E-Money – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 04 Apr 2019 09:28:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะ 4 เทรนด์ “อี-มันนี่” กับอนาคตใช้จ่ายผู้บริโภคยุคดิจิทัล https://positioningmag.com/1223458 Thu, 04 Apr 2019 06:24:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223458 การก้าวสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม “ทุกด้าน” ของการใช้ชีวิตผู้บริโภคในยุคนี้ โดยเฉพาะด้าน “เพย์เมนต์” จากจุดเปลี่ยนสำคัญธนาคาร “ยกเลิก” เก็บค่าธรรมเนียมการโอน-จ่าย-เติมเงิน ต่างธนาคาร เมื่อทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อขับเคลื่อน “ดิจิทัล แบงกิ้ง”

ในงานสัมมนาดิจิทัล GroupM Focal 2019 ปีนี้ยังตามติดพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงจากปัจจัยการเข้าถึง “อินเทอร์เน็ต” ผ่านมือถือของคนทุกวัยและไทยได้ก้าวสู่ “โมบาย เฟิร์ส” พร้อมอัพเดตเทรนด์ “เพย์เมนต์” ที่น่าสนใจของผู้บริโภคยุคดิจิทัล ในหัวข้อ The Future of Payment งานวิจัยอนาคตการใช้จ่ายของผู้บริโภค

แพน จรุงธนาภิบาล

แพน จรุงธนาภิบาล รองผู้อำนวยการแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) กล่าวว่า หลังจากปีก่อน “กรุ๊ปเอ็ม” ได้สำรวจวิจัยตลาดเพย์เมนต์ พบว่ามีผู้บริโภคใช้ 3 ช่องทางหลัก คือ Mobile Platform, On Location Platform และ Human Platform

การทำสำรวจปี 2019 โฟกัสประเด็น “หลังจากธนาคารยกเลิกเก็บค่าธรรมเนียมการโอน จ่าย และเติมเงิน ผ่านโมบาย แบงกิ้ง ต่างธนาคารแล้วเกิดพฤติกรรมใดบ้างกับผู้บริโภค”

โดยพบว่าการทำธุรกรรม On Location Platform และ Human Platform ลดลง โดย Transaction ที่ตู้เอทีเอ็ม ลดลง 19% และหันไปใช้ “โมบาย แพลตฟอร์ม” มากขึ้น จากการสำรวจ Transaction บนอินเทอร์เน็ตและโมบายเพิ่มขึ้น 34% และบัญชีลูกค้าบนโมบายเพิ่มขึ้น 30%

4 กลุ่มดันโมบาย แบงกิ้งโต

ปัจจัยการเติบโตของ “โมบาย แบงกิ้ง” มาจาก 4 กลุ่มผู้ใช้งาน คือ

1. Self Learning คือ ผู้ใช้งานใหม่บนโมบาย แพลตฟอร์ม โดยในกลุ่มผู้ใช้สูงวัยเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพราะต้องการเข้ากับสังคม ลูกหลาน และคนรอบตัว เนื่องจากเป็นยุคที่การใช้จ่ายผ่าน “อี-มันนี่” เป็นเรื่องปกติ กลุ่มสูงวัยที่เป็นผู้ใช้ใหม่จึงเลือกเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น

2. Bank Persuade เป็นกลุ่มผู้ใช้โมบาย แพลตฟอร์มใหม่อีกกลุ่มและเป็นกลุ่มที่ถูกธนาคารชักชวนให้ใช้งานโมบาย แบงกิ้งและธุรกรรมผ่านออนไลน์ เพราะบางบริการของธนาคารได้เปลี่ยนเป็นระบบออนไลน์ทำให้ลูกค้าต้องปรับตัวตาม

3. Blending in the crowd มีทั้งวัยรุ่นและสูงวัย เป็นการใช้โมบาย แบงกิ้ง “ตามเพื่อน” เพราะกลุ่มเพื่อนใช้งานกันหมดแล้ว หากตัวเองไม่ได้ใช้ จึงรู้สึกถูกกดดันและเริ่มเรียนรู้การใช้งานตามกัน

