อย่างไรก็ตาม หุ้นของ Nokia ก็ร่วงลง 8% หลังจากบริษัทได้รายงานกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 2/2024 ที่ลดลงมากถึง 32% เหลือ 423 ล้านยูโร ซึ่งลดลงจากปีก่อนที่ทำกำไร 619 ล้านยูโร หรือลดลงเกือบ 1 ใน 3 โดยปัจจัยที่ทำให้กำไรของ Nokia ลดลงเนื่องมาจากความต้องการอุปกรณ์ 5G ที่ลดลง โดยยอดขายสุทธิของบริษัท ลดลง 18% เหลือ 4.47 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นระดับ ต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2015
“ผลกระทบที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อปีที่แล้วเราเห็นถึงจุดสูงสุดของการใช้งาน 5G อย่างรวดเร็วในอินเดีย โดยอินเดียคิดเป็น 3 ใน 4 ของการลดลง” Pekka Lundmark ซีอีโอของ Nokia กล่าว
โดยภาพรวมของตลาดจะยังคง ท้าทาย เนื่องจากผู้ให้บริการยังคงระมัดระวังในการลงทุนภาคส่วนเครือข่ายมือถือ แต่ Nokia คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมจะ มีเสถียรภาพ และ ยอดขายจะเติบโตขึ้น อย่างมีนัยสำคัญในช่วง ครึ่งหลังของปีนี้ โดยอิงจากปริมาณคำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นในไตรมาสล่าสุด
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมุ่งเป้าผลการดำเนินงานทั้งปีให้ใกล้เคียงกับคาดการณ์กำไรจากการดำเนินงาน ซึ่งอยู่ที่ 2.3-2.9 พันล้านยูโร
“แม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่การฟื้นตัวของยอดขายกลับเกิดขึ้นช้ากว่าที่เราคาดไว้เล็กน้อย แม้จะเป็นเช่นนี้ แต่เราก็ยังคงเดินหน้าอย่างมั่นคงเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งปี โดยได้รับการสนับสนุนจากการดำเนินการอย่างรวดเร็วของเราในเรื่องต้นทุน”
ทั้งนี้ Nokia ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการสูญเสียสัญญาหลักในอเมริกาเหนือเมื่อปลายปีที่แล้ว เมื่อบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง AT&T เลือก Ericsson เป็นซัพพลายเออร์เพื่อสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมที่เรียกว่า ORAN เท่านั้น
บริษัทสัญชาติฟินแลนด์และคู่แข่งสัญชาติสวีเดนอย่าง Ericsson ได้เริ่มดำเนินโครงการลดต้นทุนอย่างหนักท่ามกลางการต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการลดค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนตุลาคม Nokia ประกาศว่าจะเลิกจ้างพนักงานมากถึง 14,000 คน หลังจากรายได้ในไตรมาสที่ 3/2023 ลดลง โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนรวมลงระหว่าง 800-1,200 ล้านยูโร ภายในปี 2026 โดยปัจจุบันบริษัทได้ลดต้นทุนลงแล้วประมาณ 400 ล้านยูโร
]]>เยอรมนี จะเลิกใช้ส่วนประกอบที่ผลิตโดย Huawei และ ZTE ของจีนจากเครือข่ายไร้สาย 5G ในอีก 5 ปีข้างหน้าโดยผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรวมถึง Vodafone, Deutsche Telekom และ Telefonica ได้ตกลงที่จะ ถอดส่วนประกอบออกจากเครือข่าย 5G โดยภายในสิ้นปี 2029 ส่วนประกอบเหล่านี้จะต้องถูกกําจัดออกจากเครือข่ายการเข้าถึงและการขนส่ง
“ด้วยวิธีนี้ เรากําลังปกป้องระบบประสาทส่วนกลางของเยอรมนีในฐานะที่ตั้งธุรกิจ และเรากําลังปกป้องการสื่อสารของพลเมือง บริษัท และรัฐ เราต้องลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการพึ่งพาด้านเดียวซึ่งแตกต่างจากในอดีต” แนนซี่ เฟเซอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเยอรมนี กล่าว
ในแถลงการณ์เดียวกัน รัฐบาลเยอรมันเน้นย้ำถึงความสําคัญของ โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่ปลอดภัยและยืดหยุ่น เนื่องจาก อันตรายของการก่อวินาศกรรมและการจารกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงช่องโหว่ดังกล่าว จึงต้องพึ่งพา ผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ตาม Huawei ออกแถลงการณ์ว่า ไม่มีหลักฐานหรือสถานการณ์เฉพาะ ที่ยืนยันว่าเทคโนโลยีของตนมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และบริษัทร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงและความก้าวหน้าของความปลอดภัยทางไซเบอร์ และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายมือถือและการทําให้เป็นดิจิทัลในเยอรมนี
