Electricity – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 17 Aug 2012 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เฟิร์ส โซลาร์ เปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เตรียมพร้อมบุกตลาดไทย https://positioningmag.com/55560 Fri, 17 Aug 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55560

เฟิร์ส โซลาร์ อิงค์ (ชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์แนสแดคว่า FSLR) ประกาศจัดตั้งบริษัท เฟิร์ส  โซลาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแห่งใหม่ที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ การเปิดบริษัทใหม่ดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนเฟิร์ส โซลาร์นำกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจของตนมาใช้ขยายตลาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในไทยให้มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผลและคุ้มค่ายิ่งขึ้นมร. วอน พาร์ค ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เฟิร์ส โซลาร์ กล่าวว่า “จากปัจจัยพื้นฐานในระยะยาวที่เอื้ออำนวยและสนับสนุนการพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ พลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของตลาดโดยรวม ทำให้เฟิร์ส โซลาร์มุ่งเดินหน้าขยายการลงทุนในไทยต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อพัฒนาตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้กลยุทธ์ที่วางไว้” 

ในอนาคต ประเทศไทยจะยังคงเป็นตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ทั้งยังมีความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีทรัพยากรแสงอาทิตย์อย่างเหลือเฟือ เฟิร์ส โซลาร์ได้เข้ามาเปิดตลาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในไทยตั้งแต่ปี 2554 และนับตั้งแต่นั้น เป็นต้นมาจนถึง ณ ขณะนี้ บริษัทได้ติดตั้งหรืออยู่ในระหว่างการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รวมกว่า 12 เมกะวัตต์ โดยใช้เทคโนโลยีแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอันล้ำสมัยที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ  เฟิร์ส โซลาร์         

 

เกี่ยวกับบริษัท เฟิร์ส โซลาร์

เฟิร์ส โซลาร์ ผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชั้นนำของโลกด้วยเทคโนโลยีแบบฟิล์มบาง และเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ PV (Photovoltaic) ที่ครบวงจร เฟิร์สโซลาร์นำเสนอระบบพลังงานทางเลือกที่ประหยัด เห็นผลคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ ไปจนถึง การรวบรวมเก็บกลับคืนและรีไซเคิลแผงเซลล์ตลอดอายุการใช้งาน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฟิร์ส โซลาร์ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ www.firstsolar.com

 

สำหรับนักลงทุนของเฟิร์ส โซลาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์ในอนาคต (forward-looking statements) อันสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของข้อมูล (safe harbor) ตามมาตรา 21E ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ค.ศ. 1934 ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยข้อความที่มีลักษณะคาดการณ์ มิได้เป็นการรับรองผลประกอบการในอนาคตของบริษัทแต่อย่างใด ผลที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอาจมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากข้อความที่มีลักษณะคาดการณ์ดังกล่าว เนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ ปัจจัยที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การพัฒนาและจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการแข่งขัน สายสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ของบริษัท รวมถึงความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่บริษัทได้แสดงรายละเอียดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฟิร์ส โซลาร์ไม่มีข้อผูกพันในการปรับปรุงข้อมูลที่มีลักษณะคาดการณ์ดังกล่าว ที่ปรากฏในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ หรือในประกาศอื่นใดที่ระบุในที่นี้

]]>
55560
กสิกรไทย-กรุงศรี ปล่อยกู้ 1,517 ล้านบาท สร้างโซล่าฟาร์ม 3 โรงที่โคราช https://positioningmag.com/55243 Wed, 21 Mar 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55243

กสิกรไทยร่วมกับกรุงศรีฯ ปล่อยกู้รวม 1,517 ล้านบาท สร้างไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าฟาร์ม)  3 แห่งที่โคราช ร่วมทุนสร้างโดย เอสพีซีจี และบ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 2 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการพลังงาน กำลังผลิต 3 โรง รวม 18 เมกะวัตต์ มุ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2556 ด้านราชบุรี โฮลดิ้ง เป็นผู้นำการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทางเลือกที่ครบที่สุด ส่วนเคแบงก์ย้ำมุ่งสู่ความเป็นอันดับหนึ่ง ในการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจผลิตไฟฟ้า

นางสาววันดี กุญชรยาคง  ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเดินหน้าโครงการโซล่าฟาร์มมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยและอาเซียน ล่าสุด จับมือกับ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง  จำกัด ร่วมลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 แห่ง ที่  จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ โครงการโซล่าเพาเวอร์ โคราช 3 (Solar Power Korat 3 Project) โครงการโซล่าเพาเวอร์ โคราช 4 (Solar Power Korat 4 Project) และ โครงการโซล่าเพาเวอร์ โคราช 7 (Solar Power Korat 7 Project) เป็นโครงการโซล่าฟาร์มขนาด 6 เมกะวัตต์ รวม 3 โครงการมีกำลังการผลิตรวม 18 เมกะวัตต์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Polycrystalline ของบริษัท Kyocera จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์หลักในอุตสาหกรรมมานานกว่า 40 ปี สำหรับโครงการดังกล่าว ร่วมลงทุนโดย บริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด (Solar Power Co., Ltd.) บริษัทในเครือเอสพีซีจี ในสัดส่วน 60% และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ในสัดส่วน 40% 

ทั้งนี้ ปัจจุบันเอสพีซีจี มีโครงการโซล่าฟาร์มแล้ว จำนวน 34 โครงการ รวมกำลังการผลิตกว่า 240      เมกะวัตต์ ซึ่งได้ขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้ว 7 โครงการ ได้แก่ โคราช 1 สกลนคร 1 นครพนม 1 โคราช 2 เลย 1 ขอนแก่น 1 และ โคราช 3 มีกำลังผลิตรวม 42 เมกะวัตต์ และ อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 9 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะจำหน่ายไฟฟ้าได้ในไตรมาส 3 ของปี 2555 และจะเริ่มพัฒนาอีก 18 โครงการภายในปี 2555 ซึ่งทุกโครงการเอสพีซีจีได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากธนาคารกสิกรไทยอย่างดี