4. Fix the new Demand เป็นกลุ่มที่เกิดจากการเข้าถึง “อินเทอร์เน็ต” และทำให้เกิดความต้องการ “ซื้อสินค้าออนไลน์” มากขึ้น เพราะสินค้าบางอย่างขายผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น จึงต้องเรียนรู้ที่จะใช้ระบบอี-มันนี่

อีกการเปลี่ยนแปลงด้าน “อี-เพย์เมนต์” ปีนี้ พบว่ากลุ่มที่ใช้งานโมบาย แบงกิ้งอยู่แล้วในปีก่อน โดยมีแอปพลิเคชั่น ของธนาคาร 3-4 แอป ในมือถือ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าบริการโอนเงินต่างธนาคาร โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า ที่จะมีแอปเกือบครบทุกธนาคาร

แต่หลังจากธนาคารยกเลิกค่าธรรมเนียมโอนจ่ายเงินต่างธนาคารผ่านธุรกรรมออนไลน์ ทั้งผู้บริโภคและพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ได้ “ลบแอปธนาคารทิ้ง” บางแอปและเหลือใช้งานหลักเพียง 1 แอป โดยเลือกแอปธนาคารที่สะดวกกับการใช้งานมากที่สุดและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มากที่สุด เนื่องจากความจุของสมาร์ทโฟนที่ใช้งานมีไม่มาก จึงไม่สามารถโหลดแอปมาใช้งานได้หลายแอป

ส่องเทรนด์ “อี-มันนี่” 4 กลุ่ม

จากการสำรวจผู้บริโภค 4 กลุ่ม คือ “วัยรุ่น คนทำงาน คนมีครอบครัวและวัยเกษียณ” ซึ่งแต่ละกลุ่มที่มีภาระด้านการใช้จ่ายต่างกัน จึงมีพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่าน “อี-มันนี่” ต่างกันด้วย

วัยรุ่น เป็นกลุ่มที่มีภาระเรื่องค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด เพราะอยู่ในวัยเรียน จึงเป็นกลุ่มที่ใช้จ่ายเงินอย่าง “สนุก” ในแต่ละวันมีการเคลื่อนไหวการใช้จ่ายเงิน “เร็วและบ่อย” เพราะยังไม่มีภาระช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัว กลุ่มนี้มีพฤติกรรมเมื่อเงินหมดจะให้เพื่อนโอนเงินให้ หรือเงินสดหมดก็จะขอจากเพื่อน เมื่อได้เงินจากพ่อแม่ก็จะโอนคืนเพื่อน จึงเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายเกิดขึ้นตลอดเวลา

การที่วัยรุ่นคุ้นเคยกับการมีเงินตลอดเวลา จึงทำให้การอดทนต่อการอยากได้อะไรสักอย่าง “น้อยลง” พบว่าหากต้องการสินค้าราคาแพง เช่น มือถือราคา 10,000 – 20,000 บาท ที่ไม่สามารถซื้อได้ในระยะเวลาสั้นๆ กลุ่มวัยรุ่นจะไม่ยอมเก็บเงินรอเพื่อซื้อ แต่จะออกไปหางานพิเศษทำ เพราะยุคนี้สามารถหางานจากอินเทอร์เน็ตได้ง่าย และทำให้สามารถซื้อสินค้าราคาแพงได้เร็วขึ้น

คนทำงาน เป็นกลุ่มที่เริ่มมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น จากการดูแลตัวเองและพ่อแม่ แต่เป็นกลุ่มที่ยังไม่มีครอบครัว ดังนั้นความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจึงไม่มากเท่ากลุ่มที่มีครอบครัว ทำให้เป็นกลุ่มที่ใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างความสุขให้กับการใช้ชีวิต จากการหาเงินใช้เองจึงมองคุณค่าการใช้เงินมากกว่ากลุ่มวัยรุ่น ทำให้มีพฤติกรรมใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า มักโอนเงินผ่านคิวอาร์โค้ด บัตรเครดิต อินเทอร์เน็ตและโมบาย แบงกิ้ง แทนการใช้เงินสด เพราะมีคะแนนสะสมจากการใช้จ่าย เพื่อนำไปลดราคาสินค้าที่ทำให้เกิดความคุ้มค่า

