4G – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 26 Jun 2023 11:32:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คาดการใช้ ‘5G’ ทั่วโลกทะลุ 1.5 พันล้านรายในสิ้นปี ‘อินเดีย’ จ่อขึ้นแท่นประเทศที่โตเร็วสุดในโลก https://positioningmag.com/1435420 Mon, 26 Jun 2023 06:07:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435420 นับตั้งแต่ที่เทคโนโลยี 5G ใช้ครั้งแรกในปี 2020 จนมาตอนนี้ถือว่าเติบโตอย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งหนึ่งในปัจจัยหนุนก็คือ ราคาดีไวซ์ที่ถูกลง จากเมื่อก่อนสมาร์ทโฟนที่รองรับเทคโนโลยี 5G จะต้องเป็นรุ่นเรือธง แต่ปัจจุบันสมาร์ทโฟนราคาไม่ถึงหมื่นก็รองรับ 5G แล้ว ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่การใช้งาน 5G ยังคงเติบโตได้

5G สิงคโปร์ครอบคลุม 95%

ตามรายงาน Mobility Report ของ Ericsson ฉบับเดือนมิถุนายน 2566 ได้เปิดเผยว่า การเติบโตของการใช้งาน 5G ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ โอเชียเนีย ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยคาดว่าภายในสิ้นปี 2571 ยอดผู้ใช้งาน 5G จะเพิ่มเป็น 430 ล้านราย คิดเป็น 34% ของยอดผู้ใช้งานบริการมือถือทั้งหมดของภูมิภาคฯ

จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน ในภูมิภาคนี้คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 3% ต่อปี และภายในปี 2571 จะเพิ่มไปถึง 1.12 พันล้านราย จาก 930 ล้านราย ณ สิ้นปี 2565 ขณะที่ผู้ใช้บริการ 4G คาดว่าจะยังมีการเติบโตที่ 770 ล้านราย ภายในปี 2571 เพิ่มจาก 640 ล้านราย ณ สิ้นปี 2565 หรือเติบโตเฉลี่ย 3% ต่อปีเช่นกัน

ปัจจุบัน 5G ในสิงคโปร์ครอบคลุมมากกว่า 95% ส่วนในประทศ ไทย และ ออสเตรเลีย ครอบคลุมกว่า 80% ของประชากร ด้าน ฟิลิปปินส์ ครอบคลุม 66% ของประชากร ส่วน มาเลเซีย ครอบคลุม 50% 

ด้านปริมาณการใช้ ดาต้าอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟน และคาดว่าจะสูงถึง 54 กิกะไบต์ต่อเดือนในปี 2571 เติบโต 24% ต่อปี โดยยอดการใช้ดาต้าเน็ตมือถือทั้งหมดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 13 เอกซะไบต์ต่อเดือนในปี 2565 เป็น 55 เอกซะไบต์ต่อเดือนในปี 2571 โดยเติบโต 27% ต่อปี

อินเดีย 5G โตเร็วสุดในโลก

อินเดียเป็นตลาด 5G สำคัญ ที่กำลังปรับใช้งานเครือข่ายขนาดใหญ่มากมายภายใต้กรอบนโยบาย Digital India หลังเปิดให้บริการ 5G ไปเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2565 เมื่อสิ้นปี 2565 อินเดียมียอดผู้ใช้บริการ 5G ประมาณ 10 ล้านราย และคาดว่าภายในสิ้นปี 2571 ยอดการใช้บริการ 5G จะเพิ่มเป็น 57% ของยอดผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมดในประเทศ ส่งผลให้ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาค 5G ที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก

นอกจากอินเดียแล้ว ผู้ใช้บริการ 5G ใน ทวีปอเมริกาเหนือ นั้นมีการเติบโตแข็งแกร่งกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อน โดยเมื่อสิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้มี สัดส่วนผู้ใช้บริการ 5G สูงสุดในโลกที่ 41% 

ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและคาดว่าจะเพิ่มไปถึง 1.5 พันล้านราย ภายในสิ้นปี 2566 ส่วนปริมาณการใช้ดาต้าผ่านเครือข่ายมือถือทั่วโลกก็เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน คาดว่าภายในสิ้นปี 2566 ยอดการใช้ดาต้าบนมือถือต่อสมาร์ทโฟนทั่วโลกจะเกินกว่า 20 กิกะไบต์ต่อเดือน

“ยอดผู้ใช้ 5G ทั่วโลกมีเกินหนึ่งพันล้านบัญชีไปแล้ว ทำให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในตลาด 5G ชั้นนำมีรายได้เติบโตในเชิงบวก โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจากการเปิดตัวบริการ 5G ใน 20 ตลาดชั้นนำ ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 7% แนวโน้มนี้แสดงให้เห็นถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของ 5G ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการ” เฟรดริก เจดลิง รองประธานผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายเครือข่ายของอีริคสัน กล่าว

]]>
1435420
‘อีริคสัน’ เผย ยอดผู้ใช้ 5G ทั่วโลกปีนี้พุ่งแตะ 1 พันล้านบัญชี เฉพาะใน ‘อาเซียน’ โต 2 เท่า https://positioningmag.com/1391031 Mon, 04 Jul 2022 01:10:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391031 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการพูดถึง Metaverse กันอย่างมาก และหลายแบรนด์ก็เริ่มที่จะพัฒนากลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม Metaverse จะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มี 5G และเป็นประจำทุกปีที่ อีริคสัน (Ericsson) ได้จัดทำ Ericsson Mobility Report ที่จะคาดการณ์ถึงปริมาณการใช้ดาต้าอินเทอร์เน็ตและ5G

สิ้นปีผู้ใช้ 5G แตะ 1 พันล้าน

ในปี 2565 คาดว่ายอดผู้สมัครใช้งาน 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นสองเท่า จาก 15 ล้านบัญชี ณ สิ้นปี 2564 ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility Report ของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ฉบับล่าสุด และยังได้คาดการณ์ไว้อีกว่า ภายในสิ้นปี 2565 จะมียอดสมัครใช้บริการ 5G ทั่วโลกมากถึง 1 พันล้านบัญชี

ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการปรับใช้งานเครือข่ายมากขึ้นคาดว่าจะทำให้การสมัครใช้บริการ 5G จะเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ (CAGR) 83% ตลอดช่วงระยะเวลาคาดการณ์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นแตะ 570 ล้านบัญชี ภายในปี 2570 ตัวเลขดังกล่าวนี้เกือบเท่ากับจำนวนการสมัครใช้บริการ 4G ทั้งหมดในภูมิภาคในช่วงเวลานั้น

การใช้ดาต้าเติบโตมหาศาล

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 22 ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ที่น่าสนใจ พร้อมยังเผยให้เห็นว่า ปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยการเติบโตของยอดการใช้ดาต้านี้ได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนและบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัล

ทั้งนี้ คาดว่าจะพุ่งแตะ 45 กิกะไบต์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 30% โดยการใช้งาน 5G ที่กว้างขึ้นและบริการ XR ใหม่ จะช่วยผลักดันการเติบโตของปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตในช่วงหลังของระยะเวลาคาดการณ์ของอีริคสันจนถึงปี 2570

อเมริกาผู้นำ 5G ด้านจำนวนผู้ใช้

รายงาน Ericsson Mobility Report เดือนมิถุนายน ปี 2565 ตอกย้ำให้เห็นว่าการเติบโตของ 5G เป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วกว่าเทคโนโลยีมือถือรุ่นก่อน ๆ ทั้งหมด โดยเวลานี้ 1 ใน 4 ของประชากรโลกสามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ และเพียงช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีจำนวนการสมัครใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบัญชี ซึ่งตามรายงานยังระบุว่า ภายในปี 2570 ประชากรทั่วโลก 3 ใน 4 ประเทศจะสามารถเข้าถึง 5G ได้

อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2570 ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะกลายเป็นผู้นำโลกด้านการสมัครใช้บริการ 5G โดยจากยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือในทุก ๆ 10 รายจะมีผู้สมัครใช้ 5G ถึง 9 ราย และจากไทม์ไลน์ปี 2570  มีการคาดการณ์เกี่ยวกับ 5G ที่น่าสนใจตามภูมิภาคต่าง ๆ  อาทิ ในยุโรปตะวันตก มีสัดส่วนการสมัครใช้บริการ 5G ที่ 82% ขณะที่ในภูมิภาคของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) มีสัดส่วนอยู่ที่ 80% และ 74% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

Fixed Wireless เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ รายงานยังได้ชี้ให้เห็นว่า การเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Fixed Wireless Access (FWA) จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โดย Ericsson คาดการณ์ว่า ในปี 2022 นี้ จะมีการเชื่อมต่อแบบ FWA เกิน 100 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในปี 2027 แตะระดับ 230 ล้านจุด

ในส่วนของ Internet of Thing (IoT) ตามรายงานระบุว่าในปี 2564 บรอดแบนด์ IoT (4G/5G) แซงหน้า 2G และ 3G กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมสัญญาณเซลลูลาร์แบบ IoT มากที่สุด หรือคิดเป็น 44% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด โดยเทคโนโลยีเชื่อมต่อ IoT (NB-IoT, Cat-M) เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ช่วงปี 2564 โดยมีการเชื่อมต่อแตะ 330 ล้านจุด และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะแซงหน้าเทคโนโลยี 2G/3G ภายในปี 2566

ตลาดไทยไดนามิกสูง

สำหรับตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งาน 5G โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 45 กิกะไบต์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 30% ต่อปี

“ตลาดประเทศไทยถือเป็นตลาดที่มีความไดนามิกสูง เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Tech Savvy ระดับต้น ๆ ของโลก”  อิกอร์ มอเรล ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าว

]]>
1391031
‘อีริคสัน’ คาดสิ้นปีผู้ใช้ ‘5G’ ไทยแตะ 5 ล้านราย ทั่วโลกทะลุ 500 ล้านราย https://positioningmag.com/1339935 Wed, 30 Jun 2021 10:54:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339935 เป็นประจำทุกปีที่ อีริคสัน (Ericsson) จะออกรายงาน Ericsson Mobility Report และในฉบับที่ 20 นี้ อีริคสันได้คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 2569 จะมีผู้ใช้ 5G แตะระดับ 3.5 พันล้านราย และจะครอบคลุมถึง 60% ของประชากร 5G ทั้งหมดเลยทีเดียว

จากการคาดการณ์ตามรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับที่ 20 ตอกย้ำให้เห็นว่า 5G จะกลายเป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการใช้เร็วที่สุดตลอดกาล โดยคาดยอดผู้สมัครใช้ 5G จะพุ่งขึ้นเกินกว่า 580 ล้านรายภายในสิ้นปี 2564 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ล้านรายต่อวัน และภายในสิ้นปี 2569 จะมีผู้ใช้ 5G แตะระดับ 3.5 พันล้านราย และจะครอบคลุมถึง 60% ของประชากร 5G ทั้งหมด

และตามรายงาน Ericsson ConsumerLab ฉบับล่าสุดได้คาดการณ์ว่า การสมัครใช้ 5G จะพุ่งเกิน 1 พันล้านราย เร็วกว่าไทม์ไลน์ของ 4G LTE ถึง 2 ปี โดยมีปัจจัยเบื้องหลังสำคัญ ได้แก่ ความมุ่งมั่นในการพัฒนา 5G ของจีน ตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ และความพร้อมใช้งานที่มาเร็วขึ้น ประกอบกับการวางจำหน่ายของอุปกรณ์ดีไวซ์ที่รองรับ 5G เพิ่มขึ้น ซึ่ง ณ เวลานี้มีการเปิดตัวหรือวางจำหน่ายสมาร์ทโฟนที่รองรับเครือข่าย 5G มากกว่า 300 รุ่นแล้ว

โดยคาดว่าภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีสัดส่วนผู้สมัครใช้ 5G มากที่สุด ถึงประมาณ 1.4 พันล้านราย ภายในปี 2569 ในขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือและกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับคาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้ 5G สูงสุดที่ 84% และ 73% ตามลำดับ

ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมีจำนวน มากกว่า 1.1 พันล้านราย ในขณะที่ยอดผู้ใช้งาน 5G ยังต่ำกว่าระดับ 2 ล้านราย อย่างไรก็ตาม คาดว่าการสมัครใช้ 5G จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยจะมียอดรวมพุ่งขึ้นถึง 400 ล้านราย ภายในปี 2569

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลกแตะ 39 กิกะไบต์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2569 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 36% ต่อปี ในขณะที่ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เฉลี่ยเติบโตต่อปีที่ 42% เพิ่มขึ้นถึง 39 เอกซะไบต์ (EB) ต่อเดือน อันเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้สมัครใช้ 4G และการเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย 5G

จากรายงาน Five Ways to a Better 5G พบว่า ในปี 2573 ตลาด 5G สำหรับผู้บริโภคทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 31 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยการให้บริการ 5G ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) จะมีมูลค่ารวมสูงถึง 3.7 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

ตามรายงาน Ericsson ConsumerLab ฉบับล่าสุด ตอกย้ำให้เห็นความตั้งใจของผู้บริโภคที่ต้องการอัปเกรดเป็น 5G ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแม้จะมีการระบาดของ COVID-19 สำหรับประเทศไทยในปีนี้มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 5 ล้านราย สามารถใช้ 5G ได้แล้ว นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีพฤติกรรมใหม่ ๆ จากการใช้ 5G ของผู้ใช้กลุ่มแรก ๆ โดยพวกเขา ใช้วลามากกว่า 1.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ไปกับแอป AR และเล่นเกมบนคลาวด์ ซึ่งมากกว่าผู้ใช้ 4G ประมาณ 1 ชั่วโมง ขณะที่ 57% ของผู้ใช้ 5G เริ่มสตรีมวิดีโอ HD หรือมีการใช้งานมากขึ้น โดย 14% ใช้ Wi-Fi น้อยลงหลังอัปเกรดเป็น 5G

ทั้งนี้ ผู้ใช้งาน 5G ในไทยระบุว่ายินดีจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้น 50% สำหรับใช้แพ็กเกจ 5G ที่รวมบริการดิจิทัลที่มีบทบาทสูงสำหรับธุรกิจเชิงพาณิชย์ ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่พบว่าชาวไทยยอมจ่ายเพิ่ม 30% เท่านั้น

]]>
1339935
ส่งสัญญาณนอกโลก! นาซ่า เลือก “Nokia” ลุยติดตั้งเครือข่ายมือถือบน “ดวงจันทร์” https://positioningmag.com/1302354 Tue, 20 Oct 2020 08:35:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302354 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่างโนเกีย (Nokia) เตรียมส่งสัญญาณนอกโลก หลังได้รับเลือกจากองค์การนาซ่า ให้ติดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บน “ดวงจันทร์” เป็นครั้งแรก

