ไอโอที – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 27 Jun 2023 03:33:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เผยผลสำรวจองค์กรไทยมอง ‘ไฮบริดคลาวด์’ ตัวเลือกหลักทรานส์ฟอร์มยุค COVID-19 https://positioningmag.com/1317381 Mon, 01 Feb 2021 09:42:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317381 แม้ว่าเทคโนโลยี ‘คลาวด์’ จะถูกพูดถึงมา 4-5 ปีแล้ว แต่เพราะปี 2020 ที่มีการระบาดของ COVID-19 จึงทำให้เกิดการตื่นตัวของ Digital Transformation เพราะองค์กรต่างต้องการความคล่องตัวมากขึ้นจึงหันมาใช้คลาวด์ แต่จะใช้ ‘แบบไหน’ ให้เข้ากับการใช้งานขององค์กรมากที่สุดน่าจะเป็นโจทย์ที่สำคัญในตอนนี้

‘นูทานิคซ์’ ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์คลาวด์ ได้เปิดเผยผลสำรวจผู้ประกอบธุรกิจพบว่า 86% ทั่วโลกสนใจใช้งาน ‘ไฮบริดคลาวด์’ ที่เป็นการผสมระหว่างพับลิคคลาวด์และไพรเวทคลาวด์ โดยคาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้าการใช้งานไฮบริดคลาวด์จะเติบโตขึ้น 4 เท่า ขณะที่การใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์จะลดลงถึง 89%

โดยปัจจัยที่ทำให้องค์กรส่วนใหญ่เลือกจะมาใช้ไฮบริดคลาวด์ ก็คือ

  1. ความเร็วที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจ 79%
  2. ความสามารถในการควบคุมการใช้งานทรัพยากรไอทีได้มากขึ้น 67%
  3. ความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจ 66%

“ที่น่าสนใจคือ การใช้เพื่อลดต้นทุนกลายเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญน้อยลงกว่าในอดีต ซึ่งเหลืออยู่แค่ 46% จากเดิมจะต้องมีกว่า 50%” ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ กล่าว

ในส่วนของประเทศไทย ค่อนข้างมีทิศทางเดียวกับทั่วโลก โดย

  • 76% การใช้ไฮบริดคลาวด์ถือเป็นทางแนวทางที่เหมาะสมสำหรับองค์กรปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก
  • 67% มีแผนที่จะใช้ไฮบริดลาวด์ภายใน 5 ปี
  • 63% จากระดับการใช้ไฮบริดในปัจจุบัน
  • 3% เท่านั้นที่วางแผนจะใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบดั้งเดิมที่ไม่ใช่ระบบคลาวด์ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ การประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ใช่เหตุผลหลักในการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานไอทีในไทยเช่นกัน แรงจูงใจสามอันดับแรกในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้ทันสมัยของบริษัทในไทยที่ตอบแบบสำรวจ ได้แก่

  • 79% ต้องการเพิ่มความเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ
  • 67% ควบคุมการใช้ทรัพยากรไอทีให้มีประสิทธิภาพขึ้น
  • 67% ให้สามารถให้การสนับสนุนลูกค้าได้ดีขึ้น
  • 13% การประหยัดค่าใช้จ่าย

  •  82% ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทยระบุว่า COVID -19 ทำให้องค์กรของตนมองเรื่องไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น
  • 68% มีการเพิ่มการลงทุนในพับลิคคลาวด์ (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 47%)
  • 56% มีการลงทุนในไพรเวทคลาวด์เพิ่มขึ้น (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 37%)

“ที่ค่าเฉลี่ยเรามากกว่าประเทศอื่นในเอเชียแปซิฟิกและค่าเฉลี่ยโลก เพราะองค์กรไทยจำนวนมากยังดำเนินงานในรูปแบบที่ไม่พึ่งพาระบบไอทีมากเท่าไร องค์กรเหล่านี้จึงยังไม่ให้ความสำคัญกับไฮบริดคลาวด์ แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่ก็จะยังลงทุนต่อเนื่องอยู่แล้ว”

อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ผู้ตอบแบบสำรวจทุกคนจะระบุว่า COVID-19 มีผลทำให้ต้องลงทุนในระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น แต่ 15% ขององค์กรระบุว่าจะยัง ‘ไม่ลงทุนคลาวด์ในช่วง COVID-19’ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 8% ที่เป็นค่าเฉลี่ยของภูมิภาคและ 10% ของค่าเฉลี่ยโลก

ปัจจุบัน กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานไฮบริดคลาวด์เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการเงินการธนาคาร และจากตัวเลขที่พบว่าองค์กรในไทย 45% ได้ลงทุนเพิ่มเรื่องไฮบริดคลาวด์ช่วง COVID-19 ก็ถือเป็นสัญญาณบวกต่อนูทานิคซ์ โดยถือเป็นแนวโน้มที่จะทำให้บริษัทจะเติบโตได้ดีมากกว่าปีที่ผ่านมา

]]>
1317381
มองตลาด ‘IoT’ ไทยผ่านตา ‘Things on Net’ ที่เชื่อว่า ‘ความเข้าใจ’ และ ‘อีโคซิสเต็มส์’ ยังเป็นโจทย์ใหญ่ https://positioningmag.com/1312616 Thu, 31 Dec 2020 04:10:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312616 IoT เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากในยุคที่มี 5G แบบนี้ เนื่องจากจะเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว สำหรับภาคอุตสาหกรรมเองก็มักนำมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อีกทั้งยังช่วยเก็บข้อมูลไว้เป็น Big Data สำหรับวิเคราะห์จุดอ่อนจุดด้อย โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 มูลค่าตลาดของ IoT ทั่วโลกจะอยู่ที่ 11.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว ดังนั้น ตลาด IoT จึงเป็นตลาดที่หลายองค์กรให้ความสนใจจะเข้ามาในตลาดนี้ แต่ก็ไม่ได้หมูขนาดนั้น

Things on Net เป็นใคร

รติรส จันทรพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ติงส์ ออน เน็ต (THINGS ON NET CO., LTD.) ผู้ให้บริการโซลูชั่นอินเทอร์เน็ต ออฟ ติงส์ หรือไอโอที (Internet of Things: IoT) ครบวงจร กล่าวว่า บริษัท ติงส์ ออน เน็ตคือ เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นด้าน IoT จากโครงข่าย Sigfox Operator โครงข่ายเทคโนโลยีการสื่อสารจากประเทศฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ซึ่งโครงข่ายดังกล่าวเป็นโครงข่ายเดียวในโลกที่สามารถส่งสัญญาณได้ในระดับ Global แบบครบวงจรในคลื่น 920-925 MHz ครอบคลุมพื้นที่กว่า 72 ประเทศ และครอบคลุมประชากรโลกมากกว่า 1.2 พันล้านคน โดยอุปกรณ์ IoT จะสามารถเชื่อมต่อกับสัญญาณการสื่อสารของ Sigfox ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกแบบโรมมิ่งโดยอัตโนมัติซึ่งใช้พลังงานน้อยเนื่องจากส่งข้อความขนาดเล็ก โดยปัจจุบันมีการส่งข้อความกว่า 3 พันล้านข้อความ

“อย่างหลุยส์ วิตตองก็เป็นลูกค้า โดยใช้ระบบ IoT ติดกับกระเป๋าเดินทาง เมื่อกระเป๋าหายก็สามารถแทร็กได้ว่าไปอยู่ที่ไหน เพราะสามารถส่งสัญญาณได้ในระดับโลก หรือแม้แต่ใช้ IoT เป็นเซ็นเซอร์จับหนูในสนามบิน

รติรส เผือกวัฒนะ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ติงส์ ออน เน็ต (THINGS ON NET CO., LTD.)

