Bond – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 08 Jun 2010 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ธนาคารกรุงเทพเชิญชวนจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ฯได้ทุกสาขาทั่วประเทศ https://positioningmag.com/52227 Tue, 08 Jun 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=52227

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เชิญชวนลูกค้า และประชาชนทั่วไป จองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดยกระทรวงการคลัง อายุ 6 ปี วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท หน่วยละ 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได ปีที่ 1-2 เท่ากับ 3% ต่อปี ปีที่ 3-4 เท่ากับ 4% ต่อปี ปีที่ 5 เท่ากับ 5% ต่อปี และปีที่ 6 เท่ากับ 6% ต่อปี วงเงินซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท กำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 งวด โดยธนาคารกรุงเทพได้รับจัดสรรวงเงินในการจัดจำหน่ายรวม 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้ พันธบัตรออมทรัพย์ฯดังกล่าวยังคงเปิดจำหน่าย ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2553 หรือจนกว่าวงเงินที่ได้รับจะหมด ช่วงที่ 1 วันที่ 7-8 มิถุนายน 2553 ผู้มีสิทธิซื้อเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ผู้ที่เกิดก่อนหรือภายในปี พ.ศ.2493) และช่วงที่ 2 วันที่ 9-11 มิถุนายน 2553 สำหรับประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำกัดการซื้อ 1 คำเสนอขอซื้อ ต่อ 1 ช่วง ต่อ 1 ธนาคาร สำหรับลูกค้าที่สนใจสามารถจองซื้อได้ที่ธนาคารกรุงเทพ ทุกสาขาทั่วประเทศกว่า 900 สาขา (ยกเว้นสาขาไมโคร) ในวันดังกล่าว หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริการบัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ www.bangkokbank.com และที่ธนาคารพาณิชย์อีก 11 แห่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นธนาคารตัวแทนจำหน่าย

]]>
52227
ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ฉลองความสำเร็จในการร่วมกันออกหุ้นกู้ มูลค่า 8,400 ล้านบาท https://positioningmag.com/50601 Tue, 19 Jan 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=50601

นายสิงห์ ตังทัตสวัสดิ์ กรรมการผู้อำนวยการ (กลาง) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ (ซ้าย) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และนายมิน เธียรวร รองประธานกรรมการ และประธานสำนักการเงิน (ซ้าย) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ‘CPF’ ร่วมฉลองความสำเร็จในการออกหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ และไม่มีประกัน ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ‘CPF’ อายุ 4-6 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.90-4.80% ต่อปี มูลค่ารวม 8,400 ล้านบาท ที่ได้รับการจัดอันดับจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด หรือ ‘TRIS’ ในระดับ A+ เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้ยืม และหมุนเวียนภายในบริษัท หุ้นกู้ที่นำเสนอในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่แสวงหาช่องทางการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถจำหน่ายได้หมดด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว และเกินวงเงินเป้าหมายที่กำหนดไว้

]]>
50601
ธนาคารทิสโก้สุดปลี้มคว้ารางวัล “ผู้ค้าหุ้นกู้ภาคเอกชนยอดเยี่ยม” 4 ปีซ้อน https://positioningmag.com/50419 Wed, 23 Dec 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=50419

15 ธ.ค. 52 – ธนาคารทิสโก้สุดปลื้มคว้ารางวัล “ผู้ค้าหุ้นกู้ภาคเอกชนยอดเยี่ยม” หรือ “Best Bank in Thai Baht Corporate Bonds 2009 – Sellside” จากนิตยสารชั้นนำ The Asset ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ตอกย้ำคุณภาพบริการโดดเด่นระดับมาตรฐานสากล

นายสุทัศน์ เรืองมานะมงคล กรรมการอำนวยการ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (Mr. Suthas Ruangmanamongkol, President, TISCO Bank Plc.) เปิดเผยว่า ธนาคารทิสโก้ได้รับรางวัล “Best Bank in Thai Baht Corporate Bonds 2009” หรือ “ผู้ค้าตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้ภาคเอกชนสกุลเงินบาทยอดเยี่ยม” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากนิตยสาร The Asset ในงานประกาศผล The Asian Currency Bond Benchmark Survey 2009 หรือ ผลการสำรวจเครื่องมือชี้วัดการดำเนินงานของตราสารหนี้สกุลเงินเอเชียประจำปี 2552 ที่ประเทศสิงคโปร์

