แม้ทรู-ดีแทค จะควบรวมกัน แต่การรวม คลื่นความถี่ เป็นสิ่งที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ย้ำว่า ห้ามรวมกันเด็ดขาด ดังนั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงเปิดบริการโรมมิ่งข้ามเครือข่ายในชื่อสัญญาณ ‘dtac-true’ และ ‘true-dtac’ โดยลูกค้าทั้ง 2 ค่ายที่รวมกันกว่า 55 ล้านราย (ทรู 33.8 ล.) (ดีแทค 21.2 ล.) จะใช้งานได้ ผ่านการเปิดโรมมิ่งข้อมูล โดยจะครอบคลุม 77 จังหวัดภายในกลางเดือนมีนาคมนี้ นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะขยายโครงข่าย 5G ครอบคลุม 98% ของประชากร ในปี 2569 อีกด้วย
ทั้งนี้ หลังการควบรวม ทรู คอร์ปอเรชั่น มีคลื่นความถี่ทั้งหมด ได้แก่
คำถามที่หลายคนสงสัยคือ เมื่อควบรวมกัน ทำไมชื่อบริษัทกลับมีแต่ทรู โดย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า เนื่องจากแบรนด์ทรูมีโปรดักส์ด้านดิจิทัลที่ครอบคลุมกว่า เช่น เรื่องของคอนเทนต์ ดังนั้น บริษัทใหม่ที่ต้องการสื่อสารว่าเป็นบริษัท โทรคมนาคม-เทคโนโลยี จึงเลือกใช้ชื่อของทรู
“บริษัทใหม่จะได้ประโยชน์จากการผนึกกำลังร่วมกัน (Synergy) ทั้งด้านการลงทุนและรายได้ ซึ่งจะขับเคลื่อนร่วมกัน อาทิ โครงข่ายโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เครือข่ายไอที การจัดซื้อ การขาย การตลาด ช่องทางการค้าปลีก และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยจะนำสู่สมดุลความเสมอภาคและความเท่าเทียมในการแข่งขัน และจะนำมาสู่ประโยชน์สูงสุดของลูกค้า”
ฐานพล มานะวุฒิเวช หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด กล่าวว่า ตามกฎของกสทช. ที่กำหนดไว้ว่า เมื่อรวมกิจการแล้วต้องคงแบรนด์ไว้ 3 ปี ทำให้แบรนด์ทรู-ดีแทคยังคงอยู่ในตลาด ลูกค้าทั้งสองไม่ต้องเปลี่ยนซิมการ์ด สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง แพ็กเกจและอายุการใช้งานยังเหมือนเดิม รวมถึงช่องทางติดต่อหรือศูนย์บริการก็ยังใช้ของค่ายเดิมได้เลย
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่เคาะว่าในอีก 3 ปีจากนี้จะไปในทิศทางไหน จะรวมเป็นแบรนด์เดียว หรือ สร้างเป็นแบรนด์หลัก-แบรนด์รอง ซึ่งทั้ง 2 โมเดลก็มีข้อดี-ข้อเสียต่างกัน แต่ปัจจุบันการทำตลาดของ 2 แบรนด์ยังต้องทำคู่ขนานกันไป ยังต้องแข่งขันในการหาลูกค้าตามปกติ ขณะที่พนักงานก็ยังทำงานแยกกัน ดีแทคยังทำงานที่จามจุรี ส่วนพนักงานทรูยังอยู่ที่ตึกทรู
“เรากำลังศึกษาอยู่ว่าจะรวมเป็นแบรนด์เดียวหรือสร้างเป็นแบรนด์หลัก-แบรนด์รองเหมือนโตโยต้ากับเลกซัส”
ทั้งนี้ แม้แบรนด์จะแยกกันทำ แต่สิ่งที่ลูกค้าทั้ง 2 ค่ายจะได้เพิ่มเติมคือ สิทธิประโยชน์ที่รวมกัน เช่น ดีแทคจะสามารถเข้าถึงบริการคอนเทนต์ของทรู หรือลูกค้าทรูจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากแบรนด์พันธมิตรของดีแทคได้ โดยหลังจากควบรวม ทางบริษัทได้เพิ่ม Better Together Gifts ได้แก่ ดูฟรี บอล หนัง และคอนเทนต์ระดับโลก นาน 30 วัน ผ่านแอปฯ ทรูไอดี, เน็ตฟรี 10GB นาน 7 วัน ทั้งเติมเงิน และรายเดือน และดื่มฟรี 1 ล้านแก้ว เลือกรับฟรี All Cafe, KOI The, DAKASI วันที่ 10 และ 24 มี.ค. ให้กับลูกค้าทั้ง 2 ค่าย
“เราตั้งเป้าจะก้าวไปเป็นหนึ่งในองค์กรนายจ้างที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเราได้เพิ่มสวัสดิการให้เท่าเทียมทุกเพศ รวมถึงกลุ่ม LGBTQ+”
]]>นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประโยชน์ของการควบรวมบริษัทมีอยู่ 2 ประการ คือ ทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีนวัตกรรมมากขึ้น ประหยัดต้นทุนมากขึ้น ผู้บริโภคมีโอกาสได้ของดีราคาถูก อีกมุมคือ เพิ่มอำนาจการผูกขาด ทำให้ผู้บริโภคอาจเสียผลประโยชน์ ดังนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์ต้องชั่งน้ำหนักของ 2 ข้อนี้
“ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา องค์กรที่กำกับดูแลจะพิจารณาจาก ผลกระทบต่อผู้บริโภคเท่านั้น ว่าการควบรวมก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียกับผู้บริโภคมากกว่ากัน ถ้าเกิดผลเสียอย่างร้ายแรงก็จะ ห้ามการควบรวม แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นร้ายแรงก็จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม”
สำหรับการควบรวมของ ทรู-ดีแทค นั้นส่งผลดีหรือผลเสียให้ผู้บริโภคในทางเศรษฐศาสตร์นั้นพิจารณาจาก ผู้ประกอบการรายที่เหลือ (เอไอเอส) มีท่าทีอย่างไร ถ้ามีการ คัดค้าน หน่วยงานกำกับดูแลควรอนุญาตให้ควบรวม แต่ถ้า ไม่คัดค้านหรือสนับสนุน ควร ห้ามการควบรวม กรณีนี้ไม่มีใครคัดค้าน เพราะจะทำให้ตลาดกระจุกตัวเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์
หลักฐานที่ชัดเจนคือ ราคาหุ้นของทั้ง 3 บริษัทเพิ่มขึ้น แม้ว่าเอไอเอสไม่ได้เกี่ยวข้องกับการควบรวมก็ตาม นอกจากนี้ การควบรวมทรู-ดีแทค ยังถือว่าเป็นการผูกขาดในระดับ อันตรายมาก ดังนั้น จึงไม่ควรอนุญาตให้ควบรวม
“ทุกอย่างชี้ว่าการควบรวมครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ แต่เป็นผลเสียกับผู้บริโภค รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องดีลกับผู้ประกอบการที่จะเหลืออยู่ 2 รายในตลาด ไม่ว่าจะเป็นดีลเลอร์ที่เหลือแค่ 2 ทางเลือก ผู้พัฒนานวัตกรรมหรือสตาร์ทอัพก็มีทางเลือกน้อยลง จะเห็นว่าทุกฝ่ายแย่ลงหมดยกเว้นผู้ประกอบการ ดังนั้น ควรระงับไม่ให้เกิดการควบรวม”
ด้าน นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ สอบ. กล่าวว่า การควบรวมกิจการ มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน เพราะเมื่อทางเลือกลดลงย่อมส่งผลต่อราคา อีกทั้งยังทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล สิทธิในด้านกิจการโทรคมนาคมก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้น หวังว่าบอร์ดใหม่กสทช. จะพิจารณาให้ถี่ถ้วน
