3BB – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 Nov 2023 13:47:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กางแผน ‘MONO’ หลัง AIS เข้าซื้อ 3BB และการดันรายได้ MONOMAX แซงช่อง MONO 29 https://positioningmag.com/1452160 Thu, 16 Nov 2023 10:56:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452160 อย่างที่หลายคนรู้ก็คือ เอไอเอส (AIS) ได้เข้าซื้อกิจการของ 3BB และนอกจากสมาชิกของ 3BB แล้ว อีกสิ่งที่พ่วงตามไปด้วยก็คือ คอนเทนต์จาก MONOMAX ที่ร่วมกันทำ 3BB GIGATV ดังนั้น ในวันที่ 3BB เปลี่ยนเจ้าของ และธุรกิจทีวีดิจิทัลที่เป็นขาลง บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MONO จะเดินหน้าอย่างไรต่อไป

มั่นใจเอไอเอสช่วยดันลูกค้าเพิ่ม 20%

ปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MONO เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นความร่วมมือของ MONOMAX กับ 3BB จนเกิดเป็น 3BB GIGATV ว่า 3BB อยากได้อาปู้ (ARPU) Average Revenue Per User หรือ รายได้เฉลี่ยของผู้ให้บริการต่อลูกค้าหนึ่งคนเพิ่ม เลยได้ MONOMAX เข้ามาพ่วงเพื่อหารายได้ร่วมกัน

ซึ่งจุดแข็งของ 3BB นั้นคือ ต่างจังหวัด โดยคิดเป็นถึง 70% ของลูกค้า ซึ่งคอนเทนต์ของ MONOMAX ตรงใจกับคนต่างจังหวัด เพราะเป็น พากย์ไทย 100% ไม่เหมือนคนเมืองหรือวัยรุ่นที่อ่านซับฯ ได้

“กลายเป็นว่า HBO ไม่ใช่คอนเทนต์นำอย่างที่ 3BB คิด แต่เป็น MONOMAX”

ปฐมพงศ์ เชื่อว่า การที่ 3BB กลายเป็นส่วนหนึ่งของเอไอเอส จะช่วยเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ประมาณ 20% เพราะในปีหน้าบริการ MONOMAX จะบัลเดิลไปกับกล่อง AIS Play จากเดิมที่เริ่มทดลองให้บริการการร่วมกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 ส่งผลให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ปัจจุบัน MONOMAX มีสมาชิกประมาณ 8.6 แสนราย

“ตอนที่เราอยู่กับ 3BB เราไม่เคยทำงานร่วมกับเอไอเอสเลย เพราะเขาถือว่าเราเป็นพันธมิตรกับคู่แข่ง” ปฐมพงศ์ กล่าว

ทีวีกลับมาไม่ได้แล้ว

ในยุคนี้ธุรกิจทีวีมีแต่จะถดถอยลง เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ดูทีวีน้อยลง โดยมีการประเมินว่า การรับชมทั่วโลกจะลดลง 10% ทุกปี ขณะที่รายได้จาก โฆษณาลดลง 4-12% ทุกปี ในส่วนช่อง MONO 29 ยอดรับชมลดลงใกล้เคียงกันที่ 10% ทุกปี และนับตั้งแต่ปี 2023 คาดว่ารายได้โฆษณาลดลง 15-20% หรือเฉลี่ยลดลง 4% ต่อปี

กลับกัน การเติบโตของบริการสตรีมมิ่งยังสูงขึ้น โดยจากการประเมินของ กสทช. พบว่ามูลค่าตลาด OTT ในปี 2022 อยู่ที่ 14,600 ล้านบาท มีผู้ใช้บริการกว่า 22 ล้านครัวเรือน ที่ใช้บริการ เติบโต 26.15% และปีนี้คาดว่าจำนวนครัวเรือนจะเติบโต 36.19% ส่วนมูลค่าตลาดคาดว่าจะเติบโต 20% และภายในปี 2024-2025 จะเติบโตเฉลี่ย 33% ต่อปี ขณะที่การสมัครบริการ OTT แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 4-5 แอปต่อครัวเรือน ส่วนการสมัครแบบเสียค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 2-4 แอปต่อครัวเรือน

รายได้ MONO MAX จะแซง MONO 29 ในปีหน้า

ในช่วง 9 เดือนแรก บริษัทมีรายได้รวม 1,387 ล้านบาท แบ่งเป็นทีวีดิจิทัล 795 ล้านบาท ตามด้วยแพลตฟอร์ม MONOMAX มีรายได้ 400 ล้านบาท และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปฐมพงศ์ คาดว่า MONOMAX จะทำรายได้แซงหน้า MONO 29 ภายในไตรมาส 2 ปี 2024 โดยจุดแข็งของ MONOMAX คือ พากย์ไทย 100% และ คอนเทนต์จีน นอกจากนี้มีคอนเทนต์จาก อินเดีย บ้าง ส่วนใหญ่เป็นแนวแอ็คชั่น

“ทีวีมาชัวร์แล้ว คนอาจไม่ดูมากไปกว่านี้ แต่สตรีมมิ่งยังโตได้อีก ทีวีต้องลงทุนเยอะ ซับซ้อน แต่สตรีมมิ่งซับซ้อนน้อยกว่า โอกาสทำกำไรมากกว่า ซึ่งพฤติกกรรมผู้บริโภคต่างจาก 8 ปีก่อนที่เราพึ่งเริ่ม ตอนนั้นเขาจ่ายเงินยากมาก ตอนนี้เขายอมจ่าย แต่ตอนนี้ผู้เล่นมีหลายราย เราจะดึงเงินให้เขามาจ่ายอย่างไรคือความท้าทาย”

อัดงบคอนเทนต์ 1,200 ล้านบาท

การจะดันรายได้ของ MONOMAX และรักษารายได้ MONO 29 ก็คือ คอนเทนต์ โดยวางงบไว้ 1,200 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน คือ

  • ผลิตออริจินอลคอนเทนต์ (ปีละ 8-12 เรื่อง)
  • คอนเทนต์สำหรับ MONO29 (ภาพยนตร์ฮอลลีวูด 5-8 เรื่อง/เดือน)
  • คอนเทนต์สำหรับ MONOMAX (ปัจจุบันมี 3,000 เรื่อง)

โดยในส่วนของ MONO29 ช่วงไพรม์ไทม์ของช่อง (6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม) จะยังฉายภาพยนตร์ฮอลลีวูด และปีหน้าจะโฟกัสที่รายการข่าวและวาไรตี้มากขึ้น นอกจากนี้ หลังจากที่ทดลองนำซีรีส์จีนที่ลงในแพลตฟอร์ม MONOMAX มาฉายในช่วงกลางวันก็ได้รับการตอบรับที่ดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดผู้ใช้งานใน MONOMAX อีกทางด้วย

