B’lue – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 30 Apr 2019 08:55:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 SAPPE ตั้งเป้ารายได้ปี 62 เติบโตก้าวกระโดด 30% รุกโหมแคมเปญตลอดปี ชู B’lue และ All Coco ดันสัดส่วนรายได้ในประเทศแตะ 40% https://positioningmag.com/1227655 Tue, 30 Apr 2019 08:39:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1227655 บมจ.เซ็ปเป้ หรือ SAPPE ตั้งเป้าปี 62 เป็นปีแห่งการเติบโตก้าวกระโดด ตั้งเป้าดันรายได้พุ่งจากปีก่อน 30% จากการเปิดตัวเครื่องดื่มใหม่ B’lue การรับรู้รายได้จากออล โคโค และแผนงานเปิดตัวสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่องในปีนี้ ประเมินแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มฤดูร้อนนี้แข่งขันดุเดือด ลุยทำกิจกรรมกระตุ้นตลาดและแคมเปญส่งเสริมการขายตลอดทั้งปี เตรียมปูพรมจัดกิจกรรมให้ผู้บริโภคทดลองชิม B’lue เครื่องดื่มใหม่ที่เปิดตัวเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พร้อมตั้งเป้าดันสัดส่วนยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 40% ภายในปีนี้           

นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE ผู้นำการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มนวัตกรรมที่มุ่งตอบสนองผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ เปิดเผยว่า ปี 2562 ถือเป็นปีแห่งการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าผลักดันรายได้ปีนี้เติบโต 30% จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 2,886 ล้านบาท

โดยปัจจัยหลักจะมาจาก 3 ส่วน ได้แก่

  1. ยอดขายเครื่องดื่มผสมวิตามิน B’lue ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ร่วมทุนกับบริษัท MYEN PTE.LTD. หรือ Danone และเปิดตัวเป็นที่เรียบร้อย
  2. การรับรู้รายได้จากบริษัท ออล โคโค จำกัด หลังเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 51% และ
  3. การทยอยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของ SAPPE และออล โคโค ในปีนี้ อาทิ เครื่องดื่ม Sappe Beauti Drink สูตรใหม่ Beauti Acna นวัตกรรมเครื่องดื่มที่มีคุณประโยชน์ช่วยแก้ไขปัญหาสิวและบำรุงผิวพรรณ   

ทั้งนี้ บริษัทฯ ประเมินภาพรวมตลาดเครื่องดื่มในปีนี้มีความคึกคักและแข่งขันกันอย่างรุนแรงไม่แพ้ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนปีนี้ซึ่งถือเป็นฤดูการขายสินค้าของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม คาดว่าจะมีสภาพอากาศร้อนจัด จึงมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมโหมทำโฆษณาและแคมเปญการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายสินค้าอย่างเต็มที่

ขณะเดียวกัน SAPPE ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เตรียมโหมกิจกรรมการตลาดตลอดทั้งปี ซึ่งจะมีทั้งการจัดกิจกรรมการตลาด การทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายและการออนแอร์ภาพยนตร์โฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขายสินค้าอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนปีนี้ โดยหลังจากบริษัทฯ ร่วมทุนกับ MYEN PTE.LTD. หรือ Danone ผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ของโลก เปิดตัว B’lue ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผสมวิตามิน 3 รสชาติ ได้แก่ รส COOL CALAMANSI รส PLAYFUL PEACH และรส POSITIVE PEAR เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเครื่องดื่มเซกเมนต์ใหม่ที่มีจุดเด่นปริมาณน้ำตาลต่ำปัจจุบันได้วางแผนรุกจัดกิจกรรมแบบปูพรมให้ผู้บริโภคทดลองชิมสินค้าตัวอย่าง เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นกลุ่ม i-Gen

