อย่างไรก็ตาม การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวอาจไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด เนื่องจาก คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (US Federal Trade Commission: FTC) กำลังฟ้องร้องเพื่อสกัดข้อตกลงการควบรวมกิจการของ Tapestry กับ Capri Holdings
สาเหตุที่ทำให้ FTC ยื่นฟ้องระงับการควบรวมกิจการเป็นเพราะ สมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐฯ หลายรายต้องการให้ FTC เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบดีลการควบรวมกิจการมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีความเสี่ยงทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ผู้บังคับใช้การต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐฯ ยังได้ออกแนวทางการควบรวมกิจการใหม่ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมตลาดที่ยุติธรรม เปิดกว้าง และมีการแข่งขัน
“ข้อเสนอการควบรวมกิจการอาจส่งผลต่อการแข่งขันด้านราคา ส่วนลดและโปรโมชั่น นวัตกรรม การออกแบบ การตลาด และการโฆษณา” FTC กล่าวในแถลงการณ์
ย้อนไปเดือนสิงหาคม 2023 ที่ผ่านมา บริษัท Tapestry ได้เสนอซื้อ Capri โดยหวังว่าจะต่อสู้กับคู่แข่งรายใหญ่ของยุโรป เช่น LVMH ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Louis Vuitton และอาจได้รับส่วนแบ่งมากขึ้นในตลาดสินค้าหรูหราระดับโลก แม้ดีลดังกล่าวจะเริ่มพูดคุยในเดือนสิงหาคม แต่แต่ FTC ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ FTC เตรียมยื่นฟ้องให้ระงับการควบรวม ทาง Capri Holdings ก็ออกมาแสดงความเห็นว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการตัดสินใจของ FTC โดยบริษัทมองว่า หน่วยงานไม่ได้มองถึง ความเป็นจริงของตลาดที่แข่งขันกันเข้มข้น และธุรกรรมนี้จะไม่ส่งผลต่อการแข่งขัน
ขณะที่ Tapestry กล่าวเสริมว่า ดีลดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เอื้อการแข่งขันและสนับสนุนผู้บริโภค และ FTC กำลังเข้าใจผิดถึงการแข่งขันของตลาดและวิธีที่ผู้บริโภคซื้อสินค้า
]]>Michael Kors และ Kate Spade กำลังจะกลายเป็นพี่น้องกัน โดยบริษัท Tapestry Inc. ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าลักชัวรี่อย่าง Kate Spade และ Coach ว่าบริษัทได้ซื้อกิจการ Capri Holdings ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Michael Kors และ Versace ในมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 3 แสนล้านบาท เพื่อให้พวกเขาสามารถแข่งขันกับแบรนด์สินค้าระดับไฮเอนด์จากยุโรปได้ดีขึ้น
ข้อตกลงดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2024 โดยเมื่อธุรกิจควบรวมกันแล้วเสร็จจะประกอบด้วย 6 แบรนด์ ที่ส่งเสริมกันอย่างมากและเข้าถึงได้ทั่วโลก ซึ่งบริษัทเชื่อว่ายอดขายต่อปีหลังจากควบรวมจะมีมูลค่ามากกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายสินค้าในกว่า 75 ประเทศ นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันในช่วง 3 ปีหลังจากปิดดีล จะช่วยให้ลดต้นทุนได้ 200 ล้านดอลลาร์
“การรวมตัวกันของ Coach, Kate Spade และ Stuart Weitzman ร่วมกับ Versace, Jimmy Choo และ Michael Kors จะกลายเป็นกลุ่มสินค้าลักชัวรี่ที่ทรงพลังแห่งใหม่ ปลดล็อกโอกาสพิเศษในการขับเคลื่อนมูลค่าที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้บริโภค พนักงาน ชุมชน และผู้ถือหุ้นทั่ว” Joanne Crevoiserat CEO ของ Tapestry กล่าวในแถลงการณ์