โดยการสร้างเครือข่ายมือมือบนดวงจันทร์ครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความพยายามขององค์การอวกาศสหรัฐฯ หรือ นาซ่า (NASA) ที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปบนดวงจันทร์อีกครั้งให้ได้ ภายในปี 2024 รวมทั้งการสร้างอาณานิคมของมนุษย์บนดวงจันทร์ในระยะยาว ภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า Artemis ซึ่งใช้งบประมาณสูงกว่า 370 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1 หมื่นล้านบาท) กระจายงานไปตามบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ อย่าง United Launch Alliance เเละ SpaceX 

โนเกีย ระบุว่า บริษัทจะเริ่มก่อสร้างและติดตั้งระบบสื่อสารบรอดแบนด์แบบไร้สายชุดแรกในอวกาศบนพื้นผิวของดวงจันทร์ ภายในปี 2022 นี้ ด้วยเงินลงทุนราว 14.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 400 ล้านบาท)โดยอุปกรณ์ของเครือข่ายที่จะนำไปใช้ จะมีออกเเบบให้เเข็งเเรงทนทานต่อสภาพเเวดล้อม เเละการลงจอดของยานอวกาศ รวมถึงมีขนาดเล็กกะทัดรัด มีน้ำหนักตามข้อกำหนดอย่างเข้มงวด

โดยโนเกีย โทรคมนาคมจากฟินเเลนด์ จะจับมือเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทออกเเบบยานอวกาศเอกชน Intuitive Machines ในรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ เพื่อจัดส่งอุปกรณ์สำหรับติดตั้งเครือข่ายการสื่อสารไปยังดวงจันทร์ จากนั้นเครือข่ายนี้ จะประมวลผลด้วยตัวเองเพื่อติดตั้งระบบการสื่อสารแบบ 4G LTE บนดวงจันทร์ เเละจะมีการอัพเกรดเป็น 5G ในที่สุด

สำหรับภารกิจสร้างเครือข่ายการสื่อสารชุดแรกบนดวงจันทร์ครั้งนี้ ทางโนเกียมองว่า จะเป็นประโยชน์กับภารกิจสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต ทั้งเรื่องการสื่อสารเเละส่งข้อมูลจำนวนมากกลับมายังโลก ระบบสั่งการเเละควบคุมจากระยะไกล ระบบนำทางเรียลไทม์ การควบคุมยานพาหนะที่ใช้สำรวจดวงจันทร์ รวมไปถึงการถ่ายทอดวิดีโอเเบบสตรีมมิ่งความคมชัดสูงจากดวงจันทร์ด้วย

 

ที่มา : Reuter , CNN

]]>
1302354
‘ดีแทค’ ขอไม่เดินตามเกม ‘5G’ เน้นฟังความต้องการลูกค้า พัฒนาบริการที่ ‘จับต้องได้’ https://positioningmag.com/1289900 Wed, 29 Jul 2020 12:55:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289900 หลายคนคงจะสัมผัสได้ว่าตลาดโทรคมนาคมไทยมองไปทางไหนก็พูดถึงแต่เรื่อง ‘5G’ ไม่ว่าจะค่าย ‘สีเขียว’ หรือค่าย ‘สีแดง’ แต่มีแค่เพียงค่าย ‘สีฟ้า’ อย่าง ‘ดีแทค’ (Dtac) เท่านั้น ที่ดูเหมือนจะ ‘เงียบ’ ไปสักหน่อยสำหรับเรื่องของ 5G และดังนั้น ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของดีแทค จึงออกมาไขข้อสงสัยถึง แผน 5G และกลยุทธ์ในครึ่งปีหลังว่าดีแทคได้เตรียมงัดอะไรมาสู้อีกบ้าง

5G ยังสำคัญ แต่ต้องรออีโคซิสเต็มส์ไทย

ในส่วนของ 5G นั้น ดีแทคจะเน้นไปที่ฝั่งของคอมเมอร์เชียลหรือกลุ่มอุตสาหกรรม ก่อน โดยได้เตรียมทดสอบ 5G บนคลื่น 26 GHz ที่ EEC ในไตรมาสที่ 3 นี้ โดยการทดสอบนี้จะเน้นไปที่การใช้กับกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ และให้บริการเน็ตไร้สายความเร็วสูงแบบ Fixed Broadband แม้จะล่าช้าจากแผนที่ต้องทดสอบในช่วงไตรมาส 2 เพราะ Covid-19

สำหรับ 5G ในฝั่งของคอนซูมเมอร์หรือผู้ใช้ทั่วไป ดีแทคได้เตรียมทดลอง 5G ในคลื่น 700 MHz ภายในไตรมาส 4 ของปี 2563 อย่างไรก็ตาม ดีแทคมองว่าอีโคซิสเต็มส์ในไทยยังไม่พร้อม ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเพราะ Covid-19 ส่งผลให้คาดการณ์ GDP อาจติดลบถึง 8% มีแรงงานที่เสี่ยงตกงานถึง 8.3 ล้านคน แน่นอนว่าต้องส่งผลต่อการจับจ่าย อย่าง ‘สมาร์ทโฟน’ ที่ควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 24 เดือน อาจลากยาวไปถึง 36 เดือน ยิ่งดีไวซ์ 5G ที่ราคายังสูงผู้บริโภคจึงไม่เปลี่ยน ดังนั้น สิ่งที่ดีแทคจะทำคือ เน้นที่ประสบการณ์ของลูกค้า

“ในมุมลูกค้า 5G ก็แค่อินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้น ถ้าเราสามารถตอบโจทย์ได้ด้วยสิ่งอื่นได้ 5G ก็ยังไม่จำเป็น ซึ่ง 5G ไม่ใช่เกมของปี 2020 แต่มันยาวกว่านั้น เป็นมาราธอน ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกเยอะ ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญ”

ทุ่ม 1 หมื่นล้าน เดินหน้าขยาย 4G

ตั้งแต่ล็อกดาวน์คนกลับต่างจังหวัดมากขึ้น แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นคนก็ยังไม่ได้กลับกรุงเทพฯ ทั้งหมด ส่งผลให้การใช้งานของลูกค้าในต่างจังหวัดเติบโตขึ้น 5 เท่า ส่วนพื้นที่การใช้งานในกรุงเทพฯ ก็กระจายไปแถบที่อยู่อาศัยมากขึ้น จากเดิมกระจุกอยู่ในย่านออฟฟิศ เนื่องจากการ Work from Home ส่วนปริมาณการใช้ดาต้าเพิ่มมากขึ้น 44% จากช่วงเวลาปกติ

ดังนั้น ดีแทคเตรียมวางงบ 8,000-10,000 ล้านบาท ในการขยายโครงข่าย 2300 MHz ให้ได้ 20,000 สถานี เพื่อให้ลูกค้ากว่า 76% ของดีแทคที่รับสัญญาณ สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ โดยปัจจุบัน ดีแทคเป็นผู้ให้บริการที่มียอดดาวน์โหลดสปีดสูงสุด และการทำให้สูงสุดทั่วประเทศเป็นสิ่งที่มองว่าสำคัญกว่า 5G

“เรามั่นใจว่าการลงทุนกับ 4G จะทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์จริง”

ลูกค้าลดจริง แต่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว

สิ้นไตรมาสที่ 2/63 ดีแทคมีฐานลูกค้าจำนวนทั้งสิ้น 18.8 ล้านราย ลดลง 835,000 ราย โดยจำนวนลูกค้าที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวและแรงงานต่างด้าว ซึ่งดีแทคเป็นเบอร์ 1 ในตลาด ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยคาดว่าจะหายไปถึง 80% แต่ดีแทคมั่นใจว่าการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวได้แน่นอน และมั่นใจว่าจะสามารถรักษาและเพิ่มยอดลูกค้าได้หากเข้าใจลูกค้ามากพอ โดยเชื่อว่า หากลูกค้ามีความสุข เขาจะดึงคนอื่นเข้ามาด้วย