“จากงานวิจัยในอังกฤษพบว่า เมื่อผู้เล่นลดลงจาก 4 เหลือ 3 ราย ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นถึง 20% ดังนั้นจาก 3 เหลือ 2 ย่อมส่งผลต่อผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ทั้งทรู-ดีแทคออกมาประกาศว่า “อยู่ระหว่างการหารือเรื่องควบรวม” แต่กลับมีการเรียนอัตราการแลกหุ้นอย่างชัดเจน แสดงว่าทั้ง 2 บริษัทได้คำนวณเรื่องการควบรวมไว้แล้วแสดงว่า มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการเจรจากัน ก่อนที่จะมีการประกาศการควบรวม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 บริษัทตั้งใจจะควบรวมกิจการ ลึกที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
ไม่ว่าจะมีการควบรวมหรือไม่นั้น กสทช. เป็นองค์กรที่ต้องออกมากำกับดูแลหากเห็นพฤติกรรมที่ส่องเค้าที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ดังนั้น กสทช. ไม่ควรรีรอบอร์ดกสทช. ชุดใหม่ ควรจะวางกระบวนการตั้งแต่วันแรกที่มีการประกาศควบรวม ต้องเรียกขอดูข้อมูล และอีกปัญหาคือ ประกาศกสทช. ฉบับปี 2561 มีช่องว่างก่อให้เกิดความเสี่ยงในการควบรวมเมื่อเทียบกับประกาศของปี 2553 จากเดิมจะ ต้องมาขออนุญาตก่อน แต่ประกาศฉบับปี 61 แค่รายงานให้ทราบ
“เห็นชัดเจนว่าถ้าจาก 3 เหลือ 2 การแข่งขันน้อยลงอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าปล่อยให้ทั้ง 2 บริษัทเดินหน้าควบรวมโดยที่ไม่มีหน่วยงานไหนเลยเข้ามากำกับก็จะนำไปสู่ภาวะการผูกขาดหรือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจเกิดได้ตั้งแต่ก่อนที่การควบรวมจะสิ้นสุดด้วยซ้ำ เพราะแค่เจรจาก็สุ่มเสี่ยงแล้ว”
นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช ยอมรับว่า ตั้งแต่มีข่าวการควบรวม กสทช. ได้เรียกผู้ประกอบการมาชี้แจงบ้าง รวมถึงได้ประสานงานกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) แต่ช่วง 3 เดือนที่มีข่าว ทางกสทช. ไม่เคยนำเสนอเรื่องการควบรวมให้เป็นวาระการประชุมเลย เพิ่งมี 2 ครั้งหลังสุดที่มีการรายงานด้วยวาจา โดยไม่มีเอกสารวาระก่อนปิดประชุมทั้ง 2 ครั้ง
ดังนั้น กรรมการกสทช. จึงไม่มีเวลาถกแถลง หรือ หารือว่าจะทำอย่างไรต่อ และเป็นปัญหาที่ตัวข้อเท็จจริงยังอยู่ในชั้นสำนักงานทั้งหมด ซึ่งปัญหาที่เกิดถือเป็น จุดอ่อนของการบริหารของสำนักงานกสทช. อีกปัญหาคือ ตัวกฎหมายผู้ร่างคือสำนักงานกสทช. ซึ่งประกาศฉบับแก้ไขการรวมกิจการปี 61 ก็ร่างโดยสำนักงานกสทช. ซึ่งส่วนตัวนั้น ไม่เห็นด้วย เพราะกฎหมายปี 53 มีความเสี่ยงในการควบรวมได้ทันที
“หลายคนไม่เอะใจเลยว่า กฎหมายปี 61 เป็นแค่การรายงานให้ทราบ แต่ไม่มีอำนาจในการพิจารณา ถือเป็นประกาศที่อำนวยความสะดวกให้ธุรกิจไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบในการควบรวม ดังนั้น ตรงนี้ตรงไปตรงมามาก และผมไม่ได้เห็นด้วย”
อีกปัญหาสำคัญคือ การควบรวมมาในช่วงคาบเกี่ยวการแต่งตั้ง กสทช. ชุดใหม่ ซึ่งทางกรรมการชุดปัจจุบันไม่ใช่เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติเรื่องการควบรวม ดังนั้น เมื่อมีการเสนอคำขอควบรวม จึงทำให้เกิดความอิหลักอิเหลื่อหากบอร์ดทั้ง 2 ชุดเห็นไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ใน 1-2 สัปดาห์จากนี้ ขณะที่การควบรวมคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 65
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาเรื่องการควบรวมจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากมาประกอบว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ไม่เช่นนั้นจะเกิดการลำเอียงในการพิจารณาในภายหลัง ผู้ที่ขอยื่นอาจขอค้านทางปกครองในภายหลังว่าเราไม่มีความเป็นกลาง ดังนั้น โดยหลักแล้วทำให้กสทช. ต้องรอข้อมูลผลการศึกษาให้ครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันข้อถกเถียงเรื่องผลดีผลเสียจากการควบรวมของทรู-ดีแทค ยังเป็นแค่การพยากรณ์ทั้งสิ้น เพราะยังไม่เกิด แต่ถ้าปล่อยให้ควบรวมก็จะสายเกิดไปในการรับมือ
และทางกสทช. ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยมีการประสานงานกับ คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า โดยได้หารือว่าจะรับมืออย่างไร นอกจากนี้ คณะสภาผู้แทนราษฎรณ์ก็มีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งทางกสทช. ก็ได้หารือกันทุกสัปดาห์ มีการศึกษาผลระยะยาวสภาพตลาด ภายหลังจากการควบรวม เบื้องต้นพยายามรวมประเด็นเพื่อทำการวิเคราะห์ในทุกด้าน
“โดยสรุปแล้ว กสทช. ยังไม่ได้ฟันว่าจะไม่ให้ควบรวม หรือให้ควบรวม แต่ต้องปกป้องประโยชน์ต่อประชาชน และต้องคำนึงถึงมาตรการในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปได้คือ ถ้าจะพิจารณาเรื่องนี้ต้องวิเคราะห์โครงสร้างตลาดที่เหมาะสมในประเทศไทย มีมาตรการเชิงโครงสร้าง และสิ่งสำคัญต้องติดตามผลกระทบจากการควบรวมจริง ๆ”
ดร. สมเกียรติ ได้เสนอ 3 แนวทาง สำหรับป้องกันการผูกขาดที่จะเกิดจากการควบรวมทรู-ดีแทค ดังนี้
สุดท้าย ผศ.ดร. กมลวรรณ จิรวิศิษฏ์ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ ตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะยังไม่ควบรวมแต่การมีการ แบ่งปันข้อมูล อาจนำไปมาซึ่งการ ไม่แข่งขัน เพราะอาจมีการ ฮั้ว กันเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เรื่องนี้หน่วยงานกำกับดูแลต้องนำมาพิจารณาด้วย
