BigData – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 24 Mar 2021 01:22:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดภารกิจ ‘ฐากร ปิยะพันธ์’ นำ Data พลิกโฉม ‘เครือไทย โฮลดิ้งส์’ ของเจ้าสัวเจริญ ลุยตลาดสินเชื่อ https://positioningmag.com/1324409 Tue, 23 Mar 2021 14:14:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324409 ธุรกิจประกันเปิดศึกสู้กันดุเดือดเเบบไม่มีพักรับโลกยุคใหม่เเละพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค

ความเคลื่อนไหวของเครือไทย โฮลดิ้งส์กลุ่มธุรกิจประกันภัยและการเงินในเครือทีทีซี ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดีกำลังถูกจับตามองอย่างมาก หลังดึงฐากร ปิยะพันธ์ผู้บริหารมือทองด้านดิจิทัลแบงกิ้ง นวัตกรรมเเละ AI จากค่ายกรุงศรี คอนซูมเมอร์มานั่งคุมทัพใหญ่

เมื่อย้ายสู่บ้านหลังใหม่ได้สักพัก ฐากร ปิยะพันธ์ได้ฤกษ์เปิดแผนธุรกิจในระยะ 3-5 ปี กับกลยุทธ์สู่เป้าหมายการเป็นตัวท็อปธุรกิจประกันและการเงินของประเทศไทย พร้อมขยายไปยังอาเซียน

มาดูกันว่าการใช้ ‘Data’ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความถนัดของฐากร จะนำพาเครือไทย โฮลดิ้งส์ไปบนเส้นทางสายใหม่นี้อย่างไร

ปัจจุบันเครือไทย โฮลดิ้งส์’ หรือ TGH ทำธุรกิจหลักๆ 3 กลุ่ม ได้เเก่ กลุ่มธุรกิจประกัน กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มธุรกิจ Health & Wellness

ธุรกิจสุขภาพด้าน Health & Wellness เป็นพาร์ตใหม่ที่เปิดมารองรับสังคมสูงวัยโดยเฉพาะทั้งการวางเเผนการเงินในวัยเกษียณทำประกันที่คุ้มครองจนสิ้นอายุขัย เเละให้บริการที่พักอาศัย ซึ่งจะมีความคืบหน้าในเร็ว ๆ นี้

หากเจาะลึกลงไปในธุรกิจประกัน จะมีบริษัทลูกในเครืออย่าง อาคเนย์ประกันชีวิต อาคเนย์ประกันภัย และ บมจ.ไทยประกันภัย ที่มีสินทรัพย์รวมกันประมาณ 75,000 ล้านบาท

ส่วนเบี้ยฯ รับรวมทั้งตลาดประกันชีวิตของปี 2563 อยู่ที่ราว 6 เเสนล้านบาท ลดลง 1.75% เเละเบี้ยฯ รับรวมทั้งตลาดประกันภัย อยู่ที่ราว 2.5 เเสนล้านบาท เติบโต 3.9%

ขณะที่ธุรกิจการเงิน จะมีบริษัทลูกอย่างอาคเนย์แคปปิตอล’ ผู้ให้บริการรถเช่าองค์กร ที่มีสินทรัพย์รวม 15,000 ล้านบาท เป็นที่ 1 ในตลาด เเละอาคเนย์มันนี่’ ที่กำลังจะเริ่มปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบไปทุกอุตสาหกรรม ทำให้เครือไทย โฮลดิ้งส์ มีรายได้รวมลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปี 2020 มีรายได้รวม 23,300 ล้านบาท ลดลง 4% เเต่ขณะเดียวกันก็สามารถทำกำไร 168% เป็น 739 ล้านบาท จากการบริหารต้นทุน ปรับพอร์ตโฟลิโอ และการบริหารจัดการต่าง ๆ 

ทิศทางต่อไปจากนี้ จึงไม่ใช่งานง่ายๆอย่างเเน่นอน

ปั้น อาคเนย์มันนี่ รุกสินเชื่อรายย่อย

เเต่เดิมเครือไทย โฮลดิ้งส์พึ่งพารายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจประกันภัยเเละประกันชีวิต เเต่ทิศทางหลัง COVID-19 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะจะหันมารุกสินเชื่อธุรกิจรายย่อยมากขึ้น

