Brad Garlinghouse CEO จาก Ripple ประเมินว่า มูลค่าของตลาดคริปโตฯ ปีนี้จะเพิ่มขึ้น สองเท่า หรือมีมูลค่าตลาดรวมสูงถึง 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ จากมูลค่า ณ วันที่ 4 เมษายน ที่ตลาดคมีมูลค่าประมาณ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากการมาถึงของกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนบิตคอยน์ (ETFs) แห่งแรกของสหรัฐฯ
Bitcoin ETF กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในบิตคอยน์ ที่ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 10 มกราคมโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา พวกเขาซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และอนุญาตให้สถาบันและนักลงทุนรายย่อยได้รับความเสี่ยงจาก บิตคอยน์โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรง
ปัจจุบัน บิตคอยน์คิดเป็นประมาณ 49% ของตลาดคริปโตฯ ทั้งหมด โดยมีมูลค่าตลาด 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 1 เมษายน ซึ่งนับจากช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา มูลค่าบิตคอยน์เพิ่มขึ้นมากกว่า +140% โดยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เหนือ 73,000 ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ตามข้อมูลของ CoinGecko อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ราคาบิตคอยน์ได้ตกลงไปต่ำกว่าระดับ 70,000 ดอลลาร์แล้ว
อีกปัจจัยที่ Garlinghouse มองว่าจะผลักดันตลาดคริปโตฯ ไปสู่จุดสูงสุดใหม่คือความเป็นไปได้ที่โมเมนตัมด้านกฎระเบียบเชิงบวกในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการเลือกตั้ง ทำให้นักลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลต่างมองในแง่ดีว่า ฝ่ายบริหารครั้งต่อไปจะอำนวยความสะดวกให้กับอุตสาหกรรมสกุลเงินดิจิทัลมากขึ้น
“ฉันคิดว่าเราจะได้รับความชัดเจนมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก แต่น่าเสียดายที่อเมริกากลับไม่ค่อยเป็นมิตรกับตลาดคริปโตฯ อย่างไรก็ตาม ปีนี้น่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางบวก”
นอกจากนี้ Marshall Beard ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Gemini บริษัทแลกเปลี่ยน crypto ของสหรัฐฯ คาดว่า ราคาบิตคอยน์จะเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 ดอลลาร์ ในปลายปีนี้ เนื่องจากครบรอบ บิตคอยน์ ฮาล์ฟวิ่ง (Bitcoin Halving) หรือการที่รางวัลจากการขุดบิตคอยน์จะถูกปรับลดลงครึ่งหนึ่ง
]]>Eric Robertsen หัวหน้าฝ่ายวิจัยระดับโลกของ Standard Chartered Bank คาดการณ์ว่า บิตคอยน์อาจลดลงเหลือ 5,000 ดอลลาร์ในปีหน้า ซึ่งถ้าถึงระดับนั้น แปลว่ามูลค่าของบิตคอยน์จะลดลงประมาณ 70% จากราคาปัจจุบันที่ 17,000 ดอลลาร์ ซึ่งมูลค่าลดลงไปมากกว่า 60% หากนับเฉพาะปีนี้
หนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของบิตคอยน์ก็คือ การล่มสลายของโครงการและบริษัทที่มีชื่อเสียงมากมาย ทำให้อุตสาหกรรมเสียหาย โดยเฉพาะที่ FTX ได้ยื่นล้มละลาย นับเป็นความเสียหายล่าสุดและใหญ่ที่สุด เพราะหลังจากที่ FTX ล้มก็ได้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปทั้งตลาด
“ผลตอบแทนของคริปโตฯ ลดลงไปพร้อม ๆ กับหุ้นเทคโนโลยี และในขณะที่บริษัทหรือแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนคริปโตฯ จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มพบว่าตัวเองมีสภาพคล่องไม่เพียงพอ ได้นำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล” Eric Robertsen กล่าว
ในขณะที่มูลค่าของบิตคอยน์อาจจะลดลงในปีหน้า แต่ราคา ทองคำ อาจเพิ่มขึ้น 30% เป็น 2,250 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการถดถอยของสินทรัพย์ดิจิทัล โดยทองคำนั้นจะเป็นเหมือน แหล่งหลบภัย โดยนักลงทุนแห่กันไปเพื่อความมั่นคงในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวน
