ชัชพล องนิธิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence ของ EGG Digital ได้กล่าวถึงสื่อโฆษณาออนไลน์ในปี 2024 คาดว่าจะเติบโตได้ 8% ปีนี้ ปัจจัยสำคัญคือมีเรื่องสภาวะเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง
ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence ของ เอ้ก ดิจิทัล ยังกล่าวเสริมว่า แม้ว่าเศรษฐกิจดีไม่ดี แต่งบสำหรับโฆษณายังเติบโตอยู่ ปัจจุบันยอดดังกล่าวอยู่ที่ตัวเลขราวๆ 100,000 ล้านบาทมาโดยตลอด ชัชพลได้ชี้ว่าแต่ลูกค้าจะใช้เงินระวังมากขึ้น
เขายังชี้ว่าลูกค้านั้นจะลงโฆษณาในช่องทางเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เนื่องจากช่องทางที่ลงเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นใน TikTok หรือแม้แต่ช่องทางออนไลน์อื่นๆ
มองยุค Phygital กำลังเริ่มต้นขึ้น
ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence ของ Egg Digital ยังมองว่า ว่าปัจจุบันผู้บริโภคนั้นอยู่ในจุดเริ่มต้นของ Phygital Era ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Convenience คือความสะดวกสบาย ได้แก่ Micro Moment มีเวลาสั้นขึ้น กระชับขึ้น ทำให้เกิดการตัดสินใจเพียงเสี้ยววินาที และ Hyper Personalization การบริการเฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคล Effortless และต้องทำอะไรที่ให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องพยายาม
นอกจากนี้เขายังมองเทรนด์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Autonomous มีความเป็นปัจเจกบุคคล เช่น บนโลกออนไลน์เราอาจเป็นอีกคนหนึ่ง ผู้คนโหยหาพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ด้านนอก หรือแม้แต่โลกออนไลน์ ไปจนถึงเรื่อง Subculture ความชื่นชอบ ความสนใจที่ต่างกันไป ทำให้โลกออนไลน์เราจะเห็นว่ามีอินฟลูเอนเซอร์หรือแม้แต่ KOLs มีมากขึ้น และยังรวมถึง Immersive ผสานโลกจริงและโลกเสมือน ให้ลูกค้าได้ทดลอง หรือใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลาย
วงการสื่อก็ต้องการใช้ข้อมูล หรือเทคโนโลยีมากขึ้น
นอกจากนี้ ผู้บริหารของ EGG Digital รายนี้ยังมองว่า วงการสื่อตอนนี้เองก็ต้องการข้อมูลเช่นกัน เช่น ไว้ใช้ลงโฆษณาเพื่อที่จะตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายเอเจนซี่จะเริ่มเป็นพันธมิตรกับเจ้าของข้อมูลแล้ว เนื่องจากข้อมูลต่างๆ นั้นหายากมากขึ้น
ปัจจุบัน EGG Digital ยังมีลูกค้าระดับองค์กรมากถึง 200 บริษัท มีข้อมูลของลูกค้าราวๆ 15 ล้านราย มาจากโลตัสเป็นหลัก และมีข้อมูลลูกค้าบางส่วนที่ได้มาจากธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งบริษัทมองว่าข้อมูลลูกค้าดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ
ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence ของ Egg Digital ยังกล่าวว่า ปัจจุบันโฆษณาที่ใช้ AI ในการผลิต ชนะรางวัล Cannes Lion แล้ว โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 5% และเขาให้ข้อมูลว่าในอีก 10 ปีโฆษณาที่ผลิตจาก AI จะโตขึ้น 10 เท่า ประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นเทรนด์ที่เติบโต