ขณะที่ สถานทูตจีนในเยอรมนี ให้คํามั่นว่า จะใช้มาตรการที่จําเป็นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทจีน และเตือนว่า การเคลื่อนไหวของเยอรมนีกำลัง ทําลายความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างทั้งสองฝ่าย และจะส่งผลกระทบต่อความร่วมมือในอนาคตระหว่างจีนและยุโรปในสาขาที่เกี่ยวข้องด้วย
ปัจจุบันจีนถือเป็น คู่ค้ารายใหญ่ที่สุด แต่ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศเริ่มตึงเครียดยิ่งขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่รัฐบาลเยอรมนีได้ปิดกั้นการขายบริษัทในเครือโฟล์คสวาเกนให้กับบริษัทรัฐของจีนด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ ซึ่งทําให้เกิดการตําหนิจากปักกิ่ง ขณะที่ตอนนี้จีนยังอยู่ในช่วงพิพาททางการค้ากับสหภาพยุโรป ซึ่งขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้าของจีน
ก่อนหน้าที่เยอรมนีลจะแบน Huawei ในเครือข่าย 5G ก็มีสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และญี่ปุ่นสั่งห้ามบริษัทสร้างเครือข่าย 5G ของตน เนื่องจาก ความกลัวว่ารัฐบาลจีนอาจใช้ Huawei เพื่อสอดแนมพลเมืองของตน นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังวาง Huawei ไว้ในรายการจํากัดการค้าในปี 2019 ซึ่งทําให้บริษัทได้รับชิปเซมิคอนดัก เตอร์จากซัพพลายเออร์ชาวอเมริกันได้ยากขึ้น ข้อจํากัดเหล่านั้นถูกเข้มงวดขึ้นอีกเมื่อต้นปีนี้
ตามรายงานประจําปีของ Huawei ทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาคิดเป็น 21% ของรายได้ในปีที่แล้ว
]]>อีริคสัน บริษัทซัพพลายเออร์อุปกรณ์โทรคมนาคม ได้ประเมินว่า ปี 2024 จะเป็นปีที่ท้าทาย เนื่องจากยอดขายอุปกรณ์ 5G ซึ่งเป็น แหล่งรายได้หลัก เริ่มชะลอตัวลงในตลาดอเมริกาเหนือ ขณะที่อินเดียซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตสูง ก็อาจชะลอตัวเช่นกัน
โดยหลังจากที่บริษัทได้ลดพนักงานหลายราว 1,400 คนในปีที่แล้ว ล่าสุด บริษัทได้เปิดเผยว่า กำลัง เลิกจ้างพนักงาน 1,200 คน ในสวีเดน หลังจากเคยบอกไปเมื่อช่วงเดือนมกราคมว่า บริษัทอาจพิจารณาการลดต้นทุนเพิ่มเติมในปีนี้ รวมถึงการเลิกจ้างพนักงาน แต่ไม่ได้ระบุตัวเลขที่เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม การเลิกจ้างพนักงานในครั้งนี้ บริษัทไม่ได้ระบุว่าจะช่วยลดต้นทุนให้บริษัทเป็นเงินเท่าไหร่
“นี่ไม่ใช่ครั้งแรก และมันจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย โดยอาจมีการเลิกจ้างเพิ่มเติมในปลายปีนี้ และอาจลากยาวไปถึงปี 2025 เนื่องจากความท้าทายในตลาดโครงสร้างพื้นฐานมือถือ” เปาโล เพสคาตอเร นักวิเคราะห์จาก PP Foresight กล่าว
โดยทางอีริคสันมองว่า ปีนี้เป็นปีที่ท้าทายของตลาดเครือข่ายมือถือ โดยเห็นปริมาณการหดตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากลูกค้ายังคงลงทุนอย่างระมัดระวัง ขณะที่ เปาโล เพสคาตอเร เสริมว่า 5G ไม่ใช่อะไรที่จะประสบความสำเร็จแบบเหนือการคาดหวัง แต่เป็นอะไรที่เติบโตช้ามาก
ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2023 อีริคสันมีพนักงานเกือบ 100,000 คน โดยผลประกอบการในไตรมาสที่ 4/2023 ของอีริคสัน ร่วงลงเหลือ 7.19 หมื่นล้านโครนาสวีเดน ส่วนกำไรจากการดำเนินงาน ก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ (EBIT) ซึ่งไม่รวมค่าธรรมเนียมการปรับโครงสร้าง ลดลงมาอยู่ที่ 7.37 พันล้านโครนา จาก 8.08 พันล้านโครนาเมื่อเทียบรายปี แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ในผลสำรวจของ LSEG คาดไว้ที่ 6.92 พันล้านโครนา