]]>การตลาด การขายสินค้า ย่อมมาคู่กับการ “โฆษณา” เพียงแต่ว่าการโฆษณาในรูปแบบเดิมๆ ย่อมไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนี้แล้ว หลายคนไม่สนใจโฆษณา แต่ฟังจากคนรอบข้าง หรือ Influencer แทน ซึ่งผู้บริโภคมีตัวเลือกในการรับสื่อที่หลากหลาย
ทำให้นักการตลาดต้องเผชิญกับความท้าทายในการสร้างแบรนด์มากขึ้น การสร้างโฆษณาพร้อมกับคีย์แมสเสจปังๆ ให้ไวรัลติดหูกันทั่วเมืองคงไม่ง่ายเหมือนกับในอดีตแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีช่องทางเลือกมากขึ้นทั้งโฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อนอกบ้าน หรือสื่อออนไลน์ แต่ยุคนี้ก็มีเครื่องมือต่างๆ เช่น โปรแกรมบล็อคแอด หรือปุ่มกด Skip ads ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงโฆษณาได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ นักการตลาด หรือคนในแวดวงโฆษณาต่างต้องเปลี่ยนวิธีสร้างสรรค์โฆษณากันใหม่ เพราะวิธีแบบเดิมๆ ไม่ได้ผลอีกต่อไป ต้องอาศัยแพลตฟอร์ม และเครื่องมือดิจิทัลที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้การเข้าถึงผู้บริโภคอีกทั้งยังไม่สามารถทำสื่อแบบเหวี่ยงแห เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคเฉพาะบุคคลมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า Hyper Personalized Ads เพราะแต่ละคนมีความชื่นชอบ ความสนใจที่แตกต่างกัน
เทรนด์ของโฆษณายุคใหม่เริ่มฉายแสงไปที่การทำตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะบุคคลมากขึ้น เพราะการทำโฆษณาที่จับระดับแมส หรือคนกลุ่มใหญ่ คนที่ไม่สนใจอาจจะเกิดการรำคาญใจได้ ผู้บริโภคยุคใหม่จึงคาดหวังที่จะให้แบรนด์ตอบโจทย์แบบเฉพาะบุคคล (Personalization) มากกว่า
Hyper-Personalized Advertising จึงเกิดขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ด้วยการเชื่อมโยง “ความคิดสร้างสรรค์” เข้ากับ “เทคโนโลยี” ผ่าน Big Data ที่ผสานกับการใช้ Machine Learning และ AI เพื่อพัฒนาเป็นคอนเทนต์เจาะลึกผู้บริโภคเป็นรายบุคคล หรือการส่งต่อข้อมูลสื่อต่างๆ เฉพาะเจาะจงให้ตรงกับบุคลิก และรูปแบบการใช้งานของผู้บริโภครายนั้นๆ
อาทิ นำเสนอสินค้า และบริการ โปรโมชั่นหรือสิทธิประโยชน์สอดคล้องกับโลเคชันที่ลูกค้ากำลังจะไป หรือไปบ่อย หรือกำลังอยู่ในขณะนั้น (Geo-location) หรือในจังหวะที่ลูกค้าอยู่กับสิ่งๆ นั้นพอดี (Real-time Moment) รวมทั้งการจับข้อมูลได้จาก Digital Footprint เช่น เสิร์ช หรือคลิกดูสินค้า (Recommendation System) เป็นต้น
แต่การจะไปถึงเป้าหมายนั้น ไม่อาจทำงานแยกส่วนกันได้ เพราะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่าง งานครีเอทีฟของแบรนด์ และแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่พร้อมจะเป็นช่องทางให้เข้าถึงลูกค้าได้ถูกที่ถูกเวลาอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง และเพื่อให้เห็นภาพแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์ Hyper Personalization แล้วประสบความสำเร็จได้จริง ก็ต้องยกกรณีศึกษาของโฆษณาสุดเวิร์คในแบบ DTAC ที่เชื่อมโยงคอนเทนต์สุดว้าวเข้ากับแพลตฟอร์ม LINE เพื่อสร้าง Conversion และ Engagement
DTAC หนึ่งในผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทย เลือกที่จะใช้ช่องทางการเข้าถึงลูกค้าผ่าน LINE โดยเฉพาะบน LINE TODAY ช่องทางที่มีศักยภาพสูงในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก และมีระบบด้านโฆษณาที่สามารถสร้างสรรค์ให้มีความหลากหลาย
เมื่อมาดูศักยภาพของ LINE TODAY เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุดในตอนนี้ ด้วยจุดเด่นในการเป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร และคอนเทนต์ที่โดนใจคนไทย ด้วยยอดวิวเติบโตเกิน 50% ในทุกเดือนอย่างต่อเนื่องผู้ใช้งานเกินครึ่งเป็นกลุ่มคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล
และยังมีสถิติที่น่าสนใจว่า มากกว่า 99% ของผู้ใช้ LINE TODAY มองเห็น หรือรับรู้โฆษณาของแบรนด์ต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้นกว่า50% ของกลุ่มดังกล่าวมีการคลิกชมโฆษณาด้วย ชี้ให้เห็นว่า LINE TODAY เป็นพื้นที่ศักยภาพอย่างยิ่งของแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนเมือง
DTAC ได้ทำแคมเปญใหญ่ “เบอร์มงคลเฉพาะคุณ” เลือกนำเสนอสื่อโฆษณาผ่านแท็บ “ดูดวง” ใน LINE TODAY ที่นอกจากจะมีคอนเทนต์ด้านดวง โชคลาภต่างๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมร่วมกับผู้อ่านมากมายที่แฝงอยู่ในแท็บดังกล่าว ทั้งกิจกรรมเซียมซีจากวัดดังภาคต่างๆ หมุนวงล้อเช็คดวง หรือแม้กระทั่งลูกเล่นไอคอน “กระบอกเซียมซี” ให้คลิกเพื่อเขย่า เป็นต้น
โดยสำรวจจาก LINE พบว่ากว่า 95% ของผู้ใช้งาน LINE TODAY จะเข้าชมคอนเทนต์ในแท็บ “ดูดวง” เฉลี่ยอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ผู้ใช้งานประจำที่ชอบอ่านเรื่องดวงมีอัตราการเข้าชมคอนเทนต์ในส่วนนี้เกือบทุกวัน และมีจำนวนการใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปี 2020
โดยพบว่ายอดวิวในแท็บนี้ในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนสูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการมาถึง 254% ในขณะที่จำนวนผู้ใช้งานโดยรวมของ LINE TODAY ก็เพิ่มขึ้นสูงถึงกว่า 247% ตามไปด้วย จึงถือเป็นพื้นที่ใหม่มาแรงสำหรับนักการตลาด ที่แบรนด์ใหญ่อย่าง DTAC นำมาประยุกต์ใช้เพื่อนำเสนอสื่อโฆษณาให้เข้าถึงลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คนไทยเป็นสายมูเตลูมาช้านาน และมีความสนใจด้านนี้อย่างมาก จึงได้เห็นไอเท็มสายมูเกิดขึ้นมากมาย รวมไปถึง “เบอร์มงคล” ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ส่งที่น่าสนใจในแคมเปญนี้ก็คือ DTAC ไม่ได้วางแค่แบนเนอร์โฆษณาเพียงอย่างเดียว แต่ยังใส่ความครีเอทีฟ เชื่อมโยงกับฟีเจอร์ “เซียมซี” ของดูดวงเข้าไป เพื่อเชื่อมไปยังเบอร์มงคลของตนเองในที่สุด เรียกว่าเป็นการโฆษณาที่ถูกที่ ถูกเวลา