ยุค Covid-19 ทุกอย่างต้องจับต้องได้

การจะทำให้ลูกค้ามีความสุข จะต้องเริ่มจากการนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงใจ ดังนั้น ดีแทคจะเน้นเรียนรู้พฤติกรรมเพื่อนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ โดยที่ผ่านมาดีแทคได้เก็บข้อมูลผู้ใช้ซึ่งพบว่ามีการใช้งานแอปพลิเคชันเติบโตขึ้น 2 เท่า การใช้งานผ่านเว็บไซต์เติบโตขึ้น 68% แสดงให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ ส่วนการใช้งานดีแทครีวอร์ดที่เกี่ยวกับช้อปปิ้งออนไลน์ก็เติบโตถึง 5.6 เท่า และมีการใช้งานจากแคมเปญ Save Street Food กว่า 1 แสนสิทธิ์

จะเห็นว่าผู้บริโภคเรียนรู้ที่จะใช้งานออนไลน์มากขึ้น ดีแทคจึงได้เพิ่มช่องทางต่าง ๆ ในการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น อาทิ ใช้ Facebook Live รวมถึง TikTok ในการนำเสนอสินค้าและบริการ มีการออกแบบแพ็กเกจเป็นรายสัปดาห์ เนื่องจากรายได้ที่ลดลงของลูกค้า มีการออกแบบแพ็กเกจสำหรับ Work from Home รวมถึงออกประกัน Covid-19

“เราฟังเสียงลูกค้าตลอด ทั้งความต้องการและการใช้งานที่สะท้อนออกมา ซึ่งเขาต้องการบริการพื้นฐานที่จับต้องได้ อย่างความพอใจของลูกค้าอาจจะแชร์ตัวเลขไม่ได้ แต่ยืนยันว่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะทั้งที่การใช้งานดาต้าเพิ่ม 44% แต่ความพอใจยังอยู่ในระดับเดิม ซึ่งเรามองว่าการฟังเสียงลูกค้าเป็นปัจจัยที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในไตรมาสก่อน ๆ และในอีก 2 ไตรมาสที่เหลือด้วย”

บริการที่ยืดหยุ่น มาจาการทำงานที่ยืดหยุ่น

ปัจจุบัน ดีแทคนั้นใช้รูปแบบการทำงานแบบ ‘ชัดเจน-ยืดหยุ่น-ชัดเจน’ (tight-loose-tight) โดยอนุญาตให้พนักงานกว่า 95% สลับกันเข้าออฟฟิศในแต่ละสัปดาห์หรือในวันที่จำเป็นเท่านั้น อีกทั้งยังนำระบบ automation มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพิ่มความยืดหยุ่น

“เราชัดเจนในเรื่องความคาดหวัง ยืดหยุ่นในวิธีการที่พนักงานใช้ในการบรรลุเป้าหมาย และชัดเจนในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ เราเชื่อว่าพนักงานนั้นมองหารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เนื่องจากการทำงานในลักษณะนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจ อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลและความพึงพอใจของพนักงาน”

]]>
1289900
จัดอันดับบริการโครงข่ายช่วง COVID-19 ผลชี้ AIS เล่นเกมดีสุด True ดูวิดีโอลื่นสุด และ Dtac ดาวน์โหลดเร็วสุด https://positioningmag.com/1277438 Fri, 08 May 2020 09:29:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277438 เหมือนเป็นธรรมเนียมปกติของวงการโทรคมนาคมที่ ‘Opensignal’ จะมาจัดจัดอันดับข้อมูลประสบการณ์ผู้บริโภคบนมือถือในการใช้งานเครือข่ายไร้สายของผู้ให้บริการของไทย 3 รายหลัก ได้แก่ AIS, TrueMove H และ Dtac โดยรายงานประจำเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น Opensignal ได้เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม หรือในช่วง COVID-19 จากอุปกรณ์กว่า 2,216,324 เครื่อง พร้อมจัด 7 รางวัล ที่ดีที่สุดในการให้บริการ

CHIANG MAI,THAILAND – May 11, 2019 : Man showing screen shot of Youtube on Oneplus 6, YouTube app on the screen, YouTube is the popular online video sharing website. – Image

AIS : กวาด 4 รางวัล ยืนหนึ่งเรื่องเกมและ 4G ครอบคลุมสุด

ประสบการณ์การเล่นเกม : AIS สามารถชนะคู่แข่งด้วยคะแนน 74.9 ตามด้วย DTAC 67.7 คะแนน ขณะที่ TrueMove H ได้ 64.6 คะแนน ทั้งนี้ AIS สามารถเอาชนะผู้ให้บริการรายอื่นได้ถึง 22 จังหวัด ได้คะแนนเสมอกับค่ายอื่น 5 จังหวัด

การใช้งานแอปพลิเคชันโทรด้วยเสียง : ส่วนนี้จะประเมินคุณภาพประสบการณ์จากบริการแบบ over-the-top (OTT) เช่น Facebook Messenger เป็นต้น โดย AIS นำมาด้วยคะแนน 79.3 ตามด้วย DTAC 76.5 คะแนน ส่วน TrueMove H ได้ 75.6 คะแนน แม้จะเป็นเบอร์ 3 แต่ถือว่ามีพัฒนาการดีที่สุด

การเข้าถึง 4G : โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้ 4G ชาวไทยสามารถเชื่อมต่อกับบริการ 4G ได้มากกว่า 90% หากไม่คำนึงถึงเครือข่ายที่ใช้อยู่ แต่เมื่อวัดตามผลสำรวจ AIS เป็นผู้นำกลุ่ม โดยมีคะแนน 94.9% ในขณะที่ DTAC ได้ 92.3% ตามเป็นอันดับสอง และ TrueMove H 91.6%

ความครอบคลุมของสัญญาณเครือข่าย 4G : AIS ยังได้รับรางวัลด้านความครอบคลุมของสัญญาณ 4G ครั้งแรกในประเทศไทยด้วยคะแนน 8.5 โดยมี TrueMove H ตามมาเป็นที่สองด้วยคะแนน 7.9 และ DTAC มาเป็นที่สามด้วยคะแนน 6.4

TRUE : ดูวิดีโอและอัพโหลดดีที่สุด

ประสบการณ์วิดีโอ : TrueMove H ได้รางวัลด้านนี้ด้วยคะแนน 62.2 ตามด้วย DTAC 60.5 คะแนน ส่วน AIS รั้งท้ายด้วยคะแนนต่ำกว่า 60 และเมื่อเทียบกับการวัดผลครั้งที่ผ่านมา TrueMoveH และ DTAC มีคะแนนเพิ่มขึ้น 9.4 และ 11.9 ตามลำดับ ส่วนของ AIS เพิ่มขึ้น 14.2 ทั้งนี้ TrueMove H สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ใน 9 จังหวัด และเสมอกับค่ายอื่นในอีก 17 จังหวัด โดยเสมอกับ AIS ใน 4 จังหวัด และเสมอกับ DTAC ใน 12

ความเร็วในการอัพโหลด : TrueMove H ยังคงเป็นผู้นำในด้านนี้ ผู้ใช้เห็นความเร็วเพิ่มขึ้นจากหกเดือนที่แล้วอย่างน้อย 19% ด้วยความเร็วในการอัพโหลดเฉลี่ยที่ 7.2 Mbps อย่างไรก็ตาม ยังไม่นับว่าเป็นการเพิ่มความเร็วในระดับที่มากที่สุด เพราะจากข้อมูลพบว่า DTAC สามารถเพิ่มความเร็วในการอัพโหลดได้มากที่สุดอย่างน้อย 30% เป็น 3.3 Mbps ครองเบอร์ 2 ส่วน AIS ก้าวกระโดดไปที่เกือบ 44% เป็น 5.8 Mbps