นายพีระวัฒน์ พุ่มทอง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ วางแผนและพัฒนาธุรกิจ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี- โฮลดิ้ง เปิดเผยว่า บริษัทมุ่งมั่นขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามธุรกิจหลักของบริษัท โดยมุ่งหวังสนองตอบนโยบายภาครัฐที่ต้องการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลผลิตกระแสไฟฟ้าในฐานะที่บริษัทเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศนอกเหนือจากพลังงานลม และชีวมวลแล้ว ยังมีการลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในช่วงเวลากลางวัน  ปัจจุบัน ได้ลงทุนร่วมกับกลุ่มเอสพีซีจีพัฒนาโซล่าร์ฟาร์ม 3 โครงการ และคาดว่าจะสามารถขยายความร่วมมือกับกลุ่มเอสพีซีจีในการพัฒนาโครงการแห่งอื่นได้ในอนาคตอันใกล้นี้ โดยโซล่าร์ฟาร์มทั้งสามแห่งมีพัฒนาการก้าวหน้าตามแผนงานที่วางไว้ และความสำเร็จในการจัดหาเงินกู้ครั้งนี้สะท้อนถึงศักยภาพของโครงการที่สถาบันการเงินให้ความเชื่อมั่น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนจากนี้ต่อไปจะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  

นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า การปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องนี้ ก็เพื่อเป็นการประกาศย้ำแนวทางการสนับสนุนโครงการสีเขียวของธนาคาร โดยโครงการโซล่าเพาเวอร์ โคราช 3, 4 และ 7 นี้ เป็นโครงการแรกที่เป็นความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กรพลังงานยักษ์ใหญ่ คือ กลุ่มบริษัทโซล่า เพาเวอร์ และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง โดยธนาคารกสิกรไทยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการเงินกู้ (Mandated Lead Arranger) พร้อมปล่อยเงินกู้ร่วมจำนวนรวม 1,517 ล้านบาท ระหว่างธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงศรีฯ ในสัดส่วน 55% และ 45% ตามลำดับ เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนฝั่งธนาคารพาณิชย์ (Facility Agent) และตัวแทนหลักประกัน (Security Agent) และทำหน้าที่ให้บริการวงเงินอื่น ๆ เช่น การเปิดเอกสาร Letter of Credit ในการนำเข้าแผงพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงวงเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย

นายธะเรศ  โปษยานนท์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 1 ธนาคารกรุงศรีฯ แสดงความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในความสำเร็จของ บริษัท เอสพีซีจี และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี     โฮลดิ้ง ในโครงการโซล่า เพาเวอร์ โคราช 3,  4 และ 7  ซึ่งทางธนาคารกรุงศรีฯ ได้ร่วมสนับสนุนวงเงิน Syndication กับธนาคารกสิกรไทย โดยตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อสภาวะโลกร้อน และความสำคัญของพลังงานทางเลือกในปัจจุบัน ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนโครงการธุรกิจและกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ นอกเหนือจากการสนับสนุนทางการเงิน ธนาคารกรุงศรีฯ มีการจัดงานสัมมนา เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดโครงการช่วยเหลือสังคมต่าง ๆ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างสม่ำเสมออีกด้วย

นายกฤษฎา กล่าวตอนท้ายว่า ธนาคารมีเป้าหมายในการให้การสนับสนุนโครงการพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวขึ้นเป็นธนาคารอันดับ 1 ด้านธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทน และครองส่วนแบ่งตลาด 80% โดยในอนาคตจะมีผู้เล่นรายใหม่ในตลาดที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจพลังงานมากขึ้น ซึ่งจะหมายถึงการร่วมมือกันทางธุรกิจที่มากยิ่งขึ้น ตลอดจนการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น 

ในส่วนประเทศไทยศักยภาพไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์สามารถไปได้ไกลกว่า 5,000 เมกกะวัตต์ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะมีมากกว่า 10% ของกำลังการผลิตทั้งหมดใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนมากกว่า 500,000 ล้านบาท   ดังนั้น การสนับสนุนทางการเงินในอนาคตของธนาคารกสิกรไทยจะต้องใช้ความได้เปรียบจากความเชื่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้ ที่มุ่งเน้นไปในด้านการเป็นที่ปรึกษาโครงการ และ เป็นที่ปรึกษาการร่วมทุนทั้งในประเทศและนอกประเทศ โดยการพึ่งเงินกู้จากธนาคารอาจจะเป็นเพียงแค่ส่วนสนับสนุนหนึ่งเท่านั้น แต่ธนาคารกสิกรไทยเล็งเห็นถึงการเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินแบบใหม่เพื่อช่วยลูกค้าระดมทุนในตลาดทุน รวมถึงการระดมทุนในรูปแบบทันสมัย คือ Infrastructure Fund ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ทั้งในส่วนของเงินทุนและเงินกู้ โดยธนาคารอยู่ระหว่างการดำเนินการในเรื่องนี้ 

 

]]>
55243
ทีเอสอี ทุ่ม 900 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตไฟฟ้า พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์แห่งแรก https://positioningmag.com/55019 Wed, 30 Nov 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55019

บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด หรือ ทีเอสอี (TSE) ทุ่มกว่า 900 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ผนึกสถาบันพลังงานที่มีชื่อเสียงหลายประเทศทั่วโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่จะมุ่งลดการใช้พลังงานฟอสซิล แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นผู้นำของโลกในการนำเทคโนโลยีแบบดีเอสจี (Direct Steam Generation) มาใช้ ด้วยกำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ ด้วยเทคโนโลยี แบบรางพาราโบลา (Parabolic Trough) บนเนื้อที่กว่า 150 ไร่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมเตรียมเปิดอีก 2 โครงการคาดอีก 3-5 ปี สามารถขยายกำลังการผลิตเป็น 135 เมกะวัตต์

