Canned – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 30 May 2014 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตราลูกสาวต่อยอดอาหารเพื่อสุขภาพ เปิดตัวเต้าหู้ไข่ทอดพร้อมปรุง https://positioningmag.com/57955 Fri, 30 May 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=57955

บริษัท ไทย ทีเอเอ็น อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตราลูกสาวเปิดตัวนวัตกรรมเพื่อสุขภาพตัวล่าสุด “เต้าหู้ไข่ทอด” ในบรรจุภัณฑ์แบบกระป๋อง ที่งาน Thaifex World of Food Asia 2014 ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี เมื่อเร็วๆ นี้ ผลิตภัณฑ์ล่าสุดจากตราลูกสาวจะช่วยลดขั้นตอนในการเตรียมอาหารเมนูเต้าหู้ได้อย่างมืออาชีพ เพราะถูกคัดพิเศษมาในรูปแบบที่พร้อมปรุงเป็นอาหารหลากหลายเมนูที่ให้สามารถคงคุณค่าทางโภชนาการไว้อย่างครบถ้วน เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และความสะดวกของผู้ประกอบอาหาร

หลังจากเปิดตัวเต้าหู้ไข่พร้อมทานทั้งสองรสชาติมาเมื่อปลายปีที่แล้ว ตราลูกสาวยังคงมุ่งคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อตอบโจทย์เทรนด์การรักษาสุขภาพและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีในจำหน่ายในตลาด ครั้งนี้ตราลูกสาวหันมาเจาะกลุ่มตลาดใหม่เป็นครั้งแรก ด้วยผลิตภัณฑ์เต้าหู้ไข่ทอดพร้อมปรุง โดยมุ่งที่เจาะกลุ่มร้านอาหารรายใหญ่ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ และมีเมนูเต้าหู้ไว้ให้บริการลูกค้า

นาย อภิชา นิธิอนันตภร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย ทีเอเอ็น อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด กล่าว “ตราลูกสาวมุ่งคิดค้นอะไรใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน หลังจากที่เราทำเต้าหู้พร้อมทาน อาหารเพื่อสุขภาพที่ทั้งอร่อย แถมกินแล้วไม่อ้วนมาแล้ว ตอนนี้เรามีผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่จะมาตอบโจทย์ผู้ประกอบการทางด้านอาหารบ้าง เรียกได้ว่าเราเป็นตัวช่วยแบบมืออาชีพที่จะมาลดความยุ่งยากของการเตรียมเมนูเต้าหู้”

“จริงๆ แล้วการทอดเต้าหู้ เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพิถีพิถันมาก  ต้องระวังไม่ให้เต้าหู้แยกแตกจากกันเมื่อทอดเสร็จ แต่เราจะไม่พบปัญหาพวกนั้นเลยในเต้าหู้ไข่ทอดตราลูกสาว เพราะเราได้มีการปรับสูตรเต้าหู้ไข่ใหม่ให้เป็นเต้าหู้ไข่ที่ทอดแล้วไม่เละ มีชิ้นสวยงาม และสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด โดยที่เต้าหู้ยังคงรูปสวยและคงคุณค่าไว้ครบถ้วน เรานำเต้าหู้สูตรพิเศษ บรรจุลงในน้ำเพื่อคงความนุ่มและความอร่อยของเต้าหู้ เพียงแค่เปิดกระป๋องก็สามารถนำไปทำเมนูเต้าหู้แสนอร่อยได้สบายๆ และที่สำคัญเต้าหู้ไข่ทอดพร้อมปรุงสามารถเก็บไว้ได้นานถึงสองปี”

เต้าหู้ไข่ทอดพร้อมปรุงตราลูกสาว เลือกใช้บรรจุภัณฑ์แบบกระป๋องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มีการปนเปื้อนของสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ผ่านกระบวนการผลิตที่พิถีพิถัน โดยเลือกใช้วัตถุดิบคุณภาพเยี่ยมที่จะคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วน เต้าหู้ไข่ทอดพร้อมปรุงตราลูกสาวจำหน่ายในราคากระป๋องละ 45 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.daughterbrand.com หรือ www.facebook.com/daughterbrand

เกี่ยวกับตราลูกสาว

เต้าหู้ตราลูกสาว เป็นผลิตภัณฑ์เต้าหู้ไข่พร้อมทานเพื่อสุขภาพ ก่อตั้งโดยความร่วมมือ ของ น.ส.อารยา เอ ฮาร์เก็ต และนายอภิชา นิธิอนันตภร ผู้บริหารหนุ่มไฟแรง หลานชายผู้ผลิตและจำหน่ายเต้าหู้แบรนด์นางพยาบาล ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและมีประสบการณ์จากการทำธุรกิจเต้าหู้ตรานางพยาบาล จึงได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท ไทย ทีเอเอ็น อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด พัฒนาและวิจัยเพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์เต้าหู้ไข่พร้อมทาน ตราลูกสาว เพื่อตอบโจทย์ของความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และสะดวกตามคอนเซปต์แบรนด์ คือ “เพื่อสุขภาพที่ดี ทุกที่ทุกเวลา” (Healthy Anywhere….Anytime) โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพและคุณภาพที่ดี ถูกหลักอนามัยตามมาตรฐานสากล เพื่อการจำหน่ายในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.daughterbrand.com หรือ www.facebook.com/daughterbrand

]]>
57955
ตราลูกสาวเตรียมรุกตลาดไทยและต่างประเทศ เผยนวัตกรรมเต้าหู้พร้อมทานรับเทรนด์สุขภาพ ขยายช่องทางจัดจำหน่ายรับพฤติกรรมผู้บริโภค https://positioningmag.com/57791 Wed, 09 Apr 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=57791

ตราลูกสาวเผย เทรนด์สุขภาพเบาเบาสำหรับกลุ่มคนทำงาน รับปีใหม่ไทยด้วยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นเต้าหู้พร้อมรับประทานที่ได้มาตรฐานอันดับหนึ่งในไทยเตรียมเปิดตลาดใหม่รับเออีซี ทั้งลาว พม่า กัมพูชา หลังจากเริ่มรุกตลาดในไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่นเมื่อปีที่ผ่านมา รวมทั้งเน้นขยายช่องทางการจัดจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อชั้นนำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วและสุขภาพ พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาตัวแรก โดยมี ชมพู่อารยาเป็น แบรนด์แอมบาสเดอร์

เต้าหู้ตราลูกสาวเผยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Product) โดยใช้วัสดุผลิตกระป๋องชนิดพิเศษที่ทำให้บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์เต้าหู้ไข่ตราลูกสาวปราศจากสารปนเปื้อน 100 % โดยเผยกระแสสุขภาพเป็นเสียงหลักจากการคุยกับผู้บริโภคในตลาดประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพและหัวเมืองสำคัญ โดย 50% ของคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์คุณภาพ ในการเลือกซื้ออาหารพร้อมรับประทานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นาย อภิชา นิธิอนันตภร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย ทีเอเอ็น อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “จากกระแสสุขภาพในปี 2557 และวิถีชีวิตของคนเมืองวัยทำงาน รวมถึงยุคสังคมดิจิตอล เราพบว่า ผู้บริโภคในยามที่เร่งรีบต้องการอาหารที่ดูแลสุขภาพ มีรสชาติที่ดี และมีความสดใหม่ เราจึงริเริ่มนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ คงความสด และรสชาติอร่อย โดยมุ่งทำการตลาดที่เน้นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภควัยทำงานและแม่บ้านที่มีเวลาน้อย”

อัตตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ในปี 2556 อยู่ในเกณฑ์ดี โดยในปี 2557 เต้าหู้ตราลูกสาวได้มุ่งเป้าที่จะเติบโตอีก 200 %จากปีที่ผ่านมา และยังมุ่งสื่อสารกับกลุ่มคนวัยทำงานและแม่บ้านยุคใหม่ที่วิถีชีวิตเร่งรีบและมีเวลาน้อยแต่ต้องการอาหารที่มีคุณภาพครบ และขยายช่องทางการจัดจำหน่ายจากเดิมที่มีจำหน่ายเฉพาะ Supermarket และร้านค้าใหญ่ๆ โดยการเพิ่มร้านสะดวกซื้อเช่น 7- Eleven ,แม็กซ์แวลู, เถ้าแก่น้อยแลนด์ ร้านสะดวกซื้ออื่นๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วได้มากขึ้น ล่าสุดได้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน WE Fitness เพื่อเน้นย้ำถึงเทรนด์การรักษาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และไม่ทำให้อ้วน

นายอภิชา นิธิอนันตภร กล่าวต่อว่า “แนวทางการตลาดของเต้าหู้ตราลูกสาวในปีนี้จะเน้นที่ IMC ที่ จะเน้นทั้งสื่อออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันเพื่อการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่และแม่บ้านยุคดิจิตอลได้อย่างรวดเร็ว โดยเน้นการสร้างสัมพันธ์กับผู้บริโภคผ่านประสบการณ์การทานและสร้างความมั่นใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์คุณภาพของเรา โดย มีคุณชมพู่ ผู้บริหารคนสำคัญของบริษัทเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของเราเช่นเคย”

จากความสำเร็จในการเปิดตลาดในปีที่ผ่านมาทั้งในไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น ปีนี้เต้าหู้ตราลูกสาวเตรียมเปิดตลาดต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยจะเริ่มจาก ประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา ตามกระแสสุขภาพและความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากภูมิภาค และรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีที่กำลังจะมาถึง

เกี่ยวกับตราลูกสาว

เต้าหู้ตราลูกสาว เป็นผลิตภัณฑ์เต้าหู้ไข่พร้อมทานเพื่อสุขภาพ ก่อตั้งโดยความร่วมมือ ของ น.ส.อารยา เอ ฮาร์เก็ต และนายอภิชา นิธิอนันตภร ผู้บริหารหนุ่มไฟแรง หลานชายผู้ผลิตและจำหน่ายเต้าหู้แบรนด์นางพยาบาล ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและมีประสบการณ์จากการทำธุรกิจเต้าหู้ตรานางพยาบาล จึงได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท ไทย ทีเอเอ็น อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด พัฒนาและวิจัยเพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์เต้าหู้ไข่พร้อมทาน ตราลูกสาว เพื่อตอบโจทย์ของความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และสะดวกตามคอนเซปต์แบรนด์ คือ “เพื่อสุขภาพที่ดี ทุกที่ทุกเวลา” (Healthy Anywhere….Anytime) โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพและคุณภาพที่ดี ถูกหลักอนามัยตามมาตรฐานสากล เพื่อการจำหน่ายในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

เต้าหู้ตราลูกสาวมีด้วยกัน 2 รสชาติ ได้แก่ รสเต้าหู้ไข่ทรงเครื่องและรสเต้าหู้ไข่ผัดกะเพรา จำหน่ายราคากระป๋องละ 39 บาท และยังผลิตในรูปแบบแพ็ค 8 กระป๋องในบรรจุภัณฑ์สวยงามเพื่อใช้เป็นของฝากได้อีกด้วยเหมาะกับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย วางจำหน่ายทั่วประเทศในร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำทั่วไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.daughterbrand.com หรือ www.facebook.com/daughterbrand

]]>
57791
เทพผดุงพรมะพร้าวเดินหน้าขยายโอกาสสู่ตลาดตะวันออกกลาง ลงสนาม GULFOOD 2014 นำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างโอกาสจับจองพื้นที่ส่งออก https://positioningmag.com/57707 Mon, 17 Mar 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=57707

บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรรายใหญ่ของไทย เดินหน้าปักธงขยายตลาดต่างประเทศ บินลัดฟ้าเดินสายร่วมงานแสดงนวัตกรรมอาหารระดับโลก ประเดิมร่วมงาน Gulfood 2014 หนึ่งในมหกรรมแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ มหานครดูไบ ประเทศสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีน้ำมะพร้าวและกะทิสำเร็จรูปเป็นสินค้าหลักที่คู่ค้าอาหรับให้ความสนใจมากที่สุด

การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติแห่ง UAE ในงาน Gulfood 2014 ปีนี้ นับเป็นการขยายตลาดสู่ดินแดนตะวันออกกลางอย่างต่อเนื่องของบริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัดเป็นปีที่ 2 ในการเข้าร่วมมหกรรมแสดงนวัตกรรมสินค้าอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยมีบริษัทผู้ผลิตแถวหน้ากว่า 4,500 แห่ง จาก 66 ประเทศทั่วโลก ภายใต้แบรนด์สินค้าชั้นนำกว่า 20,000 แบรนด์ ที่ต่างก็เน้นสร้างจุดขายให้กับสินค้า เพื่อให้ได้แต้มต่อในการแข่งขันมาเสนอสินค้าให้กับผู้เข้าร่วมงานในเวทีนี้อย่างเต็มที่

นายอภิศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด หรือ TCC เปิดเผยว่า ตลาดตะวันออกกลางโดยฉพาะในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ หรือ (Gulf Cooperation Council: GCC) กำลังเป็นที่จับตามองจากผู้ผลิตจากทั่วโลก ในฐานะเป็นตลาดเปิดใหม่ โดยเฉพาะสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE: United Arab Emirates ซึ่งเป็นตลาดที่มีขีดความสามารถสูง ขณะที่มีข้อจำกัดทางภูมิศาตร์รายล้อมไปด้วยทะเลทราย ทำให้การบริโภคภายในประเทศต้องนำเข้าสินค้าและอาหารจากภาคพื้นต่างๆ เป็นหลัก ซึ่งถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่มี ความเป็นไปได้สูงในการขยายตลาดไปยังประเทศในแถบนี้

สินค้าของเทพผดุงพรมะพร้าวที่คู่ค้าตะวันออกกลางให้ความสนใจมากที่สุดจากการเข้าร่วมงาน Gulfood 2014 คือ น้ำมะพร้าว กะทิ และเครื่องปรุงต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่สนใจสั่งผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ชาวเกาะ และให้บริษัทผลิตให้ในลักษณะของ OEM ตามสเปคที่กำหนด ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับการเข้าร่วมงานGulfood เมื่อปี 2013 การเข้าร่วมงานในปีนี้นับว่า บริษัทสามารถขยายฐานการค้าและทำให้แบรนด์ชาวเกาะเป็นที่รู้จักในกลุ่มคู่ค้าตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

“โอกาสในการขยายตลาดที่เพิ่มขึ้นนี้ เป็นไปตามการเติบโตของร้านอาหารไทยที่มีมากขึ้น เฉพาะที่สาธารณรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ก็มีมากกว่า 200 ร้านแล้วในขณะนี้ จาการเจรจาเสนอขายสินค้าในเบื้องต้น เราคงต้องพิจารณาด้านการวางแผนการผลิต การบริหารต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากสเปคเฉพาะของสินค้าที่ลูกค้ากำหนด ทั้งด้านปริมาณ คุณภาพสินค้า รวมถึงชนิดของบรรจุภัณฑ์และระดับราคา ซึ่งหากสามารถปิดการขายได้ตามคำสั่งซื้อจากการเจรจาการค้าในเบื้องต้นได้ ก็จะทำให้การขยายตลาดในภูมิภาคนี้เป็นไปตามเป้าที่ได้วางไว้” นายอภิศักดิ์ กล่าวและเสริมว่า “นอกจากงานมหกรรมสินค้าอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติของ Gulfood แล้ว ล่าสุดเรายังได้ตอบรับการเข้าร่วมงาน Foodex Japan 2014 งานแสดงนวัตกรรมอาหารนานาชาติญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยวัตถุประสงค์หลักของการเข้าร่วมงานเพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาด และพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้ากับฐานลูกค้าเดิม รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการขยายตลาดในแนวดิ่งด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่”

ปัจจุบัน บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด ถือเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารประเภทกะทิสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวในรูปแบบต่างๆ เพื่อการส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 1ของโลก ร่วมด้วยเครื่องปรุงรส น้ำพริกแกง น้ำจิ้ม และผักผลไม้แปรรูปชนิดต่างๆ ภายใต้ตราสินค้า “ชาวเกาะ” “แม่พลอย” และ “ยอดดอย” โดยมีสัดส่วนการส่งออกต่อการจำหน่ายในประเทศในอัตราร้อยละ 80:20 ครอบคลุมกลุ่มลูกค้ากว่า 27 ประเทศทั่วโลก โดยสัดส่วนการจัดจำหน่ายในตลาดหลักประกอบด้วย สหรัฐอเมริกาและแคนาดาร้อยละ 55 ประเทศในกลุ่มโอเชเนีย (ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะ) ร้อยละ 16 เอเชียแปซิฟิก (รวมจีนและญี่ปุ่น) ร้อยละ 15 ประเทศในเขตทวีปยุโรปร้อยละ 13 โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายรวมทั้งสิ้น 4,500 ล้านบาทคิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 7% แบ่งเป็นสัดส่วนยอดขายแบรนด์ชาวเกาะ 70% แม่พลอย 29% และยอดดอย 1%

“การเดินสายโรดโชว์เข้าร่วมงานมหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในระดับนานาชาติ ร่วมด้วยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ถือเป็นกลยุทธ์หลักที่เราทำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งด้วยแนวทางนี้ ทำให้เราสามารถก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว และนำสิ่งใหม่ๆ ที่พบเห็นมาปรับใช้และพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงใจอยู่ตลอดเวลา” นายอภิศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

]]>
57707
เอส เอฟ มิวสิค ซิตี้ ชวนร่วมร้อง เล่น เต้น กิน ในกิจกรรม “Sealect Tuna สนุกได้ทุกวัน มันส์ได้ทุกคน!!” https://positioningmag.com/55637 Tue, 04 Sep 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55637

เอส เอฟ มิวสิค ซิตี้ และบริษัท ธีร์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้จัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์ “ซีเล็ค” ร่วมจัดงาน “Sealect Tuna สนุกได้ทุกวัน มันส์ได้ทุกคน!!” เพื่อให้กับลูกค้าได้ร่วมร้อง เล่น เต้น กิน กันอย่างสุดมันส์แบบเอ็กซ์คลูซีฟ และยังเปิดตัวภาพลักษณ์ใหม่ของ ซีเล็ค ทูน่า ด้วยรสชาติหลากหลายถึง 7 ชนิด ที่มาพร้อมกับโลโก้ใหม่และแพคแกจที่เก๋ไก๋ที่ เอส เอฟ มิวสิค ซิตี้ ชั้น 7 ศูนย์การค้ามาบุญครอง

บรรยากาศความสนุกสนานเริ่มต้นขึ้นเมื่อพิธีกรสุดเท่ โบ ธนากร ชวนผู้เข้าแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 ทีมเล่นกิจกรรมกันขึ้นมาจับสลาก สองทีมไหนจับได้คำว่า “ซีเล็ค” รับไปเลยทีมละ 5 คะแนน กิจกรรมต่อไปชื่อว่า “Music Hunt” คัดตัวแทนรอบละ 10 คน และใบ้เพลงพร้อมกันทุกทีม!!  สนุกสนานกันเต็มที่พร้อมกับไฮไลท์ของงานในครั้งนี้ น้องปันปัน สุทัตตา แขกรับเชิญสุดพิเศษที่มาพร้อมกับเพลงเธอคือของขวัญ ที่งานนี้ร้องเองเต้นเองแบบหน้าใสเสียงใสเล่นเอาลูกค้าเคลิ้มไปตามกัน

ตบท้ายด้วยกิจกรรมการแข่งทำอาหารกับเมนูพิเศษ “พล่าซีเล็คทูน่า” ซึ่งงานนี้ ปัน ปัน โชว์ความเป็นแม่ครัวสุดฤทธิ์เพื่อพิชิตรางวัล SF Entertainment Package และ Gift Set Sealect Tuna ต้องเรียกได้ว่าจบงานนี้ทั้งลูกค้าและดาราอิ่มทั้งท้องอิ่มทั้งใจกันไปเลย ติดตามกิจกรรมดีดีอย่างนี้ที่มีให้เฉพาะลูกค้า เอส เอฟ เท่านั้น!!

เตรียมพบกับเมนูซีเล็คทูน่า เมนูใหม่พิเศษเฉพาะที่ เอส เอฟ มิวสิค ซิตี้ และ เอส เอฟ สไตร์ค โบว์ล ทุกสาขา ได้เร็วๆนี้

]]>
55637
ซีเล็คทูน่า ปรับโฉมใหม่ พร้อมจัดแคมเปญ “กินปลาได้บ่อย อร่อยได้ทุกวัน” https://positioningmag.com/55333 Thu, 28 Jun 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55333

กรุงเทพฯ, 26 มิถุนายน 2555 – บริษัท ธีร์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ทำการตลาด โฆษณาประชาสัมพันธ์และ             จัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์ “ซีเล็ค” ในเครือบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ           ทียูเอฟ เปิดตัวซีเล็ค ทูน่าภาพลักษณ์ใหม่ ปรับโลโก้และบรรจุภัณฑ์ให้มีความเป็นสากลและพรีเมียมยิ่งขึ้น พร้อมทุ่มงบกว่าร้อยล้านบาทจัดแคมเปญ “กินปลาได้บ่อย อร่อยได้ทุกวัน” มุ่งขยายการรับรู้ของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เชื่อมั่นยอดขายโต 20% ภายในปี 2555 และยังครองตำแหน่งผู้นำตลาดทูน่ากระป๋องในไทยอย่างต่อเนื่อง

นายวิชัย เอี่ยมแสงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธีร์  โฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า “การปรับภาพลักษณ์ของซีเล็ค ทูน่า ทั้งโลโก้และบรรจุภัณฑ์ในครั้งนี้เพื่อตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำของเราในการริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋อง ซีเล็ค ทูน่าโฉมใหม่นี้จึงมีความเป็นสากลและพรีเมียมยิ่งขึ้น                ที่สำคัญ เราได้ใช้สีที่ต่างกันตามชนิดของผลิตภัณฑ์เพื่อความสะดวกของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและจดจำได้ง่ายขึ้น โดยเราได้เตรียมงบประมาณกว่าร้อยล้านบาทในการจัดกิจกรรมต่างๆ ผ่านกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบ 360 องศา ภายใต้แคมเปญ “กินปลาได้บ่อย อร่อยได้ทุกวัน” ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมโรดโชว์ การใช้สื่อออนไลน์ รวมถึงการเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ที่ต้องการสื่อให้เห็นว่า  ซีเล็คทูน่าสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนูทั้งอาหารไทยและอาหารนานาชาติ โดยนำมาทดแทนเนื้อ หมู ไก่ ได้ในทุกเมนู เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ เพราะเมนูปลาเป็นอาหารที่ทานได้ทุกวัน  และสามารถสร้างสรรค์เมนูที่แปลกใหม่ได้มากมายเป็นการเพิ่มสีสันความอร่อยได้ทุกวันด้วย”

ซีเล็ค ทูน่า โฉมใหม่มี 7 ชนิด อาทิ ซีเล็คทูน่าสเต๊กในน้ำเกลือในกระป๋องสีฟ้า ซีเล็คทูน่าสเต๊กในน้ำมัน            ถั่วเหลืองในกระป๋องสีส้ม ซีเล็คทูน่าสเต๊กในน้ำแร่ในกระป๋องสีขาว ซีเล็คทูน่าสเต๊กในน้ำมันดอกทานตะวันในกระป๋องสีทอง ซีเล็คทูน่าแซนวิชในน้ำเกลือในกระป๋องสีม่วง ซีเล็คทูน่าแซนวิชในน้ำมันถั่วเหลืองในกระป๋องสีเหลือง และทูน่าแซนวิชในน้ำแร่ในกระป๋องสีเขียว