รูปแบบการใช้คะแนนสะสม นอกจากเลือกใช้เองแล้ว ยังเกิดจากการกระตุ้นของธุรกิจต่างๆ เช่น คะแนนสะสมของบัตรเครดิตสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้

กลุ่มครอบครัวมีลูก เป็นกลุ่มที่มีภาระมากที่สุด มองเรื่องการวางแผนในอนาคต ต้องเก็บเงินเพื่อครอบครัวและลูก ดังนั้นการใช้จ่ายจะต้องมีการวางแผนที่ดี ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มองการใช้เงินเพื่อทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด จึงมองหาสินค้าที่มีการลดราคา มีพฤติกรรมซื้อของจำนวนมาก ไม่ซื้อบ่อย หากพบว่าช่องทางไหน หรือสินค้าใดซื้อได้ในราคาถูกจะกลับมา “ซื้อซ้ำ”

โดยนักช้อปออนไลน์ที่ซื้อผ่าน ลาซาด้า หรือ ช้อปปี้ บ่อยครั้งจะเรียนรู้ว่าวันไหนหรือสินค้าซื้อได้ราคาถูก ก็จะกลับมาซื้อซ้ำในวันนั้นๆ และซื้อมากขึ้น

การสำรวจปีนี้พบว่ากลุ่มครอบครัวนิยมเลี้ยงลูกเองมากขึ้น ต่างจากพ่อแม่ในอดีตที่ออกไปทำงานและฝากลูกไว้กับตายายหรือปู่ย่า กลุ่มนี้จึงมองว่าหากต้องออกนอกบ้านเพื่อไปซื้อสินค้าจะทำให้เสียเวลา จึงมีพฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น

วัยเกษียณ เป็นกลุ่มที่มีภาระน้อยและมีเวลามากกว่าทุกกลุ่ม เป็นกลุ่มที่ซื้อสินค้าด้วยเหตุผล แต่บ้างครั้งจะเลือกซื้อสินค้าที่ลูกหลานสนใจ

พบว่าวัยเกษียณที่เริ่มใช้เงินผ่าน “อี-มันนี่” มองว่าการช้อปปิ้งออนไลน์ เป็น “ความฟิน” ที่ไม่เคยเจอมาก่อน เพราะทำให้พบสินค้าใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อนในช่องทางออฟไลน์

อีกกลุ่มที่มีความสำคัญ คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติ ปีก่อนเดินทางมาไทย 37 ล้านคน ปีนี้พบว่าร้านค้าต่างๆ ได้ติดตั้งระบบเพย์เมนต์ “คิวอาร์โค้ด” ที่ให้นักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินได้สะดวก เพราะเทรนด์นักท่องเที่ยวที่เดินทางเอง (FIT) จะไม่พกเงินสดมากนัก ด้วยวิตกเรื่องความปลอดภัย จึงนิยมใช้จ่ายผ่านอี-มันนี่ การติดตั้งอี-เพย์เมนต์ ยังทำให้พ่อค้าแม่ค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงเงินที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น

3 ข้อสรุปอนาคตการใช้จ่ายผู้บริโภค

จากเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตทุกกลุ่ม และส่งผลต่อรูปแบบการซื้อสินค้าและการใช้จ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปีนี้ มี 3 เรื่องหลัก

1. โมบาย แบงกิ้ง ที่ให้เซอร์วิสทุกอย่างในแอปเดียวมีโอกาสที่จะเป็นตัวเลือกของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะผู้บริโภคไม่ต้องการใช้งานหลายแอป ดังนั้นการมีพันธมิตรด้านบริการที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าจึงเป็นปัจจัยสำคัญ

2. Consumer Journey ของแต่ละคนแตกต่างกัน แต่หากมองความคุ้มค่าการซื้อสินค้า คนกรุงเทพฯ นิยมซื้อ 1 แถม 1 คนต่างจังหวัดนิยมการลดราคา เพราะต้องการสินค้าชิ้นเดียว ดังนั้นการนำเสนอโปรโมชั่นแคมเปญต่างๆ และช่องกทางการซื้อต้องเหมาะกับผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ

3. ดาต้า การใช้งานของลูกค้าเกิดขึ้นทั้งฝั่งแบรนด์ ธนาคาร มีเดีย เอเยนซี เป็นข้อมูลที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ หากสามารถนำดาต้าทั้งหมดมาใช้งานและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ได้มากขึ้น.

