BOUNCE – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Sep 2016 08:09:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตลาดฟิตเนส มูลค่าหมื่นล้านบูมจัด แบรนด์นอก-แบรนด์ไทย เร่งเปิดสาขา https://positioningmag.com/1101261 Fri, 02 Sep 2016 02:30:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=1101261 เทรนด์สุขภาพบูมจัด ส่งผลธุรกิจฟิตเนสมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาทเฟื่องตาม ผุดกว่า 1,000 แห่งในไทย ทั้งแบรนด์ใหญ่จากต่างประเทศ หรือแบรนด์โลคอลต่างโหมกระหน่ำดึงลูกค้า จับตาเกมรุก “เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ” ที่จะเข้ามาท้าชนเจ้าตลาดอย่างฟิตเนสเฟิรส์ท โลคอลแบรนด์ใหม่อย่าง “เอ็มฟิตเนส” ที่ลุกขึ้นมาปั้นแบรนด์อย่างจริงจัง แนวใหม่อย่างแทรมโพลีนของแบรนด์ “บ๊าวซ์” ที่เข้ามาทำตลาดในไทยเมื่อปีที่แล้ว ก็เตรียมบุกตลาดมากขึ้น

เทรนด์สุขภาพยังคงมาแรง และกระจายไปหลายธุรกิจมากขึ้นทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย หรือฟิตเนสกลับมาบูมขึ้นอีกครั้ง ผู้บริโภคหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น

จะเห็นได้ว่าแต่ก่อนมีแบรนด์ฟิตเนสรายใหญ่เพียงไม่กี่แบรนด์ และบางแบรนด์ก็ล้มหายตายจากไปจากประเทศไทย เพราะปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่ทว่าในปัจจุบันมีแบรนด์ฟิตเนสเกิดขึ้นมากมายทั้งแบรนด์อินเตอร์ที่เข้ามาตีตลาดในไทย และแบรนด์โลคอลท้องถิ่นที่ลุกขึ้นมาทำตลาดเอง หรือเหล่าบรรดาเซเลบริตี้ก็หันมาทำฟิตเนสเองด้วยเช่นกัน

4 แบรนด์ใหญ่ครองตลาด 90%

มีการประเมินตลาดฟิตเนสในปีนี้มีมูลค่าราว 9,000 ล้านบาท มีการเติบโต 9-10% จากการสำรวจตลาด พบว่า ในประเทศไทยมีฟิตเนสที่จดทะเบียนราว 1,000 แห่ง แต่เป็นแบรนด์ใหญ่ที่มีสาขาทั่วประเทศเพียงแค่ 4 แบรนด์ ได้แก่ ฟิตเนส เฟิรส์ท, เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ, ทรูฟิตเนส และวี ฟิตเนส มีสาขารวมกันกว่า 40 สาขา มีมูลค่าการลงทุนมหาศาลคิดเป็น 90% ของมูลค่าตลาด ส่วนสาขาที่เหลือ 900 สาขา เป็นฟิตเนสของผู้เล่นโลคอล

รายงานของ International Health Racquet & Sports Club Association ปี 2558 พบว่าสัดส่วนของประชากรไทยที่ใช้บริการฟิตเนสมีเพียง 0.6% ของประชากร ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับตัวเลขค่าเฉลี่ยของชาติในทวีปเอเชียที่ 8% โดยที่ประเทศสิงคโปร์ที่มี 8% และออสเตรเลีย 13% เทรนด์พฤติกรรมของคนไทยได้หันมาดูแลสุขภาพร่างกาย และรูปร่างของตนเองมากยิ่งขึ้น ส่งให้ธุรกิจฟิตเนสในประเทศไทยยังมีแนวโน้มการเติบโตได้อีกมาก

เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ เปิดแนวรบใหม่

ล่าสุด แบรนด์ “เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ” ได้เข้าท้าชนเจ้าตลาดอย่างฟิตเนสเฟิรส์ท รวมถึงแบรนด์โลคอลแบรนด์ใหม่อย่าง “เอ็มฟิตเนส” ที่ลุกขึ้นมาปั้นแบรนด์อย่างจริงจัง พร้อมขยายสาขา หรือธุรกิจการออกกำลังกายแนวใหม่อย่างแทรมโพลีนของแบรนด์ “บ๊าวซ์” ที่เข้ามาทำตลาดในไทยเมื่อปีที่แล้ว ก็เตรียมบุกตลาดมากขึ้น

1_vergin

ในส่วน “เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ” เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ใหญ่ที่เป็นเชนจากต่างประเทศ มีอายุกว่า 20 ปี มีสาขา 10 ประเทศ และได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ 2 ปี ปัจจุบันมีทั้งหมด 4 สาขา ได้แก่ ตึกเอ็มไพร์, เอ็มควอเทียร์, เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต และล่าสุดที่สยามดิสคัฟเวอรี่

เมื่อเทียบระหว่างไทยและต่างประเทศ เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ พบว่า สมาชิกแอ็กทีฟรายสัปดาห์ของไทยจะใช้บริการเฉลี่ย 4 ครั้ง/คน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ จะเข้าคลับเฉลี่ย 2 ครั้ง/คน นอกจากนี้พฤติกรรมคนไทยชอบเล่นฟิตเนสกับกลุ่มเพื่อน และมีการเข้าคลาสราว 70% ต่างจากประเทศอื่นที่มีพฤติกรรมต่างคนต่างเล่น จึงมีการแอ็กทีฟน้อยกว่า

เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ มองว่าโอกาสในการขยายธุรกิจยังมีอยู่มาก เพราะคนไทยยังเป็นสมาชิกฟิตเนสน้อย จึงตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มให้ครบ 20 สาขาภายใน 6 ปี เน้นทำเลศูนย์การค้า อาคารสำนักงานเป็นหลัก ด้วยงบลงทุนรวม 5,200 ล้านบาท เฉลี่ยลงทุนสาขาละ 300 ล้านบาท ซึ่งสาขาจะมีขนาดใหญ่ขึ้น

เนื่องจากโจทย์ใหญ่ของเวอร์จิ้น แอ็คทีฟไม่ต้องการจำกัดของการเป็นแค่ “ฟิตเนส” อย่างเดียว แต่ต้องเป็น “ไลฟ์สไตล์แบรนด์” ด้านอื่นๆ ทั้งการออกกำลังกาย ทำงาน พักผ่อน ด้วยการวางโพสิชันในแบบพรีเมียมเพื่อสร้างความแตกต่าง โดยออกแบบคลับ และเสริมบริการต่างๆ มีสระว่ายน้ำ หน้าผาจำลอง รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่นเสื้อผ้า ผ้าขนหนู เพื่อต้องการสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ

2_vergin

ด้วยการเป็นพาร์ตเนอร์กับแบรนด์ปัญญ์ปุริ ผลิตภัณฑ์ชำระร่างกาย และบำรุงผิวสำหรับใช้ในห้องน้ำ และแบรนด์กีฬา Under Armour ในการเป็นโคแบรนด์ทำเสื้อผ้าใส่ในคลับ และมีชอปภายในคลับ

แมทธิว บัคนาลล์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ก่อตั้งเวอร์จิ้น แอ็คทีฟ บอกว่า “เราถือว่าเป็นน้องใหม่ในตลาดฟิตเนสในประเทศไทย  เพราะได้ทำตลาดมา 2 ปี โดยหลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า คนไทยสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น แต่เป็นสมาชิกฟิตเนสน้อย ทำให้ยังมีโอกาสอีกเยอะ ยิ่งเห็นตัวเลขการเข้าคลับของคนไทยที่มีความถี่มากกว่าประเทศอื่น ทำให้ยิ่งมีการเติบโตสูง