จากข้อมูลพบว่า ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจการเงินของเครือไทย โฮลดิ้งส์ มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 11%  สวนทางธุรกิจประกันชีวิตที่เติบโตลดลง 11% เเละธุรกิจประกันภัยที่เติบโตลดลง 3%

ฐากร บอกว่าตลาดสินเชื่อยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากเเม้จะต้องเผชิญกับคู่เเข่งทั้งสายเเบงก์เเละนอนเเบงก์เเละเข้าตลาดนี้ช้ากว่าก็ตาม

อาคเนย์มันนี่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เขาบอกว่าคืองานหินที่ต้องทำให้ได้ โดยจะใช้กลยุทธ์จับมือกับพาร์ตเนอร์ที่มีวิสัยทัศน์ตรงกัน เน้นเป็นบริษัทขนาดกลางที่มีเครือข่ายเข้าถึงลูกค้าอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีการเจรจาพูดคุยไว้เบื้องต้นเเล้ว

ความท้าทายตอนนี้ เหมือนการปีนขึ้นยอดเขาเอเวอเรสต์ แต่เราก็มองว่าจะสามารถเข้าไปซื้อกิจการหรือหาพันธมิตรร่วมทุนได้

อีกมุมหนึ่ง การมาของอาคเนย์มันนี่ ก็เป็นการเสริมความเเกร่งของธุรกิจรถเช่าอย่าง อาคเนย์ แคปิตอลที่ตอนนี้มีจำนวนรถกว่า 22,100 คัน เเบ่งเป็นลูกค้าภาครัฐ 50% ลูกค้านอกกลุ่มทีซีซี 30% เเละลูกค้ากลุ่มทีซีซี 20% ซึ่งปกติจะมีการประกาศขายรถมือสองอยู่แล้ว

อาคเนย์มันนี่มีเเผนตั้งเป้าสินเชื่อปล่อยใหม่ภายในปี 2564 ให้ได้ 2,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มต้นจากบริษัทในเครือ ผ่านสินเชื่อเพื่อคู่ค้าก่อน จากนั้นในไตรมาส 3 จะปล่อยสินเชื่อรถยนต์ รถเช่ามือสอง สินเชื่อมอเตอร์ไซค์ และในไตรมาส 4 จะเป็นสินเชื่อจำนำทะเบียน และสินเชื่อส่วนบุคคล

ติดอาวุธเทคฯ พลิกโฉม ‘ประกัน’ ยุคใหม่

เเม้จะบุกหนักไปที่ธุรกิจการเงิน เเต่ผู้บริหารเครือไทย โฮลดิ้งส์ยืนยันที่จะให้ความสำคัญกับธุรกิจประกันยิ่งกว่าเดิม ด้วยเเพชชั่นที่ต้องการทำให้ประกันไปอยู่ในชีวิตของทุกคน

โดยจะมีการปรับพอร์ตธุรกิจประกันขึ้นมาใหม่ นำข้อมูลจำนวนมากที่ธุรกิจประกันมีเป็นจุดเเข็ง มาผสมกับเทคโนโลยีให้ใช้งานง่าย ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกลุ่มลูกค้า

สำหรับอาคเนย์ประกันชีวิต มีเบี้ยประกันภัยรับรวมปี 2563 อยู่ที่ 8,345 ล้านบาท ครองอันดับ 9 ของตลาด จะมุ่งกลยุทธ์ไปที่การขยายฐาน ‘ตัวแทนใหม่ ในต่างจังหวัด พร้อมๆ กับการรักษาพันธมิตรธนาคาร ที่เรียกว่าแบงก์แอสชัวรันซ์เเละมองหาพันธมิตรใหม่ช่องทางอื่นไปด้วย โดยคาดว่าสัดส่วนช่องทางขายระหว่างแบงก์และตัวแทนต่อจากนี้ จะอยู่ที่ 60% และ 40% ตามลำดับ

ทั้งนี้ พอร์ตส่วนใหญ่ของบริษัทกว่า 70% มาจากแบงก์แอสชัวรันซ์ ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...)

