Broadband – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 04 Jul 2022 14:15:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วิเคราะห์ดีล AIS ซื้อ 3BB และอนาคตธุรกิจโทรคมนาคมไทยหลังจากนี้ https://positioningmag.com/1391121 Mon, 04 Jul 2022 08:39:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391121 หลังจากที่ในตอนเช้าของวันนี้ (4 กรกฎาคม) ทาง AIS ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่อันดับ 2 ของตลาดอย่าง 3BB ด้วยมูลค่าสูงถึง 19,500 ล้านบาท เรามาดูกันว่าดีลนี้สร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการโทรคมนาคมไทยอย่างไร รวมถึงมาดูกันว่าอนาคตของธุรกิจโทรคมนาคมในไทยหลังจากนี้จะเป็นเช่นไร

ทำไมดีลนี้ถึงเกิดได้

สำหรับดีลนี้อาจต้องเล่าย้อนไปถึงในช่วงความพยายามที่ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทแม่ของ 3BB มีความพยายามที่จะเติบโตขึ้นมาผู้เล่นรายที่ 4 ในตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทางบริษัทได้เข้ามาประมูลคลื่น 900 MHz แต่ในท้ายที่สุดบริษัทกลับไม่จ่ายเงินค่าประมูลคลื่นก้อนใหญ่ แม้ว่าในตอนแรกบริษัทจะชี้ว่ามีเงินทุนและพันธมิตรพร้อมแล้วก็ตาม

แต่หลังจากนั้นบริษัทก็ได้เน้นทำแต่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตตามบ้าน โดยมีการเพิ่ม Value Added อย่างเช่นมีบริการ IPTV หรือเป็นพันธมิตรกับทาง HBO นำ HBO Go เข้ามา เป็นต้น และไม่มีการพูดถึงธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออีกต่อไป

ทางด้านของ AIS เองก็ได้เริ่มเข้ามารุกในตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมครบวงจร โดยเปิดตัวบริการอินเทอร์เน็ตบ้านในปี 2015 แต่ก็ยังไม่สามารถขึ้นมาเป็นผู้เล่นอันดับ 1 ใน 3 ของตลาดได้ นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันที่ดุเดือดจากทั้ง True หรือแม้แต่ทาง NT (CAT และ TOT เดิม) ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นข่าวลือว่า AIS สนใจซื้อกิจการ 3BB อยู่หลายครั้งเพื่อที่จะเพิ่มจำนวนลูกค้า

แต่จุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงที่ผ่านมาคือ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทแม่ของ 3BB เองก็ต้องการที่จะไปทำธุรกิจด้านอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นบริษัทลูกอย่าง บมจ. จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น ได้สนใจในธุรกิจเหมืองขุดบิตคอยน์

อย่างไรก็ดี สภาวะตลาด Cryptocurency เองก็กำลังอยู่ในสภาวะขาลงอาจทำให้ผู้เขียนมองว่าบริษัทตัดสินใจขาย 3BB เพื่อนำเงินสดมาลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น หรือลงทุนในธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจแบบเดิมๆ อีกต่อไป ขณะเดียวกันทาง AIS ก็ได้ฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็น Win-Win Strategy ในช่วงเวลาเช่นนี้

เป้าหมายดีลนี้เพื่อเป็นเบอร์ 1 ของตลาดเน็ตบ้าน

ถ้าหากมองจำนวนลูกค้าในปัจจุบันแล้ว ข้อมูลล่าสุดเมื่อไตรมาส 1 ของปี 2022 ผู้นำตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านนั้นยังคงเป็น True ที่มีฐานลูกค้ามากถึง 4.7 ล้านราย ขณะที่อันดับ 2 คือ 3BB มีลูกค้าราวๆ 3.68 ล้านราย ขณะที่ อันดับ 3 อย่าง NT นั้นมีลูกค้าราวๆ 2 ล้านราย (ข้อมูลล่าสุดปี 2021) ตามมาด้วยอันดับ 4 นั่นก็คือ AIS ที่มีฐานลูกค้า 1.86 ล้านราย

ถ้าหาก AIS ได้ควบรวมกิจการของ 3BB มาแล้ว ก็จะทำให้ AIS มีลูกค้าอยู่ที่ราวๆ 5.5 ล้านราย ซึ่งจะทำให้ยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมรายนี้ขึ้นเป็นผู้เล่นตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านอันดับ 1 ทันที และแซงหน้า True ทันที นอกจากนี้ในบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวงยังชี้ว่า AIS จะมีรายได้จากอินเทอร์เน็ตบ้านเป็นสัดส่วน 20-25% ในอนาคต ซึ่งจากเดิมอยู่ที่ราวๆ 15% ของรายได้รวมเท่านั้น

นอกจากจะได้ลูกค้าอินเทอร์เน็ตบ้านแล้ว ถ้าหากดีลนี้ประสบความสำเร็จ ยังสามารถทำให้ AIS ลงทุนกับธุรกิจ Value Added กับลูกค้าเหล่านี้ได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบ IPTV หรือบริการอื่นๆ ซึ่งอาจดึงดูดลูกค้าจากค่ายอื่นตามมาอีกได้

ภาพจาก Shutterstock

อนาคตของวงการโทรคมนาคม

นอกจากดีลนี้จะทำให้ AIS ก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นสำคัญของตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านแล้วนั้น ยังแสดงให้เห็นอนาคตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งเป็นเทรนด์ทั่วโลกคือตลาดกลับมามีผู้เล่นน้อยรายมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้เล่นบางรายอาจตัดสินใจขายกิจการหรือควบรวมกิจการ เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจในการทำธุรกิจต่อไป

สาเหตุสำคัญที่ตอบประเด็นดังกล่าวได้ก็คือปัจจัยของการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้านปัจจุบันต้องใช้เงินลงทุนที่สูง เนื่องจากต้องขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าหากยิ่งมีฐานลูกค้ามากขึ้นเท่าไหร่ ขณะที่ค่าใช้จ่ายคงที่เท่าเดิม ย่อมทำให้รายได้และกำไรเข้ามามหาศาล

นั่นทำให้ผู้เล่นโทรคมนาคมรายใหญ่ทั่วโลกพยายามที่จะซื้อกิจการผู้เล่นรายรองๆ ลงมา ขณะเดียวกันผู้เล่นรายรองๆ เองก็อยากขายกิจการหรือไม่ก็ต้องควบรวมกิจการกันเพราะเงินลงทุนในด้านอุปกรณ์ต่างๆ นั้นเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนลูกค้ากลับเท่าเดิม จึงเหลือทางออกไม่กี่ทาง

ทำให้เราเห็นว่าทำไมผู้เล่นในตลาดโทรคมนาคมหลายๆ ประเทศ และอาจรวมในไทยถึงกำลังจะมีผู้เล่นน้อยรายลงเรื่อยๆ

คำถามที่ประชาชนจับตามอง เรื่องของการผูกขาด

อย่างไรก็ดี ยังมีคำถามที่ประชาชนหลายคนได้ตั้งคำถามหลังจากที่ AIS ได้ประกาศดีลนี้ นั่นก็คือว่าการควบรวมกิจการ 3BB เข้ามานั้นถือว่าเป็นการผูกขาดตลาด ทำให้ผู้เล่นเหลือน้อยรายลงหรือไม่ เนื่องจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตามบ้านของไทยจะเหลือผู้เล่นรายใหญ่แค่ True และ NT รวมถึง AIS (ถ้าหากควบรวมกิจการ 3BB สำเร็จ) เท่านั้น

ขณะเดียวกันผู้เล่นรายเล็กๆ ในตลาดอินเทอร์เน็ตตามบ้านนั้นก็มีไม่ค่อยมาก อย่างเช่น PlanetFiber โสภณเคเบิ้ล หรือแม้แต่ Cable Connect ของเจริญเคเบิลทีวี นั้นมีเครือข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงทั่วประเทศ แถมยังทำตลาดในพื้นที่จำกัดมาก ซึ่งผู้เล่นเหล่านี้ยังไม่สามารถเติบโตขึ้นมาเป็นผู้เล่นระดับประเทศได้ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล

และนั่นเป็นคำถามต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าจะพิจารณาให้ดีลการควบรวมกิจการนี้เดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ รวมถึงแรงจูงใจในการทำตลาดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตามบ้านว่าจะยังมีแรงจูงใจในการออกโปรโมชันออกมาหรือไม่หลังจากดีลการควบรวมกิจการนี้

]]>
1391121
AIS ประกาศเข้าซื้อกิจการ 3BB มูลค่า 19,500 ล้านบาท ขยายฐานลูกค้าเน็ตบ้าน https://positioningmag.com/1391039 Mon, 04 Jul 2022 01:26:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391039 บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทจะเข้าทำการซื้อกิจการ บมจ. ทริปเปิลที บรอดแบนด์ เจ้าของกิจการอินเทอร์เน็ต 3BB เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 19,500 ล้านบาท โดยวัตถุประสงค์สำคัญของบริษัทก็คือการเข้าขยายฐานลูกค้าอินเทอร์เน็ตตามบ้าน

นอกจากนี้บริษัทยังชี้แจงถึงประโยชน์ในการซื้อกิจการ ไม่ว่าจะเป็น

  • ลดทอนความซ้ำซ้อนในการลากสายเคเบิลใยแก้วนำแสง
  • สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และเพิ่มกระแสเงินสดให้กับ AIS
  • เสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย

บริษัทยังได้แจ้งว่าจะเข้าซื้อกิจการของ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) อีกเป็นจำนวนเงิน 12,920 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ดีลนี้มีขนาด 32,420 ล้านบาท โดย AIS จะใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงเงินกู้จากสถาบันการเงินในการซื้อกิจการของ 3BB และ JASIF

สำหรับผลการดำเนินงานของ 3BB นั้น ในปี 2020 บริษัทมีรายรวม 18,126 ล้านบาท ขาดทุน 4,142 ล้านบาท ปี 2021 มีรายได้รวม 19,264 ล้านบาท ขาดทุน 2,064 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 1 ของปี 2022 นั้นบริษัทมีรายได้รวม 4,093 ล้านบาท ขาดทุน 155 ล้านบาท

การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้นั้นทาง AIS จะทำการขออนุญาตในการเข้าทำธุรกรรมจาก กสทช. ก่อนจึงจะลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นของ 3BB และหน่วยลงทุน JASIF โดยบริษัทฯ คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จได้ภายในไตรมาส 1 ของปี 2023

ที่มา – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

]]>
1391039
ผ่าเกมลึก ! ศึกชิงลูกค้า 12 ล้านเลขหมาย คลื่น 900 MHz https://positioningmag.com/62156 Thu, 07 Jan 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62156

ไม่ต้องรอ 4G สงครามมือถือก็เดือดแล้ว ด้วยศึกชิงลูกค้า 12 ล้านรายบนคลื่น 900 MHz เมื่อเอไอเอสผ่าทางตันทุ่มเงิน 8 พันล้าน ดันโปรโมชันแจกเครื่องฟรี หวังสกัดคู่แข่งทรู ดีแทค แจส โมบาย
 
ถึงแม้จะตัดสินใจยกธงขาวไม่ประมูลต่อ ทำให้ทรู และแจส โมบายคว้าใบอนุญาตคลื่น 900 MHzไปครอง แต่ก็ดูเหมือนว่าเอไอเอสซึ่งต้องสิ้นสุดการครองคลื่นความถี่ 900 MHz จะยึดประโยคที่ว่า “สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร”

เพราะไม่ทันไร เอไอเอสก็ตัดสินใจเดินแผน 2 เพื่อแก้เกมด้วยการปล่อยแคมเปญให้ลูกค้าที่ใช้ระบบ 2G คลื่น 900 MHz ที่มีอยู่ 12 ล้านราย มารับมือถือจาก 2G เป็น3G และ 4G ได้ฟรี มีผลตั้งแต่ 25ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป จนถึง 31 มกราคม 2559

เป้าหมายสำคัญของเอไอส เพื่อต้องการรักษาลูกค้าใช้งานบนคลื่นความถี่ 900 MHz จำนวน 1 ล้านเลขหมาย และลูกค้าของบริษัทบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN บริษัทลูกของเอไอเอส ที่ประมูลได้ใบอนุญาต 2100 MHz และ 1800 MHz และยังคงใช้ระบบ 2G  โดยที่โรมมิ่งมาใช้โครงข่าย 900 MHz อีก 11 ล้าน รวมแล้ว 12 ล้านเลขหมายในมือ

เนื่องจากตามกติกาที่ กสทช.กำหนดไว้นั้น หลังจากที่ผู้ชนะประมูลคลื่น 900 MHz คือทรู และแจส โมบาย นำเงินประมูลงวดแรก จำนวน 8,040 ล้านบาท พร้อมกับหนังสือแบงก์การันตีอีก 2 งวด มาชำระให้กับ กสทช. จากนั้น กสทช.จะออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ให้กับทรู และ แจส โมบาย โดยจะส่งผลให้ลูกค้าของเอไอเอสที่ใช้คลื่น 900 MHz ใช้งานไม่ได้ หรือซิมดับทันที

ทำให้เอไอเอสต้องเร่งมือผลักดันให้ลูกค้าเหล่านี้ ยอมเปลี่ยนจากเครื่อง 2G  ที่ใช้อยู่เดิม ให้เปลี่ยนมาใช้ 3G และ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz และ 1800 MHz  ด้วยการแจกเครื่องมือถือให้ลูกค้า 12 ล้านรายไปฟรีๆ โดยมีให้เลือกหลากหลายรุ่น ทั้งเครื่องฟีเจอร์โฟน และสมาร์ทโฟน ขนาด 3 นิ้ว และ 4 นิ้วในระบบ 3G และ 4G ราคาตั้งแต่ 799-2,690 บาท แต่ละรุ่นเติมเงินต่างกัน เริ่มต้นที่ 100 บาท

“นักลงทุนถามว่าแคมเปญนี้แตกต่างจากที่แล้วมายังไง ผมบอกเลยแตกต่าง เพราะครั้งนี้เราให้เครื่องไปเลยฟรีๆ เงินที่ลูกค้าเติมเงินก็นำไปใช้เป็นค่าโทรได้ รวมแล้วใช้เงินทุนประมาณ 7-8 พันล้านบาท”สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บอก

การยอมทุ่มเม็ดเงินแจกเครื่องฟรี นอกจากไม่ให้ลูกค้าเหล่านี้ต้องเจอปัญหาเรื่องของ “ซิมดับ” แล้ว ยังต้องการสกัดกั้นไม่ให้ลูกค้าเหล่านี้เปลี่ยนใจไปใช้ระบบของคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นดีแทค ทรู และน้องใหม่ แจส โมบาย ที่ล้วนแต่ต้องการแย่งชิงลูกค้าเหล่านี้มาครอง 

แม้ว่าลูกค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่จะใช้บริการเติมเงิน (พรีเพด)ใช้งานน้อย เฉลี่ยเดือนละ 100 บาท และ 80% ส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด พื้นที่ห่างไกล คิดคำนวณแล้วทำรายได้เป็นสัดส่วน 15% จากรายได้รวมของเอไอเอส (1.3 แสนล้านบาท) หรือคิดเป็นประมาณ 5 พันล้านบาท แต่หากหายไปย่อมส่งผลกระทบ “ส่วนแบ่งตลาด” ที่เป็นฐานลูกค้าทันที 

ยิ่งหากตกไปอยู่ในมือของคู่แข่งด้วยแล้ว ย่อมไม่เป็นผลดีต่อเอไอเอสที่กำลังถูกตั้งคำถามว่า การพ่ายแพ้ในประมูลคลื่น 900 MHz จะทำให้เอไอเอสต้องสูญเสียอำนาจในการแข่งขันหรือไม่

