England – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 25 Jul 2022 05:34:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วิกฤต Supply Chain กระทบแฟนบอลแล้ว หลังทีมฟุตบอลส่งมอบเสื้อไม่ทันเปิดฤดูกาล https://positioningmag.com/1393725 Mon, 25 Jul 2022 04:32:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393725 สโมสรฟุตบอลในอังกฤษกว่าครึ่งหนึ่งประสบปัญหาไม่สามารถที่จะส่งเสื้อบอลให้กับแฟนบอลในช่วงก่อนเปิดฤดูกาลได้ครบถ้วน ปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากวิกฤต Supply Chain โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปิดโรงงานผลิตเสื้อในทวีปเอเชีย ซึ่งได้รับผลกระทบจากกระบาดของโควิด-19

BBC ได้รายงานข่าวว่าทีมบอลหลายทีมใน Premier League ไม่ว่าจะเป็น Crystal Palace หรือ Leeds United กลับไม่มีเสื้อทีมในฤดูกาลใหม่วางจำหน่าย ซึ่งฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษกำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ หรือแม้แต่ทีมในลีกรองลงมาก็ประสบปัญหาดังกล่าวด้วยเช่นกัน

สื่ออังกฤษรายนี้ได้สำรวจทีมฟุตบอลมากถึง 92 ทีม พบว่า 44 ทีมยังมีเสื้อฟุตบอลวางจำหน่ายในเว็บไซต์ โดย 19 ทีมกลับไม่มีเสื้อทีมในฤดูกาลใหม่ให้แฟนบอลสามารถซื้อได้ ทีมที่เหลือนั้นอาจมีเสื้อทีมเยือนหรือเสื้อทีมเหย้าวางจำหน่ายอย่างใดอย่างหนึ่ง

CEO ของทีมฟุตบอลในลีก Championship ซึ่งเป็นลีกรองลงมาจาก Premier League ได้ให้ความเห็นกับ BBC โดยไม่ระบุตัวตน เขากล่าวว่าทีมของเขาออกแบบเสื้อฤดูกาลใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา และมีการทำสัญญาผลิตในช่วงไม่กี่เดือนถัดมา แต่ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในทวีปเอเชียทำให้โรงงานผลิตเสื้อเหล่านี้ไม่สามารถผลิตเสื้อและส่งมอบให้สโมสรได้  และเขามองว่าปัญหานี้ทำให้แฟนบอลผิดหวังในสโมสร

หัวเรือใหญ่ของทีมฟุตบอลผู้ไม่ขอระบุตัวตนรายนี้ยังกล่าวเสริมว่า ผลกระทบจากการที่ไม่สามารถส่งมอบเสื้อบอลให้กับแฟนๆ ได้นั้นอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของบางสโมสรอีกด้วย แม้ว่าสโมสรของเขาเองจะมีการจัดการปัญหานี้แล้วก็ตาม

Kieran Maguire อาจารย์อาวุโสของมหาวิทยาลัย Liverpool ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินของธุรกิจทีมฟุตบอล กล่าวว่าไม่ใช่แค่ปัญหา Supply Chain เท่านั้น แต่ปัญหาการขนส่งที่เรือขนส่งหรือแม้แต่ตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอ ก็ทำให้ปัญหาดังกล่าวย่ำแย่เข้าไปอีก

ซ้ำร้ายไปกว่านั้นแม้แต่ทีมบอลเล็กๆ อย่าง Stockport County เองก็ประสบปัญหาเสื้อบอลที่ส่งมาจากเอเชียจำนวน 15% ที่ส่งมานั้นหายไปอย่างไร้ร่องรอย ยิ่งทำให้เสื้อบอลของทีมในฤดูกาลใหม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของแฟนบอล จนท้ายที่สุดสโมสรต้องออกมาขอโทษและให้ส่วนลด 20% ถ้าหากรอเสื้อทีมฤดูกาลใหม่มาส่งอีกครั้งหลังเดือนกันยายน

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Adidas ซึ่งเป็นผู้ผลิตเสื้อของทีม Leeds United ได้ออกมากล่าวขอโทษแฟนบอล และกล่าวว่าปัญหาดังกล่าวเป็นความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

