ผ่านมาหนึ่งปีกว่าแล้วที่โรงเรียน สถานศึกษาทั้งหลายต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจไม่ทันได้เตรียมรับมือเพื่อจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ รายงานการสำรวจฉบับล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดย เลอโนโว และ ไมโครซอฟท์ พบว่า นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนเริ่มเข้าใจถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของการเรียนออนไลน์ และเริ่มที่จะสนุกไปกับการใช้ประโยชน์จากการเรียนออนไลน์ อย่างไรก็ตามการเรียนออนไลน์ก็ยังมีอุปสรรค โดยอุปสรรคนี้ไม่ใช่การขาดแคลนการเข้าถึงเทคโนโลยี แต่เป็นการไม่รู้จักใช้โซลูชันที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งความท้าทายด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเนื่องจากการเรียนออนไลน์ที่ปัจจุบันกินระยะเวลามานาน
การปิดโรงเรียนในหลายๆ ประเทศเกือบตลอดทั้งปี 2020 นี้ทำให้ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนนักศึกษาต่างเผชิญกับความท้าทายของเทคโนโลยีการเรียนรู้ใหม่ๆ การศึกษานี้ช่วยให้เราเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนนักศึกษาได้ปรับตัวให้เข้ากับการเรียนออนไลน์อย่างไรบ้างในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ความท้าทายที่แท้จริงมีอะไรบ้าง และมีแนวทางแก้ไขใดบ้างที่นำมาปรับใช้เพื่อช่วยให้เทคโนโลยีการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การศึกษานี้ได้สำรวจนักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง และครูผู้สอนประมาณ 3,400 คน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ e – learning ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และยังสำรวจว่าเทคโนโลยีสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนนักศึกษาและสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างไร โดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ YouGov และ Terrapin ได้ดำเนินการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ผลการสำรวจที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
ครูผู้สอน และนักเรียนนักศึกษา มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับผลกระทบของชั้นเรียนออนไลน์ที่มีต่อผลประสิทธิภาพด้านการศึกษา ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นในทางที่ดีเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนทางออนไลน์ โดย 59% มั่นใจว่ามีประสิทธิภาพการสอนที่ดีขึ้น และ 24% เชื่อว่ายังคงรักษาระดับของประสิทธิภาพไว้ได้ อย่างไรก็ตาม การประเมินของนักเรียนนักศึกษามีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ประมาณหนึ่งในสามของนักเรียนเชื่อว่าประสิทธิภาพของตนดีขึ้น อีกสามส่วนเชื่อว่ายังคงเหมือนเดิมในช่วงเรียนออนไลน์ และอีกสามส่วนที่เหลือเชื่อว่าประสิทธิภาพการเรียนของตนลดลง
สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแล้ว นักเรียนนักศึกษา และครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา แนวโน้มนี้จะยังคงดำเนินต่อไป โดย 66% ของนักเรียนนักศึกษาและ 86% ของครูผู้สอนคาดว่าจะใช้จ่ายไปกับเทคโนโลยีการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นในปีที่จะมาถึงนี้
การเข้าถึง และความยืดหยุ่น ถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนนักศึกษา รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาและสื่อการเรียนที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลก ในขณะเดียวกัน ครูผู้สอนมองว่าการรวมศูนย์สื่อการสอนให้มาอยู่ในแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่ายเพียงที่เดียวนั้นเป็นข้อดีที่เห็นได้ชัด เช่น Microsoft Teams สำหรับการศึกษารวมทั้งผู้ที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า e – learning ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน และช่วยให้เกิดการเรียนรู้และการสนับสนุนในแบบส่วนตัวมากยิ่งขึ้น
นักเรียนนักศึกษา และครูผู้สอน ต่างก็ตระหนักถึงความต้องการของตนแต่เพิ่งเริ่มใช้ประโยชน์จากโซลูชันที่มีอยู่
นักเรียนนักศึกษา และผู้ปกครองกล่าวว่า เทคโนโลยีที่ให้ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ประสิทธิภาพที่ยืดหยุ่น และคุณประโยชน์อย่างต่อเนื่องเป็น “สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง” และมีเพียง 17% เท่านั้นที่มองว่าค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดสำหรับโซลูชันเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ 75% ของครูผู้สอนยังให้ความสำคัญเรื่องการรักษาความปลอดภัยเฉพาะสำหรับการศึกษา, การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล(79%), ฟีเจอร์การทำงานร่วมกัน(64%), เครื่องมือสำหรับการประเมินนักเรียนนักศึกษา(63%), ความง่ายในการใช้งานทั่วไป (59%) และฟีเจอร์การเข้าถึง(53%) ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ (72%) ใช้แล็ปท็อปและ 29% ใช้แท็บเล็ตในการเรียนออนไลน์ แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ใช้โซลูชันการเรียนรู้แบบเต็มรูปแบบ
นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนพบว่ามีวิธีรับมือกับการสนับสนุนทางเทคนิค แต่การเสียสมาธิ การมีส่วนร่วม และการปลีกตัวอยู่ลำพังก็ยังคงเป็นอุปสรรค
การเว้นระยะห่างทางกายภาพไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับนักเรียนนักศึกษาหรืออาจารย์ในการขอรับการสนับสนุนทางเทคนิคที่ต้องการในขณะที่เรียนออนไลน์หรือ e-learning แม้ว่าทีมสนับสนุนทางเทคนิคของสถานศึกษาหลายแห่งไม่สามารถรับมือกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน แต่นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนต่างก็พบว่ามีแหล่งสนับสนุนอื่นๆ
โดยนักเรียนนักศึกษามักจะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชั้น เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อยมากกว่า ในทำนองเดียวกัน 32% ของครูผู้สอนพยายามค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาเทคนิคด้วยตนเอง อีก 31% ขอความช่วยเหลือจากครูท่านอื่น และ 11% ขอความช่วยเหลือจากเด็กที่อยู่ในละแวกบ้านใกล้เคียงกัน
ปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมที่ลดน้อยลงเป็นปัญหาที่ทั้งนักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนมากกว่าครึ่งเผชิญ โดย การสำรวจทำให้พบว่า นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนเกินครึ่งมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่อ่อนแอลงในช่วงเรียนออนไลน์ ทั้งนี้ความท้าทาย 4 อย่างที่นักเรียนนักศึกษา และผู้ปกครอง ลงความเห็นพ้องกันจากการเรียนออนไลน์คือ เรื่องสมาธิในการเรียน, แรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียนออนไลน์ที่บ้านมีน้อย, การขาดโอกาสได้พบปะมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์/เพื่อนร่วมชั้น และเรื่องความโดดเดียวจากการต้องเว้นระยะห่างทางสังคม
แม้ว่าแอปพลิเคชันการประชุมทางวิดีโอมีช่องทางในการมีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ที่หลากหลาย แต่การเข้าชั้นเรียนทั้งหมดผ่านหน้าจอกลับเป็นความท้าทายสำหรับนักเรียนนักศึกษา โดย 75% ของครูผู้สอนกล่าวว่า “นักเรียนไม่มีสมาธิเมื่อต้องเรียนผ่านระบบออนไลน์” ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง
รูปแบบการสมัครใช้บริการใหม่ๆ การทำงานร่วมกันและอุปกรณ์ที่ชาญฉลาดมากขึ้นช่วยปลดล็อกศักยภาพในการเรียนออนไลน์ได้
แม้ผลสำรวจจะชี้ได้อย่างชัดเจนว่า ทั้งนักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนต่างตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา แต่การดึงศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ให้ได้เต็มประสิทธิภาพนั้นยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยทั้งนักเรียนนักศึกษา และครูผู้สอนต่างกำลังมองหาวิธีการที่จะเรียนรู้ร่วมกันผ่านเทคโนโลยีที่สามารถก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทั้งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และกับเนื้อหาของการเรียน
โลกได้เข้าสู่สภาวะ New Normal และการศึกษาก็กำลังก้าวเข้าสู่การเรียนการสอนยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง เข้าถึง เสมือนอยู่ในชั้นเรียนจริง ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกชั้นเรียน
]]>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น นำโดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร ร่วมเปิด “ศูนย์วิจัย True Lab @ Thammasat” โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เปิดโอกาสให้อาจารย์ นักศึกษาและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ใช้เป็นพื้นที่ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลงานนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม นำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ
พร้อมเปิด แอพพลิเคชั่น myCampus TU เพื่อเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อดิจิตอลที่ไร้ขีดจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ ตามแนวคิด Thammasat Everywhere, Thammasat Every time ตอบสนองนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้แบบ “แอ็คทิฟ เลิร์นนิ่ง” ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มร.มิเชล เลอ เคอเลค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สถาบันสอนภาษาอังกฤษวอลล์สตรีท ประเทศไทย นำทีมแนะนำ 2 ออนไลน์แอพพลิเคชั่น “English Anytime” และ “The Village” ที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญให้กับนักเรียนวอลล์สตรีทที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย ให้ฝึกภาษาและทบทวนหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างเพลิดเพลิน อีกทั้งเป็นอีกช่องทางการในสื่อสารระหว่างนักเรียนวอลล์สตรีททั้ง 27 ประเทศทั่วโลก สำหรับนักเรียนที่สนใจใช้แอพพลิเคชั่น “The Village” สามารถใช้รหัสนักเรียนลงทะเบียนผ่าน www.wallstreet.in.th และสำหรับนักเรียนที่สนใจใช้ “English Anytime” สามารถติดต่อได้ที่ อีเมลล์ [email protected] หรือทาง
www.wallstreet.in.th หรือ โทร 02-660-3049
อาร์เอส ประกาศเดินหน้ารุกตลาดการศึกษาออนไลน์เต็มสูบ ด้วยกิจกรรมการประกวด “สื่อการเรียนการสอนออนไลน์” รูปแบบใหม่ครั้งแรกในเมืองไทย ภายใต้ชื่อ “สคูลบัส อวอร์ด ครั้งที่ 1” (Skoolbuz Awards 2010) กิจกรรมครั้งใหญ่แห่งโลกการศึกษาออนไลน์ ชูจุดเด่นของกิจกรรมในครั้งนี้อยู่ที่การให้เด็กได้โชว์ไอเดียที่สร้างสรรค์ไม่จำกัดรูปแบบ ทำให้ชีวิตการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่ง่ายและสนุกยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นถึงตอนปลายทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในรูปแบบต่างๆร่วมกับครูอาจารย์ มุ่งเน้นให้เกิดการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักเรียนไปพร้อมๆกันอีกด้วย โดยอัพโหลดผลงานของตัวเองเพื่อส่งเข้าประกวดผ่านทาง เว็บไซต์สคูลบัสดอทคอม” (www.skoolbuz.com) ลุ้นรางวัลใหญ่ไปทัศนศึกษาไกลถึงประเทศสิงคโปร์ และของรางวัลต่างๆอีกมากมายรวมมูลค่ากว่า 700,000 บาท
