Blogger – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 23 Aug 2019 14:50:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อาชีพมาแรง! “ยูทูบเบอร์-บล็อกเกอร์” Sony สบโอกาสจัดทัพกล้องสู้ศึกมือถือ https://positioningmag.com/1243638 Fri, 23 Aug 2019 07:55:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243638 โลกออนไลน์วันนี้ ได้สร้างโอกาสและอาชีพใหม่ๆ ในสายคอนเทนต์ ยูทูบเบอร์บล็อกเกอร์กลายเป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่สนใจ ใฝ่ฝันเป็นคนดังโซเชียล หากปั้นคลิปปัง ยอดวิวหลักล้าน ก็สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำไม่แพ้งานประจำเช่นกัน เทรนด์นี้ช่วยผลักดันตลาดกล้องอุปกรณ์คู่ใจยูทูบเบอร์โตตาม

ลีลนา เพียรพิริยะ ผู้จัดการอาวุโส แผนกการตลาดผลิตภัณฑ์ดิจิตอล อิมเมจจิ้ง บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด กล่าวว่าหากดูภาพรวมตลาดกล้องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาติดลบ 20% แต่ในกลุ่มกล้องพรีเมี่ยม ระดับโปรเฟสชันนอลยังเติบโตได้ดี เพราะกลุ่มนี้มีกำลังซื้อ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ โซนี่ เติบโตมากกว่าตลาด แม้จะต่ำกว่าปีก่อน

กลยุทธ์ที่นำมาใช้คือเสนอสินค้าระดับบนโดยเฉพาะ กล้องมิลเรอร์เลส ที่เป็นผู้เปิดตลาดเซ็กเม้นท์นี้มากว่า 5 – 6 ปี และเป็นผู้นำมาโดยตลอด และเป็นตลาดที่เติบโตมากที่สุดมีส่วน 30% ของตลาดกล้องทั้งหมด ทำให้เกือบทุกแบรนด์เข้ามาเล่นในตลาดนี้ ล่าสุดปีนี้มีเข้ามอีก 2 – 3 แบรนด์ ครึ่งปีหลังการแข่งขันน่าจะรุนแรงขึ้น

ส่งกล้องเลนส์รุ่นใหม่สู้ศึกมือถือ

ช่วงครึ่งปีหลัง โซนี่ เปิดตัวกล้องรุ่นใหม่ รุ่น เลนส์ 3 ตัว และอุปกรณ์เสริม ทำให้มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพครอบคลุมทุกการใช้งานทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งระดับโปรเฟสชันนอล ในการถ่ายภาพกลางแจ้ง สตูดิโอ เวดดิ้ง แฟชั่น

รวมถึงกลุ่มยูทูบเบอร์และบล็อกเกอร์ อาชีพที่กำลังมาแรง เป็นกลุ่มที่ต้องการสร้างวิดีโอ คอนเทนต์ให้ได้ภาพสวยคมชัด ซึ่งเป็นการทำงานที่เหนือกว่า มือถือราคาแพง และถือเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่โซนี่ จะเข้าไปทำตลาดมากขึ้นในปีนี้

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พบว่ามีการสมัครใช้งาน ยูทูบ ยูสเซอร์เพิ่มขึ้นกว่า 70 – 80% กลุ่มนี้ต้องการสร้างวิดีโอที่มีคุณภาพเพื่อเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่จะเข้าไปทำการตลาด รวมถึงกลุ่มบล็อกเกอร์ ที่ต้องการนำเสนอคลิปวิดีโอที่คมชัด ซึ่งมือถือไม่สามารถทำได้ แต่กล้องโซนี่ทำได้ ด้วยกล้องพรีเมี่ยมคอมแพค RX100 VII ด้วยราคาเริ่มต้น 17,900 บาท

