เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จักกับ โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ (UAV : Unmanned Aerial Vehicle) และน่าจะรู้ถึงข้อจำกัดที่โดรนต้องมีคนบังคับ แต่ล่าสุดข้อจำกัดดังกล่าวได้ถูกปลดล็อคแล้ว พร้อมยกระดับความสามารถไปอีกขั้นสู่ 5G AI Autonomous Drone ที่เกิดจากความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่าง AIS 5G กับกลุ่ม ปตท. ผ่านการทำงานกับบริษัท ARV ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของไทย
หลายคนน่าจะรู้จักกับ วังจันทร์วัลเลย์ ฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ที่เป็นพื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอากาศยานไร้คนขับ, ยานยนต์อัตโนมัติ, นวัตกรรมพลังงาน และด้านคลื่นความถี่พิเศษ
โดยนับตั้งแต่ปี 2561 เอไอเอส ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ในการนำ 5G และดิจิตัลแพลตฟอร์มมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ และล่าสุด AIS ได้ร่วมกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. พัฒนา 5G AI Autonomous Drone System โดยใช้ชื่อว่า Horrus ที่พัฒนาโดยคนไทยทั้งหมด
“เทคโนโลยี 5G ไม่ใช่ประโยชน์พื้นฐานของผู้บริโภคเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมมาก 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และเป็นตัวเชื่อมของทุกเทคโนโลยีบนโลกนี้ โดยในพื้นที่โซนภาคตะวันออกซึ่งครอบคลุมพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี (EEC) รวมถึงพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ AIS 5G ได้ ครอบคลุมแล้ว 100% และครอบคลุมประเทศไทยแล้ว 87%” ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าว
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย เล่าว่า โจทย์ของการพัฒนา Horrus คือ การบินได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้มนุษย์มาบังคับ แต่การจะทำได้นั้นจำเป็นต้องใช้ เซลลูลาร์โดรน (Cellular Drone) เนื่องจากต้องใช้ แบนด์วิดท์ที่สูง และ ความหน่วงต่ำ เพื่อให้ตอบสนองแบบเรียลไทม์ มีระยะครอบคลุมเส้นทางการบินให้มีความเสถียรและปลอดภัย สามารถรับ-ส่งต่อข้อมูลทั้งภาพ เสียง และวิดีโอ กลับมายังศูนย์ควบคุมได้แบบรวดเร็วและเรียลไทม์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยี 5G ถูกนำเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโดรนให้ตอบโจทย์การใช้งาน
ดังนั้น ทีมวิศวกรของ AIS จะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไว้อย่างสมบูรณ์ อาทิ การออกแบบ Network Architecture หรือ สถาปัตยกรรมโครงข่าย 5G SA (Standalone) บนคลื่น 2600 MHz โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี Autonomous Network ซึ่งมีความอัจฉริยะในการจัดการและดูแลระบบได้ด้วยตัวเอง, การใช้ Network Slicing เพื่อตอบสนองแอปพลิเคชันที่ต้องการคุณสมบัติทางเครือข่ายที่แตกต่างกัน รวมถึงบริการ MEC (Multi-access EDGE Computing) และ PARAGON Platform เพื่อรองรับการบริหารจัดการ และพัฒนาโซลูชันที่ต้องการความหน่วงต่ำ