สำหรับจำนวนสมาชิก MONOMAX ปีหน้า ปฐมพงศ์ คาดว่าจะทะลุ 1 ล้านราย และเพิ่มเป็น 2-2.85 ล้านรายภายในปี 2025

]]>
1452160
AIS Fibre ขึ้นเบอร์ 3 เน็ตบ้านแซง NT สถานีต่อไปขึ้นเบอร์ 1 หลังควบรวม 3BB? https://positioningmag.com/1403639 Fri, 07 Oct 2022 11:07:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403639 ตั้งแต่ เอไอเอส (AIS) ก้าวเข้ามาในตลาด เน็ตบ้าน หรือ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ดูเหมือนว่าจะยิ่งสร้างความดุเดือดเป็นทวีคูณ แม้ว่าตอนนี้ตลาดยังพอมีช่องว่างให้เติบโตได้ไม่เหมือนกับตลาดโมบาย แต่โอกาสเหล่านั้นเป็นพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเอไอเอสก็ยอมรับว่าโดน รับน้อง ไม่ใช่น้อย แต่ก็เป็นโอกาสเดียวที่ต้องไปเพื่อขึ้นเป็น เบอร์ 1 ให้ได้ไม่ว่าจะ ควบรวม กับ 3BB หรือไม่ก็ตาม

ขึ้นเบอร์ 3 แซง NT เรียบร้อย

จริง ๆ แล้ว เอไอเอสได้ปักเป้าที่จะขึ้นเบอร์ 3 ของตลาดเน็ตบ้านตั้งแต่ปี 2021 แม้จะเติบโตได้ตามเป้าแต่ก็ไม่ได้ขึ้นเป็นเบอร์ 3 อย่างหวัง เพราะการรวมกันของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT สู่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็นที (NT)

แต่ตัวเลข ณ ไตรมาส 2 เอไอเอสสามารถสร้างการเติบโตถึง 22% ทำให้ขึ้นเป็นเบอร์ 3 ด้วยจำนวนผู้ใช้ 1.97 ล้านราย แซงหน้า NT ที่มีผู้ใช้งาน 1.9 ล้านราย โดยส่วนหนึ่งที่ทำให้เอไอเอสสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วมาจากการ ขยายพื้นที่ให้บริการ ประกอบกับ ฐานลูกค้าโมบาย ที่เอไอเอสมีกว่า 44 ล้านเลขหมาย ทำให้เมื่อเข้าไปเปิดให้บริการในพื้นที่ไหน ลูกค้าโมบายที่รอใช้งานเน็ตบ้านของเอไอเอส โดยปัจจุบันกว่า 80% ของฐานลูกค้าเน็ตบ้าน ล้วนเป็นลูกค้าโมบายทั้งสิ้น

โอกาสเติบโตมี แต่ไม่ใช่ทุกคนใช้เน็ตบ้าน

สำหรับตลาดโมบายในปัจจุบัน จำนวนเลขหมายนั้นมากกว่าจำนวนประชากรไทยไปนานแล้ว การแข่งขันจึงเน้นไปที่การดึงลูกค้าย้ายค่ายหรือเบอร์ที่ 2-3 แต่สำหรับเน็ตบ้านนั้นดูเหมือนจะยังมีช่องว่างให้เติบโตมากกว่า โดย Internet Broadband Penetration ในประเทศไทย ปัจจุบันมีประมาณ 58.8% หรือราว 13 ล้านครัวเรือน จาก 20 ล้านครัวเรือน

แม้ว่าจะดูเหมือนตลาดยังเปิดกว้าง แต่จะเป็นในส่วน ต่างจังหวัด เพราะในกรุงเทพฯ ตลาดแทบไม่มีที่ว่างแล้ว นอกจากนี้ ลูกค้าบางคนยังมองว่า เน็ตบ้านไม่จำเป็น เพราะใช้งานโมบายอยู่แล้ว ไม่อยากเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนอีก ส่งผลให้การแข่งขันเน็ตบ้านจึงรุนแรงไม่ต่างกับโมบาย ทั้งในแง่ความเร็ว และราคา ส่งผลให้ ARPU หรือรายได้เฉลี่ยต่อลูกค้าที่ลดลง 6-7% ต่อปี หรือราว 400 กว่าบาท/เดือน

ส่งผลให้ปัจจุบัน ราคาเริ่มต้นของตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 399 บาท/เดือน สำหรับเอไอเอสเองมีลูกค้ากลุ่มเริ่มต้นประมาณ 30% ส่วนกลุ่มกลางราคา 499 บาท/เดือน มีสัดส่วนราว 60% ส่วนกลุ่มบนราคา 799 บาท/เดือน มีส่วนแบ่งราว 10%

“การแข่งขันในต่างจังหวัดตอนนี้รุนแรงกว่าในกรุงเทพฯ ยิ่งเราเป็นน้องใหม่ที่พึ่งเข้าไปทำตลาดในพื้นที่นั้น ๆ เราก็โดนคู่แข่งที่อยู่มานานรับน้อง และจากสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ การแข่งราคาเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ธนิตย์ ชัยยะบุญธนิตย์ รักษาการกรรมการผู้จัดการธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบนด์ AIS บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าว

ธนิตย์ ชัยยะบุญธนิตย์ รักษาการกรรมการผู้จัดการธุรกิจฟิกซ์ บรอดแบนด์ AIS บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส)

เน้นคุณภาพ เลี่ยงสงครามราคา

ธนิตย์ ย้ำว่า เอไอเอสไม่ได้เริ่มสงครามราคาต้องการ ต่อสู้อย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงพยายามจะโฟกัสที่บริการเป็นหลักเพื่อให้เกิดความมั่นใจและ บอกต่อ ของลูกค้า โดยที่ผ่านมาเอไอเอสเน้นการสื่อสารในด้านบริการ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง การส่งช่างเข้าไปแก้ปัญหา และ Call Center

ล่าสุด ได้เปิดตัว High Performance เราท์เตอร์ AX5400 Port LAN 2.5Gbps รองรับการใช้งานที่ความเร็วแรงระดับ 2Gbps ผ่าน LAN โดยจะเน้นจับกลุ่มบนในราคาค่าบริการ 1,339 บาท/เดือน นอกจากนี้ ยังนำ AI มาปรับใช้ร่วมกับเราท์เตอร์ เพื่อเสริมศักยภาพและความสามารถในการส่งสัญญาณ Wi-Fi อัจฉริยะ ที่สามารถจัดสรรการใช้งานให้สอดรับกับพฤติกรรมหลากหลายของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“เรายังต้องรักษาภาพลักษณ์ ความเป็นเลิศ ทั้งเน็ตเวิร์กและเซอร์วิส ต้องทำให้เขารู้สึกว่า เร็วกว่า ดีกว่า ง่ายกว่า นี่คือสิ่งที่เราต้องการให้ลูกค้าเห็น เพราะอย่างในหมู่บ้านหรือชุมชน เขาก็จะคุยกันว่าใช้อินเทอร์เน็ตค่ายไหนอยู่ ดีหรือไม่ดี”