นาย อาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล ผู้อำนวยการสายงานออนไลน์บิสสิเนส บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS กล่าวว่า จากการที่อาร์เอสได้เปิดตัว “เว็บไซต์สคูลบัสดอทคอม” (www.skoolbuz.com) ซึ่งเป็นเว็บการศึกษารูปแบบใหม่ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น ปรากฎว่าได้รับการตอบรับจากโรงเรียนต่างๆที่เปิดโอกาสให้เว็บไซต์สคูลบัสดอทคอม ได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเข้าไปทำกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน อาทิ การใช้ห้องสมุดออนไลน์ในการค้นหาข้อมูล รวมถึงฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆในเว็บที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของเด็กได้เป็นอย่างดี ล่าสุด “เว็บไซต์สคูลบัสดอทคอม” ในเครือ อาร์เอส ได้จัดกิจกรรมการประกวด “สื่อการเรียนการสอนออนไลน์” ภายใต้ชื่อ “สคูลบัส อวอร์ด ครั้งที่ 1” (skoolbuz awards 2010) โดยจุดเด่นของกิจกรรมนี้อยู่ที่การให้เด็กได้โชว์ไอเดียที่สร้างสรรค์ไม่จำกัดรูปแบบ ทำให้ชีวิตการเรียนการสอนในโลกยุคออนไลน์ ให้เป็นเรื่องง่ายและสนุกขึ้น อีกทั้งยังมุ่งเน้นให้เกิดการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักเรียนไปพร้อมๆกันอีกด้วย โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงตอนปลายทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ และอัพโหลดผลงานของตัวเองเพื่อส่งเข้าประกวดผ่านทาง “เว็บไซต์สคูลบัสดอทคอม” (www.skoolbuz.com) ลุ้นรางวัลใหญ่ไปทัศนศึกษาไกลถึงประเทศสิงคโปร์ และของรางวัลต่างๆอีกมากมายรวมมูลค่ากว่า 700,000 บาท
“ผมมองว่าปัจจุบันนี้ความรู้บนโลกออนไลน์มีบทบาทมากมายมหาศาลต่อการเรียนการสอน ซึ่งเราต้องสนับสนุนให้บุคลากรในประเทศ ทั้งครูอาจารย์และนักเรียนได้ใช้สื่อการเรียนการสอนที่อยู่ในโลกออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และวันนี้อาร์เอสพร้อมแล้วที่จะรุกเข้าสู่โลกการศึกษาออนไลน์อย่างจริงจัง โดยเชื่อมั่นว่าแคมเปญ “สคูลบัส อวอร์ด” นี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของการเป็นเว็บการศึกษารูปแบบใหม่ของเมืองไทยที่จะทำให้การศึกษาเมืองไทยก้าวเข้าสู่โลกยุคออนไลน์ได้เต็มตัวโดยสร้างการเรียนรู้ต่อสื่อยุคออนไลน์ระหว่างครูอาจารย์และเด็กนักเรียนทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพื้นที่ทางด้านการศึกษาเพื่อให้เด็กไทยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเป็นเวทีให้เด็กไทยได้แสดงความสามารถ พร้อมที่จะก้าวไปแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ในอนาคตอีกด้วย ” นายอาทิตย์กล่าว
iPad เริ่มเข้าไปอยู่ในกระเป๋าของนักเรียน นักศึกษาที่อเมริกาหลังจากเปิดจำหน่ายไม่กี่วัน และภาพนี้กำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเรา ที่ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยเอกชนอย่างน้อย 3 แห่ง กำลังพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียหากให้นักศึกษาถือ iPad แทนที่ Netbook ด้วยเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนสนุก เข้าถึงบทเรียน และที่สำคัญเป็นมหาวิทยาลัยที่ Trendy มากขึ้น
ในช่วงเทอม 2 ที่จะถึงนี้ หากการเจรจาซื้อ iPad จาก Apple Thailand สำเร็จ นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม ย่านถนนเพชรเกษม ส่วนหนึ่งประมาณ 50-80 คน จะถือ iPad ในมือ เพื่อร่วมสร้างคอนเทนต์ และทดสอบการใช้งาน iPad ว่าเหมาะกับนักศึกษาอย่างพวกเขาเพียงใด และจะใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ได้อย่างไร จากนั้นในเทอมแรกของปีการศึกษาหน้า จะถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการภาควิชานี้ แจกให้นักศึกษาโดยมีพันธสัญญาว่าต้องมีผลงานในการพัฒนาคอนเทนต์ แอพพลิเคชั่น ซึ่งเป็นครั้งแรกของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่แจกอุปกรณ์ไอที จากเดิมที่มหาวิทยาลัยสยามในระดับปริญญาโท ถึงจะมีการแจก Notebook ให้นักศึกษาเท่านั้น
อาจารย์ปริวรรต องค์ศุลี หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มี iPad อยู่ในมือเกือบตลอดเวลา ที่ตัวเขาเองบอกว่าเขาถึงขั้นขาดไม่ได้ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้มากมาย ตั้งแต่อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร พ็อกเกตบุ๊ก และแอพพลิเคชั่นมากมาย ที่อะไรใหม่อยู่บนหน้าจอของเขาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นแมกกาซีนต่างประเทศอย่าง Wired หนังสือพิมพ์ USA Today และพ็อกเกตบุ๊กที่เต็มชั้นวางส่วนตัว
ตอนนี้อาจารย์ปริวรรตกับนักศึกษาส่วนหนึ่งกำลังทดสอบ iPad 4 เครื่อง เขาเห็นผลชัดเจนว่า iPad ทำให้การเรียนแบบ e-Learning เป็นจริงและได้ผลมากขึ้น เช่น ไม่เพียงแต่อาจารย์สามารถทำตำราเรียนเป็น Power Point ให้นักศึกษาดาวน์โหลดมาเรียนได้ แต่ยังเพิ่มความสนุกในการเรียนมากขึ้นด้วย VDO Clip และ Interactive รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AR (Augmented reality) Code (ระบบเสมือนจริงเสริม) ที่ทำให้การเรียนมีชีวิตชีวามากขึ้น และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยไม่น่าเบื่อ โดยมหาวิทยาลัยมีความพร้อมในเครือข่ายสื่อสาร ที่วาง Wi-Fi อย่างทั่วถึงให้นักศึกษาออนไลน์ได้อย่างสะดวก
นอกจากรูปแบบการเรียนของนักศึกษาจะเปลี่ยนไป ที่ไม่ต้องซีร็อกซ์เอกสารมากมาย ไม่ต้องซื้อตำราเรียนและแบกมาหนัก อาจารย์ปริวรรตยังบอกว่า นี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสยามได้ Exposure ตัวเองกับไอทีอย่างเต็มที่อีกด้วย
เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยรังสิต ที่นอกจากกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะให้นักศึกษาใช้ iPad แล้ว ยังต้องให้อาจารย์มีในมือทุกคน ซึ่ง ดร.ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บอกว่า เพื่อให้นักศึกษาทุกคนสะดวกในการเรียนมากยิ่งขึ้น เพราะ Wi-Fi ภายในมหาวิทยาลัยมีพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งหากผลศึกษาพบว่าเป็นผลดี ก็อาจเป็นได้ทั้ง iPad หรือแท็ปเล็ตอื่นๆ มหาวิทยาลัยก็จะนำมาให้นักศึกษาใช้ อาจมีทั้งรูปแบบแจก หรือรับภาระบางส่วน แทนโน้ตบุ๊กที่ใช้มานานประมาณ 4-5 ปีแล้ว
