คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพด เล่าให้ฟังว่า ตลาดรวม เบอร์มงคล อาจมีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านบาท เพราะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการขายของพ่อค้า-แม่ค้าที่ขายเบอร์มงคล แต่ถ้านับเฉพาะยอดขายของเบอร์มงคลของเอไอเอสอยู่ที่ปีละ 1,000 ล้านบาท โดยลูกค้าที่เปิดเบอร์มงคล 70% จะมี 2 เบอร์ขึ้นไป และ 90% เมื่อเปิดเบอร์แล้วจะไม่ทิ้ง ดังนั้น ลูกค้ากลุ่มนี้จะมีอัตรา Churn Rate หรือยกเลิกการใช้บริการที่ต่ำกว่าเบอร์ทั่วไป 5%
ที่สำคัญ ลูกค้าเบอร์มงคลจะมียอดใช้งานเฉลี่ย หรือ ARPU (Average Revenue Per User) ที่สูงกว่าลูกค้าโพสต์เพด (ลูกค้ารายเดือน) ปกติเกือบ 2 เท่า อยู่ที่ประมาณ 800 บาทต่อเดือน จากปกติเฉลี่ย 448 บาทต่อเดือน
“80% ของคนไทยมีความเชื่อเรื่องโชคลางเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องตัวเลขมันเป็นพื้นฐานของความเชื่อ ซึ่งเราเข้ามาเติมในส่วนนั้น ซึ่งกลุ่มลูกค้าเบอร์คงมคลถือเป็นกลุ่มลูกค้าคุณภาพ เพราะ Chun rate ต่ำ, ยินดีใช้แพ็กสูง และมีโอกาสซื้อต่อ เพราะเขาเชื่อมั่น” คณาธิป ธีรทีป กล่าว
คณาธิป เล่าต่อว่า สำหรับเอไอเอสได้เริ่มทำตลาดเบอร์มงคลตั้งแต่ปี 2014 โดยเริ่มจากการดึง แมน การิน (แมน แมทจิเซียน) มาช่วยคัดเบอร์มงคล โดยเริ่มจากเลขสี่ตัวท้าย จนปัจจุบันเป็นเบอร์มงคลผลรวม นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับอาจารย์ท่านอื่น ๆ อีก แต่เบอร์ของแมน การิน ถือว่าได้รับความนิยมที่สุด
ปัจจุบัน เอไอเอสมียอดขายเบอร์มงคลเฉลี่ย 3 หมื่นเบอร์/เดือน นับตั้งแต่เอไอเอสได้เริ่มทำตลาดเบอร์มงคลตั้งแต่ปี 2014 ปัจจุบัน เอไอเอสมีจำนวนเบอร์มงคลในตลาดสะสมกว่า 1.2 ล้านเบอร์ และเบอร์มงคลสามารถเติบโตเฉลี่ย 5-10% ทุกปี ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีก็ตาม
“30% ของคนเปิดเบอร์ใหม่ ถ้าเลือกได้เขาจะเลือกเบอร์มงคลหรือเบอร์สวย โดยส่วนใหญ่ต้องการไปเสริมเรื่องการเงิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องของค่าใช้จ่ายก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาจะเลือก”
แม้ว่าจำนวนเบอร์จะมีมากกว่าจำนวนประชากร แต่เบอร์มงคลยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก จากจำนวน ดีไวซ์อื่น นอกเหนือจากสมาร์ทโฟน แม้บางดีไวซ์จะใช้ อีซิม แต่ผู้บริโภคไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา ขอแค่ได้เบอร์ที่ความหมายดี นอกจากนี้ กลุ่ม New Gen อายุต่ำกว่า 30 ปี ก็เป็นกลุ่มที่สนใจเลือกใช้เบอร์มงคลด้วย โดยจะช่วยกระตุ้นให้ เปลี่ยนจากพรีเพด เป็นโพสต์เพดเพื่อใช้เบอร์มงคล
“ตอนแรกเราคิดว่าพอเป็นอีซิมแล้วจะไปไม่ได้ แต่กลายเป็นว่าเบอร์มันกลายเป็น Identity ที่สร้างความเชื่อมั่น ดังนั้น ขอแค่มีเบอร์ก็สามารถสร้างความมั่นใจให้ลูกค้ากลุ่มนี้ แม้จะไม่มีซิม”
อย่างไรก็ตาม ตลาดเบอร์มงคลก็ใช่ว่าจะไม่มีการแข่งขัน แต่แข่งขันกันที่ อาจารย์ ซึ่งเป็นส่วนที่มีผลมากในการตัดสินใจ โดยเอไอเอสร่วมกับแมน การินมาเป็นสิบปี ทำให้มีฐานแฟนคลับเหนียวแน่น ซึ่งจุดนี้ทำให้เอไอเอสสามารถทำตลาดได้ง่าย เพราะต้องยอมรับว่าเอไอเอสเป็นบริษัทเกี่ยวกับ เทคโนโลยี ดังนั้น การจะทำการตลาดเกี่ยวกับเรื่องสายมูถือเป็น ความท้าทาย ดังนั้น เอไอเอสจะทำการตลาดเฉพาะกลุ่มที่มีความเชื่อหรือสนใจมากกว่าทำแบบแมส
“ตอนแรกเราก็กังวลว่าการตลาดแบบนี้จะทำให้กระทบภาพลักษณ์ของบริษัทที่ทำเรื่องเทคโนโลยีหรือเปล่า ดังนั้น เราก็มีการทำรีเสิร์ชเยอะ แต่เราไม่ได้ทำให้เขาเชื่องมงาย ไม่ได้ไปคอมมิดว่าใช้แล้วจะได้นั่นนี่ แค่เสริมสร้างความมั่นใจกับลูกค้ากลุ่มนี้”
ล่าสุด เอไอเอสได้เปิดตัว เบอร์ตระกูลกวนอู 639 ซึ่งถือเป็นตระกูลเลขอันดับ 3 ที่ได้รับความนิยมต่อจาก กลุ่มเลขเบอร์หงส์-มังกร 789 / 289 สำหรับเบอร์ตระกูลกวนอูมีจำหน่ายทั้งหมด 20,000 เบอร์ เอไอเอสจำหน่ายในราคา 199 บาท แพ็กเกจเริ่มต้น 399 บาท สัญญาขั้นต่ำ 6 เดือน
“คนจีนยกให้กวนอูเป็นเทพแห่งสวรรค์ อยากชนะเหนือคู่แข่ง เติบโตในหน้าที่การงาน เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง หรือการสอบแข่งขัน และเรื่องของความยุติธรรม ใครโดนกลั่นแกล้งให้บูชาเทพกวนอู โดยเลข 639 เป็นเลขวีรบุรุษ ฝ่าฟันอุปสรรค เลขแห่งชัยชนะ” แมน การิน เล่า
สำหรับรายได้จากกลุ่มเบอร์มงคล เอไอเอสคาดว่าจะเติบโต 10% มีรายได้ 1,300 ล้านบาท
]]>เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในความร่วมมือระดับประเทศ ที่ช่วยยกระดับบริการคลาวด์ในประเทศไทยให้ล้ำขึ้นไปอีกก้าว สำหรับการจับมือร่วมกันของ 2 ยักษ์ใหญ่อย่าง AIS และ Oracle ที่ได้ประกาศความร่วมมือในการเปิดตัวบริการคลาวด์ในระดับ Hyperscale Cloud เป็นครั้งแรกในไทย โดยความร่วมมือนี้เป็นการผสานเอาจุดแข็งของทั้งสองในการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่ Digital Economy ได้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต
AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล ตลอดระยะเวลา 34 ปี ได้พัฒนาเครือข่าย และบริการ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทั้งระดับผู้บริโภค และระดับองค์กร ซึ่งได้เปิดตัวกลุ่มธุรกิจ Business Cloud และ IoT Solution ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อตอบรับลูกค้าองค์กรภาคธุรกิจ
ส่วนทาง Oracle มีบริการคลาวด์มากกว่า 100 บริการ ความร่วมมือนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการปลดล็อกขีดจำกัดในการใช้งานคลาวด์ระดับ Hyperscale Cloud สำหรับองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ ผ่านบริการ AIS Cloud บน AIS Data Center
ภายใต้ความร่วมมือนี้องค์กรสามารถเข้าถึงบริการคลาวด์ของ Oracle (OCI) ที่มีมากกว่า 100 บริการ รวมถึงความสามารถด้าน AI ซึ่งจะตอบโจทย์ทุกความต้องการในการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน ด้วยระบบ และบริการ Sovereign Cloud ที่มีความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดด้านการจัดเก็บข้อมูลของประเทศไทย รวมถึงความพร้อมในการทำระบบสำรองและกู้คืนข้อมูล (DR: Disaster Recovery) ในกรณีที่ระบบหลักเกิดความเสียหาย เพื่อให้ใช้ข้อมูลที่สำรองไว้มาทำงานต่อได้ทันที
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า