แน่นอนว่าอีริคสันไม่ใช่บริษัทซัพพลายเออร์อุปกรณ์โทรคมนาคมเจ้าเดียวที่ลดพนักงาน แต่ปีที่ผ่านมา โนเกีย (Nokia) ที่ปลดพนักงานไปกว่า 14,000 คน เหตุจากผลประกอบการไตรมาส 3 ดิ่ง ยอดขายลดลง 20% เหลือ 4.98 พันล้านเหรียญยูโร ขณะที่กำไรลดลงถึง 69% เหลือเพียง 133 ล้านเหรียญยูโรเท่านั้น
]]>จากประเด็นในโลกโซเชียลฯ ว่าหลังจากที่ตลาดโทรคมนาคมเหลือผู้เล่นหลัก 2 ราย ทำให้ราคาค่าบริการสูงขึ้นสวนทางกับคุณภาพหรือไม่ ทาง สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS อธิบายว่า หากเทียบคุณภาพกับราคา ตลาดไทยถือว่า ถูกกว่าหลายประเทศ เพียงแต่ในช่วง 2-3 ปีก่อนมีการแข่งขัน ผิดปกติ เพราะมีการแข่งขันเพื่อขยับจากเบอร์ 3 ขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ซึ่งผู้บริโภคอาจจะเคยชิน แต่ปัจจุบันตลาดกลับไปสู่ ราคาที่สมเหตุสมผล นอกจากนี้ ตลาดไทยมี กสทช. ควบคุมราคาอยู่แล้ว ซึ่งราคาในปัจจุบันยังถือว่า ต่ำกว่าที่ กสทช. กำหนด
“การแข่งขันยังมีเพราะเราก็ไม่ยอมอยู่แล้ว ตอนนี้สงครามราคาก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ตอนนี้มันถูกปรับมาสู่ภาวะการตลาด เพราะเรามีการลงทุนปีละหลายหมื่นล้านบาท ตอนนี้ต้นทุนเรื่องค่าไฟต่าง ๆ ก็สูงขึ้น” สมชัย อธิบาย
ในส่วนของเรื่องคุณภาพ Network สมชัยก็ย้ำว่า ไม่เกี่ยวกับที่เหลือผู้เล่น 2 ราย แต่เป็นหน้าที่ของเอไอเอสที่จะทำให้ดีขึ้น โดยนอกจากการลงทุนปีละหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ล่าสุด เอไอเอสได้ร่วมกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT นำคลื่น 700 MHz จำนวน จำนวน 5 MHz มาเสริมทำให้เอไอเอสมีคลื่น 700 MHz รวม 20 MHz ก็จะยิ่งทำให้เน็ตเวิร์กกว้างขึ้น ทะลุทะลวงมากขึ้น
“การที่ได้คลื่น 700 MHz มาอีก 5 MHz จะช่วยให้สัญญาณเราดีขึ้น 30%” สมชัย ย้ำ
นอกจากนี้ เอไอเอสเปิดตัวบริการ 5G Living Network ที่เป็นบริการ Network on Demand ให้ผู้ใช้สามารถเลือกความเร็ว เลือกเวลา และเลือกสถานที่ที่จะอัปสปีดความเร็วของสัญญาณได้ ซึ่งจะมีค่าบริการเพิ่มเติม และใช้ได้ 3 ชั่วโมง โดยจะเปิดให้ใช้บริการในช่วงต้นเดือนหน้า
ในส่วนของดีลระหว่างเอไอเอสกับ 3BB ที่ยังไม่จบนั้น สมชัย เชื่อว่า ไม่ผูกขาด เพราะในตลาด อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ยังมีผู้เล่นรายใหญ่อีกหลายราย อาทิ ทรู และ ToT อีกทั้งธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ยัง ไม่ต้องมีคลื่นความถี่ ดังนั้น สามารถมีผู้เล่นใหม่เข้ามาได้ตลอด ซึ่งปัจจุบันตลาดก็มีผู้เล่นรายย่อยหลายร้อยราย
ทั้งนี้ เอไอเอสเชื่อว่าหากควบรวมกับ 3BB สำเร็จจะทำให้บริการครอบคลุมกว่า 13 ล้านครัวเรือน ล่าสุด เอไอเอสได้เปิดตัวเทคโนโลยีล่าสุด WiFi 7 รายแรกในไทย โดยร่วมกับ TP-Link ที่มาพร้อมเราเตอร์มาตรฐาน WiFi 7 ในการรองรับดีไวซ์ Device ให้เชื่อมต่อได้ ลดปัญหาเกี่ยวกับช่องสัญญาณที่แออัด ทำให้ใช้งานได้ไหลลื่น รองรับการ สตรีมแบบวิดีโอแบบ 8K การใช้งาน VR ที่ตอบโจทย์ทุกคนในบ้านได้อย่างครบถ้วน
สำหรับทิศทางของเอไอเอสยังคงอยู่บนเส้นทางการเป็น องค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co พร้อมยึดหลัก พาย 3 ชิ้น หรือ ECOSYSTEM ECONOMY โดยเอไอเอสยังคง 1. ลงทุนในอินฟราสตรักเจอร์พร้อมพัฒนาสู่โครงข่ายเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ โดยจะมีบริการใหม่ ๆ เช่น 5G Living Network, WiFi 7, Enterprise Platform – CPaaS (Communication Platform as a Service) และ AIS Paragon ที่เชื่อมต่อเครือข่าย 5G, Fibre, Edge Computing, Cloud, และ Software Application