“เราประเมินว่าแนวโน้มตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนอลดริ้งค์ในปีนี้จะมีอัตราเติบโต 3 – 5% จากความคึกคักของการเปิดตัวสินค้าใหม่และการจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดของผู้ประกอบการหลายๆ รายในช่วงฤดูร้อนนี้ สะท้อนจากยอดขายสินค้าเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาที่ปรับตัวดีขึ้น โดยในส่วนของบริษัทฯ นอกจากการร่วมทุนเปิดตัวเครื่องดื่ม B’lue ที่วางจำหน่ายสินค้าทั่วประเทศไปแล้ว เรายังมีแผนออนแอร์ภาพยนตร์โฆษณาผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง” นางสาวปิยจิต กล่าว

]]>
1227655
ขาย “น้ำเปล่า” ยุคนี้ต้องมี “รสชาติ” goodmood -B’lue หวังสร้างพอร์ตใหม่ในตลาดน้ำ https://positioningmag.com/1224433 Thu, 11 Apr 2019 01:55:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1224433 ท่ามกลางความร้อนระอุของอากาศที่นับวันจะยิ่งร้อนขึ้นทุกวัน ก็ยังร้อนไม่เท่ากับการแข่งขันใน “ตลาดเครื่องดื่ม” มูลค่ามหาศาลไม่ต่ำกว่า 2.3 แสนล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “ตลาดน้ำดื่ม” มูลค่ า36,000 ล้านบาท ที่ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเป็นตัวเลข 2 หลักในช่วง 5 ปีมานี้ ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ ยังอยู่ในภาวะประคองตัวหรือติดลบ

“พ.ร.บ.สรรพสามิตฉบับใหม่” ทำตลาด “สะดุด”

ที่เป็นอย่างนั้นเพราะเกิดความเคลื่อนไหวสำคัญของตลาดเครื่องดื่มในช่วง 2 ปีนี้ มาจาก “พ.ร.บ.สรรพสามิตฉบับใหม่” เรียกเก็บภาษีความหวานจากผลิตภัณฑ์ทุกชนิด ซึ่งภาษีชนิดนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมาก่อน

ตามกำหนดได้เริ่มเก็บรอบแรกเดือนกันยายน ปี 2017 ในเครื่องดื่มที่มีค่าความหวานเกิน 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ต้องเสียภาษี และเดือนตุลาคมนี้ภาษีน้ำหวานรอบใหม่จะจัดเก็บเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่เกิน 10 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร แบบขั้นบันได อัตราสูงสุดเพิ่มขึ้น 400% ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการจึงเดินหน้าพัฒนาสินค้า ลดหวานเข้ามาในพอร์ตโพลิโอของทุกค่าย

นีลเส็น ประเทศไทย รายงานว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) อยู่ในภาวะเติบโต “ติดลบ” เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี มาจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และที่สำคัญคือการขึ้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาษีน้ำตาล ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งตลาดไทยเครื่องดื่มถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูง

การที่ตลาดเครื่องดื่มติดลบจากอัตราภาษีใหม่จึงส่งผลกระทบต่อตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคให้อยู่ในภาวะ “ติดลบ” ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ดังนั้นหากสำรวจชั้นวางสินค้าพบว่าผู้ผลิตในกลุ่ม “ซอฟต์ดริงก์” ปรับตัวด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่สูตร “น้ำตาลต่ำ” เข้ามาในตลาดมากขึ้น แต่ในกลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคยังชื่นชอบรสชาติเดิมผู้ผลิตจะใช้วิธีลดไซส์สินค้า เพื่อให้ยังคงจำหน่ายราคาเดิมได้และไม่กระทบกับกำลังซื้อผู้บริโภค

อีกหนึ่งวิธีคือการแทรกตัวเข้าไปหาตลาดที่ยังเติบโตอยู่จึงหนีไม่พ้น “ตลาดน้ำดื่ม” เพียงแต่ตลาดนี้การแข่งขันรุนแรง เพราะ “สิงห์” และ “คริสตัล” เปิดศึกกันชนิดไม่มีใครยอมใคร เพื่อชิงความเป็นเบอร์ 1 ที่ผลัดกันขึ้นชนิดเดือนต่อเดือน