“ข้อจำกัดทางเทคโนโลยีโดรน คือ ต้องมีคนบังคับโดรน แบบ Line of sight หรือ ต้องคือต้องบินโดรนอยู่ในระยะสายตาของผู้บังคับโดรนเท่านั้น ดังนั้น เราจึงต้องการทำให้เหนือกว่านั้น โดยใช้เซลูลาร์โดรน จากตอนแรกเราต้องติดมือถือไปกับโดรน แต่ตอนนี้เพียงแค่ใส่ซิม โดรนก็สามารถทำงานได้เลย”
ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ในเครือ ปตท. สผ. อธิบายว่า ด้วยเทคโนโลยี 5G และ Network Slicing จะช่วยเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล ลดความหน่วงในการสั่งการควบคุมโดรน มีความเสถียรมากกว่าสัญญาณวิทยุและ Wifi จึงทำให้ Horrus สามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัย และเป็นระบบอัตโนมัติตามเวลาและเส้นทางการบินที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติและส่งแจ้งเตือนกลับมาที่ศูนย์ควบคุมได้แบบเรียลไทม์
ที่ผ่านมาบริษัท ARV ได้เริ่มมีการทดลองใช้ Horrus ในการ ติดตามความคืบหน้าในการก่อสร้าง โดย Horrus จะเก็บข้อมูลภาพเพื่อมาทำการเทียบกับข้อมูลก่อนหน้าเพื่อตรวจสอบความคืบหน้า นอกจากนี้ ได้มีการร่วมกับ กรมทางหลวง ในการใช้ Horrus สำรวจข้อมูลสภาพการจราจรและรายงานอุบัติเหตุต่าง ๆ ในช่วงเทศกาล นอกจากนี้ในอนาคตยังสามารถนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกมากมาย
“ด้วยเครือข่าย 5G ทำให้ Horrus สามารถบินไกลกว่าการใช้สัญญาณวิทยุทั่วไป ช่วยให้สามารถบินได้หลายครั้ง และบินพร้อมกันได้หลายลำ ไม่ว่าจะอยู่กรุงเทพหรือที่ไหนก็สามารถสั่งงานได้ โดย Horrus จะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีข้อจำกัด อาทิ การใช้โดรนตรวจสอบการทำงานในพื้นที่โรงงาน, การสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ในธุรกิจของกลุ่ม ปตท.” ดร.ธนา กล่าว
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ทิ้งท้ายว่า ความร่วมมือกับบริษัท ARV แสดงให้เห็นถึงภารกิจของ AIS ที่ต้องการนำนวัตกรรมมาเสริมสร้างและพัฒนา พร้อมขับเคลื่อน Digital Economy ของไทย ผ่านการเป็นพาร์ทเนอร์กับองค์กรต่าง ๆ และ Use case ซึ่งการใช้ 5G ยกระดับโดรน เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความเป็นไปได้ในการใช้โดรนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
“เรามองว่าสิ่งที่เราทำเป็นแค่ 10% ของโซลูชันที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีในอนาคต ดังนั้น ต้องจับตาดูถึงความร่วมมือใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามวิสัยทัศน์ของ AIS ที่จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ รองรับการเติบโตของภาคอุตสหกรรมในอนาคต” ธนพงษ์ ย้ำ
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
“Your Trusted Smart Digital Partner”