ไม่ใช่แค่ Standard Chartered ที่มองว่ามูลค่าของบิตคอยน์จะลดลงในปีหน้า แต่ Mark Mobius นักลงทุนรุ่นเก๋าก็คาดว่า บิตคอยน์จะร่วงลงสู่ระดับ 10,000 ดอลลาร์ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นจากธนาคารกลางสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม มีเพียง Tim Draper มหาเศรษฐีพันล้านยังเชื่อว่าในช่วงกลางปีหน้า มูลค่าของบิตคอยน์จะกลับมาแตะ 250,000 ดอลลาร์ ได้
]]>อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ตลาดการเงินทั่วโลกส่วนใหญ่ได้ให้ผลตอบแทนได้ไม่ประทับใจนักลงทุนมากเท่าไหร่นัก เนื่องจากปัจจัยลบได้สร้างผลกระทบต่อนักลงทุนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง การบุกยูเครนโดยรัสเซีย นอกจากนี้ในปี 2566 ยังมีปัจจัยบวกและลบหลายเรื่องที่นักลงทุนอาจมองข้ามไป
เดอะวิสดอมกสิกรไทย จึงได้มีการจัดการสัมมนาที่มีชื่อว่า THE WISDOM Investment Forum : Wealth in Challenging World ‘เดินหน้าฝ่ามรสุม คว้าความมั่งคั่ง’ เพื่อให้ลูกค้าสามารถได้ข้อมูลและมุมมองการลงทุนที่ลึกซึ้ง หลายประเด็นการลงทุนในงานสัมมนานั้นไม่สามารถมองข้ามไปได้ โดยเฉพาะความเสี่ยงต่างๆ
Positioning ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจของสัมมนาดังกล่าวมา ดังนี้
ดร. ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจไทย รวมถึงมุมมองเศรษฐกิจโลก หลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ลง 4 ครั้งด้วยกัน สะท้อนว่าภาพเศรษฐกิจโลกนั้นอึมครึมมากขึ้นในช่วงหลังจากนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศพัฒนาแล้วมีเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวสูงมาก เศรษฐกิจเติบโตร้อนแรง ทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมา
ขณะเดียวกันหลายประเทศในยุโรปก็ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน เนื่องจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ อย่างกรณีของรัสเซียบุกยูเครน ส่งผลทำให้เงินเฟ้อนั้นสูงขึ้นไปอีก ทางด้านเศรษฐกิจจีนนั้นคาดว่าน่าจะโตไม่ถึง 5.5% ตามเป้า เนื่องจากปัญหาหลายๆ เรื่อง เช่นนโยบายโควิดเป็นศูนย์ หรือแม้แต่ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ดร. ชญาวดี ชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตแค่ 2.7% และมองว่ามีโอกาส 25% ที่เศรษฐกิจอาจโตไม่ถึงคาดการณ์ด้วยซ้ำ
ผลดังกล่าวนี้จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่น้อยเช่นกัน แต่ประเทศกำลังพัฒนา (EM) นั้นน่าจะยังเติบโตใช้ได้ ยกเว้นกลุ่มที่ส่งออกสินค้าเป็นหลักอย่าง เกาหลีใต้ หรือแม้แต่ไต้หวัน ขณะเดียวกันไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง FDI ที่เข้ามาในประเทศไทย
ค่าเงินบาทของไทย ดร. ชญาวดี มองว่าเคลื่อนไหวตามปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัจจัยที่ธนาคารกลางสหรัฐนั้นประกาศขึ้นดอกเบี้ย จนกว่าจะชะลอขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งตลาดคาดว่าน่าจะอยู่ในไตรมาส 1-2 ของปี 2566 ซึ่งถ้าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว และค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าน้อยลง ความผันผวนของค่าเงินบาทหลังจากนี้น่าจะลดลง แต่ความผันผวนนั้นยังไม่หายไปสิ่งที่ต้องจับตามองว่าค่าเงินบาทจะผันผวนหรือไม่คือเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ ถ้าหากผันผวนรวดเร็วเกินไปอาจกระทบต่อธุรกิจต่างๆ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามที่จะไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนของไทยผันผวนมากเกินไป
ความเสี่ยงของประเทศไทยที่ ดร. ชญาวดี มองไว้คือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่กลับมาที่ไทย ถ้าหากมาจำนวนมากก็จะทำให้เศรษฐกิจดี แต่ถ้าหากกลับมาไม่พอก็อาจกระทบเช่นกัน รวมถึงเรื่องของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาคการเงินที่ผันผวน
เธอได้แนะนำภาคธุรกิจในเรื่องการกระจายความเสี่ยง การสร้างกำแพงป้องกัน รวมถึงสายป่านที่ยาวนั้นช่วยภาคธุรกิจได้ การลดภาระหนี้ รวมถึงประกันความเสี่ยง จะทำให้ธุรกิจไทยสามารถผ่านช่วงเวลายากลำบากได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดว่า GDP ของไทยปีนี้จะเติบโต 3.3% และปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ 3.8%
คุณสรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์ บมจ. หลักทรัพย์กสิกรไทย ได้ชี้ถึงความผันผวนของตลาดทุนทั่วโลก เกิดจากการไถ่บาปทางเศรษฐกิจ จากปัญหาของเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้น
เขาได้ชี้ว่าเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกากับเงินเฟ้อในประเทศอื่นๆ นั้นไม่เหมือนกัน โดยอสังหาในสหรัฐนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ ถ้าหากภาคอสังหาชะลอตัวลงมา เงินเฟ้อก็จะชะลอตัวลงมา ขณะที่ประเทศอื่นๆ เงินเฟ้อนั้นเกิดจากราคาพลังงานและอาหาร
ขณะที่ในช่วงที่ผ่านมาเขาชี้ว่าการจ้างงานในสหรัฐฯ มีการชะลอตัวมากขึ้น และหลายตัวเลขทางเศรษฐกิจนั้นชี้ว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลง เป็นเหตุผลทำให้เขามองว่าเป็นช่วงเวลาที่เห็นว่าเงินเฟ้อนั้นทำจุดสูงสุดแล้ว
สำหรับเศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีน คุณสรพลมองว่าความผันผวนในตลาดหุ้นจีนที่เกิดขึ้นมาจากแรงเทขายของนักลงทุนชาวต่างชาติ ขณะเดียวกันการเปลี่ยนโปลิตบูโร 7 คนของจีนนั้นเป็นการรวบอำนาจของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง แม้ว่ายังไม่มีการพูดถึงนโยบายเศรษฐกิจจีนในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์เท่าไหร่ แต่คุณสรพลมองว่านี่เป็นโอกาสในการลงทุน หลังจากนี้ในช่วงปลายปีจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา นอกจากนี้จีนยังมี Valuation ที่ถูก และจีนยังมีโอกาสที่เปิดประเทศด้วย
ส่วนความอึมครึมของเศรษฐกิจ เกิดขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อสูงขึ้น การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจลดลง คาดว่าปีหน้าเงินเฟ้อจะลดลงแรงมาก ควรจะลงทุนในประเทศที่เงินเฟ้อเกิดจาก Supply เช่น ในประเทศไทย
คำแนะนำคือถ้าสัดส่วนการลงทุน 60% ควรจะลงทุนในหุ้นไทยไปก่อน 30% ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ขณะที่ตลาดต่างประเทศคือจีนกับสหรัฐฯ สัดส่วนรวมกัน 30% หุ้นจีนควรลงทุนใน A-Share และซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐ และหลังจากนี้ควรดูว่าดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (Dollar Index) จะขึ้นไปถึงจุดพีคเท่าไหร่ ถ้าพีคแล้ว เงินอาจไหลกลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ แทน
ข้อมูลจากฮั่วเซ่งเฮง
คุณธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มฮั่วเซ่งเฮง ได้ชี้ว่าในช่วงที่ผ่านมา ทองคำได้ทำราคาสูงสุดไปแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านคือค่าเงินดอลลาร์แข็งค่ากลับกดดันราคาทองคำ เขามองว่าในช่วงปี 2566 น่าจะเริ่มเห็นเม็ดเงินไหลเข้ามาซื้อทองคำได้ เนื่องจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าขึ้น แม้ว่าในปี 2566 ตลาดทองคำจะไม่หวือหวาก็ตาม