ประกอบกับแบรนด์ผู้ผลิตเอง พยายามหา “ช่องว่าง” และโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ด้วยการออก “น้ำเปล่า” ที่เป็นมากกว่าน้ำเปล่า ประกอบกับพฤติกรรมคนไทยคือการชอบกิน “หวานแต่ยังรักสุขภาพ” จึงต้องการได้เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลต่ำ ที่ดับกระหายและได้รับความสดชื่น

“goodmood” น้ำดื่มใสแต่งกลิ่นรส ส่งตรงจากดินแดนซากุระ

รายแรกๆ ที่มองเห็นโอกาสนี้ คือ “goodmood” น้ำดื่มใสแต่งกลิ่นรสที่อิมพอร์ตมาจากดินแดนซากุระ ถือเป็นสินค้าตัวแรกที่ “ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย)” คลอดออกมาร่วมกันหลังควบรวมบริษัทไปเมื่อมีนาคม 2018

การเข้ามาในครั้งนี้ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค มองว่าเป็นการสร้างCategoryใหม่ในตลาดเครื่องดื่มของประเทศไทย คือ “Flavoured Water” หรือ วอเตอร์พลัส (Water Plus) เป็นน้ำดื่มแต่งกลิ่นรสมาในรูปแบบเครื่องดื่มน้ำใส ที่ตอบโจทย์ดับกระหายและให้ความสดชื่น

ในบ้านเราอาจจะไม่คุ้นแต่ในญี่ปุ่นต้องบอกว่าเครื่องดื่มวอเตอร์พลัสเริ่มต้นในปี 2007 จากสินค้านำเข้ามาในปี 2010โคคา-โคล่า ที่ช่วงหลังแตกไลน์ขยายเครื่องดื่มชนิดใหม่ๆ โดยเฉพาะรับเทรนด์สุขภาพ ได้คลอดแบรนด์ I-Lohasน้ำดื่มแต่งกลิ่นรสในกลุ่มรสชาติผลไม้เป็นหลักจนขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในตลาดญี่ปุ่น

เมื่อเป็นเช่นนั้นเจ้าถิ่นอย่าง “ซันโทรี่” จะยอมได้ไง จึงเริ่มเปิดตลาดกลุ่มนี้ในปี 2014 ภายใต้แบรนด์ Tennensuiเริ่มด้วยกลิ่นรสผลไม้ ต่อมามีกลิ่นรส โยเกิร์ตที่เรียกว่าได้ว่าสร้างความWOWให้กับตลาด และยังมี “ชานม” ตามมาติดๆ

ส่งผลให้เครื่องดื่มกลุ่มวอเตอร์พลัสของซันโทรี่ขึ้นมาครองอันดับ 1 ในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2015 ถึงปัจจุบัน โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 50% ขณะที่แบรนด์สินค้าของโคคา-โคล่าเป็นอันดับ 2 ที่ 40% ถือเป็นศึกของแบรนด์ตะวันตกและแบรนด์ตะวันออกอย่างแท้จริง

การเข้ามาในเมืองไทยของ “goodmood” เลือกเปิดตัวด้วย2 รสชาติ คือ โยเกิร์ต และผลไม้แบล็คเคอร์แรนท์ เพราะในเมืองไทยรสชาติเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมคือรสผลไม้มาเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 57% ตามด้วยสมุนไพร 19% และอื่นๆ 24%

วางโพสิชันเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นดับกระหายและรสชาติอร่อยตอบโจทย์สุขภาพ เพราะมีปริมาณน้ำตาลต่ำอยู่ที่ 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร พลังงาน 130 กิโลแคลอรีต่อขวด ขนาดบรรจุ 450 มิลลิลิตร ราคา 20 บาท