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กำลังขยับอีกรอบจาก 3 ปีที่แล้วได้แจกโน้ตบุ๊กให้นึกศึกษาใหม่ ที่ปีหนึ่งรับเพิ่มไม่ต่ำกว่า 5,000 คน แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนมาเป็นเน็ตบุ๊กแทน และปีการศึกษาหน้าอาจเปลี่ยนเป็น iPad เพื่อรักษา Positioning ของการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นให้นักศึกษาทุกคนคุ้นเคยและเชี่ยวชาญการใช้อุปกรณ์ไอทีใหม่ๆ และเป็นจุดขายที่แสดงถึงมหาวิทยาลัยที่ Trendy
อาจารย์ปรเมศ ส่งแสงเติม รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บอกว่า เป้าหมายของมหาวิทยาลัยคือการทำให้คอนเทนต์ด้านวิชาการแข็งแรง และยังต้องให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ เข้าสู่รูปแบบของ Edutainment ที่มีไอทีมาซัพพอร์ตเต็มที่ ตั้งแต่เครือข่าย Wi-Fi ทั่วมหาวิทยาลัย และความร่วมมือกับสถาบันและบริษัทไอทีชั้นนำ
สิ่งที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยต้องพิจารณาคือ iPad จะไปได้ดีกับระบบการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยใช้อยู่หรือไม่ คือHybrid Learning ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่าง e-Learning กับการเรียนการสอนในห้องเรียน ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนและอาจารย์ มากน้อยเพียงใด
ความแรงของ iPad กำลังเข้าสู่สถาบันการศึกษา ที่หากบุกตลาดนี้ได้สำเร็จ นั่นหมายถึงจำนวน iPad ในเมืองไทยจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และเมื่อถึงเวลานั้น ธุรกิจและกิจกรรมการตลาดทั้งหลายคงเลิกลังเล และเดินหน้าเพื่อให้ iPad เป็นสื่อที่ทรงประสิทธิภาพในที่สุด
อเมริกาทั้งแจกทั้งแบน
มหาวิทยาลัยหลายแห่งในอเมริกา ได้กระโดดเข้าสู่กระแส iPad ด้วยการประกาศแจก iPad ให้นักศึกษา ตัวอย่างเช่น
– Seton Hill University ใน Pennsylvania ให้ iPad แก่นักศึกษาเต็มเวลา 2,000 คน
– George Fox University ใน Oregon ให้ทางเลือกนักศึกษาเลือกระหว่าง Macbook และ iPad แต่ในปีต่อไปเหลือทางเลือกเดียวคือ iPad
แต่ขณะเดียวกัน iPad ก็เผชิญกับอุปสรรค เมื่อมีมหาวิทยาลัยชั้นนำ 3 แห่ง แบน หรือสั่งห้ามนักศึกษาใช้ iPad ภายในมหาวิทยาลัย คือ Cornell University, Princeton University และ George Washington University ที่บอกว่า เป็นอุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยเลยทีเดียว และกลัวว่าจะไปกินแบนด์วิธมากจนเกิน
การห้ามนี้จึงทำให้เกิดกระแสร้องเรียนว่า 3 มหาวิทยาลัยดังกล่าวไม่ควรแบน iPad และอยากให้มหาวิทยาลัยให้ความเป็นธรรมกับอุปกรณ์ที่มาแรงนี้
เมื่อเร็วๆ นี้ ลีพ โกลบอล เปิดเทรนด์ใหม่แห่งการศึกษาของไทยสู่โลกแห่งการศึกษาในปี 2010 กับสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์แบบ ในชื่อ LEAP LEARNING SYSTEM ระบบที่มาพร้อมกับ LEAP BROWSER เบราเซอร์อัจฉริยะ พร้อมระบบการป้องกันข้อมูล และเว็บอันไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชนได้100 % ที่ผนวก LEAP2ENGLISH ชุดโปรแกรมการ การเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์อันดับหนึ่งของโลก และ ลีพ โกลบอล ยังจับมือกับ www.ePals.com เว็บเบสทางการศึกษาที่เชื่อมให้คุณกับนักเรียนและคุณครูทุกทวีปทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน กับห้องเรียนออนไลน์กว่า 10,000 ห้องเรียนตลอด 24 ชั่วโมง โดยทั้งหมดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน LEAP LEARNING SYSTEM ที่เด็กไทย อาจารย์ พ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถลงทะเบียนรับรหัสผู้ใช้ ฟรี และสามารถดาวน์โหลด LEAP BROWSER ฟรีเพื่อเปิดหน้าต่างของคุณสู่เทรนด์ใหม่ของการศึกษาในปี 2010 เพียงคลิกเข้าไปที่ www.leapingsmart.com
ลีพ เลินนิ่ง ซิสเต็ม? (LEAP LEARNING SYSTEM)
บริษัท ลีพ โกลบอล จำกัด บริษัทผู้มีวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์และพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็กในโลก ออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยทางข้อมูลและเว็บไซต์อันไม่เหมาะสม ใช้เวลากว่า 10 ปีในการออกแบบระบบการเรียนรู้ออนไลน์ขนาดใหญ่ในชื่อ ลีพ เลินนิ่ง ซิสเต็ม (LEAP LEARNING SYSTEM) ที่บรรจุเบราเซอร์อัจฉริยะเพื่อการเปิดหน้าต่างไปสู่โลกออนไลน์เพื่อการศึกษา โดยในเบราเซอร์อัจฉริยะนี้ ท่านจะได้พบกับ ชุดการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ ลีพ ทู อิงลิช (LEAP2ENGLISH) โปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์? เว็บเบสอีพาวส์? (www.epals.com) หน้าต่างที่จะทำให้คุณสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนนักเรียนและอาจารย์ได้ทั่วโลก โดย ลีพ เลิร์นนิ่ง ซิสเต็ม (LEAP LEARNING SYSTEM) ถือว่าเป็นระบบการเรียนออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ระบบเดียวในโลกปัจจุบัน
ลีพ เบราเซอร์ (LEAP BROWSER)
ลีพ เบราเซอร์ เปรียบเสมือนหน้าต่างที่จะพาคุณไปสู่ โลกออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพที่สุดของโลกโดย ลีพ เบราเซอร์ เป็นเบราเซอร์อัจฉริยะ ที่มีระบบคัดกรองข้อมูลและเว็บไซต์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ พร้อมระบบการแปลหน้าเว็บไซต์? จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยในปัจจุบันมีเว็บไซต์กว่า 200,000 เว็บไซต์ทั่วโลกที่ ลีพ เบราเซอร์ได้คัดกรองแล้วว่าเหมาะสมกับเยาวชน ซึ่ง ลีพ เบราเซอร์?มีระบบการคัดกรองข้อมูลแบบ Human-Based System โดยช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงในการตรวจสอบเว็บไซต์? และคุณครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ยังจะได้รับข้อมูลจากระบบ email alert ที่จะถูกส่งไปหาเมื่อเด็กนักเรียนและลูกหลานของท่านพยายามจะเข้าเว็บไชต์อันไม่เหมาะสม โดยเบราเซอร์อัจฉริยะนี้ ยังมีระบบการแปลหน้าเว็บไซต์?จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วย