Dtac : ที่สุดความเร็วในการดาวน์โหลด

ความเร็วในการดาวน์โหลด : เป็นการแข่งขันที่ใกล้เคียงกันมากของทั้ง 3 ค่าย ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของ DTAC ที่กลายเป็นผู้นำการดาวน์โหลดผ่านเครือข่าย 4G โดยสามารถชนะได้ใน 5 จังหวัด ด้วยความเร็ว 11.4 Mbps เพิ่มขึ้นจากการวัดผลที่ผ่านมา 20% ตามด้วย AIS และ TrueMove H ที่ 10.3 Mbps และ 10 Mbps ตามลำดับ อย่างไรก็ตามถ้าเป็นระบบ 3G TrueMove H กลับนำมาเป็นที่หนึ่งด้วยความเร็ว 4.7 Mbps

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทยมีการพัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการที่เปิดตัววัดประสบการณ์ผู้ใช้ใหม่อีก 2 หมวดหมู่ คือ ประสบการณ์เกม และประสบการณ์ความครอบคลุมของ 4G ทำให้ TrueMove H ที่เคยครองตลาดชนะรางวัลมาตลอด เปลี่ยนไปเป็น AIS แทน ทั้งนี้ ประสบการณ์การใช้งานอาจขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่รับบริการด้วย ดังนั้นข้อมูลนี้ตรงใจผู้ใช้งานหรือไม่นั้นลองแชร์ความเห็นกันดูได้เลย

]]>
1277438
AIS โชว์รายได้ไตรมาส 2 โต 5.8% โกยกำไร 8,234 ล้านบาท “เน็ตบ้าน” พุ่งแรง https://positioningmag.com/1241443 Mon, 05 Aug 2019 23:05:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241443 สัญญาณผลประกอบการยังแรงต่อเนื่องสำหรับ AIS หลังไตรมาสแรกปี 2562 ทำรายได้รวม 43,499 ล้านบาท กำไรสุทธิ 7,570 ล้านบาท มาไตรมาส 2 ทำกำไรสุทธิอยู่ที่ 8,234 ล้านบาท รายได้รวมเติบโต 5.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า โตรมาส 2 ปีนี้ยังมีรายได้และกำไรเติบโตต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้ต่อเลขหมาย ARPU (Average Revenue per User) สูงขึ้นเป็น 263 บาทต่อเดือน และรายได้จากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโต 5.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ไตรมาส 2 เอไอเอสมีจำนวนลูกค้าโทรศัพท์มือถือสูงสุดในตลาดที่ 41.5 ล้านเลขหมาย ขณะที่มีสัดส่วนลูกค้าใช้ 4G สูงถึง 66% และมีการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นเป็น 11.5 GB ต่อเดือน จาก 8.9 GB ต่อเดือน ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ส่วนธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน AIS Fibre รายได้เติบโต 26% จากกลยุทธ์ Fixed Mobile Convergence ปัจจุบัน AIS Fibre มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 855,400 ราย ครอบคลุมการใช้งานในพื้นที่ 57 จังหวัดทั่วประเทศ โดยยังคงเป้าหมายจำนวนลูกค้า 1 ล้านรายในสิ้นปีนี้

ในไตรมาส 2 ปีนี้ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 8,234 ล้านบาท (ไม่รวมรายการพิเศษ) เพิ่มขึ้น 2.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 8.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา คิดเป็นกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น 4 ไตรมาสติดต่อกัน

คาดการณ์รายได้การให้บริการเติบโตทั้งปีเติบโต 4 – 6% และตั้งเป้าอัตรากำไร EBITDA ทั้งปีใกล้เคียงกับปีก่อนที่ประมาณ 42 – 44% และจัดสรรงบลงทุน 20,000 – 25,000 ล้านบาท ทั้งในโครงข่าย 4G และไฟเบอร์

]]>
1241443
AIS กำไรไตรมาสแรก 8,037 ล้านบาท ลูกค้า 4G กินสัดส่วน 50% https://positioningmag.com/1169777 Fri, 11 May 2018 15:05:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169777 ค่ายมือถือ AIS ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/2561 กำไรสุทธิ 8,037 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.5% จากปีก่อน และเพิ่มขึ้น 4.4% จากไตรมาสก่อน รายได้รวมเพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นผลมาจากทั้งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน AIS Fibre พร้อมต่อยอดธุรกิจดิจิทัลร่วมลงทุนใน Rabbit LINE Pay

เปิดรายได้ไตรมาสแรก

  • ไตรมาส 1/2561 AIS มีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 5.3% จากปีก่อน  โดยมีรายได้หลักจากการให้บริการเพิ่มขึ้น 6.5% จากปีก่อน และ 2.5% จากไตรมาสก่อน จากทั้งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน AIS Fibre
  • ผู้ใช้งานมือถือ 4G คิดเป็นสัดส่วน 50% ของฐานลูกค้าทั้งหมด 40.1 ล้านเลขหมาย
  • การใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 กิกะไบต์ต่อเดือน จาก 6.7 กิกะไบต์ต่อเดือนในไตรมาสก่อนหน้า

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสจำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าว่า จำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากความนิยมในการรับชมวิดีโอคอนเทนต์ผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง

สำหรับธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน AIS Fibre  เน้นการขยายฐานลูกค้าในพื้นที่ตัวเมือง 50 จังหวัด และมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 571,800 ราย มีรายได้จาก AIS Fibre เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 85% จากปีก่อน และ 6.0% จากไตรมาสก่อน

ส่วนบริการคอนเท้นท์ผ่านแอป AIS PLAY บนมือถือ และ AIS PLAYBOX ทางทีวี ผลจากการควบคุมต้นทุนและรายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.5% จากทั้งปีก่อนและ 4.4% จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 8,037 ล้านบาท

ในภาพรวมทั้งปี 2561 AIS ได้คงคาดการณ์การเติบโตของรายได้จากการให้บริการที่ 7-8 % และตั้งเป้าอัตรากำไร EBITDA ที่ 45-47% 

ปีนี้ เตรียมงบลงทุนมูลค่า 35,000–38,000 ล้านบาท พัฒนาโครงข่ายเพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น

ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา AIS ลงทุนร่วมกับ Rabbit LINE Pay ในสัดส่วน 33.33% หรือคิดเป็นมูลค่า788 ล้านบาท  เพื่อรองรับพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าผ่านแพลตฟอร์ม e-Money

นอกจากนี้ AIS ยังผนวกธุรกิจของซีเอส ล็อกอินโฟร์ เพื่อรองรับกับการขยายตัวของลูกค้าองค์กร รวมถึงยังได้ลงนามในสัญญาเช่าอุปกรณ์และสัญญาใช้บริการข้ามโครงข่ายบนคลื่น 2100 MHz กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) อย่างเป็นทางการ

ตั้ง “ยงสิทธิ์” ลูกหม้อ ดูลูกค้าองค์กร

AIS ได้แต่งตั้ง ‘ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล’ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กรเพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของธุรกิจ ทั้งในด้านการตลาด การขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่น รวมถึงการให้บริการ
ยงสิทธิ์ ถือเป็นลูกหม้อของกลุ่มชิน ทำงานอยู่ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือ Intouch มากกว่า 20 ปี ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และยังเป็นที่ปรึกษาและร่วมงานในบริษัทและโครงการใหญ่อื่นในช่วงที่ผ่านมา.

