Alliacense – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 02 Mar 2006 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ฟูจิตสึซื้อลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองโดย MMP Portfolio https://positioningmag.com/27844 Thu, 02 Mar 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=27844

คูเปอร์ติโน่, แคลิฟอร์เนีย–(บิสิเนส ไวร์) — ฟูจิตสึ ร่วมเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ได้แก่ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และคาสิโอ คอมพิวเตอร์ ที่ซื้อลิขสิทธิ์ในเทคโนโลยีที่แพร่หลายของ MMP Portfolio

Alliacense ประกาศในวันนี้ว่า ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด ได้ซื้อลิขสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองโดย Moore Microprocessor Patent(TM) (MMP) Portfolio ฟูจิตสึจะกลายเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตระบบระดับโลก ซึ่งรวมถึง ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และคาสิโอ คอมพิวเตอร์ ที่เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ MMP Portfolio ทั้งนี้ ไม่มีการเปิดเผยเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงของลิขสิทธิ์ดังกล่าว

แมค เลคโครน (Mac Leckrone) ประธานของ Alliacense กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ดิจิตอลต่างๆที่อาศัยประโยชน์จากเทคนิคในการออกแบบของ MMP นั้น มีราคาแพงมาก เขาระบุด้วยว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ กล้องดิจิตอล และเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และแม้แต่ระบบอิเล็คทรอนิคส์ของรถยนต์ ต่างก็ได้รับการออกแบบด้วยอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ที่หลากหลายที่ใช้เทคโนโลยี MMP Portfolio

“โครงการลิขสิทธ์ของเราตอบแทนผู้เคลื่อนไหวกลุ่มแรกในภาคอุตสาหกรรมของพวกเขา ด้วยการลดราคาลงอย่างมาก” นายเลคโรนกล่าว “ด้วยการออกแบบ โครงสร้างลิขสิทธิ์ของเราจะช่วยให้ผู้ผลิตระบบที่มีความคล่องตัวและมองการณ์ไกลได้เปรียบคู่แข่งของพวกเขา”

นายเลคโครนยืนยันว่า Alliacense ได้ติดต่อกับผู้ผลิตระบบหลายร้อยรายทั่วโลก และยืนยันว่าการแข่งขันด้านลิขสิทธิ์ในหลายภาคการตลาดกำลังเป็นไปอย่างเข้มข้น

“เมื่อผู้ค้าฮาร์ดแวร์ดิจิตอลตระหนักถึงการพึ่งพาอย่างแพร่หลายในทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองโดย MMP Portfolio พวกเขาจะรู้ซึ้งถึงความจำเป็นอย่างมากในการเข้าถึงเทคโนโลยี MMP พื้นฐานได้อย่างต่อเนื่อง”

“มันมีความจำเป็นที่จะต้องคงอิสรภาพในการออกแบบผลิตภัณฑ์และหลีกเลี่ยงปัญหาด้านซัพพลายเชน” นายเลคโครนกล่าว พร้อมกับระบุว่า Alliacense ยังได้นำเสนอลิขสิทธิ์ที่เรียบง่ายและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแก่ผู้ประกอบการในภาคเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกอีกด้วย

เกี่ยวกับ MMP(TM) Portfolio
Moore Microprocessor Patent(TM) Portfolio ซึ่งตั้งชื่อตามนักลงทุนผู้เป็นตำนาน ชาร์ลส “ชัค” มัวร์ (Charles “Chuck” Moore) ประกอบด้วยสิทธิบัตรสหรัฐฯ 7 ฉบับ รวมถึงของยุโรปและญี่ปุ่น สิทธิบัตรเหล่านี้ ซึ่งได้รับการคุ้มครองไปจนถึงปี 2558 นั้น จะคุ้มครองเทคนิคต่างๆที่ใช้ในการออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตัวประมวลสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal Processor : DSPs) โปรเซสเซอร์แบบฝังตัว และ System-on-Chip (SoC)

หลังจากที่ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่าง อินเทล และ เอเอ็มดี ได้พิสูจน์ความคุ้มค่าของ MMP Portfolio เมื่อปี 2548 ขณะนี้ การมอบลิขสิทธิ์ MMP กำลังมุ่งเน้นไปที่ผู้ผลิตระบบทั่วโลก