ดึง ต่อ-ธนภพ พรีเซ็นเตอร์ใหม่

ในปีที่ผ่านมา เอไอเอส ไฟเบอร์คว้าเอา เวียร์ศุกลวัฒน์ คณารศ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพื่อสื่อถึงมาตรฐานบริการ 24 ชั่วโมง โดยสาเหตุที่เลือกเวียร์เป็นเพราะเวียร์เรียนจบวิศวะ ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้สื่อสารถึงภาพลักษณ์ทีม Engineer และบริการหลังการขาย

ส่วนเบอร์ 1 ไม่น้อยหน้า จับเอา หนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย ที่กำลังโด่งดังจากรายการ โหนกระแส เพื่อที่จะเข้าถึง คนทุกวัย ส่วนเอไอเอสเองต้องการเข้าถึงคนรุ่นใหม่ ดังนั้นจึงเลือก ต่อ-ธนภพ ลีรัตนขจร เพื่อสร้างภาพให้เอไอเอส ไฟเบอร์ดู เด็กลง และเป็นที่รู้จักในหมู่วัยรุ่นมากขึ้น

“พรีเซ็นเตอร์มีผลมาก เพราะถ้าศิลปินที่ติดตามใช้อะไร แฟนคลับก็พร้อมจะสนับสนุน ยิ่งพรีเซ็นเตอร์ใช้งานสินค้าจริง แฟนคลับก็ยิ่งอิน”

คาดดีล 3BB จบ Q1 ปีหน้า

สำหรับดีลการเข้าทำการซื้อกิจการ บมจ. ทริปเปิลที บรอดแบนด์ เจ้าของกิจการอินเทอร์เน็ต 3BB มูลค่า 19,500 ล้านบาท เอไอเอสระบุว่ายังอยู่ในการพิจารณาของกสทช. ซึ่งถ้าทางกสทช. อนุมัติ คาดว่าจะปิดดีลได้ภายในช่วงไตรมาส 1 ปี 2566

อย่างไรก็ตาม ธนิตย์ ย้ำว่า การรวมลูกค้าของทางเอไอเอส ไฟเบอร์ และ 3BB นั้นอาจจะไม่ได้ช่วยให้เอไอเอสขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดเน็ตบ้านทันที เพราะปัจจุบันต้องยอมรับว่าเอไอเอสยังมีช่องว่างห่างเจอเบอร์ 1 พอสมควร และมองว่าหากรวมกับ 3BB แล้ว การแข่งขันจะยังดุเดือด เพราะเบอร์ 1 ก็ต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าของตัวเอง

“รวมกับ 3BB คงจะยังไม่ได้ทำให้เราเป็นเบอร์ 1 ทันที เพราะตอนนี้ 3BB มีลูกค้าประมาณ 2.4 ล้านราย ส่วนเราคาดว่าสิ้นปีนี้จะมีลูกค้าเติบโตเป็น 2.2 ล้านราย หรือมีมาร์เก็ตแชร์ 19-20% ในตลาด”

คงต้องรอดูว่า ควบรวมได้ไหม และถ้าได้ถึงจะไม่ขึ้นเบอร์ 1 ในทันที แต่ต้องยอมรับว่า ใกล้มาก เพราะลูกค้า ทรูออนไลน์ มีราว 4.8 ล้านราย จากนี้ต้องจับตาดูว่าทรูจะวางกลยุทธ์อย่างไรหากจะ รักษาเบอร์ 1 ในตลาดเน็ตบ้าน เพราะต้องอย่าลืมว่าเอไอเอสยังมีลูกค้าอีกกว่า 40 ล้านคนในมือ ที่พร้อมจะเลือกใช้เน็ตบ้านกับค่ายที่คุ้นเคย

]]>
1403639
เจาะลึก “กัลฟ์” ชูยุทธศาสตร์บันได 3 ขั้น ดัน AIS ครองตลาดสื่อสารเบ็ดเสร็จ หลังประกาศซื้อกิจการ 3BB https://positioningmag.com/1391411 Tue, 05 Jul 2022 13:08:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391411 ทำไม AIS จึงประกาศการซื้อกิจการ 3BB ในช่วงเวลานี้?! หากจะทำความเข้าใจต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของ JAS บริษัทแม่และผู้ให้บริการ 3BB และในครั้งนี้เป็นการเดินเกมหมากกลทางธุรกิจ ผ่านวิศวกรรมการเงินหรือไม่

แหล่งข่าวจากนักวิเคราะห์เปิดเผยว่า หมากกลทางธุรกิจ เอไอเอส ในยุค “กัลฟ์” คุมยุทธศาสตร์แบบเฉียบคม แบบรวบหัวรวบหาง กับการซื้อกิจการ 3BB เพื่อต่อรอง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กดดันดีลควบรวม ทรู-ดีแทค หวังผลให้ กสทช. คิดหนัก เพื่อให้เห็นการมีจำนวนผู้แข่งขันลดลง การแข่งขันจะลดลง ซึ่งสวนทางการการเคลื่อนไหวในตลาดที่เพิ่มความร้อนแรงในการแข่งขันทันที เมื่อตลาดมีผู้เล่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันมากขึ้น

คำถามที่สำคัญคือ หากจะทำความเข้าใจต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของ JAS บริษัทแม่ และผู้ให้บริการ 3BB ที่ขึ้นชื่อในประวัติศาสตร์โทรคมนาคมไทย เรื่องมรดกบาปทิ้งการประมูลคลื่น 900 MHz ที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด เคาะประมูลในล็อตที่ 1 ได้ในราคาสูงถึง 75,654 ล้านบาท จนเกิดสมมุติฐาน “ทฤษฎีการสมคบคิด” เพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจกับ “ใครบางคน” หรือไม่

และรวมทั้งตั้งข้อสงสัยไปถึงการทำกำไรจาก “ตลาดหุ้น” ที่ดังอึงมี่ไปทั่วทั้งแผ่นดิน ได้มากกว่าเสีย กับกรณียอมให้ กสทช. ยึดเงินค้ำประกัน 644 ล้านบาท หลังไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าใบอนุญาตงวดแรก ตีความได้หรือไม่ว่า การเคาะราคาที่ผู้คนมองว่า “บ้าระห่ำ” นั้น มีจิตเจตนาเพื่อลาก “บริษัทผู้เข้าร่วมประมูลบางราย” ให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งนี้เป็นจำนวนมหาศาลหรือไม่