สินค้ารุ่นใหม่ที่นำมาทำตลาดครึ่งปีหลัง ในกลุ่มดิจิตอล อิมเมจจิ้ง ได้แก่ กล้องอัลฟ่าฟูลเฟรมมิเรอร์เลส รุ่น a7R IV ราคา 114,990 บาท (บอดี้), กล้องพรีเมียมคอมแพ็คท์ RX100 VII ราคา 38,990 บาทเลนส์ รุ่น FE 35mm F1.8 ราคา 22,990 บาทเลนส์ GM รุ่น FE 600mn F4 GM OSS ราคา 459,990 บาทเลนส์ รุ่น FE 200 – 600mm F5.6 – 6.3 G OSS ราคา 69,990บาท และอุปกรณ์เสริมอย่างกริปรุ่นใหม่ VG – C4EM พร้อมแบตเตอรี่ NP – FW50 และ ECM – B1M Shotgun Microphone เป็นต้น โดยมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพครอบคลุมทุกการใช้งาน ทุกกลุ่มเป้าหมาย

ชูกลยุทธ์ KOL ทำตลาด

ในส่วนของการทำตลาดนั้น จะใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ KOL หรือกลุ่มคนที่ใช้งานกล้องจริงเพื่อช่วยเผยแพร่ รวมถึงการใช้อินฟลูเอนเซอร์นำเสนอสินค้า ซึ่งแต่ละปีบริษัทใช้งบการตลาดในส่วนของออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกปี แต่ยังเป็นส่วนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับออนกราวด์ และสื่อหลักที่ยังคงใช้ประกอบกัน

จากแผนการนำเสนอสินค้าใหม่ในครึ่งปีหลังนี้ มั่นใจรายได้เติบโตอย่างน้อย 1 หลัก หรือเติบโตมากกว่าตลาด ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ดิจิตอล อิมเมจจิ้ง เป็นกลุ่มที่ทำรายได้ให้บริษัทอยู่ในอันดับ 2 รองจากทีวี ส่วนอันดับ 3 คือ เกมส์ และ อันดับ 4 คือ เครื่องเสียง.

source

]]>
1243638
เมื่อบล็อกเกอร์เจองานเข้า รีวิวตามจริงแล้วถูกฟ้อง แล้วอะไรคือทางออกของการใช้ “อินฟลูเอนเซอร์” https://positioningmag.com/1128344 Wed, 07 Jun 2017 20:55:24 +0000 http://positioningmag.com/?p=1128344 เมื่อบล็อกเกอร์งานเข้า ถ้าไม่รับตังค์มาโปรโมต รีวิวจริงแล้วถูกฟ้อง ต่อจากนี้ต้องอ่านแต่รีวิว อวยสินค้าอย่างเดียวหรือไม่ อะไรคือทางออกของปัญหา ระหว่างเจ้าของสินค้าและบล็อกเกอร์ ?

เป็นประเด็นร้อนฉ่าบนออนไลน์ จากกรณีบล็อกเกอร์สาว “อาชิ-อาชิตา” เจ้าของเพจ Achita Station รีวิวเครื่องสำอางแบรนด์หนึ่งตามความรู้สึกจริงๆ แต่กลับโดนเจ้าของแบรนด์สินค้าขู่ฟ้อง ต่อมาแบรนด์ Cho ของ “เนย-โชติกา” ได้ออกมาชี้แจงและขอโทษบล็อกเกอร์แล้ว



แต่ดูเหมือนว่า กระแสบนโลกออนไลน์ยังไม่จบ แถมยังตีกลับไปยังแบรนด์เครื่องสำอางแบรนด์นั้นว่าใจแคบ เพราะเป็นปกติของการทำงานของบล็อกเกอร์ที่ต้องบรรยายตามความรู้สึกส่วนตัวจริงๆ พร้อมกับจะไม่สนับสนุนแบรนด์ต้องสงสัยแบรนด์นั้นอีกด้วย พร้อมกับให้กำลังใจบล็อกเกอร์สาว

เชื่อว่า นี่อาจไม่ใช่กรณีแรกที่เกิดขึ้น ในเมื่อเป็นยุคที่แบรนด์นิยมใช้คนดังในโลกออนไลน์รีวิวสินค้า นับวันก็ยิ่งเป็นที่นิยมของแบรนด์ และเอเจนซีโฆษณา เพราะมีการยืนยันชัดเจนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยเวลานี้ มักจะหาข้อมูลก่อนตัดสินซื้อสินค้า และเชื่อการบอกต่อและรีวิวสินค้า จากคนดัง และบล็อกเกอร์ มากกว่าเชื่อโฆษณาจากแบนด์โดยตรง ส่งผลให้การใช้อินฟลูเอนเซอร์บนโลกออนไลน์ เป็นกระบอกเสียงช่วยโฆษณาสินค้ายิ่งได้รับความนิยม