โดยเหตุผลที่ธนาคารทิสโก้ได้รับรางวัลดังกล่าวมาจากจุดเด่นในด้านความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าสถาบัน โดยสามารถจัดสรรตราสารที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในระดับราคาที่เหมาะสม อีกทั้งทีมงานยังมีประสบการณ์สูง และมีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทันความต้องการ และการรับรางวัลในครั้งนี้ยังได้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของธนาคารในการรักษามาตรฐานการให้บริการ รวมทั้งได้รับความเชื่อถือและการยอมรับในระดับสากล

“ธนาคารยินดีมากที่ได้รับรางวัล “ผู้ค้าหุ้นกู้ภาคเอกชนยอดเยี่ยม” ฝั่งผู้ขาย (Sellside) ติดต่อกันถึง 4 ปีซ้อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการรักษามาตรฐานบริการที่สามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าแม้ทิสโก้จะเป็นธนาคารขนาดเล็ก แต่เราบริการลูกค้าด้วยมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้อย่างต่อเนื่อง เพราะสิ่งที่เรายึดถือเป็นหัวใจสำคัญคือความจริงใจและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า” นายสุทัศน์ กล่าว

ทั้งนี้จากการจัดอันดับของสมาคมตราสารหนี้ไทย ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2552 เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการซื้อขายประเภท Outright Trading เฉพาะตราสารหนี้ประเภท Corporate Bond พบว่า ธนาคารทิสโก้ มีมูลค่าการซื้อขายสูงเป็นอันดับที่สอง โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 29.12%

อนึ่ง โครงการ The Asian Currency Bond Benchmark Awards จัดโดย The Asset Benchmark Research ซึ่งเป็นหน่วยงานในเครือของ The Asset Magazine ได้ติดตามการเติบโตและการพัฒนาของตลาดตราสารหนี้สกุลเงินเอเชียเป็นประจำทุกปี โดยทำการสำรวจข้อมูลดังกล่าวทั้งจากด้านผู้ขาย (Sellside) และผู้ซื้อ (Buyside) ซึ่งเป็นนักลงทุนสถาบัน 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศไทย โดยพิจารณาในด้านประสิทธิภาพการให้บริการ ปริมาณซื้อขาย (Trade Volume) รวมถึงความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อนักลงทุนและนำมาจัดอันดับผู้ให้บริการยอดเยี่ยม

]]>
50419
การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท. … ผลกระทบต่อสภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ https://positioningmag.com/49212 Fri, 04 Sep 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=49212

ในวันที่ 3-4 และ 7 กันยายน 2552 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีกำหนดเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท. วงเงินรวม 5 หมื่นล้านบาท ให้แก่บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และองค์กรสาธารณะที่ไม่มุ่งหวังกำไร โดยแบ่งเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ ประเภทอายุ 4 ปี เสนออัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี และพันธบัตรออมทรัพย์ ประเภทอายุ 7 ปี เสนออัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได คือ ปีที่ 1-2 อยู่ที่ร้อยละ 3.00 ต่อปี ปีที่ 3-4 อยู่ที่ร้อยละ 4.00 ต่อปี ปีที่ 5-6 อยู่ที่ร้อยละ 5.00 ต่อปี และปีที่ 7 เสนอที่ร้อยละ 6.00 ต่อปี (คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.29 ต่อปี) ซึ่ง ธปท.ระบุว่า การออกพันธบัตรออมทรัพย์ในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อช่วยให้การบริหารสภาพคล่องในตลาดเงินของประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับเพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้กับผู้มีเงินออม รวมทั้งเปิดโอกาสให้องค์กรสาธารณะที่ไม่มุ่งหวังกำไร ซึ่งรวมถึงสหกรณ์ และมูลนิธิต่างๆ มีโอกาสลงทุนในทางเลือกที่มีความเสี่ยงต่ำและให้ผลตอบแทนในระดับที่ดีโดยมีรายได้ดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ แม้คาดว่าพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.น่าที่จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุนโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการออมเงินระยะยาวซึ่งพอใจกับผลตอบแทนที่ระดับดังกล่าว แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยก็มีมุมมองเกี่ยวกับประเด็นการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.ในครั้งนี้ ดังนี้