Data และ AI คือเรื่องสำคัญ
ชัชพลยังกล่าวถึงปัจจุบันข้อมูล (Data) มีผลอย่างมาก เขาชี้ว่าบริษัทไหนที่มี Data ย่อมตอบตอบโจทย์ลูกค้าได้ไม่ว่าจะเป็นการดูเรื่องของข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าหรือผู้บริโภค (Consumer Insights) โดยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ให้เข้ากับธุรกิจสื่อ
เขายังชี้ว่า แม้อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาจะมี
การเข้ามาของ AI ทำให้ EGG Digital ได้เปิดตัวบริการ Media Fusion ให้บริการกับลูกค้า โดยใช้พลังของ AI และ Machine Learning ในการวางกลยุทธ์สื่อสาร การดำเนินงาน การเพิ่มประสิทธิภาพงาน รวมถึงการวัดผลของลูกค้าที่ใช้บริการ และบริษัทยังเตรียมนำเทคโนโลยี AR และ AI เข้ามาทำแคมเปญให้กับลูกค้าด้วย
]]>ภาพรวมใช้เม็ดเงินโฆษณาปี 2021 ช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน อุตสาหกรรมหลักได้แก่
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูตัวเลขเฉพาะเดือนกันยายนพบว่ามีการใช้เงินที่ 7,949 ล้านบาท โดยติดลบ -16% เมื่อเทียบกับปี 2020 และเมื่อแยกงบโฆษณาแต่ละประเภทในเดือนกันยายนพบว่าเม็ดเงินยังคง ลดลงเกือบทุกสื่อ ได้แก่
ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในปี 2021 โดย 3 ลำดับแรกได้แก่
อาจต้องรอดูงบในเดือนตุลาคมว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรบ้าง เพราะเป็นช่วงเดือนที่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้หลายอุตสาหกรรมกลับมาเปิดบริการได้ตามปกติ อาทิ ห้างสรรพสินค้า, ร้านอาหาร, โรงภาพยนตร์ และฟิตเนส ซึ่งน่าจะสะท้อนภาพของอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น
]]>TCP เป็นลูกค้าเรามานานกว่า 3 ปี เราเคยทำแคมเปญกับเขาเยอะมาก โดยปีที่ผ่านมาเรามีทำแคมเปญแบรนดิ้งให้กับ TCP ซึ่งการทำงานมันมีหลายเลเยอร์ มีหลายขั้นตอน จนทำมาทุกขั้นตอนแล้ว ทุกอย่างผ่านหมด เหลือแค่ถ่ายหนัง แต่เพราะ COVID-19 เลยทำให้งาน Cancel เลย แต่เราก็เข้าใจนะ เพราะไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่จะอยู่ได้ในช่วงนี้
แต่ที่เราเลือกทำคลิปนี้ เพราะเราไม่ได้มองว่า TCP เป็นลูกค้า แต่มองว่าเป็นพาร์ตเนอร์ พร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างตอนที่เขา Cancel เราก็ไปขออนุญาตทาง TCP เพื่อขอทำคลิป ตอนที่ผมขออนุญาตลูกค้า ผมร้องไห้เลย เพราะผมอึดอัดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่พอคลิปออกมา กลับ Affective เกินคาด มียอดแชร์กว่า 1.5 หมื่นครั้ง ยอดไลก์กว่า 3.4 หมื่นครั้ง และมากกว่านั้นคือ ช่วยให้คนเข้าใจแบรนด์ ช่วยให้คนจำชื่อแบรนด์ได้