“กว่า 34 ปีที่ผ่านมา AIS มุ่งพัฒนาโครงสร้างด้านดิจิทัลเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสกับประสบการณ์ดิจิทัลที่ดียิ่งกว่า ควบคู่ไปกับการนำศักยภาพโครงข่ายมาผสมผสานผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเข้าเชื่อมต่อและสนับสนุนการทำงานกับองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้สามารถทำดิจิทัลทรานสฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในสร้างการเติบโต ที่จะนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะเทคโนโลยีคลาวด์ที่มีส่วนสำคัญในการรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขององค์กร จากการศึกษาข้อมูล พบว่าในช่วงปี 2565-2570 ใน 4 ธุรกิจ ได้แก่ คลาวด์ ไอโอที (IoT) ดาต้าเซ็นเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นธุรกิจที่มาแรง เติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 20% ต่อปี จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตรระดับโลกอย่าง Oracle
บริการ AIS Cloud สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยบริการคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูง ความปลอดภัย และการปกป้องข้อมูลที่สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศไทย เน้นการขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการที่ต้องการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
นอกจากนี้ ความสำคัญอีกหนึ่งอย่างของความร่วมมือนี้ก็คือ การที่ประเทศไทยมีบริการ Hyperscale Cloud เป็นครั้งแรก จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีในภูมิภาค และดึงดูดความสนใจจากนักลงทุน และบริษัทข้ามชาติได้
รวมไปถึงการนำเสนอความสามารถด้าน AI และบริการคลาวด์ที่หลากหลายของ Oracle ช่วยสร้างความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ AIS ในตลาดได้อีกด้วย
ทางด้าน การ์เร็ตต์ อิลจ์ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า
“การมอบตัวเลือกที่หลากหลายให้กับพันธมิตรและลูกค้าของเราเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ และความร่วมมือ Oracle Alloy กับ AIS จะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมของประเทศช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้ AIS กลายเป็นผู้ให้บริการ Hyperscale Cloud สามารถพัฒนาบริการใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น พร้อมทั้งนำเสนอ Sovereign Cloud และความสามารถด้าน AI ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศ ภายข้อกำหนดด้านกฎหมายด้านมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ AIS สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ด้วยประสบการณ์ของ AIS ที่เป็นผู้นำด้านบริการดิจิทัลในไทยซึ่งมีความเชี่ยวชาญในตลาดภายในประเทศ ทำให้ AIS สามารถส่งมอบบริการที่เหมาะสมต่อลูกค้าแต่ละรายที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า”
โดยที่ทาง IDC ได้คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายด้าน Sovereign Cloud จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 31.5% ต่อปี สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิค (ไม่รวมญี่ปุ่น) จากการสำรวจด้านคลาวด์ในพื้นที่เอเซียแปซิฟิค แสดงให้เห็นถึง 19% ขององค์กรในกลุ่มประเทศดังกล่าว มีการคาดการณ์การใช้จ่ายสำหรับ Sovereign Cloud จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์คลาวด์แบบผสมผสาน (Hybrid Cloud) ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยหน่วยงานกำกับดูแลและกฎระเบียบ รวมทั้งความต้องการที่จะทำให้กระบวนการทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
ระบบคลาวด์แบบกระจายของ Oracle มอบประโยชน์ของคลาวด์พร้อมการควบคุมและความยืดหยุ่นที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
]]>
นับตั้งแต่ปี 2019 ที่ เอไอเอส (AIS) ประกาศวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนอุตสาหกรรม เกม ของไทย เอไอเอสก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมจนปัจจุบันคาดว่าจะมีมูลค่าทะลุ 4 หมื่นล้านบาท และหนึ่งในตัวช่วยสำคัญก็คือ AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์
นับตั้งแต่ประเทศไทยมี สมาคมอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย เกิดขึ้นในปี 2017 และในปี 2019 เอไอเอส (AIS) ก็ประกาศ 3 นโยบายสนับสนุนโดยมีจุดมุ่งหมาย ยกระดับเกมเมอร์ไทยไปมืออาชีพ ได้แก่ 1. สร้างเน็ตเวิร์คอินฟราสตรัคเจอร์สำหรับอีสปอร์ต 2. สร้างเวทีการแข่งขัน เพื่อเสริมสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้นักกีฬาอีสปอร์ต และผู้ที่มีความสนใจในวงการนี้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน และ 3. สร้างคอมมูนิตี้อีสปอร์ตให้แข็งแรงผ่านทาง AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ และ AIS eSports STUDIO at SIAM
สำหรับ AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 ซึ่งถือเป็น คอมมูนิตี้ฮับอีสปอร์ตแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใจกลางกรุงเทพฯ ณ ชั้น 2 สามย่านมิตรทาวน์ และมาปลายปี 2023 เอไอเอสก็เปิด AIS eSports STUDIO at SIAM ตามมา ปัจจุบัน AIS eSports STUDIO ทั้ง 2 สาขามีจำนวนผู้ใช้งานรวมกันเฉลี่ยกว่า 300 คน/วัน หรือราว 10,000 คน/เดือน และมีจำนวน Members กว่า 30,000 ราย
“ในปี 2019 ที่เราประกาศวิสัยทัศน์ว่าจะสนับสนุนอีสปอร์ต ซึ่งอาจจะเกิดคำถามว่าถึงการสนับสนุนดังกล่าวเพราะคนทั่วไปอาจจะยังติดภาพจำในอดีตของการเล่นเกม แต่ในปัจจุบันนี้ เราเห็นนักกีฬาที่ได้เหรียญในการแข่งขันซีเกมส์ และอีกจุดเปลี่ยนคือ ในปี 2021 ที่ราชกิจจาฯ ประกาศให้อีสปอร์ตเป็นกีฬา” รุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการพันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS กล่าว
นับตั้งแต่ที่เอไอเอสประกาศวิสัยทัศน์ด้านอีสปอร์ต เอไอเอสก็ได้ทำงานร่วมกับ พันธมิตร หลากหลายด้าน รวมถึงมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดทัวร์นาเมนต์แข่งขันอีสปอร์ต, โครงการ AIS eSports Young Caster Talent ที่ช่วยฝึกฝนให้เด็กรุ่นใหม่ที่อยากเป็นนักพากย์แข่งเกม จนสามารถป้อนบุคลากรด้านอีสปอร์ตใหม่ ๆ เข้าสู่อุตสาหกรรม อาทิ ณัฏฐณิชชา ภูวสิริโรจน์ หรือ MORFINN ที่เคยเข้าโครงการ AIS eSports Young Caster Talent ปี 2 โดยปัจจุบันเป็นทั้งนักกีฬาอีสปอร์ตและแคสเตอร์
“เรามองว่าความครบและความสม่ำเสมอคือหัวใจสำคัญ ดังนั้น เราพยายามทำให้ครบและต่อเนื่อง อย่างโครงการ AIS eSports Young Caster Talent เราทำมา 3 ปีติดต่อกัน แต่เราไม่ได้มองว่าจะไปสร้างสังกัดส่งนักกีฬาแข่ง เราเป็นแค่เวทีให้เด็ก ๆ แสดงความสามารถ เพื่อให้สังกัดหรือค่ายที่เห็นแววมานำเข้าไปในอุตสาหกรรม” รุ่งทิพย์ อธิบาย