? การเตรียมตัวรับมือโดยผู้เล่นในตลาด ทำให้ผลกระทบต่อสภาพคล่องอาจมีจำกัดในระยะสั้น
เนื่องจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.วงเงิน 5 หมื่นล้านบาทในครั้งนี้ เป็นการเสนอขายพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตที่ 2 ของปี ซึ่งทิ้งระยะไม่ห่างกันมากนัก (ประมาณ 1 เดือนครึ่ง) จากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งวงเงินถึง 8 หมื่นล้านบาทของรัฐบาล (ที่นับว่าเป็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตแรกของปีนี้) ประกอบกับเงื่อนไขการกำหนดวงเงินซื้อขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นจาก 1 หมื่นบาทต่อรายของพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง มาเป็น 5 หมื่นบาทต่อรายของพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท. รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายและประเภทอายุพันธบัตรที่มีความแตกต่างกันของพันธบัตรออมทรัพย์ทั้งสอง จึงอาจทำให้ผู้มีเงินออม ซึ่งได้ลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ล็อตแรกของรัฐบาลและผลิตภัณฑ์การออมอื่นๆ ของภาคเอกชนไปก่อนหน้านี้ มีเงินออมเหลือในจำนวนที่ลดลงสำหรับการจัดสรรเงินมาลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.ครั้งนี้

อีกทั้ง ประสบการณ์ที่ผู้เล่นในตลาด อันหมายความถึงธนาคารพาณิชย์ ที่ระดมเงินผ่านช่องทางเงินฝากและผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ รวมถึงผู้ระดมเงินผ่านทางเลือกอื่นๆ อาทิ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และบริษัทเอกชน เป็นต้น ได้เผชิญผลกระทบจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของรัฐบาลมาแล้ว ทำให้ผู้เล่นเหล่านั้นมีการปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.ในครั้งนี้ไปแล้วล่วงหน้าระดับหนึ่ง เห็นได้จากการที่ธนาคารพาณิชย์ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์การออมพิเศษ ทั้งเงินฝากระยะยาว ตั๋วแลกเงิน ผลิตภัณฑ์ประกันภัย (Bancassurance) ที่มีความหลากหลายและให้ผลตอบแทนจูงใจเพื่อรักษาฐานลูกค้า ในขณะเดียวกัน บลจ.ต่างก็ยังมีการเสนอกองทุนรวมหลายประเภทที่น่าสนใจออกมาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เมื่อประกอบกับการที่ ธปท.น่าจะนำเงินที่ระดมได้จากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.ในครั้งนี้ ไปรองรับการครบกำหนดของพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ ประเภทอายุ 7 ปี วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท ที่กระทรวงการคลังได้ออกตามแผนการชดเชยภาระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปี 2545 (FIDF 3) ซึ่งได้ครบกำหนดการไถ่ถอนไปเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ผลกระทบจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท. ต่อสภาพคล่องในระบบการเงิน คงจะมีค่อนข้างจำกัดในระยะสั้น เนื่องจากโดยสุทธิแล้วสภาพคล่องไม่ได้ถูกดูดซับออกไปจากระบบเหมือนกับการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งซึ่งรัฐบาลมีแผนนำเงินที่ได้ไปใช้เพื่อการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ

? แนวโน้มสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย ปัจจัยสำคัญยังอยู่ที่ความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
แม้ว่าในระยะสั้น ผลกระทบจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.ในครั้งนี้ อาจมีค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงตัวเลขสินทรัพย์สภาพคล่อง (ตามความหมายกว้าง) ของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ยังมีอยู่สูงถึงประมาณ 2 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 (ซึ่งเป็นเดือนที่มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของรัฐบาล) ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะธนาคารพาณิชย์มีการเสนอผลิตภัณฑ์การออมพิเศษที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไปออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ เพื่อรักษาฐานเงินทุนและฐานลูกค้าของตนไว้ ขณะเดียวกัน สินเชื่อก็ยังคงไม่ขยายตัวเพราะเพิ่งจะเข้าสู่ช่วงแรกเริ่มของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม หากมองไปในระยะข้างหน้า ปัจจัยที่คงจะมีอิทธิพลต่อทิศทางสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น คงจะหนีไม่พ้นประเด็นเรื่องความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลต่อความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจเอกชน โดยหากเศรษฐกิจสามารถรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ในระยะข้างหน้า ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจก็น่าที่จะทยอยกลับมาฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ ทั้งสินเชื่อเพื่อการขยายการผลิตในบางภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศกลับเข้ามา และสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน ตามแนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลพยายามเร่งผลักดันการขยายสินเชื่อตามโครงการ Fast Track ผ่านการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่างๆ ด้วยแล้ว บรรยากาศการแข่งขันด้านสินเชื่อก็น่าที่จะทยอยกลับมาคึกคักมากขึ้นในระยะถัดไป

