Co-Creation – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 05 Apr 2018 09:08:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ไอคอนสยาม” ปั้น “สุขสยาม” ขนร้านค้าชุมชน 3,000 ราย ขึ้นห้างหรู ใช้โค-ครีเอชั่นเข้าช่วย https://positioningmag.com/1164942 Thu, 05 Apr 2018 07:40:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164942 เมื่อทุนใหญ่ค้าปลีกอย่าง “กลุ่มสยามพิวรรธน์” ได้ผนึกพันธมิตรบิ๊กเบิ้มเหมือนกันอย่าง “เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)” และ “แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น” ในเครือซีพี พลิกกรุที่ดินย่านเจริญนคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผุดโปรเจกต์ “ไอคอนสยาม” พัฒนาศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย มูลค่า 54,000 ล้านบาท เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของไทย ที่เทียบชั้นระดับโลก

ปัจจุบันไอคอนสยามก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 85% และคาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้เดือนตุลาคม 2561 ในส่วนพื้นที่ค้าปลีกได้ทยอยส่งมอบห้องให้ลูกค้าแล้ว

จังหวะนี้ “ชฎาทิพ จูตระกูล” กรรมการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารโครงการไอคอนสยาม จึงต้องทยอยนำเสนอ “แม่เหล็ก” ของโครงการภายใต้คอนเซ็ปต์  “7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก”

ล่าสุดเป็นคิวของโครงการ “สุขสยาม” ใช้งบลงทุน 700 ล้านบาท แปลงพื้นที่ 10 ไร่ หรือราว 15,000 ตร.ม. บริเวณชั้น G ซึ่งเป็นด้านล่างสุดของไอคอนสยาม ให้เป็นเมืองมรดกทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ด้วยการนำเสนอค้าปลีกรูปแบบใหม่ ดึง “ร้านค้าชุมชน 3,000 ร้าน” จากทั่วประเทศมาไว้ในห้าง

แต่ดึงแค่ร้านค้าชุมชนเปิดร้านเพียงอย่างเดียวก็คงไม่แปลกใหม่ ห้างไหนก็ทำได้ ไอคอนสยามจึงต้องใช้วิธีคอนเซ็ปต์ของการโค-ครีเอชั่น (Co-Creation) ถ่ายทอดโนว์ฮาวด้านธุรกิจ รวมถึงการผนึกกำลังกับพันธมิตรทางธุรกิจ ศิลปิน วิสาหกิจท้องถิ่น ชุมชนวิถีไทย และผู้ประกอบการรายย่อยระดับท้องถิ่นจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ มาร่วมกันสร้างสรรค์ในการนำเสนอสินค้าและสิ่งที่เป็นไทย ให้กับร้านค้าดังกล่าว เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงนักช้อปทั้งไทยและต่างชาติ 

นอกจากสินค้าดังจากชุมชน ยังมีพื้นที่ให้กับแบรนด์ไทยระดับแชมเปี้ยน 50 แบรนด์ เข้ามานำเสนอสินค้าและบริการในโครงการ “สุขสยาม” ด้วย ประเดิม “ไทยเบฟเวอเรจ” แบรนด์แรกเข้ามามีส่วนร่วม เพราะมีสินค้าดังในไทยและต่างประเทศจำนวนมาก

“ไอคอนสยามเรามีแม็กเน็ตเยอะมากที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนรวมอยู่ที่นี่ ทั้งร้านแบรนด์เนมหรูหลากหลาย มีห้างหรูทาคาชิมาย่าจากญี่ปุ่น ขณะที่สุขสยามเราไม่ได้ขายสินค้าอย่างเดียว แต่มีเรื่องราวบอกเล่าเกี่ยวกับสินค้าเพื่อเป็นจุดขาย รวมถึงมีวัฒนธรรม การท่องเที่ยวแต่ละภาคมานำเสนอ”

สำหรับการสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้เป็น “แม่เหล็ก” ดึงคนเข้าไอคอนสยาม ถือว่าแตกต่างจากคำว่า “มหัศจรรย์” ทั่วไปที่คนจะนึกถึงคำว่า “พิเศษ” แต่ในฐานะห้างค้าปลีก โจทย์ใหญ่ของการดึงนักช้อป นักท่องเที่ยวคือต้องทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย “รู้สึกว้าว!” ตั้งแต่แวบแรกที่เห็นสินค้าและบริการเหล่านั้น “ลักขณา นะวิโรจน์” ผู้บริหารและจัดการโครงการสุขสยาม กล่าว

ลักขณา เป็นอดีตผู้บริหารเดอะมอลล์ กรุ๊ป แต่ได้เข้ามาลุยโปรเจกต์สุขสยามให้กับไอคอนสยามมาเป็นเวลา 18 เดือนแล้ว.

]]>
1164942
เป็นสปอนเซอร์อย่างเดียวเอาไม่อยู่ “ไฮเนเก้น” ต้องเพิ่มดีกรีทำ Music Marketing ยุคนี้ต้องมีที่พักให้ด้วย https://positioningmag.com/1156062 Thu, 08 Feb 2018 04:08:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156062 มิวสิกมาร์เก็ตติ้ง ถือเป็นเครื่องมือการตลาดสำคัญของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในการ engage ให้คนดูมีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ 

แต่ที่ผ่านมา มักจะอยู่ในรูปของ “สปอนเซอร์” เทเงินให้เจ้าของงาน แลกกับสิทธิในการได้โปรโมตโลโก้แบรนด์ในโฆษณา และขายเครื่องดื่มในงานเท่านั้น ซึ่งทุกแบรนด์ก็ทำเหมือนๆ กัน