ซีเล็ค ทูน่า นับเป็นแบรนด์ระดับคุณภาพที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในไทยอย่างยาวนานกว่า 20 ปี     ซีเล็ค ทูน่าโฉมใหม่จึงเน้นให้เห็นถึงตำนานความอร่อยของซีเล็คด้วยโลโก้ที่ปรับเปลี่ยนให้มีปีคริสตศักราชที่เริ่มก่อตั้ง (1992) เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพที่สั่งสมมานาน ตัวอักษรอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินเข้มซึ่งเป็นตัวแทนของสีน้ำทะเล โดยด้านบนยังคงริ้วน้ำอันเป็นเอกลักษณ์เดิมของซีเล็คไว้ สำหรับบรรจุภัณฑ์ใช้ภาพคนจับปลาทูน่ากลางทะเลเป็นภาพขาวดำเพื่อสื่อถึงความเชี่ยวชาญด้านปลาทูน่าของซีเล็ค และตอกย้ำถึงการใช้ปลาสดจากทะเล คุณภาพเกรด A คัดพิเศษเป็นวัตถุดิบในการผลิต อีกด้านของบรรจุภัณฑ์กล่าวถึงประวัติและจุดยืนของซีเล็คที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านคุณภาพ ความอร่อยและความปลอดภัย ด้านบนของบรรจุภัณฑ์เป็นภาพตัวอย่างอาหารเพื่อบ่งบอกลักษณะของปลาทูน่าที่อยู่ในกระป๋อง 

“ด้วยไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ จึงต้องการอาหารที่รับประทานง่าย แต่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลให้การบริโภคปลากระป๋องในไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการเติบโตรวมของกลุ่มทูน่ากระป๋องอยู่ที่ 20% ซึ่งซีเล็คยังครองความเป็นอันดับหนึ่งด้วยอัตราการเติบโตมากกว่า 30% และมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 45% และเราเชื่อมั่นว่าหลังจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้เคมเปญดังกล่าว รวมถึงการพัฒนาช่องทางจำหน่ายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม ซีเล็คจะมียอดขายเพิ่มขึ้นอีก 20% ภายในปี 2555 นี้ และทำให้เรายังคงครองแชมป์ในตลาดทูน่ากระป๋องได้อย่างแน่นอน” คุณวิชัยกล่าว

ค้นหาเมนูอาหารที่หลากหลายเพื่อมื้อโปรด 365 วัน จากซีเล็คทูน่า ได้ที่ www.facebook.com/sealectbrand หรือ www.sealectbrand.com พร้อมเปิดรับความอร่อยหลากหลายจากซีเล็คโฉมใหม่ได้แล้วที่ร้านค้าทั่วไป ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ     

]]>
55333
ปุ้มปุ้ย555 แน่นเนื้อปลา เข้มข้นเต็มซอส https://positioningmag.com/55282 Tue, 22 May 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55282

ปุ้มปุ้ย 555 แน่นเนื้อปลา เข้มเต็มซอส ด้วยสูตรใหม่เพิ่มซอสมะเขือเทศเข้มข้นกว่าเดิม และคัดสรรคุณภาพปลาเนื้อแน่น แต่ขายในราคาเดิมถูกใจในยุคของแพงเพื่อหวังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในยุคค่าครองชีพสูง โดยมูลค่าตลาดรวมของปลากระป๋องมีมูลค่า 6,200 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายโต 10% จากปีที่แล้ว

นายไกรเสริม โตทับเที่ยง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคประสบปัญหาค่าครองชีพเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาเช่นนี้ ปลากระป๋องปุ้มปุ้ยเองไม่มีแนวทางปรับขึ้นราคาสินค้า ในทางตรงกันข้ามปุ้มปุ้ยมุ่งสนองความต้องการของผู้บริโภคที่จะบริโภคสินค้าคุณภาพในราคาประหยัดโดยได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ปลาแมคเคอเรลในซอสมะเขือเทศเข้มข้นพิเศษ 

ทั้งนี้ปุ้มปุ้ย 555 สูตรใหม่ยังเน้นซอสมะเขือเทศเข้มข้นกว่าเดิม พร้อมคัดสรรคุณภาพปลาเนื้อแน่น เพื่อให้มีรสชาติที่อร่อยเข้มข้นกว่าเดิม ปลอดภัยต่อผู้บริโภคเพราะไม่มีสารกันบูด และไม่มีวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ในราคา 16.50 บาท จากราคาปกติ 18 บาท เพื่อมุ่งหวังเป็นทางเลือกในการลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนสำหรับผู้บริโภค กลุ่มแม่บ้าน คนทำงาน และนักศึกษาที่อาศัยอยู่หอพัก

“ผลิตภัณฑ์ปลาแมคเคอเรลในซอสมะเขือเทศเข้มข้นพิเศษ # 555 ตราปุ้มปุ้ย ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ครั้งแรกในงาน ThaiFex ที่อิมแพค เมืองทองธานี ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 โดยจัดโปรโมชั่นพิเศษในงาน ซื้อ 5 กระป๋อง ในราคาพิเศษเพียง 55 บาท และยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจในบูธปุ้มปุ้ย ตั้งแต่เวลา 11 โมงเป็นต้นไป” นายไกรสรกล่าว

นายไกรเสริม กล่าวต่อว่าปัจจุบันมูลค่าตลาดรวมของปลากระป๋องมีประมาณ 6,200 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นหากเกินความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจของผู้บริโภค โดยปีนี้ปลากระป๋องปุ้มปุ้ยตั้งเป้ามียอดขายเติบโตเพิ่มขึ้น 10 % โดยเน้นกลยุทธ์เพิ่มคุณภาพสิ้นค้าให้ดีขึ้น พร้อมทั้งควบคุมต้นทุนการผลิตอย่างรอบคอบเพื่อนำมาซึ่งราคาสมเหตุสมผลเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคในครัวเรือน

ติดตามข่าวสาร และข้อมูลเพิ่มเติมของปุ้มปุ้ยได้ที่ www.pumpuibrand.com 

]]>
55282
ปลาทูน่ากระป๋องปี 52 : ขยายตัวร้อยละ 7.9 …ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 51 https://positioningmag.com/46577 Wed, 04 Mar 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46577

ปลาทูน่ากระป๋องเป็นหนึ่งในไม่กี่สินค้าที่ได้รับอานิสงส์จากวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากคาดว่าในปี 2552 การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากปริมาณการบริโภคปลากระป๋องของตลาดต่างประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปลาทูน่ากระป๋องเป็นสินค้าอาหารที่นิยมบริโภคของชาวตะวันตก ราคาไม่แพงและมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้นในภาวะที่ผู้บริโภคต้องประหยัด คนตะวันตกจะหันไปทำอาหารรับประทานเองกันมากขึ้น ปลาทูน่ากระป๋องก็เป็นหนึ่งในเมนูยอดนิยม นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2552 เงินบาทที่อ่อนค่าและมีเสถียรภาพมากขึ้น รวมทั้งราคาปลาทูน่าแช่แข็งที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้บรรดาผู้ประกอบการผลิตปลากระป๋อง โดยเฉพาะโรงงานผลิตขนาดใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้น

แม้ว่ามูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในช่วงเดือนมกราคม 2552 จะลดลงเหลือเพียง 104.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 แล้วลดลงถึงร้อยละ 24.6 อันเป็นผลมาจากผู้สั่งซื้อในต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อมาตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ทั้งนี้เพื่อรอดูแนวโน้มราคาปลาทูน่าในตลาดโลกที่ตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรง อย่างไรก็ตาม ราคาปลาทูน่าในตลาดเริ่มปรับตัวขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ทั้งนี้เนื่องจากมาตรการลดปริมาณการจับปลาทูน่า ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ประเทศผู้ซื้อปลาทูน่ากระป๋องจะกลับมาซื้อปลาทูน่ากระป๋องตามปกติ ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประเทศผู้นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องสำคัญของไทยใช้กลยุทธ์ปรับลดราคาจำหน่ายปลีกปลาทูน่ากระป๋องเพื่อกระตุ้นยอดจำหน่ายภายในประเทศ ทำให้หันมาต่อรองราคารับซื้อปลาทูน่ากระป๋องจากไทย ดังนั้นคาดว่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณมากกว่าราคา บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องทั้งปี 2552 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 617,100 ตัน มูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2551 แล้วทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 และร้อยละ 7.9 ตามลำดับ ซึ่งนับว่าชะลอตัวเมื่อเทียบกับการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี 2551 กล่าวคือ มูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในปี 2551 เท่ากับ 1,853.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2550 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42.4

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในปี’52…ส่งออกเติบโตในอัตราที่ชะลอตัว
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 มีดังนี้
1.ราคาปลาทูน่าปรับลดลง เพิ่มภาระผู้ประกอบการ
ราคาปลาทูน่าปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี 2551 กล่าวคือ ราคาปลาทูน่าเฉลี่ยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 อยู่ในระดับ 1,173 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เมื่อเทียบกับในช่วงเดือนตุลาคม 2551 ที่ราคาปลาทูน่าพุ่งสูงขึ้นไปอยู่ในระดับ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ซึ่งการที่ราคาปลาทูน่าในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ในระยะสั้นนั้นประเทศผู้นำเข้าต่างชะลอการซื้อ ทั้งนี้เพื่อรอดูราคา อย่างไรก็ตามในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ราคาปลาทูน่าปรับขึ้นไปอยู่ในระดับ 1,000-1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เนื่องจากประเทศที่จับปลาทูน่ามีมาตรการลดปริมาณการจับปลาทูน่า ดังนั้นคาดว่าราคาปลาทูน่าในตลาดโลกจะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ระยะที่เหลือของปีนี้ประเทศผู้นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจะหันกลับมาซื้อปลาทูน่ากระป๋องเช่นเดิม คาดการณ์ว่าราคาปลาทูน่าเฉลี่ยในปี 2552 จะอยู่ในกรอบ 1,000-1,300 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เทียบกับราคาเฉลี่ยในปี 2551 ที่อยู่ในระดับ 1,585 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผู้ประกอบการบางรายประสบ ก็คือ ผู้ประกอบการบางรายแบกภาระสต็อกวัตถุดิบปลาทูน่าและปลากระป๋องที่ผลิตแล้วรอส่งมอบ โดยผู้ผลิตและผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องทั้งรายใหญ่และรายย่อยประเมินว่าในช่วงต้นปี 2552 ไทยมีปริมาณสต็อกวัตถุดิบปลาทูน่าเพื่อใช้ในการผลิตปลาทูน่ากระป๋องเพื่อการส่งออกที่ซื้อไว้ในช่วงที่ราคาสูง รวมกันไม่ต่ำกว่า 12,000-15,000 ตัน และสต็อกปลาทูน่ากระป๋องที่ลูกค้าไม่ยอมรับการส่งมอบไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัน ทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องอาจต้องประสบกับภาวะขาดทุนจากการด้อยค่าของสินค้าคงเหลือ หลังจากที่ราคาปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งมีความผันผวน

นอกจากปัญหาการขาดทุนของสต็อกวัตถุดิบแล้ว ผู้ประกอบการยังเผชิญปัญหาจากการที่ลูกค้าขอชะลอการรับมอบสินค้าในคำสั่งซื้อที่ทำสัญญาซื้อขายกันไปแล้ว ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2551 ประเทศผู้นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องขอชะลอการส่งมอบโดยขอต่อรองราคาลงจากเดิม ขอชะลอการจ่ายเงินคำสั่งซื้อเก่า และขอเพิ่มระยะเวลาการให้เครดิตเพื่อชำระเงินสำหรับคำสั่งซื้อใหม่

ซึ่งผลกระทบจากทั้งสองปัจจัยข้างต้น ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจปลาทูน่ากระป๋องต้องเร่งปรับตัว ในการแก้ปัญหาผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องบางรายใช้วิธีลดกำลังการผลิต หรือใช้วิธีการเจรจาต่อรองเพื่อส่งมอบสินค้า ทั้งนี้เพื่อลดภาระสต็อกและค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาวะกดดันทางด้านราคาปลาทูน่ากระป๋องจะมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากราคาปลาทูน่าในตลาดโลกเริ่มกลับมาปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2552

นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2552 ประเทศทั้งในยุโรปและญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับลดราคาจำหน่ายปลีกปลาทูน่ากระป๋องประมาณร้อยละ 10.0 ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นยอดการจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋อง เนื่องจากเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อของผู้บริโภค ซึ่งการปรับลดราคาจำหน่ายทำให้ผู้นำเข้าของทั้งยุโรป และญี่ปุ่นต้องปรับลดราคารับซื้อจากผู้ส่งออกไทยด้วย แม้ว่าสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลงตั้งแต่ปลายปี 2551 ทำให้คาดหมายว่าไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในไทยมากนัก โดยแม้ว่าผู้ประกอบการบางรายอาจจะเผชิญปัญหาขาดทุนจากการสต็อกวัตถุดิบ และการต่อรองราคาจากประเทศคู่ค้า แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตและผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องก็ได้ปรับตัวโดยการรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าไม่เกิน 2 เดือน ลดภาระความเสี่ยงจากความผันผวนของทั้งราคาน้ำมันและราคาปลาทูน่ากระป๋อง จากเดิมผู้ส่งออกรับคำสั่งซื้อล่วงหน้า 6 เดือน ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะถูกชะลอหรือยกเลิกคำสั่งซื้อ หากราคาที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้าสูงมากเมื่อเทียบกับราคาต้นทุนปัจจุบัน

2.อานิสงส์จากการเปิดเขตการค้าเสรี จากความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย หลังจากปี 2551 ไทยส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังออสเตรเลียโดยไม่มีการกำหนดโควตานำเข้า และอัตราภาษีนำเข้าลดลงเหลือร้อยละ 0 ทำให้การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปออสเตรเลียขยายตัวอย่างมาก (จากที่ในปี 2548 ปลาทูน่ากระป๋องเป็นสินค้าที่มีมาตรการป้องกันพิเศษ กำหนดโควตานำเข้า 21,366,277 กิโลกรัม ในปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 24,737,136 กิโลกรัม อัตราภาษีปรับลดลงจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 2.5 ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา และเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ปี 2550 หากมีการนำเข้าเกินโควตาต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5)

นอกจากออสเตรเลียแล้วความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ก็ส่งผลให้การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังนิวซีแลนด์ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน แม้ว่ามูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังนิวซีแลนด์ยังไม่มากนัก แต่ก็มีอัตราการขยายตัวที่น่าสนใจ

3.การขยายตัวของการส่งออกไปยังประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกา ปัจจุบันการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยมีการขยายตัวในตลาดใหม่ โดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ และสหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ และประเทศในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะแอฟริกาใต้ แอลจีเรีย และอังโกลา แม้ว่าปัจจุบันมูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังประเทศเหล่านี้จะยังไม่มากนัก แต่ก็มีอัตราการขยายตัวของการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

4.อย่างไรก็ตามการแข่งขันแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป คาดการณ์ว่าในปี 2552 ผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป เนื่องจากสหภาพยุโรปไม่ต่ออายุโควตาปลาทูน่ากระป๋องให้ไทย (สิ้นสุดตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2551) ทำให้ไทยต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 20.5 ซึ่งเป็นอัตราที่ไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพี ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยยังเสียเปรียบในการแข่งขันกับประเทศกลุ่มแอฟริกันแคริบเบียนที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 นอกจากนี้ ในปัจจุบันประเทศแถบภูมิภาคละตินอเมริกา โดยเฉพาะเม็กซิโกหันมาผลิตปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มมากขึ้น และสนใจการขยายตลาดสินค้าปลาทูน่ากระป๋องมายังสหภาพยุโรป โดยรัฐบาลเม็กซิโกขอลดภาษีการนำเข้าสินค้าปลาทูน่ากระป๋องและเนื้อปลาทูน่าสเต็ก กับทางสหภาพยุโรป โดยมุ่งหวังจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าปลาทูน่ากระป๋องจากเม็กซิโกในตลาดสหภาพยุโรป ทำให้คาดหมายได้ว่าเม็กซิโกอาจกลายเป็นคู่แข่งสำคัญที่ไทยจะต้องจับตามอง ทั้งนี้ เนื่องจากเม็กซิโกมีข้อได้เปรียบไทยอยู่หลายประการ ทั้งปริมาณวัตถุดิบปลาทูน่าที่เม็กซิโกมีกองเรือจับปลาทูน่าเป็นของตนเอง ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก รวมทั้งศักยภาพการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

มาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการ…กระตุ้นยอดการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง
จากการคาดการณ์ว่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 แม้ว่าจะยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็อยู่ในอัตราที่ชะลอตัวลง ดังนั้นมาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการคือ การกระตุ้นการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 ให้เพิ่มขึ้นได้อีก ดังนี้

1.การใช้ประโยชน์จากเจเทปป้ายังไม่เต็มที่ อันเป็นผลจากข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นหรือเจเทปป้า ที่ทยอยปรับลดภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากร้อยละ 9.6 เป็นร้อยละ 0 ภายในเวลา 5 ปี (เริ่มจากปี 2550) ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยในตลาดญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ด้วยเงื่อนไขข้อจำกัดว่า “ปลาทูน่าจากไทย” จะต้องเป็นปลาทูน่าที่จับโดยคนไทย เรือไทยเท่านั้น สำหรับปลาทูน่ากระป๋องที่ใช้ปลาทูน่าที่จับโดยเรือประเทศที่สามนั้น ท่าทีเดิมของฝ่ายญี่ปุ่นในการเจรจาเจเทปป้า คือจะไม่ลดภาษีเลย แต่ผู้เจรจาฝ่ายไทยได้พยายามต่อรองให้ญี่ปุ่นยอมรับการนำเข้าวัตถุดิบจากเรือของประเทศที่สามได้ ในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นก็ยอมประนีประนอม โดยตั้งเงื่อนไขว่าสินค้าปลาทูน่ากระป๋องนำเข้าจากไทยจะได้สิทธิประโยชน์ภายใต้เจเทปป้า หากจับโดยเรือประเทศที่สาม หมายถึงเป็นเรือของประเทศใดก็ได้แต่เรือนั้นต้องจดทะเบียนกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) 27 ประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม โดยที่เงื่อนไขดังกล่าวค่อนข้างซับซ้อนผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องบางส่วนของไทยที่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าต้องเป็นเรือของประเทศสมาชิก IOTC เท่านั้น ทำให้ไม่ได้ยื่นขอใช้สิทธิเจเทปป้า ในเรื่องนี้คงต้องมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้การใช้ประโยชน์จากเจเทปป้ามากขึ้น และเป็นการกระตุ้นการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดญี่ปุ่นอีกทางหนึ่งด้วย

2.การเร่งเจรจากรอบอาเซียน-ยุโรป แม้ว่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังสหภาพยุโรปจะต้องเผชิญการแข่งขันที่มีความรุนแรงมากขึ้น แต่ปลาทูน่ากระป๋องของไทยก็ยังคงมีโอกาสในการขยายตลาดได้อีกมาก นอกจากนี้ ในเดือนมกราคม 2552 การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปบางประเทศยังมีการขยายตัวในอัตราที่สูง โดยเฉพาะอิตาลี และฝรั่งเศส ดังนั้น การเร่งรัดการเจรจาในกรอบอาเซียน-ยุโรป ซึ่งสินค้าปลาทูน่ากระป๋องนั้นเป็นหนึ่งในหลายสินค้าที่มีการหยิบยกขึ้นมาเจรจา เนื่องจากถ้าไทยได้รับการลดภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องก็จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดสหภาพยุโรป แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาไปพร้อมกันคือ เนื่องจากเป็นการเจรจาในกรอบอาเซียน-ยุโรป หมายถึงว่าถ้าการเจรจาสำเร็จคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดสหภาพยุโรป คือ ฟิลิปปินส์จะได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน

3.การเร่งขยายการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในตลาดใหม่ การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดหลักในเดือนมกราคม 2552 นั้นลดลงทุกตลาดเมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่การส่งออกปลาทูน่กระป๋องไปยังตลาดใหม่ยังคงขยายตัว ไม่ว่าจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์ อาร์เจนตินาร์ ซีเรีย อังโกลา ชิลี และฟินแลนด์ ดังนั้นจึงยังเป็นโอกาสของผู้ส่งออกปลากระป๋องของไทยที่จะต้องเร่งศึกษาถึงศักยภาพที่จะขยายการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดเหล่านี้

บทสรุป
การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา แต่คาดว่าอัตราการขยายตัวจะชะลอลง เมื่อเทียบกับปี 2551 ที่ทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ กล่าวคือ ในปี 2552 เป็นการขยายตัวทางด้านปริมาณ ขณะที่ราคาหดตัว ส่งผลให้คาดว่ามูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 7.9 จากที่อยู่ในระดับร้อยละ 42.4 ในปี 2551 อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตและผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยยังต้องปรับตัวรับมือกับปัจจัยเสี่ยงจากการที่ต้องแบกรับภาระสต็อกวัตถุดิบปลาทูน่าและปลากระป๋องที่ผลิตแล้วรอส่งมอบที่ซื้อและผลิตไว้ในปีที่ผ่านมา ซึ่งราคาปลาทูน่าในขณะนั้นอยู่ในเกณฑ์สูง และยังต้องรับมือกับการขอชะลอการส่งมอบ รวมถึงการต่อรองราคาของประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดสหภาพยุโรปมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากไทยต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 20.5 ในขณะที่คู่แข่งขันสำคัญคือ กลุ่มประเทศแอฟริกันแคริบเบียนเสียภาษีร้อยละ 0 รวมทั้งเม็กซิโกกำลังเจรจาเพื่อขยายตลาดปลาทูน่ากระป๋องในสหภาพยุโรป

แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการคือ การที่ยังต้องเร่งกระตุ้นยอดการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง โดยการใช้ประโยชน์จากเจเทปป้าให้เต็มที่ เพื่อเพิ่มยอดการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดญี่ปุ่น การเร่งเจาะขยายตลาดในสหภาพยุโรปบางประเทศที่การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องยังมีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะอิตาลีและฝรั่งเศส รวมทั้งการเร่งการเจรจากรอบอาเซียน-ยุโรปซึ่งจะเป็นแนวทางในการลดภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋อง ทำให้ไทยไม่เสียเปรียบในด้านภาษีนำเข้ากับประเทศคู่แข่งสำคัญ นอกจากนี้ ยังควรเร่งผลักดันการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดใหม่ที่มูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

]]>
46577
ปลาทูน่ากระป๋องปี’52 : ยอดจำหน่ายยังขยายตัวต่อเนื่อง https://positioningmag.com/44800 Thu, 20 Nov 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=44800

ปลาทูน่ากระป๋องเป็นหนึ่งในสินค้าที่คาดว่าจะไม่ได้รับจากวิกฤติเศรษฐกิจ โดยคาดว่ายอดจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องและผลิตภัณฑ์ยังคงเติบโตต่อเนื่องในปี 2552 ทั้งยอดจำหน่ายในประเทศ และการส่งออก อันเป็นผลจากการที่เป็นสินค้าอาหารพื้นฐานที่นิยมบริโภคทั่วๆไป ราคาไม่สูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย จากอานิสงส์ความต้องการของตลาดยังขยายตัวต่อเนื่อง ผนวกกับปริมาณปลาทูน่าในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และราคาปลาทูน่ามีแนวโน้มลดลง

การผลิต…อานิสงส์ราคาปลาทูน่ามีแนวโน้มลดลง
ในปี 2551 นี้คาดว่าปริมาณการผลิตปลาทูน่ากระป๋องของไทยปรับเพิ่มขึ้นเป็น 410,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับปี 2550 เนื่องจากความต้องการบริโภคปลาทูน่ากระป๋องทั้งในประเทศและส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ราคาปลาทูน่าในตลาดโลกเฉลี่ยทั้งปี 2551 นี้อยู่ที่ 1,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน โดยราคาเคยปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 1,950 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันในช่วงครึ่งแรกปี 2551 เนื่องจากปริมาณจับปลาทูน่าน้อยลงไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่คาดว่าแนวโน้มราคาทูน่าในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 จะปรับลดลงไปที่ 1,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เนื่องจากปริมาณการจับปลาทูน่าในช่วงครึ่งหลังปี 2551 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการจับปลาลดลง

สำหรับการผลิตปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 มีปัจจัยเอื้อจากราคาปลาทูน่ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 คาดว่าปี 2552 ราคาปลาทูน่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,300-1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาทูน่ายังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าราคาจะไม่ลงไปต่ำกว่าระดับ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เมื่อผนวกกับปัจจัยเอื้อทางการตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออกที่คาดว่าจะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจซบเซาผู้บริโภคยังคงซื้อสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง เนื่องจากสินค้าราคาไม่แพง และเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นเป็น 450,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8

ตลาดในประเทศ…คนไทยบริโภคปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้น
ปลาทูน่ากระป๋องได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมบริโภคในประเทศไทย เดิมนั้นภาพลักษณ์ของสินค้าเป็นสินค้าพรีเมี่ยม ราคาจะอยู่ในระดับสูงกว่าปลากระป๋องประเภทอื่นๆ แต่ปัจจุบันได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง รวมทั้งการปรับเพิ่มรสชาติของปลาทูน่ากระป๋อง จากเดิมที่มีเพียงปลาทูน่าในน้ำมันและน้ำเกลือ มาเป็นสลัดทูน่า และปลาทูน่าปรุงรสด้วยเครื่องแกงที่เป็นที่รู้จักของคนไทย เช่น เขียวหวาน แพนง มัสมั่น เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มความหลากหลาย และเพิ่มโอกาสในการเลือกซื้อให้กับผู้บริโภค

ในปี 2551 คาดว่ายอดจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องจะเพิ่มขึ้นเป็น 16,500 ตัน มูลค่า 2,100 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2550 แล้วทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 และ 23.3 ตามลำดับ คาดการณ์ว่าในปี 2552 ยอดจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องในประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น 19,800 ตัน มูลค่า 2,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 และ 19.0 ตามลำดับ

ตลาดส่งออก…ขยายตัวสวนเศรษฐกิจซบเซา
ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่ากระป๋องอันดับหนึ่งของโลก มูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเท่ากับ 1,418.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.9 ซึ่งนับว่าเป็นการขยายตัวสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากความต้องการที่ขยายตัวอย่างมากของประเทศคู่ค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ลิเบีย แคนาดา ญี่ปุ่น อียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย และสหภาพยุโรป คาดการณ์ว่าในปี 2551 มูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเท่ากับ 1,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2550 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.9

ตลาดส่งออกปลาทูน่ากระป๋องอันดับหนึ่งคือ สหรัฐฯ มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 19.0 ของการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องทั้งหมด ประเด็นที่ต้องพึงระวังคือ คนอเมริกันให้ความระมัดระวังต่อสารปรอทตกค้างในผลิตภัณฑ์ ทำให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดสหรัฐฯในปี 2549 ชะลอตัวลงอย่างมาก แต่หลังจากที่มีการเน้นย้ำถึงมาตรฐานความปลอดภัยและการตรวจรับรองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ทำให้การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดสหรัฐฯกลับมาขยายตัวอย่างมากตั้งแต่ปี 2550 ส่วนการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังประเทศอื่นๆก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประเทศคู่ค้าปลาทูน่ากระป๋องกระจายตัวอยู่ทุกภูมิภาค และมีอัตราการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งในตลาดออสเตรเลีย ประเทศในตะวันออกกลาง และแอฟริกา

สำหรับในปี 2552 คาดว่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องน่าจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวไม่มากนัก จากการที่เป็นสินค้าที่ยังเป็นที่นิยมบริโภค ทำให้ยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาไม่สูงมากนัก และมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งผู้บริโภคบางส่วนจะเพิ่มการซื้อปลาทูน่ากระป๋องในร้านค้าปลีกทดแทนการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 นอกจากตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐฯจะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องแล้ว คาดว่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากอานิสงส์ของเจเทปป้าที่จะทยอยลดภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากในปี 2551 ที่อยู่ในอัตราร้อยละ 4.3 เหลือร้อยละ 3.2 ในปี 2552 และเหลือร้อยละ 0 ในปี 2555 รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยน รวมทั้งคนญี่ปุ่นปฏิเสธการซื้อสินค้าอาหารที่ผลิตในจีนและหันมาซื้อสินค้าไทยมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้สถานการแข่งขันในตลาดญี่ปุ่นมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าการแข่งขันทางด้านราคาจะรุนแรงมากขึ้น และลูกค้าบางรายเริ่มมีการเจรจาขอปรับลดราคา เนื่องจากราคาปลาทูน่ามีแนวโน้มลดลง รวมทั้งราคาน้ำมันก็มีแนวโน้มลดลงด้วยเช่นกัน ผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยยังได้ปัจจัยบวกจากการที่เงินบาทอ่อนค่า นอกจากนี้ บรรดาผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องต้องเร่งการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ และมีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของประเทศคู่ค้า อย่างที่ถูกต้อง และรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อเป็นโอกาสในการเจาะขยายตลาดต่อไปในอนาคต

นอกจากการขยายการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องจากไทยแล้ว ผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ของไทยก็ได้เพิ่มกลยุทธ์การเจาะขยายตลาดต่างประเทศ ดังนี้

1.การเข้าไปซื้อเครื่องหมายการค้าในประเทศคู่ค้า เช่น การเข้าไปซื้อเครื่องหมายการค้า “Chicken of the Sea” ซึ่งมียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 3 ในตลาดสหรัฐฯ และซื้อเครื่องหมายการค้า “Ace of Diamonds” ทั้งนี้เพื่อขยายตลาดในสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นแบรนด์ราคาประหยัด ซึ่งจะเพิ่มทางเลือกในการจำหน่าย และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการบุกตลาดสหรัฐฯ

2.เป็นพันธมิตรธุรกิจกับประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และจีน เข้าไปตั้งโรงงานแปรรูปปลาทูน่าในปาปัวนิกินี ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตปลาทูน่าร้อยละ 50 ของปริมาณปลาทูน่าของโลก ทั้งนี้เพื่อขยายการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดยุโรป ซึ่งปาปัวนิกินีได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี โดยเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 0 ในขณะที่การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องจากไทยไปยังตลาดยุโรปต้องเสียภาษีสูงถึงร้อยละ 24.0 โดยโรงงานปลาทูน่ากระป๋องในปาปัวนิวกินีนี้จะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในปี 2553

บทสรุป
ปลาทูน่ากระป๋องนับว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่สินค้าที่คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกมากนัก โดยคาดการณ์ว่าในปี 2552 ยอดจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการที่ผู้บริโภคยอมรับว่าเป็นสินค้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ส่วนมูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการที่ตลาดส่งออกหลักยังมีแนวโน้มขยายการนำเข้า เนื่องจากปลาทูน่ากระป๋องนับว่าเป็นสินค้าอาหารพื้นฐาน ราคาไม่แพง และท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจที่ผู้บริโภคเน้นประหยัด ทำให้หันมาซื้อสินค้าอาหารสำเร็จรูปในร้านค้าปลีก ทดแทนการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งปลาทูน่ากระป๋องนับว่าเป็นหนึ่งในสินค้ายอดนิยมในช่วงที่ผู้บริโภคต้องรัดเข็มขัด นอกจากตลาดสหรัฐฯที่ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องแล้ว ตลาดที่คาดว่าจะเติบโตอย่างมากในปี 2552 คือ ญี่ปุ่น จากอานิสงส์ของเจเทปป้าที่สินค้าปลาทูน่ากระป๋องจะได้รับการลดภาษีนำเข้า และอานิสงส์จากเงินเยนแข็งค่า ส่วนตลาดอื่นๆที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ คือ ตลาดในตะวันออกกลาง และแอฟริกา

]]>
44800
ส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปปี’52 ชะลอตัว: ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ https://positioningmag.com/44217 Fri, 24 Oct 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=44217

จากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจและภาคการเงินทั้งในสหภาพยุโรป รวมถึงญี่ปุ่น และมีสัญญาณว่ากำลังจะกลายเป็นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจลุกลามไปทั่วโลก ทำให้หลายฝ่ายเกิดความหวาดวิตกถึงผลกระทบต่อภาคส่งออกของไทย เนื่องจากสหรัฐฯ นับเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของไทย สำหรับผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋องและแปรรูปจัดเป็นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งไทยส่งออกเป็นรายใหญ่ในตลาดโลก โดยในแต่ละปีการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยมีมูลค่าสูงกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเป้าการขยายการส่งออกสินค้าอาหารของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในปี 2552 คาดว่าการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2551 ซึ่งเติบโตร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 10 โดยมีมูลค่าส่งออก 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอลงจากปัญหาเศรษฐกิจภายในสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบไปยังตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งทั้ง 3 ตลาดดังกล่าวล้วนเป็นตลาดหลัก โดยมีสัดส่วนการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปรวมกันถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกรวมของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปสู่ตลาดโลก ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทย โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้

ปี’51 หลากปัจจัยหนุนกระตุ้นตลาดส่งออกโตถึงร้อยละ 30
สถานการณ์ปี 2551 (มกราคม-กันยายน) การส่งออกสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปขยายตัวทั้งปริมาณและมูลค่า โดยมีปริมาณ 0.9 ล้านตัน มูลค่า 1,025.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.5 และร้อยละ 30.1ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ ตลาดสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 32.7 รองลงมาเป็น ตลาดสหภาพยุโรป ร้อยละ 26.0 ตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 6.1 ตลาดอาเซียนร้อยละ 5.3 และตลาดอื่นๆ ร้อยละ 29.9 สำหรับผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋องและแปรรูปแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้ และผลไม้แปรรูป ทั้งนี้ ผลไม้กระป๋องที่ไทยส่งออกมากที่สุดเป็น สับปะรดกระป๋อง ซึ่งมีสัดส่วนส่งออกถึงร้อยละ 70 ของการส่งออกผลไม้กระป๋องทั้งหมด ส่วนน้ำผลไม้ ซึ่งไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นน้ำสับปะรด รองลงมาคือ น้ำส้ม น้ำผลไม้ผสม และน้ำผลไม้อื่นๆ สำหรับผลไม้แปรรูป ไทยส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ กล้วยอบ มะม่วงอบ มะพร้าวอบ สับปะรดกวนและอบ เป็นต้น

สำหรับวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ขณะนี้จะยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยในปี 2551 ทั้งนี้ เพราะประเทศผู้นำเข้ามีการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก่อนจะปิดท้ายปี 2551 แล้ว ดังนั้นภาพรวมทั้งปี 2551 คาดว่า มูลค่าการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปจะเติบโตจากปีก่อนประมาณร้อยละ 30 คิดเป็นมูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้รับอานิสงส์จากปัจจัยบวกหลายประการ ทั้ง จากการที่ภาครัฐมีนโยบายผลักดันยุทธศาสตร์ผลไม้ไทยไปสู่ตลาดโลก การเปิดเสรีเขตการค้าเสรีภายใต้กรอบ FTA กับต่างประเทศ การทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (JTEPA) ปัจจัยสนับสนุนจากการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในจีนในเดือนสิงหาคมปี 2551 ที่ผ่านมา และการขยายตลาดการค้าชายแดนกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน รวมทั้งการที่สหรัฐฯ ประกาศยกเลิกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) สินค้าผลไม้กระป๋องของไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยถูกเก็บอัตราอากรตอบโต้จากภาษีนำเข้าปกติมาตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ดังนั้นจึงทำให้การส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่อง โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 การส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.4 เติบโตจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.8 ส่วนตลาดสหภาพยุโรป ตลาดญี่ปุ่น และตลาดอาเซียนก็ขยายตัวเช่นกัน โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 32.5 ร้อยละ 62.0 และร้อยละ 49.6 ตามลำดับ