เกี่ยวกับ Alliacense

Alliacense เป็นบริษัทในเครือ TPL Group Enterprise ซึ่งให้บริการด้านการออกใบอนุญาตและการดำเนินการทรัพย์สินทางปัญญา ในฐานะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การออกใบอนุญาต IP การพัฒนาธุรกิจ และผู้บริหารโครงการ Alliacense ให้ความสำคัญกับการเพิ่มความตระหนักถึงทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่ม TPL โดยกลุ่ม TPL เป็นบริษัทพัฒนาและจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2532 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ www.alliacense.com

Alliacense, Moore Microprocessor Patent และ MMP เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท Technology Properties Limited (TPL)

เครื่องหมายการค้าอื่นๆทั้งหมดเป็นของเจ้าของที่เกี่ยวข้องแต่ละราย

]]>
27844
Alliacense เปิดตัวโครงการออกใบอนุญาตครั้งสำคัญสำหรับสิทธิบัตรไมโครโปรเซสเซอร์พื้นฐาน https://positioningmag.com/24031 Fri, 29 Jul 2005 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=24031

คูเปอร์ติโน่, แคลิฟอร์เนีย–(บิสิเนส ไวร์)–27 ก.ค.2548 – บริษัท Alliacense ซึ่งอยู่ในเครือกลุ่ม TPL ที่มุ่งเน้นการให้ใบอนุญาตการบริหารโครงการ ประกาศในวันนี้ว่า ทางบริษัทได้เพิ่มความพยายามเพื่อแจ้งและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ผลิตระบบกว่า 100 รายทั่วโลกที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการคุ้มครองจากสิทธิบัตรไมโครโปรเซสเซอร์มัวร์ (Moore Microprocessor Patent: MMP) ซึ่งสิทธิบัตรพื้นฐานที่มีการยื่นขอจดในช่วงทศวรรษ 1980 ดังกล่าวครอบคลุมเทคนิคต่างๆที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในไมโครโปรเซสเซอร์รวมทั้งตัวประมวลผล (digital signal processor: DSP), โปรเซสเซอร์แบบฝังตัว และโซลูชั่น system-on-chip

นอกจากนี้ Alliacense ยืนยันว่า บริษัทอินเทล คอร์ปอเรชั่น (Nasdaq: INTC) และบริษัทแอดวานซ์ไมโคร ดีไวเซส (NYSE: AMD) อยู่ในกลุ่มแรกๆที่ถือใบอนุญาต MMP ซึ่งได้ยอมรับใบอนุญาต MMP Portfolio ที่ได้รับการตั้งชื่อตามนายชาร์ลส์ เอช.มัวร์ นักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยข้อมูลของ Alliacense ระบุว่า การออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทชั้นนำในช่วงเริ่มแรกของโครงการให้ใบอนุญาตนั้นเป็นแผนกลยุทธ์ทั่วไปที่จะสร้างความน่าเชื่อถือและก่อให้เกิดแรงหนุนต่อเนื่องสำหรับการดำเนินความพยายามในการออกใบอนุญาตต่อไป

เนื่องจากบริษัทผลิตชิพไมโครโปรเซสเซอร์ชั้นนำกำลังดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้รับใบอนุญาต MMP Portfolio ดังนั้น Alliacense จึงพุ่งความสนใจไปที่การนำเสนอการให้ใบอนุญาตที่ครบถ้วนแก่ผู้ผลิตระบบชั้นนำที่ให้บริการแก่ตลาดคอมพิวเตอร์, การสื่อสารและความบันเทิง และเนื่องจากระบบดังกล่าวมักใช้โปรเซสเซอร์เดี่ยว 10-20 ตัวที่ได้รับการปรับเป็นพิเศษเพื่อให้เหมาะกับ input/output และอินเตอร์เฟซผู้ใช้แต่ละตัว ผู้ผลิตระบบจึงต้องการการครอบคลุมใบอนุญาตที่รับรองว่า ระบบที่พวกเขาใช้อยู่ในปัจจุบันจะไม่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบทางกฎหมาย และสินค้าที่วางแผนไว้มีประโยชน์ในเรื่องความยืดหยุ่นด้านการออกแบบ “เห็นได้ชัดว่า วิธีที่น่าดึงดูดใจมากที่สุดสำหรับลูกค้าในภาคการผลิตระบบของพวกเราคือการได้รับใบอนุญาตเดียวที่มีราคาไม่แพงซึ่งครอบคลุมระบบโดยรวม” นายแมค เลคโครน ประธานและซีโอโอของ Alliacense ยืนยัน