2. Cross Industry Collaboration เพราะเอไอเอสไม่อยากโตคนเดียว ดังนั้น ด้วยฐานลูกค้ากว่า 44 ล้านเลขหมาย จะช่วยให้พาร์ตเนอร์สามารถเติบโตไปพร้อมกับเอไอเอส อาทิ ความร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย เชื่อมโยงร้านค้าถุงเงินรวมกว่า 1.8 ล้านร้านค้า และจับมือห้างสรรพสินค้าชั้นนำ รวมถึงร้านค้าพาร์ตเนอร์ทั่วประเทศกว่า 30,000 แห่ง ให้นำ AIS Point ใช้แทนเงินสด ล่าสุด สามารถนำ Point ของพันธมิตรเอไอเอสมาเปลี่ยนเป็น AIS Point ได้ด้วย
ในส่วนขององค์กร ได้ร่วมกับ ZTE เพื่อเตรียมเปิดตัวบริการ Cloud PC for Enterprise ให้องค์กรใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านคลาวด์ในรูปแบบ Desktop as a Service (DaaS) และถือเป็น ครั้งแรกในอาเซียน ที่พร้อมให้บริการ Microsoft Teams Phone ให้องค์กรและพนักงานสามารถโทรออกไปยังเบอร์ภายนอกและรับสายได้ผ่าน Microsoft Teams รวมไปถึงการนำสุดยอดนวัตกรรม genAI ช่วยยกระดับการทำงานของ Microsoft 365 Copilot for Enterprise
สุดท้าย 3. ความยั่งยืน เพราะองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการดูแล เศรษฐกิจ ผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กัน ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ทำหลักสูตร AIS อุ่นใจ CYBER ตั้งแต่ปี 2009 ในด้านสิ่งแวดล้อมก็มุ่งสร้าง Green Network ผ่านการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรม อาทิ การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในสถานีฐานเพื่อบริหารจัดการพลังงานให้, การเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนจากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และการรณรงค์แยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste
“เราไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนเลย เรายังยึดมั่นในพาย 3 ชิ้น เราอยากทำ ECOSYSTEM ECONOMY หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เพราะเราเชื่อว่าพาย 3 ชิ้นนี้จะนำไปสู่ Sustainable Nation เพื่ออนาคตไทยอย่างยั่งยืน” สมชัย ทิ้งท้าย
]]>เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จักกับ โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ (UAV : Unmanned Aerial Vehicle) และน่าจะรู้ถึงข้อจำกัดที่โดรนต้องมีคนบังคับ แต่ล่าสุดข้อจำกัดดังกล่าวได้ถูกปลดล็อคแล้ว พร้อมยกระดับความสามารถไปอีกขั้นสู่ 5G AI Autonomous Drone ที่เกิดจากความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่าง AIS 5G กับกลุ่ม ปตท. ผ่านการทำงานกับบริษัท ARV ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของไทย
หลายคนน่าจะรู้จักกับ วังจันทร์วัลเลย์ ฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ที่เป็นพื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอากาศยานไร้คนขับ, ยานยนต์อัตโนมัติ, นวัตกรรมพลังงาน และด้านคลื่นความถี่พิเศษ
โดยนับตั้งแต่ปี 2561 เอไอเอส ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ในการนำ 5G และดิจิตัลแพลตฟอร์มมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ และล่าสุด AIS ได้ร่วมกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. พัฒนา 5G AI Autonomous Drone System โดยใช้ชื่อว่า Horrus ที่พัฒนาโดยคนไทยทั้งหมด
“เทคโนโลยี 5G ไม่ใช่ประโยชน์พื้นฐานของผู้บริโภคเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมมาก 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และเป็นตัวเชื่อมของทุกเทคโนโลยีบนโลกนี้ โดยในพื้นที่โซนภาคตะวันออกซึ่งครอบคลุมพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี (EEC) รวมถึงพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ AIS 5G ได้ ครอบคลุมแล้ว 100% และครอบคลุมประเทศไทยแล้ว 87%” ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าว