แนวโน้มส่งออกปี’52 ยังเติบโตได้ร้อยละ 10…แต่พึงระวังผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปี 2552 แนวโน้มการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 2551 ซึ่งเติบโตกว่าร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 10 โดยมีมูลค่าส่งออก 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ หากพิจารณาการส่งออกไปยังตลาดหลักทั้ง 3 ตลาด กล่าวคือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้ากลุ่มนี้ ดังนั้น ปัญหาการเกิดวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ก็ย่อมส่งผลให้การส่งออกสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยได้รับผลกระทบไปด้วย สำหรับสินค้ากลุ่มผลไม้กระป๋องที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ สับปะรดกระป๋อง เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนส่งออกสูงถึงร้อยละ 70 ของการส่งออกผลไม้กระป๋องทั้งหมดของไทย โดยมีสัดส่วนส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 21.0 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งโลก ซึ่งสหรัฐฯ เป็นตลาดอันดับที่ 2 รองจากสหภาพยุโรป และปี 2552 คาดว่า การส่งออกสับปะรดกระป๋องจะขยายตัวได้เพียงประมาณร้อยละ7-10 ชะลอตัวลงจากปี 2551 ที่คาดว่าจะขยายตัวกว่าร้อยละ 40 เนื่องจากผู้นำเข้าอาจชะลอการสั่งซื้อสินค้า จากความไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจทำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯ ลดลง ขณะที่สินค้าผลไม้กระป๋องอื่นๆ ยังมีสัดส่วนการส่งออกขยายตัว

ส่วนการส่งออกน้ำผลไม้ปี 2552 คาดว่าจะยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาจากที่ขยายตัวถึงร้อยละ 20 ในปี 2551 ก็จะขยายตัวเพียงร้อยละ 10 ในปี 2552 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอลงจากปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ซึ่งมีทีท่าว่าจะลุกลามไปยังสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น สำหรับตลาดส่งออกหลักดังกล่าวมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกน้ำผลไม้ทั้งหมด ทั้งนี้ สินค้าน้ำผลไม้ที่ได้รับผลกระทบคือ น้ำสับปะรด เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 60 ของการส่งออกน้ำผลไม้ทั้งหมด โดยการส่งออกน้ำสับปะรดพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 18.3 ของมูลค่าส่งออกรวม ซึ่งเป็นอันดับที่ 2 รองลงมาจากสหภาพยุโรป และในปี 2552 คาดว่า การส่งออกน้ำสับปะรดขยายตัวประมาณร้อยละ 10 ซึ่งชะลอลงจากปีก่อนซึ่งขยายตัวกว่าร้อยละ 30 เนื่องจากปริมาณสับปะรดโรงงานลดลง และมีราคาแพง ในขณะที่ความต้องการบริโภคน้ำสับปะรดลดลง เนื่องจากผู้บริโภคหันไปนิยมบริโภคน้ำผลไม้ประเภทอื่นๆแทน ทำให้การส่งออกน้ำผลไม้ผสม และน้ำผลไม้อื่นๆ ยังมีแนวโน้มการส่งออกขยายตัว สำหรับการส่งออกผลไม้แปรรูป ปี 2552 คาดว่า จะเติบโตได้ร้อยละ 10 ซึ่งหดตัวจากปี 2551 ที่มีอัตราการเติบโตร้อยละ 16 เนื่องจากพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลัก โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 44.9 รองลงมาเป็น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว…เตรียมรับมือฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก
จากปัญหาของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดส่งออกหลักลดลง และส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออกสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทย ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ขอเสนอแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้เพื่อรับมือกับผลพวงของวิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐฯ ดังต่อไปนี้

ผู้ประกอบการควรมุ่งกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดส่งออกใหม่มากขึ้น อาทิ ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และประเทศแถบเอเชีย เป็นต้น

ผู้ประกอบการควรขยายการผลิตไปยังสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปชนิดอื่นๆ มากขึ้น เช่น ผลไม้กระป๋องอื่นๆ และน้ำผลไม้ประเภทอื่นๆ เป็นต้น โดยอาศัยจุดแข็งจากการที่ไทยมีผลไม้เมืองร้อนหลากหลายชนิดเพื่อทดแทนการพึ่งพิงการส่งออกสินค้าสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่
ผู้ประกอบการควรเร่งปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานการผลิตสินค้า เพื่อลดอุปสรรคการกีดกันทางการค้าที่ประเทศผู้นำเข้านำมาบังคับใช้ เช่น มาตรฐาน HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) และมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) รวมทั้งมาตรการติดฉลากอาหารของสหภาพยุโรป เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยเองยังมีการบังคับใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อสร้างการยอมรับและความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคต่างประเทศ

ผู้ประกอบการควรอาศัยข้อได้เปรียบจากการเปิดเขตเสรีการค้า ในการขยายตลาดส่งออกโดยเฉพาะการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งเป็นโอกาสในการขยายตลาดผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้ และผลไม้แปรรูปของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น

ผู้ประกอบการควรอาศัยโอกาสดีจากการที่จีนกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตอาหาร จากการตรวจพบสารเมลามีนปนเปื้อนในอุตสาหกรรมอาหาร จนทำให้ทั่วโลกเกิดความหวั่นวิตกต่อสินค้าอาหารที่นำเข้าจากจีน ขณะที่ไทยเองมีจุดแข็งจากการเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกและมีมาตรฐานการผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรอาศัยโอกาสดังกล่าวในการขยายการส่งออกสินค้าอาหารไทยให้กว้างขวางขึ้น

กล่าวโดยสรุป ผลกระทบของวิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลไปถึงระบบเศรษฐกิจทั้งในสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และมีแนวโน้มว่ากำลังจะกลายเป็นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น คาดว่า ผลพวงของปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทย และคาดว่า แนวโน้มปี 2552 มูลค่าการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปจะมีอัตราชะลอลงจากร้อยละ 30 ในปี 2551 เหลือร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งมีมูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดส่งออกหลักของไทยได้รับผลกระทบทำให้กำลังซื้อลดลง ทั้งในตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกรวมกันถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าส่งออกรวมผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยไปตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในธุรกิจควรเร่งปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดส่งออกใหม่ การขยายการผลิตผลไม้กระป๋องและน้ำผลไม้ประเภทอื่นๆ มากขึ้น เพื่อทดแทนการพึ่งพิงการส่งออกสินค้าสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด การเร่งปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนดเพื่อสร้างการยอมรับให้แก่ผู้บริโภคในตลาดโลก อีกทั้งการอาศัยโอกาสจากการเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทยกับญี่ปุ่น และผู้ประกอบการไทยควรอาศัยโอกาสจากการที่จีนกำลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์ด้านอาหาร จนทำให้ทั่วโลกขาดความเชื่อมั่นต่อสินค้าอาหารจากจีน ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยในการขยายการส่งออกได้มากขึ้น

]]>
44217
ปลากระป๋อง : ปี’50การส่งออกชะลอตัว…ปี’51จับตาจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรม https://positioningmag.com/37540 Tue, 30 Oct 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=37540

อุตสาหกรรมปลากระป๋องในปี 2550 ต้องเผชิญปัญหาทั้งในด้านวัตถุดิบมีราคาแพงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากผลกระทบจากสภาพอากาศของโลกที่แปรปรวน แม้ว่าตลาดปลากระป๋องภายในประเทศจะยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ภาวะการแข่งขันรุนแรงขึ้น จากการที่มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าตลาด ส่วนการส่งออกปลากระป๋องต้องเผชิญกับหลากหลายปัญหา ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกปลากระป๋องมีแนวโน้มชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับในปี 2549 ดังนั้นบรรดาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปลากระป๋องมีการปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับปี 2551 ที่คาดว่าการส่งออกยังคงจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากผู้ส่งออกปลากระป๋องของไทยยังคงต้องเผชิญกับปัญหาเดิมในประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

สภาวการณ์ปัจจุบันการผลิต…เผชิญปัญหาวัตถุดิบ
แม้ว่าอุตสาหกรรมปลากระป๋องจะเป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ กล่าวคือใช้วัตถุดิบในประเทศเพียงร้อยละ 20.0 เท่านั้น ที่เหลือต้องพึ่งพาการนำเข้า ซึ่งน่าจะเป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับอานิสงส์จากการแข็งค่าของเงินบาท แต่ในปี 2550 ปรากฏการณ์เอลนีโญและสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลให้ปลาซาร์ดีน ทูน่า และแมคคาเรล ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปลากระป๋องหายากขึ้น เพราะปลามีการกระจายตัวไม่อยู่กันเป็นฝูง และไปอยู่น้ำที่ลึกมากขึ้นเพื่อหนีร้อน ราคาปลาเหล่านี้ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 ราคาปลาทูน่าสูงขึ้นถึงร้อยละ 40.0 โดยปัจจุบันราคานำเข้าทูน่าเฉลี่ยตันละ 1,600 ดอลลาร์สหรัฐฯนับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากในอดีตที่เคยสูงสุดไม่เกิน 1,200 ดอลาร์สหรัฐฯต่อตัน เมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2549 ราคาเพียงตันละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้ผลิตปลากระป๋องต้องเผชิญกับต้นทุนอื่นๆ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์กระป๋อง มะเขือเทศที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตซอสมะเขือเทศ รวมทั้งต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปลากระป๋องเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10-20 สวนทางกับสินค้าหมวดปลากระป๋องขึ้นบัญชีเป็นสินค้าควบคุมราคาจากกระทรวงพาณิชย์ ทำให้ไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

การปรับตัวของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปลากระป๋อง มีดังนี้
1.ผู้ประกอบการเปลี่ยนประเภทปลา เมื่อปริมาณการจับปลาลดลง ผู้ผลิตปลากระป๋องป้อนตลาดในประเทศเริ่มหาปลาทะเลชนิดอื่นๆมาทดแทน โดยเริ่มจากผู้ประกอบการผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋องบางรายก็หันมาใช้ปลาแมคคาเรลแทน และแนวโน้มผู้ประกอบการกำลังมองหาปลาทะเลชนิดอื่นมาแทนปลาแมคคาเรลและทูน่าที่ต้นทุนแพงขึ้นและมีปริมาณลดลง

2.ผู้ประกอบการปรับลดกำลังการผลิต ปัญหาวัตถุดิบโดยเฉพาะราคาปลาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้มากเท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้าควบคุมราคาและภาวะการแข่งขันที่รุนแรงทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ดังนั้นแนวทางในการแก้ปัญหาในเวลานี้โรงงานผลิตปลากระป๋อง โดยเฉพาะทูน่ากระป๋องที่ผลิตเพื่อส่งออกส่วนใหญ่ได้ปรับลดกำลังการผลิตลงเฉลี่ยแต่ละรายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30.0 นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางรายก็ได้มีการปรับลดคนงานตามกำลังการผลิตที่ลดลงเพื่อลดต้นทุนด้วย

ตลาดในประเทศ…ตลาดขยายตัว การแข่งขันรุนแรง
คาดการณ์ว่าในปี 2550 ตลาดปลากระป๋องในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 โดยถ้าแยกตามประเภทปลาแล้ว ปลาซาร์ดีนกระป๋องซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดมีสัดส่วนถึงร้อยละ 67.0 ของตลาดรวมปลากระป๋อง ปลาแมคเคอเรลกระป๋องร้อยละ18.0 และปลาทูน่ากระป๋องร้อยละ 12.0 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3.0 เป็นปลาอื่นๆบรรจุกระป๋อง อย่างไรก็ตาม ตลาดปลากระป๋องนั้นยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ ในน้ำมันและน้ำเกลือ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 80.0 ของตลาดปลากระป๋องทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 20.0 เป็นตลาดปลากระป๋องปรุงรส ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะการปรุงรสด้วยเครื่องแกงประเภทต่างๆ เช่น แกงเขียวหวาน แพนง มัสหมั่น เป็นต้น

แม้สถานการณ์โดยรวมของธุรกิจปลากระป๋องในปี 2550 ยังประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่ในปี 2550 การแข่งขันของตลาดปลากระป๋องภายในประเทศยังคงมีความรุนแรงต่อเนื่อง ทั้งนี้สาเหตุเกิดจาก

-มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าตลาด ในเดือนมีนาคม 2550 มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในตลาดปลากระป๋อง เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหม่เล็งเห็นช่องว่างทางการตลาด จากปัญหาด้านวัตถุดิบซึ่งปัจจุบันปลาซาร์ดีนขาดตลาด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนินโญ กระแสน้ำจึงมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้คู่แข่งที่อยู่ในตลาดหันมาทำตลาดปลากระป๋องแมคคาเรลแทน ในขณะที่ปลากระป๋องจากปลาซาร์ดีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ผู้ประกอบการรายใหม่อาศัยความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ เพราะมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำให้ไม่มีปัญหาด้านการขาดแคลนปลาซาร์ดีน หลังจากประสบความสำเร็จในการเข้ามารุกตลาดปลาซาร์ดีนกระป๋องโดยเน้นการจับตลาดบนในช่วงต้นปี ในช่วงปลายปีผู้ประกอบการรายใหม่เริ่มเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดปลาแมคเคอเรลด้วย โดยจะเน้นจับตลาดปลากระป๋องราคาต่ำเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดกับผู้ประกอบการรายเดิมโดยตรง นอกจากนี้ทั้งผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ต่างเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการผลิตปลากระป๋องที่ใช้ปลาทะเลชนิดอื่นๆ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น น้ำพริกปลาทูน่า มัสมั่นปลาซาบะ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค และเป็นการขยายฐานตลาดปลากระป๋องด้วย

-ผู้ส่งออกปลากระป๋องหันมาขยายตลาดในประเทศมากขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออกปลากระป๋อง โดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋องต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก และประเทศคู่ค้าสำคัญชะลอการนำเข้า เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนวิตกเกี่ยวกับปัญหาโลหะหนักตกค้างในผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ทำให้ลดปริมาณการบริโภคอาหารทะเล ดังนั้นผู้ส่งออกปลากระป๋องจึงหันมาขยายตลาดปลากระป๋องในประเทศมากขึ้น

-ตลาดปลากระป๋องขยายตัวอย่างมาก ปลากระป๋องเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่ได้รับอานิสงส์จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริโภคมีความระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย โดยหันมาเลือกรับประทานอาหารที่ราคาประหยัดและมีคุณภาพสอดคล้องกับกำลังซื้อ โดยมูลค่าตลาดปลากระป๋องจะมีการขยายตัวมากกว่าในช่วงภาวะปกติ กล่าวคือ ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริโภคในประเทศหันไปบริโภคอาหารประเภทปลากระป๋องมากขึ้น ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของตลาดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.0 จากในช่วงภาวะปกติตลาดปลากระป๋องเติบโตร้อยละ 10.0-15.0 ซึ่งการที่ตลาดปลากระป๋องขยายตัวอย่างมาก ส่งผลให้บรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจปลากระป๋องต่างหันมาเพิ่มกลยุทธ์ต่างๆเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด

ส่งออกปี’50…ขยายตัวต่ำลงเมื่อเทียบกับปี’49
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มูลค่าการส่งออกปลากระป๋องเท่ากับ 933.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ทั้งนี้เนื่องจากมูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำลง ในขณะที่การส่งออกปลาซาร์ดีนกระป๋องมีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ มูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เท่ากับ 887.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแม้ว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 แต่นับว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับในปี 2549 โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 นั้นอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเท่ากับร้อยละ 18.3 ซึ่งการชะลอตัวดังกล่าวเป็นผลเนื่องมาจากผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดส่งออกหลัก และกระแสความวิตกเกี่ยวกับสารโลหะหนักตกค้างในผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ส่วนมูลค่าการส่งออกปลาซาร์ดีนกระป๋องในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เท่ากับ 46.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 4.0 เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนปลาซาร์ดีน

ปัญหาที่ผู้ส่งออกปลากระป๋องเผชิญในปี 2550 ได้แก่
1.การแข็งค่าของเงินบาท
ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยลดลง เพราะทำให้สินค้าปลากระป๋องของไทยในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น และผู้ส่งออกได้รับเงินจากการส่งออกในรูปเงินบาทที่ลดลง ปัจจุบันผู้ผลิตปลากระป๋องของไทยพึ่งพิงตลาดส่งออก กล่าวคือ ผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 90.0 ของปริมาณการผลิตปลาทูน่ากระป๋องทั้งหมด และสำหรับปลาซาร์ดีนกระป๋องพึ่งพาตลาดส่งออกร้อยละ 50.0 ดังนั้นเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจะเป็นตัวแปรหลักที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ส่งออกปลากระป๋อง

2.ความวิตกต่อการปนเปื้อนโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ ขณะนี้ในหลายภูมิภาคของโลกกำลังประสบปัญหาจากการปนเปื้อนในเนื้อปลาของโลหะหนักที่เป็นอันตรายบางชนิด เช่น สารปรอท เป็นต้น โดยเฉพาะผู้บริโภคชาวอเมริกันให้ความระมัดระวังต่อสารปรอทตกค้างในผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง ทำให้การนำเข้าทูน่ากระป๋องในรอบ 3 ปีชะลอตัวลงและมีราคาจำหน่ายลดลง ในอนาคตคาดว่าผู้บริโภคและประเทศผู้นำเข้าจะให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น มากกว่าที่จะเน้นด้านราคาแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าปลากระป๋องจากไทยว่าปลอดจากสารตกค้างประเภทสารปรอทจะเป็นการสร้างความได้เปรียบประเทศคู่แข่ง

3.ปัญหาความเสียเปรียบด้านภาษีนำเข้าในตลาดส่งออกสำคัญ ปัจจุบันการส่งออกปลากระป๋องของไทยโดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญนั้นเสียเปรียบประเทศคู่แข่งในแง่ของภาษีนำเข้า กล่าวคือ ในตลาดสหรัฐฯ ประเทศเอกวาดอร์ไม่ต้องเสียภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์ทูน่าบรรจุถุง แต่ไทยเสียร้อยละ 12.5 และในตลาดสหภาพยุโรปผู้ส่งออกปลากระป๋องของไทยโดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋องเสียเปรียบกลุ่มประเทศในแอฟริกา ทะเลแคริบเบียน และมหาสมุทรแปซิฟิก (Africa Caribbean and Pacific Countries : ACP) ที่สหภาพยุโรปได้ยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้สนธิสัญญา Cotonou Agreement ขณะที่ไทยต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 18-20 ดังนั้นถ้าหากมีการเจรจาเพื่อลดภาษีการนำเข้าจะส่งผลให้ไทยสามารถเบียดแย่งส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ถ้าพิจารณาสถานะการแข่งขันของผู้ส่งออกปลากระป๋องของไทยแยกตามตลาดส่งออกที่สำคัญได้ ดังนี้

1.ตลาดสหรัฐฯ ไทยเป็นผู้ส่งออกทูน่ากระป๋อง (canned tuna)และผลิตภัณฑ์ทูน่าบรรจุถุง (tuna in foil pouches) รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ แต่เนื่องจากในขณะนี้ผู้บริโภคชาวอเมริกันให้ความระมัดระวังต่อสารปรอทตกค้างในผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง จึงส่งผลให้การนำเข้าทูน่ากระป๋องในรอบ 3 ปีชะลอตัวลง และมีราคาจำหน่ายลดลงด้วยเช่นกัน รวมทั้งขณะนี้กำลังซื้อของผู้บริโภคชาวอเมริกันมีแนวโน้มลดลง จากภาวะเศรษฐกิจ และปัญหาซับไพรม์(หนี้เสียภาคอสังหาริมทรัพย์) แม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการบริโภคปลากระป๋องมากนัก แต่ปัญหาเศรษฐกิจก็ส่งผลต่อการเลือกซื้อของอุปโภคบริโภค ในขณะที่ราคาปลากระป๋องโดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋องในสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาปริมาณปลาทูน่ามีน้อยลงและราคาแพงขึ้น ทำให้คนอเมริกันมีแนวโน้มจะซื้อปลาทูน่ากระป๋องเกรด พรีเมี่ยมลดลง และหันไปบริโภคปลาทูน่ากระป๋องเกรดรองลงไปมากขึ้น นอกจากนี้คนอเมริกันบางส่วนก็หันไปบริโภคทูน่าสด เนื่องจากกระแสอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนั้นผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยจำเป็นต้องปรับตัวสำหรับตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ เพราะหากส่งออกเกรดพรีเมียมทั้งหมดก็ขายได้ยากขึ้น ทางออกคือต้องหันมาจับตลาดระดับกลางมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่น รุกตลาดสินค้าพร้อมรับประทานที่นอกจากจะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคแล้วยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ผู้ส่งออกทูน่ากระป๋องจากไทยต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นจากคู่แข่งรายใหม่คือ จีนและเวียดนามที่กำลังส่งสินค้าเข้าไปแข่งขันกับไทยในตลาดสหรัฐฯด้วย แม้ว่าในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของทั้งสองประเทศนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงนัก แต่ก็มีอัตราการขยายตัวที่น่าจับตามองตั้งแต่ปี 2549

อย่างไรก็ตามประเด็นข้อได้เปรียบของผู้ประกอบการธุรกิจปลากระป๋องของไทย คือ การเข้าไปลงทุนในโรงงานปลากระป๋องในสหรัฐฯ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์การรุกขยายตลาดในประเทศคู่ค้าสำคัญโดยตรง นอกจากนี้ยังรับจ้างผลิตและส่งสินค้าไพรเวตแบรนด์หรือเฮาส์แบรนด์ให้กับห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆในสหรัฐฯอีกด้วย

2.ตลาดอียู ปัจจุบันส่วนแบ่งตลาดทูน่ากระป๋องในอียูมาจากผู้ผลิตในอียูกว่าครึ่งหนึ่ง โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่คือ สเปน อิตาลี โปรตุเกส ฝรั่งเศส และอังกฤษตามลำดับ ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งสัดส่วน 2 ใน 3 ของจำนวนนี้มาจากประเทศ ACP 14 ประเทศ และอีก 1 ใน 3 มาจากกลุ่มอาเซียนซึ่งมีไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ จากการที่กลุ่มประเทศในแอฟริกา ทะเลแคริบเบียน และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าทูน่ากระป๋องจากอียู ทำให้นับจากปี 2546 เป็นต้นมาอียูชดเชยสิทธิในการส่งออกทูน่ากระป๋องให้ไทยและฟิลิปปินส์ สำหรับไทยนั้นโควตาชดเชยเริ่มต้นที่ปีละ 25,000 ตัน บวกกับอัตราการขยายตัวอีกร้อยละ 3 ต่อปี โดยอียูให้โควตาสินค้าทูน่ากระป๋องจากไทย 27,500 ตัน เสียภาษีนำเข้าภายใต้โควตาร้อยละ 12 ภาษีนอกโควตาร้อยละ 24 ซึ่งโควตาดังกล่าวจะหมดอายุลงในเดือนธันวาคม 2550ซึ่งหากอียูจะต่อสิทธิการลดภาษีให้กับกลุ่ม ACP ก็จะต้องให้การชดเชยกับไทยต่อไปด้วย

3.ตลาดญี่ปุ่น กรณีที่รัฐบาลไทยได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) จะส่งผลดีต่อการส่งออกทูน่าของไทยไปตลาดญี่ปุ่นที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ตัวเลขการส่งออกในภาพรวมดีขึ้น เพราะตามข้อตกลงญี่ปุ่นจะลดภาษีนำเข้าสินค้าทูน่าให้ไทยจากอัตราภาษีนำเข้าปัจจุบันที่ 9.6% และจะลดลงเป็น 0% ในอีก 5 ปีถัดไป ขณะที่เรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าญี่ปุ่นยอมให้ไทยนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศที่สามแต่ปลานั้นต้องได้จากการจับโดยเรือที่จดทะเบียนภายใต้คณะกรรมาธิการทูน่ามหาสมุทรอินเดีย (IOTC) ที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก 24 ประเทศ จากข้อตกลง JTEPA ดังกล่าวสินค้าทูน่ากระป๋องจะยกเลิกภาษีลงเป็นร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี ทยอยลดร้อยละ 1.6 ต่อปี (อัตราภาษีนำเข้าปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 9.6)ทำให้สินค้าทูน่ามีโอกาสขยายในตลาดญี่ปุ่นได้มาก โดยขณะนี้ได้เกิดความเคลื่อนไหวทยอยปิดกิจการของผู้ผลิตทูน่าในญี่ปุ่นแล้ว และเตรียมแผนที่จะมาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตส่งกลับไปจำหน่ายในญี่ปุ่นแทน เนื่องจากต้นทุนการผลิตทูน่าในญี่ปุ่นค่อนข้างสูงโดยเฉพาะต้นทุนด้านแรงงาน การหันมานำเข้าจากไทยในอัตราภาษีที่ทยอยลดลงและยกเลิกในที่สุดน่าจะคุ้มกว่า

ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นบริโภคทูน่ากระป๋อง 12 ล้านหีบ/ปี(1 หีบบรรจุ 48กระป๋อง)ในจำนวนนี้นำเข้าจากไทยประมาณ 3-4 ล้านหีบ/ปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25-30 ของการนำเข้า ผลจาก JTEPA คาดไทยจะสามารถส่งออกทูน่าไปญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10-12 ในปีแรกของการลดภาษี โดยในปี 2551 คาดยอดส่งออกไปญี่ปุ่นจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-20 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปญี่ปุ่นยังต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากเวียดนามและอินโดนีเซีย

แนวโน้มปี’51…จับตาจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรม
ประเด็นที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจปลากระป๋องคือ ปริมาณการจับปลาที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยบรรดานักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าความผันแปรของสภาพอากาศโดยเฉพาะในเขตมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นแหล่งประมงทูน่าที่สำคัญจะยังคงส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนปี 2551 ส่งผลให้ปริมาณปลาจะยังคงมีไม่เพียงพอในการที่จะป้อนโรงงานปลากระป๋อง โดยเฉพาะปลาสคิบแจ็ค และเยลโลฟิน ราคาปลาทูน่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นมีแนวโน้มว่าในอนาคตปลากระป๋องอาจจะไม่ใช่สินค้าที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นๆ

นอกจากปริมาณปลาที่มีแนวโน้มลดลงและราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นแล้ว จุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมปลากระป๋องของไทยที่ต้องจับตามอง มีดังนี้

1.ธุรกิจกองเรือหาปลา เนื่องจากในปัจจุบันไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าปลาเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมปลากระป๋อง ดังนั้นผู้ประกอบการบางรายจึงหันมาลงทุนในธุรกิจกองเรือหาปลาในทะเลลึก นอกจากประโยชน์ในเรื่องของวัตถุดิบที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการ สำหรับฐานการผลิตปลากระป๋องในประเทศไทยให้มีวัตถุดิบได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ในอนาคตยังช่วยรองรับกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) สำหรับการลดภาษีในประเทศสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นอีกด้วย เนื่องจากสินค้าปลาทูน่าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 24.0 ในปัจจุบัน แต่การที่ไทยมีกองเรือเองจะช่วยลดความเสียเปรียบทางด้านภาษีลงเหลือร้อยละ 20.5 เพราะวัตถุดิบที่มาจากประเทศไทยจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพี ขณะเดียวกันสำหรับข้อตกลงเรื่องหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ก็มีข้อกำหนดว่าปลาทูน่ากระป๋องที่นำเข้าญี่ปุ่นจะต้องเป็นวัตถุดิบที่มีแหล่งมาจากกองเรือสัญชาติอาเซียน หรือกองเรือที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการทูน่ามหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission : IOTC) ถึงจะได้รับการลดภาษีภายใต้ข้อตกลงทางการค้า และยังมีส่วนช่วยสนับสนุนให้มีกองเรือจับปลาน้ำลึกสัญชาติไทยสามารถจับปลา ในน่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย ปัจจุบันการจับปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และมหาสมุทรอินเดียส่วนใหญ่จะเป็นเรือของไต้หวัน ญี่ปุ่น และสเปน

2.การผลักดันสินค้าทูน่ากระป๋องเข้าสู่บัญชีลดภาษีภายใต้กรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป จากการที่สหภาพยุโรป (อียู) ให้โควตาภาษีสินค้าทูน่ากระป๋องแก่ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเพื่อชดเชยความเสียหายกรณีที่อียูให้สิทธิพิเศษทางภาษี 0% ในสินค้าทูน่ากระป๋องแก่กลุ่มประเทศในแอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก โดยในปี 2546 อียูให้โควตาที่ 25,000 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 12 และเพิ่มเป็น 25,750 ตัน ในปี 2547-2550 ส่วนไทยได้รับโควตาเท่าเดิมคือ 25,750 ตัน และการชดเชยดังกล่าวจะสิ้นสุดในปี 2550 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนั้นกระทรวงพาณิชย์กำลังผลักดันสินค้าทูน่ากระป๋องเข้าสู่บัญชีลดภาษีภายใต้กรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป เพราะคาดว่าหลังจากสิ้นปีนี้อียูจะไม่เพิ่มโควตานำเข้าสินค้าปลาทูน่ากระป๋องตามที่ไทยร้องขอ เนื่องจากไทยมีสถิติการส่งออกทูน่ากระป๋องไปอียูเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่สถิติการส่งออกของประเทศในกลุ่มประเทศแอฟริกา แคริเบียน และแปซิฟิก(ACP)ลดลง ซึ่งแสดงว่าไทยไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่อียูลดภาษีปลาทูน่ากระป๋องเหลือร้อยละ 0 ให้กับกลุ่ม ACP ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดอียู จึงเป็นไปได้ว่าอียูอาจไม่ให้โควตานำเข้าแก่ไทยเป็นการชดเชยอีกต่อไป

ถ้าไทยสามารถดึงให้ปลาทูน่ากระป๋องเข้าไปอยู่ในการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรปสำเร็จคาดว่าอัตราภาษีทูน่ากระป๋องจากกลุ่มอาเซียน ซึ่งรวมถึงไทยจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.0-9.0 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกลุ่ม Eurothon (กลุ่มผู้พิทักษ์ผลประโยชน์อุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องในยุโรป และในกลุ่มประเทศแอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก) ขัดขวางการดำเนินการดังกล่าว โดยอ้างว่าการยกเลิกหรือการลดภาษีให้ไทยรวมถึงกลุ่มประเทศอาเซียนจะส่งผลเสียหายต่อผู้ผลิตในอียูและ ACP เพราะประเทศผู้ส่งออกหลักอย่างไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียมีความได้เปรียบจากค่าแรงงานต่ำ สามารถเข้าถึงวัตถุดิบและการขนส่งทางเรือในต้นทุนที่ต่ำกว่า และจะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของผู้ผลิตจากอียู และ ACP ลดลง ส่งผลกระทบต่อแรงงานจำนวนนับแสนคน โดยผู้ผลิตในเอเชียจะได้รับประโยชน์เพียงผู้เดียว และจะกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋องของโลก ซึ่งเรื่องนี้ยังคงต้องติดตามผลสรุปของการเจรจาต่อไป โดยผลการเจรจานี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรป

นอกจากการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องแล้ว ผู้ส่งออกของไทยร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์เจรจากับอียูเพื่อขอขยายโควตาส่งออกเนื้อทูน่าด้วย จากปี 2549 ที่ไทยได้โควตาส่งออกไปอียู 5,000 ตัน ภาษีในโควตาร้อยละ 6.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่ได้โควตาเพียง 4,000 ตัน ภาษีในโควตาร้อยละ 6.0 เช่นกัน โดยการส่งออกเนื้อทูน่านั้นกำลังเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มแจ่มใสในตลาดอียู

3.การลงทุนในต่างประเทศ นอกจากการเข้าไปซื้อกิจการโรงงานผลิตปลาทูน่ากระป๋องในสหรัฐฯ โดยการรุกขยายตลาดในประเทศคู่ค้าสำคัญแล้ว คาดว่าผู้ผลิตปลากระป๋องรายใหญ่ของไทยจะยังคงดำเนินการขยายการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศที่น่าสนใจ คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งการเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียเพื่อลดต้นทุน ขณะที่น่านน้ำของอินโดนีเซียก็ถือเป็นแหล่งทูน่าขนาดใหญ่ เรือทุกลำจึงเริ่มไปจับปลาที่แหล่งนั้น ส่วนเวียดนามเป็นการเข้าไปร่วมทุนในบริษัทผู้ผลิตปลากระป๋องรายใหญ่ในเวียดนามเพื่อทำตลาดทั้งในประเทศเวียดนามและส่งออก

บทสรุป
ตลาดปลากระป๋องในปี 2550 ต้องเผชิญปัญหาในด้านปริมาณปลาซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญมีปริมาณลดลง และราคาแพงขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการผลิต แม้ว่าตลาดภายในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัว แต่ตลาดส่งออกประสบปัญหาชะลอตัว อันเป็นผลมาจากผู้บริโภคในสหรัฐฯนั้นลดปริมาณการบริโภค เนื่องจากวิตกถึงปัญหาการตกค้างของสารปรอทในผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกระป๋อง รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มประหยัดค่าใช้จ่าย และพิจารณาราคาสินค้ามากขึ้น นอกจากนี้การที่เงินบาทแข็งค่าส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกปลากระป๋องของไทยด้วย จากเดิมที่ผู้ส่งออกของไทยเสียเปรียบในเรื่องที่ประเทศคู่ค้าสำคัญทั้งสหรัฐฯและสหภาพยุโรปยกเว้นหรือลดภาษีให้กับประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย เช่น สหรัฐฯยกเว้นภาษีการนำเข้าปลาทูน่าบรรจุถุงให้กับเอกวาดอร์ สหภาพยุโรปลดภาษีให้กับกลุ่มประเทศในแอฟริกา ทะเลแคริบเบียน และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นต้น ดังนั้นผู้ประกอบการในธุรกิจปลากระป๋องของไทยต้องเร่งปรับตัว ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่นั้นค่อนข้างได้เปรียบผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลาง เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวมากกว่า รวมทั้งยังสามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างเหมาะสม พร้อมกับการควบคุมสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับในปี 2551 นับว่าเป็นปีที่น่าจับตามอง เนื่องจากจะเป็นปีที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมปลากระป๋องของไทยอย่างเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็นกรณีการลงทุนในเรื่องกองเรือประมงน้ำลึกทั้งเพื่อความมั่นคงในด้านวัตถุดิบและเอื้อต่อการได้รับสิทธิประโยชน์จากการเจรจาเขตการค้าเสรีกับญี่ปุ่น และการเจรจากับสหภาพยุโรปตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้า กรณีการไปลงทุนในประเทศที่เป็นแหล่งที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ คือ อินโดนีเซียและเวียดนาม หลังจากในระยะที่ผ่านมาไทยเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการลงทุนขยายตลาดในประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ การผลักดันให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋องเข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อสินค้าที่จะเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน-อียูจะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดอียูในปี 2551 เนื่องการชดเชยโควตาการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องที่อียูให้กับไทยจะหมดอายุลงในปี 2550 นี้

คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกปลากระป๋องของไทยในปี 2551ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากยังต้องเผชิญกับปัญหาเดิมในประเทศคู่ค้าหลักที่เป็นอุปสรรคในการส่งออก โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ส่วนการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปนั้นทิศทางการส่งออกนั้นต้องรอดูผลความสำเร็จในการผลักดันให้ปลากระป๋องเข้าไปเป็นหนึ่งในรายการสินค้าการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ซึ่งทำให้สินค้าปลากระป๋องไทยได้อานิสงส์ในการลดภาษีนำเข้า โดยจะมาทดแทนโควตานำเข้าที่ทางสหภาพยุโรปชดเชยให้ ซึ่งจะหมดอายุลงในปลายปีนี้ ส่วนตลาดส่งออกที่มีแนวโน้มดีนั้นมีเพียงตลาดญี่ปุ่น โดยจะได้รับอานิสงส์จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น

]]>
37540