การเปิดNew Categoryที่คนไทยยังไม่รู้จักการจะทำให้สินค้าติดตลาดจึงต้องสร้างการรับรู้อย่างหนัก ในครั้งนี้ซันโทรี่ เป๊ปซี่โคทุ่มงบ 170 ล้านบาท ปูพรมสื่อในทุกช่องทางพร้อมกับดึง “มาริโอ้ เมาเร่อ” มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก

ด้วยหวังว่าภายในระยะเวลา5 ปีจะผลักดันแคทิกอรี วอเตอร์พลัสในไทยให้มีสัดส่วน30% ของตลาดน้ำดื่มบรรจุขวด และดัน “goodmood” ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งอย่างแข็งเกร่งเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่นมาแล้ว

“B’lue” ความหวังของ “ดานอน–เซ็ปเป้ เบฟเวอเรจเจส” 

หลังจากการเปิดตัว “goodmood” ไม่นานนัก ก็มีเครื่องดื่มน้ำเปล่ามีรสชาติตัวใหม่ออกมาติดๆ นั้นคือ “B’lue” โดย “ดานอน–เซ็ปเป้ เบฟเวอเรจเจส” บริษัทร่วมทุนระหว่าง “Danone group” ยักษ์ใหญ่ด้านตลาดผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม (Dairy Products) และ “Sappe” เจ้าตลาดในกลุ่มกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนอล

เป้าหมายของการร่วมทุนคือการที่ Danone ต้องการนำสินค้าชนิดอื่นๆ เข้ามาขายในเมืองไทยหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้จับกับ “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์” ในการนำ “โยเกิร์ต แอคทีเวีย” เข้ามาขายในไทยในปี 2007 ก่อนที่จะยกธงขาวออกจากตลาดไปในปี 2016นอกจากนี้ยังต้องการพัฒนาค้าตัวใหม่ๆ

ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันไม่สามารถรอ “Need” แล้วค่อยออกสินค้าไปรองรับสาเหตุสำคัญคือ วัฏจักร” ของสินค้าได้ลดลงเหลือเพียง 3 ปีเท่านั้น ทางแก้คือต้องหา “Unmet Need” ออกสินค้าที่ไปจุดความต้องการที่ซ่อนเร้น ซึ่งผู้บริโภคจะไม่ได้แสดงออกมาตรงๆ แต่มักจะเป็นความต้องการเรื่อง ความรู้สึก เสียมากกว่า

ฟากของ “Sappe” การร่วมทุนทำให้สามารถออกจากกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนอลดริงก์มาตลอด ไปสู่ “ตลาดแมส” ได้เสียที เพราะหากทำเองต้องใช้เวลาในการศึกษา และเงินทุนค่อนข้างสูงในการวิจัยสินค้าใหม่ๆ แต่นี่ได้ Know-how จากบริษัทระดับโลกมาเลย ซึ่งมี R&D ที่แข็งแรงมาก ทำให้การขยายเป็นไปอย่างรวดเร็ว

สำหรับ “B’lue” (บลู) วางตัวเองเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ให้ความรู้สึกสดชื่นและเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติ มีน้ำตาลน้อย โดยอยู่ตรงกลางระหว่างน้ำเปล่า และเครื่องดื่มผสมวิตามิน ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ที่ยังไม่สามารถหามูลค่าตลาดได้ มีให้เลือก 3 รสชาติ จำหน่ายในราคา 25 บาท

เบื้องต้น “ดานอน–เซ็ปเป้ เบฟเวอเรจเจส” ไม่ได้หวังยอดขายเพราะต้องการทดลองตลาดเสียก่อน แต่ในอนาคตทั้งคู่วางแผนจะเพิ่มสินค้าใหม่ๆ เข้ามาอีก พร้อมกับวางแผน 3-5 ปีจะมีรายได้ 3,000 – 3,500 ล้านบาท