ขณะที่ปัญหาของจีน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มฮั่วเซ่งเฮงมองว่า หลังจากนี้นโยบายจะเน้นเรื่องของความมั่นคงมากกว่าเศรษฐกิจ และถ้าเศรษฐกิจชะลอตัวลงก็จะทำให้ความต้องการทองคำลดลง แต่ถ้ามองระยะถัดไปแล้ว ถ้านโยบายเศรษฐกิจจีนทำให้ประชาชนจีนเป็นชนชั้นกลางมากขึ้นก็จะทำให้การบริโภคทองคำมากขึ้นด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ปัจจัยในการขับเคลื่อนทองคำนั้นยังคงเหมือนเดิมในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นสภาวะเศรษฐกิจ ค่าเงินดอลลาร์ หรือแม้แต่การบริโภคทองคำของชาวจีน เขามองว่าเงินบาทที่อ่อนค่าทำให้ราคาทองคำยังไปต่อได้
หลังจากนี้คุณธนรัชต์แนะนำให้จับตาการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจทำให้ราคาทองคำนั้นสูงมากขึ้นได้ เนื่องจาก Dollar Index อ่อนค่าลงมา และถ้าราคาทองคำหลุด 1,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็อาจเริ่มเข้าซื้อทองคำได้
ข้อมูลจากคุณพิริยะ สัมพันธารักษ์
คุณพิริยะ สัมพันธารักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฉลกดอทคอม จำกัด ได้กล่าวถึงสินทรัพย์ดิจิทัล กับกลไกลทางการเงิน เขามองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลต้องใช้เวลาเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะ Bitcoin อย่างไรก็ดีเขากลับมองว่า Bitcoin ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่มีความปลอดภัย แต่เขามองว่า Bitcoin นั้นมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นจากการพิมพ์เงินดอลลาร์ที่มีจำนวนมากขึ้น ส่งผลทำให้ Bitcoin เหมือนเป็นเครื่องมือป้องกันเงินเฟ้อ
เขายังชี้ว่าทุกสินทรัพย์ไม่เว้นแต่ Bitcoin นั้นสัมพันธ์กับปริมาณเงิน เมื่อเวลาผ่านไปทุกสินทรัพย์นั้นเอาไว้ป้องกันเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าดูผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมานั้นเพิ่มขึ้นสูงมาก แต่สำหรับปัญหา ตอนนี้คือเรื่องของสภาพคล่อง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดแรงเทขายออกมา
ขณะที่เรื่องความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ คุณพิริยะมองว่าปลายยุคสมัยของมหาอำนาจหนึ่ง จะมีอีกมหาอำนาจหนึ่งมาท้าทายอำนาจกัน เช่น สหรัฐอเมริกากับจีน ขณะเดียวกันหลายๆ ประเทศเองก็พยายามที่จะบาลานซ์อำนาจดังกล่าว เรื่องสำคัญที่เขามองคือเรื่องสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ในช่วงบั้นปลายแล้ว ขณะที่ Bitcoin ก็เกิดขึ้นในช่วงบั้นปลายของดอลลาร์สหรัฐ เหมือนกับช่วง The Great Reset ในการหา Global Reserve Currency และหลายธนาคารกลางกำลังเลือกทางนั้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อทองคำเป็นทุนสำรอง เป็นต้น
สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล คุณพิริยะมองว่าการใช้งานของ Bitcoin เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่าเงินของหลายๆ ประเทศล่มสลาย ถ้าหากมามองสินทรัพย์อย่าง Bitcoin ล่าสุดราคาลงมาจากจุดสูงสุดราวๆ 70% แต่ถ้ามอง Cycle รอบละ 4 ปี นั้นมาจากการลดการผลิตลง เขามองว่าราคาของ Bitcoin จะลดลงครั้งใหญ่ๆ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งอาจได้เห็นกรณีที่แย่สุดอาจเหลือราคาราวๆ 10,000 ดอลลาร์ต่อ 1 BTC ถ้าหากไม่ได้เป็นนักลงทุนระยะสั้นมากๆ ก็ถือว่าช่วงนี้เริ่มเก็บสะสมได้แล้ว
]]>Bitcoin ซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 18,812.36 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมากกว่า 5% ตามข้อมูลของ CoinDesk Ether ซึ่งการซื้อขายของ Bitcoin นั้นจะสัมพันธ์กับหุ้น ดังนั้น หากหุ้นตกสกุลเงินดิจิทัลก็เช่นกัน ส่งผลให้เกิดการเทขายในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง
ปัจจุบัน Bitcoin ลดลงประมาณ 60% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 68,990.90 ดอลลาร์ ส่งผลให้ตลาดคริปโตฯ จากที่เคยมีมูลค่าเกือบ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันมูลค่าตลาดเหลือเพียง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับสาเหตุที่ตลาดหุ้นทั่วโลกตก มาจากธนาคารกลางทั่วโลกกำลังต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงด้วยนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งเป็นจำนวนรวม 2.25% และด้วยนโยบายที่เข้มงวด ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี
“การที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงทั้งหมดตามที่เราเห็น แต่ถ้าค่าเงินดอลลาร์เริ่มอ่อนค่าลง Bitcoin ก็จะกลับมาอีกครั้ง” Vijay Ayyar รองประธานฝ่ายพัฒนาองค์กรและระดับนานาชาติที่การแลกเปลี่ยน crypto Luno กล่าว
]]>วรางคณา อัครสถาพร ผู้จัดการใหญ่ ของบริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในเครือ XSpring กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในปั
สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่รองรับในช่วงเริ่มต้นได้แก่ Bitcoin และ Ethereum โดยให้อัตราส่วนการให้สินเชื่อโดยเทียบกับมูลค่าหลักประกัน (LTV) อยู่ที่ 50% เช่น ถ้าหาก Bitcoin มีมูลค่า 1 ล้านบาท ก็จะได้วงเงินที่ 500,000 บาท เป็นต้น ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยนั้นจะคิดไม่เกิน 15% ต่อปี และหลังจากนี้จะขยายไปยังสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ในภายหลัง
ในเรื่องของความเสี่ยงนั้นทาง XSpring ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าว ถ้าหากราคาสินทรัพย์ที่มาเป็นหลักประกันลดลง ก็จะมีการแจ้งเตือนกับลูกค้า และถ้าหากลูกค้าต้องการเพิ่มวงเงินก็สามารถติดต่อทางบริษัทเพื่อที่จะขอเพิ่มวงเงินได้ โดยนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาเป็นหลักประกันเพิ่มเติม
วงเงินที่ของบัตรกดเงินสดนี้จะเริ่มต้นที่ 10,000 บาท สูงสุดอยู่ที่ 1 ล้านบาท ระยะเวลาในการทำบัตรเงินสดนี้จะอยู่ที่ราวๆ 1 สัปดาห์ และจะใช้เวลาน้อยกว่านี้ถ้าหากเป็นลูกค้าของแพลตฟอร์ม XSpring อยู่แล้ว
ทาง XSpring คาดการณ์ว่า ความร่วมมือดังกล่าว ภายใน 3 ปี จะทำให้สามารถขยายฐานลูกค้านักลงทุนได้ถึง 5 ถึง 10% จากจำนวนบัญชีทั้งหมดที่ซื้อขายในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไทย หรือคิดเป็นยอดสินเชื่อได้ 5,000 ถึง 7,000 ล้านบาท
ขณะที่ พิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ธุรกิจสินเชื่อบุคคลของ KTC กล่าวว่าความร่วมมือกับ XSpring ในครั้งนี้ นับเป็นมิติใหม่ของวงการสินเชื่
เทสลา เปิดเผยว่า ณ สิ้นไตรมาส 2 ที่ผ่านมา บริษัทได้ขาย Bitcoin ประมาณ 75% โดยยอดขายเหล่านั้นเพิ่มเงินสด 936 ล้านดอลลาร์ หรือราว 34,000 ล้านบาทในงบดุล ขณะที่มูลค่าของ Bitcoin ช่วงต้นไตรมาส 2 มีมูลค่าเกือบ 46,000 ดอลลาร์ แต่ช่วงสิ้นสุดไตรมาส 2 ก็ลดลงเหลือ 19,000 ดอลลาร์ ขณะที่ปัจจุบันอยู่ที่ราว 23,000 ดอลลาร์
หากย้อนไปช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 มูลค่าของ Bitcoin ที่เทสล่าถือครองอยู่ที่ 2.48 พันล้านดอลลาร์ และเหลือเพียง 2 พันล้านดอลลาร์เมื่อสิ้นสุดปี อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้ระบุว่ามูลค่าที่หายไปนั้นเกิดจากการขายหรือมูลค่าที่ลดลง ขณะที่ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา มูลค่า Bitcoin หายไปกว่าครึ่ง
นักวิเคราะห์ Brian Johnson ที่ Barclays ประมาณการเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า เทสลาจะเห็นมูลค่าของ Bitcoin ที่หายไปเป็นมูลค่า 460 ล้านดอลลาร์จากการเทขายนี้
“เหตุผลที่เราขาย Bitcoin ที่ถือครองอยู่นั้นเป็นเพราะเราไม่แน่ใจว่าการล็อกดาวน์ในประเทศจีนจะบรรเทาลงเมื่อใด ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราที่จะเพิ่มสถานะเงินสดให้สูงสุด แต่ไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เป็นการตัดสินค่าของ Bitcoin และบริษัทจะเพิ่มการถือครองคริปโตในอนาคต” อีลอน มัสก์ กล่าว