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย เล่าว่า โจทย์ของการพัฒนา Horrus คือ การบินได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้มนุษย์มาบังคับ แต่การจะทำได้นั้นจำเป็นต้องใช้ เซลลูลาร์โดรน (Cellular Drone) เนื่องจากต้องใช้ แบนด์วิดท์ที่สูง และ ความหน่วงต่ำ เพื่อให้ตอบสนองแบบเรียลไทม์ มีระยะครอบคลุมเส้นทางการบินให้มีความเสถียรและปลอดภัย สามารถรับ-ส่งต่อข้อมูลทั้งภาพ เสียง และวิดีโอ กลับมายังศูนย์ควบคุมได้แบบรวดเร็วและเรียลไทม์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยี 5G ถูกนำเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโดรนให้ตอบโจทย์การใช้งาน
ดังนั้น ทีมวิศวกรของ AIS จะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ อาทิ การออกแบบ Network Architecture หรือ สถาปัตยกรรมโครงข่าย 5G SA (Standalone) บนคลื่น 2600 MHz โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี Autonomous Network ซึ่งมีความอัจฉริยะในการจัดการและดูแลระบบได้ด้วยตัวเอง, การใช้ Network Slicing เพื่อตอบสนองแอปพลิเคชันที่ต้องการคุณสมบัติทางเครือข่ายที่แตกต่างกัน รวมถึงบริการ MEC (Multi-access EDGE Computing) และ PARAGON Platform เพื่อรองรับการบริหารจัดการ และพัฒนาโซลูชันที่ต้องการความหน่วงต่ำ
“ข้อจำกัดทางเทคโนโลยีโดรน คือ ต้องมีคนบังคับโดรน แบบ Line of sight หรือ ต้องคือต้องบินโดรนอยู่ในระยะสายตาของผู้บังคับโดรนเท่านั้น ดังนั้น เราจึงต้องการทำให้เหนือกว่านั้น โดยใช้เซลูลาร์โดรน จากตอนแรกเราต้องติดมือถือไปกับโดรน แต่ตอนนี้เพียงแค่ใส่ซิม โดรนก็สามารถทำงานได้เลย”
ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ในเครือ ปตท. สผ. อธิบายว่า ด้วยเทคโนโลยี 5G และ Network Slicing จะช่วยเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล ลดความหน่วงในการสั่งการควบคุมโดรน มีความเสถียรมากกว่าสัญญาณวิทยุและ Wifi จึงทำให้ Horrus สามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัย และเป็นระบบอัตโนมัติตามเวลาและเส้นทางการบินที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติและส่งแจ้งเตือนกลับมาที่ศูนย์ควบคุมได้แบบเรียลไทม์
ที่ผ่านมาบริษัท ARV ได้เริ่มมีการทดลองใช้ Horrus ในการ ติดตามความคืบหน้าในการก่อสร้าง โดย Horrus จะเก็บข้อมูลภาพเพื่อมาทำการเทียบกับข้อมูลก่อนหน้าเพื่อตรวจสอบความคืบหน้า นอกจากนี้ ได้มีการร่วมกับ กรมทางหลวง ในการใช้ Horrus สำรวจข้อมูลสภาพการจราจรและรายงานอุบัติเหตุต่าง ๆ ในช่วงเทศกาล นอกจากนี้ในอนาคตยังสามารถนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกมากมาย
“ด้วยเครือข่าย 5G ทำให้ Horrus สามารถบินไกลกว่าการใช้สัญญาณวิทยุทั่วไป ช่วยให้สามารถบินได้หลายครั้ง และบินพร้อมกันได้หลายลำ ไม่ว่าจะอยู่กรุงเทพหรือที่ไหนก็สามารถสั่งงานได้ โดย Horrus จะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีข้อจำกัด อาทิ การใช้โดรนตรวจสอบการทำงานในพื้นที่โรงงาน, การสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ในธุรกิจของกลุ่ม ปตท.” ดร.ธนา กล่าว
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ทิ้งท้ายว่า ความร่วมมือกับบริษัท ARV แสดงให้เห็นถึงภารกิจของ AIS ที่ต้องการนำนวัตกรรมมาเสริมสร้างและพัฒนา พร้อมขับเคลื่อน Digital Economy ของไทย ผ่านการเป็นพาร์ทเนอร์กับองค์กรต่าง ๆ และ Use case ซึ่งการใช้ 5G ยกระดับโดรน เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความเป็นไปได้ในการใช้โดรนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