ฐากร ยังตั้งเป้ารายได้ที่จากประกันกลุ่มเเละจะออกแบบประกันชีวิตควบการลงทุนอย่าง Unit Linked ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในปีนี้

ตามมาด้วย อาคเนย์ประกันภัย ที่ปี 2563 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 10,556 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 4.1 ครองอันดับ 6 ของตลาด

ส่วนใหญ่เป็นประกันรถยนต์ 66% ทรัพย์สินเเละเบ็ดเตล็ด 24% อุบัติเหตุเเละสุขภาพ 10% โดยปีนี้ บริษัทมีเเผนจะออกผลิตภัณฑ์ที่เเตกต่างจากตลาด เเละรองรับเทรนด์การใช้ชีวิตยุคใหม่อย่าง ประกันรถยนต์ไฟฟ้า EV ฯลฯ

ส่วนไทยประกันภัย ที่ปี 2563 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงราว 1,321 ล้านบาท จะปรับรูปแบบการทำงานเเละโครงสร้างธุรกิจ เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งตอนนี้มีสัดส่วนอยู่ที่ 25%

โดยจะมีการทุ่มงบ 1,500 ล้านเพื่อพัฒนาระบบดิจิทัล เพิ่มยอดขายทางดิจิทัลของบริษัทในเครือทั้งหมด หลังจากปีที่ผ่านมา มียอดขายเเล้วกว่า 1,200 ล้านบาท เติบโตถึง 70% ส่วนใหญ่มาจากลูกค้าคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้จะมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับโครงสร้างการทำงานภายในองค์กรช่วยให้พนักงานทำงานสะดวกเเละลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีเเละรวดเร็ว

ฐากร บอกว่า จะจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่เพื่อทำ Data Analytics เเละเพิ่มแผนก Business Transformation พร้อมตั้งบริษัท Sofin เพื่อทำ Digital Solution โดยเฉพาะ

ครือไทย โฮลดิ้งส์ตั้งเป้าหมาย 3 ปี รายได้จะอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 14% กำไรเติบโตเฉลี่ย 20%

โดยในช่วง 2 ปีเเรกจะลุยตลาดในประเทศให้ประสบความสำเร็จก่อน จากนั้นในปีที่ 3 จึงจะขยับไปยังประเทศในอาเซียน เริ่มจากเวียดนาม ที่กลุ่มทีซีซีวางตลาดไว้อยู่เเล้ว ต่อไปจะขยายไปยังสปป.ลาว และกัมพูชา โดยจะรุกให้บริการทางการเงิน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล ต่อยอดไปเป็นประกันภัยและประกันชีวิต

นี่คือทิศทางต่อไปของเครือไทย โฮลดิ้งส์ภายใต้การนำทัพของฐากร ปิยะพันธ์ที่หวังจะมาเขย่าวงการประกันยุคใหม่ด้วย ‘Data’ …น่าจับตามองไม่น้อย

 

 

]]>
1324409
Nike ต้องพึ่ง BigData! เทเงินซื้อบริษัท “วิเคราะห์เชิงพยากรณ์” สู้ศึกดิจิทัล https://positioningmag.com/1241820 Thu, 08 Aug 2019 23:05:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241820 Nike Inc. เตรียมทัพพร้อมรบยิ่งขึ้นในสมรภูมิดิจิทัล ประกาศซื้อบริษัทด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และพยากรณ์อัจฉริยะ มั่นใจเป็นจิ๊กซอว์สำคัญช่วยให้ Nike มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงวิธีที่ดีที่สุดในการส่งมอบสินค้าหรือบริการนั้นแก่ผู้บริโภค

บริษัทล่าสุดที่ Nike ควักเงินซื้อมีชื่อว่า Celect ถูกสื่ออเมริกันยกให้เป็นหนึ่งในดีลที่สะท้อนพันธกิจภาพใหญ่ที่สุดของ Nike ในยุคดิจิทัล ซึ่งมีโอกาสที่จะส่งผลถึงทุกวงจรของ Nike ทั้งในแง่การค้าปลีก การผลิต และกลยุทธ์การตลาดในอนาคต