ดร. แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และคณะผู้บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (ทีเอสอี) หรือ Thai Solar Energy Co., Ltd (TSE) ผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ เปิดเผยว่า บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2551 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ โดยเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ แบบรางพาราโบลา พร้อมกับบริษัทฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันพลังงานที่มีชื่อเสียงหลายประเทศทั่วโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเพื่อพัฒนาการ และสร้างพลังงานสะอาดเพื่อรองรับความต้องการในการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นภายในประเทศ และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการจัดตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าแห่งแรกที่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี บนเนื้อที่กว่า 150 ไร่ ด้วยงบลงทุนกว่า 900 ล้านบาท ด้วยกำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ จำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งบริษัทได้วางแผนขยายเต็มกำลังการผลิต และตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่ 9 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างลดลงประมาณ 20-30%

โดย “ทีเอสอี” มีทุนจดทะเบียนบริษัทฯ 1,365 ล้านบาท โดยผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัท พี.เอ็ม. เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด 53%, บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 25% และรายย่อยอื่นๆ 22% ซึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นทุกคนมีวิสัยทัศน์ที่จะให้โครงการของบริษัทฯ เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะด้านพลังงานทดแทน จากการใช้พลังงานฟอสซิล เช่นน้ำมันและถ่านหิน ที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก นำไปสู่ปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

ดร. แคทลีน กล่าวต่อไปว่า สำหรับกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของ “ทีเอสอี” จะเป็นระบบ Parabolic Trough หรือ แบบรางรวมแสง เป็นระบบที่ทำงานโดยใช้หลักการรวมรังสีดวงอาทิตย์ด้วยการสะท้อนจากผิวโค้งรูปพาราโบลาที่เป็นรางยาว เข้าสู่ท่อรับรังสี(receiver) ซึ่งจะเป็นท่อโลหะอยู่ภายในท่อแก้ว โดยช่องว่างระหว่างท่อทั้งสองเป็นสูญญากาศเพื่อลดการสูญเสียความร้อน โดยจะมีน้ำวนอยู่ภายใน เพื่อพาความร้อนและเปลี่ยนเป็นไอน้ำ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์กังหันไอน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า

“น้ำถูกส่งเข้าสู่ระบบ Parabolic Trough ในพื้นที่กว่า 150 ไร่ หรือที่เรียกว่า Solar Field เพื่อรับความร้อนจากแสงอาทิตย์จนน้ำกลายเป็นไอน้ำแห้ง ที่อุณหภูมิ 330 องศาเซลเซียส และความดัน 30 บาร์ ไอน้ำเหล่านี้จะถูกป้อนเข้าสู่กังหันไอน้ำ (Steam Turbine) เพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า หลังจากไอน้ำผ่านกระบวนการผลิตไฟฟ้าแล้ว จะถูกทำให้กลายเป็นน้ำ ด้วยระบบหล่อเย็น (Cooling Tower) เพื่อส่งกลับเข้าระบบรางรวมแสงในการผลิตไอน้ำใหม่ได้ต่อไป (Close Loop) ทั้งนี้ระบบสามารถต่อขยายเพื่อเพิ่มชั่วโมงการผลิตกระแส ด้วยเทคโนโลยี กักเก็บความร้อน (Heat – Storage System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งระบบนี้มีการนำมาใช้ในประเทศในแถบยุโรป และในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นเทคโนโลยีที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะถ้าได้มีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่การเก็บรักษาพลังงานความร้อนหรือ Heat Storage ได้” ดร. แคทลีน กล่าว

บริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถขยายการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขาย PPA ที่มีอยู่กว่า 10 สัญญา ซึ่งปัจจุบันได้เตรียมการเปิด 1 โครงการ และกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 3 โครงการ นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะขยายการลงทุนกับพันธมิตร โดยใช้เงินทุนที่ได้จากการเพิ่มทุนเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาจำนวน 1,000 ล้านบาท และวงเงิน project financing จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ

ดร. แคทลีน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับรายได้ของ “ทีเอสอี” (TSE) คาดว่าเมื่อกำลังการผลิตเต็มที่ รายได้ต่อเมกะวัตต์จะประมาณ 20-30 ล้านบาทต่อปีหรือประมาณ 100-150 ล้านบาทในปีแรก ซึ่งคาดว่าภายใน 2 ปี เราน่าจะขยายกำลังการผลิตจากปัจจุบัน 5 เมกะวัตต์ เป็น 35 เมกะวัตต์ โดยปัจจุบันจากโรงงานแห่งแรก 5 เมกะวัตต์ จะสามารถขยายเป็น 9 เมกะวัตต์ และเราอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงงานที่ 2,3,4 ในจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี นอกจากนี้เรายังวางแผนที่จะขยายการก่อสร้างต่อเนื่องจากใบอนุญาตซื้อขายไฟฟ้าที่เรามีอยู่กับ กฟภ. อีกกว่า 45 เมกะวัตต์ รวมถึงการขยายผ่านการร่วมทุนกับพันธมิตรอื่น ๆ รวมทั้งสิ้นคาดว่าจะสามารถขยายการผลิตได้กว่า 135 เมกะวัตต์ ภายในแผนงาน 3-5 ปี

สำหรับแนวโน้มอัตราการเติบโตของธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จะมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากธรรมชาติของการผลิตไฟฟ้า ที่ไม่มีต้นทุนวัตถุดิบ และไม่หมดสิ้นไปเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงในรูปแบบเดิม การพัฒนาของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะประเทศในต่างประเทศในแถบยุโรป เช่น รัฐบาลเยอรมนี ได้วางแผนระยะยาวที่จะเพิ่มปริมาณพลังงานทดแทนอย่างมีนัยสำคัญ

“ไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป เราจะมีก๊าซในประเทศเหลือใช้อีกกว่า 20 ปีเท่านั้น การนำเอาพลังงานหมุนเวียน หรือ พลังงานทดแทน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในขณะนี้ เพราะถือเป็นความหวังใหม่ของอนาคต” ดร. แคทลีน กล่าวทิ้งท้าย