“ถ้าฝั่งเอเจนซี่และลูกค้าไม่ได้มองว่าเป็นธุรกิจ แต่มองเป็นพาร์ตเนอร์ งานที่ออกมามันจะเปรี้ยงเลย ยิ่งการช่วยกันในช่วงนี้มันมีคุณค่ามาก มากกว่าคนรู้จัก ดังนั้นพอเกิดวิกฤติเราอย่ามองว่าเขาเป็นลูกค้า ให้มองเขาเป็นพาร์ตเนอร์”
เราก็ทำงานปกติทั่วไปเยอะอยู่แล้ว และในการทำงานแต่ละครั้งก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพงาน ว่าไปถึงระดับโลกได้ไหม สามารถคว้ารางวัลอะไรได้หรือเปล่า แต่พอเริ่มมีวิกฤติ COVID-19 เราก็เริ่มเห็นสัญญาณ ทั้งงานเลื่อนบ้าง โดน Cancel Project บ้าง และหลังจากนั้นไม่นานก็ต้องปรับรูปแบบมา Work from Home กองที่ออกก็ไม่ได้ออก จากที่เคยทำแต่ฝั่ง Creative แต่พองานไม่มีเราก็ต้อง ปรับจากการเป็นผู้รอเป็นฝั่งไปหา ถ้าไม่ได้โจทย์จากลูกค้า เราก็ต้องเสนองานให้ลูกค้าแทน ดังนั้นมันก็เลยจะเยอะคนละแบบ และหลังจากทำคลิปไป ปรากฏว่ามีลูกค้าเข้ามาติดต่อใหม่ 4 แบรนด์
วิกฤตินี้ไม่ใช่แค่ปรับตัวทำงาน แต่เป็นการปรับตัวในการใช้ชีวิต สำหรับผมมันเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยมี 2 พอยต์หลัก ๆ 1.New Normal Advertising คือ จากเดิมที่ต้องทำงานแบบเจอหน้ากัน เราไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะสามารถทำงานแบบไม่เจอหน้ากันได้ แต่วิกฤตินี้ก็เป็นข้อพิสูจน์ว่ามันทำได้ โดยที่ยังคงคุณภาพของงาน ส่วนหนึ่งมองว่าเป็นเพราะความสบายใจ ได้อยู่ในคอมฟอร์ตโซน เรามีการคุยกับลูกค้าผ่าน Zoom เราเรียนรู้ว่าออกกองไปถ่ายหนังไม่ได้ ก็เปลี่ยนมาไลฟ์สตรีม หรือไม่ก็ทำหนังแบบที่ไม่ต้องมีใครแบบคลิปที่เราออกมา วิกฤตินี้ทำให้เราสามารถปรับตัวให้เข้ากับมันได้
2.New Normal Family Time คือ ในวงการเอเจนซี่จะเป็นที่รู้กันว่าไม่ค่อยมีเวลาให้กับที่บ้าน บางทีวันหยุดก็ไม่ได้หยุด แต่ช่วงล็อกดาวน์เราต้องปรับตัวเป็น Family Person ต้องอยู่กับแม่ทั้งวัน อยู่กับภรรยาทั้งวัน ดังนั้นมันเป็นเหมือนปิดเทอมใหญ่มีการบ้านและมีกักบริเวณด้วย ซึ่งนี่ไม่ใช่โรคแรกที่ระบาด แต่ก่อนหน้านี้ก็มีโรคซาส์ และอื่น ๆ ดังนั้นมันแสดงให้เห็นว่า เราต้องปรับตัวจริง ๆ เราต้องเรียนรู้ว่าจะอยู่กับมันยังไง และจะใช้ประโยชน์จากมันยังไง
ผมว่าไม่ว่าธุรกิจไหนก็ตาม หรือการขายของอะไรก็ตาม ถ้าไม่มี Creativity ผมไม่เชื่อ เพราะถ้าทุกคนขายของเหมือนกัน ในราคาเท่ากัน ถ้าไม่มี Creativity จะเอาอะไรมาแตกต่าง เอาอะไรมาโดนใจลูกค้า ยิ่งมีเรื่อง COVID-19 ยิ่งรู้เลยว่า Creativity สำคัญกับโลกขนาดไหน เพราะลดราคาแล้วคนซื้อ ยังเข้าใจได้ แต่ถ้าทุกอย่างเหมือนกันเราก็ต้องแตกต่าง อย่างการบินไทยออกแคมเปญให้คนอยู่บ้านเพื่อสะสมไมล์ จากเดิมที่ต้องบินเพื่อให้ได้ไมล์ ซึ่งนี่คือตัวอย่างที่แสดงว่า Creativity มันสำคัญขนาดไหนในช่วง COVID-19
ที่ผ่านมาคนอยู่บ้านคนดูทีวีมากขึ้น ดังนั้นความต้องการโฆษณาก็จะมากขึ้น และยิ่งตอนนี้เริ่มคคลายล็อกดาวน์ เริ่มออกกองได้แม้จะจำกัดที่ 50 คนก็ตาม แต่ลูกค้าเริ่มกลับมาแล้ว แต่พวกรายการทีวีอาจต้องมีการปรับตัว จากที่มีคนในสตูเยอะ แต่จากนี้ไม่อยากให้คนเยอะแล้ว ดังนั้นตอนนี้เอเจนซี่ก็ต้องเริ่มรู้สึกว่าต้องมีแต่คนที่ ‘จำเป็น’ อยู่ในกอง ซึ่งสิ่งที่น่าสงสารคือ เด็กฝึกงานที่อาจจะไม่ได้อยู่ เพราะตอนนี้การใช้คนมันสเกลดาวน์เลย