“เนสท์เล่” เอาด้วย Sparkling Water

ก่อนหน้านั้นไม่นานในตู้แช่ของร้านสะดวกซื้อได้มีเครื่องดื่มใหม่ออกมาวางขายโดยเป็นของ “เนสท์เล่ เพียวไลฟ์” ที่ขยายพอร์ตโฟลิโอสินค้าให้มีความวาไรตี้ไม่หยุดอยู่แค่ “น้ำดื่ม”

ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ว่าคือเครื่องดื่มชนิดมีฟอง หรือ Sparkling Waterที่มาพร้อม 2 รสชาติ ได้แก่กลิ่นแอปเปิลและกลิ่นมิกซ์เบอร์รี่ นับเป็นการเพิ่ม Gimick ในการบริโภคเครื่องดื่มมากขึ้น ส่วนขนาดสินค้ามีเพียงไซส์เดียว คือ 340 มิลลิตร (มล.) ราคาขาย 14 บาท

ช่วงแรกที่เข้ามาได้แบรนด์ได้แอ็กชั่นชิมลางโพสต์คอนเทนต์ลงบนเพจเฟซบุ๊กของแบรนด์กระแสตอบรับมีทั้งเชิง “บวก” ด้วยตอบโจทย์สุขภาพเพราะไม่มีน้ำตาล พลังงาน 0 แคลอรี และ “ลบ” ทั้งเรื่องราคา รสชาติ ความซ่า กลิ่น เกิดจากความคุ้นลิ้นชินรสชาติ

ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสินค้าดังกล่าวยังไม่ตอบจริตการบริโภคของคนไทยในวงกว้าง เพราะแบรนด์ระดับโลก “อควาฟิน่าวิตซ่า” ของค่ายเป๊ปซี่ทำตลาดมานานกว่า 2 ปี ถือว่าไม่ได้สร้างความว้าว! เท่าที่ควร

ต้องมาดูว่าเมื่อมีน้องใหม่จากเนสท์เล่ เพียวไลฟ์ จะสามารถทำให้ตลาดหมวดนี้มีการโตแรงมากน้อยแค่ไหน เพราะก่อนหน้านี้ผู้บุกเบิกอย่าง “อควาฟิน่าวิตซ่า” ต้องการปลุกตลาดให้มีมูลค่าหลัก “พันล้านบาท” แต่ก็ยังไม่ถึงเสียที.

]]> 1224433 เจาะผู้บริโภคยุคนี้แค่ “Need” ไม่พอ ต้อง “Unmet Need” กรณีศึกษา “Danone” ร่วมทุน “Sappe” https://positioningmag.com/1218656 Fri, 08 Mar 2019 05:18:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218656 พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของผู้บริโภค ก่อให้เกิด “Disruption” ซึ่งหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับแวดวงเทคโนโลยีและธนาคาร ที่กำลังตื่นตัวกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากในบ้านเรา แต่จริงๆ แล้วคลื่นลูกนี้มีพลังมากกว่าที่เห็น และสร้างผลกระทบแล้วกับของกินที่ไม่คาดคิดว่าจะโดนกับเขาด้วย

เพราะวันนี้วัฏจักรของสินค้าได้ลดลงเหลือเพียง 3 ปีเท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้แม้แต่บริษัทระดับโลกอย่าง “Danone group” ซึ่งมีอายุ 100 กว่าปี วางขายสินค้ากว่า 120 ประเทศ มีรายได้กว่า 24.7 พันล้านยูโร หรือราว 8.8 ล้านล้านบาทในปี 2017 ซึ่งคนไทยน่าจะคุ้นเคยกับ น้ําแร่เอเวียง, โยเกิร์ตแอคทีเวีย และนมดูเม็กซ์ ยังต้องออกมาปรับตัว