ก่อนหน้านี้ LINE ได้พัฒนาฟีเจอร์ “เซียมซี” ในแท็บ “ดูดวง” ภายใต้ LINE TODAY นอกจากจะตอบโจทย์ผู้บริโภคสายมูที่ชอบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังผสมผสานเทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูล และจับคู่คอนเทนต์กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
เมื่อเจาะลึกถึงการทำงาน Hyper Personalized Ads ในแท็บดูดวงบน LINE TODAY ของ DTAC มีการออกแบบคอนเทนต์ขึ้นใหม่เพื่อเจาะรายบุคคลผ่านกิจกรรม “เซียมซีขอพร” ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องงานการเงิน ความรัก และเรื่องทั่วไป
โดยทุกความสนใจของผู้บริโภค ที่นำเสนอผ่านคีย์เวิร์ดสำคัญใน “คำทำนายในใบเซียมซี” นั้น ไม่ว่าดวงจะเป็นแบบไหน DTAC ก็พร้อมนำเสนอตัวเลขที่จะทำให้ชีวิตกลุ่มเป้าหมายดีขึ้น เช่น ในใบเซียมซีที่ 23 เขียนว่า “ค้าขายก็มีผลดี” ก็จะมีแบนเนอร์เบอร์มงคลเฉพาะคุณ “หยิบจับอะไรก็ได้เงินได้ทอง” ขึ้นมา เป็นต้น
ที่ผ่านมา DTAC ได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการจับคู่บริการกับโปรไฟล์ของผู้ใช้งาน เช่น เบอร์มงคล สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ หรือเปลี่ยนงาน เบอร์เสริมชีวิตคู่ สำหรับผู้ที่เข้าดูดวงความรัก เป็นต้น โดยโฆษณาจะขึ้นมาในจังหวะที่ถูกต้อง ตรงใจผู้ใช้งาน ทำให้โฆษณาได้รับความสนใจมากขึ้น โดย DTAC ได้ทำชิ้นงานโฆษณามากถึง 50 แบบ เพื่อให้สัมพันธ์กับโปรไฟล์ของผู้ใช้งานมากที่สุด
สำหรับดัชนีชี้วัดความสำเร็จจากกลยุทธ์ Hyper-Personalized advertising และการใช้เครื่องมือนี้อย่างจริงจัง ส่งผลให้ผลลัพธ์ของแคมเปญโฆษณาของ DTAC ในแท็บดูดวงบน LINE TODAY เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากตัวเลขเฉลี่ยปกติ และมีอัตราการคลิกโฆษณาอยู่ที่ 0.48% ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยที่ 0.10% เลยทีเดียว
ทั้งนี้ กรณีศึกษาของ DTAC ที่ใช้กลยุทธ์ Hyper Personalization บนแพลตฟอร์ม LINE นอกจากจะสามารถสร้าง Conversion และ Engagement ให้เห็นผลลัพธ์ชัดเจน และประสบความสำเร็จแล้ว ยังสามารถยืนยันว่า การส่งแมสเสจไปยังผู้บริโภคที่สนใจในสิ่งๆ นั้นอยู่แล้ว และในจังหวะ หรือช่วงเวลาที่ใช่ ช่วยกระตุ้นผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง และทำให้แบรนด์เข้าไปนั่งอยู่ในใจลูกค้าได้จริงๆ ขณะเดียวกันก็ยังสะท้อนผลดีต่อแบรนด์ นับเป็นการสร้างประสบการณ์เชิงบวกให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
]]>ในตลาดโทรคมนาคมที่ผ่านมา เอไอเอสถือว่าเป็นเบอร์ 1 ที่แข็งแรงมาโดยตลอด หากอ้างอิงจากตัวเลขไตรมาส 3 ปี 64 เอไอเอส มีลูกค้าทั้งสิ้น 43.7 ล้านเลขหมาย มีคลื่นความถี่รวม 1,420 MHz และมีรายได้ รายได้ 130,995 ล้านบาท ขณะที่เบอร์ 2 อย่าง ทรูมูฟ เอช มีลูกค้า 32 ล้านเลขหมาย มีคลื่นรวม 990 MHz มีรายได้ 96,678 ล้านบาท ส่วน ดีแทค มี 19.3 ล้านเลขหมาย มีคลื่นรวม 270 MHz และมีรายได้ 78,818 ล้านบาท
แน่นอนว่าหากทรูและดีแทคควบรวมกันแล้วจะพลิกขึ้นนำเอไอเอสทันที แต่ในส่วนของจำนวนคลื่นความถี่ยังถือว่าน้อยอยู่ ดังนั้น ก่อนที่ทั้ง 2 บริษัทจะควบรวมกันอย่างสมบูรณ์ เอไอเอสก็ไม่รอช้าที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคด้วยการใช้จุดแข็งของ จำนวนคลื่นความถี่ ว่ามีมากที่สุดพร้อมทั้งขยี้ด้วยแคมเปญ อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด
โดยเอไอเอสถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่กวาดเอาดาราตัวท็อปมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ได้มากเบอร์ต้น ๆ ของไทย ไม่ว่าจะ เจมส์ จิรายุ, เป๊ก ผลิตโชค, เวียร์ ศุกลวัฒน์, เบลล่า ราณี, น้องเทนนิส, แบมแบม กันต์พิมุกต์, ลิซ่า ลลิษา และน้อง ๆ BNK48 ดังนั้น เอไอเอสจึงได้ปล่อยภาพเหล่าพรีเซ็นเตอร์เพื่อสื่อสารถึงความเป็น เบอร์ 1 เผยแพร่ลงในโซเชียลทุกช่องทาง โดยในทวิตเตอร์ก็ขึ้นเทรนด์เป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว
ไม่ใช่แค่ย้ำว่า อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด แต่ถ้าย้ายมาอยู่ด้วยกันมันก็จะดีนะ เพราะมีความเห็นในโซเชียลบางส่วน ที่รู้สึกอยากย้ายค่ายหากทรูและดีแทคควบรวมกัน ดังนั้น เอไอเอสจึงอัด โปรย้ายค่าย โดยโปร 4G มีส่วนลด 50% แถมใช้ฟรี 1 เดือนด้วย ส่วนโปร 5G ลด 25%
ก็ไม่รู้ว่ากว่าจะถึงเวลาที่ทรูและดีแทคควบรวมกันเสร็จ เอไอเอสจะสามารถดึงลูกค้าย้ายค่ายไปได้มากน้อยแค่ไหน และไม่รู้ว่าทางทรูและดีแทคจะออกแคมเปญอะไรออกมารักษาลูกค้าไหม หรือจัดหนักทีเดียวตอนควบรวมไปเลย คงต้องรอดูกัน
]]>ดีแทคนั้นเป็นบริษัทลูกของเทเลนอร์ในประเทศไทย ขณะที่ทรูเป็นธุรกิจด้านสื่อและโทรคมนาคมของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ ล่าสุด รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ และ E24 ระบุว่า เทเลนอร์ได้ส่งเอกสารชี้แจงหลักทรัพย์ (stock exchange release) ว่าบริษัทกำลังพิจารณาการควบรวมกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย โดยจะร่วมเจรจากับเครือเจริญโภคภัณฑ์เพื่อก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา
แถลงการณ์ของเทเลนอร์ไม่เพียงชี้ว่า การควบรวมกิจการจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อตั้งบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศ แต่ระบุว่า ยังคงต้องตกลงกันในประเด็นสำคัญ และไม่แน่ใจว่าการเจรจาจะนำไปสู่ข้อตกลงขั้นสุดท้าย รวมถึงกรอบเวลาในเบื้องต้นที่ยังไม่มีการเปิดเผย ดังนั้น ยังไม่มีความแน่นอนว่าการเจรจาครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ โดยจะมีการแถลงความชัดเจนในวันที่ 22 พ.ย.นี้ อีกที
ข่าวนี้ทำให้โลกเทความสนใจไปที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือที่เรียกกันในนามซีพี กรุ้ป (CP Group) ซึ่งมีธุรกิจหลากหลายด้านทั้งเกษตรกรรม การค้าปลีก โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เภสัชกรรม และการเงิน จากข้อมูลของบลูมเบิร์ก (Bloomberg) เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าของเครือซีพีนั้นมีตำแหน่งเป็นมหาเศรษฐีระดับโลกที่มีทรัพย์สินมากกว่า 4,800 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ซีพี กรุ๊ปถูกจัดเป็นบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ปัจจุบัน ดีแทคมีฐานลูกค้ารวม 19.3 ล้านราย แบ่งเป็นลูกค้ารายเดือนราว 6.2 ล้านราย และลูกค้าในระบบเติมเงิน 13.1 ล้านราย ในขณะที่กลุ่มทรู มีฐานลูกค้าของทรูมูฟ เอช ราว 32 ล้านราย แบ่งเป็นรายเดือน 10.8 ล้านราย และเติมเงิน 21.2 ล้านราย
ดังนั้น ในกรณีที่เกิดการควบรวมกิจการกันจะทำให้มีฐานลูกค้ารวมมากกว่า 51 ล้านราย และขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทยทันที เนื่องจากปัจจุบันเอไอเอสมีฐานลูกค้ารวมอยู่ที่ 43.7 ล้านราย
โดยหลังจากที่มีความคืบหน้าจากสื่อต่างประเทศออกมา ทั้งทรู และดีแทคต่างส่งจดหมายแจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า หากมีข้อชี้แจงใดที่บริษัทมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทางบริษัทฯ จะแจ้งข้อมูลให้ตลาดหลักทรัพย์ต่อไป
]]>ฮาว ริ เร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้เปิดเผยว่า ตั้งแต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาของการแพร่ระบาดของ COVID-19 การใช้งานบริการดิจิทัลของลูกค้าดีแทคก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ปัจจุบันลูกค้ากว่า 46% ใช้งานดิจิทัลแอคทีฟต่อเดือน และด้วยกลยุทธ์ที่เน้นให้ลูกค้าทุกกลุ่มเข้าถึงบริการดิจิทัลได้ทั่วถึง โดยเฉพาะ dtac app Lite โมบายแอปที่ไม่ต้องดาวน์โหลดแต่ให้บริการได้เหมือนดีแทคแอป ทำให้มีลูกค้าเข้าถึงบริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลได้มากขึ้น โดยแต่ละวันมีลูกค้าราว 1 ล้านคนใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล ขณะที่กลุ่มลูกค้าเติมเงินใช้งานเพิ่มขึ้น 3 เท่า และเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 124% ในกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด
นอกจากนี้ ศูนย์บริการดีแทคได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานแบบดิจิทัลเป็นแบบไร้กระดาษ 100% ร้านตัวแทนจำหน่ายมากกว่า 90% ได้ใช้เครื่องมือดิจิทัลในกิจกรรมการขายและบริการในแต่ละวัน ปัจจุบันสัดส่วนยอดขายดีแทคดิจิทัลทะลุ 70% ทั้งแบบเติมเงิน ชำระค่าบริการ และการซื้อบริการเสริมผ่านช่องทางของดีแทคเองและช่องทางอื่น ๆ
“ลูกค้าไทยมีความพร้อมและความเข้าใจในการใช้งานดิจิทัล เรามีการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม ตอนนี้ขึ้นอยู่กับเราว่าเราทำได้ดีแค่ไหนให้ลูกค้าใช้งานได้อย่างดี”
ที่ผ่านมา ดีแทคเพิ่มกิจกรรมในรูปแบบของ เกม และสิทธิพิเศษจาก ดีแทครีวอร์ด Coins เป็นการดึงดูดให้ลูกค้าให้สนุกสนานในการใช้งานดิจิทัล ได้มีส่วนร่วม และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเข้าสู่แพลตฟอร์มและเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นดิจิทัลในวงที่กว้างขึ้นด้วยรูปแบบการเล่นเกมลุ้นรางวัล
นอกจากนี้ยังใช้ AI ที่สามารถวิเคราะห์และนำเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าอย่างแท้จริง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงช่องทางดิจิทัลเท่านั้นแต่ยังสามารถขยายการให้บริการไปในช่องทางร้านค้าอื่น ๆ ทั้งหมดได้อีกด้วย และเพื่อเข้าถึงลูกค้าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน รวมถึงเจาะลูกค้ารุ่นใหม่ ด้วยการขยายสู่ตลาด เช่น Shopee, Lazada และ JD Central รวมถึงโซเชียลมีเดียอย่าง LINE , Facebook และ WeChat
“จุดสำคัญของการผลักดันลูกค้าใช้งานดิจิทัลคือ เอนเกจเมนต์ ยิ่งสามารถสร้างปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ลูกค้าอยู่กับเรานานขึ้น ใช้งานกับเรามากขึ้น ก็จะยิ่งสร้างความยั่งยืนให้ทั้งลูกค้าและองค์กร แต่ปลายทางเราต้องการเป็นมากกว่าโทรคมนาคม”
ทั้งดีแทคและเทเลนอร์บริษัทแม่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะโตในบริการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โทรคมนาคม โดยที่ผ่านมา ดีแทคมีความร่วมมือจากบริการใจดี มีวงเงินให้ยืม ร่วมกับ LINE BK และเว็บเติมเกม Gaming Nation ที่ถือเป็นก้าวแรกในการขยายบริการที่ ‘มากกว่า’ โทรคมนาคม
โดยในไตรมาส 4 จะได้เห็นบริการใหม่ ๆ แน่นอน อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าบริษัทไม่สามารถไปได้ทุกทาง ดังนั้นจะเน้นโฟกัสในส่วนที่สร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดก่อน ทั้งนี้ ดีแทคตั้งเป้าให้มีผู้ใช้งานผ่านดิจิทัลที่ 10 ล้านคน/เดือน และการเข้าซื้อผ่านดิจิทัลเติบโต 5 เท่าภายในปี 2566 และเป็น ‘ซูเปอร์แอป’ ในอนาคต