“เรามองว่าสิ่งที่เราทำเป็นแค่ 10% ของโซลูชันที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีในอนาคต ดังนั้น ต้องจับตาดูถึงความร่วมมือใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามวิสัยทัศน์ของ AIS ที่จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ รองรับการเติบโตของภาคอุตสหกรรมในอนาคต” ธนพงษ์ ย้ำ
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
“Your Trusted Smart Digital Partner”
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://business.ais.co.th
]]>
ตามรายงาน Mobility Report ของ Ericsson ฉบับเดือนมิถุนายน 2566 ได้เปิดเผยว่า การเติบโตของการใช้งาน 5G ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ โอเชียเนีย ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยคาดว่าภายในสิ้นปี 2571 ยอดผู้ใช้งาน 5G จะเพิ่มเป็น 430 ล้านราย คิดเป็น 34% ของยอดผู้ใช้งานบริการมือถือทั้งหมดของภูมิภาคฯ
จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน ในภูมิภาคนี้คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 3% ต่อปี และภายในปี 2571 จะเพิ่มไปถึง 1.12 พันล้านราย จาก 930 ล้านราย ณ สิ้นปี 2565 ขณะที่ผู้ใช้บริการ 4G คาดว่าจะยังมีการเติบโตที่ 770 ล้านราย ภายในปี 2571 เพิ่มจาก 640 ล้านราย ณ สิ้นปี 2565 หรือเติบโตเฉลี่ย 3% ต่อปีเช่นกัน
ปัจจุบัน 5G ในสิงคโปร์ครอบคลุมมากกว่า 95% ส่วนในประทศ ไทย และ ออสเตรเลีย ครอบคลุมกว่า 80% ของประชากร ด้าน ฟิลิปปินส์ ครอบคลุม 66% ของประชากร ส่วน มาเลเซีย ครอบคลุม 50%
ด้านปริมาณการใช้ ดาต้าอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟน และคาดว่าจะสูงถึง 54 กิกะไบต์ต่อเดือนในปี 2571 เติบโต 24% ต่อปี โดยยอดการใช้ดาต้าเน็ตมือถือทั้งหมดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 13 เอกซะไบต์ต่อเดือนในปี 2565 เป็น 55 เอกซะไบต์ต่อเดือนในปี 2571 โดยเติบโต 27% ต่อปี
อินเดียเป็นตลาด 5G สำคัญ ที่กำลังปรับใช้งานเครือข่ายขนาดใหญ่มากมายภายใต้กรอบนโยบาย Digital India หลังเปิดให้บริการ 5G ไปเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2565 เมื่อสิ้นปี 2565 อินเดียมียอดผู้ใช้บริการ 5G ประมาณ 10 ล้านราย และคาดว่าภายในสิ้นปี 2571 ยอดการใช้บริการ 5G จะเพิ่มเป็น 57% ของยอดผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมดในประเทศ ส่งผลให้ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาค 5G ที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก
นอกจากอินเดียแล้ว ผู้ใช้บริการ 5G ใน ทวีปอเมริกาเหนือ นั้นมีการเติบโตแข็งแกร่งกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อน โดยเมื่อสิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้มี สัดส่วนผู้ใช้บริการ 5G สูงสุดในโลกที่ 41%
ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและคาดว่าจะเพิ่มไปถึง 1.5 พันล้านราย ภายในสิ้นปี 2566 ส่วนปริมาณการใช้ดาต้าผ่านเครือข่ายมือถือทั่วโลกก็เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน คาดว่าภายในสิ้นปี 2566 ยอดการใช้ดาต้าบนมือถือต่อสมาร์ทโฟนทั่วโลกจะเกินกว่า 20 กิกะไบต์ต่อเดือน
“ยอดผู้ใช้ 5G ทั่วโลกมีเกินหนึ่งพันล้านบัญชีไปแล้ว ทำให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในตลาด 5G ชั้นนำมีรายได้เติบโตในเชิงบวก โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจากการเปิดตัวบริการ 5G ใน 20 ตลาดชั้นนำ ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 7% แนวโน้มนี้แสดงให้เห็นถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของ 5G ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการ” เฟรดริก เจดลิง รองประธานผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายเครือข่ายของอีริคสัน กล่าว