]]>
1223458
ปรากฏการณ์เกมใหญ่ บิ๊กจับบิ๊ก เอไอเอส ร่วมทุนแรบบิท ของทายาทรถไฟฟ้าบีทีเอส บุกธุรกิจไร้เงินสด https://positioningmag.com/1160045 Mon, 05 Mar 2018 08:05:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160045 นับเป็นการรวมตัวระหว่าง ผู้ให้บริการอันดับ 1 ในประเทศ เอไอเอสที่มีฐานลูกค้ากว่า 40 ล้านราย Rabbit ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไมโครเพย์เมนต์ และ mass transit ที่มีผู้ใช้งานบัตรกว่า 8.5 ล้านราย และ LINE แอปพลิเคชั่นที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 42 ล้านบัญชี เพื่อขึ้นเป็นผู้นำโมบายเพย์เมนต์ในไทย

ภายใต้ความร่วมมือ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ (mPAY) ซึ่งบริษัทลูกของ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด มหาชน หรือ เอไอเอส ได้ร่วมทุนกับ  Rabbit LINE Pay (RLP) แพลตฟอร์ม e-money ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ LINE

โดย บริษัท แอดวานซ์เอ็มเปย์ จำกัด จะเข้าไปร่วมทุนผ่านการซื้อขายหุ้นเพิ่มใน แรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LINE Pay) จำนวน 1,999,998 หุ้น ในราคาหุ้นละ 393.75 บาท รวมเป็นเงิน 787 ล้านบาท ขณะที่ระหว่างผู้ร่วมทุนเดิม ไลน์ เพย์ คอร์ปอเรชั่น และไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) กับ บริษัท แรบบิท เพย์ ซิสเทม จำกัด ได้มีการเพิ่มทุนอีก 1,999,996 หุ้น ในราคาหุ้นละ 100 บาท เพื่อให้ทั้ง 3 รายถือหุ้นเท่ากันที่ 33.33%

  • ความร่วมมือแรกที่จะเกิดขึ้น คือการเชื่อมต่อแอป my AIS มาใช้งานบน Rabbit LINE Pay
  • เอไอเอส ย้ายฐานลูกค้าของ mPay มาเป็นฐานลูกค้าของ Rabbit LINE Pay โดยที่ยังสามารถเข้าถึงระบบชำระค่าบริการต่างๆของ mPay กว่า 200 รายการได้เหมือนเดิม
  • Rabbit LINE Pay จะเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินบนมือถือบนแอป my AIS
  • ตั้งแต่นี้ไปการชำระเงินของลูกค้าระบบเติมเงิน ลูกค้าระบบรายเดือน ลูกค้า
    เอไอเอส ไฟเบอร์ ค่าบัตรเครดิต ค่าสาธารณูปโภค รวมกว่า 200 รายการ จะจ่ายผ่านช่องทาง Rabbit LINE Pay
  • การชำระบิลต่างๆ ผ่านทาง Rabbit LINE Pay ผู้ใช้ไม่ต้องกรอกข้อมูลบัตรเครคิตหรือบัตรเดบิต

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชนหรือ เอไอเอส กล่าวว่าที่ผ่านมาเอไอเอสเชื่อมั่นในอีโคซิสเต็มส์ในการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ที่แข็งแรง เพื่อนำบริการมาให้แก่ผู้บริโภค ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการรวมกลุ่มอีโคซิสเต็มส์ของผู้ให้บริการโมบายมันนี่ที่แข็งแรงมาก

