AP – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 31 Aug 2017 07:49:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 AP ปล่อยของ “Better Social II” แคมเปญไอเดียเลิศ เตือนภัย “โรคซึมเศร้า” https://positioningmag.com/1138097 Wed, 30 Aug 2017 11:09:17 +0000 http://positioningmag.com/?p=1138097 ทุกวันนี้เราติดสังคมออนไลน์มากกว่าชีวิตจริงหรือเปล่า? การมีโซเชียลมีเดียเหมือนจะทำให้คุณกับครอบครัว และเพื่อนๆ ใกล้กันมากขึ้น แต่ถ้าลองสังเกตดีๆ แล้ว เราไม่เคยใกล้กันจริงๆ เวลานัดทานข้าวกันทีไรแทบจะคุยกันแต่ในแชท เงยหน้ามองกันแค่ตอนทักทาย สวัสดี จากนั้นก็เงยหน้าอีกทีตอนทานอาหาร จนเหมือนจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นได้ทั่วไป ในบางครั้งพฤติกรรมดังกล่าวอาจมีผลกระทบถึงคนรอบข้าง โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่ถูกหลงลืม ถูกลดความสำคัญ อาจเป็นเพราะโลกโซเชียลที่หมุนเร็ว ทำให้ 3 ใน 4 ของผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ มีโอกาสเสี่ยงเกิดเป็นภาวะโรคซึมเศร้าได้มากกว่าบุคคลวัยอื่น

ด้วยเหตุนี้ AP จึงขอต่อยอดจากแคมเปญ “Better Social” เมื่อปีที่แล้ว ถ้าใครยังจำกันได้แคมเปญที่ปลุกกระแส และรณรงค์ให้ผู้คนหันมาใส่ใจการ “เช็คก่อนแชร์” ผ่านคลิป “ความจริงของชายที่เคยถูกสังคมตราหน้าว่า ไอ้โรคจิต” ที่ประสบความสำเร็จและสร้างความฮือฮาอย่างมาก เป็นการกระตุ้นให้สังคมโซเชียลตระหนักถึงการส่งต่อข้อมูลซึ่งทำกันได้ง่ายๆ เพียงแค่กดปุ่มแชร์ แต่ในความง่ายนั้นอาจตามมาด้วยผลร้ายอย่างที่คุณคาดไม่ถึง ทำให้ตอนนี้ทุกก้าวของ AP เป็นที่จับตามองของใครหลายคน

ล่าสุดปีนี้ AP จึงร่วมมือกับ OgilvyOne ผุดแคมเปญ “Better Social II : Space Reconnect Experiment” สานต่อความตั้งใจที่ต้องการสร้างพื้นที่ผลักดันสังคมให้ดีขึ้นในทุกมิติ โดยเฉพาะในเรื่องของพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมีบทบาทในสังคม กระชับความสัมพันธ์ของคนรุ่นใหม่และผู้สูงอายุให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น พร้อมปล่อยหมัดฮุคแรงให้คนรุ่นใหม่ได้ย้อนกลับมาขบคิด ด้วยคำถามที่ว่า “โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ… คุณเป็นหนึ่งในสาเหตุหรือเปล่า?” เรื่องราวจะเป็นอย่างไรลองไปดูคลิปนี้กัน!

แม้ว่าสารที่ AP ต้องการสื่อไปยังคนดู คือ ภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ที่เกิดขึ้นจากการถูกละเลยและไม่ให้ความสำคัญ แต่ภาวะเสี่ยงโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุเหล่านั้น สามารถป้องกันได้ เพียงเรากระชับพื้นที่ระหว่างวัยเข้าหากัน หันมามองเห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุใกล้ๆ ตัว ในคลิปมีการนำองค์ความรู้ของคน 2 เจเนเรชั่น นั่นคือ ‘ครูหมู’ อดีตนักมวยไทย และ ‘ปันปัน’ ผู้เชี่ยวชาญการออกกำลังกายสมัยใหม่ มาแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญ โดยการนำศิลปะการไหว้ครูของมวยไทยรุ่นเก่า และการออกกำลังกายสไตล์ของคนรุ่นใหม่ มาผสมผสานจนเกิดเป็นการออกกำลังกายในรูปแบบใหม่ เรียกว่า MTX (MUAY THAI  X  MODERN EXERCISE) ครั้งแรกของโลก

และด้วยความ Real ของเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยปัจจุบัน ทำให้แคมเปญนี้ถูกเน็ตไอดอลชื่อดังหยิบไปเป็นไอเดียในการทำคลิปเพื่อเชื่อมพื้นที่ของคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่เข้าไว้ด้วยกันในสไตล์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น