ลีพ ทู อิงลิช (LEAP2ENGLISH)
ลีพ ทู อิงลิช (LEAP2ENGLISH) เป็นหน้าต่างหนึ่งใน ลีพ เลินนิ่ง ซิสเต็ม? (LEAP LEARNING SYSTEM) โปรแกรมการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์? โดยปัจจุบัน ลีพ ทู อิงลิช (LEAP2ENGLISH) มีโปรแกรม ClickN’ Read และ ClickN’ Spell ที่เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการฝึกการฟังและการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษในระบบออนไลน์ ที่ดีที่สุดของโลกและได้รับความนิยมสูงสุดในสหรัฐอเมริกา โดยการใช้งาน ClickN’ Read และ ClickN’ Spell ท่านต้องซื้อบริการเพิ่มเติมในราคา 1,500 บาทต่อปี และยังประกันคุณภาพด้วยการคืนเงิน 100 % หากไม่พอใจในสินค้า
เว็บเบส อีพาวส์ : www.ePals.com
อีพาวส์? พาร์ทเนอร์?ระดับโลก ของ ลีพ โกลบอล หน้าต่างบานใหญ่ที่ ลีพ ยูสเซอร์ สามารถเข้าไปพบปะเพื่อนนักเรียนและคุณครูกว่า 20 ล้านคน ทุกทวีปทั่วโลก โดยเบื้องต้นท่านจะต้องไปลงทะเบียนเพื่อรับอีเมล์ เช่น [email protected] เพื่อที่จะสามารถเข้าสู่ห้องเรียนออนไลน์กว่า 10,000 ห้องเรียน โดยปัจจุบันในประเทศไทย มีสมาชิกอีพาวส์แล้วกว่า 10,000 คน อย่างไรก็ตาม อีพาวส์ยังขจัดอุปสรรคด้านภาษาของเด็กๆ และอาจารย์ทั่วโลกในการติดต่อสื่อสารกันด้วยระบบการแปลภาษากว่า 42 คู่ภาษาทั่วโลก
โดยทั้งหมดนี้ ท่านจะสามารถลงทะเบียนเพื่อรับรหัสผู้ใช้ฟรี และสามารถดาวน์โหลด LEAP BROWSER ได้ฟรี เพื่อการเปิดหน้าต่างของคุณสู่เทรรนด์ใหม่ของการศึกษาในปี 2010 ที่ www.leapingsmart.com
ที่มาของข้อมูล www.leapingsmart.com
www.epals.com
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับความไว้วางใจจากสำนักราชเลขาธิการ ให้พัฒนาโครงการ Royal e-Book เพื่อเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระราชวงศ์ผ่านเว็บไซต์ของ Microsoft Innovation Center และเว็บไซต์ของสำนักราชเลขาธิการ โดยพัฒนาจากเทคโนโลยี Microsoft Silverlight 2.0 นวัตกรรมล่าสุดจากไมโครซอฟท์ในการสร้างภาพที่เหมือนจริงและลูกเล่นที่น่าสนใจแก่เว็บไซต์ ถือเป็น Proof of Concept แรก ของศูนย์ Microsoft Innovation Center นับตั้งแต่เปิดตัวโครงการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 ถือเป็นการสดุดีและเผยแพร่พระราชประวัติเกี่ยวกับราชวงศ์แก่ประชาชนทั่วไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สำนักราชเลขาธิการจัดพิมพ์หนังสือต่างๆ เกี่ยวกับพระราชวงศ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชน อาทิ หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ นั้น ทางสำนักราชเลขาธิการพบว่าการจัดพิมพ์หนังสือเป็นรูปเล่มไม่สามารถจัดพิมพ์และแจกจ่ายให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง และต้องใช้งบประมาณมากในการจัดพิมพ์ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงเนื้อหาของหนังสือได้อย่างทั่วถึง สำนักราชเลขาธิการจึงเปิดให้ประชาชนดาวน์โหลดเนื้อหาหนังสือในรูปแบบไฟล์ PDF ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักราชเลขาธิการ ที่ www.ohmpps.go.th อย่างไรก็ตาม หนังสือต่างๆ ที่อยู่ในไฟล์ PDF นั้นมีขนาดใหญ่ จึงต้องใช้เวลานานในการดาวน์โหลด อีกทั้งความน่าสนใจของหนังสือในรูปแบบไฟล์ PDF ยังไม่ดีเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ สำนักราชเลขาธิการจึงได้ร่วมมือกับศูนย์พัฒนานวัตกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ Microsoft Innovation Center โดยบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการทดสอบแนวคิดใหม่ หรือ Proof of Concept ของหนังสือ Royal e-Book โดยมีบริษัท ไอ คอนเซ็ปส์ จำกัด เป็นผู้พัฒนา โดยใช้เทคโนโลยี Microsoft Silverlight 2.0
นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โครงการ Royal e-Book ถือเป็นหนึ่งในโครงการทดสอบแนวคิดใหม่ หรือ Proof of Concept ของศูนย์พัฒนานวัตกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ Microsoft Innovation Center โดยเทคโนโลยี Microsoft Silverlight 2.0 ที่ช่วยสร้างลูกเล่นให้กับการอ่านหนังสือผ่านเว็บไซต์ ทั้งในแง่รูปภาพมีความสวยงามเหมือนจริง และการเปลี่ยนหน้าหนังสือเสมือนพลิกหน้าหนังสือจริง ซึ่งโครงการนี้จะเป็นตัวอย่างให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สนใจได้เข้ามาศึกษา เรียนรู้ และทดสอบเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ได้ที่ Microsoft Innovation Center ซึ่งเปิดกว้างแก่นักพัฒนาทั่วไป”
นายปรีชา ส่งกิตติสุนทร ผู้อำนวยการกองข่าว สำนักราชเลขาธิการ กล่าวว่า “สำนักราชเลขาธิการมีหนังสือเกี่ยวกับพระราชวงศ์เป็นจำนวนมากที่ได้พิมพ์แจกจ่ายแก่ประชาชนในโอกาสต่างๆ แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่นั้น การจัดพิมพ์หนังสือมักจะไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน เนื่องด้วยข้อจำกัดของงบประมาณในการจัดพิมพ์ อาทิ หนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น อีกทั้งการเปิดให้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดหนังสือในรูปแบบไฟล์ PDF ผ่านเว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการยังมีข้อจำกัดบางประการ กล่าวคือ 10 MB ขึ้นไป อาจใช้เวลารอกว่า 5 นาทีในจึงจะได้เริ่มอ่านหน้าแรก นอกจากนี้ ในต่างจังหวัดซึ่งอินเทอร์เน็ตไฮสปีดยังไม่แพร่หลายนัก การดาวน์โหลดก็จะใช้เวลามากขึ้นไปอีก ซึ่ง เทคโนโลยีจากศูนย์พัฒนานวัตกรรมซอฟต์แวร์ไทยของไมโครซอฟท์ได้เป็นคำตอบของการก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ โดยได้นำเอาเทคโนโลยี Microsoft Silverlight 2.0 มาพัฒนาเป็น e-Book ที่สามารถอ่านได้เหมือนหนังสือเป็นรูปเล่มบนเว็บไซต์ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงหนังสือเกี่ยวกับพระราชวงศ์อย่างทั่วถึงกัน”