ที่ผ่านมาเอ็มเปย์ถือเป็นผู้ให้บริการโมบายเพย์เมนต์รายเดียวในประเทศไทยที่ทำธุรกิจแล้วมีกำไรอยู่ จากประสบการณ์ในตลาดกว่า 10 ปี แต่มาในวันนี้การเป็นเพียงเฉพาะผู้ให้บริการเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป เอ็มเปย์จึงขยับตัวขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์มในการให้บริการโมบายเพย์เมนต์แทน

ทำให้หลังจากร่วมทุนแล้วจะเป็นการรวมตัวกันของ 3 บริษัทที่ถือเป็นผู้นำในตลาดอย่างเอไอเอส ที่เป็นผู้นำในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานมีจำนวนฐานลูกค้ามากกว่า 40 ล้านราย ในขณะที่แรบบิทเป็นผู้ให้บริการชำระเงินในระบบไมโครเพย์เมนต์อันดับ 1 ในกรุงเทพฯ ที่มีผู้ใช้งานบัตรแรบบิทกว่า 8.5 ล้านรายและ LINE แชทแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากกว่า 42 ล้านราย

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ จะผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้จริง ทั้งการเพิ่มช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ใช้ชำระค่าบริการต่างๆในชีวิตประจำวันที่ในอนาคตจะมีโปรโมชั่นพิเศษให้ผู้ใช้ได้ลอง

ในส่วนของช่องทางเติมเงินเข้าในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จากเดิมที่ต้องใช้ผ่านการโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือช่องทางชำระเงินเฉพาะ แต่ในอนาคตลูกค้า AIS สามารถใช้ช่องทางศูนย์บริการเอไอเอสเทเลวิซและร้านตู้เติมเงินทั่วประเทศกว่า 2 แสนจุดในการเติมเงินได้

ปัจจุบัน Rabbit LINE Pay มีผู้เข้ามาลงทะเบียนใช้งานราว 3 ล้านบัญชี มีการใช้งานสูงสุดต่อวันอยู่ที่ 1.5 ล้านครั้ง โดยในเดือนมิถุนายนผู้ใช้งาน Rabbit LINE Pay จะสามารถใช้ชำระค่าบริการรถไฟฟ้า BTS ได้.

]]>
1160045
เงินสะพัดผ่านอี-มันนี่ 8.8 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1116988 Tue, 21 Feb 2017 18:31:19 +0000 http://positioningmag.com/?p=1116988 กำลังเป็นทั้งวิกฤติ และโอกาสของบริการ e-Money กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่กำลังเป็นกระแสร้อนอยู่ในเวลานี้ มาดูกันว่า ปี 2559 คนไทยใช้บริการอี-มันนี่กันเยอะแค่ไหน จากการเปิดเผยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) ระบุว่าการใช้บริการบัตรเติมเงิน บัตรเงินสด บัตรดิจิตอล กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก

1_e_money1

]]> 1116988 ง่ายดี? “ฟิล์ม” แจงทำธุรกิจ อี-มันนี ไม่ขออนุญาต บอกเป็นโมเดลใหม่เลยไม่แม่นข้อกฏหมาย https://positioningmag.com/1116882 Tue, 21 Feb 2017 04:37:49 +0000 http://positioningmag.com/?p=1116882 “ฟิล์ม รัฐภูมิ” โพสต์คลิปแจงหลังถูก “ธปท.” ยื่นเรื่องเอาผิด บ.เพลย์ออล กรุ๊ปฯ เหตุมั่วนิ่มทำธุรกิจอี-มันนีร่วมปีโดยไม่ขออนุญาต เจ้าตัวชิลๆ พูดขายของไปเรื่อยก่อนบอกข้อผิดพลาดเหตุเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ เลยไม่แม่นข้อกฏหมาย พร้อมออกปากขอโทษและลั่นจะทำให้ถูกต้อง

จากกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีบริษัท เพย์ออล กรุ๊ป จำกัด ที่มีนักร้องหนุ่ม “ฟิล์ม รัฐภูมิ โตคงทรัพย์” ประธานกรรมการ เนื่องจากมีการเปิดให้บริการทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “อีมันนี่” (e-Money) โดยไม่ขออนุญาตมานานกว่า 1 ปี ตามข่าวที่ออกมานั้น

รายงาน : เงินอิเล็กทรอนิกส์เถื่อน? “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ถูก “แบงก์ชาติ” แจ้งจับ

“ประธานฟิล์ม” อ่วมแน่! ธปท.แจ้งเอาผิด “เพย์ออล” เปิดอี-มันนี่ รับชำระเงินผ่านแอปฯ ไม่ได้รับอนุญาต

ล่าสุดทางด้านนักร้องหนุ่มก็ได้มีการชี้แจงถึงเรื่องนี้ผ่านเฟซบุ๊กแล้วด้วยการโพสต์คลิปอธิบายถึงที่มาของบริษัทก่อนระบุว่า ความผิดพลาดของเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเกิดมาจากความละเอียดไม่มากพอของตนเอง และทีมกฏหมายที่มีการไปเปิดให้บริการก่อนที่จะไปขออนุญาตเนื่องจากมันเป็นโมเดลที่ใหม่มากๆ พร้อมกันนี้เจ้าตัวยังได้ยอมรับผิดและขอโทษทุกๆ คน พร้อมกับยืนยันว่าจะทำให้ถูกต้องต่อไป

“ข่าวที่เกิดขึ้นตอนนี้ตนและทีมกฏหมายบริษัทเพย์ออล ได้พลาดบางข้อกฏหมายและข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องด้วยเราไปเปิดธุรกิจก่อนได้รับใบอนุญาต ซึ่งต้องบอกเลยว่าผมละเอียดมากๆ แล้วนะครับ แต่ก็ยังละเอียดไม่มากพอ เพราะธุรกิจที่ผมสร้างขึ้นมานั้น มันเป็นโมเดลธุรกิจที่ใหม่มากๆ ครับ และในวันนี้ผมอยากบอกทุกๆ คนว่าผมยอมรับผิดและขอโทษทุกคน (ยกมือไหว้ขอโทษ)”

“วันนี้ผมและผู้บริหารทุกคนยอมรับข้อผิดพลาด และเรากำลังรีบแก้ไขและดำเนินการไปตามข้อตกลงของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของสมาชิกเพย์ออลทุกๆ คนครับ และสุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องสำหรับคำแนะนำ เพื่อให้ผมนำมาพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจเพย์ออลให้ถูกต้องตามกฏหมายเพื่อความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น”

ที่มา : http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9600000017864

]]>
1116882
อี-มันนี่ เถื่อนไม่เถื่อน ? มาดูกัน https://positioningmag.com/1116851 Mon, 20 Feb 2017 18:10:05 +0000 http://positioningmag.com/?p=1116851 จากกระแสข่าวร้อน เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งความดำเนินคดี บริษัท เพย์ออล กรุ๊ป จำกัด ซึ่งมีดารานักแสดงชื่อดัง ฟิล์ม รัฐภูมิ โตคงทรัพย์เป็นประธานบริษัท หลังพบว่าให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อีมันนี่) โดยไม่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย     

มาทำความรู้จักกับเงินอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Money หรือ e-Money (อีมันนี่) มูลค่าเงินที่บันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้ใช้บริการได้ชำระเงินล่วงหน้าแก่ผู้ให้บริการ e-Money เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าบริการได้ตามร้านค้าที่รับชำระโดยไม่ต้องพกเงินสด

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ e-Money มากหน้าหลายตา ไม่ใช่แค่ธนาคาร แต่มีทั้งบริษัทสื่อสาร เกม ทั้งรายเก่า รายใหม่ เพราะต่างก็มองเห็นโอกาสจากการที่ไทยกำลังเดินเข้าสู่ยุคใช้จ่ายผ่านดิจิตอล ไม่ต้องพกเงินสด ไม่ต้องทอนเงินให้ยุ่งยาก รวมทั้งการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ จะทำให้การใช้บริการ e-Money เพิ่มสูงขึ้น