ไม่ใช่คู่แข่งของใคร

ในด้านการแข่งขันบริษัทมองว่าไม่มี เพราะบริษัทเป็นรายเดียวที่ให้บริการแบบ Global Network และบริษัทจะเน้นให้บริการแบบ B2B ในเขตภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยโฟกัสหลักของบริษัทจะเน้นไปที่อุตสาหกรรมอย่างอะกรีเคาเจอร์, ทรานสปอร์ตเทชั่น, เฮลท์แคร์, เรียลเอสเตส และอุปโภคบริโภค นอกจากนี้จะเน้นไปที่สมาร์ทซิตี้ เช่น ฝั่ง IoT ดูที่จอดรถว่าว่างหรือไม่ว่าง, ใช้ดูท่อประปาต่าง ๆ ว่ามีรอยรั่วหรือไม่, ใช้บริหารจัดการขยะเพื่อดูว่าถังขยะไหนเต็มหรือไม่เต็ม, ใช้วัดคุณภาพอากาศ เป็นต้น

โดยบริษัทให้บริการแบบ Total Solution ตั้งแต่การให้คำปรึกษา การกำหนดกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้าน IoT รวมทั้งชุดอุปกรณ์เซนเซอร์สำเร็จ แพลตฟอร์มและโซลูชันไอโอที อาทิ Asset tracking management, การบริหารจัดการของเสีย (Waste management), สมาร์ทโซลูชั่นความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Safety and Environmental), Smart farming, Smart city

“ในเขตอุตสาหกรรมหนึ่งไม่สามารถใช้เทคโนโลยีใครเทคโนโลยีเดียวได้ อย่างของเราจะเน้นให้บริการแบบกว้างส่งสัญญาณได้ไกล แต่ถ้าอยากได้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ส่งทีละเยอะ ๆ 5G ถือว่าตอบโจทย์ ดังนั้นเรากับผู้ให้บริการรายอื่นมีจุดดีจุดด้อยต่างกัน”

ตลาด IoT ไทยไม่หมูเพราะอีโคซิสเต็มส์กระจัดกระจาย

อย่างไรก็ตาม ความยากในการทำตลาด IoT ก็คือ 1.คนทั่วไปยังไม่รู้จักอย่างแท้จริงและองค์กรยังไม่เคยใช้ เพราะส่วนใหญ่จะเข้าใจแค่ด้าน B2C 2.อีโคซิสเต็มส์ยังกระจัดกระจาย อย่างคนมีฝีมือแต่ขาดการรวบรวม ซึ่ง 2 ข้อนี้ถือว่าเป็นโจทย์หลักของบริษัทเพื่อให้คนรู้ว่า IoT มีความหลากหลายอย่างมาก รวมถึงการรวบรวมอีโคซิสเต็มส์ที่กระจัดกระจาย

ทั้งนี้ บริษัทมีกลยุทธ์ 4C ในการทำตลาด 1.Communications มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์ 2.Coverage โดยวางเสาสัญญาณได้ครอบคลุมทุกจังหวัด 3.Channel ช่องทางการขายต่าง ๆ และ 4.Co-Partnerships การมีพาร์ตเนอร์เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งพาร์ตเนอร์ด้านคลาวด์ แดชบอร์ด และพาร์ตเนอร์ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาเหล่าดีเวลลอปเปอร์และรวมอีโคซิสเต็มส์ที่กระจัดกระจาย เป็นต้น

“ตอนนี้เราพยายามหาพาร์ตเนอร์ให้ได้มากที่สุดในทุกด้าน เพราะแน่นอนว่า COVID-19 ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน แต่ก็จะยังมีความต้องการในบางกลุ่ม ดังนั้น บริษัทจึงพยายามมุ่งเน้นการสื่อสารไปหากลุ่มลูกค้าให้ได้หลากหลายที่สุด เพราะเราเชื่อว่ายังมีความต้องการ”

เราไม่หยุดอยู่แค่นี้ ในปีหน้าเราจะมีโซลูชันใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาตอบโจทย์ตลาด และพยายามสร้างบุคลากรรวมถึงรวบรวมอีโคซิสเต็มส์ที่กระจัดกระจาย เรามองว่าตลาด IoT ในไทยโตแน่นอน แม้ว่า COVID-19 อาจทำให้ชะลอตัวไปบ้าง แต่ภาครัฐไทยก็พยายามให้การสนับสนุน เพราะ IoT มันช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานรวมถึงช่วยลดต้นทุนได้

]]>
1312616