ในตลาดเอเจนซี่ตอนนี้เราก็เห็นใจทุกคน เมื่อก่อนอาจต้องแข่งกันระหว่างเอเจนซี่ แต่ตอนนี้ต้องแข่งกับตัวเองให้อยู่รอด และจากนี้ทุกอย่างคงไม่เหมือนเดิม เพราะว่าบริษัทเรียนรู้และปรับตัว การทำงานก็ไม่ต้องจำเป็นต้องใช้คนมากเหมือนก่อน ดังนั้นจากนี้ต้องเป็น ‘เป็ด’ จะเก่งอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องรู้จักที่จะปรับตัวมากขึ้นจริง ๆ ดังนั้นต่อไปไม่ใช่แค่เด็กจบใหม่ แต่ในแต่ละองค์กรจะต้อง เหลือแต่คนเก่ง การมีคนเยอะอาจไม่จำเป็น ดังนั้น คนเก่าจะต้องถีบตัวเอง ซึ่งมันเป็นเรื่องดี คุณต้องพิสูจน์ตัวเองว่าคุณมีความสามารถพอที่จะยืนอยู่ตรงจุดนี้
]]>สื่อที่ใช้งบโฆษณามากสุดคืออนาล็อกทีวี 1,442 ล้านบาท ใช้ลดลง -22.85% ตามมาด้วยทีวีดิจิทัล 961 ล้านบาท ใช้เพิ่มขึ้น +1.18% สื่อหนังสือพิมพ์ 572 ล้านบาท ติดลบ-21.96%
สื่อโรงภาพยนตร์ 517 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นมาก 44.01% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขยายตัวของโรงภาพยนตร์ ตามมาด้วย สื่อนอกบ้าน 493 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.89% สื่อรถประจำทาง 348 ล้านบาท ลดลง 18.69%
สื่อวิทยุ 224 ล้านบาท ลดลง 22.76% แต่ยังใช้สูงกว่าสื่อเคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 167 ล้านบาท ลดลง 1.18% นิตยสาร 137 ล้านบาท ลดลง 42.19% อินเทอร์เน็ต 85 ล้านบาท ลดลง 17.48% และสื่อในห้าง 23 ล้านบาท ลดลง 34.29%
เดือนตุลาคม อันดับ 1 ทีวีไดเร็ค 127 ล้านบาท ที่ทุ่มงบโฆษณาจนแซงแบรนด์ใหญ่มาเป็นแชมป์ใช้งบสูงสุด อันเป็นผลมาจากนโยบายการอัดงบโฆษณา 60-80 ล้านบาท ปูพรมโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัล 18 ช่องในช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม เพื่อต้องการผลักดันยอดขายในช่วงปลายปี
อันดับ 2 เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF 74 ล้านบาท อันดับ 3 โตโยต้า รถยนต์นั่ง 68 ล้านบาท อันดับ 4 ธนาคารออมสิน 64 ล้านบาท
อันดับ 5 เทสโก้–โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 58 ล้านบาท อันดับ 6 วีจีไอ โกบอลมีเดีย 55 ล้านบาท อันดับ 7 เชฟรอน 48 ล้านบาท อันดับ 8 ธนาคารไทยพาณิชย์ 45 ล้านบาท อันดับ 9 โทรศัพท์มือถือ ออปโป้ 45 ล้านบาท และอันดับ 10 โทรศัพท์มือถือซัมซุง 44 ล้านบาท
อันดับ 1 ยังเป็นของ ยูนิลีเวอร์ 164 ล้านบาท อันดับ 2 บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด 127 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล 122 ล้านบาท
อันดับ 4 โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 100 ล้านบาท อันดับ 5 ตรีเพช อีซูซุ 94 ล้านบาท อันดับ 6 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร 75 ล้านบาท อันดับ 7 บริษัท โคคา โคลา (ประเทศไทย) 71 ล้านบาท