จิ๊กซอว์ต่อยอด

การเข้าซื้อกิจการบริษัท Celect ที่มีสำนักงานใหญ่ในบอสตันเป็นการต่อยอดครั้งล่าสุดของ Nike หลังจากในปีที่ผ่านมา Nike ได้เปิดตัวร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ปรับปรุงแอปพลิเคชันสมาชิก และเปิดตัวสายผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งทั้งหมดมุ่งเน้นที่การเรียนรู้ลูกค้าเพิ่มเติมในระดับรายบุคคลผ่านระบบดิจิทัล 

การเรียนรู้ลูกค้าแบบรายคน เป็นสิ่งจำเป็นในมุมของ Nike เพราะสถิติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัลของ Nike ชี้ว่าลูกค้าที่เป็นสมาชิกเหนียวแน่นกับ Nike ใช้เวลาบน Nike.com มากกว่าผู้เข้าชมทั่วไปถึง 3 เท่าตัว นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริหาร Nike ต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มความสามารถของบริษัท ในการให้บริการแฟนคลับที่มีโอกาสซื้อสินค้าได้ง่ายที่สุด

ทำนายพฤติกรรมผู้บริโภค

สำหรับ Celect รายงานระบุว่าเมื่อปีที่แล้ว Celect สามารถระดมทุนได้ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านเหรียญสหรัฐจากนักลงทุนหลายกลุ่ม การซื้อ Celect จะช่วยให้ Nike ได้รับการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสินค้าคงคลังและการค้าปลีก ที่สำคัญคือการทำนายรูปแบบผู้บริโภคหรือ consumer pattern ซึ่งถูกตั้งความหวังว่าจะเพิ่มเขี้ยวเล็บให้ Nike แข่งขันได้ดีกว่าเดิม

น่าเสียดายที่ดีลนี้ไม่มีการเปิดเผยข้อกำหนดของข้อตกลง สิ่งเดียวที่ชัดเจนคือการเป็นไปตามแนวโน้มการซื้อกิจการช่วงหลังของ Nike นั่นคือการเน้นไปที่บริษัทด้านเทคโนโลยีและข้อมูล ตัวอย่างเข่นปี 2018 เจ้าพ่อ Nike ตัดสินใจซื้อบริษัท Invertex Ltd. ซึ่งเป็นสตาร์ทอัปสัญชาติอิสราเอลด้านเทคโนโลยีการทำให้คอมพิวเตอร์มองเห็นหรือ computer-vision ผลจากการซื้อบริษัทดังกล่าวทำให้เกิดเป็นบริการ Nike Fit ซึ่งเป็นส่วนเสริมของแอป Nike ที่เปิดกว้างให้ผู้บริโภควัดขนาดเท้าของตัวเองที่บ้าน และเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดรองเท้า Nike ที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่น ซึ่งทำให้ลูกค้าเลือกรองเท้า Nike ที่เหมาะกับตัวเองได้มากที่สุดแบบง่ายกว่าเดิม.

Source

]]>
1241820
เมื่อ Data คือขุมทรัพย์เอาชนะ Disruption ต้องเริ่มต้นอย่างไรถึงจะนำมาใช้กับ “ธุรกิจ” ให้เกิดผล https://positioningmag.com/1240609 Fri, 26 Jul 2019 10:19:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240609 ในวันที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยมีปัจจัยที่ชื่อว่าเทคโนโลยีเข้ามาหนุนนำ ธุรกิจต่างกังวลกับ Digital Disruption ที่จะเข้ามากดดันธุรกิจ ส่งผลให้ต้องปรับตัวเองยกใหญ่เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

AIS ก็เป็นอีกรายหนึ่งที่มีการปรับตัว ตั้งแต่ 5 ปีก่อนได้เริ่ม Transformation ตัวเองเนื่องจากเชื่อว่าจะถูก Disruption จากธุรกิจโทรคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงไป และ AIS จะต้องพลิกธุรกิจไปสู่ Digital Life Service Provider