ใน 3 สาขาที่เปิดบริการไปแล้วนั้น มีสมาชิกรวมกว่า 11,400 คน แบ่งเป็นที่ตึกเอ็มไพร์ 4,700 คน เอ็มควอเทียร์ 4,000 คน และเซ็นทรัล เวสต์เกต 2,700 คน ในสาขาใหม่ๆ ที่จะเปิดได้ตั้งเป้าว่าจะต้องมีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 3,000 คน

3_vergin

“เอ็ม ฟิตเนส” ฟิตเนสแบรนด์โลคอล เจาะกลุ่มชุมชน

สำหรับเอ็ม ฟิตเนส แบรนด์ฟิตเนสของคนไทย วางแผนลงทุนเปิด 10 สาขา ภายใน 5 ปี จากปัจจุบันที่เปิดมาแล้ว 2 ปี มี 3 สาขา ได้แก่ มหาชัย, พระราม 2 และตากสิน แต่ละสาขาค่อนข้างอยู่นอกตัวเมือง เพราะเป็นกลยุทธ์หลักของแบรนด์ ด้วยความที่เป็นแบรนด์เล็ก จึงนำแบรนด์เข้าไปหาผู้บริโภคตามชุมชนต่างๆ รูปแบบฟิตเนสจึงเป็นแบบสแตนอโลนติดริมถนน และเลือกโลเคชันที่มีชุมชน โดยที่จะมีการดีไซน์ให้เข้าแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไป แต่ละยิมจะมีพื้นที่เฉลี่ย 400-1,200 ตารางเมตร

4_M

วิสุทธิ์ สุระเฉลิมกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม ฟิตเนส จำกัด กล่าวว่า กลยุทธ์หลักคือเลือกเอายิมเข้าไปใกล้กับกลุ่มคน ใกล้ที่พักอาศัย และที่ทำงาน มีต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำ ทำให้โลเคชันเป็นการตลาดไปในตัว เลือกติดริมถนนใหญ่ ลูกค้าสามารถนั่งรถผ่านแล้วเห็นได้ง่าย ทำให้คนได้เห็น มีป้ายเด่นชัด ให้เห็นบรรยากาศ และให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ต้องเดินทางไกลต่างจากแบรนด์อื่นที่ต้องเข้าไปอยู่ในชอปปิ้งมอลล์ และในปัจจุบันกระแสรักสุขภาพ หรือข่าวดาราก็มีส่วนช่วยทำพีอาร์ให้ ทำให้ฟิตเนสเป็นที่สนใจของผู้คน คนรุ่นใหม่เข้าใจฟิตเนสแล้ว เป็นโอกาสและจุดแข็งทำให้ตลาดเติบโต

โดยที่ 3 สาขาของเอ็มฟิตเนสมีหลักการเลือกสถานที่แตกต่างกัน สาขามหาชัย ริมถนนเอกชัย-บางบอน วิสุทธิ์บอกว่าตอนนั้นยังไม่มีฟิตเนสละแวกนั้น คนจะเล่นฟิตเนสต้องขับรถออกไป เลยยกฟิตเนสเข้าไปใกล้เขา สาขาถนนพระราม 2 ตอนนั้นก็ยังไม่มีฟิตเนสที่เห็นเด่นชัด เลยทำเป็นรายแรกที่ติดถนนใหญ่ และสาขาตากสิน แยกมไหสวรรค์ เลือกที่ตั้งให้อยู่ตรงข้ามกับชุมชน

ภายในสิ้นปีนี้ตั้งเป้ามีรายได้รวม 20 ล้านบาท และไปถึง 100 ล้านบาท ให้ได้ภายในในปี 2018 มีแผนขยายสาขาเพิ่มเติมอีก 10 สาขา ภายใน 5 ปี ซึ่งจะมีทั้งรูปแบบการลงทุนเองทั้งหมด และการร่วมลงทุนกับนักลงทุนที่สนใจ โดยการลงทุนแต่ละสาขาใช้เงินลงทุนประมาณ 9 -25 ล้านบาท และตั้งเป้ามีฐานสมาชิกได้กว่า 5,000 ราย