แต่การให้บริการ e-Money ใช่ว่าจะทำได้ทันที จำเป็นต้องขออนุญาตจากทางแบงก์ชาติ เพื่อประกอบธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

บัญชี ก ใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพียงรายเดียว

ยกเว้น ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคโดยไม่ได้แสวงหากำไรจากการออกบัตร เช่น บัตรศูนย์อาหาร บัตรโดยสารสาธารณะ บัตรโทรศัพท์สาธารณะ หรือบัตรชำระค่าผ่านทางสาธารณะ

ปัจจุบัน มีบริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. เป็นผู้ได้รับอนุญาตบัญชี ก เพียงรายเดียว

บัญชี  เป็นบริการ ใช้ซื้อสินค้า หรือบริการ จากผู้ขายหลายรายภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและบริการเดียวกัน หรือกิจการในเครือ เช่นธุรกิจแฟรนไชส์ปัํ๊มน้ำมันระบบขนส่งมวลชนศูนย์การค้า

ปัจจุบัน มีผู้ขอใบอนุญาต 7 ราย

  1. บริษท จีพีซีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด
  2. บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด
  3. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
  5. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  6. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
  7. บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

 บัญชี เป็นบริการ ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการ จากผู้ขายหลายราย โดยไม่จำกัดสถานที่ และไม่อยู่ภายใต้การจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน เช่น การนำไปใช้ชำระค่าสินค้า/ค่าบริการที่จำหน่ายผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต หรือตามร้านค้าที่รับชำระด้วย e-money

รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money บัญชี ) ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

  1. บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด (บริษัทย่อยของกลุ่มทรู เครื่องหมายการค้า TrueMoney)
  2. บริษัท ทีทูพี จำกัด (เครื่องหมายการค้า DeepPocket)
  3. บริษัท ทูซีทูพี พลัส (ประเทศไทย) จำกัด (เครื่องหมายการค้า 2C2P)
  4. บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (เครื่องหมายการค้า Smart Purse)
  5. บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (เครื่องหมายการค้า Rabbit)
  6. บริษัท เพย์สบาย จำกัด (บริษัทย่อยของดีแทค เครื่องหมายการค้า Paysbuy)
  7. บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เครื่องหมายการค้า บุญเติม)
  8. บริษัท แรบบิทไลน์ เพย์ จำกัด (เครื่องหมายการค้า Rabbit LinePay)
  9. บริษัท เอ็มโอแอล เพย์เมนท์ จำกัด (เครื่องหมายการค้า MOL)
  10. บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด (บริษัทย่อยของเอไอเอส จำหน่ายบัตรแทนเงินสดวันทูคอล)
  11. บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด (บริษัทย่อยของเอไอเอส เครื่องหมายการค้า mPAY)
  12. บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (เครื่องหมายการค้า AirPay)
  13. บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด (เครื่องหมายการค้า PayforU)
  14. บริษัท เฮลโลเพย์ จำกัด (เครื่องหมายการค้า Go!Hub)

เมื่อผู้ให้บริการมีมากหน้าหลายตาซึ่งได้โฆษณาเชิญชวนให้ลูกค้าและร้านค้าใช้บริการด้วยการหาเครือข่ายสมาชิก และให้ผลตอบแทนในอัตราสูง แบงก์ชาติเลยต้องออกมาได้เตือนถึงความเสี่ยงของการใช้บริการที่ไม่ได้รับอนุญาต

โดยบริษัทที่จะได้ใบอนุญาตได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติและต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกำหนด เช่นต้องมีทุนจดทะเบียนตามกำหนด มีสภาพคล่องทางการเงิน มีการเก็บรักษาเงินที่เติมเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยฝากไว้ที่สถาบันการเงินและแยกบัญชีไว้ต่างหาก และการรักษาความลับของลูกค้า และคืนเงินให้ลูกค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย http://astv.mobi/AmoWxbm

]]>
1116851