มาฟังความเห็นของ พงษ์ศักดิ์ เจริญกุล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทจับของร้อน จำกัด ดิจิตอล เอเจนซี ที่มีอินฟลูเอนเซอร์ทั้งเน็ตไอดอลและบล็อกเกอร์ ในสังกัด ราว 18 คน เช่น หญิงแย้-นนทพร, ทรายหมูน้อย facebook.com/mhunoiiifanpage, นุ่นสแตนนาร์ด www.facebook.com/NunStyleBlog ส้มณัฐกานต์ www.facebook.com/BeautyByOrangina มองว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบล็อกเกอร์และเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอาง ส่งผลให้แวดวงบล็อกเกอร์จะกลับมาตื่นตัวขึ้นอีกครั้ง

โดยเฉพาะกับบรรดาบล็อกเกอร์หน้าใหม่ จะได้มีความมั่นใจและกล้าที่จะแสดงความรู้สึกจริงๆ ของตัวเองออกมาในการรีวิวสินค้ามากขึ้น และเป็นสัญญาณที่ดีที่จะทำให้การรีวิวสินค้ากลับมาเหมือนในยุคก่อนที่บล็อกเกอร์มักจะซื้อสินค้ามาทดลองใช้เอง และรีวิวในฐานะConsumer จริงๆ บางคนเสียเงินเป็นหมื่น เพราะเขามี Passion จริงๆ เวลาเขียนรีวิวจะมีอินเนอร์ คนก็อยากทดลองตามจริงๆ แต่หลังจากนั้นในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา เมื่อกระแสบล็อกเกอร์บูมมากๆ ทำให้บล็อกเกอร์มากกว่า 70% ถูกจ้างเพื่ออวยให้กับแบรนด์สินค้าโดยจะบอกว่าดีเกือบหมดทุกอย่าง จนบางคนก็มองว่าอยากได้ของฟรีจากแบรนด์

“หลังจากนี้บล็อกเกอร์รุ่นใหม่จะมีความกล้าที่จะรีวิวถึงข้อดีและข้อเสียของสินค้าตามความรู้สึกที่ใช้เองจริงๆ มากขึ้น เพราะจากกรณีของแบรนด์ Cho กับ อาชินั้น กลายเป็นว่าเมื่อบล็อกเกอร์รีวิวตามความรู้สึกจริงทำให้ได้ใจผู้บริโภคไป แถมตอนนี้ยังมีงานเข้าจนล้นมือ ในขณะแบรนด์ Cho กลายเป็นแบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดูแรง พลังมวลชนในโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลมาก ถ้าแบรนด์เกิดทำอะไรไปให้เกิดผลเสียต่อแบรนด์ผมว่าแบรนด์รับไปเต็มๆ

ถามว่าแบรนด์สามารถฟ้องร้องคนที่รีวิวสินค้าของตัวเองได้มั้ย ฟ้องร้องได้ ถ้ามีการเขียนถูกบิดเบือน หรือไม่ได้เอาข้อเท็จจริงมาพูด เช่น มีลูกค้าเอาครีมไปแล้วเกิดอาการแพ้แล้ว แล้วไปเขียนว่าครีมตัวนี้มีสารตัวนี้แน่ๆ จึงทำให้เขาแพ้ แต่ในความเป็นจริงครีมไม่ได้ผสมสารตัวนี้ แบรนด์สามารถฟ้องร้องได้