]]>
1169777
แจส ทิ้งทุ่น ป่วนตลาด 4G กระเพื่อมทั้งวงการ https://positioningmag.com/62841 Thu, 24 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62841
แจส เบี้ยวจ่ายใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ดับฝันผู้ให้บริการรายที่ 4 ดีแทค-เอไอเอส ลุ้นประมูลอีกครั้ง แต่จะไปต่อ ใครจะได้ร่วมวง ขึ้นอยู่กับ กสทช.จะเดินเกมรอบใหม่อย่างไร 
 
หลังจากที่รอลุ้นกันอยู่นาน ในที่สุด แจส โมบาย บรอดแบนด์ ก็ไม่เดินทางมาจ่ายค่าใบอนุญาตให้กับ กสทช. ตามข้อกำหนดของการประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ภายใน 90 วัน ซึ่งมีกำหนดเส้นตาย คือในวันที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 16.30 น.
 
นับตั้งแต่ประมูลได้มา พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ตั้งโต๊ะแถลงข่าว ถึง 2 ครั้ง แบบห่างกันแค่วันเดียว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า แจสไม่ได้มาเล่นๆ เพราะมีทั้งฐานลูกค้าจาก 3 BB และยังระบุถึงแหล่งเงินกู้ที่มาจากธนาคารกรุงเทพฯ 
 
แต่หลังจากนั้น แจส โมบายก็เงียบหายไป มีแต่กระแสข่าวจากสถาบันการเงินมาเป็นระลอก แต่ก็ไร้คำตอบจากแจส จนเมื่อมีการเคลื่อนไหวของแจสที่มีทั้งการจ่ายเงินปันผล และการประกาศซื้อหุ้นคืน รวมเป็นเงิน 6 พันล้านบาท นักวิเคราะห์ต่างก็ตีความกันไปคนละขั้ว มีทั้งเดินหน้า และถอดใจ 
 
จนคำตอบมาแน่ชัดเมื่อไร้เงาแจสเดินทางมาชำระเงินในเวลา 16.30 ของวันที่ 21 มีนาคม 2559  ซึ่งเป็นเส้นตายสุดท้าย โดยที่ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆ จากแจสเช่นเคย 
 
แต่การไม่มาชำระเงินของแจส ใช่ว่าจะจบลงง่ายๆ เพราะถือว่าสั่นสะเทือนวงการไม่น้อย กสทช. เองถูกมองว่าจัดการประมูลไม่รัดกุมมากพอ ในขณะที่การแข่งขันของผู้ให้บริการมือถือที่เคยลุ้นกันว่าจะมีเบอร์ 4 เข้ามาเขย่าตลาดก็ยังอยู่ในมือของ 3 รายเดิมต่อไป และที่ต้องลุ้นกันต่อไป คือ การนำคลื่นความถี่ 900 MHz ออกมาประมูลใหม่ 
 
ส่วนแจสเองต้องถูกปรับไปตามระเบียบ ถูกริบเงินค้ำประกันจำนวน 644 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในรูปของเช็กเงินสดทันที 
 
นอกจากนี้ เรื่องค่าเสียหายจากค่าเสียโอกาส ที่แจสต้องถูกปรับเป็นเงินอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งกสทช.ได้แต่งตั้งคณะทำงาน โดยมีอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย และตัวแทนจากกระทรวงการคลัง อัยการสูงสุดเข้ามาร่วมประเมินความเสียหาย รวมทั้งเรื่องของการที่ต้องถูกแบล็กลิสต์ไม่ให้เข้าประมูล และอาจต้องรวมถึงการถูกยึดใบอนุญาตอื่นๆ และอาจกลายเป็นคดีอาญา
 
แต่แจสได้ชี้แจงกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่แจสโมบายจะต้องถูกริบเงินประกันการประมูล 644 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากแจสโมบายมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขใดๆ ตามข้อ 5.2 ของหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 900 MHz  
 
สะท้อนว่า แจสคงไม่ยอมจ่ายเงินค่าเสียโอกาสเพิ่มให้กับ กสทช.ง่ายๆ เป็นอีกโจทย์ที่ กสทช.ต้องกลับไปขบคิดกันต่อว่าจะดำเนินการเอาผิดกับแจสอย่างไร
 
ความเงียบเชียบของแจส ทำเอาตลาดหลักทรัพยฯ ขึ้นป้ายห้ามซื้อขายหุ้น เพื่อให้แจสมาอธิบายสาเหตุไม่มาจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ในวันที่ 21 มีนาคม
 
แจสระบุถึงสาเหตุว่า ผู้สนใจร่วมลงทุนซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศจีน และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ของประเทศจีน ติดข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาในการขออนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จประมาณกลางเดือนเมษายน 2559  และ กสทช.ก็ไม่สามารถผ่อนผันเงื่อนไขของเวลาได้ จึงทำให้แจส โมบายไม่สามารถนำหนังสือค้ำประกันจำนวน 72,000 ล้านบาท มาให้กับสำนักงาน กสทช.ได้ทันตามกำหนดเวลาในวันที่ 21 มีนาคม
 
อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงขึ้นเครื่องหมาย SP ห้ามซื้อขายหุ้นแจสต่อไปอีก เนื่องจากแจสยังชี้แจงข้อมูลไม่ครบถ้วนว่า ทำไมแจสโมบายไม่ทำตามเงื่อนไขเพื่อให้ได้ใบอนุญาต มูลค่าหลักประกันที่อาจถูกริบ และค่าใช้จ่ายต่างๆ และความเสียหายอื่น ผลกระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน แต่ในที่สุดได้ให้ซื้อขายในวันถัดไป 
 
ขณะเดียวกัน ก็มีการตั้งข้อสังเกตถึงขั้นที่ว่า การเข้าประมูลของแจส และทิ้งไพ่หมอบ ถือเป็นเกมที่ลึกล้ำมาก อาจเป็นการสมคบคิดเพื่อให้เป็น “ปาหี่” ที่มีผู้ได้และเสียประโยชน์ชัดเจน โดยเฉพาะทรูที่ต้องจ่ายค่าคลื่นไปในราคาแพงเกินความเป็นจริง ส่วนแจสเองก็ไม่ต้องเสียอะไร เนื่องจากเงินส่วนต่างที่ได้จากราคาหุ้นในตลาดจากการเป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมา ก็มากเกินกว่าเงินประกันการประมูลไปแล้ว 
 
อย่างไรก็ตาม ที่ต้องจับตากันต่อไป คือ การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz รอบใหม่นี้ จะเกิดขึ้นได้เร็วแค่ไหน ภายใน 4 เดือนตามที่ กสทช.เคยกำหนดมาหรือไม่ ที่สำคัญ ราคาตั้งต้นในการประมูลรอบใหม่ ที่ล่าสุดที่ประชุม คณะกรรมการโทรคมนาคม หรือ กทค.ก็ได้สรุปเงื่อนไขสำคัญในการประมูลแล้วว่า จะต้องเริ่มต้นด้วยตัวเลข 75,654 ล้านบาท ตามที่แจสเคยประมูลได้ เพราะเป็นเงื่อนไขที่ทำไว้กับทรู ในการนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาต หากมีการประมูลใหม่ ราคาเริ่มต้นต้องไม่ต่ำกว่านี้ แต่ราคาตั้งต้นอาจจะลดลงได้ 3 ระดับ
 
นอกจากนี้ กติกาในการตัวเลขการวางหลักประกันปรับใหม่ให้เข้มงวดมากขึ้น โดยอยู่ในสัดส่วน 10%, 20% และ 30% ของราคาเริ่มต้น จากนั้นจะเปิดฟังความคิดเห็นสาธารณะอีกครั้ง จากนั้นคาดว่าจะการประมูลได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ 
 