นอกจากนี้ ในด้านเงินฝากนั้น ภาวะการแข่งขันกับทางเลือกการลงทุนอื่นๆ ที่น่าจะยังคงมีความเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง คงจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ยังมีแนวโน้มต้องเผชิญกับความท้าทายในการบริหารจัดการสภาพคล่องให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดในแต่ละช่วงเวลา นั่นหมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ น่าจะยังมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์การออมพิเศษที่ให้ผลตอบแทนจูงใจออกมาอย่างสม่ำเสมอในระยะที่เหลือของปีนี้ต่อเนื่องถึงปีหน้า และหากการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ รวมถึงกับทางเลือกการลงทุนอื่น มีความรุนแรงมากขึ้นๆ (ในขณะที่การขยายสินเชื่อสามารถฟื้นตัวได้ตามที่คาดหวัง) คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในท้ายที่สุดแล้วอาจมีความเป็นไปได้ที่ธนาคารพาณิชย์อาจจะจำเป็นต้องพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เป็นการทั่วไป ก่อนหน้าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.

โดยสรุปแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า พันธบัตรออมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ที่มีกำหนดเปิดจำหน่ายในระหว่างวันที่ 3-4 และ 7 กันยายน 2552 นี้ น่าจะยังคงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปัจจุบันทางเลือกการออมของนักลงทุนนับว่ามีเพิ่มขึ้นมาก โดยนอกเหนือจากพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.แล้ว ยังมีความเป็นไปได้ที่ในระยะข้างหน้ารัฐบาลอาจจะมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งเพิ่มเติมอีก รวมทั้งทางเลือกการออมที่เสนอโดยภาคเอกชนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หุ้นกู้ กองทุนตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ตั๋วแลกเงิน รวมถึงผลิตภัณฑ์เงินฝากระยะยาวพิเศษ ซึ่งก็น่าที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ออมในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้หลากหลายมากขึ้น

สำหรับผลกระทบต่อสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การออกพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.ดังกล่าว คงจะมีผลกระทบต่อฐานะสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากคาดว่า ธปท.คงจะนำเงินที่ระดมได้จากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไปรองรับการครบกำหนดของพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติที่กระทรวงการคลังออกไปในปี 2545 และได้ครบกำหนดในวันที่ 2 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา ในขณะที่ คาดว่าบรรดาสถาบันการเงินต่างๆ คงจะยังต้องติดตามสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการฟื้นตัวตามมาของการขยายสินเชื่อ และทำการจัดเตรียมสภาพคล่องไว้สำหรับรองรับการดำเนินธุรกิจท่ามกลางภาวะดังกล่าว โดยการทยอยนำเสนอผลิตภัณฑ์การออมในรูปแบบต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนจูงใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาฐานลูกค้าและสมดุลสภาพคล่องไว้รองรับการเติบโตทางธุรกิจเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น

]]>
49212
ธนาคารกรุงเทพ พร้อมจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์แบงก์ชาติ https://positioningmag.com/49135 Mon, 31 Aug 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=49135

นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ (กลาง) นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง (ซ้ายสุด) พร้อมผู้บริหารและพนักงาน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ อีกทั้งแสดงความพร้อมในการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 อายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่อัตราเดียว 3.50% ต่อปี และอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันได ปีที่ 1-2 เท่ากับ 3.00% ต่อปี ปีที่ 3-4 เท่ากับ 4.00% ต่อปี ปีที่ 5-6 เท่ากับ 5.00% ต่อปี และปีที่ 7 เท่ากับ 6.00% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง วงเงินรวมที่ออกประมาณ 50,000 ล้านบาท ราคาจำหน่ายหน่วยละ 1,000 บาท วงเงินซื้อขั้นต่ำ 50,000 บาท ทวีคูณ 10,000 บาท และไม่มีวงเงินซื้อสูงสุด ไม่จำกัดจำนวนใบจองซื้อ ใช้หลักจองซื้อก่อนและชำระเงินก่อนได้ก่อน โดยเปิดให้จองซื้อวันพฤหัสบดีที่ 3 วันศุกร์ที่ 4 และวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2552 สำหรับลูกค้าที่สนใจสามารถจองซื้อได้ที่ธนาคารกรุงเทพ ทุกสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้นสาขาไมโคร) หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริการบัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ www.bangkokbank.com