ดังนั้น การประกาศซื้อกิจการครั้งนี้ ต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกัน ทำให้เห็นว่า โทรคมนาคม มีความซับซ้อน ซึ่งการซื้อกิจการของ 3BB ในครั้งนี้ ก็มีคำถามไม่ต่างกัน ว่า เป็นการเดินเกมหมากกลทางธุรกิจ ผ่านวิศวกรรมการเงินหรือไม่ เพราะเพียงแค่วันแรก เอไอเอส ก็กำไรส่วนต่างจากราคาหุ้นของ JAS แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว โดยสุดท้ายก็ยังไม่รู้ว่า เอไอเอส จะต้องการซื้อ 3BB จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่เวทมนตร์ทางการเงินทางธุรกิจเท่านั้น ต้องติดตามกันใกล้ชิด

ยุทธศาสตร์ “บันได 3 ขั้น” สู่การเป็นผู้นำตลาดสื่อสารของเอไอเอสนั้น

เริ่มจากบันไดขั้นที่ 1 คือ การเข้ามาของกัลฟ์ที่ข้ามห้วยมาจากธุรกิจพลังงาน ขยายฐานมาสู่ ธุรกิจเทเลคอม เป็นหนึ่งในหลายธุรกิจที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัล เพราะหากได้โครงสร้างพื้นฐานทั้งพลังงาน และสื่อสารแล้ว จะถือว่ามีความครบครัน จึงไม่น่าแปลกใจที่เห็นความเคลื่อนไหวของธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างเจ้าแห่งวงการพลังงานอย่าง “กัลฟ์” (GULF) เข้าเทกโอเวอร์หุ้นใหญ่ของอินทัช (INTUCH) ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 โดยบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ได้ทำการเสนอซื้อหุ้น บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ หรือ INTUCH

ทำให้ปัจจุบัน กลุ่มกัลฟ์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน INTUCH ในสัดส่วนรวมกัน 42.25% ขณะที่ INTUCH เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ใน บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC ทำให้ยุทธศาสตร์ของเอไอเอส มีความคมคายมากขึ้น ส่งผลให้เอไอเอสเปลี่ยนท่าทีจากที่ไม่คัดค้านการควบรวมทรูดีแทค เพราะมองว่า เอไอเอส ก็ยังได้เปรียบ มาสู่ท่าทีการคัดค้านอย่างชัดเจน เป็นธงของผู้ถือหุ้นใหม่ที่ปรับให้เอไอเอสมีเชิงรุกมากขึ้นในการบอนไซคู่แข่งในอุตสาหกรรม

จังหวะการก้าวเข้าสู่ธุรกิจเทเลคอมของ กลุ่มกัลฟ์ จึงเป็นบันไดขั้นแรก และเป็นก้าวสำคัญที่เสริมความแข็งแกร่งให้ AIS อย่างมีนัยสำคัญ เรียกได้ว่า ติดปีกให้กับเจ้าตลาดผู้ให้บริการมือถือในไทยได้ต่อยอดธุรกิจอย่างก้าวกระโดดด้วยความพร้อมของกัลฟ์ทั้งในด้านเงินทุนและเครือข่ายธุรกิจที่กว้างขวาง

อีกทั้งยังมี สิงเทล (Singtel) ยักษ์ใหญ่ในวงการโทรคมนาคมของสิงคโปร์ ที่ถือหุ้นใน AIS มายาวนาน จากข้อมูลโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ AIS มีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 40.44% และ Singtel Strategic Investments Pte. Ltd. จำนวน 23.31%

หลังจากที่ กลุ่มกัลฟ์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่ใน อินทัช เพียงไม่กี่เดือน ก็เห็นผลเชิงธุรกิจทันที เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 GULF ได้ลงนามร่วมพัฒนาธุรกิจกับ Singtel และ AIS รุกพัฒนาธุรกิจ Data Center ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการผนึกความแข็งแกร่งของทั้ง 3 บริษัท โดย GULF มีประสบการณ์ในธุรกิจผลิตไฟฟ้าและธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในและต่างประเทศ และเครือข่ายทางธุรกิจที่กว้างขวาง

ขณะที่ AIS มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและดำเนินธุรกิจ Data Center หลายแห่งในประเทศไทย รวมถึงมีประสบการณ์ในการให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรมากมาย และ Singtel มีประสบการณ์และความชำนาญในด้านเทคโนโลยีสำหรับ Data Center และมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งและหลากหลายทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ระดับโลก

บันไดขั้นที่ 2 ของ AIS เดินเกมธุรกิจ 5G อย่างแยบคาย โดยเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวว่า บอร์ดบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT ได้ตัดสินใจเลือกให้ AIS เป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ โดย NT จะแบ่งคลื่น 700 MHz ให้ AIS ครึ่งหนึ่ง หรือ เป็นจำนวน 5 MHz (ตามที่บริษัทเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่น 700 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต ในย่านความถี่ 738-748 MHz คู่กับ 793-803 MHz ด้วยราคา 34,306 ล้านบาท จาก กสทช.)

ดีลนี้ AIS ยิงกระสุนนัดเดียว ได้นกสองตัว คือ สกัดผู้เล่นอย่าง NT ให้ออกไปจากตลาดโดยปริยาย ด้วยปริมาณคลื่น 5G ที่ NT มีเหลือน้อยจนไม่สามารถแข่งขันได้ ลดจำนวนคู่แข่งในตลาดโทรคมนาคมไทยให้เหลือน้อยลง และ AIS ยังนำคลื่นของ NT มาต่อยอดธุรกิจ 5G ส่งผลให้ AIS เป็นเจ้าเดียวที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุดในประเทศ ทิ้งห่างจากคู่แข่งอย่างทรูและดีแทคที่แม้จะควบรวมธุรกิจได้สำเร็จก็ตาม อ่านเกมธุรกิจนี้ของ AIS ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า ใคร คือ ผู้ยึดครองตลาดโทรคมนาคมไทยตัวจริง

บันไดขั้นที่ 3 ของ AIS กับ ความเคลื่อนไหวล่าสุด กับ เกมธุรกิจบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โดย AIS ได้แจ้งรายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับ ที่ประชุมบอร์ด เอไอเอส มีมติอนุมัติให้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (“AWN”) เข้าซื้อหุ้น ในบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) (“TTTBB”) จำนวน 7,529,242,385 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 99.87% จากบริษัท อคิวเมนท์ จำกัด บริษัทย่อยของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (“JAS”)

โดย AWN จะทำการขออนุญาตในการเข้าทำธุรกรรมดังกล่าว จาก กสทช. ก่อน และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในไตรมาส 1 ของปี 2566 ซึ่งหากดีลเทกโอเวอร์ครั้งนี้สำเร็จ ก็จะทำให้ AIS ก้าวขึ้นเป็นผู้นำ ยึดครองตลาดบรอดแบนด์อย่างสมบูรณ์ในทันที ด้วยฐานลูกค้าทั่วประเทศที่ใหญ่และมากที่สุดในอุตสาหกรรม ที่ประมาณ 5.55 ล้านราย (จากรายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2565 JAS มีจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์รวม 3.68 ล้านราย และ AIS มีจำนวนลูกค้าบรอดแบนด์รวม 1.865 ล้านราย) มากกว่า ทรูออนไลน์ ที่มีจำนวนลูกค้าบรอดแบนด์ 4.7 ล้านราย ณ ไตรมาส 1 ปี 2565