]]>dtac business ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสื่อสารและโซลูชันสำหรับ กลุ่มองค์กรธุรกิจ แนะนำ dtac business E-Care โซลูชันที่ทำให้การจัดการแพ็กเกจธุรกิจ SME บริหารจัดการธุรกรรมมือถือให้สะดวกในช่วงของการทำงานอยู่ที่บ้านได้ง่าย ประหยัดเวลา สร้างคุณค่าให้ธุรกิจจากความเข้าใจในความต้องการเทคโนโลยีมาช่วยดำเนินธุรกิจได้ อย่างสบายใจไร้ความกังวลในช่วงที่ต้อง Work from Home เพราะการทำธุรกิจในช่วงเวลานี้ ต้องสามารถจัดการได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง
ในช่วงการระบาดโควิด-19 ระลอกสาม หลายบริษัทอาจจะต้องการหลีกเลี่ยงการเดินทางไปทำธุรกรรมต่างๆที่หน้าเคาน์เตอร์ของศูนย์บริการโทรศัพท์มือถือdtac business จึงออกแบบบริการ E-Care service เพื่อนำมาตอบโจทย์ลูกค้าด้วย ฟังก์ชั่นการทำธุรกรรมจากมือถือทางออนไลน์ได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ลูกค้า dtac business สามารถจัดการแพ็กเกจโทรศัพท์มือถือเองได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านเว็ปพอร์ทัลออนไลน์เพียงแค่ทำการสมัครและล็อคอินผ่านเว็ปบราวเซ็อร์ก็สามารถดูข้อมูลการใช้งาน ชำระค่าบริการ หรือ ปรับเปลี่ยนแพ็กเกจได้ด้วยตัวเอง ด้วยการออกแบบให้ใช้งานได้สะดวก เหมาะกับทุกธุรกิจทั้งธุรกิจขนาดเล็กและองค์กรใหญ่สามารถเช็คยอดการใช้งานได้แบบเรียลไทม์ ทำให้ธุรกิจสามารถรู้ได้ว่าค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนเป็นเท่าไร เพื่อจัดการวางแผนจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ได้
1. เช็คข้อมูลแพ็กเกจการใช้งานได้ด้วยตนเองดูข้อมูลการใช้งานในแต่ละเบอร์สามารถดูใบแจ้งยอดค่าบริการ/ ชำระค่าบริการผ่านบัตรเครดิต/ ดูประวัติการชำระเงินย้อนหลังได้
2. ชำระค่าบริการออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงด้วยบัตรเครดิต พร้อมพิมพ์ใบเสร็จและใบกำกับภาษีได้ทันที ไม่ต้องเดินทางไปขอใบเสร็จที่ศูนย์บริการมีบริการแต่งตั้งดีแทค เป็นผู้นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่ายโดยกดที่เมนูตั้งค่า
3. ปรับเปลี่ยนแพ็กเกจให้เหมาะสมตามการใช้งานจริงได้ด้วยตนเองเพื่อความคุ้มค่ามีระบบหน้าจอบอกสถานะของการใช้งานของทุกเบอร์ในองค์กรแพ็กเกจหลักของแต่ละเบอร์ข้อมูลจำนวนนาทีการโทรออก และการใช้งานอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแพ็กเกจหลักของแต่ละเบอร์ได้ทันทีสมัครแพ็กเกจเสริมได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับลูกค้า dtac business ที่สมัครบริการ dtac business E-Care วันนี้ – 30 กันยายน 2564 รับสิทธิ์ลุ้นโทรศัพท์iPhone 12 pro max จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 43,900 บาท
สนใจสมัครใช้บริการได้ที่ https://www.dtac.co.th/s/hvGWmTM ติดต่อ call center ที่เบอร์ 1431เพื่อทำให้ทางทีม dtac business ทำการสมัครให้
]]>ยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับทุกสิ่ง ทุกๆ อุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ยิ่งโลกหมุนเร็วเท่าไหร่ ธุรกิจต้องหมุนตามให้ทัน มิเช่นนั้นจะไม่สามารถเติบโตเท่าทันได้ ยิ่งเมืองไทยเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรม ยิ่งจำเป็นต้องอัพเกรดให้เข้ากับยุค 4.0 ให้ได้
ความเคลื่อนไหวที่สำคัญล่าสุดในวงการเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด และ บริษัท เอบีบี ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding: MOU) ในการนำ ABB Robotics และ ABB Remote Insights เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโครงข่ายดีแทค และต่อยอดสู่ 5G โครงข่ายส่วนตัว (5G Private Network)
เท่ากับว่านี่คือกุญแจสำคัญที่กระตุ้นธุรกิจให้เดินหน้าการผลิตทุกวิกฤต แม้เจอโรคอุบัติใหม่ทำให้ต้องล็อกดาวน์จนธุรกิจสะดุด แต่ก็มีความพร้อมในการควบคุมการผลิตได้ทุกที่อย่างแม่นยำ และปลอดภัย พร้อมทำ Proof of Concept (POC) ทดสอบให้กลุ่มผู้ประกอบการพร้อมโซลูชั่นต่อยอดอุตสาหกรรม 4.0 อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจองค์กรและธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า
“ความท้าทายของอุตสาหกรรมไทย คือ การที่วันนี้ต้องเร่งนำเทคโนโลยีแห่งอนาคตมาปรับใช้เพื่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตครั้งใหญ่ และใช้การเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีความเร็วสูง ซึ่งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่มาพร้อมกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรวมถึง 5G โครงข่ายส่วนตัว (5G Private Network) จะทำให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมไทย และก้าวต่อไปได้อย่างยั่งยืน รวมถึงจะสามารถดึงดูดให้นักลงทุนเลือกย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเอบีบี”
ทางด้าน เจียนอังเดร บรุซโซเน กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เอบีบี ประเทศไทย กล่าวว่า
“พวกเรารู้สึกยินดีที่ได้เป็นพันธมิตรกับดีแทคร่วมผลักดันอุตสาหกรรมของไทย โดยเอบีบีเป็นผู้นำด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ อุปกรณ์เสริมและแอปพลิเคชันในการใช้งาน และได้ให้บริการมากถึง 53 ประเทศทั่วโลก โดยปัจจุบันเราได้ติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมไปแล้วมากกว่า 500,000 โซลูชั่น โดยเอบีบีมีความเชี่ยวชาญในกลุ่มธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับความความร่วมมือในครั้งนี้ที่ต้องการใช้ศักยภาพของเครือข่าย dtac 4G/5G ในการร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ผ่านกลุ่มธุรกิจภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นที่มาของความร่วมมือในการพัฒนาและต่อยอดสู่ ABB Solution เพื่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศไทย”