]]>
55019
สินค้าใหม่รับชีวิตประหยัดไฟ https://positioningmag.com/13950 Wed, 10 Aug 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13950

ไลฟ์สไตล์ของชาวญี่ปุ่นกำลังเข้มข้นยิ่งขึ้นในการใช้ชีวิตอย่างประหยัดพลังงานที่สุดเท่าที่จะทำได้ นี่คือผลหลังแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่มบริเวณเกาะฮอนชู ญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จนเกิดโศกนาฏกรรมกับชีวิตผู้คนสูญหายกว่า 15,000 คน จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่าระเบิด ทำให้ญี่ปุ่นขาดแคลนพลังงาน

แม้ชาวญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวินัยจาการใช้พลังงานอยู่แล้ว อย่างเช่น ถ้าหม้อชาบูชาบูเดือด อาหารที่ลวกจิ้มหมดแล้ว ชาวญี่ปุ่นจะไม่นั่งเมาท์จนเพลิน แต่จะปิดสวิตช์เองทันที รถยนต์ก็เน้นใช้รถขนาดเล็กเพื่อประหยัดน้ำมัน ถ้าใช้จักรยานได้ก็ใช้ แต่เมื่อโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด จึงทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นขอให้ร่วมกันประหยัดพลังงานอย่างน้อย 15% ในช่วงหน้าร้อนเดือนกรกฎาคม-กันยายนนี้ โดยเฉพาะการใช้พัดลมแทนแอร์ จนทำให้พัดลมขายดีเป็นเทน้ำเทท่า อย่างเช่นร้านค้าของบริษัท บิ๊ก คาเมรา ทำยอดขายแอร์รุ่นใหม่ที่ประหยัดพลังงานกว่าเดิม 10-20% ได้เพิ่ม 30% แต่พัดลมขายได้มากกว่าถึง 4-5 เท่าจากปีที่แล้ว โดยรุ่นที่ขายดีสุดคือ Sient ของโตชิบา ทำให้โตชิบามียอดขายรวมสินค้าพัดลมเพิ่มขึ้นถึง 80%

Sient มาด้วยจุดเด่น 7 ประการที่โตชิบาโปรโมตไว้ คือ 1.ดีไซน์สวยที่สามารถวางในห้องรับแขกได้ลงตัว 2.เทคโนโลยี 3.ใช้งานง่าย 4. มี 7 ใบพัด 5.ลมเย็นสดชื่น 6.ลมสะพัดหลายทิศทาง และ 7.ปลอดภัย

นอกจากนี้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เริ่มทำตลาดสินค้าประหยัดไฟมากขึ้น เช่น กรณีล่าสุดทีวี มีโตชิบา เปิดตัวรุ่นใหม่ที่สามารถประหยัดไฟได้ 18% โดยผู้บริโภคเลือกโหมด ลดความสว่างจอ และมีแบตเตอรี่ใช้ได้นาน 3 ชั่วโมง ซึ่งทีวีรุ่นนี้ไม่ได้เป็นนวัตกรรมใหม่ เพราะโตชิบาส่งไปทำตลาดในประเทศที่การใช้ไฟฟ้าไม่เสถียรมาแล้ว อย่างอินเดีย และอินโดนีเซีย แต่เมื่อชาวญี่ปุ่นเริ่มประหยัดพลังงานมากขึ้น รุ่นนี้จึงควรกลับมาทำตลาดในประเทศ นอกจากนี้ยังมีชาร์ป ที่เปิดตัวแอลซีดีรุ่นใหม่ ด้วยหลักประหยัดพลังงานเดียวกันคือลดความสว่างของจอ ประหยัดไฟ 15%

กรณีนี้เมื่อมองญี่ปุ่นแล้วย้อนมองดูประเทศไทย ก็ได้แต่เพียงบอกว่า ประหยัดไฟตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่สว่างไสวในวันหน้ากันดีกว่า

]]>
13950
เรื่องไม่เล็กของซีอีโอ https://positioningmag.com/13800 Fri, 10 Jun 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13800

การรณรงค์ให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยการเปลี่ยนมาใช้หลอดผอมเบอร์ 5 เป็นสิ่งที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมาก็ต้องยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรณรงค์ใหญ่แค่ไหนก็ยังดูเป็นเรื่องพื้นๆ ยิบย่อยในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ทำอย่างไรก็กระชากใจผู้ใช้ไฟให้เปลี่ยนไปใช้หลอดผอมจริงจังไม่ได้สักที เว้นเสียแต่ถึงเวลาเปลี่ยนหลอดไฟแล้วจริงๆ เท่านั้น

แต่เมื่อผลรวมของสิ่งเล็กๆ คือผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่ระดับประเทศ การรณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงานด้วยการใช้หลอดผอมจึงเป็นนโยบายที่ กฟผ. ดำเนินงานเป็นนโยบายอย่างต่อเนื่อง เพราะในประเทศนี้ยังมีช่องว่างให้ประหยัดพลังงานกันได้อีกมากจากเรื่องเล็กๆ เพียงเรื่องเดียวนี้

ล่าสุด สุทัศน์ ปัทมสิริวฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นอกจากลงทุนเป็นพรีเซ็นเตอร์ในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ (TVC) ด้วยตัวเองแล้ว ยังชวนเอาเซเลบฯ ระดับซีอีโอแถวหน้าที่เป็นที่รู้จักกันดีของเมืองไทย อย่าง ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และเสี่ยปั้น-บัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย มาร่วมเป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์ให้ประชาชนใช้หลอดผอมเบอร์ 5 ในโฆษณาเดียวกัน