กานติ มาเลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล เอไอเอส ระบุว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ การ เตรียมความพร้อมภายในองค์กร ดังนั้นปีแรกของการทำ Transformation จึงเป็นการระดมทีมเพื่อหาองค์ความรู้เข้ามาช่วยกัน ปีถัดมาจึงได้เกิด AIS Academy ขึ้นเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับภายใน

สมัยก่อนจะมีฝ่ายทรัพยากรบุคคลสำหรับการทำเทรนนิ่ง หาคอร์สเรียนมาให้ความรู้ในห้อง แต่ AIS มองว่า ภาพเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป ระบบการศึกษาจะต้องรวดเร็วขึ้น ดังนั้น AIS Academy เกิดขึ้นมาเพื่อปรับ Mindset เอาองค์ความรู้มาช่วยพนักงานรับมือยุค Digital

กานติ มาเลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล เอไอเอส

หลังจากทำไปครึ่งทางได้เห็นว่าหลายๆ องค์ความรู้ที่ให้กับพนักงานน่าจะเป็นประโยชน์ถ้า AIS จะช่วยคนไทยไปด้วยกัน 2 ปีที่แล้วจึงเริ่มทำ AIS ACADEMY for THAIs ครั้งแรกได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมที่กรุงเทพฯ 4,000 กว่าคน ปีถัดมาทำครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมล้นหลามไม่แพ้กัน

AIS จึงมั่นใจว่าองค์ความรู้เหล่านี้เป็นที่ต้องการ ซึ่ง AIS มองว่า การเติบโตแต่เพียงผู้เดียวสำหรับองค์กรไม่น่าจะใช่การเติบโตที่ยั่งยืน แต่การทำให้สังคมไทยเข้มแข็งและแข็งแรง น่าจะเป็นการเติบโตแบบถาวร นั้นคือที่มาของการทำภาระกิจคิดเผื่อองค์ความรู้ที่ทำขยายมาสู่ประชาชนภายนอก

ด้วย AIS ชื่อว่าเมืองไทยไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ คนที่อยู่ในภูมิภาคย่อมต้องการองค์ความรู้ ซึ่งสิ่งที่ยากที่สุดคือการเข้าถึง ต้องเสียเงิน ต้องไปประสาน ที่ผ่านมาการสัมมนาให้ความรู้ใหญ่เกิดในกรุงเทพฯ เป็นหลัก แต่สิ่งที่สวยงามที่สุดของสังคมไทยคือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ดังนั้น จึงตัดสินใจขยับไปสู่ภูมิภาค

และนั้นคือที่มาของการจัดงาน “AIS ACADEMY for THAIs : to the Region องค์ความรู้ สู่ภูมิภาคครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมปรับในการเปลี่ยนธุรกิจ (Business Transformation) และถ่ายทอดเคล็ดลับนอกตำราเรียนจากประสบการณ์ตรงในการนำ Big Data มาช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เติบโต

อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการรับมือ “Disruption” จากหัวข้อในงานทั้งหมด Positioning จึงขอสรุปใจความสำคัญของสัมนาในหัวข้อ “Data ขุมทรัพย์เอาชนะ Disruption” มาเล่าสู่กันฟัง

โดยผู้ร่วมให้ข้อมูลมี 4 คนได้แก่ สาโรจน์ ปุญญพัฒนกุล Solution Architect, Amazon Web Servicesอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคมนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหารสำนักข่าว The Standard และ ดร.กวิณพงศ์ ฉัตรานนท์ Head of Data Management & Big Data Analytic, AIS

แกนหลัก 5 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนนำ Data มาใช้งานคือ หนึ่งลูกค้าเป็นใครขาจรหรือขาประจำ สองยอดขายขายดีจากอะไร สามสินค้าขายแบบเดิมดีแล้วหรือต้องมีปรับปรุงอะไรเพิ่มเติม สี่การผลิตและการบริการถ้าไม่ดีหรือช้าก็ต้องปรับปรุง สุดท้ายกำไรขาดทุนซึ่งปรกติร้านค้า SME จะรู้วันต่อวันอยู่แล้ว