หากวิเคราะห์ให้ลึกจะเห็นว่า บันได 3 ขั้นของ AIS เกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียงราวๆ 1 ปีเท่านั้น หลังจากที่ GULF ได้เข้ามาสู่วงการโทรคมนาคม เสมือนติดปีกให้ AIS เดินเกมยึดตลาดโทรคมนาคมไทยได้อย่างแข็งแรงและรวดเร็วตามแนวยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจของ GULF ที่มีฐานกำลังแข็งแกร่ง ทั้งเงินทุนและเครือข่ายทางธุรกิจที่กว้างขวางในหลายอุตสาหกรรม แต่ที่น่าสนใจคือ ความเคลื่อนไหวทางธุรกิจทั้งหมดนี้ อยู่ในช่วงเวลาที่สอดคล้องเหมาะเจาะกับยุคเปลี่ยนผ่านที่ธุรกิจทั่วโลก รวมถึงภาคธุรกิจไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และขับเคลื่อนให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อความอยู่รอดและแข็งแกร่งได้พอที่จะลงสนามแข่งขันกับบรรดาธุรกิจข้ามชาติที่แผ่ขยายสินค้าและบริการไปทั่วโลกได้แบบไร้พรมแดน

แม้ว่าการเทกโอเวอร์ 3BB ของ AIS จะยังต้องรอการพิจารณาจาก กสทช. ซึ่งน่าจะเป็นอีกประเด็นที่ท้าทายการกำกับดูแลของภาครัฐ ว่าจะสามารถควบคุมและดูแลอย่างสมดุลทั้งในด้านประโยชน์ของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่จะอยู่รอดและแข่งขันกับนานาประเทศทั่วโลกได้หรือไม่ ในขณะเดียวกัน กลุ่มนักวิจัย TDRI นักวิชาการ รวมถึง สภาองค์กรผู้บริโภค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็น่าจะต้องเข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มข้นและจับตาดีลนี้ด้วยเช่นกัน ไม่ต่างกับที่ได้วิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ดีลการควบรวมระหว่างทรูและดีแทคเอาไว้ก่อนหน้านี้

Source

]]>
1391411
วิเคราะห์ดีล AIS ซื้อ 3BB และอนาคตธุรกิจโทรคมนาคมไทยหลังจากนี้ https://positioningmag.com/1391121 Mon, 04 Jul 2022 08:39:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391121 หลังจากที่ในตอนเช้าของวันนี้ (4 กรกฎาคม) ทาง AIS ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่อันดับ 2 ของตลาดอย่าง 3BB ด้วยมูลค่าสูงถึง 19,500 ล้านบาท เรามาดูกันว่าดีลนี้สร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการโทรคมนาคมไทยอย่างไร รวมถึงมาดูกันว่าอนาคตของธุรกิจโทรคมนาคมในไทยหลังจากนี้จะเป็นเช่นไร

ทำไมดีลนี้ถึงเกิดได้

สำหรับดีลนี้อาจต้องเล่าย้อนไปถึงในช่วงความพยายามที่ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทแม่ของ 3BB มีความพยายามที่จะเติบโตขึ้นมาผู้เล่นรายที่ 4 ในตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทางบริษัทได้เข้ามาประมูลคลื่น 900 MHz แต่ในท้ายที่สุดบริษัทกลับไม่จ่ายเงินค่าประมูลคลื่นก้อนใหญ่ แม้ว่าในตอนแรกบริษัทจะชี้ว่ามีเงินทุนและพันธมิตรพร้อมแล้วก็ตาม

แต่หลังจากนั้นบริษัทก็ได้เน้นทำแต่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตตามบ้าน โดยมีการเพิ่ม Value Added อย่างเช่นมีบริการ IPTV หรือเป็นพันธมิตรกับทาง HBO นำ HBO Go เข้ามา เป็นต้น และไม่มีการพูดถึงธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออีกต่อไป

ทางด้านของ AIS เองก็ได้เริ่มเข้ามารุกในตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมครบวงจร โดยเปิดตัวบริการอินเทอร์เน็ตบ้านในปี 2015 แต่ก็ยังไม่สามารถขึ้นมาเป็นผู้เล่นอันดับ 1 ใน 3 ของตลาดได้ นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันที่ดุเดือดจากทั้ง True หรือแม้แต่ทาง NT (CAT และ TOT เดิม) ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นข่าวลือว่า AIS สนใจซื้อกิจการ 3BB อยู่หลายครั้งเพื่อที่จะเพิ่มจำนวนลูกค้า

แต่จุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงที่ผ่านมาคือ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทแม่ของ 3BB เองก็ต้องการที่จะไปทำธุรกิจด้านอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นบริษัทลูกอย่าง บมจ. จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น ได้สนใจในธุรกิจเหมืองขุดบิตคอยน์

อย่างไรก็ดี สภาวะตลาด Cryptocurency เองก็กำลังอยู่ในสภาวะขาลงอาจทำให้ผู้เขียนมองว่าบริษัทตัดสินใจขาย 3BB เพื่อนำเงินสดมาลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น หรือลงทุนในธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจแบบเดิมๆ อีกต่อไป ขณะเดียวกันทาง AIS ก็ได้ฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็น Win-Win Strategy ในช่วงเวลาเช่นนี้

เป้าหมายดีลนี้เพื่อเป็นเบอร์ 1 ของตลาดเน็ตบ้าน

ถ้าหากมองจำนวนลูกค้าในปัจจุบันแล้ว ข้อมูลล่าสุดเมื่อไตรมาส 1 ของปี 2022 ผู้นำตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านนั้นยังคงเป็น True ที่มีฐานลูกค้ามากถึง 4.7 ล้านราย ขณะที่อันดับ 2 คือ 3BB มีลูกค้าราวๆ 3.68 ล้านราย ขณะที่ อันดับ 3 อย่าง NT นั้นมีลูกค้าราวๆ 2 ล้านราย (ข้อมูลล่าสุดปี 2021) ตามมาด้วยอันดับ 4 นั่นก็คือ AIS ที่มีฐานลูกค้า 1.86 ล้านราย

ถ้าหาก AIS ได้ควบรวมกิจการของ 3BB มาแล้ว ก็จะทำให้ AIS มีลูกค้าอยู่ที่ราวๆ 5.5 ล้านราย ซึ่งจะทำให้ยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมรายนี้ขึ้นเป็นผู้เล่นตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านอันดับ 1 ทันที และแซงหน้า True ทันที นอกจากนี้ในบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวงยังชี้ว่า AIS จะมีรายได้จากอินเทอร์เน็ตบ้านเป็นสัดส่วน 20-25% ในอนาคต ซึ่งจากเดิมอยู่ที่ราวๆ 15% ของรายได้รวมเท่านั้น