1. ความร่วมมือ ABB Robotics
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ ABB Collaborative Robot ซึ่งเป็น Solution ของกลุ่มธุรกิจ Robotics & Discrete Automation บนโครงข่ายส่วนตัว dtac 5G Private Network เพื่อทดสอบการใช้หุ่นยนต์ และแขนกลอัตโนมัติสำหรับนำไปใช้งานในกลุ่มธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่เฉพาะ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมจำกัดที่เป็นอันตราย
โดยการเชื่อมต่อกับโครงข่ายของดีแทคจะเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อที่ควบคุมได้แบบเรียลไทม์ แม่นยำ และปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล ที่สำคัญ 5G มีประสิทธิภาพสูงและตอบสนองที่รวดเร็ว หุ่นยนต์จึงสามารถทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงได้ ในขณะที่ผู้ควบคุมสามารถสั่งงานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย
2. ความร่วมมือ ABB Remote Insights
เป็นการพัฒนา และต่อยอดโซลูชั่นของกลุ่มธุรกิจ Process Automation ร่วมกับโครงข่ายดีแทค 4G/5G ที่ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วไทย เพื่อนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความต้องการโซลูชั่นที่เพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน
โดยแอปพลิเคชันที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารโต้ตอบระยะไกลระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ จะใช้เทคโนโลยีการแสดงภาพเสมือนจริง หรือ Augmented Reality (AI) บนโครงข่ายดีแทคในการให้ข้อมูล และคำแนะนำเพื่อการแก้ไขปัญหาแบบเรียลไทม์
ความร่วมมือของดีแทค และเอบีบีในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม และธุรกิจของไทย รวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ทางการตลาดเพื่อกลุ่มธุรกิจภาคการผลิต และอุตสาหกรรม รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจที่มีความต้องการใช้งานเทคโนโลยี 5G กับ Robotic ที่จะเป็นการขับเคลื่อนครั้งสำคัญให้แข่งขันได้ทั้งในประเทศ และภูมิภาค
ถือว่าเป็นการผสานจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่ายเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ความเชี่ยวชาญทางด้านหุ่นยนต์ของเอบีบี สู่การเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลของดีแทค จะสามารถเพิ่มศักยภาพ และสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง โดยข้อมูลจากเอบีบีรายงานว่า สิงคโปร์ และไต้หวันนำหุ่นยนต์ใช้งานทดสอบ COVID-19 ลดความเสี่ยงชีวิตผู้ปฏิบัติงาน เพิ่มขีดความสามารถ รวดเร็ว และแม่นยำสูง ได้อีกด้วย
]]>เน็ตภูธรหน้าใหม่ (THE NEW RURALS) ดีแทคพบว่ามาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมของปี 2563 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลต่อการใช้มือถือของประเทศไทย โดยจากการย้ายถิ่นฐานของคนเมืองและการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของชุมชน ส่งผลให้การใช้งานดาต้าในส่วนภูมิภาคโตมากกว่าการใช้งานในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 9 เท่า สอดคล้องกับทิศทางการเพิ่มขึ้นของการใช้งานสมาร์ทโฟนเร็วขึ้น โดยในส่วนภูมิภาคก็เติบโตเร็วกว่ากรุงเทพฯ ถึง 3 เท่า
ขยันผ่านเน็ตทางไกล (THE REMOTE DESKERS) กลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปรับตัวรับกับยุค New Normal โดยทำงานและเรียนที่บ้าน ซึ่งมีความต้องการใช้งานดาต้าจากชุมชนที่พักอาศัย โดยใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อสร้างผลผลิตและการทำงานร่วมกันแม้อยู่คนละพื้นที่ ตามข้อมูลตั้งแต่ ม.ค. 2563 – ม.ค.2564 พบว่า งาน Zoom เพิ่มขึ้น 5050% และ Google Hangouts 740%
อยู่ติดบ้านด้วยเน็ตบันเทิง (THE NON-STOP STREAMER) จากสถานการณ์ล็อกดาวน์ หรืออยู่บ้านพบว่ากลุ่มผู้ใช้งานที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านแอปพลิเคชันเพื่อบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง และช้อปปิ้งออนไลน์ ผ่านแอปเพื่อตอบโจทย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้น อาทิ YouTube และ TikTok
เน็ตคือหัวใจสำคัญ (THE CRITICAL USER) กลุ่มผู้ใช้งานที่พึ่งพาระบบอินเทอร์เน็ตเป็นหลักในการปฏิบัติภารกิจ ให้บริการแก่ประชาชนและชุมชน เช่น โรงพยาบาลและบริการฉุกเฉิน รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจ เป็นต้น
เมื่อผู้ใช้ในภูมิภาคและพื้นที่ห่างไกลหันมาใช้ดิจิทัลมากขึ้น ดีแทคจึงได้เร่งนำคลื่นความถี่ 700 MHz ที่เป็นคลื่นความถี่ต่ำมีประสิทธิภาพในการเพิ่มสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น มาให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยตั้งเป้าจะขยาย 4,400 สถานีฐานทั่วประเทศภายในไตรมาสที่ 1/2564 โดยดีแทคเปิดให้บริการ 5G และ 4G บนคลื่น 700 MHz ด้วยเทคโนโลยีใหม่ Dynamic Spectrum Sharing (DSS) ที่ทำให้ใช้งานทั้ง 5G และ 4G ไม่ต้องแบ่งแบนด์วิดท์ด้วยประสิทธิภาพสูงสุด