โดยเจาะไปภายใต้ข้อตกลงพบว่า ผู้ถือหุ้นบริษัท Capri จะได้รับ 57 ดอลลาร์/หุ้น และมูลค่าหุ้นพุ่งขึ้น 60% ในช่วงต้นของการซื้อขาย ขณะที่หุ้นของ Tapestry ตกไปเกือบ 6%
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งสองบริษัทได้เปลี่ยนชื่อบริษัทแม่ เนื่องจากพวกเขาต้องการขยายพอร์ตโฟลิโอของแบรนด์แฟชั่น โดย Coach เปลี่ยนชื่อแม่เป็น Tapestry ในปี 2017 และ Michael Kors เปลี่ยนเป็น Capri หลังจากซื้อ Versace ในปี 2018 อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้ระบุว่าชื่อ Tapestry จะยังคงอยู่หรือไม่หลังจากการปิดการซื้อกิจการ
การที่ทั้งสองแบรนด์มีการขยายตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Neil Saunders กรรมการผู้จัดการของ GlobalData มองว่า แม้ว่าบริษัทใหม่จะไม่มีชื่อเสียงหรือใหญ่โตเหมือนบริษัทในยุโรป แต่ก็จะมีอิทธิพลอย่างมากในตลาดสินค้าลักชัวรี่ และเพื่อให้สามารถสู้กับแบรนด์จากยุโรปได้ ทั้ง 2 จึงเลียนแบบกลุ่ม LVMH และ Kering ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงในการดูแลแบรนด์ที่ดึงดูดกลุ่มต่าง ๆ ของตลาด
“การรวมกลุ่มสินค้าลักชัวรี่ช่วยให้มีการจัดการร่วมกันและความสามารถในการปฏิบัติงานที่กว้างขวาง ซึ่งสามารถใช้กับแบรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล”
สำหรับกลุ่มบริษัท LVMH ของฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าลักชัวรี่ 75 แบรนด์ อาทิ Louis Vuitton, Dior, Tiffany & Co. แบรนด์เครื่องประดับสัญชาติสหรัฐฯ ส่วนบริษัท Kering เป็นบริษัทแม่ของ Gucci และ Saint Laurent และเมื่อเดือนก่อนบริษัทได้ซื้อหุ้น 30% ในกิจการของ Valentino
ย้อนไปช่วง Q2/2023 ที่ผ่านมา ตลาดสินค้าลักชัวรี่ในสหรัฐอเมริกาได้ชะลอตัวลง โดย Jean-Jacques Guiony ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ LVMH กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า ยอดขายของกลุ่ม LVMH ในสหรัฐฯ ลดลง 1% ดังนั้น การชะลอตัวดังกล่าวถือเป็นสัญญาณเตือนที่สร้างแรงกดดันให้กับ Tapestry และ Capri ซึ่งทั้งสองอย่างนี้กำลังมองหาตลาดต่างประเทศเพื่อหนุนการเติบโต
]]>Versace ถูกวิพากษ์วิจารณ์เมื่อวันอาทิตย์ สำหรับเสื้อยืดที่บอกเป็นนัยว่าฮ่องกงและมาเก๊ามีเอกราช ซึ่งขณะนี้ “ฮ่องกง” กลายเป็นประเด็นที่อ่อนไหวเป็นพิเศษในจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะที่ศูนย์กลางทางการเงินของเอเชียแห่งนี้ มีการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย
ในวันจันทร์มีภาพเสื้อยืด Coach ที่ระบุว่าไต้หวันและฮ่องกงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน สร้างความไม่พอใจในโลกออนไลน์ นอกจากนั้น Givenchy ก็ทำผิดในลักษณะเดียวกัน ด้วยเสื้อยืดสีดำที่ระบุว่า ไต้หวันและฮ่องกงนั้นแยกออกจากจีนแผ่นดินใหญ่
ขณะนี้ทั้งสามแบรนด์แฟชั่นสุดหรูกำลังพยายาม “ลดความเสียหาย” ที่เกิดจาก “ความผิดพลาด”
Coach ระบุผ่านแถลงการณ์ในวันจันทร์ (12 สิงหาคม) ว่าเสื้อผ้าที่มี “ความไม่ถูกต้องร้ายแรง” ถูกเก็บแล้ว และทางบริษัท “ตระหนักถึงความร้ายแรงของข้อผิดพลาดนี้และเสียใจอย่างสุดซึ้ง”
ทางด้าน Versace ก็ขอโทษว่า “เรารักประเทศจีนและเคารพในอำนาจอธิปไตยด้านดินแดนของจีน” แบรนด์อิตาลีเขียนไว้ในโซเชียลมีเดีย Weibo ที่มีลักษณะคล้าย Twitter
]]>