นอกจากจะได้ลูกค้าอินเทอร์เน็ตบ้านแล้ว ถ้าหากดีลนี้ประสบความสำเร็จ ยังสามารถทำให้ AIS ลงทุนกับธุรกิจ Value Added กับลูกค้าเหล่านี้ได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบ IPTV หรือบริการอื่นๆ ซึ่งอาจดึงดูดลูกค้าจากค่ายอื่นตามมาอีกได้

ภาพจาก Shutterstock

อนาคตของวงการโทรคมนาคม

นอกจากดีลนี้จะทำให้ AIS ก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นสำคัญของตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านแล้วนั้น ยังแสดงให้เห็นอนาคตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งเป็นเทรนด์ทั่วโลกคือตลาดกลับมามีผู้เล่นน้อยรายมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้เล่นบางรายอาจตัดสินใจขายกิจการหรือควบรวมกิจการ เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจในการทำธุรกิจต่อไป

สาเหตุสำคัญที่ตอบประเด็นดังกล่าวได้ก็คือปัจจัยของการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านปัจจุบันต้องใช้เงินลงทุนที่สูง เนื่องจากต้องขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าหากยิ่งมีฐานลูกค้ามากขึ้นเท่าไหร่ ขณะที่ค่าใช้จ่ายคงที่เท่าเดิม ย่อมทำให้รายได้และกำไรเข้ามามหาศาล

นั่นทำให้ผู้เล่นโทรคมนาคมรายใหญ่ทั่วโลกพยายามที่จะซื้อกิจการผู้เล่นรายรองๆ ลงมา ขณะเดียวกันผู้เล่นรายรองๆ เองก็อยากขายกิจการหรือไม่ก็ต้องควบรวมกิจการกันเพราะเงินลงทุนในด้านอุปกรณ์ต่างๆ นั้นเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนลูกค้ากลับเท่าเดิม จึงเหลือทางออกไม่กี่ทาง

ทำให้เราเห็นว่าทำไมผู้เล่นในตลาดโทรคมนาคมหลายๆ ประเทศ และอาจรวมในไทยถึงกำลังจะมีผู้เล่นน้อยรายลงเรื่อยๆ

คำถามที่ประชาชนจับตามอง เรื่องของการผูกขาด

อย่างไรก็ดี ยังมีคำถามที่ประชาชนหลายคนได้ตั้งคำถามหลังจากที่ AIS ได้ประกาศดีลนี้ นั่นก็คือว่าการควบรวมกิจการ 3BB เข้ามานั้นถือว่าเป็นการผูกขาดตลาด ทำให้ผู้เล่นเหลือน้อยรายลงหรือไม่ เนื่องจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตามบ้านของไทยจะเหลือผู้เล่นรายใหญ่แค่ True และ NT รวมถึง AIS (ถ้าหากควบรวมกิจการ 3BB สำเร็จ) เท่านั้น

ขณะเดียวกันผู้เล่นรายเล็กๆ ในตลาดอินเทอร์เน็ตตามบ้านนั้นก็มีไม่ค่อยมาก อย่างเช่น PlanetFiber โสภณเคเบิ้ล หรือแม้แต่ Cable Connect ของเจริญเคเบิลทีวี นั้นมีเครือข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงทั่วประเทศ แถมยังทำตลาดในพื้นที่จำกัดมาก ซึ่งผู้เล่นเหล่านี้ยังไม่สามารถเติบโตขึ้นมาเป็นผู้เล่นระดับประเทศได้ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล

และนั่นเป็นคำถามต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าจะพิจารณาให้ดีลการควบรวมกิจการนี้เดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ รวมถึงแรงจูงใจในการทำตลาดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตามบ้านว่าจะยังมีแรงจูงใจในการออกโปรโมชันออกมาหรือไม่หลังจากดีลการควบรวมกิจการนี้

]]>
1391121
AIS ประกาศเข้าซื้อกิจการ 3BB มูลค่า 19,500 ล้านบาท ขยายฐานลูกค้าเน็ตบ้าน https://positioningmag.com/1391039 Mon, 04 Jul 2022 01:26:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391039 บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทจะเข้าทำการซื้อกิจการ บมจ. ทริปเปิลที บรอดแบนด์ เจ้าของกิจการอินเทอร์เน็ต 3BB เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 19,500 ล้านบาท โดยวัตถุประสงค์สำคัญของบริษัทก็คือการเข้าขยายฐานลูกค้าอินเทอร์เน็ตตามบ้าน

นอกจากนี้บริษัทยังชี้แจงถึงประโยชน์ในการซื้อกิจการ ไม่ว่าจะเป็น

  • ลดทอนความซ้ำซ้อนในการลากสายเคเบิลใยแก้วนำแสง
  • สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และเพิ่มกระแสเงินสดให้กับ AIS
  • เสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย

บริษัทยังได้แจ้งว่าจะเข้าซื้อกิจการของ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) อีกเป็นจำนวนเงิน 12,920 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ดีลนี้มีขนาด 32,420 ล้านบาท โดย AIS จะใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงเงินกู้จากสถาบันการเงินในการซื้อกิจการของ 3BB และ JASIF

สำหรับผลการดำเนินงานของ 3BB นั้น ในปี 2020 บริษัทมีรายรวม 18,126 ล้านบาท ขาดทุน 4,142 ล้านบาท ปี 2021 มีรายได้รวม 19,264 ล้านบาท ขาดทุน 2,064 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 1 ของปี 2022 นั้นบริษัทมีรายได้รวม 4,093 ล้านบาท ขาดทุน 155 ล้านบาท

การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้นั้นทาง AIS จะทำการขออนุญาตในการเข้าทำธุรกรรมจาก กสทช. ก่อนจึงจะลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นของ 3BB และหน่วยลงทุน JASIF โดยบริษัทฯ คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จได้ภายในไตรมาส 1 ของปี 2023

ที่มา – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

]]>
1391039
ครบสูตรเน็ต-หนัง! 3BB GIGATainment อัดโปรแรง เน็ตบ้าน 1 Gbps พ่วงความบันเทิง HBO GO-MONOMAX https://positioningmag.com/1272737 Fri, 17 Jul 2020 10:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272737

ไม่ว่าจะทำงาน หรือพักผ่อนสตรีมมิ่งคอนเทนต์ ก็สามารถรับชมได้อย่างจุใจ เพราะตอนนี้มีแพ็คเกจ GIGATainment จากค่าย 3BB ที่เรียกว่าสุดยอดแห่งความคุ้มค่าคุ้มราคา ได้ครบทั้งอินเทอร์เน็ตบ้าน และความบันเทิงระดับโลกจากบริการสตรีมมิ่งทั้ง HBO GO และ MONOMAX ในราคาเริ่มต้นเพียง 629 บาท/เดือนเท่านั้น

