั้งในระดับโลกและภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” ทนายความของ IBM เขียนไว้ในคำฟ้อง

สำหรับ ปฐมา จันทรักษ์ ได้ร่วมงานกับ IBM ตั้งแต่ปี 2018 ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการทั่วไป หรือ MD ของบริษัท และลาออกในช่วงต้นปี 2022 และหลังจากที่ลาออกไปได้ 1 เดือน ปฐมาก็ได้ร่วมงานกับ Accenture ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยในเดือน เม.ย. 2022

ซึ่งการที่ปฐมาลาออกไปร่วมงานกับ Accenture ถือเป็นการฝ่าฝืนสัญญาของ IBM เนื่องจากโบนัสมูลค่า 4.7 แสนดอลลาร์สหรัฐนั้น ถือเป็น เงินพิเศษเพื่อไม่ให้เธอเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัท และห้ามไม่ให้ไปมีส่วนร่วมกับองค์กรคู่แข่งจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด โดยทาง IBM ระบุว่า บริษัทได้เจรจาขอเงินคืนจากปฐมาแล้ว แต่เธอเลือกปฏิเสธที่จะคืนเงิน จนนำไปสู่การฟ้องร้องดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ทางปฐมา และ Accenture ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ

Source

]]>
1419176
รายแรกของโลก! ‘IBM’ เปิดตัวชิปขนาด 2 นาโนเมตรที่แรงขึ้น 45% แต่ใช้พลังงานน้อยลง 75% https://positioningmag.com/1331184 Sun, 09 May 2021 07:40:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331184 สิ่งที่ท้าทายของอุตสาหกรรม ‘เซมิคอนดักเตอร์’ หรือ ‘ไมโครชิป’ คือการทำให้ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้พลังงานลดลงไปพร้อม ๆ กัน แต่ล่าสุด ‘ไอบีเอ็ม’ (IBM) ประกาศว่าได้สร้างชิปขนาด 2 นาโนเมตรซึ่งเป็นไมโครชิปที่เล็กที่สุดและทรงพลังที่สุดที่พัฒนาขึ้น

ปกติชิปคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีการผลิต 10 หรือ 7 นาโนเมตร ขณะที่เทคโนโลยีล่าสุดยังติดอยู่แค่ 5 นาโนเมตรเท่านั้น ดังนั้น ชิปใหม่ของไอบีเอ็มที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 2 นาโนเมตรจึงเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์

วิธีปรับปรุงประสิทธิภาพของชิปคือ การเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่ประมวลผลข้อมูล โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดโดยรวม โดยชิป 2 นาโนเมตรใหม่มีขนาดประมาณเท่าเล็บมือและมีทรานซิสเตอร์ 5 หมื่นล้านตัว ซึ่งแต่ละตัวมีขนาดประมาณดีเอ็นเอสองเส้นตามที่ Mukesh Khare รองประธานฝ่ายวิจัยระบบคลาวด์แบบไฮบริดของ IBM ระบุ

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

ชิปรุ่นใหม่นี้คาดว่าจะมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น 45% และการใช้พลังงานลดลงประมาณ 75% เมื่อเทียบกับชิปขนาด 7 นาโนเมตรที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ด้วยชิปขนาด 2 นาโนเมตร แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือจะสามารถใช้งานได้นานขึ้นถึง 4 เท่า แล็ปท็อปสามารถทำงานได้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของศูนย์ข้อมูลอาจลดลง เนื่องจากพวกเขาพึ่งพาชิปที่ประหยัดพลังงานมากกว่า

ทั้งนี้ ชิป 2 นาโนเมตรคาดว่าจะเริ่มผลิตในปลายปี 2567 หรือ 2568 ซึ่งแน่นอนว่าไม่เร็วพอที่จะมาอุดช่องว่างให้กับปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกในปัจจุบัน

Source

]]>
1331184
‘IBM’ วางเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น ‘ศูนย์’ ภายในปี 2030 https://positioningmag.com/1319965 Thu, 18 Feb 2021 07:24:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319965 เรื่อง Sustainable กลายเป็นเทรนด์ขององค์กรทั่วโลก เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มแคร์เรื่องโลกมากขึ้น ล่าสุด ‘IBM’ (ไอบีเอ็ม) ยักษ์สีฟ้าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลก ได้ประกาศว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือศูนย์ภายในปี 2030 เพื่อแก้วิกฤตโลกร้อน

“วิกฤตโลกร้อนเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่สุดในยุคของเรา และการปฏิญาณตั้งคำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างสำคัญที่ตอกย้ำความเป็นผู้นำในเรื่องสภาวะอากาศมาอย่างยาวนานของเรา ซึ่งถือเป็นก้าวที่รุดไปไกลกว่าเป้าหมายที่ความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Agreement) ได้กำหนดไว้” อาร์วินด์ กฤษณะ ประธานและซีอีโอของไอบีเอ็มกล่าว

เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ไอบีเอ็มจะเริ่มเดินหน้าลดการปล่อยมลพิษ วางแผนและควบคุมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในสำนักงานที่มีอยู่ใน 175 ประเทศ โดยภายในปี 2025 IBM ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 65% เมื่อเทียบกับปี 2010 โดยบริษัทจะจัดหา 75% ของพลังงานไฟฟ้าที่บริษัทต้องใช้ในสำนักงานทั่วโลกจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2025 และ 90% ภายในปี 2030 นอกจากนี้จะใช้เทคโนโลยีที่อย่างการจับคาร์บอนภายในปี 2025 เพื่อลดปริมาณการปล่อยมลพิษในปริมาณที่เท่ากับหรือมากกว่าระดับมลพิษที่เหลือค้างอยู่

“บริษัทฯ จะมีการคำนวณและรายงานการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างโปร่งใส เช่น เป้าหมายของไอบีเอ็มกำหนดขึ้นจากปริมาณพลังงานที่บริษัทบริโภคจริง ไม่ใช่การซื้อใบรับรองการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือแยกส่วนออกไป”

NEW YORK, NY – JUNE 16: SVP and Director at IBM Research Arvind Krishna speaks on stage during the 2016 Wired Business Conference on June 16, 2016 in New York City. (Photo by Brian Ach/Getty Images for Wired)

ที่ผ่านมาศูนย์วิจัย IBM ได้เปิดตัวโครงการ Future of Climate ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเร่งการวิจัยพัฒนาโซลูชันที่จะช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยผนวกความสามารถของ AI ไฮบริดคลาวด์ และ ควอนตัมคอมพิวติ้ง รวมถึงวิทยาศาสตร์เพื่อสู้กับปัญหาสภาพอากาศที่มีความซับซ้อน อาทิ การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนฟุตปริ้นท์จากเวิร์คโหลดจากระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก วิธีการที่จะกำหนดโมเดลและประเมินความเสี่ยงของแพทเทิร์นสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป หรือการพัฒนาโพลิเมอร์ เยื่อบุผิว และวัสดุใหม่ ๆ ที่สามารถจับและดูดซับคาร์บอนโดยตรงจากจุดที่มีการปล่อยมลพิษ เป็นต้น

ทั้งนี้ IBM นับสนุนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมาต่อเนื่องหลายทศวรรษ นับตั้งแต่การประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมของบริษัทเป็นครั้งแรกในปี 1917 และตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา IBM ได้เริ่มเผยแพร่ผลการบริหารจัดการขยะ การอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน การลดการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์ รวมถึงการพัฒนาโซลูชันนวัตกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบรายงานสิ่งแวดล้อมประจำปีขององค์กร (Corporate Environmental Report)

Source

]]>
1319965