อีกความต่อเนื่องที่ทำก็คือ อักเกรด AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ โดยครั้งนี้เอไอเอสตั้งใจจะพลิกโฉมให้ยกระดับไปอีกขั้นด้วยประสบการณ์ที่เหนือกว่าด้วย บรอดแบนด์ไฟเบอร์ระดับ 5000/5000 Mbps ควบคู่ไปกับ สุดยอดเทคโนโลยีเกมมิ่งพีซี เกมมิ่งเกียร์สเปกไฮเอนด์ระดับโปรเพลเยอร์แบบครบวงจร อาทิ การใส่ INTEL CORE i7-14700KF และการ์ดจอตัวแรงระดับเทพ VGA GALAX RTX 4080 SUPER SG PCI-E 16GB GDDR6X ในคอมพิวเตอร์ การใช้จอภาพ Samsung Odyssey G7 Series 28” 4K 144Hz เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับ RIOT Games นำเกมยอดนิยมอย่าง Valorant, League of Legends และ Teamfight Tactics มาเปิดให้บริการที่นี่ที่เดียว
นอกจากอัพเกรดเครื่องและได้พาร์ทเนอร์ค่ายเกมระดับโลกเป็นพันธมิตร AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ ยังการเปิด Arena Zone ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับจัดการแข่งขันอีสปอร์ต และกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการจัดการที่ครบครันทั้งระบบแสง สี เสียง ที่ทันสมัย เพื่อรองรับการแข่งขันอีสปอร์ตที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเปิดกว้างให้กับโปรโมเตอร์, แบรนด์, และองค์กรต่าง ๆ เข้ามาใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมและการแข่งขัน โดยที่ผ่านมา Arena Zone ได้จัดกิจกรรมและการแข่งขันมาแล้ว มากกว่า 100 รายการ
“เอไอเอสย้ำมาตลอดเรื่องการไปกับพันธมิตร ดังนั้น เราคิดว่าเอไอเอสทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มมากกว่าจะสร้างทั้งต้นน้ำและปลายน้ำเอง”
สำหรับอุตสาหกรรมเกมไทยถือเป็น อันดับ 2 ของอาเซียน โดยในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 41,000 ล้านบาท มีจำนวนประชากรที่เล่นเกมราว 42 ล้านคน และกว่าครึ่ง (23 ล้านคน) มีการใช้จ่ายกับเกมโดยเฉลี่ยแตะเกือบ 1,800 บาท เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอุตสาหกรรมเกมไทยจะใหญ่ และภาพลักษณ์ก็ดีขึ้นกว่าอดีต แต่ รุ่งทิพย์ มองว่า อุตสาหกรรมยัง มีความท้าทาย คือ ไทยยังเป็นประเทศผู้บริโภค ยังขาดส่วนของ การผลิต นี่จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ต้องเร่งพัฒนาในอนาคต
“อุตสาหกรรมเกมไทยพัฒนาขึ้นมาก แต่เราพัฒนาแต่ยังไม่สุด โดยเฉพาะเกมจากคนไทยที่ยังมีน้อย ส่วนใหญ่ยังเป็นเกมอินดี้เล็ก ๆ ดังนั้น ขาของเดเวลอปเปอร์ยังต้องพัฒนาอีกเยอะ อีกเรื่องคือ เรายังไม่มีสถานที่ที่จัดแข็งระดับโปรจริง ๆ ส่วนใหญ่จะจัดในห้างฯ ยังไม่มีสเตเดี้ยมเฉพาะ ซึ่งถ้าเป็นประเทศใหญ่ ๆ อย่างเกาหลีมี แต่ในอาเซียนยังไม่มีใครมี” รุ่งทิพย์ ทิ้งท้าย
]]>
หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เป็นอย่างดี เพราะถือเป็นองค์กรชั้นนำด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานยั่งยืนในระดับภูมิภาค แต่ที่หลายคนอาจไม่รู้ก็คือ GULF ได้ทำโครงการ CSR มากว่า 30 ปี และหนึ่งในโครงการที่ทำอยู่ก็คือ การติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) ในพื้นที่ทุรกันดาร โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2566 ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ บ้านห้วยน้ำไซ อ.นครไทย จ.พิษณุโลกเกาะทุ่งนางดำ อ.คุระบุรี จ.พังงา และบ้านดอกไม้สด อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
หลังจากที่ไปติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ GULF ก็เห็นปัญหาว่าในหลายพื้นที่ที่ไปนั้น ไม่มีเสาสัญญาณดิจิทัล ดังนั้น เพื่อจะให้พื้นที่นั้น ๆ เข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน GULF จึงได้ร่วมกับ AIS ทำโครงการ Green Energy Green Network for THAIs เพื่อผนึกกำลังขยายสัญญาณสื่อสาร มอบโอกาสในการเข้าถึงพลังงานและเทคโนโลยีดิจิทัล มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาอาชีพ และการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข
“ที่ที่เราไปถนนก็ไม่มี สายไฟไม่มี และเพราะเป็นพื้นที่ห่างไกลมีคนไม่หนาแน่น อาจไม่คุ้มกับการลงทุนของรัฐ ทำให้ระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ ซึ่งเมื่อก่อนเราทำได้แค่ให้พลังงาน ทำให้ไม่มีการต่อยอด ไม่มีแวร์ลูแอดไป เราจึงร่วมกับเอไอเอสเพื่อต่อยอด” ธีรตีพิศา เตวิชพศุตม์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าว
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS เล่าเสริมว่า สำหรับการร่วมมือกับ GULF จะเป็นโครงการระยะยาว โดยภายในปีนี้คาดว่าจะดำเนินโครงการ Green Energy Green Network for THAIs เพิ่มอีกประมาณ 5-6 แห่ง โดยได้รับความร่วมมือจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ในการคัดเลือกพื้นที่ที่ไฟฟ้าหรือสัญญาณยังเข้าไม่ถึง และภายใน 3-5 ปี คาดว่าจะสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ประมาณ 30 แห่ง
โดยหลังจากติดตั้งเสาสัญญาณ ทาง AIS จะมีการประเมินงาน 3 ระยะ เกี่ยวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดย สมชัย ย้ำว่า โครงการดังกล่าวเป็น โครงการระยะยาว และ AIS ต้องการให้ชุมชนใช้เทคโนโลยีสร้างโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ และต่อยอดการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งบริการด้านสาธารณสุข การศึกษา การพัฒนาทักษะด้านอาชีพ และการตลาด เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างประโยชน์ทั้งชุมชน เศรษฐกิจ และยังเป็นการดูแลรักษาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
“ตลอด 34 ปีที่ผ่านมาเราลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน จนปัจจุบันสัญญาณโมบายครอบคลุม 98% และ 5G ครอบคลุม 90% ของพื้นที่ประเทศไทย ส่วนอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ครอบคลุม 13 ล้านครัวเรือนจากทั้งหมด 20 ครัวเรือน แต่เป้าหมายของ AIS ไม่ใช่แค่สร้างรายได้ แต่ต้องยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น”
ชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สวพส. ดูแลพื้นที่ที่อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปากลาง 500 เมตร ซึ่งในประเทศไทยมีพื้นที่ดังกล่าวประมาณ 20 ล้านไร่ กระจายใน 20 จังหวัด รวมแล้วกว่า 4,000 ชุมชน ซึ่งปัจจุบัน สวพส. สามารถเข้าถึงได้ประมาณ 2,000 ชุมชน และคาดว่ามีประมาณ 1,000 ชุมชนที่ยังไม่มีไฟฟ้าหรือคลื่นสัญญาณดิจิทัลเข้าถึง โดย สวพส. จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลและจัดลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ
“AIS ยังเชื่อมั่นใน Ecosystem Economy หรือการทำงานร่วมกัน ทั้ง GULF และ AIS เข้าไปช่วยก็ทำให้มันดีขึ้น แต่ก็ยังไม่เท่าเทียม ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องช่วยเหลือ ดังนั้น ก็หวังว่าจะมีภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือกันช่วยเหลืออีก” สมชัย ทิ้งท้าย
]]>การเล่นเกมในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ต้องใช้อินเทอร์เน็ตทั้งนั้น ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกหาก เอไอเอส จะโดดเข้ามาในอีโคซิสเต็มส์นี้ตั้งแต่ปี 2019 ไม่ว่าจะเป็นการจัดงาน Thailand Game Expo การสร้าง Facebook AIS eSports ไว้สำหรับเป็นช่องทางพูดคุยกับเหล่าแฟนเกม จนมาปี 2020 เอไอเอสได้เปิดตัว AIS eSports STUDIO ที่สามย่านมิตรทาวน์ และเป็นสปอนเซอร์การแข่งขันต่าง ๆ จากนั้นก็ได้ขยับไป จัดทัวร์นาเมนต์การแข่งขันเป็นของตัวเอง
“เอไอเอสมี 4 ยุทธศาสตร์หลักในด้านอีสปอร์ต คือ Connect โดยมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ, Complete คือมีเวทีแข่งขันอีสปอร์ต, Co-Educate เป็นแหล่งให้ได้มาเรียนรู้ และ Share เผยแพร่กีฬาอีสปอร์ตให้คนได้รับรู้ในวงกว้าง” รุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการพันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS กล่าว
หลังจากที่ AIS eSports STUDIO ที่สามย่านมิตรทาวน์ จะได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉลี่ยจะมีทราฟฟิกประมาณ 200 คน/วัน ปัจจุบันมี Members แล้วกว่า 2 หมื่นราย โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น First Jobber และนักศึกษาเป็นหลัก ล่าสุด เอไอเอสก็เปิด AIS eSports STUDIO แห่งที่สอง ที่สยามสแควร์ ซอย 7
โดยเอไอเอสมองว่าพื้นที่ย่านสยามแคร์ จะช่วยให้เอไอเอสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็น กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน และนักศึกษา โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้วันละกว่า 100 คน โดยมอง่าช่วงที่พีคจะเป็นแต่ละช่วง เช่น ช่วงบ่ายที่น้อง ๆ นักเรียนเลิกเรียน, ช่วงเย็นเป็นกลุ่มคนทำงาน ส่วนนักศึกษาจะมาช่วงค่ำ และตอนเช้าก่อนเรียน
จะเห็นว่าเป้าหมายการเข้าถึงของเอไอเอสจะเด็กลงเรื่อย ๆ ซึ่งนับตั้งแต่เอไอเอได้เข้ามาในอีสปอร์ต รุ่งทิพย์ ยอมรับว่า ช่วยให้แบรนด์ ดูเด็กลง และกลายเป็น เพื่อน กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบัน ยอดผู้ติดตามในเพจ AIS eSports ก็มีกว่า 2.8 แสน Followers
นอกจากนี้ การเปิด AIS eSports STUDIO ยังไม่ได้แค่ช่วยให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ แต่ยังเป็นพื้นที่ โชว์ศักยภาพ ของเอไอเอส อย่างที่สาขาสามย่านมิตรทาวน์ก็เป็นที่เปิดตัวความเร็วอินเทอร์เน็ต 1000/1000 Mbps จนทำให้ผู้ใช้งานบางคนใช้งานเพื่อน กดบัตรคอนเสิร์ต และสำหรับสาขาสยาม เอไอเอสก็เปิดตัวความเร็วอินเทอร์เน็ต 5000/5000 Mbps และจะรองรับเทคโนโลยี WiFi 7 ในอนาคตอีกด้วย
ดังนั้น จะเห็นว่าการมาของของ AIS eSports STUDIO สามารถใช้ทั้งสร้างการรับรู้แบรนด์, สร้างความสัมพันธ์และความรู้สึกดีกับแบรนด์ในกลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ ที่อาจจะกลายมาเป็นลูกค้าของเอไอเอสในอนาคตได้ ซึ่งปัจจุบันผู้ใช้งานครึ่งหนึ่งของ AIS eSports STUDIO ไม่ใช่ลูกค้าเอไอเอส ดังนั้น ก็มีโอกาสที่ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการอาจเปลี่ยนใจเมื่อได้สัมผัสกับ AIS eSports STUDIO
“ตอนนี้ลูกค้าที่ AIS eSports STUDIO ครึ่งหนึ่งไม่ใช่ลูกค้าเอไอเอส ซึ่งเราไม่ได้ปิดกั้นอยู่แล้ว เราเปิดให้ทุกค่ายได้มาใช้งาน”
นับตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบันที่เริ่มจากการเป็นแบรนด์สปอนเซอร์ ซึ่งปัจจุบันเอไอเอสมองว่าตัวเองมาถึงสเต็ป 3 ก็คือการ ผันตัวจากเทเลคอมมาเป็นผู้รับจ้างจัดการแข่งขันอีสปอร์ต เนื่องจากมองว่าตอนนี้มีความพร้อมทั้งอีโคซิสเต็มส์และคอมมูนิตี้ ดังนั้น ส่วนนี้ก็จะเป็นรายได้ใหม่ ๆ จากฝั่งเกมของเอไอเอส นอกเหนือจากการที่ลูกค้าเข้ามาเติมเกม ซื้อเกมผ่านช่องทาง Google Store Apple Store และ Huawei Store ซึ่งที่ผ่านมาทั้งจำนวนผู้เล่นเกมและการใช้ดาต้าเพื่อเล่นเกมมีการเติบโตประมาณ 7-8% และเกมถือเป็นรายได้มากกว่าครึ่งของกลุ่มเอนเตอร์เทนต์เมนต์ (บริการสมัครสตรีมมิ่ง)
“รายได้จากเกมหลัก ๆ เรามาจากการเติมเกม ซื้อเกม และเราก็มีการออก Seed ซิม รวมถึงแพ็กเกจสำหรับเล่นเกม ส่วน AIS eSports STUDIO ไม่ได้ทำรายได้เยอะขนาดนั้น แค่พอเลี้ยงตัวเองได้ เพราะเราไม่ได้มองว่าจะมาเป็นแค่ส่วนเสริมให้การกลยุทธ์ด้านอีสปอร์ตของเอไอเอสแข็งแรงยิ่งขึ้น”
ในปีหน้า เอไอเอสจะการแข่งขันต่อเนื่อง แม้ปริมาณการจัดจะไม่เยอะเท่าปีก่อน ๆ แต่จะจัดใหญ่ขึ้น และให้นักกีฬาหรือผู้ชนะสามารถไปต่อในระดับต่างประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันไทยถือเป็นประเทศที่สำคัญ โดยค่ายเกมมองไทยเป็นหมุดหมายประเทศแรก ๆ
“ความยากของกีฬาอีสปอร์ตคือ หาสปอนเซอร์ เพราะในอุตสาหกรรมนี้คนที่ได้เงินเยอะคือสตรีมเมอร์ เนื่องจากเขามีแฟนคลับ เป็นเหมือนดารา ส่วนค่ายเกมที่อยู่รอดก็จะเป็นเกมรายใหญ่ ๆ ซึ่งจุดอ่อนของไทยตอนนี้คือ เราเป็นผู้บริโภคไม่ใช่ผู้ผลิต” รุ่งทิพย์ ทิ้งท้าย
]]>ปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MONO เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นความร่วมมือของ MONOMAX กับ 3BB จนเกิดเป็น 3BB GIGATV ว่า 3BB อยากได้อาปู้ (ARPU) Average Revenue Per User หรือ รายได้เฉลี่ยของผู้ให้บริการต่อลูกค้าหนึ่งคนเพิ่ม เลยได้ MONOMAX เข้ามาพ่วงเพื่อหารายได้ร่วมกัน
ซึ่งจุดแข็งของ 3BB นั้นคือ ต่างจังหวัด โดยคิดเป็นถึง 70% ของลูกค้า ซึ่งคอนเทนต์ของ MONOMAX ตรงใจกับคนต่างจังหวัด เพราะเป็น พากย์ไทย 100% ไม่เหมือนคนเมืองหรือวัยรุ่นที่อ่านซับฯ ได้
“กลายเป็นว่า HBO ไม่ใช่คอนเทนต์นำอย่างที่ 3BB คิด แต่เป็น MONOMAX”
ปฐมพงศ์ เชื่อว่า การที่ 3BB กลายเป็นส่วนหนึ่งของเอไอเอส จะช่วยเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ประมาณ 20% เพราะในปีหน้าบริการ MONOMAX จะบัลเดิลไปกับกล่อง AIS Play จากเดิมที่เริ่มทดลองให้บริการการร่วมกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 ส่งผลให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ปัจจุบัน MONOMAX มีสมาชิกประมาณ 8.6 แสนราย
“ตอนที่เราอยู่กับ 3BB เราไม่เคยทำงานร่วมกับเอไอเอสเลย เพราะเขาถือว่าเราเป็นพันธมิตรกับคู่แข่ง” ปฐมพงศ์ กล่าว