ที่ผ่านมา ดีแทคเร่งขยายเทคโนโลยี 5G-ready massive MIMO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้น 3 เท่า และเปิดให้บริการ 4G-TDD บนคลื่น 2300 MHz (ให้บริการบนคลื่น NT หรือ ทีโอที เดิม) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประมาณ 20,400 สถานีฐาน ทั้งนี้ Opensignal ให้ดีแทคเป็นผู้ชนะรางวัลด้านดาวน์โหลดเร็วสุดในประเทศไทยติดต่อกันจาก 2 รายงานประจำเดือนเมษายน และพฤศจิกายน 2563 นอกจากนี้ ยังนำคลื่น 26 GHz มาทดสอบใช้งานบริการต่าง ๆ อีกด้วย
“การเชื่อมต่อสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกคน และสร้างสังคมไทยให้แข็งแกร่งผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคือจุดมุ่งหมายที่ผลักดันทิศทางการดำเนินธุรกิจของดีแทค นอกจากบริการการสื่อสารไร้สายทั้ง 5G และ 4G ในราคาที่เหมาะสมแล้ว ดีแทคยังพัฒนาบริการใหม่หลากหลายที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านผู้ใช้งานสู่ชีวิตดิจิทัล” ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าว
“Digital-First Experiences”: เน้นการสร้างประสบการณ์ผู้บริโภคแบบ Digital First เช่น การซื้อทางออนไลน์และการรับสินค้าในร้าน การให้บริการในภาษาเดียวกับลูกค้า เช่น WeChat mini program แอปในภาษาจีน ดีแทคแอป ภาษาพม่า และรวมถึงรูปแบบการสื่อสารใหม่ถึงลูกค้า เช่น Facebook Live และ TikTok
“Digital Inclusion”: เน้นใช้ช่องทางดิจิทัลในดีแทคแอป โดยมีกิจกรรมจาก dtac reward สำหรับลูกค้าระบบเติมเงิน ที่สามารถสะสม dtac reward coins แลกสิทธิพิเศษได้อย่างคุ้มค่า
“360-degree Personalization”: ใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ ออกแบบข้อเสนอที่ตอบสนองแต่ละบุคคล โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าข้อเสนอทั่วไปมากถึง 3 เท่า ทำให้การใช้งานดีแทคแอปรายเดือน เติบโตขึ้น 40% ในปี 2563
“New Business Normal”: โมเดลธุรกิจวิถีใหม่ โดยดีแทคร่วมมือพันธมิตรเพื่อนำเสนอบริการใหม่ ๆ แก่ลูกค้า เช่น ประกันสุขภาพ ส่วนลดร้านขายยาที่ได้รับอนุญาต หรือการโอนเงินที่มั่นใจได้ บริการเหล่านี้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางดิจิทัลให้กับผู้ใช้งาน
“Trust Matters”: แบรนด์ที่มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ คิดดี ทำดี ไว้ใจได้ในทุกบริการ เพื่อให้เกิดความสบายใจสำหรับผู้ใช้ดิจิทัล โดยให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและผลประโยชน์ของลูกค้า พร้อมมีบริการช่วยเหลือลูกค้า เช่น บริการใจดีให้ยืม ใจดีให้โอน และบริการดิจิทัลอื่น ๆ
“ผู้ใช้บริการของเรามีความคาดหวังบริการที่เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคล เรานำระบบปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพได้ดีกว่าข้อเสนอทั่วไปได้มากถึง 3 เท่า ดีแทคแอปยังเปิดประสบการณ์ บริการที่มีประโยชน์และให้ความบันเทิง ที่มีทั้งเกมและส่วนลดอาหาร รวมถึงประกันสุขภาพและบริการโอนเงิน ทำให้ลูกค้าของเราปลอดภัยและมีความสุข รวมถึงคุ้มค่าในการใช้จ่ายอีกด้วย” ฮาว ริเร็น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด ดีแทค กล่าว
ดีแทคเพิ่งเปิดตัวโครงการ ‘ดีแทค เน็ตทำกิน’ (Net for Living) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มล่าสุด ที่ช่วยฝึกอบรมผู้ค้ารายย่อย 100 ราย ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ และขยายผลให้ครอบคลุมผู้ประกอบการรายย่อย ที่มีรายได้น้อยให้สามารถประกอบธุรกิจค้าขายได้บนพื้นที่ออนไลน์ มุ่งมั่นช่วยเพิ่มรายได้ครัวเรือนจากพื้นที่ขายออนไลน์ 15% ต่อปี
สำหรับเยาวชน ดีแทคจะยังคงดำเนินโครงการ Safe Internet ซึ่งได้สอนทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักเรียนและครูในปีนี้อีก 200,000 คน และในด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ดีแทคมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดลง 50% ให้ได้ตามเป้าหมายในปี 2573
“เราอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศเดินหน้าฟื้นตัวในปี 2564 โดยมุ่งมั่นตามกลยุทธ์ของเราที่จะนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสู่ทุกคน และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ผู้ใช้งานดิจิทัลของลูกค้าเรา จากข้อมูลและความเข้าใจของลูกค้าเราใส่ใจ เปรียบเสมือนเราได้นำความสุข ความก้าวหน้า ความโชคดี และที่ยืนหยัดทุกสถานการณ์ส่งมอบให้กับลูกค้าเราตลอดปีฉลูอีกด้วย”
]]>ณ สิ้นปี 2563 ดีแทคมีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดอยู่ที่ 18.9 ล้านราย เพิ่มขึ้น 173,000 รายจากไตรมาสก่อน จากการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในกลุ่มลูกค้าชาวไทย โดยมีผู้ใช้บริการลดลง 1.8 ล้านคนในระหว่างปี เป็นผลจากนักท่องเที่ยวและแรงงานต่างด้าวที่หายไปหลังมาตรการปิดประเทศ ซึ่งนําไปสู่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น
ดีแทคให้แนวโน้มสำหรับปี 2564 ในส่วนของรายได้จากการให้บริการไม่รวมค่า IC ที่ลดลงในอัตราร้อยละที่เป็นเลขหลักเดียวในระดับต่ำ EBITDA ที่ลดลงในอัตราร้อยละที่เป็นเลขหลักเดียวในระดับต่ำ และค่าใช้จ่ายลงทุน 1.3 -1.5 หมื่นล้านบาท
ในปี 2563 ดีแทคได้ใช้เทคโนโลยี Massive MIMO เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการใช้งาน 3 เท่า ขยายการให้บริการบนคลื่น 2300 MHz ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างดีแทคและทีโอที ให้ครอบคลุมสถานีฐานมากกว่า 20,000 สถานี และเริ่มเปิดให้บริการคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นย่านความถี่ต่ำ ไปยังสถานีฐานกว่า 2,400 แห่ง เพื่อขยายพื้นที่ครอบคลุมและพัฒนาประสบการณ์การใช้งานภายในอาคารให้ดียิ่งขึ้น
]]>