โดยเฉพาะค่ายทรู ที่ออกมาระบุถึงการยอมทุ่มเงินประมูลสะสมคลื่นความถี่มาอยู่ในมือให้ได้มากที่สุด เพื่อต้องการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคว้าคลื่น 900 MHzมาครองนั้น ถือเป็นการเดินเกมแบบยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว นอกจากแผนลงทุนเครือข่ายประหยัดเงินได้ 45,000 ล้านบาท เพราะคลื่น 900 MHz ส่งสัญญาณได้กว้างไกลแล้ว ยังเป็นการช่วงชิงฐานลูกค้าที่ใช้คลื่น 900 MHz ของคู่แข่ง และยังเป็นการตัดกำลังของคู่แข่งที่เป็นเบอร์ 1 จากการที่ต้องสูญเสียคลื่นในมืออีกด้วย

การเดิมเกมของทรูครั้งนี้ จึงเป็นการปลดล็อกเพื่อพลิกจากการเป็นเบอร์ 3ก้าวแซงหน้าขึ้นไปเป็นเบอร์ 2 หรือ เบอร์ 1 จากที่ก่อนหน้านี้ทรูไม่มีโอกาสมาก่อน ทรูคลื่นความถี่มีจำกัด และฐานลูกค้าหลักของทรูเป็นลูกค้าบริการรายเดือน หรือโพสต์เพด ซึ่งเป็นลูกค้าส่วนน้อย มีอยู่แค่ 15% ไม่ว่าทรูจะงัดกลยุทธ์การตลาดมาใช้แค่ไหน ก็ไม่มีทางสร้างฐานลูกค้าได้มากเท่ากับเบอร์ 1 และเบอร์ 2ที่ครองตลาดพรีเพดซึ่งเป็นฐานลูกค้าส่วนใหญ่ในตลาด

นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เอไอเอสจะยอมไม่ได้ เพราะหากเพลี่ยงพล้ำไป โอกาสย่อมตกไปอยู่ในมือของคู่แข่งทันที 

เอไอเอสจึงต้องงัดมาตรการเร่งกวาดต้อนลูกค้าให้มาอยู่ในมือให้เร็วที่สุด ก่อนที่คู่แข่งซึ่งกำลังวุ่นอยู่กับการหาเงินมาจ่ายค่าใบอนุญาต และแบงก์การันตีอีก 2 งวด จะออกแคมเปญออกมาช่วงชิงลูกค้าเหล่านี้ได้ทัน

ทั้งการส่ง SMS ให้ลูกค้ามาเปลี่ยนเครื่อง ยิงโฆษณาทีวีกันถี่ยิบ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารีบมาแลกเครื่องไปใช้ พร้อมส่งทีมงานเดินสายไปเคาะประตูถึงบ้านลูกค้าตามจังหวัดต่างๆ ลงไปถึงระดับอำเภอ เพื่อให้ลูกค้า 2G เหล่านี้เปลี่ยนมาใช้ 3G และ 4G ให้เร็วที่สุด ซึ่งกำหนดการที่เอไอเอสวางไว้คือ 31มกราคม 2559จะเป็นการสิ้นสุดการให้แลกเครื่อง

เอไอเอส คาดหวังว่าในช่วงเวลา 1-2 เดือนจะกวาดต้อนลูกค้าให้ย้ายระบบ เพื่อให้มาใช้ระบบ 3G และ 4G ได้ไม่น้อยกว่าครึ่ง หรือประมาณ 5-6 แสนราย

“หากทุ่มเงินประมูลเพื่อให้ได้คลื่นมาด้วยราคาที่แพงเกินไปแล้ว ไม่มีเงินไปลงทุนเครือข่ายและบริการ สู้ผมเอาเงินก้อนนี้ไปพัฒนาคุณภาพเครือข่าย ให้บริการที่ดีขึ้น และดูแลลูกค้า 12 ล้านคนให้เขามาแลกเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นให้เขาใช้ฟรีๆ ผมว่าลูกค้ารู้สึกดีใจมากกว่านะ” สมชัย ยืนยัน

ดังนั้น เอไอเอสได้เตรียมยื่นเรื่องไปที่ กสทช.เพื่อขอยืดระยะเวลา “เยียวยา” ออกไปอีก เพื่อที่ว่าเอไอเอสจะได้มีเวลาให้ลูกค้าได้เปลี่ยนเครื่องได้นานขึ้น เพราะกว่าที่คู่แข่งจะออกโปรโมชันมาให้ลูกค้าย้ายค่าย เปลี่ยนซิม ก็ต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่

นอกจากนี้ เอไอเอสยังมีข้อได้เปรียบที่คู่แข่งไม่มี คือ ฐานข้อมูลลูกค้าที่ใช้คลื่น 900 MHz ทำให้เอไอเอสสามารถไปเคาะประตูถึงบ้านลูกค้าให้เปลี่ยนเครื่องมือถือได้ทันที เพียงแต่ต้องอาศัยเวลาเยียวยาให้นานขึ้น

เอไอเอส มองว่า ตามกฎหมายของ กสทช.ไม่ได้กำหนดว่าหลังจากผู้ชนะประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 แล้ว กสทช.จะต้องออกใบอนุญาตให้ทันที ในเมื่อ กสทช.ต้องการดูแลผู้ใช้ไม่ให้ซิมดับก็สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก ถือว่าไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

แต่งานนี้เอไอเอสก็ไม่ประมาท เพราะหลังจากประมูลมาได้ ทั้งทรู และแจส โมบายเองก็ต้องการได้ใบอนุญาตให้เร็วที่สุด เพื่อเข้าสู่สนามแข่งขันให้เร็วที่สุด ซึ่งล่าสุดได้มีการเปิดเผยจาก กสทช.แล้วว่า ทั้งสองรายจะมาส่งมอบเงินงวดแรกพร้อมกับแบงก์การันตีให้กับ กสทช. ภายในสัปดาห์นี้ ดังนั้น ในกรณีที่ กสทช.ไม่ยอมยืดเวลาเยียวยาออกไปก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์ของเอไอเอสยากลำบากมากขึ้น จึงได้เตรียม “แผนสำรองที่ 3” ไว้แล้ว แต่ยังขอไม่เปิดเผยในเวลานี้  

เอไอเอส มองว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 ตลาดจะยังคงชุลมุนกันอยู่กับการแย่งชิงลูกค้า 12 ล้านราย จากนั้นทุกอย่างจะนิ่งขึ้น โดยที่การแข่งขันของ 4G จะเต็มรูปแบบจริงๆ จะไปเริ่มต้นในปี 2560 -2561 เพราะฐานลูกค้าส่วนใหญ่ยังเป็น 3G ซึ่งมีอยู่เกิน 50% ส่วน 4G จะมีสัดส่วนไม่เกิน 20% ที่เหลือเป็น 2G ยังมีอยู่ 15% แต่จะค่อยๆ หมดไปในอีก 2 ปี 

ดังนั้น ถึงแม้ว่าเอไอเอสจะเตรียมเปิดให้บริการ 4G ในเดือนมกราคมนี้ แต่ยังไม่ใช่เรื่องเร่งรีบ เพราะประเมินแล้วว่ากว่าการแข่งขัน 4G จะเริ่มจริงจังยังต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี ยังมีเวลาพอที่จะไล่ขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ในตลาด 4G ได้ทันในช่วงสิ้นปี 2559

โจทย์ใหญ่ของเอไอเอส นอกจากมีเวลาในการเยียวยาลูกค้า 12 ล้านรายที่สั้นมากแล้ว ยังต้องสร้างความเชื่อมั่นว่า ถึงไม่ได้คลื่น 900 MHz มาก็ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน เพราะได้ลงทุนขยายเสาสัญญาณคลื่น 2100 MHz จำนวน 15MHz รองรับบริการ 3G จาก 13,000ต้น เพิ่มเป็น 25,000ต้น ครอบคลุมสัญญาณได้ถึง 98% และยังได้บรรลุข้อตกลงความร่วมมือกับทีโอที ในการนำคลื่นความถี่ 2100 MHz มาใช้งานเพิ่มอีก 15 MHz ควบคู่ไปกับการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ในภาพรวมเอาไว้ให้ได้