]]>สำนักข่าว Reuters ได้รายงานข่าว โดยอ้างอิงหนังสือพิมพ์ Bild Am Sonntag ว่า Nancy Faeser รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของเยอรมนี ได้กล่าวว่ากำลังตรวจสอบส่วนประกอบอุปกรณ์เครือข่าย 5G ที่ผลิตจากประเทศจีน ขณะเดียวกันรัฐบาลเยอรมนีเองก็เตรียมที่จะประเมินความสัมพันธ์กับจีนซึ่งถือว่าเป็นคู่ค้าชั้นนำอีกครั้งด้วย
รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของเยอรมนีได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์รายดังกล่าวว่า “เราต้องปกป้องเครือข่ายการสื่อสารของเรา” โดยเธอได้เสริมลำดับความสำคัญ 3 ประการของการตรวจสอบอุปกรณ์โทรคมนาคมจากจีน ได้แก่ การระบุความเสี่ยง การป้องกันอันตราย และหลีกเลี่ยงการพึ่งพาอุปกรณ์จากจีนมากเกินไป
นอกจากนี้รัฐมนตรีรายดังกล่าวของเยอรมันยังได้กล่าวเสริมว่า การตรวจสอบเป็นเรื่องจริง เพื่อที่จะปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ก่อนหน้านี้ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมารัฐบาลเยอรมันมีข่าวว่ากำลังพิจารณาแบนชิ้นส่วนบางส่วนที่อยู่ในอุปกรณ์โทรคมนาคมจากประเทศจีนทั้งจาก Huawei และ ZTE โดยให้เหตุผลกังวลในความปลอดภัย เนื่องจากถ้าหากอุปกรณ์เหล่านี้มีชิ้นส่วนหรือมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยก็อาจทำให้เกิดการจารกรรมข้อมูลสำคัญได้
เยอรมนีถือเป็นประเทศท้ายๆ ในทวีปยุโรปที่พิจารณาการแบนอุปกรณ์โทรคมนาคมจากประเทศจีน เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมันกับจีน อย่างไรก็ดีทางฝั่งของจีนมองว่าการแบนนั้นเกิดจากแรงกดดันทางการเมืองจากสหรัฐอเมริกามากกว่ารัฐบาลประเทศเหล่านี้จะตัดสินใจแบน
]]>Liu Liehong ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ China Unicom ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายรายใหญ่อันดับ 3 ของจีน ได้เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี 6G มาตั้งแต่ปี 2562 บริษัทตั้งเป้าจะเปิดตัวเทคโนโลยีดังกล่าวภายในต้นปี 2568 ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าบริการมือถือ 6G ในประเทศจะเริ่มเปิดตัวภายในต้นปี 2573 ซึ่งแปลว่า China Unicom จะได้ทดลองเปิดตัว 6G เร็วกว่ากำหนด 5 ปี
“เราคาดว่าจะเสร็จสิ้นการวิจัยทางเทคนิคและเปิดตัวแอปพลิเคชันล่วงหน้าสำหรับเทคโนโลยี 6G ภายในปี 2568 ในประเทศจีน ประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและตลาดสมาร์ทโฟนที่ใหญ่ที่สุดในโลก” Liu Liehong กล่าวในการประชุม China Development Forum (CDF)
ปัจจุบัน ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม 3 รายของประเทศ ได้แก่ China Mobile, China Telecom และ China Unicom ต่างก็มีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนา 6G ในช่วงเริ่มต้นขณะที่พวกเขาเร่งเปิดตัวโครงสร้างพื้นฐานและบริการ 5G ทั่วประเทศ โดย จีนเป็นประเทศที่มีเครือข่ายมือถือ 5G ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยตัวเลข ณ สิ้นปี 2565 มีสถานีฐาน 5G มากกว่า 2.31 ล้านสถานี
อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ทำให้ซัพพลายเออร์อุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่อย่าง Huawei Technologies และ ZTE Corp ได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรต่าง ๆ ของสหรัฐฯ รวมถึงการเข้าถึงเซมิคอนดักเตอร์ ขั้นสูง ที่ใช้ในสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เครือข่าย
สำหรับเทคโนโลยี 6G คาดว่ามีความเร็วสูงถึง 1 Tbps หรือ 1,000 Gbps จากที่ 5G มีความเร็วประมาณ 20 Gbps โดยความเร็วระดับนี้จะสามารถทำในอุปกรณ์ต่างๆ มีความเสถียรกว่าเก่า เช่น รถยนต์ไร้คนขับที่เก่งกว่าเดิมหรือหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ตอบสนองได้แบบเรียลไทม์โดยไม่มีความหน่วงหรือดีเลย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Cyber Creative Institute พบว่าสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยี 6G ของจีนคิดเป็น 40.3% ของการยื่นจดสิทธิบัตร รองลงมาคือ สหรัฐฯ 35.2% และ ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่สามด้วย 9.9% รองลงมาคือยุโรป 8.9% และเกาหลีใต้ 4.2%