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://business.ais.co.th
]]>
‘องค์การบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ’ หรือ ‘Federal Aviation Administration : FAA’ ได้สรุปการออกกฎใหม่สำหรับ ‘โดรนขนาดเล็กไร้คนขับ’ ที่จะสามารถปูทางไปสู่การใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงบริการจัดส่ง โดยกฎใหม่นี้ถือเป็นครั้งแรกที่อนุญาตให้โดรนเชิงพาณิชย์ขนาดเล็กบินได้ในระยะทางสั้น ๆ เหนือผู้คน, ยานพาหนะที่เคลื่อนที่ได้ในเวลากลางคืนเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้ควบคุมโดรนจะต้องมีใบรับรองนักบินระยะไกล ซึ่งปัจจุบัน สหรัฐฯ มีโดรนจำนวน 1.7 ล้านเครื่องที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ FAA และนักบินโดรนมากกว่า 203,000 คน
“กฎใหม่นี้ทำให้เกิดการรวมโดรนเข้ากับน่านฟ้าของเรามากขึ้น โดยการจัดการกับข้อกังวลด้านความปลอดภัย พวกเขาทำให้เราเข้าใกล้วันที่เราจะเห็นการทำงานของโดรนเป็นประจำมากขึ้น เช่น การส่งพัสดุ” Steve Dickson ผู้ดูแล FAA กล่าว
FAA กล่าวว่า ได้ส่งการเปลี่ยนแปลงกฎไปยัง Federal Register และคาดว่าจะเผยแพร่ในเดือนมกราคม ซึ่งข้อบังคับใหม่จะมีผลใน 60 วันหลังจากการเผยแพร่ โดยกฎใหม่นี้ถือเป็นการก้าวไปข้างหน้าอย่างมีนัยสำคัญของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการใช้งานโดรนเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่ Amazon ที่คิดไว้ตั้งแต่ปี 2013 ตั้งแต่นั้นมาการพัฒนากฎข้อบังคับเกี่ยวกับโดรนของ FAA ได้ดำเนินไปอย่างดีด้วยแรงกระตุ้นจากนักวิจารณ์ที่กังวลว่าประเทศอื่น ๆ สามารถก้าวไปข้างหน้าและได้รับความได้เปรียบเพราะเป็นรายแรกที่ใช้โดรนส่งของ
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้การสนับสนุนในอุตสาหกรรมกล่าวว่า ยังมีอีกหลายขั้นตอนในการส่งโดรนจะไปสู่กระแสหลักในสหรัฐฯ ได้อย่างแท้จริง โดยเมื่อปีที่แล้ว UPS และ Wing ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Google ได้กลายเป็นบริษัทแรกที่ได้รับการอนุมัติจาก FAA ให้ดำเนินการสายการบินโดรนในเดือนสิงหาคม เช่นเดียวกันกับ Amazon ที่ได้รับใบรับรองการอนุมัติเดียวกัน
ภายใต้กฎใหม่ของ FAA โดรนขนาดเล็กจะต้องติดตั้งไฟป้องกันการชนและเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อช่วยระบุทั้งเครื่องบินและผู้ปฏิบัติงานจากระยะไกลตามเอกสารข้อเท็จจริงของ FAA และนักบินจะไม่จำเป็นต้องเข้ารับการทดสอบการฝึกอบรมด้วยตนเองทุก ๆ สองปีอีกต่อไป แต่พวกเขาสามารถทำแบบทดสอบออนไลน์ได้
]]>รายงานข่าวกล่าวว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาผู้ร่างกฎหมายของสหรัฐได้เสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแบนโดรนจีน หลังจากที่กำลังได้รับความนิยมในหน่วยงานต่างๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ตำรวจในฟรีมอนต์แคลิฟอร์เนียใช้เทคโนโลยีโดรนของ DJI พร้อมกับกล้องอินฟราเรด ค้นหาเด็กชายที่มีปัญหาด้านอารมณ์ซึ่งหายตัวไปในเวลากลางคืน หลังจากที่หนีออกจากโรงเรียน ตำรวจใช้โดรนและเทคโนโลยีจีนตามหาจนพบเขาและพากลับมาอย่างปลอดภัย