เป้าหมายก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า แม้กระทั่งองค์กรที่ทำรายได้ระดับประเทศในกลุ่มพลังงานทางเลือกในฐานะบริษัทผู้ผลิตแก๊สโซฮอล์อย่างบางจาก และธนาคารระดับแนวหน้าของประเทศ ก็ยังต้องให้มาให้ความสำคัญกับเรื่องที่มองจิ๊บๆ ในสายตาคนทั่วไป เพราะผลรวมจากเรื่องเล็กน้อยที่ระดับนายใหญ่ยังให้ความสำคัญ คือผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่เพิ่มรายได้ให้กับองค์กรได้โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเหมือนการหารายได้

แนวคิดนี้เป็นบทสะท้อนให้เห็นว่า การมุ่งไปข้างหน้าเพื่อหารายได้โดยปล่อยให้เกิดข้อผิดพลาดเล็กๆ ที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ไม่ใช่วิธีที่องค์กรพึงละเลย เหมือนคำพูดของบัณฑูร ที่พูดไว้ใน TVC ว่า “ธุรกิจไม่ใช่แค่คิดใหญ่ ต้องคิดเล็กด้วย”

คำว่า “เล็ก” ในที่ย่อมไม่ใช่การสื่อความถึงขนาดธุรกิจ แต่ต้องการบอกให้ทุกคนรู้ว่าอย่าละเลยหรือรั่วไหลกับเรื่องเล็กๆ ที่คุณอาจจะมองข้ามไป

สามองค์กรที่เป็นมีนายใหญ่มาเป็นพรีเซ็นเตอร์เองครั้งนี้ มีผลงานการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าขององค์กรรวมกันได้กว่า 13.92 ล้านหน่วยต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าปีละ 41.7 ล้านบาท ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงานลงได้ 13,140 ตันต่อปี

การประสานงานของพรีเซ็นเตอร์จากสามองค์กรใหญ่ พร้อมกับตัวเลขที่นำมาแสดงเพียงเท่านี้ ก็น่าจะเพียงพอที่ กฟผ.คาดว่าจะทำให้การรณงค์ให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม หันมาใช้หลอดผอมเบอร์ 5 กันมากขึ้นทั่วประเทศในเร็ววัน เพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อตัวเองและประเทศชาติ

สำหรับซีอีโอทั้งสามองค์กรที่ลงทุนมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับหนังโฆษณาชุดนี้ ยังได้ภาพลักษณ์ที่ดีของการมีร่วมการช่วยเหลือสังคม สอดคล้องกับแนวทางการตลาดยุค 3.0 ได้พอดี

ชื่อภาพยนตร์โฆษณา กฎใหม่ของการลงทุน
พรีเซ็นเตอร์ สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล และ บัณฑูร ล่ำซำ
เป้าหมาย เพื่อเผยแพร่ผลสำเร็จจากการใช้หลอดผอมเบอร์ 5 ของ 3 องค์กร ได้แก่ กฟผ. บางจากปิโตรเลียม และธนาคารกสิกรไทย โดยคาดว่าจากจุดเริ่มต้นนี้จะทำให้ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม ร่วมกันใช้หลอดผอมเบอร์ 5 ขนาด 28 วัตต์ แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ T8 ขนาด 36 วัตต์ ทั้งประเทศ จำนวน 18.5 ล้านหลอด ภายในปี 2556 กฟผ.จะสามารถส่งผลให้ลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้ 174.8 MW ลดพลังงานไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 800 ล้านหน่วยต่อปี หรือลดค่าใช้จ่ายได้ 2,400 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 400,000 ตันต่อปี
]]>
13800
“สมบูรณ์ กรุ๊ป” จับมือ “ซันโย” ร่วมรุกตลาดโซล่าเซลล์เมืองไทย https://positioningmag.com/54342 Tue, 03 May 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=54342

“สมบูรณ์ กรุ๊ป” รุกตลาด B2B ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ”HIT” ทุ่มงบ 10 ล้านบาท เลือก “ซันโย” ช่วยเนรมิต “ที่จอดรถพลังงานแสงอาทิตย์” หรือ “โซล่า คาร์ ปาร์ค” ต้นแบบแสดงการสะสมพลังงาน ช่วยลดการใช้พลังงานแสงสว่างภายในสำนักงานได้ 100% ต่อปี หรือ เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 34.2 ตันต่อปี ยืนยัน ซันโย โซล่าเซลล์ มีประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้สูงที่สุดในโลก

มร. สึโตมุ โมริโมโตะ ประธานกรรมการ บริษัท ซันโย (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า “บริษัทฯ เล็งเห็นว่าประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศตลาดในภูมิภาคเอเชียที่ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์มีศักยภาพการเติบโตสูง เนื่องจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และผู้บริโภคทั่วไป เริ่มตื่นตัวในการนำพลังงานทดแทนมาใช้ และพลังงานจากแสงอาทิตย์ถือเป็นพลังงานสะอาด ช่วยลดภาวะโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สู่ชั้นบรรยากาศได้

โดยล่าสุดบริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ สมบูรณ์ กรุ๊ป ติดตั้งและวางระบบผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) หรือ  HIT โดยมุ่งหวังทำเป็นสถานที่ต้นแบบแสดงระบบการทำงานโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า “โซล่า คาร์ ปาร์ค” (Solar Car Park) ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 190 วัตต์ต่อแผง จำนวน 155 แผง ได้กำลังไฟฟ้ารวมสูงสุด 30 กิโลวัตต์ และให้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าแผงทั่วไป ในการทำงานที่อุณหภูมิสูง ด้วยอายุใช้งานยาวนาน 25-30 ปี

“ด้วยความล้ำหน้าด้านเทคโนโลยีการผลิตตัวแผงจึงสามารถทนความร้อนได้สูง ป้องกันความชื้นได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญให้ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าถึง 18.9 % ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลกในขณะนี้” มร.โมริโมโตะ กล่าว