สำหรับการพัฒนาโครงการ Royal e-Book ให้กับสำนักราชเลขาธิการนั้น ไมโครซอฟท์ได้ร่วมกับบริษัท ไอ คอนเซ็ปส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมตรวจลายนิ้วมือ Lives can4ALL ที่ได้รับการรับรองจาก FBI และกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งการพัฒนามาจากแนวคิดที่ว่า ทำอย่างไรจะนำเทคโนโลยีไปช่วยปรับปรุงรูปแบบการอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับพระราชวงศ์จากเว็บไซต์ให้น่าสนใจ เหมือนการอ่านหนังสือจริง ทีมพัฒนาจึงได้นำเทคโนโลยี Microsoft Silverlight 2.0 ที่มีคุณสมบัติสร้างภาพและลูกเล่นบนเว็บไซต์ที่สวยงาม เสมือนเปิดหนังสืออ่านจริงๆ พร้อมทั้งยังแก้ปัญหาการดาวน์โหลดข้อมูล เนื่องจากเทคโนโลยี Microsoft Silverlight 2.0 จะดาวน์โหลดเฉพาะหน้าที่ผู้อ่านกำลังอ่านอยู่เท่านั้น ทำให้ผู้อ่านไช้เวลาในการรอสั้นกว่ามาก
มร. ไมเคิล เชน ผู้อำนวยการด้านเทคนิค บริษัท ไอ คอนเซ็ปส์ จำกัด กล่าวว่า “Microsoft Silverlight 2.0 เป็นเทคโนโลยีล่าสุดของไมโครซอฟท์ที่ช่วยสร้างลูกเล่นมัลติมีเดีย ทำให้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับเว็บไซต์มีความสมบูรณ์แบบ ทั้งในด้านรูปภาพที่สวยงาม เหมือนจริง และการใช้งานที่รวดเร็ว สำหรับโครงการ Royal e-Book นั้น หลังจากได้รับการติดต่อจากไมโครซอฟท์ ไอ คอนเซ็ปส์ ก็ได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์ และนักศึกษาโครงการ Microsoft Student Partner จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการตีโจทย์ เพื่อให้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นออกมามีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด สำหรับการพัฒนาโครงการ Royal e-Book ไอ คอนเซ็ปส์ ได้รับการสนับสนุนด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี จากศูนย์พัฒนานวัตกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ Microsoft Innovation Center ที่ช่วยร่นระยะเวลาและงบประมาณในการพัฒนา Proof of Concept ต่างๆ ซึ่งไอ คอนเซ็ปส์หวังว่าโครงการ Royal e-Book จะเป็นประโยชน์กับประชาชนทั่วไป ให้สามารถเข้าถึงหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับพระราชวงศ์ ผ่านเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาและพื้นที่บนคอมพิวเตอร์ในการดาวน์โหลด”
นอกจากนี้ ทางศูนย์พัฒนานวัตกรรมซอฟต์แวร์ไทย ยังได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาโครงการ Microsoft Student Partner จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมศึกษาและพัฒนาไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้มีประสบการณ์จริง และเรียนรู้จากบริษัทคู่ค้าของไมโครซอฟท์ที่มีความเชี่ยวชาญ โครงการนี้จึงเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไปในตัวอีกด้วย
นางสาวปฐมา กล่าวเสริมว่า “ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่น และสนับสนุนบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระในประเทศ เรามีเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่างๆ รองรับอยู่ที่ศูนย์พัฒนานวัตกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ Microsoft Innovation Center ซึ่งหากบริษัทหรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์นำเทคโนโลยีและการสนับสนุนทางเทคโนโลยีที่ไมโครซอฟท์มีให้ไปพัฒนาต่อยอด ก็จะถือว่าเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาแนวคิดด้านนวัตกรรมให้เป็นจริงขึ้นมา เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม และนำไปสู่การพัฒนาระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมไอทีไทยต่อไป”
ทั้งนี้ หนังสือเกี่ยวกับพระราชวงศ์ ภายใต้โครงการ Royal e-Book ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 15 เล่ม คือ
– พระประวัติ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
– กัลยานิทรรศน์
– พระราชสาสน์ จากพระประมุข พระราชวงศ์ และประมุขประเทศต่างๆ ที่แสดงความเสียใจต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
– พระอภิธรรม ภาษาบาลี และคำแปลเป็นภาษาไทย (พิมพ์พระราชทานในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง
– การประดิษฐานพระโกศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
– พระธรรมเทศนา (10 เมษายน 2551) พิมพ์พระราชทานในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร
– พระธรรมเทศนา (20 กุมภาพันธ์ 2551) พิมพ์พระราชทานในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ปัญญาสมวาร
– สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และงานศิลปะ
– รัชดาภิเษก
– รัชดาภิเษก เล่มที่ 2
– รัชดาภิเษก เล่มที่ 3
– รัชดาภิเษก เล่มที่ 4
– รัชดาภิเษก เล่มที่ 5
– รัชดาภิเษก เล่มที่ 6
– พระบรมราชาธิบาย เรื่องสามัคคี (พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พิมพ์พระราชทานในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร
โดยในอนาคต สำนักราชเลขาธิการและศูนย์พัฒนานวัตกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ Microsoft Innovation Center มีแผนที่จะนำหนังสืออื่นๆ ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาจัดทำให้ประชาชนศึกษาเพิ่มมากขึ้นภายใต้โครงการ Royal e-Book สำหรับการดาวน์โหลดหนังสือทั้ง 15 เล่มนั้น ประชาชนสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ www.ohmpps.go.th และสามารถอ่านหนังสือในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่เว็บไซต์ศูนย์พัฒนานวัตกรรมซอฟต์แวร์ไทย www.micthailand.net
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทไอ คอนเซ็ปส์ จำกัด ผู้ร่วมพัฒนาโครงการ Royal e-Book สามารถดูได้ที่ www.iconcepts.co.th.
ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์
บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT”) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้ใช้และองค์กรธุรกิจ
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 บริษัทฯ เสนอซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลกที่ใช้งานง่ายและเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้คนไทย ตลอดจนแพลตฟอร์มที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจพัฒนาโซลูชั่นที่ตรงตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรองรับได้ตั้งแต่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คไปจนถึงเครื่องขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรม เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) http://www.microsoft.com/thailand
ไมโครซอฟท์เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ ไมโครซอฟท์ คอร์ป ประเทศสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่นๆ ชื่อบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในเอกสารชุดนี้อาจจะเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของนั้นๆ
หมายเหตุ: หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ สามารถดูได้ที่ http://www.microsoft.com/presspass/ ในส่วนของหน้าข้อมูลบริษัท
จามจุรี สแควร์ : บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด โดยนางสาวฐิติมา ตันเชวง ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ มอบชุดหลักสูตรเรียนคอมพิวเตอร์พื้นฐานแบบออนไลน์ “ไมโครซอฟท์ อี เลิร์นนิ่ง @ ทรู” ภายใต้โครงการ “แด่ คุณ คนพิเศษของ เรา” ให้กับลูกค้าองค์กรฟรี ทั้งสถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน รวมมูลค่า 2,550,000 บาท โดยมีนายภัทร ทีปประสาน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ให้การอบรมเบื้องต้น ณ ร้านทรู คอฟฟี่ สาขาจามจุรี สแควร์ เมื่อเร็วๆ นี้
โครงการ “แด่ คุณ คนพิเศษของ เรา” เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ CRM ที่ทรู อินเทอร์เน็ตสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้าองค์กร โดยคัดสรรกิจกรรมที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า และเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ สำหรับหลักสูตร Microsoft e-Learning @ True เป็นหลักสูตรการเรียนการใช้งานคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรม Microsoft Office 2007 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลักสูตรการใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานด้วยสื่อการเรียน การสอนแบบทันสมัย ในรูปแบบ วิดีโอ Simulation แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์
http://icafe.microsoftelearning.com/ ณ ร้านทรู ไลฟ์และทรู คอฟฟี่ ทั้ง 33 สาขาทั่วประเทศ พร้อมรับใบประกาศนียบัตรจากไมโครซอฟท์ที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานโลก
รศ.ดร.ปราณี สังขะตะวรรธน์ (กลาง) อธิการบดี รศ.ดร.ปัทมาพร เย็นบำรุง (ซ้าย) รองอธิการบดีฝ่ายปฏิบัติการ และอาจารย์คมสัน โพธิ์คง (ขวา) รองอธิการบดีฝ่ายปฏิบัติการภายใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมทำพิธีเปิด “งานสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชครบ 30 ปี มสธ.ก้าวไกลรับใช้สังคม” เผยแผนงานปีงบประมาณ 2552 เร่งพัฒนาศูนย์การศึกษา e-learning เต็มรูปแบบ ขยายโอกาสทางการศึกษาแบบไร้พรมแดน ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารพิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แจ้งวัฒนะ เมื่อเร็วๆนี้
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญร่วมกับบริษัท ดิจิคราฟต์ จำกัด เปิดตัว “U-Town” มหาวิทยาลัยเสมือนจริงแห่งแรกของไทยพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่แห่งวงการศึกษา สร้างประสบการณ์นอกห้องเรียนผ่านโลกออนไลน์แบบสนุกสนานและ ปลอดภัยถือเป็นการผสานระหว่างความบันเทิงและการเรียนรู้ได้อย่างลงตัว ชี้ปัจจัยหนุนจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและการส่งเสริมการใช้ไอทีจากภาครัฐ ตั้งเป้าเป็นแหล่งความรู้ และต่อยอดเชิงธุรกิจในรูปแบบอี-คอมเมิร์ซ โดยทุ่มงบราว 15 ล้านบาท แบ่งงานเป็น 3 เฟส พร้อมเปิดตัว 2 พรีเซ็นเตอร์คนรุ่นใหม่ “โต๋” และ “เบเบ้”
ภราดาบัญชา แสงหิรัญ อธิการบดื มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มการใช้งานออนไลน์ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 9,320,000 คน ส่งผลให้มูลค่าตลาดเกมออนไลน์สูงกว่า 2,700 ล้านบาทในปี 2550 และมีอัตราการโตไม่ต่ำกว่า 20% ต่อปี อีกทั้งการสนับสนุนและส่งเสริมด้านไอทีจากภราดาภาครัฐ และตลาดการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊คมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเชื่อมต่อเข้าสู่โลกออนไลน์ ดังนั้นมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญร่วมกับบริษัทดิจิคราฟต์สร้างสังคมออนไลน์แบบเสมือนจริงด้วยแนวคิด “U-Town” (University Town) คือ มหาวิทยาลัยเสมือนจริงแห่งแรกของไทยบนโลกออนไลน์ ซึ่งจะใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ที่เป็นสังคมปลอดภัย และสร้างสรรค์ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ดิจิคราฟต์ จำกัด โดยการร่วมทุนระหว่าง 2 องค์กรด้วยงบประมาณ 15 ล้านบาท
“สำหรับ U-Town มีลักษณะของสังคมออนไลน์เสมือนจริง สร้างในรูปแบบ3 มิติ หรือ 3D-Virtual Community Online โดยสร้างในแบบของเกมส์ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะนักศึกษา และผู้ใหญ่ที่ต้องการเรียนรู้ในโลกออนไลน์ โดยเข้าไปที่ www.utown.in.th ซึ่งจะเป็นประตูแรกที่นักศึกษาและผู้สนใจสามารถเข้าสู่โลกการศึกษาเสมือนจริงนี้ โดยเว็บไซต์นี้มีหน้าที่เพื่อจัดระบบข้อมูลและการลงทะเบียน (Register System), การสร้างระบบกระทู้ถาม-ตอบ (Web Board), การประกาศกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลของแต่ละสถาบันการศึกษาที่รวมอยู่ใน U-Town ด้วย”
นายวิวัฒน์ วงศ์วราวิภัทร์ ประธานกรรมการ บริษัท ดิจิคราฟต์ จำกัด ประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทฯ ได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในการนำร่องจัดทำโครงการ U-Town โดยได้รับโจทย์จากทางมหาวิทยาลัยฯ และทางบริษัทฯ ก็มีแนวคิดที่จะทำคอมมูนิตี้ในรูปแบบดังที่กล่าวข้างต้นและทำให้เกิดความร่วมมือในครั้งนี้ขึ้น รูปแบบของ U-Town ไม่ใช่มีเพียงการเรียนการสอนแบบในชั้นเรียนและเว็บไซต์คอมมูนิตี้เท่านั้น แต่จะเป็นแหล่งเชื่อมโยงโลกของการศึกษาและโลกธุรกิจเข้าไว้ด้วยกัน