แบรนด์ควรใช้บล็อกเกอร์อย่างไร

พงษ์ศักดิ์ แนะนำว่า แบรนด์ควรจะต้องมีการคุยกับบล็อกเกอร์ก่อน อย่างบริษัทจับของร้อนเอง ในฐานะเอเจนซี เมื่อแบรนด์มาติดต่อให้บล็อกเกอร์รีวิวสินค้า ก็จะนำสินค้าไปให้บล็อกเกอร์ทดลองใช้ก่อน ว่าพอใจมากแค่ไหน หากไม่พอใจก็สามารถปฏิเสธไม่รับงานได้ โดยจะฟีดแบ็กให้แบรนด์อีกที หากแบรนด์ใจกว้างรับได้ทั้งข้อดีและข้อเสีย ก็จะต้องมีการคุยรายละเอียดกันต่อ ถึงขอบเขตการรีวิว เพื่อไม่ให้กระทบต่อแบรนด์มากนัก ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับแบรนด์กับบล็อกเกอร์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับทั้งสองฝ่ายในภายหลัง

ส่วนตัวของเขามองว่า ถ้าแบรนด์เปิดให้บล็อกเกอร์พูดได้ทั้งข้อดีและข้อเสีย จะทำให้แบรนด์ดูน่าสนใจ และบล็อกเกอร์ก็ดูน่าเชื่อถือ

ยอดไลก์ไม่เท่ากับยอด Engage

แนวโน้มการใช้อินฟลูเอนเซอร์ยังเป็นที่นิยมสำหรับเจ้าของแบรนด์สินค้า แต่จะเน้นในเรื่องการวัดผลมากขึ้นว่าได้ผลตอบรับแค่ไหน ซึ่งการวัดผลขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละแคมเปญ เช่น ถ้าแบรนด์ต้องการ awareness ต้องวัดยอดวิว ยอดreach หรือ engagement , ถ้าต้องการวัดเกี่ยวกับยอดขาย ก็ต้องมี digital tool มาใช้ เช่น blogger code เอามาใช้กรอกในเว็บเพื่อดูว่ามาจากอินฟลูเอนเซอร์เท่าไหร่

เวลานี้ การใช้ อินฟลูเอนเซอร์ไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนดัง หรือคนที่มียอดติดตามสูงเท่านั้น บางคนมีคนติดตามไม่กี่พันแต่มี engagement สูง พูดอะไรมาแล้วมีคนสนใจ จะเป็นที่ได้รับความสนใจจากแบรนด์มากกว่าคนที่มียอดไลก์มากๆ แต่ไม่มี engagement

คนทำแฟนเพจเวลานี้ก็เหนื่อยหน่อย เพราะบางคนมีแฟนเพจเป็นแสนเป็นล้าน แต่โพสต์อะไรไปกลับไม่มีปฎิสัมพันธ์มีแต่ยอดไลก์อย่างเดียว ไม่มีการคุยกับลูกเพจเลย ก็ไม่น่าสนใจเท่ากับบางเพจที่มีการพูดคุยกับลูกเพจตลอดเวลา

ส่วนธุรกิจที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์มากๆ หนีไม่พ้นธุรกิจความงามและแฟชั่น นิยมใช้อินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งมากที่สุดถึง 80% ทำให้บิวตี้บล็อกเกอร์จึงเป็นที่นิยม บางบริษัทถึงกับก่อตั้งแผนกดิจิตอลมีเดียแอนด์อินฟลูเอนเซอร์ขึ้นมา เพื่อดูแลและค้นหาอินฟลูเอนเซอร์โดยเฉพาะ เพราะแนวโน้มกลุ่มธุรกิจที่หันมาทุ่มงบให้กับการทำอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งเพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มท่องเที่ยวไลฟ์สไตล์และร้านอาหาร ก็ใช้มากขึ้น

ด้วยความที่แบรนด์นิยมใช้อินฟลูเอนเซอร์ ทำให้คนรุ่นใหม่อยากยึดอาชีพบล็อกเกอร์มากขึ้น และกลายเป็นอีกหนึ่งในอาชีพของคนรุ่นใหม่ ที่ทำเป็นทั้งอาชีพเสริมและอาชีพหลัก เพราะการเป็นบล็อกเกอร์ไม่ใช่แค่การรีวิวสินค้าอย่างเดียว แต่ถ้าคนไหนมีผลงานเข้าตาแบรนด์ ก็สามารถต่อยอดไปสู่การทำแคมเปญมาร์เก็ตติ้ง ออกอีเวนต์ หรือเป็นเซเลบริตี้