6_M 5_M

“บ๊าวซ์” ปลุกกระแสแทรมโพลีนในไทย

แม้จะไม่ใช่ตลาดฟิตเนสโดยตรง แต่บ๊าวซ์ก็ได้รับอานิสงส์จากกระแสการออกกำลังกายในประเทศไทยเช่นกัน หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่าแทรมโพลีน เพราะค่อนข้างใหม่สำหรับในประเทศไทย เป็นการออกกำลังกายแนวใหม่ แต่หลังจากที่ “บ๊าวซ์” ได้ทำตลาดมาแล้วเกือบ 1 ปีเต็ม การบุกตลาดอย่างต่อเนื่องคงเป็นคำตอบอย่างดีสำหรับผลตอบรับในประเทศไทย

9_bonce

“บ๊าวซ์ ประเทศไทย” เริ่มเปิดสาขาแรกเมื่อปลายปี 2558 ที่ห้างเดอะสตรีท รัชดาฯ ด้วยพื้นที่ 5,600 ตารางเมตร ใช้งบลงทุนพร้อมค่าไลเซนส์รวม 300 ล้านบาท วางจุดยืนเป็นแทรมโพลีนพาร์คระดับพรีเมียม ซึ่งจัดอยู่ในธุรกิจสปอร์ตเทนเมนต์ เป็นการออกกำลังกายเพื่อความสนุกสนาน ถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ในประเทศไทย ยังไม่มีมูลค่าตลาดที่ชัดเจน ตลาดนี้ไม่ได้เป็นคู่แข่งของฟิตเนสโดยตรง เพราะจุดประสงค์ในการเล่นแตกต่างกัน แต่จะเป็นการเสริมตลาดซึ่งกันและกันจากการออกกำลังกาย

เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ การเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยจึงเลือกเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นโรงเรียนนานาชาติ เพราะจะมีความคุ้นเคยและรู้จักกับแทรมโพลีนอยู่แล้ว ซึ่งลูกค้ากลุ่มหลักของบ๊าวซ์เป็นกลุ่มเด็กราว 80%

จากนั้นจึง “สร้างกระแส” โดยใช้สื่อโซเชียลมีเดีย และเซเลบริตี้ เพื่อให้คนที่ไม่เคยรู้จัก ได้รู้จักบ๊าวซ์ และแทรมโพลีนมากขึ้น ประกอบกับการเลือกโลเคชันที่อยู่ในศูนย์การค้า เพราะพฤติกรรมคนไทยมักใช้เวลาว่างในการเดินศูนย์การค้า และเดินทางสะดวกด้วย

7_bonce

“มาร์ค จอบบลิงค์” ประธานบริษัท เบ๊าซ์อิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด บอกว่า การที่ บ๊าวซ์ ได้รับความนิยมขึ้นมาก็เป็นเพราะคนไทยสนใจสุขภาพมากขึ้น และหันมาเล่นกีฬาแบบเอ็กซ์ตรีมมากขึ้น รวมถึงในยุคดิจิทัลที่เด็กๆ อาจจะติดเกมหรือเชียลมีเดีย ทำให้พ่อแม่ต้องหากิจกรรมอื่นๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ

จากสาขาแรกที่เดอะสตรีทสามารถทำรายได้ 13-15 ล้านบาทต่อเดือน ในไตรมาสแรกของปี 2559 มีรายได้แล้ว 40 ล้านบาท ทำให้บ๊าวซ์ต้องรีบรุกตลาดมากขึ้นในขณะที่เหล็กยังร้อน เล็งที่จะเปิดอีก 2 สาขาในปีนี้ที่ ดิ เอ็มควอเทียร์ในเดือนกันยายน และเซ็นทรัลบางนาในเดือนธันวาคม พร้อมโซนกิจกรรมใหม่ด้วยงบลงทุนรวม 250 ล้านบาท