ยังมีหน่วยดับเพลิงของสหรัฐฯ ใช้โดรนติดกล้องอินฟราเรดของ DJI สำรวจพื้นที่เพลิงไหม้ ซึ่งสามารถสำรวจได้ทั้งความรุนแรง พื้นที่เกิดเหตุ และคนหรือสิ่งมีชีวิตในพื้นที่หรืออาคารปิดทึบ กว้างแคบ หรืออยู่สูงเพียงใดก็ได้ นับว่ามีประสิทธิภาพสูงในการสำรวจก่อนส่งเจ้าหน้าที่ฯ เข้าปฏิบัติภารกิจทั้งกู้ชีพ และผจญเพลิง
แต่ข้อดีเหล่านี้กำลังจะดีเกินจนส่งผลบรรดาฝ่ายความมั่นคงสหรัฐฯ ระแวง และตั้งกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในการใช้โดรนจีน
ในฝั่งของหน่วยงานความมั่นคงอ้างว่า นอกจากข้อดีของการช่วยงานเจ้าหน้าที่ โดรนของ DJI ยังถูกคนนำไปใช้ในเรื่องผิดกฎหมาย เหตุการณ์การก่อการร้าย และการส่งมอบยาเสพติดในเรือนจำ
คริสโตเฟอร์ วิลเลียมส์ หัวหน้าผู้บริหารของ Citadel Defense บริษัทจำหน่ายเทคโนโลยีเชิงป้องกัน ที่ตั้งอยู่ในซานดิเอโก กล่าวว่า
“ตลาดโลกกำลังหลับใหล ชาวจีนเริ่มสร้างสิ่งเหล่านี้เป็นของเล่น”
“สหรัฐฯ เป็นเพียงแค่ผู้ใช้”
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผู้ร่างกฎหมายของสหรัฐฯ จึงได้เร่งออกกฎหมายฯ มากกว่า 20 ฉบับ โดยส่วนมากมุ่งเป้าไปที่การควบคุมหรือจำกัด เครื่องจักรไฮเทคที่ผลิตในประเทศจีน
กฎหมายที่โดดเด่นที่สุดคือ “พระราชบัญญัติการอนุญาตให้ใช้ป้องกันแห่งชาติ (National Defense Authorization Act: NDAA) ที่ตั้งงบประมาณการทหารปีละ 780 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งผ่านทั้งสองสภาแล้ว และคาดว่าจะเป็นกฎหมายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เนื้อหาที่มีอยู่ในกฎหมาย 1,976 หน้านี้ รวมถึงการห้ามไม่ให้กองทัพสหรัฐฯ ซื้อโดรนที่ผลิตในจีน
วุฒิสมาชิก ริค สก็อตต์ จากพรรครีพับลิกันในรัฐฟลอริดา กล่าวว่า “เราต้องจริงจังกับภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศที่เราเผชิญอยู่จากพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งกำลังขโมยเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาของเรา”
“รัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงซื้อเทคโนโลยีที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น โดรนจากบริษัทจีนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ เราไม่พึงอนุญาตเรื่องแบบนี้”
นอกจากนี้ หลังจากทำเนียบขาวกำหนดให้โดรนเป็นอุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ในเดือนมิถุนายนโดยอ้างถึงความเสี่ยงของ “การล่มสลายของผู้ประกอบการในประเทศ” วอชิงตันยังได้ปัดฝุ่นพระราชบัญญัติป้องกันการผลิตปี 1950 ที่เคยใช้เพื่อกระตุ้นการผลิตอลูมิเนียมและไทเทเนียมในช่วงสงครามเกาหลี และสนับสนุนผู้ผลิตโดรนพาณิชย์ของสหรัฐ
กฎหมายนี้ รวมถึงสัญญาของรัฐบาลกลางที่ค้ำประกันการให้สินเชื่อพิเศษ การยกเว้น การต่อต้านการผูกขาด แม้กระทั่งการร่วมทุนฯ