ไฮเนเก้น จึงต้องการฉีกรูปแบบการทำ หันมาร่วมคิดร่วมทำกับผู้จัดงาน หรือเรียกว่าตั้งแต่การครีเอตงาน ดึงเอาปัญหา (Pain point) ของผู้บริโภคเวลาไปดูคอนเสิร์ต มาต่อยอดทำกิจกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่พัก ความสะดวกสบาย เป็นต้น

ภัททภาณี เอกะหิตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้นและสตรองโบว์ กลุ่มบริษัท ทีเอพี บอกว่า งานแรกที่ใช้แนวคิดคือ งาน “YAK Festival” จัดโดย ป๋าเต็ด ยุทธนา ที่จะมีทั้งที่พัก มีเลานจ์ให้พักผ่อน เครื่องดื่มมาตรฐานและพิเศษ ให้กับกลุ่มเป้ามาย

งานถัดไป S2O Songkran Music Festival” จัดในช่วงสงกรานต์ และกลางปี จะเป็นงาน “Sensation Thailand 2018presented by Heineken” ซึ่งเป็นเทศกาลดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก ที่จะกลับมาแสดงที่ไทยอีกครั้งในรอบ ปี

โดยทั้งปีคาดว่าจะทำมิวสิกมาร์เก็ตติ้งมากกว่าปี 2560 ที่มีทิ้งสิ้น งาน

การทำมิวสิกมาร์เก็ตติ้งปีนี้ ไฮเนเก้นจึงวางกลยุทธ์ Five Star Music Experience มาเป็นตัวขับเคลื่อนในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

• ในการเป็นสปอนเซอร์เทศกาลดนตรี จะต้องเป็นงานใหญ่ เป็นงานที่กลุ่ม Millennial มองหา รวมถึงงานสะท้อนภาพอินเตอร์ เพื่อสอดคล้องกับ Positioning ของแบรนด์

การเสริมที่พักเข้าไปบริการแก่ลูกค้า โดยเฉพาะงานที่จัดขึ้นในต่างจังหวัด ส่วนบางงาน เช่น จัดงานกรุงเทพฯ อาจจะมีแค่พื้นที่พักผ่อนให้

• สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เลานจ์ ห้องน้ำที่สะอาดรองรับผู้บริโภค ข้อนี้เถือเป็นหนึ่งใน Pain Point ที่ลูกค้าเจอเมื่อร่วมงานคอนเสิร์ตที่มีคนเรือนหมื่นเรือนแสน

ต้องมิกซ์ทั้งมาตรฐาน และเครื่องดื่มพิเศษ เพื่อให้โดนใจผู้บริโภค สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ

• เมื่อคอนเสิร์ตมีคนร่วมงานจำนวนมาก หลังจบงาน มักมีขยะที่เกิดขึ้น ดังนั้นแบรนด์ต้องหันมาใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น เพราะถ้าผู้บริโภคได้เจอประสบการณ์ที่ไม่ดี ก็จะมองมาที่แบรนด์ผู้สนับสนุนงานและตั้งกระทู้ตำหนิบนโลกออนไลน์

ใน กลยุทธ์ดังกล่าว การให้บริการที่พักเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นครั้งแรกที่ไฮเนเก้นออกแบบทำที่พักเองจำนวน 15 ห้อง รองรับลูกค้า 30 คน การมี Butler คอยให้บริการแก่ลูกค้า โดยต่อยอดสร้างกิจกรรมขึ้นมา ให้ลูกค้าเล่นเกมชิงรางวัล และขอชิมลางในงาน YAK Festival ก่อน

แต่ในอนาคตบริษัทกำลังมองหา “พันธมิตร” ที่เป็นโรงแรมที่มีไลฟ์สไตล์ เข้ามาทำโปรเจกต์ดังกล่าวร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในการทำ Co-Creation มากขึ้น  

ห้องพักของไฮเนเก้นในงาน Yak Festival

อย่างไรก็ตาม ปีที่ผ่านมา ไฮเนเก้นทุ่มงบเพื่อทำมิวสิกมาร์เก็ตติ้งมากขึ้น เพราะผู้บริโภคชื่นชอบ อย่างในปีนี้งบในการทำตลาดและประชาสัมพันธ์ 100% จะใช้ในมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง 30%

“ทุกแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการใช้  Music Experience  Marketing เป็นแกนในการทำตลาด เพราะดนตรีช่วยสร้าง Branded Content และสร้าง Engagement กับผู้บริโภค และไฮเนเก้นก็ทำมิวสิกมาร์เก็ตติ้งมาตลอด ปี และไม่ทำสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งเลย เพราะกีฬามีข้อจำกัดเรื่องเวลาการถ่ายทอดสด และกิจกรรมยังไม่ Dynamic เท่าที่ควร อีกทั้งเบียร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีไลฟ์สไตล์การเข้าสังคมสามารถไปกับเทศกาลดนตรีได้อย่างดี” 

การทำตลาดครั้งนี้ ไฮเนเก้นต้องการย้ำภาพความเป็น “เบียร์พรีเมียม” และขอเป็นแบรนด์แรกในใจของผู้บริโภคเมื่อนึกถึงเทศกาลดนตรี (Top of Mind) และสามารถเข้าถึง (Reach) กลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า 10 ล้านคน เติบโตขึ้น 20% จากปีก่อน  

สำหรับภาพรวมตลาดเบียร์ในปี 2560 มีมูลค่ากว่า แสนล้านบาท ติดลบ 6% ตลาดแบ่งเป็นเบียร์เมนสตรีม เช่น ลีโอ ช้าง สัดส่วน 95% และพรีเมียม 5% ซึ่งตลาดนี้ไฮเก้นครองส่วนแบ่งทางการตลาด 80% หรือคิดเป็นมูลค่า 3,500 ล้านบาท.

]]>
1156062