]]>จากเบอร์ 1 ในตลาดสมาร์ทโฟนโลก แต่พอโดนสหรัฐฯ คว่ำบาตรไป หัวเว่ย ก็ยังไม่สามารถกลับมาสู่จุดสูงสุดได้อีกเลย รายได้จากฝั่งคอนซูมเมอร์ก็หายไปมหาศาล แม้แต่แบรนด์ลูกอย่าง Honor ก็ต้องขาย และล่าสุด หัวเว่ยก็ต้องยอมอนุญาตให้คู่แข่งอย่าง ออปโป้ (Oppo) ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอันดับ 4 ของโลกใช้ สิทธิบัตร 5G เพื่อหารายได้ใหม่ ๆ เข้าบริษัท
หัวเว่ยได้เปิดเผยว่า บริษัทมีสิทธิบัตรมากมายกว่า 100,000 รายการทั่วโลก ถือเป็นอันดับที่ 1 จากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติจีน, สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป และอันดับที่ 5 สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังถือเป็นหนึ่งในผู้ถือครองสิทธิบัตรชั้นนำด้านเทคโนโลยี 5G เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ปัญญาประดิษฐ์และรถยนต์ไร้คนขับ
ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการออกใบอนุญาตสิทธิบัตร 1.2-1.3 พันล้านดอลลาร์ จากการออกใบอนุญาตทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างปี 2562-2564
นับตั้งแต่ปี 2019 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ แสดงความกังวลว่าหัวเว่ยจะเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติ และกดดันให้ประเทศอื่น ๆ สั่งห้ามบริษัทจีนจากโครงสร้างพื้นฐาน 5G ของตน อย่างไรก็ตาม หัวเว่ยก็ได้ออกมาปฏิเสธหลายครั้งว่าบริษัทไม่ได้เป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคง
]]>สำหรับศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center ที่ AIS และ ZTE ร่วมมือกัน ทั้ง 2 ฝ่ายนั้นมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพของประเทศไทยให้เดินหน้าไปอีกขั้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ที่เริ่มทำ Digital Transformation เพื่อเสริมประสิทธิภาพและยกระดับการบริหารจัดการ อันจะส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS ความร่วมมือกับ ZTE นั้นจะช่วยในหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นการยกระดับโครงข่าย 5G ของไทยมีมาตรฐานระดับโลก การพัฒนาโซลูชันเพื่อภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ภาคประชาชน รวมถึงการส่งต่อบริการ 5G เพื่อประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย
สวี จือหยาง ประธานกรรมการบริหารของ ZTE Corporation ได้กล่าวถึงความร่วมมือนี้ว่า ในฐานะพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสู่การจัดตั้ง A-Z Center นั้นจะสามารถนำเสนอนวัตกรรมทางเทคโนโลยีได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะยิ่งการนำเอาโครงข่าย 5G มาวางรากฐานด้านการวิจัยและพัฒนาจะทำให้เกิด Use Case ใหม่ๆ ในอนาคตที่พร้อมรองรับทั้งความต้องการของลูกค้าและการเพิ่มโอกาสให้กับภาคธุรกิจ
ศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center นั้นจะเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและโซลูชันที่ครบถ้วนที่สุดเพื่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มาพร้อมกับเทคโนโลยีเครือข่ายต้นแบบ 5G ไม่ว่าจะเป็น
ก่อนหน้านี้ความร่วมมือของทั้ง 2 องค์กรนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตัว Router สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบ้านของ AIS หรือแม้แต่การพัฒนาในภาคส่วนอื่นๆ ก่อนที่จะมีความร่วมมือครั้งใหม่ในการเปิดศูนย์นวัตกรรมครั้งนี้
]]>