แจส โมบายเตรียมเผยแคมเปญสะพัดโลกออนไลน์

ขณะเดียวกันก็มีกระแสข่าวแพร่สะพัดในโลกออนไลน์บนเว็บ Pantip.com ถึงการที่แจส โมบาย บรอดแบนด์ น้องใหม่ล่าสุด ได้เตรียมออกโปรโมชัน 4G มานำเสนอให้กับลูกค้า โดยเป็นโปรโมชัน ราคา 599 บาทต่อเดือน สามารถเล่นเน็ตได้ 8 GB โทรได้ 350 นาที โดยที่ลูกค้าที่ใช้บริการบรอดแบนด์ของ 3BB สามารถเพิ่มความเร็วเป็น 20 Mb ได้ฟรี

โดยระบุถึงที่มาว่าเป็นข้อความที่ส่งให้กับพนักงานของ 3BB ลองพิจารณา ส่วนโปรของจริงจะออกในวันที่ 18 มกราคม (มีกระแสข่าวว่าจะส่งมอบเงินค่าใบอนุญาตไม่เกินวันที่ 15 มกราคม) ปรากฏว่าได้รับการวิพากษ์วิจารณ์พอสมควรว่า ข้อเสนอยังไม่ “ว้าว” หรือสร้างแรงดึงดูดมากเท่าไรเมื่อเทียบกับโปรโมชันของของเอไอเอส ดีแทค และทรู ที่ออกมาก่อนหน้านี้

ต้องรอดูว่า โปรโมชันของจริงที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะนี่อาจเป็นการ “โยนหินถามทาง” และอย่างน้อยก็ได้สร้างกระแสก่อนล่วงหน้า เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกใหม่ จากค่ายน้องใหม่ ที่ผู้บริหารยืนยันว่า “แสบไม่เบา”

ส่วนค่ายทรูเองก็ได้เตรียมซุ่มโปรโมชันเพื่อกวาดต้อนลูกค้า 2G ที่ใช้คลื่น 900 MHz ขึ้นอยู่กับว่าทรูจะยอมใช้กลยุทธ์ตาต่อตาฟันต่อฟัน ทุ่มเม็ดเงิน ออกโปรโมชัน ที่มีดีกรีเข้มข้นแค่ไหนในการดึงลูกค้าจากเอไอเอส ก็ล้วนแต่มีลุ้นทั้งสิ้น

]]>
62156
ทรูออนไลน์ ลงทุนวางระบบใยแก้วนำแสง (Fiber to the Home) ครั้งแรกในไทย https://positioningmag.com/54847 Thu, 29 Sep 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=54847

ทรูออนไลน์ ย้ำความเป็นนัมเบอร์วันตลาดบรอดแบนด์แท้จริง เปิดบริการ Ultra hi-speed Internet ความเร็วสูงสุด 100 Mbps ด้วยเทคโนโลยี FTTH (Fiber to the Home) สำหรับลูกค้าบ้านครั้งแรกในประเทศ หลังประสบความสำเร็จให้บริการแก่ลูกค้าองค์กร ชูจุดเด่นเทคโนโลยีทันสมัยด้วยระบบใยแก้วนำแสง สามารถเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อได้สูงสุดโดยไม่จำกัดระยะทาง ไม่ต้องใช้สายโทรศัพท์ ให้ความเสถียรทั้งดาวน์โหลดและอัพโหลดข้อมูลไฟล์ภาพขนาดใหญ่ รองรับการชม VDO Streaming ในรูปแบบ HD Video นำร่องเปิดบริการครอบคลุมหมู่บ้านระดับไฮเอ็นด์ คือ วินด์มิลล์พาร์ค นิชดาธานี และ เลคไซด์วิลล่า เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าด้วยราคาเดิม ที่ความเร็วตั้งแต่ 50 Mbps ด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 2,799 บาท/เดือน มั่นใจคุณภาพเหนือระดับ ราคาสุดคุ้มของทรูออนไลน์ สามารถเติมเต็มทุกประสบการณ์บนโลกอินเทอร์เน็ตได้สุดๆ

นายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการ ทรูออนไลน์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ทรูออนไลน์ ในฐานะผู้นำตลาดบรอดแบนด์เบอร์หนึ่งของไทย ได้พัฒนาและสรรหาเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อยกระดับตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในไทย ซึ่งปัจจัยสำคัญในการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะเน้นความเร็วสูงในการเชื่อมต่อข้อมูล โดยเทคโนโลยี FTTx โครงข่ายใยแก้วนำแสง กำลังเข้ามาเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทั้งด้านความเร็วและปริมาณความจุในการใช้งาน ดังนั้น ทรูออนไลน์ จึงนำเทคโนโลยีใหม่ FTTx มาให้บริการอัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสุด 100 Mbps แก่ลูกค้าบ้าน(FTTH) เป็นครั้งแรกในไทย ความโดดเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีระบบใยแก้วนำแสง คือ มีความเสถียรและความรวดเร็วในการใช้งาน โดยไม่จำกัดระยะทาง ซึ่งได้ติดตั้งและพร้อมให้บริการแล้วกว่า 560 อาคาร โดยนำร่องให้บริการโครงการหมู่บ้านระดับไฮเอ็นด์ ได้แก่ วินด์มิลล์พาร์ค, นิชดาธานี และ เลคไซด์วิลล่า และจะเดินหน้าขยายต่อในหมู่บ้านและคอนโดระดับไฮเอนด์จนครบ 12 แห่งภายในสิ้นปี

นายนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานบริการบรอดแบนด์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การนำเทคโนโลยีใหม่ FTTx มาให้บริการแก่ลูกค้าบุคคลครั้งนี้ เป็นปรากฏการณ์ใหม่ เขย่าตลาดบรอดแบนด์ให้มีความตื่นตัวอีกครั้ง เพราะจะสนองตอบไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ที่เน้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตเร็วและแรง โดยทรูออนไลน์ เจาะกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอ็นด์ ซึ่งต้องการความเสถียรในการเข้าอินเทอร์เน็ต ที่จะช่วยให้สามารถรับข้อมูลข่าวสารและสาระความบันเทิงได้อย่างลื่นไหล เต็มอรรถรสทุกเสี้ยววินาที รองรับการรับชม VDO Streaming ในรูปแบบ HD Video

ทรูออนไลน์ จะนำร่องให้บริการ Ultra hi-speed Internet ผ่านเทคโนโลยีใหม่ FTTH ภายในโครงการหมู่บ้านระดับไฮเอ็นด์ คือ หมู่บ้านวินด์มิลล์พาร์ค, หมู่บ้านนิชดาธานี และหมู่บ้านเลคไซด์ โดยได้จัดเป็นแพ็กเกจให้เลือกทั้ง แพ็กเกจ 50 Mbps ราคา 2,799 บาทต่อเดือน และ แพ็กเกจ 100 Mbps ราคา 4,999บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราค่าบริการเดียวกับ Ultra hi-speed Internet ผ่านเทคโนโลยี DOCSIS ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามากเลยทีเดียว

อนึ่ง ในครึ่งปีแรก ทรูออนไลน์ มีรายได้จากการให้บริการบรอดแบนด์จำนวน 5,126 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของครึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการเปิดตัวแพ็กเกจใหม่ของบริการ Ultra hi-speed Internet ทั้งนี้ ทรูออนไลน์สามารถเพิ่มยอดผู้ใช้บริการบรอดแบนด์รายใหม่สุทธิได้ 79,000 รายในครึ่งปีแรก ทำให้มีฐานผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 1.25 ล้านราย และยังมุ่งมั่นสรรหาบริการใหม่ๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มในการใช้งานให้กับลูกค้า รวมทั้งขยายพื้นที่บริการให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจและความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าชาวไทย