เบื้องต้น U-Town จะมุ่งเจาะไปที่กลุ่มนักศึกษาเป็นหลัก และในอนาคตทางบริษัทฯ จะจัดทำแพลตฟอร์มให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบของ U-Town ด้วย ฉะนั้นนอกจากกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ของ U-Town จะเป็นนักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลกแล้ว และยังมองกลุ่มเป้าหมายรอง (Secondary Target) ในกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ที่ 15 – 18 ปี ซึ่งจะเป็นกลุ่ม Potential Target ที่จะเข้ามาทดลองและเรียนรู้การใช้ชีวิตของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงเข้าไปชมบรรยากาศสถานที่ อาคารเรียนต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่ตัวเองสนใจได้เสมือนกับเข้ามาสัมผัสการเรียนจริง นอกจากนี้ U-Town ยังจะเปิดโอกาสให้กับกลุ่ม First Jobber จนถึงกลุ่มคนวัยทำงานแล้วได้มีโอกาสเข้าร่วมสังคมนี้อีกด้วย โดยการสมัครเข้ามาเป็นพลเมืองใน U-Town สามารถใช้สิทธิในการทำธุรกรรมต่างๆ แต่จะมีการกำหนดขอบเขตของสิทธิที่พลเมืองในระดับต่างๆ สามารถกระทำได้
U-Town Citizen หรือ พลเมืองใน U-Town แบ่งเป็นหลายประเภทด้วยกัน โดยจะมีการจำกัดสิทธิในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ U-Town เป็นโลกเสมือนจริงสีขาวที่มีระเบียบวินัยและมีความปลอดภัยสูงสุดสำหรับพลเมืองใน U-Town โดยนักศึกษาหรืออาจารย์ในสถาบันจะสามารถใช้ ID Code ในการสมัครเป็นพลเมืองได้ทันที ในส่วนของบุคคลทั่วไปก็จะสามารถใช้เลขที่บัตรประชาชนเพื่อมาสมัครเป็นพลเมืองของ U-Town ในระดับต่างๆได้เช่นกัน ซึ่งระดับของพลเมืองใน U-Town จะแบ่งออกได้ 7 ระดับได้แก่ 1.AUS – นักศึกษาเอแบคปัจจุบัน 2.AUI – อาจารย์เอแบคปัจจุบัน 3.AUO – คณะทำงานของเอแบค 4.VIP – พลเมืองระดับพิเศษ 5.UM- U-Town Master 6.U – พลเมือง U-Town ที่ลงทะเบียนและสามารถยืนยันตัวตนในโลกจริงได้ 7.G -พลเมือง U-Town ที่ลงทะเบียนแต่ไม่สามารถยืนยันตัวตนในโลกจริงได้ 8.V- ผู้มาเยี่ยมชม, แขกที่ไม่ได้ลงทะเบียน โดยที่พลเมืองในระดับที่ 1-7 จะได้รับสิทธิในการสร้างตัวตนเสมือนจริงของตนเอง โดยตกแต่งหน้าตาหรือเลือกเสื้อผ้ารวมทั้งการเลือกเครื่องแต่งกายตามสไตล์ของตนเองได้ตามใจชอบ และยังสามารถจับจ่ายซื้อของหรือใช้สิทธิของตนเองในระดับย่อยต่างๆได้แตกต่างกันไปอีกด้วย ส่วนกลุ่มที่ 8 จะเป็นเพียงผู้เข้ามาเยี่ยมชมทั่วไป
“U-Town เปรียบเสมือนอีกโลกหนึ่งของการใช้ชีวิตจริง ภายใต้สโลแกน “Another World of Life” ในโลกของ U-Town จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้เสมือนจริงที่สุด เพราะบนโลกของ U-Town จะมีทั้งส่วนที่จำลองจากสถานที่ๆ มีอยู่จริงในปัจจุบัน เช่น อาคารเรียน บรรยากาศทั่วไปภายในมหาวิทยาลัย และส่วนที่สร้างขึ้นจากจินตนาการ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม หรือ Downtown ที่จะเป็นเสมือนแหล่งรวมความบันเทิงของพลเมืองใน U-Town รวมไปถึงระบบพื้นฐานต่างๆที่โลกจริงมี เช่นระบบเงินตราของตัวเอง (Monetary System) ระบบวันเวลาตามจริง (Day-Time System)ระบบฤดูกาล” นายวิวัฒน์ กล่าว
สำหรับแผนในการพัฒนา U-Town แบ่งเป็น 3 เฟส ได้แก่ เฟสที่ 1 ที่นำมาเปิดตัวในวันนี้ โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญสามารถนำรหัสประจำตัวนักศึกษา (ID) มาลงทะเบียนที่ www.utown.in.th และนักศึกษาจะมีหน้าเพจให้ออกแบบความเป็นตัวเองเรียกส่วนนี้ว่า U-Net และมีลักษณะการทำงานคล้ายกับ SNS หรือ Social Network System ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอย่างมากในปัจจุบันเช่น Hi 5 หรือ Facebook แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ U-Net ได้รวบรวมฟังก์ชั่นการทำงานของ Hi 5 และ Facebook ไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งทำให้ U-Net มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น อีกทั้งนักศึกษาที่เป็นสมาชิกยังสามารถใช้เวปไซต์ U-Netในการรับข่าวสารของทางมหาวิทยาลัยได้อีกช่องทางหนึ่ง ส่วนเฟสที่ 2 และเฟสที่ 3 จะเป็นการเชื่อมตัวภาคการศึกษากับภาคธุรกิจ โดยนักศึกษาหรือบุคคลทั่วไปที่เป็นสมาชิกของ U-Town จะสามารถทำธุรกรรมด้านทะเบียน การเงิน และการซื้อขายสินค้าในรูปแบบของอี-คอมเมิร์ซได้ ซึ่งรูปแบบของการซื้อขายใน U-Town จะมีลักษณะโดดเด่นตรงที่พลเมืองสามารถเดินเลือกซื้อสินค้าในรูปแบบ 3 มิติ (3D – Virtual) และยังสามารถมีการพูดคุยโต้ตอบ (Interact) กับคนขายได้แบบ Real Time อีกทั้งคนขายสามารถให้ข้อมูลของสินค้านั้น ๆ ได้จริงอีกด้วย และในการซื้อขายจะมีระบบสนับสนุนการชำระเงินทั้งระบบเงินของ U-Town และชำระผ่านบัตรเครดิต ซึ่งในแผนการดำเนินงานจะมีความร่วมมือกับแบรนด์สินค้า ร้านค้าชั้นนำเสมือนกับการเดินเลือกซื้อสินค้าจริงในห้างสรรพสินค้าถือเป็นช่องทางที่จะสร้างรายได้ให้แก่ U-Town นักศึกษาจะมีตัวแทนที่เรียกว่า “อวาตาร์” (Avatar) ที่ออกแบบ ตกแต่งให้เหมือนกับตัวเองได้ และบริษัทฯ ยังคาดหวังว่า U-Town จะเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์บนโลกออนไลน์.ในอนาคตอีกด้วย”
รวมถึงมีแผนในการเปิดหลักสูตรพิเศษแบบออนไลน์ (Online Course) ใน E-Learning Center หรือแม้แต่การอนุญาตให้นักศึกษาขอจองห้องเพื่อติววิชากันแบบ Real Time ใน E-Classroom ได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถเข้าไปเดินเล่นหรือหาเพื่อนคุยตามสถานที่ต่างๆ, สนุกกับการช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าเสมือนจริงใน Downtown หรือสนุกไปกับ Entertainment Complex ต่างๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ชมคอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งเที่ยวผับบาร์ (เฉพาะพลเมืองที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีขึ้นไป) ร่วม Party หรือ สนุกกับ Event ต่างๆ ภายใต้กรอบและกฏหมายที่กำหนดขึ้นในเมือง U-Town เป็นต้น กิจกรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้นตลอดเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าร่วมแบบนับไม่ถ้วน ทั้งจากที่บริษัทจัดทำขึ้น และขับเคลื่อนโดยประชากรใน U-Town จัดขึ้นเอง เรียกได้ว่าเป็นสังคมที่มีกิจกรรมให้ร่วมสนุกแบบไม่มีที่สิ้นสุด พร้อมกันนี้ยังได้เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนสำคัญ คือ “โต๋” ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร และ “เบเบ้” ธัญชนก ฤทธิ์นาคา ซึ่งเป็นศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญอีกด้วย