ในยุคนี้ธุรกิจทีวีมีแต่จะถดถอยลง เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ดูทีวีน้อยลง โดยมีการประเมินว่า การรับชมทั่วโลกจะลดลง 10% ทุกปี ขณะที่รายได้จาก โฆษณาลดลง 4-12% ทุกปี ในส่วนช่อง MONO 29 ยอดรับชมลดลงใกล้เคียงกันที่ 10% ทุกปี และนับตั้งแต่ปี 2023 คาดว่ารายได้โฆษณาลดลง 15-20% หรือเฉลี่ยลดลง 4% ต่อปี
กลับกัน การเติบโตของบริการสตรีมมิ่งยังสูงขึ้น โดยจากการประเมินของ กสทช. พบว่ามูลค่าตลาด OTT ในปี 2022 อยู่ที่ 14,600 ล้านบาท มีผู้ใช้บริการกว่า 22 ล้านครัวเรือน ที่ใช้บริการ เติบโต 26.15% และปีนี้คาดว่าจำนวนครัวเรือนจะเติบโต 36.19% ส่วนมูลค่าตลาดคาดว่าจะเติบโต 20% และภายในปี 2024-2025 จะเติบโตเฉลี่ย 33% ต่อปี ขณะที่การสมัครบริการ OTT แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 4-5 แอปต่อครัวเรือน ส่วนการสมัครแบบเสียค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 2-4 แอปต่อครัวเรือน
ในช่วง 9 เดือนแรก บริษัทมีรายได้รวม 1,387 ล้านบาท แบ่งเป็นทีวีดิจิทัล 795 ล้านบาท ตามด้วยแพลตฟอร์ม MONOMAX มีรายได้ 400 ล้านบาท และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปฐมพงศ์ คาดว่า MONOMAX จะทำรายได้แซงหน้า MONO 29 ภายในไตรมาส 2 ปี 2024 โดยจุดแข็งของ MONOMAX คือ พากย์ไทย 100% และ คอนเทนต์จีน นอกจากนี้มีคอนเทนต์จาก อินเดีย บ้าง ส่วนใหญ่เป็นแนวแอ็คชั่น
“ทีวีมาชัวร์แล้ว คนอาจไม่ดูมากไปกว่านี้ แต่สตรีมมิ่งยังโตได้อีก ทีวีต้องลงทุนเยอะ ซับซ้อน แต่สตรีมมิ่งซับซ้อนน้อยกว่า โอกาสทำกำไรมากกว่า ซึ่งพฤติกกรรมผู้บริโภคต่างจาก 8 ปีก่อนที่เราพึ่งเริ่ม ตอนนั้นเขาจ่ายเงินยากมาก ตอนนี้เขายอมจ่าย แต่ตอนนี้ผู้เล่นมีหลายราย เราจะดึงเงินให้เขามาจ่ายอย่างไรคือความท้าทาย”
การจะดันรายได้ของ MONOMAX และรักษารายได้ MONO 29 ก็คือ คอนเทนต์ โดยวางงบไว้ 1,200 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน คือ
โดยในส่วนของ MONO29 ช่วงไพรม์ไทม์ของช่อง (6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม) จะยังฉายภาพยนตร์ฮอลลีวูด และปีหน้าจะโฟกัสที่รายการข่าวและวาไรตี้มากขึ้น นอกจากนี้ หลังจากที่ทดลองนำซีรีส์จีนที่ลงในแพลตฟอร์ม MONOMAX มาฉายในช่วงกลางวันก็ได้รับการตอบรับที่ดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดผู้ใช้งานใน MONOMAX อีกทางด้วย
สำหรับจำนวนสมาชิก MONOMAX ปีหน้า ปฐมพงศ์ คาดว่าจะทะลุ 1 ล้านราย และเพิ่มเป็น 2-2.85 ล้านรายภายในปี 2025
]]>หนึ่งในพาย 3 ชิ้นที่ เอไอเอส (AIS) ยึดเป็นแนวทางในการทำงานก็คือ ความยั่งยืน ทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ รวมถึง สิ่งแวดล้อม ที่เอไอเอสให้ความสำคัญมาโดยตลอด ล่าสุดเอไอเอสเปิดเวทีสัมมนา “AIS Greenovation The Road Towards Digital World เชื่อมต่อนวัตกรรมสู่การเติบโตในโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน” ชวนพาร์ทเนอร์และ Stake Holder มาถกประเด็นถึงด้านสิ่งแวดล้อมและแนวทางการทำงานเพื่อร่วมกันลด และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
ภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ได้มาเล่าให้ฟังว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม พื้นที่กรุงเทพฯ มีอุณหภูมิทะลุเกิน 40 องศา ที่ 42-44 องศาเลยทีเดียว ส่วนในยุโรปเองอุณหภูมิก็สูงขึ้น 5 องศาต่อเนื่อง 5 วัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากการเปลี่ยนเเปลงทางสภาพภูมิอากาศถึง 6 ราย และการที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3-5 องศา ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 7 เมตร เลยทีเดียว
โดยนับตั้งแต่ปี 2011 ประเทศไทยได้สูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 6 แสนล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น เป็น 2.89 ล้านล้านบาท หรือเทียบเท่างบของประเทศทั้งหมดกว่า 3 ล้านล้านบาท
เอื้อง สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS เล่าถึงสาเหตุที่เอไอเอสริเริ่มโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ว่า ในช่วง 6 ปีหลังมานี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) มีส่วนทำให้ก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้นกว่า 53% โดยขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกเผาทำลายคิดเป็นมูลค่าถึง 57,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลมีมูลค่าเพียง 10,000 ล้านดอลลาร์ เท่านั้น ขณะที่ประเทศไทย มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 10% เท่านั้น
จากการคาดการณ์ของ GSMA พบว่า ปัจจุบันประชากรทั่วโลกถือครองโทรศัพท์ราว 5.4 พันล้านเครื่อง และภายในปี 2030 จะเพิ่มเป็น 9 พันล้านเครื่อง หรือเกือบเท่าตัว หรือเฉลี่ยแล้วแต่ละคนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 8 กิโลกรัม และปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นเป็น 110 เมตริกตัน ภายในปี 2050
โดยจากการสำรวจพบว่ามีหลายสาเหตุที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วไว้กับตัว หรือทิ้งแบบผิด ๆ ได้แก่
ดังนั้น ในแกน ลดและรีไซเคิลของเสีย จากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เอไอเอสและพาร์ทเนอร์กว่า 190 องค์กรทั่วประเทศ ร่วมกับเป็น Hub of E-Waste ที่จะเป็นพื้นที่สร้างการตระหนักรู้ สร้างจุดดร็อปพ็อยต์รับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ สร้างกระบวนการคัดแยก จัดส่ง และนำไปรีไซเคิลโดยปราศจากการฝังกลบ รวมถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามายกระดับการจัดการโดยแอปฯ E-Waste Plus ที่ช่วยให้ติดตามเส้นทางการกำจัดและคำนวนคาร์บอนสกอร์ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต และลูกค้าเอไอเอสจะได้รับพ็อยต์เมื่อทิ้ง E-Waste กับเอไอเอส
“ยิ่งโลกเข้าสู่โลกดิจิทัลแค่ไหน อุปกรณ์ก็ยิ่งเพิ่มเท่านั้น นี่คือสิ่งที่เอไอเอสตระหนักและทำให้เกิดเป็นวาระที่ต้องพูดคุยว่าจะทำอย่างไรกับมัน และเราไม่เหนื่อยที่จะสร้างอแวร์เนสหรือเอดดูเขตผู้คน เราพร้อมที่จะร่วมกับทุกหน่วยงาน เราพร้อมมาก” สายชล ย้ำ
สมปรารถนา นาวงษ์ ผู้ก่อตั้ง “เพจอีจัน” กล่าวต่อว่า การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบไม่ถูกวิธีส่งผลเสียมากกว่าการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจหรือทรัพยากรในการนำไปรีไซเคิล แต่ขยะอิเล็กทรอนิกส์หากนำไปเผาทำลายหรือทำลายไม่ถูกวิธีจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกาย เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มีทั้งตะกั่ว, ปรอท และสารพิษอื่น ๆ ซึ่งมันก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย หรือถ้าไปอยู่ในดินหรือแหล่งน้ำ มันก็จะกลับมาสู่ห่วงโซ่ระบบนิเวศและมาสู่ร่างกายคนเราในที่สุด