ข้อมูลจาก Skylogic Research คาดการณ์ว่า บริษัท DJI มีส่วนแบ่งประมาณ 74% ของตลาดโดรนเชิงพาณิชย์ทั่วโลก ในปี 2018 ซึ่งมีมูลค่าของตลาดโดรนทั่วโลกในปัจจุบัน มีประมาณ 4.9 พันล้านเหรียญ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในทศวรรษหน้า
DJI ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคที่เพิ่มขึ้น ในเดือนตุลาคมกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐอเมริกาได้สั่งระงับเที่ยวบินโดรนของ DJI ในพื้นที่ของสหรัฐฯ
]]>ปัจจุบัน มีแบรนด์หลักๆ ที่ทำตลาดอยู่ประมาณ 3 แบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น DJI, Parrot, Xiro ที่แต่ละแบรนด์ก็มีจะหลากหลายรุ่นให้เลือกตั้งแต่ระดับไม่กี่พันบาท ไปจนถึงหลักแสนบาท ที่รวมโดรนเพื่อใช้ในการเกษตร ที่ภาครัฐกำลังผลักดันให้เกิดการใช้งาน
ต้องดูกันต่อไปว่า หลังจาก กสทช. ห้ามโดรนใช้งานจนกว่าจะมาลงทะเบียน ฝ่าฝืนโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเปิดให้ลงทะเบียนที่สำนักงาน กสทช. สถานีตำรวจ หรือสำนักงานการบินพลเรือนฯ จะกระทบตลาดโดรนอย่างไร
]]>โดยหัวหน้าส่วนงานดังกล่าวอย่าง Jeff Holden เผยว่า อากาศยานที่รองรับเทคโนโลยี Vertical Take off and Landing หรือ VTOL นั้นแตกต่างจากเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากอากาศยานแบบนี้สามารถมีใบพัดได้หลายตัว และมีเสียงดังรบกวนน้อยกว่า ซึ่งทาง Amazon เองก็อยู่ระหว่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในลักษณะเดียวกันนี้
ส่วนการนำโดรนแท็กซี่มาใช้งานนั้น Holden เผยว่า อูเบอร์ต้องการเสนอทางเลือกให้กับผู้โดยสารในการเดินทางนั่นเอง ซึ่งอูเบอร์ยังเผยด้วยว่า โดรนแท็กซี่ของทางบริษัทนั้นคาดว่าจะเริ่มออกบินได้ภายในทศวรรษนี้อย่างแน่นอน
ไม่เฉพาะอูเบอร์ แต่ปัจจุบัน มีบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งที่กำลังศึกษาวิจัยโดรนแบบ Self-flying อยู่ ซึ่งผู้พัฒนาหลักก็คือค่ายแอร์บัส (Airbus) ส่วนผลงานรุ่นโปรโตไทป์นั้นคาดว่าจะนำมาอวดโฉมได้ในช่วงปลายปี 2017
ส่วนโดรนแท็กซี่สัญชาติจีนจาก Ehang ที่รองรับผู้โดยสารได้หนึ่งคน และบินได้นาน 23 นาทีนั้นคาดว่าจะได้พบการใช้งานจริงเร็วกว่า เพราะคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ภายในปีนี้ (ราคา 300,000 เหรียญสหรัฐ)
ที่มา: http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000097113
]]>โดรนดังกล่าวมีชื่อรุ่นว่า PD6B-AW-ARM เป็นผลงานการพัฒนาของค่าย Prodrone จากนาโงย่า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งความพิเศษของมัน คือ สามารถเคลื่อนไหวส่วนแขนกลได้อย่างอิสระกลางอากาศ ซึ่งหากใช้ในแง่ดี ก็มีประโยชน์หลายทาง เช่น การส่งสินค้าที่ต้องการอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ การลดความเสี่ยงของพนักงานการไฟฟ้าด้วยการให้โดรนขึ้นไปตัดสายไฟแทน การให้โดรนช่วยโยนห่วงยางชูชีพให้คนจมน้ำกลางทะเล เป็นต้น