Mintchyy บิวตี้บล็อกเกอร์สาวสวย มาสร้าง Space Reconnect ด้วยการชวนคุณแม่มาทำมาส์กหน้าสูตรจากรุ่นคุณยาย ผสานองค์ความรู้มาส์กหน้าของคนรุ่นใหม่ กลายเป็นมาส์กหน้าสูตรเด็กที่เห็นผลทันใจ

Fit Junctions ชวนปู่แบน นักเล่นกล้าม อายุ 75 ปี มาเผยเคล็ดลับการสร้างกล้ามอก ผสมกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของคนรุ่นใหม่ เกิดเป็นวิธีการออกกำลังกายที่ได้ผลดี และถูกต้อง

และสุดท้าย คุณนัท เจ้าของเพจพาทำ พาทาน ชวนคุณย่ามาเข้าครัวทำน้ำพริกกะปิสูตรโบราณ กินคู่กับซูชิชะอมไข่ พร้อมแชร์เคล็ดลับการเข้าครัวที่ใครหลายๆ คนอาจไม่เคยรู้

เห็นแบบนี้แล้วอยากกลับไปใช้เวลากับคนที่บ้านหรือยัง? ไม่แน่นะคุณอาจจะเจอพื้นที่เล็กๆ แต่เต็มไปด้วยความสุข อยู่ใกล้ตัวคุณแค่เอื้อมก็เป็นได้…

]]>
1138097
สำนักข่าวเอพีขอเชิญชมนิทรรศการมัลติมีเดียออนไลน์รำลึก 5 ปีเหตุการณ์ 9/11 https://positioningmag.com/30446 Fri, 08 Sep 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=30446

นิวยอร์ก–(บิสิเนส ไวร์)

“มันน่าสะพรึงกลัวเมื่อสิ่งที่คุณกำลังดูอยู่ได้เผยให้ปรากฏ แต่ส่วนหนึ่งของงานนี้คือการเป็นประจักษ์พยานแห่งประวัติศาสตร์” บิล กอร์แมน นักข่าวของเอพีพูดถึงการบันทึกภาพข่าวเหตุการณ์ที่เครื่องบินพุ่งชนตึกเพนตากอน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544

กอร์แมนและนักข่าวเอพีคนอื่นๆ ได้ถูกสัมภาษณ์สำหรับนิทรรศการซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษเพื่อรำลึกครบรอบปีที่ 5 ของเหตุการณ์ก่อการร้ายที่อาคารเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ อาคารกระทรวงกลาโหมสหรัฐ และบนเครื่องบินลำหนึ่งที่บินอยู่เหนือรัฐเพนซิลเวเนีย นอกจากจะมีการนิทรรศการดังกล่าวที่การประชุมนักข่าวและตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วสหรัฐแล้ว ประชาชนทั่วไปยังสามารถชมนิทรรศการนี้ได้ทางออนไลน์ที่ www.ap.org/911

นอกจากวิดีโอความยาว 10 นาที นิทรรศการจะนำเสนอภาพถ่ายที่ถ่ายในวันเกิดเหตุ เคียงข้างด้วยรูปภาพของสถานที่เดียวกันที่ถ่ายในเดือนมิถุนายน 2549 มาร์ตี้ ลีเดอร์แฮนด์เลอร์ อดีตพนักงานอาวุโสของเอพี ซึ่งปัจจุบันเกษียณอายุแล้ว ได้กล่าวย้อนไปถึงช่วงเวลาที่เขาอยู่บนยอดตึกของบริษัทเจเนอรัล อิเล็กทริค ซึ่งเป็นที่ที่เขาใช้ถ่ายภาพตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์หลังอาคารหลังแรกถูกเครื่องบินพุ่งชน “มันเป็นความรู้สึกที่แปลก คุณมองดูรูปที่มีตึกอยู่หลังหนึ่ง และรูปปัจจุบันที่ไม่มีตึกเหลืออยู่สักหลัง มีเพียงแค่ท้องฟ้าที่ว่างเปล่า”

รูปภาพก่อนและหลังเหตุการณ์ดังกล่าวถูกนำมาวางเคียงข้างกันเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความน่าสะพรึงกลัวของการก่อการร้ายในปี 2544 พร้อมกับความหวังถึงสภาวะปกติในปี 2549 “สำหรับผมแล้ว มันเป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเมืองนี้ได้เปลี่ยนแปลงกราวด์ ซีโร่ ไปมากขนาดไหนในแง่ของการฟื้นฟู” มาร์ค เลนนิแฮน ช่างภาพของเอพีกล่าว โดยนิทรรศการนี้อุทิศในกับความทุ่มเทและความกล้าหาญของนักข่าวทุกคนที่ต้องเผชิญกับความท้าทายและความเสี่ยงในการทำงาน