เงื่อนไขดังกล่าว ก็ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าจะมีผู้เข้าประมูล หากดูท่าทีของดีแทค และเอไอเอส  
 
 
ดีแทคเสนอ ราคาตั้งต้น 16,080 ล้านบาท ห้ามทรูประมูล
 
ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค ได้ออกมาสนับสนุนให้ กสทช.ประมูลคลื่น 900 MHzชุดที่ 1 ใหม่ (Re-auction) ตามประกาศ กสทช. กฎการประมูลและเงื่อนไขการประมูลซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แต่ควรจำกัดไว้เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมการประมูลที่เหลืออยู่จากการประมูลคลื่น 900 MHzคราวก่อนเท่านั้น  
 
นอกจากนี้ ราคาขั้นต่ำ (Reserve Price) ของการประมูลคลื่น 900 MHzชุดที่ 1 ครั้งใหม่นี้ควรกำหนดที่ราคา 16,080 ล้านบาท เท่ากับการประมูลคลื่น 900 MHzคราวก่อน (ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลมีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ราย) โดยวิธีนี้ จะเป็นการประมูลแข่งขันที่จะเป็นการกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ 900 MHzชุดที่ 1 ที่แท้จริงและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และขอให้มีการทำประชาพิจารณ์ด้วย 
 
ส่วนเอไอเอส ก็แบ่งรับแบ่งสู้ โดยออกมาบอกว่าสนใจจะเข้าประมูล แต่ก็ต้องรอดูแนวทางของ กสทช.ที่จะพิจารณาออกมา ทั้งราคาประมูล และเงื่อนไขต่างๆ ว่าสอดคล้องกับการแข่งขันในตลาดหรือไม่ เพราะเอไอเอสก็ได้ลงทุนในการขยายเครือข่ายตามแนวทางที่ไม่มีคลื่น 900 MHz อยู่แล้ว จึงต้องดูว่าราคาตั้งต้นก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ 
 
ในเมื่อท่าทีของเอไอเอสและดีแทค ต่างก็ไม่เห็นด้วยกับราคาตั้งต้นประมูล ก็ต้องรอดูว่า กสทช.จะหาทางออกกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะหากไม่มีผู้สนใจประมูลก็ต้องเก็บคลื่นไว้ 1 ปี จึงจะนำออกมาประมูลได้ 
 
ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มองว่า จะมีการเปิดประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 MHz เพราะไม่เช่นนั้นทรูจะเป็นผู้ให้บริการมือถือเพียงรายเดียวที่มีคลื่นความถี่ 900 MHz ในมือ ซึ่งทรูเองจะลงทุนเต็มที่ในคลื่น 900 ที่ได้ใบอนุญาตมา 
 
 
ทีดีอาร์ไอเสนอราคาประมูลตั้งต้น 70,180 ล้านบาท
 
ทางด้านสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เสนอให้ประมูลใหม่ภายใน 2-3 เดือน เพราะความต้องการมี และทำให้มูลค่าไม่ตกลงมาก เนื่องจากผู้ประกอบการน่าจะยังเสนอราคาประมูลไม่ต่างจากเดิมมากนักแม้ไม่มีแจสก็ตาม 
 
ส่วนการตั้งราคาประมูลใหม่ หากเป็นราคาเดียวกับแจสชนะประมูลคือ 75,654 ล้านบาท มองแล้วไม่สมเหตุผล เพราะสูงกว่าผู้ประมูลรายอื่นที่เหลือทั้ง 3 รายเคยเสนอไว้ หาก กสทช. พยายามยึดถือราคาดังกล่าว ก็อาจมองได้ว่า กสทช. ไม่ต้องการให้มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นดังกล่าว ซึ่งจะมีผลนำไปสู่การผูกขาดบริการ 4G กสทช. 
 
ควรนำคลื่นมาประมูลใหม่โดยเริ่มที่ราคาสุดท้ายที่ผู้ประกอบการทุกรายยังรับได้คือ 70,180 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ประกอบการรายแรกที่ออกจากการประมูลเสนอไว้เป็นครั้งสุดท้าย และควรให้ทรูเข้าร่วมประมูลด้วย เพิ่มการแข่งขันในการประมูล และเป็นธรรมแก่ทรู 
 
นี่คือท่าทีของผู้เกี่ยวข้อง ดูแล้วยังเป็นโจทย์ใหญ่ของ กสทช.ต้องหาคำตอบว่าจะเดิมเกมเรื่องนี้อย่างไร 
 
 
สู้กัน 3 ก๊ก 3 ค่าย แบบเดิม
 
การโบกมืออำลาจาก 4G ของแจส ส่งผลให้การแข่งขันจะคงมีผู้เล่น 3 รายเดิม เอไอเอส ดีแทค และทรู เป็น 3 ก๊กมือถือที่ต้องห้ำหั่นกันต่อไป  
 
แม้ราคาหุ้นสื่อสาร 3 ราย จะขยับสูงขึ้นรับกับการไม่มีคู่แข่งรายที่ 4 ในตลาด แต่การแข่งขันเพื่อช่วงชิงความเป็นหนึ่งของทั้ง 3 ค่าย ก็ยังต้องสู้กันยิบตา และ “ลุ้น” กันชนิดตาไม่กะพริบ 
 
เนื่องจากค่ายทรูนั้น หมายมั่นปั้นมือจากการยอมทุ่มประมูลชิง “คลื่นความถี่” ในมือมากที่สุด เพราะมองว่า จะเป็น “แต้มต่อ” สำคัญที่จะทำให้ทรูก้าวจากเป็นเบอร์ 3 ขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่น 900 MHz ที่จะทำให้ทรูได้ฐานลูกค้า 2G ที่ใช้คลื่น 900 MHz ของเอไอเอสมาอยู่ในมือจะเป็น “สปริงบอร์ด” ที่ทำให้ทรูได้กวาดต้อนลูกค้าพรีเพดมาไว้ในมือ โอกาสที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดก็จะมีมากขึ้น  
 
ศุภชัย ซีอีโอ ทรู บอกว่า ก่อนหน้านี้ แม้ว่าทรูจะใช้กลยุทธ์การตลาดเข้มข้นแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถช่วงชิงลูกค้าจำนวนมากๆ ได้ เพราะขีดจำกัดเรื่องคลื่นความถี่ ดังนั้นเมื่อทรูมีคลื่นความถี่มากที่สุด มีคลื่นความถี่ 850 MHz 900 MHz 1800 MHz และ 2100 MHz ครอบคลุมมากที่สุด จะเป็นอาวุธสำคัญที่ทำให้ทรูเพิ่มฐานลูกค้าได้ไม่มีขีดจำกัด 
 
แคมเปญ ชวนลูกค้าย้ายค่ายก็เลยซัดกันสนั่น นำโดยค่ายเอไอเอส หลังจากตัดสินใจยกธงขาวไม่ประมูลคลื่น 900 MHz ต่อ ปรับกลยุทธ์นำเงินมาขยายเครือข่ายที่มีอยู่ควบคู่ไปกับแคมเปญแจกเครื่อง เพื่อจูงใจให้ลูกค้ามาเปลี่ยนจาก 2G มาเป็น 3G และ 4G  ผ่านเครือข่ายร้านค้า และ อบต. เป็นจุดแจกจ่ายเครื่อง เพื่อกวาดต้อนให้ได้มากที่สุด ทรูจะมาจ่ายค่าใบอนุญาต และจะมีผลให้ซิมดับลง 
 