ทั้งนี้ โดรนรุ่นดังกล่าวได้นำมาจัดแสดงในงานสัมมนานานาชาติ InterDrone ซึ่งจัดขึ้นที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับแขนกลของโดรนรุ่นนี้สามารถรับน้ำหนักได้ราว 10 กิโลกรัม ส่วนระยะทางในการบินนั้น สามารถบินได้นาน 30 นาที หรือราว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง
อย่างไรก็ดี เมื่อมีการนำเสนอเกี่ยวกับโดรนดังกล่าวนี้ออกไปมากขึ้น ก็มีผู้ออกมาแสดงความวิตกกังวล เกรงว่าจะมีการใช้โดรนนี้ในทางที่ผิด เช่น Gizmodo ที่มองว่าอาจมีการใช้โดรนนี้ในการลักพาตัวเด็กด้วย
ที่มา: http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000092905
]]>โดยทางแอมะซอนได้ประกาศว่าบริษัทได้ร่วมกับหน่วยงานของทางรัฐบาลอังกฤษอย่าง the Civil Aviation Authority (CAA) อนุญาตให้มีการทดสอบการจัดส่งพัสดุภัณฑ์ขนาดเล็กด้วยโดรนขึ้นเป็นครั้งแรก ภายใต้กฎ 3 ข้อ ได้แก่ การทดสอบนั้นจะต้องอยู่ในสายตาของผู้ควบคุมโดรน, ต้องสามารถหลบสิ่งกีดขวางได้ และผู้บังคับโดรนต้องสามารถควบคุมโดรนหลายตัวได้
สำหรับพัสดุที่โดรนจะจัดส่งนั้นต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 2.3 กิโลกรัม (หรือ 5 ปอนด์) ซึ่งโดรนจะบินได้ที่ความสูง 400 ฟุต และต้องอยู่ให้ห่างจากท่าอากาศยานด้วย
ตัวแทนจาก CAA ระบุว่า ความสำคัญของการทดสอบนี้คือ เพื่อให้แน่ใจว่า การส่งสินค้าโดยใช้โดรนจะไม่กระทบกับการใช้น่านฟ้าของผู้ใช้งานคนอื่น
“เราจะไม่เปิดบริการจนกว่าจะทดสอบแล้วว่าปลอดภัย” ตัวแทนจากแอมะซอนกล่าวเสริม
ทั้งนี้ หากการทดสอบประสบความสำเร็จ แอมะซอนคาดว่าจะช่วยเพิ่มยอดขายให้ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้าที่อังกฤษจะอนุญาตให้มีการทดสอบโดรนโดยแอมะซอนนั้น กฎหมายปัจจุบันของอังกฤษได้ระบุว่า โดรนไม่สามารถบินเข้าใกล้ผู้คนหรืออาคารบ้านเรือนในระยะ 50 เมตรได้ และการใช้โดรนต้องอยู่ในระยะสายตา หรือต้องมีผู้บังคับอยู่ในระยะ 500 เมตร ส่วนผู้บังคับโดรนก็ต้องผ่านคอร์สอบรม และได้รับใบอนุญาตจาก CAA ก่อน ซึ่งข้อกำหนดที่กล่าวมาทำให้โอกาสเติบโตของธุรกิจโดรนต้องล้มไปในที่สุด
แอมะซอนเองก็เคยทดสอบการใช้โดรนส่งสินค้าในสหรัฐอเมริกา แต่พบกับข้อกำหนดหลายอย่างที่ยากต่อการปฏิบัติตาม ยกตัวอย่างเช่น FAA กำหนดว่า โดรนจะต้องแบกน้ำหนักพัสดุภัณฑ์ไม่เกิน 55 ปอนด์ โดรนแต่ละตัวต้องมีผู้ควบคุมเฉพาะ ไม่สามารถใช้คน ๆ เดียวบังคับโดรนหลาย ๆ ตัวได้ เป็นต้น และโดรนเพื่อการจัดส่งสินค้าต้องบินเฉพาะในเวลากลางวันเท่านั้น (30 นาทีก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ไปจนถึง 30 นาทีหลังพระอาทิตย์ตก)
อย่างไรก็ดี แม้จะมีข้อกำหนดที่เคร่งครัดมากในการใช้โดรน แต่ก็มีบริษัทที่สามารถทดสอบการใช้โดรนได้สำเร็จอย่าง Flirtey เกิดขึ้น และล่าสุดได้จับมือกับ 7-Eleven ไปแล้วนั่นเอง]]
ที่มา: http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000074304
]]>