“เราเป็นผู้ตอบสนองกลุ่มแรก เหมือนกับที่ตำรวจ นักดับเพลิง และรถพยาบาลตอบสนองกับภัยพิบัติ เมื่อใดก็ตามที่มันเกิดขึ้น คุณเป็นช่างภาพและคุณต้องถ่ายภาพเหตุการณ์ให้ได้” ริชาร์ด ดรูว์ ช่างภาพของเอพีกล่าว ดรูว์ยังได้กล่าวถึงรูปถ่าย “คนตกตึก” ที่มีชื่อเสียงของเขา ซึ่งเป็นภาพถ่ายผู้ประสบเคราะห์กรรมบนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่ตกลงมาจากอาคารก่อนที่ตึกจะถล่มลงมา

ภาพเหตุการณ์อื่นๆ ในนิทรรศการ ประกอบด้วยภาพชาวนิวยอร์กที่ถูกปกคุลมไปด้วยฝุ่นกำลังเดินอยู่ในเมืองหลังตึกถล่ม เคียงข้างด้วยภาพผู้คนที่ยิ้มแย้มบนถนนเส้นเดียวกันในปี 2549 นักดับเพลิงด้านหน้าซากตึก คู่กับภาพการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ในปีนี้ ตึกเพนตากอนที่มีรูโหว่ขนาดใหญ่ 6 วันหลังจากถูกชน และภาพปัจจุบันที่ดูเหมือนว่าไม่เคยมีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น

สำหรับภาพวิดีโอนั้น ไมค์ ซิลเวอร์แมน บรรณาธิการบริหารของเอพี ได้กล่าวสรุปความพยายามของเอพีในวันที่ 11 กันยายน 2544 ว่า “เราทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ในการนำองค์ประกอบต่างๆ ของเรื่องราวนี้ รูปแบบต่างๆ และแง่มุมต่างๆ ทั่วโลกมาปะติดปะต่อกัน และเราพยายามจะทำสิ่งนั้นทุกๆ วัน”

นิทรรศการออนไลน์ยังประกอบไปด้วย
AP Log: ท่ามกลางความโกลาหลและความสับสนของเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 สถานีวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ทั่วโลก ไว้วางใจข้อมูลที่ถูกต้องและการอัพเดทข้อมูลอย่างรวดเร็วของเอพี

ข่าวสำคัญและข่าวด่วนเกี่ยวกับเหตุการณ์ 9-11-01: เมื่อหมดวัน เอพีได้จัดเก็บข่าว NewsAlert 25 ชิ้น Bulletin 18 ชิ้น Flashes 2 ชิ้น และรูปภาพเกือบ 1,000 รูป โดยสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในทุกเขตเวลาและทุกทวีปได้เผยแพร่ข่าวโดยอ้างถึงข่าวของเอพี

การรายงานข่าวยังดำเนินต่อไปในปี 2549: ข่าวเกี่ยวกับการครบรอบ 5 ปีของเหตุการณ์ 9-11 จะสามารถดูได้ในเว็บไซต์ต่างๆของสมาชิก และจะมีการเผยแพร่ไฮไลท์ของข่าวในเว็บไซต์นิทรรศการ

นิทรรศการนี้จะจัดขึ้นที่การประชุมนักข่าวอาชีพและวิทยาลัยด้านวารสารศาสตร์ตลอดฤดูใบไม้ร่วง โดยจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-11 กันยายน ณ สถานที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

— ชมรมนักข่าวแห่งชาติ (The National Press Club) ในวอชิงตัน ดีซี โดยจะจัดขึ้นร่วมกับการเปิดตัวรายงานของมาร์วิน คัลบ์ เกี่ยวกับมุมมองด้านประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ 9-11

— สถาบันการเมืองโดล (Dole Institute of Politics) ที่มหาวิทยาลัยแคนซัส ในเมืองลอร์เรนซ์ รัฐแคนซัส

— มหาวิทยาลัยอาร์คันซอในฟอร์ท สมิธ รัฐอาร์คันซอ

สำนักข่าวเอพี (The Associated Press) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยเป็นความร่วมมือระหว่างหนังสือพิมพ์และสถานีวิทยุโทรทัศน์ในสหรัฐ และเป็นเครือข่ายที่นำเสนอข่าว กีฬา ธุรกิจ บันเทิง การเมือง และเทคโนโลยีในสื่อทุกรูปแบบให้แก่สำนักข่าวราว 15,000 แห่งในกว่า 120 ประเทศ โดยเข้าถึงผู้คนมากกว่า 1 พันล้านคนต่อวัน

ติดต่อ: สำนักข่าวเอพี (The Associated Press)
ลินดา วากเนอร์, 212-621-1895
[email protected]
[email protected]

]]>
30446