ฟลอริส เวสเซลลิ่ง” รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ ดานอน วอเทอร์ส อธิบายว่า สถานการณ์เช่นนี้ถือเป็น “Big Disruption” ที่ไม่ใช่แค่ของ Danone เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบริษัทระดับโลกอื่นๆ ด้วย สิ่งที่ต้องปรับตัวรับมือกับพฤติกรรมเช่นนี้ คือการหาทางตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไป ไม่สามารถรอ “Need” แล้วค่อยออกสินค้าไปรองรับ

แต่ต้องเป็น “Unmet Need” ออกสินค้าที่ไปจุดความต้องการที่ซ่อนเร้น ซึ่งผู้บริโภคจะไม่ได้แสดงออกมาตรงๆ แต่มักจะเป็นความต้องการเรื่องความรู้สึก เสียมากกว่า

ดังนั้นทุกแบรนด์จึงพยายาม Create เซ็กเมนต์ใหม่ๆ เพื่อก่อให้เกิด “Unmet Need” ดังที่กล่าวไป สิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปจึงจะเห็นแบรนด์เล็กๆ ย่อยๆ เกิดขึ้นเต็มไปหมด เพราะแม้เทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยน แต่ไม่ได้เปลี่ยนสินค้าที่เคยดื่ม เพียงแต่พวกเขาจะไม่สนและยึดติดกับสินค้าของแบรนด์ระดับโลก กลับสนใจกับแบรนด์หรือสินค้าที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่มากกว่า

ทางออกของ Danone จึงต้องเข้าไปผนึกกำลังของบริษัทในประเทศนั้นๆ เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมกับผู้บริโภคในแต่ละแห่งให้ลึกซึ้ง จึงเป็นที่มาของดีลร่วมทุนกับ “Sappe” ก่อตั้งบริษัท ดานอนเซ็ปเป้ เบฟเวอเรจเจส จำกัดทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท Danone ถือหุ้น 75% Sappe 25%

(“เซ็ปเป้” ร่วมทุน “ดานอน” เจ้าของโยเกิร์ต “แอคทีเวีย” บุกตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 8.6 หมื่นล้าน)

ทำไมต้องเป็นเมืองไทย ? เพราะตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ในไทยนั้นถือว่าเป็นตลาดใหญ่ ด้วยมูลค่าราว 2 แสนล้านบาท โตประมาณ 3-5% ต่อปี อีกทั้งเป็นตลาดที่มีอัตราการบริโภคต่อหัวสูงสุดในเอเชีย ไม่นับจีนและญี่ปุ่น โดยปีที่ผ่านมากลุ่มของเครื่องดื่มทำรายได้ประมาณ 8.6-8.7 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 40% ของยอดขายในเอเชียแปซิฟิก Danone ต้องการให้ไทยเป็นหนึ่งในตลาดหลักต่อไป

ส่วนทำไมต้องเป็น “Sappe” ? นั้น เพราะ Sappe ค่อนข้างแข็งแรงในกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนอล สิ่งที่ Danone จะได้จากดีลในครั้งนี้คืออินไซด์ของคนไทย ซึ่ง Danone วางวัตถุประสงค์ของการร่วมทุนในครั้งนี้ 2 ข้อ ได้แก่ 1.นำสินค้าของ Danone ที่ขายในต่างประเทศเข้ามาสู่ไทย และ 2.ร่วมกันพัฒนาสินค้าใหม่ในกลุ่มเครื่องดื่ม

“ฟลอริส เวสเซลลิ่ง” รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ ดานอน วอเทอร์ส

แม้เมืองไทยจะมีการแข่งขันที่สูง ผู้เล่นในระดับโลกต่างบุกเข้ามาหมดแล้ว ยังไม่รวมแบรนด์ในประเทศที่มีเยอะแยะไปหมด แต่ Danone กลับมองว่ามีเสน่ห์และศักยภาพที่สามารถหาข่องทางการโตได้

