2019-nCoV – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 13 Feb 2020 08:13:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 WHO เปลี่ยนชื่อไวรัสโคโรนาใหม่เป็น “Covid-19” เลี่ยงสร้างมลทินให้ “อู่ฮั่น” https://positioningmag.com/1264155 Wed, 12 Feb 2020 16:26:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264155 องค์การอนามัยโลกระบุว่า “Covid-19” จะเป็นชื่ออย่างเป็นทางการใหม่ของโคโรนาไวรัสมรณะซึ่งพบครั้งแรกในจีนเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ก่อนลุกลามไปหลายสิบประเทศทั่วโลก และคร่าชีวิตผู้คนเกิน 1,000 ศพ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่สร้างบาดแผลและทำลายชื่อเสียงเมืองอู่ฮั่น ต้นตอของการแพร่ระบาด

“ตอนนี้เรามีชื่อสำหรับโรคนี้แล้วและมันคือ Covid-19” เทดรอส แอดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกบอกกับพวกผู้สื่อข่าวในเจนีวา พร้อมอธิบายว่า

“co” ย่อมาจาก “corona” ส่วน “vi” ย่อมาจาก “virus” และ “d” ย่อมาจาก “disease”

เทดรอส ระบุว่าในการเลือกชื่อให้ไวรัส ทางองค์การอนามัยโลกหลีกเลี่ยงที่จะพาดพิงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อย่างเจาะจง, สายพันธุ์ต่างๆ ของสัตว์หรือกลุ่มคน ตามกรอบคำแนะนำสำหรับการตั้งชื่อเพื่อหลีกเลี่ยงสร้างบาดแผลหรือมลทินให้แก่เมืองอู่ฮั่น

ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกตั้งชื่อชั่วคราวให้ไวรัสใหม่นี้ว่าโรคกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน “2019-nCoV” ส่วนคณะกรรมการสาธารณสุขแห่งชาติของจีนในสัปดาห์นี้ ได้ตั้งชื่อให้มันชั่วคราวเช่นกันว่า novel coronavirus pneumonia หรือ NCP

ภายใต้คำแนะนำที่เผยแพร่เมื่อปี 2015 องค์การอนามัยโลกคัดค้านการใช้ชื่อสถานที่ อย่างเช่น อีโบลา และซิกา ซึ่งทั้งสองตั้งชื่อตามจุดที่พบเชื้อเป็นครั้งแรก และตอนนี้มันฝังเข้าไปในความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขณะเดียวกัน ชื่อทั่วไปอย่าง “กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันในตะวันออกกลาง (Middle East respiratory syndrome)” หรือ “ไข้หวัดสเปน” เวลานี้ก็ถูกหลีกเลี่ยงเช่นกัน เนื่องจากมันอาจกลายเป็นการตราหน้าคนทั้งภูมิภาคและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

นอกจากนี้แล้ว องค์การอนามัยโลกยังเน้นด้วยว่าการใช้สายพันธุ์ต่างๆ ของสัตว์อาจก่อความสับสน อย่างเช่นในปี 2019 ครั้งที่ไวรัส H1N1 นิยมเรียกกันว่า “ไข้หวัดหมู” ซึ่งมันส่งผลกระทบใหญ่หลวงแก่อุตสาหกรรมเนื้อหมู แม้ว่าโรคติดต่อนี้แพร่ระบาดในมนุษย์ ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับหมูเลยก็ตาม

ซึ่งปกติแล้วมักตั้งชื่อโรคตามนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบพวกมันก็ถูกแบนเช่นกัน รวมถึงถ้อยคำต่างๆ ที่ปลุกปั่นความกลัวจนเลยเถิดอย่างเช่น “ปริศนา” หรือ “มรณะ” องค์การอนามัยโลกระบุ

Source

]]>
1264155