ทั้งนี้ มีรายงานว่าในช่วงไตรมาส 2 เทสลามี Bitcoin ที่ถือครองอยู่ประมาณ 42,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น หากขายไป 75% แปลว่าเทสลาจะเหลือ Bitcoin อยู่ประมาณ 10,500 ดอลลาร์ ในช่วงท้ายไตรมาสนี้ และก่อนหน้านี้ เทสลาเคยเป็นบริษัทที่ถือ Bitcoin ที่มากสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียง บริษัท MicroStrategy ของ ไมเคิล เซย์เลอร์ (Michael Saylor) ที่เคยทำกำไรจากการลงทุนใน Bitcoin ถึง แสนล้านบาท
]]>คณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าแห่งสหพันธรัฐ หรือ FTC เปิดเผยว่า ในปี 2021 มีผู้ที่ถูกมิจฉาชีพหลอกหลวงในตลาดคริปโตถึง 4.5 หมื่นราย รวมมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท โดย 70% ใช้ Bitcoin เพื่อจ่ายให้กับมิจฉาชีพ ตามด้วยเหรียญสกุล Tether และ Ether ขณะที่ เหยื่อมักจะมีอายุน้อย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 25-40 ปี มีแนวโน้มที่จะสูญเสียเงินเนื่องจากการฉ้อโกงถึง สามเท่า
ขณะที่ เกือบครึ่งหนึ่ง ของผู้ที่ออกมาแจ้งความว่าสูญเสียเงินจากการหลอกลวงคริปโตในปี2021 ระบุว่า พวกเขาถูกหลอกผ่านโพสต์ออนไลน์หรือข้อความโซเชียลมีเดีย โดยโพสต์มากกว่าครึ่งถูกเห็นบน Facebook หรือ Instagram
ทั้งนี้ การต้มตุ๋นหลอกลวงในตลาดคริปโตกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยอัตราการก่ออาชญากรรมพุ่งสูงขึ้น 60 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2018 เนื่องจากนักต้มตุ๋นมีข้อได้เปรียบตรงที่ธนาคารจะไม่สามารถตรวจพบธุรกรรมที่น่าสงสัยได้เหมือนกับการเงินปกติ อีกทั้งระบบการโอนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ และนักลงทุนมือใหม่ที่ส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับวิธีการทำงานของคริปโต
อย่างในเดือนกุมภาพันธ์ คณะลูกขุนใหญ่ของรัฐบาลกลางในซานดิเอโกได้ฟ้องร้องผู้ก่อตั้ง BitConnect เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า หลอกลวงนักลงทุนเกี่ยวกับ โปรแกรมการให้กู้ยืมเงินของสกุลเงินดิจิทัล โดยอ้างว่าเทคโนโลยีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทจะนำผลตอบแทนที่สำคัญมาสู่นักลงทุนโดยการติดตามตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล
หรืออย่างในเดือนพฤษภาคม CEO ของ Mining Capital Coin ถูกฟ้องในข้อหา “เตรียมแผนฉ้อโกงการลงทุนทั่วโลกมูลค่า 62 ล้านดอลลาร์” ซึ่งให้คำมั่นว่าจะได้รับผลตอบแทนมหาศาลจากการขุดคริปโตเคอร์เรนซีใหม่ ๆ โดยในทั้งสองกรณี นักต้มตุ๋นสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนมหาศาลแก่นักลงทุน แต่กลับเอาเงินใส่กระเป๋าเงินดิจิทัลของพวกเขาเอง
ดังนั้น FTC เตือนว่า ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนกับใครก็ตามที่สัญญาว่าจะ รับประกันผลตอบแทน
“ไม่มีการรับประกันว่าการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลจะสร้างรายได้ การลงทุนที่ถูกกฎหมายจะไม่บังคับให้คุณต้องซื้อสกุลเงินดิจิทัล หรือหากมีการขอให้ส่งคริปโตให้แทนการบอกรักกับคนที่เจอผ่านแอปหาคู่ นั่นถือเป็นการหลอกลวง” FTC กล่าว
]]>เอียน ฮาร์เน็ต ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุนของบริษัท แอบโซลูท สตราเทจี รีเสิร์ช (Absolute Strategy Research) คาดว่า หาก ฟองสบู่ของคริปโตฯ แตก มูลค่าของ บิตคอยน์ อาจต่ำลงอีกมาก โดยมีแนวโน้มว่าอาจแตะที่ 1.3 หมื่นดอลลาร์ หรือลดลงเกือบ 40% จากระดับปัจจุบัน
“คนจะยังเทขายคริปโตฯ และขึ้นอยู่กับสภาพคล่องจริง ๆ โดยสิ่งที่เราพบคือ คริปโตฯไม่ใช่ทั้งสกุลเงินหรือสินค้าโภคภัณฑ์ และแน่นอนว่ามันไม่มีมูลค่าอะไร”
การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาดคริปโตฯ ในอดีตแสดงให้เห็นว่าตอนนี้มันกำลังอยู่ในช่วง ขาลง โดยมูลค่าของบิตคอยน์มีแนวโน้มที่จะลดลงถึง 80% จากระดับสูงสุดตลอดกาล อย่างในปี 2018 สกุลเงินดิจิทัลร่วงลงเกือบ 3,000 ดอลลาร์ หลังจากแตะระดับสูงสุดเกือบ 20,000 ดอลลาร์ในช่วงปลายปี 2017
และการลดลงดังกล่าวในปี 2022 จะพาบิตคอยน์ย้อนกลับไปที่มูลค่า 1.3 หมื่นดอลลาร์ ซึ่งเป็นแนวรับสำคัญ เนื่องจากบิตคอยน์เป็นสินทรัพย์ที่ต้อง พึ่งพาสภาพคล่องในโลก เมื่อสภาพคล่องถูกระบายออก เนื่องจากธนาคารกลางทั่วโลกพากันคุมเข้มนโยบายการเงิน และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย บิตคอยน์ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับสินทรัพย์ในตลาดอื่น ๆ
“ช่วงที่โลกมีสภาพคล่องสูง Bitcoins จะเติบโตด้ดี เมื่อสภาพคล่องนั้นหายไป จะเห็นว่าตลาดกำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างรุนแรง”
ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Fed ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% สู่ระดับ 1.50-1.75% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งเดียวที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 ลังจากนั้นธนาคารกลางอังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ ฮังการี บราซิล ไต้หวัน ฮ่องกง และอาร์เจนตินา ต่างก็ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน
ซึ่งการปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลได้รับผลกระทบ มูลค่ารวมของคริปโตฯ ทั้งหมดลดลงมากกว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่การปรับอัตราดอกเบี้ยของ Fed แต่ตลาดคริปโตฯ นั้นเริ่มระท่อนกระแท่นตั้งแต่การล่มสลายของ terraUSD เหรียญ stablecoin และเหรียญ Luna
]]>ปรมินทร์ อินโสม ผู้ก่อตั้ง Satang ธุรกิจด้านสินทรัพย์ดิจิทัล และบล็อกเชน ให้ความเห็นว่า
สาเหตุที่ราคาบิตคอยน์ (BTC) ทิ้งดิ่งหนักจนไปแตะที่ $23,839 และอีเธอเรียม (ETH) $1,215 ในวันที่ 13 มิถุนายน 2565 เวลา 16.51 น. ปัจจัยหลักเลยคือ เรื่องตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ของเดือนพฤษภาคม ที่สหรัฐฯ ประกาศออกมาสูงเกินคาดที่ +8.6% ซึ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี
สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น จากเมื่อ 2 เดือนก่อน อยู่ที่ประมาณ $100 – $110 ต่อบาร์เรล ขึ้นมาอยู่ที่ $105 – $120 ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย จนทำให้นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (FED) อาจต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้วันพุธที่ 17 มิถุนายน (หรือเช้าวันพฤหัสบดีตามเวลาประเทศไทย) เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
นักวิเคราะห์ของ Barclay Bank ซึ่งเป็นสาย extreme สุดด้านคาดการณ์เงินเฟ้อขณะนี้ คาดการณ์ว่า FED อาจขึ้นดอกเบี้ยมากถึง +0.75% ในการประชุมคืนวันพุธนี้ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ทั่วไปยังคงมองว่า FED จะยังคงขึ้นที่ +0.5%
“สิ่งสำคัญที่จะต้องจับตามองคือถ้อยแถลงของ FED ที่มีต่อสถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบ 40 ปีนี้ ว่า FED จะเดินหน้ามาตรการอะไรต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อให้ได้”
อีกปัจจัยหนึ่งก็คือความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อมาตรการของจีนที่เริ่มกลับมาใช้ข้อบังคับเรื่องการป้องกันไวรัสระบาดอีกครั้ง หลังจากประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ไปเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า ปัจจัยนี้ส่งผลกระทบต่อความต้องการด้านอุปสงค์ หรือ Demand-side