เหล่านี้เป็น Data ที่คนจัดการธุรกิจต้องรับรู้ไม่ใช่รู้แค่เจ้าของ ตัวอย่างเช่น มีอาแปะเปิดร้านขายกาแฟ จำได้หมดว่าลูกค้าชื่นชอบรสชาติแบบไหน นี่คือสิ่งที่อยู่ในหัวอาแปะ แต่ถ้าเกิดแกเสียชีวิตข้อมูลเหล่านี้จะหายไปหมดเลย จึงต้องมีการกลั่นข้อมูลออกมาเพื่อที่ว่าคนบริหารต่อจะสามารถใช้งานได้ด้วย

Data ไม่ใช่เรื่องไกลตัว สิ่งสำคัญต้องรู้ก่อนว่า จะเอา Data ไปทำอย่างไร ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการกลัดกระดุมผิดจุด ซึ่งนี่เป็นเรื่องของกลยุทธ์ขององค์กร ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญของข้อมูล

ต่อมาเป็นของคน ต้องพัฒนาทั้งคนเก่าและคนใหม่ อย่าไปนึกว่าคนรุ่นเก่าจะทำไม่ได้ ต้องมั่นใจกับพวกเขา อีกสิ่งคือพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งจุดนี้จะทำให้สามารถเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ยุคนี้ถ้าไม่มีข้อมูลถือว่าเสียเปรียบคนอื่นทันที จะไม่สามารถมองธุรกิจข้างหน้าเหมือนกับคนอื่นๆ ผู้บริหารต้องทำใจยอมรับ เปิดกว้าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง อย่ากลัวที่จะล้มเหลว เพราะข้อมูลเป็นทั้งศาสตร์และศิลป ทำไปเรื่อยๆ สุดท้ายจะเห็นภาพเอง

ทั้งนี้ “AIS ACADEMY for THAIs : to the Region องค์ความรู้ สู่ภูมิภาค” ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง “สมาร์ทซิตี้”

]]>
1240609
อยากจับลูกค้าอยู่หมัด ค้าปลีกยุคนี้ต้องมี Big Data ขุดอินไซท์ https://positioningmag.com/1155988 Wed, 07 Feb 2018 12:14:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155988 จะเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล ต้องใช้ “BigData” มาช่วยอ่านใจเพราะคนไทยยุคนี้ ใช้เวลาอยู่กับอินเทอร์เน็ต 6.5 ชั่วโมงต่อวัน ยิ่งเจนวายด้วยแล้ว ใช้เวลาถึง 7.12 ชั่วโมงต่อวัน

กิจกรรมส่วนใหญ่ใช้ใช้งานกันคือ Social Media 86.9% , ค้นหาข้อมูล 86% , รับส่ง Email 70% , ดูทีวี วิดีโอออนไลน์ 60% และช้อปปิ้งออนไลน์ 50.8%

จากการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค ดันน์ฮัมบี้ ได้เก็บข้อมูลในการใช้จ่ายจากฐานข้อมูล สมาชิกคลับการ์ดของเทสโก้ โลตัส 15 ล้านราย ซึ่งคิดเป็น 22% ของครัวเรือนทั่วประเทศไทยทำให้พบว่า Big Data มีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมาก

โดยเฉพาะการวิเคราะห์พฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคแบบเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น ทั้งการซื้อสินค้าระหว่างช่องทางออนไลน์ ออฟไลน์  ประเภทสินค้าที่ซื้อ ยอดการใช้จ่าย ความถี่ เพื่อทำให้การคิดค้นคอนเทนต์ กลยุทธ์การตลาด ตลอดจนโปรโมชั่นให้เป๊ะปังสำหรับแต่ละคน (Personalize) ได้แม่นยำยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วย

1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าระหว่างช่องทางออนไลน์ ออฟไลน์ หรือทั้งสองช่องทางร่วมกันที่โตขึ้น 43%

2. ประเภทสินค้าในการซื้อ รวมถึงจำนวน ยอดการใช้จ่ายต่อครั้ง การซื้อที่เปลี่ยนไป และความถี่ในการซื้อ