ส่วนค่ายทรู หลังจากจัดการเงินกู้ และแบงก์การันตีมาจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น900 MHz ได้ ก็รีบออกแคมเปญ ให้ลูกค้าเติมเงินแล้วแจกเครื่องฟรี รูปแบบคล้ายกัน โดยที่ทรูใช้เครือข่ายร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเป็นช่องทางสำคัญในการกวาดต้อนให้ลูกค้าย้ายค่ายมาใช้ทรูมูฟเอช    
 
เมื่อต่างฝ่ายต่างต้องการรวบรัดให้ลูกค้าย้ายค่ายมาใช้ของตัวเอง ทั้งใต้ดินและบนดิน จึงนำไปสู่การฟ้องร้องระหว่างกัน รวมทั้งผลักดันโปรโมชัน “เติมเงินแลกเครื่องฟรี” ของทั้งคู่ ที่ยังคงเดินหน้าอย่างเข้มข้น กับการโกยลูกค้า2G ใช้คลื่น 900 จำนวน 4 แสนเลขหมาย และลูกค้าของเอไอเอสที่โรมมิ่งใช้คลื่น 900 MHz อีก 7.6 ล้านเลขหมาย ให้ได้ก่อนวันที่ 14 เมษายน 2559 เป็นเส้นตายของเอไอเอส หลังจากได้คุ้มครองชั่วคราวจากศาลปกครองต่อไปอีก 1 เดือน 
 
 
เอไอเอส-ทรู จัดงานใหญ่ชน
 
ในขณะเดียวกัน ทั้งคู่กำลังเดินเกมสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ เพื่อชิงความเป็นผู้นำ 4G  โดยทั้งทรู และเอไอเอส ก็พร้อมกันจัดงานใหญ่ขึ้นในวันและเวลาเดียวกัน คือ ช่วงบ่ายของวันที่ 23 มีนาคม 2559 สถานที่ก็ยังใกล้กัน
 
ทรูใช้ชื่องานว่า “The Leader of 4G ดีที่สุด เพื่อชีวิตที่สุดกว่า” ในการเปิดตัว ”แคมเปญ 4G Plus…รวมพลังคลื่นมากที่สุด เพื่อเติมเต็ม Digital Lifestyle ที่ดีที่สุด โดยมีศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอ มาเป็นประธานจัดงาน ถือเป็นบิ๊กอีเวนต์ของทรู เพราะเปิดแพ็กเกจใหม่ 4G หลังจากปล่อยให้คู่แข่ง 2 รายนำร่อง พร้อมกับเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ H-Man ที่มี ณเดชน์ คูกิมิยะ แบรนด์แอมบาสเดอร์ร่วมแสดง สะท้อนความแรงของเครือข่ายที่มีคลื่นในมือมากที่สุด
 
ขณะที่เอไอเอส ในฐานะของเบอร์ 1 ก็ไม่ยอมน้อยหน้า จัดแถลงข่าวใหญ่ โดยมี สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ซีอีโอ มาร่วมพร้อมกับผู้บริหารของหัวเว่ย เพื่อประกาศร่วมมือระหว่างเอไอเอส และหัวเว่ย ภายใต้ชื่องาน  World’s First  Innovative Technology Network เพื่อแสดงถึงศักยภาพพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า 
 
ผศ.เสริมยศ ให้ความเห็นว่า โอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 รายนั้น จะได้เห็นการแบไต๋ของแต่ละแบรนด์ออกมา การแข่งขันจะ Aggressive มากขึ้น เห็นได้จากกรณีวันที่มีเหตุการณ์ซิมดับเกิดขึ้น ได้เห็นพฤติกรรมของแบรนด์ การแสดงออกของแบรนด์ จะกระทบถึงวิธีคิดของผู้ประกอบการ แบรนด์หนึ่งได้กลายเป็นแบรนด์ใจดี อีกแบรนด์หนึ่งกลายเป็นแบรนด์ขายของไป แต่ต้องมาดูหลังจากนี้ที่มีการประมูลอีกรอบว่าจะออกมาเป็นอย่างไร แต่คงดุเดือดมากขึ้น

]]>
62841
คนไทยใช้ 4G แล้ว 65% เข้าใจถึง 91% https://positioningmag.com/62804 Mon, 21 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62804
Marketbuzzz บริษัทวิจัยทางการตลาดในเครือของ Buzzebees ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคบนฐานข้อมูลของบัซซี่บีส์ ในหัวข้อ “ประเทศไทยเข้าถึง 4G แล้ว?” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา 
 
โดยสำรวจคนไทยทั้งชายและหญิง รวมจำนวน 2,000 คน ในช่วงอายุ 15 – 65 ปี โดยแบ่งสัดส่วนเป็นคนกรุงเทพฯ 32% และต่างจังหวัด 68% 
 
พบว่าคนไทยมีความเข้าใจรับรู้เรื่อง 4G สูงถึง 91% โดยสัดส่วน 70% ของผู้เข้าร่วมสำรวจ 2,000 คน เข้าใจว่า 4G ให้ความเร็วข้อมูลแบบไร้สายเพื่อความคล่องตัว, 57% ดาวน์โหลดข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น, 53% อัพเกรดเครือข่ายมือถือเพื่อใช้มีเดียออนไลน์ เช่น เพลง และวิดีโอ ได้รวดเร็วขึ้น และ 45% เข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตไร้สายจะมีความเร็วเทียบเท่าระดับบรอดแบนด์ 
 
ซึ่งสรุปได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่า 4G ช่วยให้การติดต่อบนมือถือรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงความเร็วในการรับชมวิดีโอ การดาวน์โหลด หรือการอัพโหลดก็ตาม
 
จากการสำรวจของ Marketbuzzz ครั้งนี้ พบว่า คนไทยได้ย้ายมาใช้บริการระบบ 4G แล้วสูงถึง 65% ซึ่งคนส่วนใหญ่ในกลุ่มดังกล่าวนี้ ด้วยสัดส่วน 70% เป็นผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนอยู่แล้วและมีค่าใช้จ่ายมือถือรายเดือนสูงกว่า 400 บาท/เดือน ถือเป็นกลุ่มที่ปรับเปลี่ยนมาใช้บริการ 4G อย่างรวดเร็วมากกว่ากลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ กลุ่มนี้ยังมีอัตราการใช้งานบนวิดีโอคอล โซเซียลมีเดีย บริการแผนที่ และบริการซื้อขายออนไลน์ สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อีกด้วย และด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงมีผลต่อการตัดสินใจให้ย้ายมาใช้บริการ 4G อย่างรวดเร็ว 
 
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีเหตุผลที่ตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้บริการ 4G แตกต่างกันไป ประกอบด้วย 57% อินเทอร์เน็ตเร็วขึ้นเพื่อใช้ดาวน์โหลด, 50% พูดคุยผ่านโซเซียลมีเดียได้ไวขึ้น, 42% อินเทอร์เน็ตเร็วขึ้นเพื่อใช้อัพโหลด, 36% รับชมและฟังมีเดียออนไลน์ เช่น เพลง และวิดีโอได้ไวขึ้น, 29% เครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ, 24% วิดีโอคอลมีคุณภาพสูงขึ้น และ 23% อัพเกรดเพราะอัตราค่าใช้จ่ายรายเดือนเท่าเดิม 
 
จากผลการวิจัยรายงานว่า 75% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เปลี่ยนมาใช้บริการ 4G มีความพึงพอใจกับบริการ โดยผลการศึกษาของ Marketbuzzz แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้บริการ 22% บอกว่าบริการ 4G ดีมากๆ หากเทียบกับบริการก่อนหน้านี้ และอีก 50% บอกว่าดี นอกจากนี้อีก 80% ของผู้ที่ยังไม่ได้ใช้บริการ 4G ตั้งใจว่าจะอัพเกรดเป็น 4G ภายในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้ 
 

]]>
62804