นายเลคโครนระบุว่า Alliacense มีตัวแทนในสหรัฐอเมริกา เอเชีย และยุโรปซึ่งพร้อมจะพูดคุยเรื่องโครงการให้ใบอนุญาต MMP และโอกาสที่เอื้อหนุนสำหรับผู้ผลิตระบบลำดับต้นๆที่ซื้อใบอนุญาตดังกล่าว และเขายังยืนยันว่า ทีมงานของ Alliacense กำลังหารืออย่างแข็งขันกับผู้ผลิตชั้นนำทั่วโลก

Alliacense ระบุว่า ใบอนุญาต MMP Portfolio ซึ่งกลุ่มบริษัท TPL ออกใบอนุญาตแต่เพียงผู้เดียวนั้น เป็นใบอนุญาตที่เข้าใจได้ง่ายและอธิบายได้ง่ายมาก และกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้น โดยสิทธิบัตรที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด 3 ประเภทในกลุ่ม MMP Portfolioได้แก่:

– US ‘336: Separate CPU and I/O clocks
– US ‘584: Multiple Instruction Fetch
– US ‘148: On-Chip Oscillator and Embedded Memory

“เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะได้เห็นการประดิษฐ์คิดค้นที่น่าทึ่งดังกล่าว โดยเฉพาะที่อยู่นอกเหนือกรอบมาตรฐานอย่างเป็นทางการ” ดร.นิค เทรเดนนิค ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็น Fellow of the IEEE ในฐานะที่ให้การสนับสนุนการออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์ และบรรณาธิการรายงานเทคโนโลยีกิลเดอร์ (Gilder Technology Report) กล่าว

สำหรับ MMP Portfolio รวมสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นด้วย และได้รับการคุ้มครองจนถึงปี 2558

เกี่ยวกับนายชาร์ลส์ เอช.มัวร์
ในฐานะซีทีโอของกลุ่มบริษัท TPL คนปัจจุบัน นายชาร์ลส์ “ชัค” มัวร์ อาจมีชื่อเสียงมากที่สุดในเรื่องการประดิษฐ์ภาษาซอฟท์แวร์ Forth ในปี 1968 โดยนายมัวร์ได้ร่วมก่อตั้งบริษัท Forth Inc ในปี 2514 และได้พัฒนาชิพที่ทำงานบน Forth (RTX2000) ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสิ่งที่องค์การนาซ่ายังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในขณะนี้ และในฐานะคาวบอย คอมพิวเตอร์ นายมัวร์ได้ออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์ Sh-Boom และจากนั้นได้ร่วมก่อตั้งบริษัท iTV ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้งานกับอินเทอร์เน็ต (Internet Appliance) และในช่วงทศวรรษ 1990 เขาได้ใช้ซอฟท์แวร์ CAD ของตนเองในการออกแบบชิพ custom VLSI หลายตัว ซึ่งรวมถึงโปรเซสเซอร์ F21 ที่มีอินเตอร์เฟซ เน็ตเวิร์ค และล่าสุด เขาได้คิดค้น ColorForth และเชื่อมต่ออุปกรณ์ออกแบบ VLSI ของเขาเข้ากับ ColorForth

เกี่ยวกับ Alliacense
Alliacense เป็นบริษัทในเครือกลุ่ม TPL ที่ให้บริการดีที่สุดในการออกใบอนุญาตการบริหารโครงการ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการออกใบอนุญาตกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง Alliacense ยังดำเนินโครงการที่เพิ่มความตระหนักถึงทรัพย์สินทางปัญญาของกลุ่ม TPL ที่ส่งผลกระทบโดยรวมต่ออุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ กลุ่ม TPL เป็นบริษัทจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2532 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ www.alliacense.com

]]>
24031