ส่วนบทบาทของเอเจนซีดูแลอินฟลูเอนเซอร์ จะเติบโตตามไปด้วย โดยจะทำหน้าที่เป็นคนกลางในการรับงานและสื่อสารแบรนด์ และอินฟลูเอ็นเซอร์ เวลาไปถ่ายทอดเขาจะเข้าใจง่าย และดูเรื่องระบบหลังบ้าน เช่น การวางบิลรับเงิน ซึ่งบริษัทจะได้หัก 20-30% จากค่าจ้างที่แบรนด์จ่ายให้กับ KOL หรืออินฟลูเอนเซอร์

พงษ์ศักดิ์ มองว่า “อนาคตจะมีเอเยนชีที่เข้ามาทำธุรกิจปั้นอินฟลูเอนเซอร์เพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีอยู่ 3-4 ราย เพราะตลาดนี้ยังสามารถโตขึ้นได้อีกแน่นอน”

]]>
1128344
บล็อกเกอร์งานเข้า! จ่อโดนฟ้องเพราะรีวิวตามจริง https://positioningmag.com/1127860 Sun, 04 Jun 2017 05:18:53 +0000 http://positioningmag.com/?p=1127860 ยุคนี้เป็นยุคของอินฟลูเอ็นเซอร์บนโลกออนไลน์ที่เป็นกระบอกเสียงช่วยโฆษณาสินค้าแทนที่แบรนด์จะเป็นคนพูดเองไปแล้ว ทำให้แบรนด์หันมาว่าจ้างอินฟลูเอ็นเซอร์เป็นผู้สื่อสารกับผู้บริโภคแทน บล็อกเกอร์ก็เป็นกลุ่มหนึ่งในอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ได้รับความนิยม เพราะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งส่วนใหญ่บล็อกเกอร์ก็จะรีวิวสินค้าตามความรู้สึกจริงเป็นธรรมดาอยู่แล้ว

แต่กรณีล่าสุดกลายเป็นเรื่องไม่ธรรมดาเมื่อบล็อกเกอร์สาวอาชิอาชิตาเจ้าของเพจ Achita Station มีแฟนเพจกว่า 3 แสนคน และมีผู้ติดตามในอินสตาแกรมกว่า 7 แสนคนได้โพสต์ข้อความระบายความในใจเกี่ยวกับการรีวิวสินค้าปกติถ้าไม่ใช่โฆษณาก็ได้รีวิวตามความรู้สึกจริงๆ แต่ผลกลับโดนเครื่องสำอางแบรนด์หนึ่งฟ้องกลับเพราะคำพูดไม่เหมาะสม

ซึ่งไม่มีการเปิดเผยชื่อแบรนด์ แต่มีการเดากันไปต่างๆ นานาว่าเป็นแบรนด์ของนักแสดงสาวท่านหนึ่งก็คือแบรนด์ Cho ของเนยโชติกาเพราะได้มีการสังเกตว่าถูกลบคลิปออกไปแล้ว จนล่าสุดทางแบรนด์ได้ออกมาชี้แจงและขอโทษบล็อกเกอร์ และทุกๆ คนแล้ว

ทำให้กระแสบนโลกออนไลน์ตีกลับไปยังแบรนด์เครื่องสำอางแบรนด์นั้นว่าใจแคบ เพราะเป็นปกติของการทำงานของบล็อกเกอร์ที่ต้องบรรยายตามความรู้สึกส่วนตัวจริงๆ พร้อมกับจะไม่สนับสนุนแบรนด์ต้องสงสัยแบรนด์นั้นอีกด้วย พร้อมกับให้กำลังใจบล็อกเกอร์สาว

กรณีนี้ชี้ให้เห็นเป็นบทเรียนของแบรนด์ว่าควรเปิดใจให้กว้างบนโลกออนไลน์ น้อมรับทั้งข้อดีและข้อเสียของแบรนด์ การฟ้องร้องคงไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเป็นแน่ ยิ่งทำให้แบรนด์ดูไม่ดีในสายตาผู้บริโภค และยังส่งผลเสียต่อแบรนด์ในระยะยาว

]]>
1127860