3. การเข้าถึงโซเชียลมีเดียของผู้บริโภค เพื่อนำไปประมวลผลเลือกใช้สื่อโฆษณาได้อย่างแม่นยำ และเป็นแบบการวางแผนใช้สื่อเฉพาะรายบุคคลมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้สื่อแบบมิกซ์ระหว่างอินสโตร์กับดิจิตอลมีเดีย ในรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ และคูปองให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งในอนาคตยังสามารถคาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภคได้ด้วย 

ดันน์ฮัมบี้แบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นสามกลุ่มใหญ่หลักๆ โดยเมื่อดูจากช่องทางการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของลูกค้าแล้ว คือ กลุ่มลูกค้าที่ซื้อจากร้านค้า กลุ่มลูกค้าที่ซื้อของออนไลน์ และกลุ่มลูกค้าที่ซื้อจากทั้งสองช่องทาง

• กลุ่มซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มรายได้สูง มีสัดส่วน 63% ของคนที่ซื้อออนไลน์ทั้งหมด กลุ่มนี้จะพิจารณาราคาและคุณภาพสินค้าก่อนซื้อ (Mid Market) มองหาสินค้าเฉพาะไม่ซ้ำใคร

 กลุ่มคนซื้อสินค้าในร้าน คิดเป็นสัดส่วน 53% ของคนที่ซื้อจากร้านค้าทั้งหมด กลุ่มนี้มีรายได้ปานกลาง ซื้อเพราะมีความอ่อนไหวต่อราคา ชอบโปรโมชั่น (Price Sensitive)

• กลุ่มที่ซื้อสินค้าจากทั้งสองช่องทาง มีสัดส่วน 56% เป็นกลุ่มรายได้สูง ตัดสินใจซื้อจากคุณภาพสินค้า (Up Market)

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าถึงลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง ผ่านกลยุทธ์การสื่อสารและโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและพฤติกรรมที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากบิ๊กดาต้าจึงมีบทบาทสำคัญในการวางกลยุทธ์การสื่อสารและโฆษณาให้มีประสิทธิภาพ

ดันน์ฮัมบี้เชื่อว่าร้านค้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่จะยังคงมีบทบาทสำคัญสำหรับลูกค้าชาวไทย และสื่อโฆษณา ณ จุดขายมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าที่จัดขายเพิ่มมากขึ้น

ยอดขายช่องทางออฟไลน์ไม่ตก แต่ผู้บริโภคมีการ Shift ไปออนไลน์มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสื้อผ้า ยังไม่ใช่ของกินของใช้ หรือGrocery ดังนั้นช่องทางค้าปลีก โฆษณา ณจุดขายก็ยังสำคัญ ธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์ ประธานกรรมการผู้จัดการฝ่ายการพาณิชย์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ดันน์ฮัมบี้ จำกัด

โดยจากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าและเห็นโฆษณาทั้งที่ร้านค้าและผ่านทางออนไลน์นำคูปองส่วนลดมาซื้อสินค้าที่ร้านค้ามากกว่า 43% เมื่อเทียบกับอัตราการนำคูปองส่วนลดมาซื้อสินค้าของลูกค้าที่ซื้อสินค้าและเห็นโฆษณาผ่านทางช่องทางเดียว

สื่อดิจิทัล” ทำให้ Customer Journey ของลูกค้ามีความซับซ้อนกว่าเดิม ถึงแม้ลูกค้าจะตัดสินใจมาแล้วจากบ้าน แต่ถ้าหน้าเชลฟ์ถ้าเห็นโปรโมชั่นแรงๆ ก็พร้อมจะเปลี่ยนแบรนด์ (Switching Brands) ได้ทันที

สะท้อนว่าสื่อโฆษณา ณ จุดขายมีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า ในขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของช่องทางการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย ยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคในการเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านสื่อดิจิทัล

แต่สิ่งที่สำคัญ คือการใช้กลยุทธ์การสื่อสารและโฆษณาที่เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ด้วยการทำความเข้าใจในพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าใน Customer Journey ขั้นตอนต่างๆ ของกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างลึกซึ้ง โดยมี Big Data เป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อที่ว่าแบรนด์จะได้สื่อสารกับลูกค้าได้ตรงจุดที่สุด.

]]>
1155988