หลังจากที่ HBO ได้ย้ายค่ายมาอยู่ครอบครัวเดียวกับ 3BB เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญที่เข้ามาเติมเต็มคอนเทนต์ของ 3BB ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทำให้สามารถเดินเกมครบสูตรเน็ตแรง คอนเทนต์ปังได้อย่างลงตัว เรียกว่าสร้างจุดแข็งทั้ง Telecom และ Media

ก่อนหน้านี้ 3BB ได้ยกระดับเน็ตเวิร์คให้ลูกค้าได้เล่นอินเทอร์เน็ตความเร็วเริ่มต้นที่ 1 Gbps/100 Mbps ภายใต้แพ็กเกจ Gigafiber ราคาเริ่มต้น 590 บาท/เดือนเท่านั้น

และเมื่อได้ HBO เข้ามาอยู่ในครอบครัว 3BB ก็ไม่รอช้าที่จะเสริมเขี้ยวเล็บให้แข็งแกร่งขึ้น เป็นการผนึกกำลังระหว่างอินเทอร์เน็ตบ้าน และคอนเทนต์ ด้วยแพ็คเกจ GIGATainment แพ็กเน็ตความเร็วสูง 1 Gbps / 200 Mbps

ความน่าสนใจอยู่ที่ครั้งนี้ 3BB ได้ผนึกกำลังทั้ง HBO, MONOMAX และ OKE แหล่งรวมสุดยอดความบันเทิงระดับ World Class ได้รวมเอามาให้ลูกค้า 3BB ได้สัมผัสในราคาที่จ่ายเพิ่มขึ้นเพียง 39 บาท/เดือนเท่านั้น เมื่อรวมกับราคาแพ็คเกจอินเทอร์เน็ต 590 บาท ก็อยู่ที่ 629 บาท/เดือน (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยผู้ที่ต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น สามารถเลือกได้สูงสุดที่ 1 Gbps / 1 Gbps ในราคา 1,239 บาท

นอกจากความคุ้มค่าในเรื่องราคาแล้ว แพ็คเกจ GIGATainment นั้นยังอัดแน่นไปด้วยคุณภาพ โดยที่อินเทอร์เน็ตของ 3BB รับประกันด้วยคุณภาพทั้งความเร็ว และความแรง การันตีด้วยรางวัล “No.1 The Best Fixed Internet Performance 2019 by nPerf” รองรับการทำงาน Work From Home ได้อย่างดี หรือจะใช้งานโซเชียลมีเดีย ผ่อนคลายด้วยสตรีมมิ่งคอนเทนต์ระดับโลกได้โดยไม่มีสะดุด

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็ว 1 Gbps ได้อย่างเต็มสปีด ทาง 3BB จึงได้มีการอัปเกรดเราเตอร์ให้รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อไร้สายมีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 25%

ความพิเศษของ Wi-Fi 6 คือ การใช้มาตรฐานในการเชื่อมต่อที่มีชื่อเรียกว่า 802.11AX หรือ ไวไฟ AX ซึ่งพัฒนามาจากไวไฟ AC หรือ Wi-Fi 5 รองรับคลื่น 2.4GHz และ 5GHz ให้ความเร็วที่สูงขึ้นในระดับ Gigabit มีการเข้ารหัสสัญญาณ 1024QAM ทำให้สามารถ รับ-ส่งความเร็วผ่านไวไฟเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 25% ในระยะที่เหมาะสม และมี OFDMA ที่จำแนกและจัดสรรข้อมูลต่างชนิดทำให้รองรับการใช้งานพร้อมๆ กันได้มากขึ้นทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ IoT ภายในบ้าน

จึงเป็นการเสริมการใช้งานที่สมบูรณ์แบบสำหรับคนยุคดิจิตัลและทุกคนในครอบครัวที่ต้องการเล่นเกมส์ สตรีมมิ่ง ไลฟ์สด โหลดหรือแชร์ไฟล์ใหญ่ๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อรองรับความเร็ว 1 Gbps ผ่านไวไฟให้มาเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับ HBO คอคอนเทนต์คงจะทราบถึงคุณภาพของคอนเทนต์เป็นอย่างดี เพราะที่ผ่านมาได้ผลิตคอนเทนต์ยอดนิยมไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ หรือซีรีส์แบบที่หาดูที่ไหนไม่ได้ออกมาอยุ่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น Game of Thrones, Westworld และ Newsroom

หมัดเด็ดที่สำคัญของ HBO ก็คือ HBO GO เป็นบริการ On-demand Streaming สามารถดูคอนเทนต์ของ HBO ได้ทุกที่ทุกเวลา เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในเมืองไทย อัดแน่นไปด้วยหนัง และซี่รีย์ดังระดับโลกจาก Hollywood ให้เลือกชมมากมาย รวมไปถึงมีบริการ Live TV 6 ช่อง ได้แก่ HBO, Cinemax, HBO Family, HBO Signature, HBO Hitz และ Red by HBO

เรียกว่ามีคอนเทนต์มากกว่า 3,500 ชั่วโมง จะเลือกดูแบบสตรีมมิ่งออนไลน์ หรือจะโหลดมาดูออฟไลน์ และ Cast ขึ้นทีวีจอใหญ่ก็ได้ ได้เริ่มเปิดบริการตั้งแต่วันนี้ 30 มีนาคม 63 ที่ผ่านมา

 

จุดเด่นของคอนเทนต์ใน HBO คือมีครบทุกรสชาติ เอาใจกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัย ได้แก่

1. ภาพยนตร์ เอาใจคอหนังฮอลลีวู้ดหลายหลายค่ายทั้ง Liongate, Paramount, Universal และ Warner Bros มีให้เลือกทั้งหนังเก่า และแบบ Original Premiere ดูพร้อมกันกับที่สหรัฐอเมริกา

2. ซีรีส์ ทั้งเก่า และใหม่ ล้วนเป็นซีรีส์ฟอร์มยักษ์ รวมไปถึงซีรีส์ในดวงใจของใครหลายๆ คนตลอดกาลอย่าง Game of Thrones ก็สามารถรับชมได้ทุกซีซั่น

3. คอนเทนต์เอเชีย รวบรวมหนัง และซีรี่ส์เอเชียทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี

4. TV มีช่องทีวีให้เลือกชม 6 ช่อง

5. สารคดี คอนเทนต์ที่ทั้งครอบครัวสามารถดูได้

6. รายการเด็ก และครอบครัว เอาใจเด็กๆ ด้วยการ์ตูนอนิเมชั่นที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ และการ์ตูนทางทีวี ไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่ DC และภาพยนตร์ Harry Potter ทุกภาค