]]>
54847
ทรูมูฟ ติดจรวดชีวิตอิสระไร้สาย เอาใจลูกค้ายุคไฮ-สปีด Wi-Fi by TrueMove เร็วสุดถึง 8 Mbps https://positioningmag.com/54185 Fri, 25 Mar 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=54185

ทรูมูฟ ตอกย้ำผู้นำโมบายล์ ไฮสปีด อินเทอร์เน็ตและโครงข่าย Wi-Fi ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มอบประสบการณ์ออนไลน์ไร้สายที่คุ้มค่ายิ่งขี้น เปิดบริการ Wi-Fi by TrueMove ความเร็วสูงสุด 8 Mbps ครั้งแรกในไทย พร้อมทยอยปรับเพิ่มความเร็วอัตโนมัติให้ลูกค้าทรูมูฟแบบรายเดือนที่ใช้บริการ Wi-Fi by TrueMove มากกว่า 200,000 รายภายในกลางเดือนเมษายนนี้ พร้อมทุ่มเงินลงทุนมากกว่า 200 ล้านบาท เดินหน้าพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ย้ำภาพผู้นำตลาด Wi-Fi ที่เหนือกว่าด้วยประสิทธิภาพเครือข่ายความเร็วสูงสุด และจุดบริการ Wi-Fi ฮอตสปอตคุณภาพมากที่สุดกว่า 20,000 จุดทั่วประเทศ พร้อมบริการหลังการขายที่เหนือกว่า

นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด กล่าวว่า “การเปิดบริการ Wi-Fi by TrueMove ความเร็วสูงสุด 8 Mbps ครั้งแรกในไทย เป็นการยกระดับความคุ้มค่ายิ่งขึ้นให้กับลูกค้าทรูมูฟ ตอกย้ำความสำเร็จในการเป็นผู้ให้บริการมือถือรายแรกและรายเดียวที่นำกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์บุกเบิกผสานเครือข่าย Wi-Fi ให้บริการรวมในดาต้าแพ็กเกจของทรูมูฟ ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานดาต้าของลูกค้าสมาร์ทโฟนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมากกว่า 80% ของสมาร์ทโฟนรองรับการใช้งานเชื่อมต่อ Wi-Fi จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนลูกค้า Wi-Fi by TrueMove เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยปัจจุบันมีลูกค้าทรูมูฟที่ใช้งาน Wi-Fi by TrueMove จำนวนมากกว่า 200,000 ราย ซึ่งเป็นผลจากบริการที่เหนือกว่าด้านเครือข่ายคอนเวอร์เจนซ์ที่มีทั้ง 3G*/ Wi-Fi/ EDGE/ GPRS รวมทั้งความหลากหลายของดาต้าแพ็กเกจทรูมูฟซึ่งเป็นผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนที่มีให้เลือกได้ตามไลฟ์สไตล์การใช้งาน คือ

– แพ็กเกจรายเดือน Smart Pack 649 บาท : Wi-Fi 8 Mbps ไม่อั้น สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน
– แพ็กเกจ Net SIM 349 บาทต่อเดือน : สำหรับแอร์การ์ด ใช้งาน Wi-Fi 8 Mbps /EDGE /GPRS รวม 100 ชั่วโมง
– แพ็กเกจเสริมเฉพาะผู้ต้องการใช้งาน Wi-Fi : Wi-Fi 8 Mbps ไม่อั้น เพียง 100 บาทต่อเดือน

ทรูมูฟจะทยอยปรับเพิ่มความเร็วการใช้งาน Wi-Fi by TrueMove เป็น 8 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วสูงที่สุดในประเทศไทย ให้ลูกค้าทรูมูฟแบบรายเดือนที่ใช้งาน Wi-Fi by TrueMove ทุกรายภายในกลางเดือนเมษายนนี้ มั่นใจว่า การปรับเปลี่ยนมาตรฐานใหม่เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตไร้สายสูงขึ้นอีก 4 เท่าตัว ตลอดจนการใช้งาน Wi-Fi by TrueMove ที่สะดวก ใช้งานง่าย จะตอบสนองตอบโจทย์ไลฟ์ไสตล์ลูกค้ายุคไฮสปีดอย่างแน่นอน

นายนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานบริการบรอดแบนด์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายที่มีโครงข่าย Wi-Fi ใหญ่ที่สุดในประเทศ

กลุ่มทรูได้พัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสามารถยกระดับมาตรฐานความเร็วบริการ Wi-Fi by TrueMove ให้ลูกค้ายุคไฮสปีด สนุกกับชีวิตออนไลน์อิสระ ไร้สาย ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 8 Mbps ครั้งแรกในประเทศ และจะลงทุนขยายโครงข่ายเพิ่มในส่วนของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายมากกว่า 200 ล้านบาท ภายในปี 2554 เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า Wi-Fi ที่มีปริมาณการใช้งานสูงขึ้นผ่านสมาร์ทโฟน โดยขณะนี้กลุ่มทรูมีลูกค้าที่ใช้บริการ Wi-Fi by TrueMove รวมกว่า 550,000 ราย เติบโตจากปีที่แล้ว 130% ทั้งนี้ เป็นผลจากความโดดเด่นของคุณภาพโครงข่ายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยมอนิเตอร์และตรวจสอบจุดที่มีปัญหาตลอดเวลา จึงทำให้สัญญาณมีคุณภาพและความเสถียร และการมีพื้นที่บริการครอบคลุมมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยปัจจุบันมีฮอตสปอตคุณภาพถึงกว่า 20,000 จุดทั่วประเทศ รวมทั้งการให้บริการหลังการขายที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้ทั้งผ่าน ทรูมูฟแคร์ โทร 1331 และ ทรูออนไลน์แคร์ โทร 1686 ตลอด 24 ชั่วโมง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Wi-Fi by TrueMove และแพ็กเกจ Wi-Fi สุดคุ้มหลากหลาย ได้ที่ ทรูช้อปทุกสาขา, www.truemove.com, www.trueonline.com หรือ ทรูมูฟแคร์ โทร 1331

*บริการ 3G เป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงและพัฒนาโครงข่ายในบางพื้นที่เพื่อให้บริการของทรูมูฟดีขึ้น

]]>
54185
ทรูออนไลน์ ต่อยอดสุดคุ้มให้ลูกค้าท่องเน็ตจุใจ แถมเม้าท์สุดมันส์ทั้งในบ้าน นอกบ้าน https://positioningmag.com/53930 Mon, 24 Jan 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=53930

ทรูออนไลน์ มอบสิทธิพิเศษสุดคุ้มให้ลูกค้าเต็มอิ่มกับโลกออนไลน์ ต่อยอดให้ผู้สมัครใช้บริการไฮ-สปีดทุกแพ็กเกจตั้งแต่ 6 – 16 Mbps. รับฟรีทันที ไวไฟ เร้าท์เตอร์เข้าถึงเน็ตได้เต็มสปีดทุกที่ ทุกเวลา พร้อมเพิ่มความคุ้มค่ายิ่งขึ้น มอบสิทธิพิเศษทุกค่าบริการ 1 บาทแลกค่าโทรทรูมูฟได้ 1 บาท ยิ่งไปกว่านั้น สมัครพร้อมโทรศัพท์บ้านทรู รับฟรีค่าติดตั้งมูลค่า 3,584.50 บาท และรับค่าโทร 200 บาท/เดือน นาน 12 เดือน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2554 สนใจสมัครแพ็กเกจจากทรูออนไลน์ โทร 1686 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ เว็บไซต์ www.trueonline.com

นายนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป Wire-line Broadband Services Business บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทรูออนไลน์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดบรอดแบนด์ไทยด้วยบริการที่หลากหลายของแพ็กเกจ hi-speed Internet ให้ผู้ใช้บริการเลือกสมัครตามไลฟ์สไตล์การใช้งานในความเร็วขั้นต่ำ 6 Mbps. ที่ทรูออนไลน์สร้างสรรให้เป็นระดับมาตรฐานความเร็วสูงของตลาดบรอดแบนด์ประเทศไทย ล่าสุด ต่อยอดความคุ้มค่าให้ลูกค้าเข้าถึงโลกออนไลน์ได้เต็มอิ่มยิ่งขึ้น ทรูออนไลน์ มอบสิทธิพิเศษให้ผู้สมัครใช้งาน hi-speed Internet ทุกแพ็กเกจ ตั้งแต่ความเร็ว 6 – 16 Mbps. รับฟรีทันที Wi-Fi Router พิเศษยิ่งขึ้นสำหรับลูกค้าทรูมูฟ นำค่าใช้บริการ hi-speed Internet ทุกๆ 1 บาท มาแลกค่าโทรทรูมูฟได้ 1 บาทตามแพ็กเกจ (ต่อ 1 ใบแจ้งค่าใช้บริการ) เมื่อสมัครโปรแกรม All Together Bonus

นอกจากนี้ ทรูออนไลน์ ยังมอบความคุ้มค่ายิ่งขึ้น สำหรับลูกค้าที่สมัครใช้ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต ทุกแพ็กเกจ พร้อมเลขหมายโทรศัพท์บ้านทรู รับฟรีค่าติดตั้งมูลค่า 3,584.50 บาท และค่าใช้บริการโทรศัพท์บ้าน 200 บาท/เดือน นาน 12 เดือน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2554 สนใจสมัครแพ็กเกจจากทรูออนไลน์ โทร 1686 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ เว็บไซต์ www.trueonline.com

ทั้งนี้ ทรูออนไลน์ มั่นใจว่าด้วยความเร็วที่มีให้เลือกสรรอย่างหลากหลายตามต้องการ และสนุกกับการเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา จะช่วยให้ผู้ใช้งานไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ตจากทรูออนไลน์ได้สัมผัสประสบการณ์ท่องเน็ตที่ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์อย่างเต็มรูปแบบ ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มทรู ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี และบริการที่เปี่ยมคุณภาพ เพื่อตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ของกลุ่มอย่างต่อเนื่องต่อไป นายนนท์กล่าวสรุป

]]>
53930
ทรูออนไลน์ มอบของขวัญปีใหม่ สมัครวันนี้ ท่องเน็ตฟรี 1 เดือน พร้อมไวไฟฟรี 6 เดือน https://positioningmag.com/53753 Fri, 17 Dec 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=53753

แรงจริง เร็วจริง ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ตจากทรูออนไลน์ โดยคุณนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป มอบความคุ้มค่าต้อนรับปีใหม่ ให้ลูกค้าสนุกกับโลกออนไลน์แบบไร้ขีดจำกัด เพียงสมัครไฮ-สปีดอินเทอร์เน็ตทุกความเร็วรับสิทธิพิเศษ 2 ต่อทันที ต่อที่ 1 รับฟรีบริการไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต 1 เดือนแรก ต่อที่2 ฟรีบริการไวไฟ ความเร็ว 2 Mbps ไม่จำกัดชั่วโมงงานนาน 6 เดือน ตั้งแต่วันนี้ถึง – 20 มกราคม 2554 สนใจสมัครหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 1686 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเว็บไซต์ www.trueonline.com สำหรับลูกค้าปัจจุบันลงทะเบียนรับสิทธิ์ฟรีไวไฟ ความเร็ว 2 Mbps ไม่อั้นนาน 6 เดือนได้ภายใน 20 กุมภาพันธ์ 2554

]]>
53753
ทีโอที ส่ง “แก๊งเน็ตซิ่ง”ชวนติดเน็ตความเร็วสูง https://positioningmag.com/53751 Fri, 17 Dec 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=53751

นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) พร้อมคณะผู้บริหารนำทีม “แก๊งเน็ตซิ่ง” โดยมี ‘จอร์ช คลิกกระจาย’ จัดกิจกรรมเพื่อแนะนำโปรโมชั่นพิเศษเพียงติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงกับ ทีโอที หรือ สมัคร ทีโอที ไฮสปีด อินเตอร์เน็ต แรง คุ้ม โดนใจ 6 MB แค่ 590 บาท พร้อม ลุ้นรับ ซัมซุง เน็ตบุ๊ค NB 30 60 วัน 60 เครื่อง รวมมูลค่า 660,000 บาท และรับสิทธิทดลองใช้บริการ ทีโอที Wi-Fi 40 ชั่วโมง และรับส่วนลด 600 บาท ในการสั่งพิซซ่ากับ เดอะพิซซ่า คอมปานี สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.1100 TOT Contact Center

]]>
53751
ทรูออนไลน์ โชว์อัลตร้าไฮสปีดอินเทอร์เน็ต ความเร็ว 50 เมก ครั้งแรกในไทย https://positioningmag.com/52969 Mon, 06 Sep 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=52969

นายกุลฑล สายแสงจันทร์ (ซ้ายยืน) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บรอดแบนด์ บรอดคาสและมัลติมีเดีย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) นำทีมหนุ่มสาวยุคไฮสปีด อาทิ ดีเจภูมิ ตั้งสง่า, โบ เอเอฟ 5 และกูรูกีฬาชื่อดัง นายอดิสรณ์ พึ่งยา (แจ็คกี้) ร่วมสัมผัสประสบการณ์ออนไลน์เร็ว แรง สุดขีดระดับเวิล์ดคลาสกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 50 Mbps ครั้งแรกในประเทศไทย ในงาน “Beyond the Best by TrueOnline” พร้อมร่วมชมการถ่ายทอดสดฟุตบอล Premier League แบบ ไฮ-เดฟฟินิชั่น (HD) ผ่าน Ultra hi-speed Internet 50 Mbps ที่คมชัดเสมือนนั่งลุ้นติดขอบสนาม ณ พารากอน แฟชั่น แกลอรี่ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยาม พารากอน เมื่อเร็วๆ นี้

]]>
52969
อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ : ช่องว่างการตลาดสูง…ผู้ให้บริการเร่งพัฒนาโครงข่ายช่วงชิงความได้เปรียบ https://positioningmag.com/52740 Thu, 29 Jul 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=52740

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง1 หรือบรอดแบนด์ ก้าวมามีบทบาทสำคัญในการติดต่อสื่อสารแทนที่อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำที่อาจตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันได้ไม่มากนัก นอกจากนี้จากการที่อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ยังแสดงถึงโอกาสในการขยายตลาดได้อีกมาก ดังนั้นคาดว่าในปีนี้การลงทุนด้านโครงข่ายน่าจะถือเป็นภารกิจหลักของผู้ให้บริการ เพื่อที่จะรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น และเพื่อขยายขอบเขตการให้บริการอันจะนำมาซึ่งการบุกตลาดใหม่ก่อนคู่แข่ง อีกทั้งยังอาจช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มผู้ใช้เดิมที่มีมูลค่านับหมื่นล้านบาทได้ด้วย

แนวโน้มการใช้บริการ…นักท่องเน็ตต้องการความเร็วที่เพิ่มขึ้น

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดคอนเทนต์ และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่ช่วยเพิ่มลูกเล่น และความหลากหลายในการทำกิจกรรมบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าสู่เทคโนโลยี Web 2.0 ที่สนับสนุนการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ที่มีทั้งการเผยแพร่คลิปวีดีโอ การสร้างความสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย รวมถึงการเล่นเกมส์ออนไลน์แบบโต้ตอบกันได้ทันที (Interactive)

การใช้งานดังกล่าวย่อมต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วเพียงพอที่จะช่วยให้กระบวนการ ดาวน์โหลด และอัพโหลดเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ (narrowband) บางส่วนจึงหันไปใช้ บรอดแบนด์กันมากขึ้น ส่งผลให้ในปี 2552 จำนวนผู้ลงทะเบียนอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำลดลงอย่างต่อเนื่องจนมีจำนวนเพียง 742,000 ราย ในขณะที่จำนวนผู้ลงทะเบียนบรอดแบนด์ขยายตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2,295,000 ราย หรือมีอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งคือผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาด

นอกจากนี้ในตลาดบรอดแบนด์เอง ผู้ลงทะเบียนก็มีแนวโน้มปรับระดับความเร็วให้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4-5 Mbps จากเดิมที่นิยมที่ระดับต่ำกว่า 3 Mbps อีกทั้งยังพบว่า ผู้ลงทะเบียนบรอดแบนด์ร้อยละ 5.1 ใช้ความเร็วถึง 8 Mbps ซึ่งคาดว่าอนาคตอันใกล้น่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า นอกจากความต้องการของผู้บริโภคในการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วที่เพิ่มขึ้นแล้ว ปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้สัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วตั้งแต่ 3 mbps ขึ้นไป เติบโตอย่างก้าวกระโดด คือ กลยุทธ์การปรับระดับความเร็วบรอดแบนด์ให้แก่ลูกค้า โดยยังคงค่าบริการเท่าเดิม ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวอาจมีผลให้ผู้ให้บริการต้องเผชิญความยากลำบากในการเพิ่มรายได้ต่อเลขหมาย ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 700-725 บาท/ราย/เดือน ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549
นอกจากนี้การขยายตัวของบรอดแบนด์ที่รองรับการใช้อินเทอร์เน็ตในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย (wireless) ที่ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้หลายจุดภายในพื้นที่ที่มีสัญญาณ ส่งผลให้แต่ละปีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนผู้ลงทะเบียน โดยในปี 2552 การลงเบียนอินเทอร์เน็ต 1 ราย จะมีผู้ใช้ถึงประมาณ 6 คน ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้อัตราการเติบโตของรายได้ของผู้ให้บริการอาจไม่โดดเด่นมากนัก เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายของผู้ให้บริการในการที่จะแสวงหาตลาดใหม่เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ลงทะเบียน ควบคู่กับการนำเสนอบริการเสริมอื่น ซึ่งจะช่วยให้อัตราการเติบโตของรายได้มีทิศทางที่สดใสมากขึ้น

ตลาดผู้ใช้ใหม่…ยังมีช่องว่างในการขยายตลาดอีกมาก

แม้ว่าการใช้บรอดแบนด์จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้บรอดแบนด์ต่อจำนวนครัวเรือนทั้งหมด (Penetration Rate) ที่ร้อยละ 11.72 หรือ ใน 100 ครัวเรือนจะมีครัวเรือนที่ใช้บรอดแบนด์เพียง 12 ครัวเรือน จะเห็นได้ว่าตลาดยังมีช่องว่างสูงที่ผู้ให้บริการจะบุกตลาดเพื่อเพิ่มลูกค้าใหม่

โอกาสในตลาดบรอดแบนด์ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐาน การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของไทยที่นิยมมากที่สุด คือ การใช้เทคโนโลยี ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) ที่ต้องอาศัยการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนคู่สายโทรศัพท์พื้นฐานจำนวน 7.2 ล้านเลขหมาย โดยในจำนวนนี้ได้ถูกใช้ในการเชื่อมต่อบรอดแบนด์เพียงร้อยละ 29 ดังนั้นยังเหลืออีกร้อยละ 71 หรือกว่า 5 ล้านเลขหมายที่ผู้ให้บริการมีโอกาสที่จะขยายตลาดได้

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดใหม่ในกลุ่มนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ดำเนินธุรกิจบริการโทรศัพท์พื้นฐานอยู่ด้วยน่าจะได้เปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ให้บริการที่มีฐานลูกค้าในบริการโทรศัพท์พื้นฐานมาก โดยอาจใช้กลยุทธ์การตลาดแบบขายพ่วง (Bundling) เช่น การติดตั้งและการให้บริการบรอดแบนด์ในอัตราพิเศษหากเป็นลูกค้าในโทรศัพท์พื้นฐาน แต่อย่างไรก็ดีผู้ให้บริการรายอื่นอาจเข้ามาแข่งขันได้โดยเสนอบรอดแบนด์แบบไม่ต้องใช้เลขหมาย หากลูกค้าอยู่ในเขตพื้นที่สัญญาณของตน

ตลาดต่างจังหวัด…โอกาสทองท่ามกลางช่องว่างของตลาดที่แคบลงของผู้ใช้ในเมือง การใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง เช่น กรุงเทพและปริมณฑล และเขตเมืองใหญ่ในแต่ละภาค เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น
ทั้งนี้จากการที่คอมพิวเตอร์ถือเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังนั้นการแสวงหาตลาดใหม่ที่น่าจะเข้าทำตลาดได้ง่าย ผู้ให้บริการอาจมุ่งเป้าหมายไปยังครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์แต่ยังไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอันดับแรก โดยผลสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีของครัวเรือนในปี 2552 พบว่า ครัวเรือนกรุงเทพฯที่มีคอมพิวเตอร์ถึงร้อยละ 71.6 มีการใช้อินเทอร์เน็ต จึงเหลือช่องว่างในการทำตลาดเพียงร้อยละ 28.4 ของครัวเรือนกรุงเทพที่มีคอมพิวเตอร์ทั้งหมดหรือไม่เกิน 230,000 ครัวเรือน ในขณะที่ครัวเรือนต่างจังหวัดที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ยังไม่มีการอินเทอร์เน็ต

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ครัวเรือนภาคกลางน่าจะเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ทั้งในแง่รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่อยู่ที่ 20,952 บาท/เดือน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่ารายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนทั่วประเทศที่อยู่ที่ 20,903 บาท/เดือน ความพร้อมทางด้านโครงสร้างโทรคมนาคม เช่น สายโทรศัพท์พื้นฐาน รวมถึงยังเป็นภาคที่มีจำนวนครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์แต่ยังไม่ใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดถึงกว่า 580,000 ครัวเรือน จึงน่าจะเป็นตลาดที่ใหญ่และคุ้มค่าต่อการลงทุนและทำตลาด

เทคโนโลยีไวแม็กซ์ … อนาคตบรอดแบนด์ไร้สายของไทย

ไวแม็กซ์ (Worldwide Interoperability for Microwave Access : WiMAX) เป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลถึง 75 Mbps และส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้ไกล 50 กิโลเมตร ดังนั้นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจึงมีแนวคิดที่จะออกใบอนุญาตประกอบกิจการด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัดที่สายโทรศัพท์เข้าไม่ถึง รวมถึงเพื่อสนองความต้องการใช้บรอดแบนด์ที่มีระดับความเร็วเพิ่มขึ้นในเขตเมือง

ทั้งนี้เบื้องต้น กทช. มีแผนการที่จะจัดสรรใบอนุญาตไวแมกซ์คลื่นความถี่ 2.3 GHz และ 2.5 GHz โดยความถี่ 2.3 GHz จะจัดสรรเพื่อให้บริการเชิงพาณิชย์ โดยกำหนดการถือครองความกว้างคลื่นความถี่ (Bandwidth) รายละไม่เกิน 30 MHz ซึ่ง กทช. คาดว่าจะออกใบอนุญาตได้ภายในเดือนกันยายน 2553 ขณะที่ความถี่ 2.5 GHz จะจัดสรรเพื่อบริการสาธารณะในจังหวัดที่รายได้ต่อประชากรต่ำ ซึ่ง กทช. อาจจะควบคุมอัตราค่าบริการในระยะแรก โดยวางแผนว่าจะออกใบอนุญาตความถี่ดังกล่าวได้ในต้นปี 2554