อันดับ 8 สยามสปอร์ต ซินดิเคท 68 ล้านบาท อันดับ 9 ธนาคารออมสิน 67 ล้านบาท อันดับ 10 บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ ประเทศไทย (นีเวีย) 61 ล้านบาท
หมายเหตุสำคัญ
สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit) : มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560
นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit), ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 เป็นต้นมา
อินเทอร์เน็ต – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT
สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่ และสื่อในห้าง
]]>สื่อที่ใช้งบโฆษณามากสุดคืออนาล็อกทีวี 33,937 ล้านบาท ใช้ลดลง -16.92% ตามมาด้วยดิจิทัลทีวี 18,015 ล้านบาท ใช้เพิ่มขึ้น +2.20% สื่อหนังสือพิมพ์ 6,397 ล้านบาท ติดลบ-21.66
สื่อโรงภาพยนต์ 5,630 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.03% สื่อนอกบ้าน 5,219 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.90% สื่อรถประจำทาง 4,903 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.79%
สื่อวิทยุ 3,630 ล้านบาท ลดลง 18.10% สื่อเคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 2,492 ล้านบาท ลดลง 17.13% นิตยสาร 1,622 ล้านบาท ลดลง 34.96%
อินเทอร์เน็ต 1,247 ล้านบาท ลดลง 13.40% และสื่อในห้าง 761 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.64 %
ช่วง 10 เดือนของปี 2560 พบว่า แบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด ยังคงเป็นของ กระทะโคเรียคิง 981 ล้านบาท อันดับ2 โค้ก 700 ล้านบาท อันดับ 3 โตโยต้า รถยนต์นั่ง 601 ล้านบาท อันดับ 4 โตโยต้า ปิกอัพ 549 ล้านบาท
อันดับ 5 ธนาคาคออมสิน 547 ล้านบาท อันดับ 6 โทรศัพท์มือถือ ออปโป้ 538 ล้านบาท อันดับ 7 เทสโก้ โลตัส ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ 527ล้านบาท อันดับ 8 ช้าง คอร์ปอเรชั่น 511 ล้านบาท อันดับ 9 โทรศัพท์มือถือ วีโว่ 486 ล้านบาท อันดับ 10 ดีแทค ไอเอสพี 455 ล้านบาท
อันดับ 1 ยังเป็นของ ยูนิลีเวอร์ 3,228 ล้านบาท อันดับ2 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 1,686 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล 1,570 ล้านบาท อันดับ 4 บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่น 1,147 ล้านบาท อันดับ 5 ตรีเพช อีซูซุ 1,144 ล้านบาท
อันดับ 6 บริษัท โคคา โคล่า (ประเทศไทย) 1,044 ล้านบาท อันดับ 7 บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ ประเทศไทย (นีเวีย) 997 ล้านบาท อันดับ 8บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ 989 ล้านบาท อันดับ 9 เนสท์เล่ (ไทย) 980 ล้านบาท อันดับ 10 สำนักนายกรัฐมนตรี 979 ล้านบาท
หมายเหตุสำคัญ
สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่(transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560
นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่นสื่อเคลื่อนที่(transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี2559 เป็นต้นมา
อินเตอร์เน็ท – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่อ อินเตอร์เน็ทโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ททั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจากDAAT
สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้างTesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่, และสื่อในห้าง
]]>อันดับ 4 โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 100 ล้านบาท อันดับ 5 ตรีเพช อีซูซุ 94 ล้านบาท อันดับ 6 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร 75 ล้านบาท อันดับ 7 บริษัท โคคา โคลา (ประเทศไทย) 71 ล้านบาท
อันดับ 8 สยามสปอร์ต ซินดิเคท 68 ล้านบาท อันดับ 9 ธนาคารออมสิน 67 ล้านบาท อันดับ 10 บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ ประเทศไทย (นีเวีย) 61 ล้านบาท
]]>อันดับ 2 เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF 74 ล้านบาท อันดับ 3 โตโยต้า รถยนต์นั่ง 68 ล้านบาท อันดับ 4 ธนาคารออมสิน 64 ล้านบาท
อันดับ 5 เทสโก้–โลตัส ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ 58 ล้านบาท อันดับ 6 วีจีไอ โกบอลมีเดีย 55 ล้านบาท อันดับ 7 เชฟรอน 48 ล้านบาท อันดับ 8 ธนาคารไทยพาณิชย์ 45 ล้านบาท อันดับ 9 โทรศัพท์มือถือ ออปโป้ 45 ล้านบาท และ อันดับ 10 โทรศัพท์มือถือซัมซุง 44 ล้านบาท
]]>อันดับ 5 ตรีเพชร อีซูซุ 1,050 ล้านบาท อันดับ 6 เนสท์เล่ (ไทย) 973.9 ล้านบาท อันดับ 7 โคคา-โคลา (ประเทศไทย) 973.6 ล้านบาท อันดับ 8 ไทยเบฟเวอเรจ 946 ล้านบาท อันดับ 9 บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ ประเทศไทย (นีเวีย) 936 ล้านบาท และอันดับ 10 สำนักงานนายกรัฐมนตรี 929 ล้านบาท
องค์กรใชงบเพิ่มในเดือนนี้ มีแค่ 3 ราย คือ พีแอนด์ จี, ไทยเบฟเวอเรจ และสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เหลือใช้งบลดลง
]]>อันดับ 2 โค้ก 658 ล้านบาท อันดับ 3 โตโยต้ารถยนต์นั่ง 580 ล้านบาท อันดับ 4 โตโยต้า ปิกอัพ 541 ล้านบาท อันดับ 5 ช้างคอร์ปอเรชั่น 507 ล้านบาท อันดับ 6 โทรศัพท์มือถือ ออปโป้ 493 ล้านบาท อันดับ 7 ธนาคารออมสิน 483 ล้านบาท อันดับ 8 เทสโก้ โลตัส 468 ล้านบาท อันดับ 8 โทรศัพท์มือถือ วีโว่ 455 ล้านบาท และดีแทค 420 ล้านบาท
แบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาลดลง คือ โคเรียคิง โค้ก โตโยต้า และเทสโก้ โลตัส ส่วนแบรนดใช้เพิ่มขึ้น ช้าง คอร์ปอเรชั่น ออปโป้ ธนาคารออมสิน วีโว่ และดีแทค
]]>สื่อโฆษณาใช้งบสูงสุด ยังคงเป็น ทีวีอนาล็อกช่องเดิม 32,495 ล้านบาท แต่ใช้ลดลง -16.64% ตามมาด้วยทีวีดิจิทัล 17,222 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +3.27% หนังสือพิมพ์ 5,826 ล้านบาท ลดลง –21.22%