ผู้บริหารจาก Danone บอกว่า หนึ่งในความน่าสนใจของพฤติกรรมคนไทยในตอนนี้ คือ อยากได้เครื่องดื่มที่ทั้งรสชาติดี มีรสหวาน และดีต่อสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นสินค้าตัวแรกที่ผลิตและจำหน่ายภายใต้บริษัทร่วมทุนตัวแรกคือ “B’lue” (บลู)

วางตัวเองเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ให้ความรู้สึกสดชื่นและเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติ มีน้ำตาลน้อย โดยอยู่ตรงกลางระหว่างน้ำเปล่า และเครื่องดื่มผสมวิตามิน ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ที่ยังไม่สามารถหามูลค่าตลาดได้

โดยจะเข้าไปแทรกด้วยการเป็นน้ำสีใสที่มีรสชาติ ในช่วงเวลาที่อยากกินน้ำเปล่า แต่ต้องการความสดชื่น ซึ่งความท้าทายอยู่ที่การสื่อสารในเรื่องนี้ เจาะกลุ่ม iGen ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่รักการออกกำลังกายและใส่ใจในสุขภาพ นักสำรวจที่ค้นหาเทรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ วัยรุ่นที่จริงจังกับกิจกรรมวันพักผ่อน มีให้เลือก 3 รสชาติ จำหน่ายในราคา 25 บาท

จริงๆ แล้ว “B’lue” เป็นเครื่องดื่มที่เกิดขึ้นมาประมาณ 10 ปีที่แล้ว วางจำหน่ายทั้งใน นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ้งใช้ชื่อแบรนด์ “Mizone” (มายโซน) ปีที่ผ่านมาทำรายได้สูงถึง 35,000 ล้านบาทในตลาดเอเชียแปซิฟิก ส่วนชื่อ “B’lue” จะใช้ในเมืองไทยและวางแผนบุกไปในประเทศ กัมพูชา ลาว และพม่าต่อไป

ขณะเดียวกัน “B’lue” ถือเป็นสินค้าตัวแรกของ Sappe ในการบุกเข้าสู่ตลาดแมส จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงค์มาตลอด ทั้ง เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ หรือ เพรียว คอฟฟี่ปิยจิต รักอริยะพงศ์” กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) ให้เหตุผลที่ต้องร่วมทุนในการบุกตลาดแมส เพราะหากทำเองต้องใช้เวลาในการศึกษา และเงินทุนค่อนข้างสูงในการวิจัยสินค้าใหม่ๆ

แต่นี่ได้ Know-how จากบริษัทระดับโลกมาเลย ซึ่งมี R&D ที่แข็งแรงมาก ทำให้การขยายเป็นไปอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญยังได้เรียนรู้วิธีการทำตลาดของแบรนด์ จากประสบการณ์ที่เคยทำมาทั่วโลก มาปรับใช้กับ Sappe เองด้วย

“ปิยจิต รักอริยะพงศ์” กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน)

ในอนาคตทั้งคู่วางแผนจะเพิ่มสินค้าใหม่ๆ เข้ามาอีก โดยวางแผน 3-5 ปี ดานอนเซ็ปเป้ เบฟเวอเรจเจสจะสร้างรายได้ 3,000 – 3,500 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม บริษัทร่วมทุนในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ของ Danone ในการจับมือกับบริษัทไทย ก่อนหน้านี้ได้ร่วมทุนกับเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ซึ่งตอนนี้อยู่ภายใต้เครือของเจ้าสัวเจริญในการนำโยเกิร์ตแอคทีเวียยี่ห้อโยเกิร์ตที่ใหญ่ที่สุดของ Danone มีจำหน่ายกว่า 60 ประเทศทั่วโลก เข้ามาขายในไทยในปี 2007 ก่อนที่จะยกธงออกจากตลาดไปในปี 2016″

ฟลอริสบอกว่า วันนี้ยังไม่มีแผนนำแอคทีเวียกลับมาทำตลาดใหม่ แต่อนาคตยังไม่แน่นอน ต้องศึกษาตลาดและความพร้อมเสียก่อน

]]>
1218656