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดบรอดแบนด์ไร้สายน่าจะเติบโตได้อีกมาก แต่ทั้งนี้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีการทำตลาดโมบายอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเปิดให้บริการ 3G ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G อาจได้เปรียบในแง่จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มากกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และความคล่องตัวในการใช้งานที่สูงกว่าเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับการใช้อินเทอร์เน็ตขณะเคลื่อนที่ แต่อย่างไรก็ดีด้วยจุดเด่นของเทคโนโลยีไวแม็กซ์ในด้านความเร็วที่เหนือกว่า 3G ถึง 30 เท่า รวมถึงการลงทุนด้านโครงข่ายที่ต่ำกว่า อีกทั้งยังครอบคลุมพื้นที่การให้บริการที่กว้างกว่า 3G ถึง 10 เท่า ดังนั้นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ได้รับใบอนุญาตไวแม็กซ์ อาจได้เปรียบด้านความยืดหยุ่นในการใช้กลยุทธ์ราคา เพื่อดึงดูดผู้ที่ต้องการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของเทคโนโลยีไวแม็กซ์

แข่งขันคึกคัก…เร่งลงทุนด้านเทคโนโลยีและโครงข่าย ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์การตลาด

ภาพรวมตลาดบริการอินเทอร์เน็ต ส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 95 ยังคงถือครองโดยผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 3 ราย โดยผู้ให้บริการดังกล่าวอาศัยความได้เปรียบจากการเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และเป็นเจ้าของโครงข่ายโทรคมนาคม จึงมีความยืดหยุ่นในการใช้กลยุทธ์ราคาได้มากกว่าผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่าย ที่ต้องเสียค่าเช่าสัญญาณให้ผู้ให้บริการรายหลัก ส่งผลให้ผู้ให้บริการรายเล็กบางรายอาจต้องออกจากตลาดไป หรืออาจหันไปเน้นเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม รวมถึงขยายบริการไปยังธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง

สำหรับปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การแข่งขันในตลาดบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตน่าจะเข้มข้นมากขึ้น โดยผู้ให้บริการแต่ละรายน่าจะทุ่มงบประมาณในการลงทุนด้านโครงข่าย และการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นสำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการที่ต้องขับเคี่ยวกันที่ความเร็ว และเพื่อขยายขอบเขตการให้บริการไปยังตลาดผู้ใช้ใหม่ให้ได้ก่อนคู่แข่ง โดยมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้มากขึ้น เช่น เทคโนโลยี PLC ที่ส่งข้อมูลผ่านสายไฟฟ้า เทคโนโลยี FTTX ที่ส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสง

ทั้งนี้คาดว่าตลอดปีนี้น่าจะมีเม็ดเงินลงทุนด้านโครงข่ายไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท ไม่นับรวมการลงทุนเทคโนโลยีไวแม็กซ์ที่ยังต้องติดตามกรอบเวลาที่แน่ชัด ซึ่งหากจัดสรรใบอนุญาตแล้ว คาดว่าระยะแรกผู้ได้รับใบอนุญาตจะเริ่มวางโครงข่ายในจังหวัดที่มีศักยภาพ และมีความต้องการสูง ด้วยงบลงทุนจังหวัดละ 400-500 ล้านบาท รวมถึงโครงการถนนไร้สายของคณะกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติ ซึ่งหากผ่านการพิจารณาในเดือนสิงหาคมนี้ คาดว่าจะก่อให้เม็ดเงินลงทุนถึงกว่า 15,000 ล้านบาท

ด้านกลยุทธ์การตลาด คาดว่า ผู้ให้บริการแต่ละรายจะนำเสนอโปรโมชั่นและบริการเสริมหลากหลายรูปแบบ เพื่อจับกลุ่มผู้ใช้ที่มีความต้องการแตกต่างกัน

สำหรับตลาดผู้ใช้ใหม่ มีทั้งการเจาะลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้งานระยะสั้น โดยเสนอบรอดแบนด์แบบไม่ต้องทำสัญญาผูกติด และการเจาะกลุ่มลูกค้าที่เริ่มทดลองใช้บรอดแบนด์ โดยจัดโปรโมชั่นที่เหมาะกับผู้ที่ใช้น้อย คิดค่าบริการตามปริมาณการใช้งาน ซึ่งจะกำหนดปริมาณการใช้สูงสุดไว้ให้เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย รวมถึงการติดตั้งบรอดแบนด์ที่ไม่ต้องใช้เลขหมาย ที่น่าจะได้รับความสนใจอย่างมาก

สำหรับตลาดผู้ใช้ทั่วไป คาดว่า ผู้ให้บริการจะชูจุดเด่นด้านความเร็วเป็นกลยุทธ์หลัก เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาที่จะกระทบรายได้ของผู้ให้บริการ โดยผู้ให้บริการที่มีกิจการที่เกี่ยวเนื่องอาจใช้กลยุทธ์ขายพ่วง เช่น ให้ลูกค้ารับสิทธินำค่าบริการอินเทอร์เน็ตมาแลกเป็นค่าบริการโทรศัพท์ได้ ควบคู่กับการนำเสนอบริการเสริม เช่น บริการติดตั้งกล่องรับสัญญาณเพื่อชมรายการโทรทัศน์ และเลือกชมภาพยนตร์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อเพิ่มรายได้ต่อเลขหมาย

สำหรับตลาดระดับบน ผู้ให้บริการจะเจรจาเป็นพันธมิตรกับลูกค้าองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิคมอุตสาหกรรม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเสนอบรอดแบนด์ความเร็วสูงพิเศษตั้งแต่ 30 Mbps ขึ้นไป พร้อมทั้งบริการเสริมอื่นๆ เช่น วีดีโอโฟน กล้องวงจรปิด ซึ่งสามารถเชื่อมผ่านคอมพิวเตอร์ได้

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ภาพรวมตลาดบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตปี 2553 น่าจะมีมูลค่าประมาณ 24,000-27,000 ล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 20.2-37.4 เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 41.7 หรือมีมูลค่าตลาด 19,916 ล้านบาท โดยที่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดเติบโตได้ คือ จำนวนผู้ลงทะเบียนใหม่ซึ่งคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นจนมาอยู่ที่ประมาณ 2.8-3.2 ล้านราย ซึ่งจะมีทั้งผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหม่ และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำที่เปลี่ยนมาใช้บรอดแบนด์

ส่วนปัจจัยด้านราคา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อัตราค่าบริการในแต่ละระดับความเร็วอาจปรับลดลงประมาณร้อยละ 15 แต่อย่างไรก็ดีแนวโน้มความต้องการใช้บรอดแบนด์ในระดับความเร็วที่เพิ่มขึ้น น่าจะลดแรงกระทบจากการปรับลดของราคา และน่าจะทำให้รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาโดยอยู่ในช่วง 700-725 บาท/เลขหมาย/เดือน

อย่างไรก็ดีในอนาคต เมื่อตลาดถึงจุดอิ่มตัว โดยที่เทคโนโลยีไร้สายที่ทำให้การลงทะเบียน 1 ราย สามารถรองรับผู้ใช้ได้หลายคนเป็นตัวเร่งให้การขยายตลาดเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น รวมถึงอัตราค่าบริการที่มีแนวโน้มลดลงตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จะเป็นสิ่งท้าทายผู้ให้บริการที่จะรักษาการเติบโตของรายได้ในระยะยาว โดยผู้ให้บริการอาจต้องแสวงหากลยุทธ์ตลาดใหม่ๆ ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำเสนอบริการเสริมอื่นๆ ที่จะช่วยเพิ่มรายได้ต่อเลขหมาย นอกจากนี้ยังควรให้ความสำคัญกับบริการหลังการขาย ความถูกต้องของการคิดค่าบริการที่อาจมีความซับซ้อนมากขึ้นจากการใช้กลยุทธ์ขายพ่วง รวมถึงการรักษาคุณภาพการให้บริการให้เป็นไปตามโฆษณาซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคร้องเรียนเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ซึ่งน่าจะสร้างความไว้วางใจให้แก่ผู้ใช้ได้ในระยะยาว

]]>
52740