7. เบื้องหลังการถ่ายทำ และฉากพิเศษต่างๆ ใครที่ติดใจภาพยนตร์ และซีรีส์ สามาถชมเบื้องหลัง เป็นการเอาหนัง และซีรี่ส์บางตอนมาให้ดูฟรีๆ

สำหรับใครที่อยากได้ทั้งอินเทอร์เน็ตบ้าน พร้อมกับรับชมคอนเทนต์ระดับโลกจาก MONOMAX และ HBO GO มีค่าบริการเริ่มต้นเพียง 629 บาท/เดือน

ส่วนลูกค้า 3BB ที่มีแพ็คเกจ GIGA Fiber อยู่แล้ว แต่อยากจะอัพเกรดเป็นแพ็คเกจ GIGATainment ก็สามารถเพิ่มค่าบริการรายเดือนอีกแค่ 39 บาท เป็น 629 บาท/เดือนเช่นกัน วิธีการสมัครง่ายๆ ผ่านแอพพลิเคชั่น 3BB Member หรือที่ https://www.hbo.3bb.co.th/ สมัครได้ทั้งลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าปัจจุบันที่ต้องการเปลี่ยนแพ็กเกจ

 

]]>
1272737
3BB เยียวยาลูกค้า ให้ดู MONOMAXX ฟรี 1 เดือน https://positioningmag.com/1124915 Mon, 08 May 2017 07:46:16 +0000 http://positioningmag.com/?p=1124915 ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า วันนี้ (8 พ.ค. 2560) ตัวแทนบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 3BB ได้เข้าพบพร้อมทำหนังสือมาชี้แจง กรณีที่ลูกค้า 3BB ไม่สามารถใช้งาน Google และ YouTube ได้เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา

โดยทางบริษัทฯ ได้ชี้แจงว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากทีมงาน Google ต่างประเทศได้มีการซ่อมบำรุงระบบส่งผลให้ไม่สามารถใช้งาน Google และ YouTube ได้ ซึ่งทางทีมงาน 3BB ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิด โดย Google สามารถเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่เวลา 12.00 น. และ YouTube สามารถเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของวันที่ 6 พ.ค. 2560 ทั้งนี้ บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด ได้เสนอแผนเยียวยาให้กับผู้ใช้บริการ 3BB ทุกราย โดยจะใช้งานบริการ MONOMAXX ซึ่งเป็นบริการให้ชมภาพยนตร์ลิขสิทธิ์ของ MONO ผ่านแอปพลิเคชั่น มูลค่า 129 บาท ได้ฟรี 1 เดือน

“สำนักงาน กสทช. เห็นว่าแผนเยียวยาที่บริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด เสนอมาเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ 3BB จึงให้บริษัทฯ ดำเนินการได้ทันที”

]]>
1124915
3BB โยนเผือกร้อนให้ Google ดู YouTube ไม่ได้ https://positioningmag.com/1124766 Sun, 07 May 2017 15:33:53 +0000 http://positioningmag.com/?p=1124766 จากกรณีที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต 3BB มีปัญหาใช้บริการเสิร์ช และวิดีโอออนไลน์กูเกิล (Google) และยูทูป (YouTube) ทั้งประเทศเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2560 ล่าสุด 3BB ออกมาชี้แจงผ่านหน้าเว็บไซต์ว่า เนื่องจากการปรับปรุงระบบของทีม Google ส่งผลให้ผู้ใช้ 3BB ไม่สามารถใช้บริการของ Google และ YouTube ได้ชั่วคราว เบื้องต้นคำชี้แจงนี้ถูกวิจารณ์ยับเยิน เพราะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายอื่นไม่ได้รับปัญหา แสดงว่า 3BB ไม่มีการสำรองหรือเตรียมความพร้อมใดๆ

3BB ระบุในแถลงการณ์ว่า ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ Google แล้วเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 9.00 . วันที่ 6 พฤษภาคม 2560 ทำให้ผู้ใช้เริ่มกลับมาใช้งาน Google ได้ตั้งแต่ 12.00 . ขณะที่ YouTube เริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ 23.00 . ทำสถิติล่ม 13 ชั่วโมงทั้งประเทศ

เนื้อหาแถลงการณ์ฉบับเต็มของ 3BB คือ

“เหตุการณ์ปัญหาการใช้งาน Google และ YouTube ที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม 2560 ตั้งแต่ 9.00 . เนื่องจากทางทีม Google ได้มีการ Maintenance ระบบ ส่งผลให้ไม่สามารถใช้บริการต่างๆ ของ Google และ YouTube ได้

ทั้งนี้ ทีม 3BB ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิด โดย Google สามารถเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ 12.00 . และ YouTube เริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ 23.00 .

ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมาในที่นี้ด้วย

ทั้งนี้ การใช้งาน Content อื่นยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ เช่น Web site ต่างๆ, Facebook, Line เป็นต้น” 

นอกจากนี้ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการ กสทช. ยังได้โพสต์เอกสารที่ 3BB ได้ชี้แจงมายัง กสทช. ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่า เป็นเหตุมาจาก ทีมงาน Google ต่างประเทศได้มีการ Maintenance ระบบ ส่งผลให้ไม่สามารถใช้บริการต่างๆ ของ Google และ YouTube ได้ ซึ่งทีม 3BB ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิด โดยที่ Google สามารถเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ 12.00 น. และ YouTube เริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ 23.00 น ทั้งนี้เป็นปัญหาทางเทคนิค และอยู่ระหว่างขอคำชี้แจงจากทีม Google ลงชื่อ ยอดชาย อัศวธงชัย Chief Operation Officer2

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า Goolgle ได้แจ้งปรับปรุงระบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่มาเลเซีย ทำให้ต้องปิดเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับบริการ Google และ YouTube ปัญหาอยู่ที่ผู้ให้บริการรายอื่นอย่าง True, CAT, TOT และ AIS ต่างเชื่อมต่อลิงก์สำรองไปที่สิงคโปร์ ทำให้ผู้ใช้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ 3BB ไม่ไต้สำรอง หรือเตรียมความพร้อมไว้ก่อน 

ประเด็นนี้ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ 3BB ว่า ไม่ยอมรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยพนักงานรับแจ้งปัญหาของ 3BB ล้วนอ้างว่า ระบบของ Google ที่ลิงก์กับ 3BB มีปัญหา ทำให้ต้องรอทาง Google ตรวจสอบ

สำหรับข่าวลือเรื่องสายอินเทอร์เน็ตขาดนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ โดยในช่วงบ่ายของวันที่ 6 มีการโพสต์ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตว่า สายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ (ไทยมาเลเซีย) ขาดบริเวณถนนเพชรเกษม กม. 443 จุดนี้มีความเป็นไปได้สูงว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับ 3BB 

ที่มา : http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000046026

]]>
1124766