สำหรับการวางเป้าหมายในด้านธุรกิจพลังงาน สมบูรณ์กรุ๊ป คือ กลุ่มธุรกิจที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ และมีเครือข่ายธุรกิจและซัพพลายเออร์กว่า 1,000 ราย ทั่วประเทศ ซึ่งในอนาคตหากสมบูรณ์กรุ๊ปยินดีที่จะเป็นหนึ่งในพันธมิตรธุรกิจที่จะ ทำการตลาดและจัดจำหน่ายร่วมกัน มั่นใจได้ว่าจะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจแก่สองบริษัทได้อย่างแน่นอน

ด้าน นายวีระยุทธ กิตะพาณิชย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ สมบูรณ์ กรุ๊ป ผู้นำธุรกิจผลิตชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า “ปัจจุบันปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นกระแสที่ทั่วโลกกำลังจับตามองและทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวโดยนำพลังงานทดแทนมาใช้ภายในโรงงาน ภายใต้หลักการ กรีน แฟคทอรี่ (Green Factory) ซึ่งมองว่าจะเกิดประโยชน์ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านซีเอสอาร์ และด้านลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

“เราเล็งเห็นว่า บริษัท ซันโย (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้นำนวัตกรรมด้านนี้ โดยแผงโซล่าเซลล์ของซันโยมีประสิทธิภาพแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงที่สุดในโลก หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 18.9% ในขณะที่รายอื่น ๆ อยู่ที่ประมาณ 7-14% เท่านั้น ซึ่งสามารถตอบโจทย์ของเราได้มากที่สุด” นายวีระยุทธ กล่าว

โครงการนี้สมบูรณ์กรุ๊ป ใช้งบประมาณมูลค่าประมาณ 10 ล้านบาท ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ บนพื้นที่ประมาณ 500 ตารางเมตร บริเวณหน้าโรงงาน เพื่อใช้เป็นสถานที่จอดรถ เรียกว่า “โซล่า คาร์ ปาร์ค” ซึ่งพลังงานที่ได้รับจะถูกนำไปใช้ในส่วนของอุปกรณ์ให้แสงสว่างและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงาน รวมถึงเครื่องทดสอบผลิตภัณฑ์ภายในศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ของบริษัท

บริษัทฯ อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของแผนติดตั้งโซล่าเซลล์ในโรงงานอีกแห่งหนึ่งที่จังหวัดระยอง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ ขณะเดียวกันยังทำการศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานทดแทนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ และก๊าซชีวมวล เพราะมองว่าเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีโอกาสเติบโตสูง โดยวางกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเน้นไปที่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงาน ซึ่งจากการมีช่องทางจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งนี้ คาดว่าหากมีโอกาสร่วมมือกับซันโยในอนาคตน่าจะเป็นผลดีต่อภาพรวมอุตสาหกรรมของประเทศในการช่วยลดภาวะโลกร้อน

]]>
54342
โมเดล 3T สไตล์ญี่ปุ่น กลยุทธ์เพื่อ “นิวเคลียร์” https://positioningmag.com/13596 Wed, 30 Mar 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13596

อาคารขนาดกลางสีฟ้าขาว ลวดลายดูสดใส มีเรื่องราวให้ผู้คนได้ค้นหาอยู่ภายในด้วยห้องจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม รวมไปถึงหุ่นตุ๊กตาน่ารัก ที่ไม่เพียงเด็กอยากถ่ายรูปด้วย แต่ผู้ใหญ่หลายคนก็อดใจไว้ไม่ได้

ที่นี่ไม่ใช่สวนสนุก หรือศูนย์เรียนรู้ แต่ด้านหลังของอาคารแห่งนี้ คือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “เกนไก” ของบริษัทไฟฟ้าคิวชิว จังหวัดซางะ ประเทศญี่ปุ่น

แต่ละวัน “เกนไก” จะมีผู้มาเยือนเฉลี่ยประมาณ 500 คน ในปี 2009 มีเกือบ 200,000 คน ทั้งตัวแทนรัฐบาล และนักท่องเที่ยว ที่มาดูงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นอกจากแผนกต้อนรับในชุดฟอร์มสดใสสีชมพูแล้ว เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคของ “เกนไก” ในชุดป้องกันรังสีก็ต้องนำทัวร์รอบ ๆ โรงไฟฟ้า

ไม่ต่างจากโรงไฟฟ้าประเภทอื่นของญี่ปุ่น ทั้งถ่านหินลิกไนต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม ที่มีแขกมาเยือนตลอดเวลา เป็น How to ให้หลาย ๆ ประเทศศึกษา และที่สำคัญเป็น Show Case ให้ประเทศคู่ค้าสนใจสั่งซื้ออุปกรณ์และการก่อสร้างโรงไฟฟ้า จนถือเป็นสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่สำคัญของญี่ปุ่น ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย ที่ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของญี่ปุ่น

จากประสบการณ์ในสายพลังงานมานานกว่า 40 ปีของ “สุพิณ ปัญญามาก” อดีตผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารสาธารณะ สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์บอกว่า ประเทศญี่ปุ่นสามารถสร้าง Positioning ตัวเองได้ชัดเจนในการเป็นผู้ส่งออกสินค้าพลังงาน และหลายประเทศใช้เป็นตัวอย่าง รวมทั้งประเทศไทย จาก 2 องค์ประกอบหลักคือ

1.เป็นประเทศที่สามารถกระจายการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้เหมาะสม เช่น ถ่านหิน ลิกไนต์ พลังน้ำ ลม นิวเคลียร์ เฉลี่ยประเภทละ 25% ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงเมื่อเชื้อเพลิงใดขาดแคลน แม้บางอย่างจะมีความเสี่ยงอย่างนิวเคลียร์ แต่ญี่ปุ่นก็ไม่มีทางเลือกด้วยทรัพยากรอื่นมีจำกัด และเป็นเมืองหนาวที่จำเป็นต้องมีพลังงานเพียงพอ หรือแม้แต่พลังงานลมที่ผลได้ไม่คุ้ม แต่ญี่ปุ่นก็หวังในเรื่องของการขายเทคโนโลยีมากกว่า

2.การจัดการในการสร้างความยอมรับ โดยเฉพาะกับชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า ที่แม้จะไม่ได้รับการยอมรับ 100% แต่ก็ถือเป็นประเทศที่มีวิธีที่น่าสนใจ