สื่อโรงภาพยนตร์ 5,113 ล้านบาท ใช้เพิ่ม +21.22%, สื่อนอกบ้าน 4,728 ล้านบาท +12.73%, สื่อรถประจำทาง 4,561 ล้านบาท +16.38%, สื่อวิทยุ 3,406 ล้านบาท -17.77%
เคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 2,325 ล้านบาท -18.08%, นิตยสาร 1,450 ล้านบาท -35.76%, อินเทอร์เน็ต 1,162 ล้านบาท -13.09%, สื่อในห้างสรรพสินค้า 737 ล้านบาท +33.76%
สื่อที่ใช้เพิ่มเมื่อเทียบกับ 9 เดือนของปี 2559 คือ ทีวีดิจิทัล, สื่อโรงภาพยนตร์, สื่อนอกบ้าน สื่อรถประจำทาง และสื่อในห้างสรรพสินค้า
ส่วนที่ติดลบ ทีวีอนาล็อก หนังสือพิมพ์ วิทยุ เคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียมนิตยสาร อินเทอร์เน็ต
ESTIMATED TOTAL ADVERTISING EXPENDITURE BYMEDIUMExclude Section : Classified, House ads YTD Sep 2017 VS YTD Sep 2016 BAHT MILLIONS
อันดับ 1 ยังเป็นของกระทะโคเรียคิง 956 ล้านบาท ถึงแม้ว่าช่วงกลางปีจะลดงบโฆษณาลง แต่ช่วงต้นปีมีการใช้งบโฆษณาต่อเนื่องสูง จึงทำให้ภาพรวมของทั้ง 9 เดือนยังติดอันดับแรก ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด
อันดับ 2 โค้ก 658 ล้านบาท อันดับ 3 โตโยต้ารถยนต์นั่ง 580 ล้านบาท อันดับ 4 โตโยต้า ปิกอัพ 541 ล้านบาท อันดับ 5 ช้างคอร์ปอเรชั่น 507 ล้านบาท อันดับ 6 โทรศัพท์มือถือ ออปโป้ 493 ล้านบาท อันดับ 7 ธนาคารออมสิน 483 ล้านบาท อันดับ 8 เทสโก้ โลตัส 468 ล้านบาท อันดับ 8 โทรศัพท์มือถือ วีโว่ 455 ล้านบาท และดีแทค 420 ล้านบาท
แบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาลดลง คือ โคเรียคิง โค้ก โตโยต้า และเทสโก้ โลตัส ส่วนแบรนดใช้เพิ่มขึ้น ช้าง คอร์ปอเรชั่น ออปโป้ ธนาคารออมสิน วีโว่ และดีแทค
อันดับ 1 ยูนิลีเวอร์ 3,064 ล้านบาท อันดับ 2 โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 1,585 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล หรือ พีแอนด๋จี 1,447 ล้านบาท อันดับ 4 บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่นส์ (โคเรีย คิง) 1,117 ล้านบาท
อันดับ 5 ตรีเพชร อีซูซุ 1,050 ล้านบาท อันดับ 6 เนสท์เล่ (ไทย) 973.9 ล้านบาท อันดับ 7 โคคา-โคลา (ประเทศไทย) 973.6 ล้านบาท อันดับ 8 ไทยเบฟเวอเรจ 946 ล้านบาท อันดับ 9 บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ ประเทศไทย (นีเวีย) 936 ล้านบาท และอันดับ 10 สำนักงานนายกรัฐมนตรี 929 ล้านบาท
องค์กรใชงบเพิ่มในเดือนนี้ มีแค่ 3 ราย คือ พีแอนด์ จี, ไทยเบฟเวอเรจ และสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เหลือใช้งบลดลง
หมายเหตุ
สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560
นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit), ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 เป็นต้นมา
อินเทอร์เน็ต – ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT
สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้างTesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่, และสื่อในห้าง
]]>