สาขาดิเอ็มควอเทียร์มีพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ใช้งบลงทุน 80 ล้านบาท และที่เซ็นทรัลบางนาพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ใช้งบลงทุน 150 ล้านบาท และเปิดโซนกิจกรรมสนาม “เอ็กซ์พาร์ค” ที่สาขาเดอะสตรีทเพิ่มเติม เพื่อเป็นโซนสำหรับดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ คือกลุ่มวัยรุ่น และเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้เวลาอยู่ในบ๊าวซ์นานขึ้น ใช้งบลงทุน 20 ล้านบาท

8_bonce

จากนั้นในปี 2560 หรือปีหน้าค่อยขยายไปยังต่างจังหวัด สาขาแรกที่ได้เห็นจะเป็นที่เซ็นทรัลโคราช พื้นที่ 2,000 ตารางมเตร เปิดในช่วงเดือนกันยายน และมองทำเลต่อไปก็คือราชพฤกษ์ เจริญนคร และขอนแก่น กำลังอยู่ในช่วงกำลังพูดคุยกันอยู่

บ๊าวซ์ตั้งเป้ารายได้รวมในปีหน้า 400 ล้านบาท แบ่งเป็นสาขาเดอะสตรีท 200 ล้านบาท เอ็มควอเทียร์ 100 ล้านบาท และเซ็นทรัลบางนา 100 ล้านบาท และต้องมีการเติบโตเฉลี่ย 20% ในทุกปี

10_bonce

info_fitness

]]>
1101261
ถอดกลยุทธ์ “บ๊าวซ์” ปลุกกระแสแทรมโพลีนในไทย เตรียมผุดอีก 2 สาขา https://positioningmag.com/1100792 Thu, 25 Aug 2016 23:45:05 +0000 http://positioningmag.com/?p=1100792 เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยได้เกือบ 1 ปีเต็มแล้ว สำหรับบ๊าวซ์อาณาจักรแทรมโพลีนจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นเหมือนการออกกำลังกายประเภทหนึ่ง ได้รับความนิยมในต่างประเทศ แต่พอเข้ามาในเมืองไทยด้วยจังหวะที่เหมาะเจาะ ทำให้บ๊าวซ์ และแทรมโพลีนเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทย

บ๊าวซ์ ประเทศไทยเริ่มเปิดสาขาแรกเมื่อปลายปี 2558 ที่ห้างเดอะสตรีท รัชดาฯ ด้วยพื้นที่ 5,600 ตารางเมตร ใช้งบลงทุนพร้อมค่าไลเซนส์รวม 300 ล้านบาท วางจุดยืนเป็นแทรมโพลีน พาร์คระดับพรีเมียม ซึ่งจัดอยู่ในธุรกิจสปอร์ตเทนเมนต์ เป็นการออกกำลังกายเพื่อความสนุกสนาน ถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ในประเทศไทย ยังไม่มีมูลค่าตลาดที่ชัดเจน

1_bounch

1.2_bounch

อย่างที่กล่าวไปว่าเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ การเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยจึงเลือกเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นโรงเรียนนานาชาติ เพราะจะมีความคุ้นเคยและรู้จักกับแทรมโพลีนอยู่แล้ว ซึ่งลูกค้ากลุ่มหลักของบ๊าวซ์เป็นกลุ่มเด็กราว 80%

จากนั้นก็เริ่มทำให้บ๊าวซ์เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วยการสร้างกระแสโดยใช้สื่อโซเชียลมีเดีย และเซเลบริตี้ เพื่อให้คนที่ไม่เคยรู้จัก ได้รู้จักบ๊าวซ์ และแทรมโพลีนมากขึ้น ประกอบกับการเลือกโลเคชั่นที่อยู่ในศูนย์การค้า เพราะพฤติกรรมคนไทยมักใช้เวลาว่างในการเดินศูนย์การค้า และเดินทางสะดวกด้วย