]]>
49135
พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง … ผลต่อสภาพคล่องและดอกเบี้ยแบงก์ https://positioningmag.com/48524 Wed, 22 Jul 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=48524

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา การเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งให้กับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจนรัฐบาลต้องปรับเพิ่มวงเงินจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 15,000 ล้านบาท มาเป็น 30,000 ล้านบาท ซึ่งก็สามารถจำหน่ายได้หมดทั้งจำนวนภายในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้ง การเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งให้กับประชาชนทั่วไปและผู้มีสิทธิซื้อ ในวันที่ 15-21 กรกฎาคม 2552 รวม 50,000 ล้านบาท ตามวงเงินที่เหลืออีก 20,000 ล้านบาท รวมกับวงเงินเพิ่มเติมอีก 30,000 ล้านบาทซึ่งเพิ่งได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ก็คาดว่าจะได้รับความสนใจจากผู้ออมและสามารถจำหน่ายได้ทั้งหมดภายในเวลาอันรวดเร็วเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การออกพันธบัตรของรัฐบาลในครั้งนี้ นับว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากบางส่วนออกจากระบบธนาคารพาณิชย์

นอกจากนี้ หากมองไปในระยะข้างหน้า จะพบว่า ยังมีทางเลือกการออมอื่นๆ ที่อาจจูงใจให้เกิดการโยกย้ายเงินออมออกจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในทางเลือกนั้น ก็คือ หุ้นกู้เอกชน โดยจากการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภาคธุรกิจอาจมีแนวโน้มเสนอขายหุ้นกู้เอกชนอีกเป็นจำนวนราว 1 แสนล้านบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 หลังจากที่ได้มีการเสนอขายไปแล้วประมาณกว่า 2 แสนล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรก

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองเกี่ยวกับประเด็นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของรัฐบาล รวมถึงนัยทางด้านสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยสรุปดังนี้ :-

ความต้องการแสวงหาผลตอบแทนที่จูงใจของผู้ออม
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ออมล้วนมีความต้องการที่จะได้รับผลตอบแทนจากการออมเงินในอัตราที่ดีที่สุดภายใต้ระดับความเสี่ยงและสภาพคล่องที่เหมาะสม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา หรือก่อนที่จะมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของรัฐบาลนั้น เป็นจังหวะเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อยู่ในทิศทางขาลงและมีระดับต่ำตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ผู้ออมส่วนใหญ่จึงได้มีการทยอยโยกย้ายเงินฝากออกไปลงทุนในทางเลือกการออมอื่นๆ (ทั้งกองทุนรวมประเภทต่างๆ ซึ่งรวมถึงกองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ ทองคำ ตั๋วแลกเงิน และหุ้นกู้เอกชน) เนื่องจากคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก จึงกล่าวได้ว่า ความต้องการแสวงหาผลตอบแทนที่จูงใจของผู้ออมไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง แต่ได้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ตาม การที่พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง มีเงื่อนไขหรือรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ออม (พันธบัตรอายุ 5 ปี เสนออัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได โดยในปีที่ 1-2 อยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อปี ในปีที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 4 และในปีที่ 4-5 อยู่ที่ร้อยละ 5 อีกทั้งมีความเสี่ยงต่ำเพราะรัฐบาลเป็นผู้ออก) โดยเฉพาะผู้ออมรายย่อยที่อาจจะไม่สามารถเข้าถึงทางเลือกการออมอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ ขณะที่พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งมีการกำหนดวงเงินซื้อขั้นต่ำและขั้นสูงต่อราย จึงส่งผลให้การเปิดจำหน่ายพันธบัตรดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ล้นหลามโดยเฉพาะจากผู้สูงอายุทั่วไป

จังหวะที่ดีสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพ
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยน่าที่จะได้ผ่านสภาวะที่เลวร้ายที่สุดมาแล้วหลังจากที่หดตัวลงถึงร้อยละ 7.1 (Year-on-Year) ในไตรมาสที่ 1/2552 โดยมีแนวโน้มที่เศรษฐกิจไทยอาจทยอยลดอัตราติดลบลงในไตรมาสถัดๆ ไป ซึ่งส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่าวัฏจักรขาลงของอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงินไทยคงจะสิ้นสุดลงแล้ว อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป คงจะทำให้อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องหรือไม่ได้เร่งตัวสูงขึ้นเร็วเกินไปในระยะที่เหลือของปี