ส่วนเหตุผลทางด้าน Technical Chart นั้นในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่า ราคา ETH อยู่แถว $1,800 – $2,000 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะลงมาทดสอบ ที่ $1,200 – $1,400 ได้ไม่ยากในเวลาอันใกล้ และ BTC เองก็อาจจะลงไปสู่ระดับ $19,000 – $21,000 ในช่วงเวลาอันใกล้นี้
สรัล ศิริพันโนน ซีอีโอ Satang Corporation ให้ความเห็นว่า
ขาลงของทั้ง BTCและ ETH ยังไม่จบเพราะทั้งมุมมองของ FED ขณะนี้ และ Technical Chart ยังไปช่วยหนุนขาลงอยู่ สิ่งที่พอจะช่วยนักลงทุนในการวิเคราะห์สถานการณ์ขณะนี้ได้ก็คือ
1) อ่านใจและวิธีคิดของ FED ให้ออก ผ่านมุมมองการวิเคราะห์ที่เราหาได้ไม่ยากใน internet แต่จงถามตัวเองเสมอด้วยว่า บทวิเคราะห์ที่อ่านนั้นมองข้ามอะไรไปบ้าง ณ ตอนนี้ FED คงสนใจว่า เงินเฟ้อจะเป็นอย่างไรผ่าน CPI index หรือ ดัชนีราคาของผู้บริโภค และราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น
2) อ่านกราฟให้ออก ไม่ใช่แค่มอง technical chart ของ crypto เท่านั้นแต่ต้องมองไปที่ กราฟราคาน้ำมัน ว่าจะไปอย่างไรด้วย เพราะถ้าตอนนี้ยังอยู่แถว $117 – $120 ยังคงมี trend ขาขึ้นซึ่งสามารถวิ่งไปถึง $130 – $150 ได้ไม่ยาก”
“นั่นหมายถึงเงินเฟ้อก็ยังคงสูงขึ้นไม่เปลี่ยนไปในช่วง 1 – 3 เดือนนี้แน่นอน ดังนั้น FED ก็ยังต้องสู้เงินเฟ้ออย่างก้าวร้าวต่อไป ด้วยเหตุนี้ตลาดขาลงของคริปโตฯ ก็คงยังไม่จบจริงในเวลา 1-2 เดือนนี้แน่นอน และถึงแม้ว่าจะเป็นขาลง ตลาดก็ไม่ได้วิ่งลงเป็นเส้นตรงดิ่งลงตลอดเวลา บางทีก็เป็นลักษณะวิ่งลงแบบซิกแซ็ก ดังนั้น ไม่ควร All-in ในครั้งเดียว ต้องจัดการเรื่อง allocation risk หรือการจัดการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตให้เหมาะสมด้วย”
ฉะนั้นถ้าจะถามว่าตลาดตอนนี้น่าลงทุนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นนักเทรดประเภทใด ถ้าเป็นสายทำกำไรก็อาจทำได้แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการลงแบบซิกแซ็กขึ้น ๆ ลง ๆ ส่วนถ้าเป็นกลุ่มลงทุนระยะกลาง 1 – 3 เดือน การลงทุนใน Stablecoin ที่มีสินทรัพย์หนุนหลังก็ยังพอให้ผลตอบแทนได้ในท่ามกลางสภาวะเงินดอลลาร์แข็งค่าขณะนี้ หากเป็นกลุ่มลงทุนระยะยาวหรือ DCA ก็สามารถที่จะซื้อเก็บได้ทุก ๆ 2 – 3 เดือน ไม่ถึงกับต้องนั่งเฝ้าซื้อเก็บทุกสัปดาห์
]]>ราคาของ Bitcoin ลดลงเหลือ 26,595.52 ดอลลาร์สหรัฐ ในเช้าวันพฤหัสบดีตามข้อมูลของ Bitstamp นั่นนับเป็นครั้งแรกที่ bitcoin ได้จมลงต่ำกว่าระดับ 27,000 ดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2020 และถือว่าลดลง 15%ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ส่วน Ether สกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสอง โดยมีค่าต่ำสุดที่ 1,789 ดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นครั้งแรกที่ตกลงต่ำกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 โดยลดลง 23%
ในช่วงที่ตลาดคริปโตฯ ขึ้นสู่จุดสูงสุดเพราะนักลงทุนแห่ลงทุนเนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่แย่ลงในช่วงการระบาดของ COVID-19 แต่เพราะปัญหาเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้น 8.3% ในเดือนเมษายน ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้และใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
รวมถึงการล่มสลายของโปรโตคอล Stablecoin Terra โดย TerraUSD หรือ UST ควรจะสะท้อนมูลค่าของเงินดอลลาร์ แต่ร่วงลงเหลือไม่ถึง 30 เซนต์ในวันพุธ ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลงถึงสิ่งที่เรียกว่าพื้นที่การเงินแบบกระจายอำนาจ อย่างเช่น Luna ซึ่งเป็นโทเคน Terra อีกตัวหนึ่งที่มีราคาลอยตัวและมีไว้เพื่อรองรับการกระแทกของราคา UST กลับติดลบมูลค่า 97% ของมูลค่าภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งน้อยกว่า UST ด้วยซ้ำ
]]>