mark

ถ้ามองอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ๊าวซ์เป็นที่นิยมขึ้นมาก็เป็นเรื่องของกระแสสุขภาพด้วย ทางมาร์ค จอบบลิงค์ประธานบริษัท เบ๊าซ์อิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด ถึงกับบอกว่าตอนที่บ๊าวซ์เข้ามาทำตลาดในไทยเป็นช่วงเวลาที่เหมาะด้วย เพราะคนไทยสนใจสุขภาพมากขึ้น และหันมาเล่นกีฬาแบบเอ็กซ์ตรีมมากขึ้น รวมถึงในยุคดิจิทัลที่เด็กๆ อาจจะติดเกมหรือโซเชียลมีเดีย ทำให้พ่อแม่ต้องหากิจกรรมอื่นๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ

จากสาขาแรกที่เดอะสตรีทสามารถทำรายได้ถึงเดือนละ 13-15 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปี 2559 มีรายได้แล้ว 40 ล้านบาท ทำให้บ๊าวซ์ต้องรีบรุกตลาดมากขึ้นในขณะที่เหล็กยังร้อน เล็งที่จะเปิดอีก 2 สาขาในปีนี้ที่ ดิ เอ็มควอเทียร์ในเดือนกันยายน และเซ็นทรัลบางนาในเดือนธันวาคม พร้อมโซนกิจกรรมใหม่ด้วยงบลงทุน 250 ล้านบาท

สาขาดิเอ็มควอเทียร์มีพื้นที่ 2,000 ตารางเมตร ใช้งบลงทุน 80 ล้านบาท และที่เซ็นทรัลบางนาพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ใช้งบลงทุน 150 ล้านบาท และเปิดโซนกิจกรรมสนามเอ็กซ์พาร์คที่สาขาเดอะสตรีทเพิ่มเติม เพื่อเป็นโซนสำหรับดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ คือกลุ่มวัยรุ่น และเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้เวลาอยู่ในบ๊าวซ์นานขึ้น ใช้งบลงทุน 20 ล้านบาท

จากนั้นในปี 2560 หรือปีหน้าค่อยขยายไปยังต่างจังหวัด สาขาแรกที่ได้เห็นจะเป็นที่เซ็นทรัลโคราช พื้นที่ 2,000 ตารางมเตร เปิดในช่วงเดือนกันยายน และมองทำเลต่อไปก็คือราชพฤกษ์ เจริญนคร และขอนแก่น กำลังอยู่ในช่วงกำลังพูดคุยกันอยู่

somporn

ส่วนในเรื่องของการแข่งขันในธุรกิจของแทรมโพลีนนั้นสมพร นาคซื่อตรงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบ๊าซ์อิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ประเมินว่าตอนนี้ในประเทศไทยมีผู้เล่นในตลาดนี้หลักๆ อีก 2 รายได้แก่ Rockin’ Jump และ Amped แต่จะอยู่ในโมเดลสแตนอโลน และบ๊าวซ์เองก็วางจุดยืนที่พรีเมียมกว่า ยึดในโลเคชั่นที่เป็นศูนย์การค้าเพื่อส่งเสริมแบรนด์

ปัจจุบันบ๊าวซ์มีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 25,000-30,000 คน/เดือน หรือถ้าคิดต่อวัน 600-800 คนในวันธรรมดา และ 1,200-2,000 คนในวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งที่สาขาเดอะสตรีทจะรองรับลูกค้าได้ 240 คน/ชั่วโมง เอ็มควอเทียร์ 100 คน/ชั่วโมง และเซ็นทรัลบางนา 200 คน/ชั่วโมง

บ๊าวซ์ตั้งเป้ารายได้รวมในปีหน้า 400 ล้านบาท แบ่งเป็นสาขาเดอะสตรีท 200 ล้านบาท เอ็มควอเทียร์ 100 ล้านบาท และเซ็นทรัลบางนา 100 ล้านบาท และต้องมีการเติบโตเฉลี่ย 20% ในทุกปี

info_bounch_new

1.3_bounch

2_bounch 3_bounch 4_bounch

]]>
1100792