ญี่ปุ่นได้ใช้ 3T คือ Truth คือการให้ข้อมูลความจริง Transparency ความโปร่งใสของการก่อสร้าง ความมีส่วนร่วมของชุมชน และ Trust ความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการในความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกนไก เล่าว่านอกจาก 3T แล้วรัฐบาลท้องถิ่นต้องพูดคุยกับชุมชนโดยรอบ และนำรายได้จากการขายไฟฟ้าส่วนหนึ่งสมทบกองทุนความเสี่ยงในการประมง และช่วยเหลือประชาชน นอกเหนือจากนี้โรงไฟฟ้าเองยังจัดสร้างอาคารเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบโรงไฟฟ้ารัศมีประมาณ 5 กิโลเมตรมาใช้ประโยชน์ มีการปรับปรุงโรงเรียนโดยรอบ

แม้ระบบการจัดการ 3T จะทำอย่างเป็นระบบ แต่ทั้งหมดใช้เวลาหลายปีกว่าจะสามารถสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้

บทเรียนของญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ “สุพิณ” บอกว่า ประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้ โดยเฉพาะระบบการบริหารชุมชนรอบพื้นที่ ซึ่งกลยุทธ์การพีอาร์กับชุมชนในพื้นที่นี้ ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องเข้าไปสร้างโรงงานในพื้นที่ที่จะมีผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ

สำหรับประเทศไทยแนวคิดเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มมาตั้งแต่ปี 2509 มีการล้มและฟื้นแผนแล้วหลายครั้ง และล่าสุดรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติเลือกพื้นที่ก่อสร้าง 3 ในจำนวน 5 จังหวัด คือจ.ตราด จ.สุราษฎร์ธานี ใน 2 อำเภอคือท่าชนะ และไชยา จ.ชุมพร จ.นครสวรรค์ ท่าตะโก และจ.อุบลราชธานี ด้วย

หลายปีที่ผ่านมาทีมงานของ “สุพิณ” จึงพยายามเล่าข้อมูลผ่านสื่อถึงข้อดีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และการเข้าถึงผู้นำของกลุ่มสังคมต่างๆ ตั้งแต่ผู้นำชุมชน สื่อ โดยเฉพาะวิทยุชุมชน ไปจนถึงพระสงฆ์ รวมไปถึงการทำโพลผ่านรายการ เรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์ ของ “สรยุทธ สุทัศนะจินดา”

“สุพิณ” บอกว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังมีภาพที่เป็นบาดแผลลึกโดยเฉพาะเมื่อปี 2529 ที่เชอร์โนบิล สหภาพโซเวียต หรือยูเครนในปัจจุบัน เป็นเหตุการณ์ที่ยากจะลืม เพราะมีผู้เสียชีวิตทันที 31 คน และบาดเจ็บจากกัมมันตภาพรังสี 203 คน ต้องอพยพผู้คนจากพื้นที่รัศมี 30 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีเรื่องความรู้สึกไม่ไว้วางใจมาตรฐานแบบไทยๆ ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ในการดูแลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้นเรื่องนี้สำหรับเมืองไทยจึงไม่ใช่เรื่องง่าย และคงต้องใช้เวลาอีกนาน

แหล่งพลังงานของการผลิตไฟฟ้า
ไทย
ก๊าซธรรมชาติ 70.91%
ถ่านหินลิกไนต์ 11%
พลังงานทดแทน 1.8%
น้ำมันเตา 0.32%
พลังน้ำ 4.2%
ซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน (ลาวและมาเลเซีย) 3.87%
ญี่ปุ่น
ถ่านหินลิกไนต์ 25%
พลังน้ำ 25%
ก๊าซธรรมชาติ 25%
นิวเคลียร์ 25%
]]>
13596
พรีเซนต์ดี ก็เคลียร์ได้กว่าครึ่ง https://positioningmag.com/13605 Wed, 30 Mar 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13605

จุดเด่นการนำเสนอสินค้าอยู่ที่การพรีเซนต์ ในกรณีนี้ญี่ปุ่นสามารถลดโทนความตึงเครียดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “เกนไก” ที่เต็มไปด้วยข้อมูลทางด้านเทคนิค ข้อมูลข้อถกเถียงเรื่องผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบได้ด้วยรูปแบบ และองค์ประกอบที่แนบเนียน

จากอาคารขาวฟ้า เมื่อเดินเข้าไปจะพบพนักงานทำหน้าที่ต้อนรับผู้มาเยือนศูนย์ประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกนไกตั้งแต่ทางเข้าที่เป็นห้องโถงโปร่งโล่ง มีตุ๊กตาจำลองรูปทรงมาจากถังบรรจุแกนเครื่องปฎิกรณ์ และหลายคนเข้าไปถ่ายรูปคู่ ราวกับเป็นศูนย์การแสดงความบันเทิงมากกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ด้านในยังพิพิธภัณฑ์ มีส่วนของหุ่นจำลองเตาปฎิกรณ์เท่าของจริง แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และการทำงานของเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ มีชั้นที่มองเห็นบริเวณกว้างของโรงไฟฟ้า และโชว์เรือนกระจกของพืชเมืองร้อนที่แสดงถึงระบบปรับอากาศที่ใช้ประโยชน์จากไอน้ำของโรงไฟฟ้า
ครบสูตรของความเป็นญี่ปุ่นด้วยบริการตรายางประทับเป็นที่ระลึกที่ดีไซน์ย้ำตัวตนของที่แห่งนี้ว่าเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

อย่างไรก็ตาม การพรีเซนต์คือเปลือกนอกที่ดึงความสนใจผู้มาเยือนเท่านั้น เบื้องหลังของ Show Caseนี้ยังมีเรื่องของยุทธศาสตร์สไตล์ญี่ปุ่น ที่นำมาสู่การมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วประเทศ แม้บางแห่งจะมีผู้ต่อต้านอยู่ แต่ดูเหมือนว่าเสียงนั้นจะเบา และรัฐบาลญี่ปุ่นก็เดินหน้าเต็มที่ เพราะไม่เพียงแต่เป็นพลังงานใช้ในประเทศเท่านั้น แต่คืออนาคตของสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ

]]>
13605
“ส่งออกนิวเคลียร์” วาระแห่งชาติ https://positioningmag.com/13606 Wed, 30 Mar 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13606

ในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าระดับโลก สินค้าที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดคือเทคโนโลยีและอุปกรณ์สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ประเทศเจ้าของเทคโนโลยีต้องทำตลาดทั้งระดับรัฐต่อรัฐ และระหว่างเอกชนกับเอกชน

เหมือนอย่างเมื่อครั้งที่ผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งตัวแทนของบริษัทเวสติ้งเฮาส์เข้าพบ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีของไทย “เวสติ้ง” ได้แสดงความพร้อมจำหน่ายอุปกรณ์และเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ไทย หลังจากทำตลาดได้แล้วในจีน หรือกรณีในเวทีการประชุมอาเซียนที่นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และญี่ปุ่นพบกันก็ได้พูดถึงโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ร่วมกัน

มหาอำนาจทางพลังงานในด้านนิวเคลียร์ต่างมองเห็นโอกาสของธุรกิจนี้ในการส่งออกมายังประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะเชื้อเพลิงที่ใช้เริ่มจำกัดไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกมีมากขึ้น

ประเทศที่เป็นต้นตำรับของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นต้องยกให้กับฝรั่งเศส ฟินแลนด์ และรัสเซีย
เพราะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาแล้วหลายทศวรรษ ในเอเชียมีญี่ปุ่น และที่กำลังมาแรงคือเกาหลีและ จีน

ขณะที่ประเทศในแถบเอเชียต่างมีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเฉพาะใกล้ไทยอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นวาระแห่งชาติของทั้งประเทศมหาอำนาจ และประเทศที่พร้อมจับมือกับพี่ใหญ่ของโลก ด้วยเม็ดเงินมหาศาลในการก่อสร้างไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท

]]>
13606
กสิกรไทยสนับสนุนโซล่า เพาเวอร์ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ https://positioningmag.com/53497 Tue, 02 Nov 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=53497

กสิกรไทยหนุนพลังงานสีเขียว ปล่อยกู้ 2,000 ล้านบาท ให้โซล่า เพาเวอร์ สร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่า ฟาร์ม (Solar Farm) เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนขนาดเล็กมาก (VSPP) เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศ

นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากการที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อน และรัฐบาลได้สนับสนุนเอกชนให้ใช้พลังงานทางเลือก (Renewable Energy) มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นพลังงานที่มีความสะอาด ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน ทำให้มีผู้สนใจลงทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกมากขึ้น ในขณะที่ธนาคารกสิกรไทย ก็เป็นผู้นำในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนด้านการเงินแก่โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกมาโดยตลอด

ล่าสุด ธนาคารได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด เพื่อดำเนินโครงการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 6 เมกกะวัตต์ จำนวน 2 โครงการที่ จังหวัดสกลนคร และนครพนม รวมทั้งสิ้น 12 เมกกะวัตต์ โดยจะเป็นเงินกู้โครงการ (Project Finance) ซึ่งประกอบด้วยวงเงินกู้ระยะยาว วงเงินเพื่อเปิดเอกสารแอล/ซี และวงเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวนรวม 2,000 ล้านบาท

นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารเชื่อว่าจะมีเอกชนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีแหล่งผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานที่หลากหลาย ช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะที่ตั้งของประเทศไทยที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรทำให้มีแสงอาทิตย์และกระแสลมในการผลิตไฟฟ้าได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งธนาคารกสิกรไทย ก็พร้อมที่จะสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่ใช้พลังงานทางเลือกอย่างต่อเนื่อง

ด้านนางสาววันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 6 เมกกะวัตต์ จำนวน 2 โครงการ ที่จังหวัดสกลนคร และ จังหวัดนครพนม มีกำลังการผลิตรวม 12 เมกกะวัตต์ นับเป็นโซล่า ฟาร์มแห่งที่ 2 และ 3 ของบริษัท โดยบริษัทฯ เลือกใช้เทคโนโลยีแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบ Polycrystalline ประสิทธิภาพดีเยี่ยมจากบริษัท เคียวเซร่า คอร์ปอเรชั่น (Kyocera Corporation) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโครงการโซล่าฟาร์มทั้งสองแห่งนี้จะผลิตไฟฟ้าและขายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับโครงการแรกที่นครราชสีมา

ทั้งนี้ กลุ่มโซล่า เพาเวอร์ มีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ทั้งหมด 34 โครงการ ขนาดกำลังผลิตโครงการละ 6 เมกกะวัตต์ กำลังผลิตรวม 204 เมกกะวัตต์ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2555 โดยได้แบ่งแผนพัฒนาโครงการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จำนวน 3 โครงการ ภายในปี 2553 ระยะที่ 2 จำนวน 13 โครงการ ภายในปี 2554 และ ระยะที่ 3 จำนวน 18 โครงการ ภายในปี 2555 และปัจจุบันได้บรรลุขั้นตอนสำคัญสำหรับแผนพัฒนาระยะที่ 1 เป็นที่เรียบร้อย โดยได้รับการสนับสนุนหลักจากสถาบันการเงิน ภาครัฐ และเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งรวมถึง ธนาคารกสิกรไทย International Finance Corporation (IFC) ภายใต้ World Bank กระทรวงพลังงานโดยมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กลุ่มไทยฟ้า เพาเวอร์ และกลุ่มเคียวเซร่า คอร์ปอเรชั่นประเทศญี่ปุ่นในความร่วมมือเพื่อผลักดันการพัฒนาโครงการทั้งหมดตามแผนพัฒนาที่ตั้งไว้

]]>
53497