“คนไทยหลายคนเลือกขายให้กับซาเล้ง เขาก็ไปชำแหละหาของที่นำไปขายได้ อะไรขายไม่ได้เขาก็เผาทิ้ง ซึ่งก็ไปทำลายชั้นบรรยากาศ ตัวเขาเองก็สูดดมควันพิษ มีการสุ่มเจาะเลือดแรงงานหลายคนพบว่ามีสารตะกั่วปนในเลือด บางรายเกินมาตรฐาน หรือในดินที่มีการเผาหรือฝังขยะอิเล็กทรอนิกส์มีสารตะกั่วเกินมาตรฐาน 20 เท่า สารหนู 5 เท่า” สมปรารถนา กล่าว
ไม่ใช่แค่แกนลดและรีไซเคิลของเสีย แต่เอไอเอสก็มีแผน ลดผลกระทบผ่านการบริหารจัดการกระบวนการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ โดย วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไปแล้วถึง 131,752 ตัน หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้รวม 17 ล้านต้น
โดยหนึ่งในกิจกรรมที่เอไอสทำคือ เปลี่ยนสถานีฐานมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 8,884 สถานี โดยสามารถ ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 39,832 ตัน โดยเอไอเอสมีแผนเปลี่ยนสถานีฐานมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มขึ้น 4,000 สถานี รวมถึงมีแผนการนำ AI มาใช้จัดการเครือข่ายอัตโนมัติ Autonomous Network โดยตั้งเป้าพัฒนาเครือข่าย Autonomous Network ไปสู่มาตรฐาน L3 (Level 3) ในปีนี้และ L5 ในปี 2025
“หากนับเฉพาะอุตสาหกรรมโทรคมคอนซูเมอร์ มีการใช้พลังงาน 0.4% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทั่วโลก อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการโทรคมนาคมกว่า 50% รวมถึงเอไอเอสก็มีความพยายามลดใช้พลังงาน สร้างกรีนเน็ตเวิร์ก และต้องการไป Net Zero” วสิษฐ์ ทิ้งท้าย
]]>
จากประเด็นในโลกโซเชียลฯ ว่าหลังจากที่ตลาดโทรคมนาคมเหลือผู้เล่นหลัก 2 ราย ทำให้ราคาค่าบริการสูงขึ้นสวนทางกับคุณภาพหรือไม่ ทาง สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS อธิบายว่า หากเทียบคุณภาพกับราคา ตลาดไทยถือว่า ถูกกว่าหลายประเทศ เพียงแต่ในช่วง 2-3 ปีก่อนมีการแข่งขัน ผิดปกติ เพราะมีการแข่งขันเพื่อขยับจากเบอร์ 3 ขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ซึ่งผู้บริโภคอาจจะเคยชิน แต่ปัจจุบันตลาดกลับไปสู่ ราคาที่สมเหตุสมผล นอกจากนี้ ตลาดไทยมี กสทช. ควบคุมราคาอยู่แล้ว ซึ่งราคาในปัจจุบันยังถือว่า ต่ำกว่าที่ กสทช. กำหนด
“การแข่งขันยังมีเพราะเราก็ไม่ยอมอยู่แล้ว ตอนนี้สงครามราคาก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ตอนนี้มันถูกปรับมาสู่ภาวะการตลาด เพราะเรามีการลงทุนปีละหลายหมื่นล้านบาท ตอนนี้ต้นทุนเรื่องค่าไฟต่าง ๆ ก็สูงขึ้น” สมชัย อธิบาย
ในส่วนของเรื่องคุณภาพ Network สมชัยก็ย้ำว่า ไม่เกี่ยวกับที่เหลือผู้เล่น 2 ราย แต่เป็นหน้าที่ของเอไอเอสที่จะทำให้ดีขึ้น โดยนอกจากการลงทุนปีละหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ล่าสุด เอไอเอสได้ร่วมกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT นำคลื่น 700 MHz จำนวน จำนวน 5 MHz มาเสริมทำให้เอไอเอสมีคลื่น 700 MHz รวม 20 MHz ก็จะยิ่งทำให้เน็ตเวิร์กกว้างขึ้น ทะลุทะลวงมากขึ้น
“การที่ได้คลื่น 700 MHz มาอีก 5 MHz จะช่วยให้สัญญาณเราดีขึ้น 30%” สมชัย ย้ำ
นอกจากนี้ เอไอเอสเปิดตัวบริการ 5G Living Network ที่เป็นบริการ Network on Demand ให้ผู้ใช้สามารถเลือกความเร็ว เลือกเวลา และเลือกสถานที่ที่จะอัปสปีดความเร็วของสัญญาณได้ ซึ่งจะมีค่าบริการเพิ่มเติม และใช้ได้ 3 ชั่วโมง โดยจะเปิดให้ใช้บริการในช่วงต้นเดือนหน้า
ในส่วนของดีลระหว่างเอไอเอสกับ 3BB ที่ยังไม่จบนั้น สมชัย เชื่อว่า ไม่ผูกขาด เพราะในตลาด อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ยังมีผู้เล่นรายใหญ่อีกหลายราย อาทิ ทรู และ ToT อีกทั้งธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ยัง ไม่ต้องมีคลื่นความถี่ ดังนั้น สามารถมีผู้เล่นใหม่เข้ามาได้ตลอด ซึ่งปัจจุบันตลาดก็มีผู้เล่นรายย่อยหลายร้อยราย
ทั้งนี้ เอไอเอสเชื่อว่าหากควบรวมกับ 3BB สำเร็จจะทำให้บริการครอบคลุมกว่า 13 ล้านครัวเรือน ล่าสุด เอไอเอสได้เปิดตัวเทคโนโลยีล่าสุด WiFi 7 รายแรกในไทย โดยร่วมกับ TP-Link ที่มาพร้อมเราเตอร์มาตรฐาน WiFi 7 ในการรองรับดีไวซ์ Device ให้เชื่อมต่อได้ ลดปัญหาเกี่ยวกับช่องสัญญาณที่แออัด ทำให้ใช้งานได้ไหลลื่น รองรับการ สตรีมแบบวิดีโอแบบ 8K การใช้งาน VR ที่ตอบโจทย์ทุกคนในบ้านได้อย่างครบถ้วน
สำหรับทิศทางของเอไอเอสยังคงอยู่บนเส้นทางการเป็น องค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co พร้อมยึดหลัก พาย 3 ชิ้น หรือ ECOSYSTEM ECONOMY โดยเอไอเอสยังคง 1. ลงทุนในอินฟราสตรักเจอร์พร้อมพัฒนาสู่โครงข่ายเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ โดยจะมีบริการใหม่ ๆ เช่น 5G Living Network, WiFi 7, Enterprise Platform – CPaaS (Communication Platform as a Service) และ AIS Paragon ที่เชื่อมต่อเครือข่าย 5G, Fibre, Edge Computing, Cloud, และ Software Application
2. Cross Industry Collaboration เพราะเอไอเอสไม่อยากโตคนเดียว ดังนั้น ด้วยฐานลูกค้ากว่า 44 ล้านเลขหมาย จะช่วยให้พาร์ตเนอร์สามารถเติบโตไปพร้อมกับเอไอเอส อาทิ ความร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย เชื่อมโยงร้านค้าถุงเงินรวมกว่า 1.8 ล้านร้านค้า และจับมือห้างสรรพสินค้าชั้นนำ รวมถึงร้านค้าพาร์ตเนอร์ทั่วประเทศกว่า 30,000 แห่ง ให้นำ AIS Point ใช้แทนเงินสด ล่าสุด สามารถนำ Point ของพันธมิตรเอไอเอสมาเปลี่ยนเป็น AIS Point ได้ด้วย
ในส่วนขององค์กร ได้ร่วมกับ ZTE เพื่อเตรียมเปิดตัวบริการ Cloud PC for Enterprise ให้องค์กรใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านคลาวด์ในรูปแบบ Desktop as a Service (DaaS) และถือเป็น ครั้งแรกในอาเซียน ที่พร้อมให้บริการ Microsoft Teams Phone ให้องค์กรและพนักงานสามารถโทรออกไปยังเบอร์ภายนอกและรับสายได้ผ่าน Microsoft Teams รวมไปถึงการนำสุดยอดนวัตกรรม genAI ช่วยยกระดับการทำงานของ Microsoft 365 Copilot for Enterprise
สุดท้าย 3. ความยั่งยืน เพราะองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการดูแล เศรษฐกิจ ผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กัน ที่ผ่านมา เอไอเอสได้ทำหลักสูตร AIS อุ่นใจ CYBER ตั้งแต่ปี 2009 ในด้านสิ่งแวดล้อมก็มุ่งสร้าง Green Network ผ่านการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรม อาทิ การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในสถานีฐานเพื่อบริหารจัดการพลังงานให้, การเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานหมุนเวียนจากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และการรณรงค์แยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste
“เราไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนเลย เรายังยึดมั่นในพาย 3 ชิ้น เราอยากทำ ECOSYSTEM ECONOMY หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เพราะเราเชื่อว่าพาย 3 ชิ้นนี้จะนำไปสู่ Sustainable Nation เพื่ออนาคตไทยอย่างยั่งยืน” สมชัย ทิ้งท้าย
]]>ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เรียกว่าประเทศไทยได้เข้าสู่งสังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัว มีผู้ใช้งานดิจิทัลเพิ่มขึ้นมากมาย แต่สังคมดิจิทัลนี้เองก็มีทั้งคุณ และโทษในเวลาเดียวกัน แน่นอนว่ามีคุณอนันต์ทั้งในเรื่องของการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ แต่ก็ตามมาด้วยโทษทั้งทางตรง และทางอ้อม ไม่ว่าจะเรื่องความปลอดภัย รวมไปถึงผลเสียด้านจิตใจอีกด้วย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้งานโซเชียลมีเดียสูงเป็นอันดับต้นๆ แพลตฟอร์มใหญ่ๆ ล้วนมีผู้ใช้งานมหาศาล ได้แก่ Facebook มีผู้ใช้งาน 48.1 ล้านคน, YouTube 43.9 ล้านคน, TikTok 40.8 ล้านคน, Messenger 35.05 ล้านคน, Instagram 17 ล้านคน และ Twitter 14.6 ล้านคน นอกจากมีผู้ใช้งานที่สูงแล้ว จำนวนการใช้งานก็ไม่น้อยเลย บางคนถึงกับติดโซเชียล มีการใช้งานเฉลี่ยถึงวันละ 7-8 ชั่วโมงเลยก็มี
เมื่อสังคมดิจิทัลกำลังผลิบานไปทั่วโลก ผู้ประกอบการทางด้านโทรคมนาคม หรือไอทีที่เป็นหนึ่งในกลไลสำคัญในการขับเคลื่อนดิจิทัลก็ขอเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสังคมดิจิทัลที่สร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน
ในประเทศไทยเราเห็นได้ชัดจาก AIS หลังจากที่เคยประกาศว่าจะเป็นมากกว่าโอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือ ทรานส์ฟอร์มสู่ Digital Service Provider นั้น AIS ได้มีบริการที่หลากหลายออกมาตอบโจทย์ผู้ใช้งานดิจิทัล แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ลืมที่จะทำควบคู่กันไปก็คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมในการสร้างพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลด้วยเช่นกัน เพราะนอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างผลกำไรแล้ว หนึ่งในภารกิจใหญ่ของ AIS ก็คือ การสร้างสังคมดิจิทัลให้สร้างสรรค์ และปลอดภัยนั่นเอง
AIS ริเริ่มโครงการ “อุ่นใจ CYBER” ในปี 2562 โดยมีเป้าหมายให้คนไทยสามารถเข้ามาเรียนรู้วัดระดับการรับมือกับภัยไซเบอร์รูปแบบต่างๆ โดยมีทั้งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ และสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ใช้งานอย่างปลอดภัยมากขึ้น และในปีเดียวกันนั้นก็ได้เปิดให้บริการ AIS Secure Net และ Google Family Link ด้วยเช่นกัน
เส้นทางของอุ่นใจ CYBER มีวิวัฒนาการที่น่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2564 ได้เริ่มพัฒนาหลักสูตรอุ่นใจ CYBER ร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ในปี 2565 และได้นำหลักสูตรเข้าสถานศึกษาทั้งหมดในสังกัด สพฐ. เพื่อถ่ายทอดให้กับนักเรียนทั่วประเทศ ปัจจุบันมีผู้เรียนหลักสูตรอุ่นใจ CYBER แล้วกว่า 250,000 คน
โดยที่ในปี 2565 ในประเทศไทยได้มี “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ระบาดอย่างหนัก และมีคนตดเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมากมาย ทาง AIS จึงได้เปิดสายด่วน 1185 เพื่อรับแจ้งเบอร์ และ SMS มิจฉาชีพ และร่วมกับตำรวจไซเบอร์ในการจับมิจฉาชีพด้วย
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า
“ปัญหาภัยไซเบอร์กลายเป็นวาระที่ทั้งโลกหันมาให้ความสำคัญเพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคล ทั้งเรื่องการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงระดับประเทศ หรือองค์กร ในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิทัล ระบบสารสนเทศ ที่ต้องมีการรับมืออย่างจริงจัง
ดังนั้น AIS ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการดิจิทัล เราเข้าใจดีว่าเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญต่อสังคมดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่ผ่านมากว่า 4 ปี AIS จึงอาสาจุดประกายสังคมเกี่ยวกับประเด็นนี้ ตั้งแต่วันที่ดิจิทัลเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวิถีการใช้ชีวิต ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ทั้งในด้านการสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตราย และผลกระทบจากการใช้งาน การพัฒนาโซลูชันและบริการดิจิทัลเพื่อปกป้องและส่งเสริมการใช้งานอย่างปลอดภัย และการสร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดและทักษะของพลเมืองดิจิทัล”
สมชัยยังเสริมอีกว่า ยังจำได้ว่าในตอนที่เข้ารับตำแหน่ง CEO ใหม่ๆ ได้มีภารกิจ Digital for THAIS ในการสร้างสังคมดิจิทัลให้เข้าถึงคนไทยได้ทุกคนอย่างยั่งยืน แต่ว่าตอนนี้ภารกิจนี้อย่างเดียวไม่พอ ตอนนี้ต้องเป็น Cyber Wellness for THAIS ต้องทำสังคมดิจิทัลให้ปลอดภัย และเป็นประโยชน์
“ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา มีการใช้งานดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีข้อมูลว่าตอนนี้มีผู้ใช้งานดิจิทัลทั่วโลกรวมกว่า 1,200 ล้านคน แต่ในปี 2568 จะมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ล้านคน การใช้งานดิจิทัลได้แทรกซึมเข้าไปถึงทุกคน และอุปกรณ์ต่างๆ สมาร์ทโฟนก็จะทรงพลังมากขึ้น”
จากการที่ AIS ทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นแนวทางแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพ และเกิดความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการพัฒนาดัชนีชี้วัดที่จะบ่งบอกถึงระดับความรู้ และทักษะดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนของประชาชนในแต่ละกลุ่ม อันจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำเครื่องมือ และองค์ความรู้ส่งมอบให้กับคนไทยได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย และสอดคล้องกับปัญหาเกิดขึ้น
จึงได้เปิดตัว “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)” ถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทย โดยมีพันธมิตรรายสำคัญอย่าง “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” พร้อมนักวิชาการหลากหลายแขนง มาร่วมกันทำงานเพื่อยกระดับเรื่องดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม
ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ประกอบด้วย ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use), ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy), ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration), ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights), ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety), ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) และทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship)
มีขั้นตอนวิธีการเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุ และกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน จากผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น
สมชัย กล่าวเสริมอีกว่า “จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ทำให้เราเห็นจุดที่ต้องพัฒนาทักษะเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ใช้งานในอีกหลายประเด็น โดย AIS พร้อมด้วยพันธมิตรจะยังคงเดินหน้าทำงานเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง สุดท้ายต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนสำคัญทำให้ดัชนีฉบับนี้เป็นสมบัติของประเทศไทย อันจะเป็นเสมือนหนึ่งเข็มทิศที่ช่วยให้พวกเรามองเห็นเส้นทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง”
AIS มีความมุ่งมั่นในการสร้างสังคมดิจิทัลให้มีความปลอดภัย ทั้งในแง่ของการสร้างความตระหนักรู้ และภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ และไม่หยุดพัฒนาเพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างครอบคลุม
เพราะนอกเหนือจากภารกิจในการมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อคนไทยแล้ว AIS ยังมีอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัล หรือ Digital Literacy ให้สังคม ลูกค้า และประชาชนทุกกลุ่ม รู้เท่าทันภัยด้านไซเบอร์หลากหลายรูปแบบที่อาจเกิดตามมาจากการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต สื่อโซเชียล
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdf หรือองค์กรใดสนใจนำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index เพื่อใช้วัดผลและขับเคลื่อนองค์กร สามารถติดต่อมาได้ที่ [email protected]
]]>สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับตลาดและลูกค้าไปตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน เมื่อ เอไอเอส (AIS) ได้เป็นพันธมิตรกับ เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) พร้อมจัดแพ็คเกจรายเดือน ล่าสุด เอไอเอสก็ได้อีกแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง เอชบีโอ (HBO) กลับเข้ามาสู่มืออีกครั้ง ซึ่งจะยิ่งเสริมแกร่งคอนเทนต์ให้กับเอไอเอส
ย้อนไปปี 2560 ใครที่ใช้บริการ AIS Play บริการบันเทิงเต็มรูปแบบของเอไอเอสน่าจะคุ้นเคยกับช่อง HBO แต่ในปี 2563 ช่อง HBO ก็หมดสัญญาไป จนมาปี 2566 นี้ เอไอเอสก็ได้พา HBO กลับมาให้บริการอีกครั้ง และครั้งนี้พิเศษกว่าเดิม เพราะนอกจากแพลตฟอร์ม HBO Go แล้วยังมีอีก 5 ช่องเอ็กซ์คลูซีฟ ได้แก่ HBO, HBO Signature, HBO HITS, HBO Family และ Cinemax
การที่เอไอเอส ได้ HBO เข้ามาเป็นพันธมิตรใหม่อีกราย ทำให้เอไอเอสแทบจะกวาดแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่ให้บริการในไทยครบทุกรายแล้ว เพราะก่อนหน้านี้เอไอเอสก็พึ่งได้ Netflix เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา หรืออีกแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง Disney+ Hotstar นอกจากนี้ ไม่ว่าจะ IQIYI, VIU, WeTV หรือช่องกีฬาอย่าง beIN Sports ก็เป็นพาร์ทเนอร์กับเอไอเอสทั้งหมด ตอนนี้คงจะเหลือเพียง Prime Video แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของ Amazon ที่พึ่งทำตลาดในไทยไปไม่นานมานี้เท่านั้น
ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าทั่วไป บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS อธิบายว่า การแข่งขันของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่ว่าจะเป็น 5G หรืออินเตอร์เน็ตบ้าน คอนเทนต์ ได้กลายเป็น ส่วนเสริม และกลายเป็นเรื่องปกติถ้าไม่มีแปลว่าแปลก
ขณะที่เทรนด์ของไทยและทั่วโลก การใช้งานแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยจากจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต 71 ล้านคนในไทย มีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งถึง 25.15 ล้านราย คิดเป็น 38% มีมูลค่าจับจ่ายราว 12,341 ล้านบาท เติบโต 14.4% และมียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 1,291 บาท/คน/ปี เติบโต 8.26%
นอกจากนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการว่า คอนเทนต์เอนเตอร์เทนต์เมนต์ เป็นตัวขับเคลื่อนในการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยปัจจุบัน ค่าเฉลี่ยการใช้โมบายดาต้าทั่วไปเฉลี่ยที่ 22-24 GB ส่วนกลุ่มที่ใช้งานหนัก ๆ จะเกิน 40 GB ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรับชมวิดีโอ
ดังนั้น การเป็นพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มคอนเทนต์ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของเอไอเอส คือ นำเสนอโครงข่ายที่ดีคอนเทนต์ที่ดีให้กับลูกค้า ปัจจุบัน 5G ของเอไอเอสครอบคลุมพื้นที่กว่า 87%
“เราร่วมงานกับทุกคอนเทนต์พาร์ทเนอร์เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงคอนเทนต์คุณภาพ แต่ไม่จำเป็นว่าเราต้องเป็นเจ้าของคอนเทนต์ แต่เป็นพาร์ทเนอร์กับคนที่มีคอนเทนต์ โดยการเติบโตไปของเราจะอยู่บนพื้นฐานของอีโคซิสเต็มส์ที่ร่วมกับนี่พาร์ทเนอร์
การได้ HBO เข้ามา ทำให้ตอบโจทย์ลูกค้าสาวก DC, Harry Potter, ซีรีส์ Game of Thrones และ คอนเทนต์คุณภาพจากค่าย Warner Bros. อีกมากมาย บอกเลยว่าห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง ยิ่งลูกค้า AIS ทั้งในระบบเติมเงิน และรายเดือน รวมถึงลูกค้า AIS Fibre สามารถสมัครแพ็กเกจราคาพิเศษเริ่มต้นเพียง 99 บาท/เดือน นาน 3 เดือน (จากนั้นจะคิดค่าบริการตามปกติ 149 บาท/ เดือน) เพียงกด USSD *888# โทรออก
นอกจากนี้ ยังมีแพ็คเกจรายปี 999 บาท เพียงกด USSD *888*1#โทรออก ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 กรกฎาคม 2566 เท่านั้น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาและรายละเอียดแพ็กเกจ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ AIS PLAY https://www.ais.th/play/hbo.html และ HBO GO
]]>