ทั้งนี้ ภายใต้ภาวะดังกล่าว นับว่าน่าจะเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการระดมทุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยแม้ว่าการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของรัฐบาล รวมทั้งการออกหุ้นกู้ของบริษัทขนาดใหญ่ในเดือนกรกฎาคมนี้ อาจเป็นการสร้างอัตราผลตอบแทนอ้างอิงที่มีระดับสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากพอสมควร ซึ่งคงจะมีผลต่อต้นทุนการออกหุ้นกู้เอกชนของบริษัทอื่นๆ ให้ขยับตัวสูงขึ้นบ้างตามระดับความเสี่ยงและความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกัน แต่การกำหนดอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงและความน่าเชื่อถือของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้รับการจัดอันดับเครดิตสูงกว่าระดับน่าลงทุน (Investment Grade) กอปรกับหากบริษัทที่ต้องการระดมทุนเป็นบริษัทที่มีฐานะการเงินมั่นคง ก็คงจะทำให้หุ้นกู้ของบริษัทนั้นๆ เป็นหุ้นกู้ที่มีคุณภาพและได้รับความสนใจเข้าลงทุนจากผู้ออม โดยเฉพาะในภาวะที่ผู้ออมยังมีความต้องการแสวงหาผลตอบแทนจูงใจผ่านการลงทุนในทางเลือกต่างๆ นอกเหนือจากการฝากเงินไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ เช่นปัจจุบัน นั่นหมายความว่า บริษัทที่มีความต้องการเงินทุนเหล่านั้น คงจะสามารถระดมเงินทุนระยะกลางถึงยาวได้นับตั้งแต่ตอนนี้ซึ่งภาระต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายยังไม่ปรับตัวสูงขึ้นไปมากนัก

ผลต่อสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์
จากตัวเลขสินทรัพย์สภาพคล่องในงบดุลของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ยังมีอยู่สูงถึงกว่า 2 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 ทำให้อาจดูเหมือนว่าการทยอยไหลออกของเงินฝากไปสู่ทางเลือกการออมอื่นๆ น่าจะไม่ส่งผลกระทบมากนักในแง่ของปริมาณสภาพคล่องของระบบธนาคาร เพราะแม้สภาพคล่องอาจจะลดลงเมื่อเงินฝากถูกถอนออกไปในขาแรก แต่คงมีสภาพคล่องบางส่วนที่ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบธนาคารอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลขสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวเพียงประการเดียว โดยการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์อาจจะเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่าธนาคารเหล่านั้นจะยังคงมีฐานะสภาพคล่องในระดับสูงก็ตาม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ยังไม่ได้เข้ามาแข่งขันกันสู้ราคาหรือล็อคเงินฝากผ่านโครงการเงินออมต่างๆ อย่างเต็มที่มากนัก โดยเหตุผลสำคัญก็เพราะว่าสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงมีทิศทางที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่องตามภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้การดำเนินการดังกล่าวอาจนำมาซึ่งภาระต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ดอกเบี้ยรับที่ชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งก็ได้เริ่มออกผลิตภัณฑ์เงินฝากระยะยาวพิเศษที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำตามปกติเพื่อรักษาฐานลูกค้าของตนไว้มากขึ้นบ้างแล้ว โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่ต้องติดตามในระยะถัดไปซึ่งคงจะมีผลทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเข้าสู่สนามแข่งขันด้านราคามากขึ้น ก็คือ ภาวะสินเชื่อ และกลไกการแข่งขัน ทั้งนี้ หากสินเชื่อเริ่มมีสัญญาณในเชิงบวกมากขึ้นตามการทยอยฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์อาจมีแนวโน้มที่จะค่อยๆ ดำเนินการล็อคเงินทุนระยะกลางถึงยาวไว้ ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินออมพิเศษต่างๆ เพื่อรักษาฐานลูกค้าและฐานเงินทุนของตนให้มีความเข้มแข็งสำหรับรองรับการขยายกิจการในอนาคตข้างหน้า ถึงแม้ว่าธนาคารเหล่านั้นจะยังมีฐานะสภาพคล่องในปริมาณที่สูง และนโยบายอัตราดอกเบี้ยของทางการจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็ตาม ในขณะที่ กลไกการแข่งขัน ทั้งจากธนาคารพาณิชย์ด้วยกันเองและกับทางเลือกการออมอื่น จะผลักดันให้ความถี่ของการออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของธนาคารมีเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ก็จะยิ่งขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจูงใจผู้ออม อย่างไรก็ตาม หากการขยายสินเชื่อไม่สามารถจะเติบโตได้เร็วตามที่คาดหวัง จังหวะเวลาของการเข้าสู่สนามแข่งขันกันสู้ราคาของธนาคารพาณิชย์ก็คงจะล่าช้าออกไปจากกรณีแรก

โดยสรุปแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การตอบรับอย่างท่วมท้นต่อการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของรัฐบาล สะท้อนถึงความต้องการของผู้ออมที่จะลงทุนในตราสารที่มีความมั่นคงสูงและให้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ทางด้านผลกระทบต่อระบบการเงินนั้น แม้ว่าเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ถูกโยกย้ายออกไปสู่การลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของรัฐบาล รวมถึงหุ้นกู้ภาคเอกชน ตลอดจนตราสารทางการเงินต่างๆ อาจจะมีผลกระทบต่อตัวเลขสินทรัพย์สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย (หลังจากที่เริ่มปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา) แต่ผลกระทบอาจเป็นไปในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าตัวเลขสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงในระยะถัดไป อย่างไรก็ดี ตัวเลขสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าว คงจะไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียวในการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ขณะที่ ปัจจัยสำคัญน่าจะเป็นภาวะความต้องการสินเชื่อและการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินในระบบเพื่อช่วงชิงโอกาสในการล็อคต้นทุนเงินฝากระยะยาวก่อนผู้เล่นรายอื่น โดยเฉพาะเมื่อธนาคารพาณิชย์เริ่มเห็นสัญญาณว่าการขยายสินเชื่ออาจจะฟื้นคืนกลับมาแล้ว ปัจจัยเหล่านี้ ได้ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่งเริ่มมีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำตามปกติไปบ้างแล้ว โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้น ความถี่ของการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากระยะยาวพิเศษดังกล่าว ก็คงจะทยอยเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งเมื่อจังหวะเวลานั้นมาถึง ก็จะเป็นโอกาสของผู้ออมที่จะมีทางเลือกในการตัดสินใจทำการออมที่หลากหลายมากขึ้น

]]>
48524
พันธบัตรฯ รอบ 2 ยอดจองสนั่น https://positioningmag.com/48467 Wed, 15 Jul 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=48467

นายสุเมธ วชิรธรรมพร (ซ้ายสุด) ผู้จัดการสาขาสำนักพหลโยธิน ธนาคารกสิกรไทย มอบของที่ระลึกให้กับพลทหารนพดล ดีวังยาง (กลาง) ลูกค้ารายแรกของธนาคารที่เข้ามาเข้าคิวจองพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข็มแข็ง รอบที่ 2 สำหรับประชาชนทั่วไป โดยมารอรับบัตรคิวตั้งแต่ เวลา 01.30 น. ซึ่งบรรยากาศการจองเต็มไปด้วยความคึกคัก ณ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักพหลโยธิน เมื่อเร็ว ๆ นี้

]]>
48467
ธนาคารกรุงเทพ ปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง https://positioningmag.com/48459 Wed, 15 Jul 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=48459

ธนาคารกรุงเทพ ปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ช่วงจำหน่ายที่ 1 ที่ธนาคารกรุงเทพได้รับการจัดสรรจากกระทรวงการคลังให้เป็นผู้จัดจำหน่ายในวงเงิน 7,100 ล้านบาท สำหรับให้สิทธิผู้ซื้อที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ผู้ที่เกิดก่อนหรือภายในปี พ.ศ.2492) เผยกระจายสู่สาขาทั่วประเทศจำนวนกว่า 900 สาขา ในรูปแบบ ‘จองซื้อก่อนได้ก่อน’ ได้ครบหมดเต็มวงเงินภายใน 1 ชั่วโมงที่เปิดขาย ทั้งนี้ธนาคารได้เตรียมจัดจำหน่ายในช่วงที่ 2 วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2552 และช่วงที่ 3 วันที่ 17, 20, 21 กรกฎาคม 2552 ตามวงเงินที่ได้รับจัดสรรและเงื่อนไขที่ทางการกำหนดไว้

นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารประสบความสำเร็จในการจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในช่วงที่ 1 ที่เปิดจำหน่ายวันนี้เป็นวันแรก แก่ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ผู้ที่เกิดก่อนหรือภายในปี พ.ศ.2492) วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่ทางการได้เพิ่มขึ้นมาจากวงเงินเดิม 15,000 ล้านบาท ในช่วงเช้าของวันนี้ โดยสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าทุกสาขาทั่วประเทศจำนวนกว่า 900 สาขา ในรูปแบบ ‘จองซื้อก่อนได้ก่อน’ ได้ครบเต็มวงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงการคลังให้ธนาคารเป็นผู้จัดจำหน่ายจำนวน 7,100 ล้านบาท ด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 1 ชั่วโมงที่เปิดขาย

สำหรับลูกค้าที่สนใจ และพลาดโอกาสในครั้งนี้ สามารถติดต่อขอซื้อได้ในช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2552 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท สำหรับประชาชนทั่วไป (รวมผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป) และช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 17, 20, 21 กรกฎาคม 2552 ซึ่งเป็น 3 วันสุดท้าย วงเงินคงเหลือรวม 5,000 ล้านบาท สำหรับประชาชนทั่วไป (รวมผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) ซึ่งสามารถจองซื้อได้ไม่จำกัดวงเงิน จำกัดการซื้อ 1 คำเสนอขอซื้อ ต่อ 1 ช่วงจำหน่าย ที่สาขาธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ ยกเว้นสาขาไมโคร ตามวงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงการคลัง หรือที่ธนาคารพาณิชย์อีก 6 แห่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นธนาคารตัวแทนจำหน่าย ซึ่งสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือที่เว็บไซด์ www.bangkokbank.com

พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยกระทรวงการคลัง อายุ 5 ปี วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท หน่วยละ 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 เท่ากับ 3% ปีที่ 3 เท่ากับ 4% ปีที่ 4-5 เท่ากับ 5% วงเงินซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท กำหนดจ่ายอัตราดอกเบี้ยปีละ 2 งวด

]]>
48459
ธนาคารกรุงเทพ พร้อมจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง เริ่ม 13 ก.ค.นี้ https://positioningmag.com/48402 Fri, 10 Jul 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=48402

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พร้อมอำนวยความสะดวกในรูปแบบ ’จองซื้อก่อนได้ก่อน’ ให้กับลูกค้าที่สนใจพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยกระทรวงการคลัง อายุ 5 ปี วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท หน่วยละ 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 เท่ากับ 3% ปีที่ 3 เท่ากับ 4% ปีที่ 4-5 เท่ากับ 5% วงเงินซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท กำหนดจ่ายอัตราดอกเบี้ยปีละ 2 งวด โดยเริ่มจัดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 13-21 กรกฎาคม 2552 ช่วงที่ 1 วันที่ 13-14 กรกฎาคม 2552 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ผู้มีสิทธิซื้อต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ผู้ที่เกิดก่อนหรือภายในปี พ.ศ.2492) ช่วงที่ 2 วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2552 วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท สำหรับประชาชนทั่วไป (รวมผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป) และช่วงที่ 3 วันที่ 17, 20, 21 กรกฎาคม 2552 ซึ่งเป็น 3 วันสุดท้าย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท สำหรับประชาชนทั่วไป (รวมผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) ซึ่งสามารถจองซื้อได้ไม่จำกัดวงเงิน จำกัดการซื้อ 1 คำเสนอขอซื้อ ต่อ 1 ช่วงจำหน่าย) สำหรับลูกค้าที่สนใจสามารถจองซื้อได้ที่ธนาคารกรุงเทพ ทุกสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้นสาขาไมโคร) หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริการบัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ www.bangkokbank.com และที่ธนาคารพาณิชย์อีก 6 แห่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นธนาคารตัวแทนจำหน่าย

]]>
48402
กสิกรไทยร่วมจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ฯ 5 หมื่นล้านบาท https://positioningmag.com/48291 Fri, 26 Jun 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=48291

นายกรณ์ จติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย พร้อมด้วยผู้บริหารจากธนาคารพาณิชย์รวมทั้งสิ้น 7 แห่ง ร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงการจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ 2552 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดที่ 3-5% ต่อปี วงเงิน 50,000 ล้านบาท โดยจะเปิดจำหน่ายระหว่างวันที่ 13-21 กรกฎาคม 2552 ณ กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา

]]>
48291