]]>
1393725
เอาจริง! อังกฤษประกาศแบน “หลอด-ไม้คนค็อกเทล-ไม้ปั่นหู” เพื่อลดขยะพลาสติก https://positioningmag.com/1299816 Fri, 02 Oct 2020 14:48:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299816 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า สหราชอาณาจักรสั่งห้ามใช้งานหลอดพลาสติกสำหรับดื่มน้ำแบบใช้ครั้งเดียว ไม้คนค็อกเทล และสำลีก้านเช็ดหู อย่างเป็นทางการภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา

จอร์จ ยูสติซ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบทของสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่าคำสั่งห้ามดังกล่าวถือเป็น “อีกขั้นหนึ่งของการต่อสู้กับมลพิษขยะพลาสติก และพันธกิจของการปกป้องมหาสมุทรและสิ่งแวดล้อมเพื่อคนรุ่นต่อไป”

ข้อมูลทางการระบุว่าแต่ละปีผู้คนในสหราชอาณาจักรใช้หลอดพลาสติกถึง 4,700 ล้านหลอด ไม้คนพลาสติก 316 ล้านอัน และสำลีก้านพลาสติก 1,800 ล้านอัน

“คาดการณ์ว่ามีพลาสติกถูกทิ้งลงมหาสมุทรทั่วโลกราว 4.8-12.7 ล้านตันต่อปี ซึ่งทำให้สัตว์ทะเลบาดเจ็บหรือตายจำนวนมาก” กระทรวงฯ ระบุ

]]>
1299816
ใจถึง! รัฐบาลอังกฤษช่วยเอกชนจ่ายเงินเดือนพนักงาน ป้องกันคนตกงานจากวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1269265 Sat, 21 Mar 2020 15:36:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269265 รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยว่าจะช่วยบริษัทต่างๆ จ่ายเงินเดือนพนักงานที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้จากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ความเคลื่อนไหวที่มีขึ้นพร้อมกับๆ การยกระดับมาตรการควบคุมต่างๆ เข้มข้นขึ้นเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัส

บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอกว่า คาเฟ่, ผับ, บาร์, ร้านอาหาร และไนต์คลับ, โรงภาพยนตร์ และศูนย์สันทนาการต่างๆ จะต้องปิดบริการเร็วที่สุดเท่าที่จำเป็นได้ เพื่อลดการแพร่เชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิด “เราจำเป็นต้องกันผู้คนให้ห่างจากกัน” เขาบอกพร้อมระบุว่ามาตรการต่างๆ เหล่านี้จะมีการพิจารณาทบทวนในทุกๆ เดือน

ปัจจุบันยอดรวมผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในอังกฤษเพิ่มเป็น 3,983 คน ในนั้นเสียชีวิต 177 คน หลังจากพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 714 คนและเสียชีวิตเพิ่มเติม 33 คน

ขณะเดียวกัน ริชี ซูนัก รัฐมนตรีคลังของอังกฤษ แถลงในสิ่งที่เขาเรียกว่าการแทรกแซงทางเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อปกป้องประชาชนจากการตกงาน หลังมีคนจำนวนมากถูกปลดจากงานอันเนื่องจากภาวะดำดิ่งของภาคธุรกิจ

บริษัททุกขนาดหรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร สามารถยื่นขอความช่วยเหลือสูงสุด 80% ของเงินเดือนพนักงาน สูงสุดไม่เงิน 2,500 ปอนด์ต่อเดือน โดยมาตรการนี้จะมีผลย้อนกลับไปตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมและครอบคลุมระยะเวลา 3 เดือน ขณะที่รัฐมนตรีคลังของอังกฤษไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะต่ออายุออกไปอีก

เป็นที่เข้าใจว่ามาตรการอุดหนุนเงินเดือนนี้ จะช่วยเหลือเฉพาะบริษัทต่างๆ ที่พวกผู้บริหารได้ปรับลดพนักงานไปแล้ว สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่มีข้อแม้ว่าพวกเขาจะต้องจ้างงานพนักงานเหล่านั้นตามเดิม และอนุญาตให้ลาหยุดแทน

รัฐมนตรีคลังอังกฤษบอกว่าความเคลื่อนไหวนี้จะช่วยให้คนงานไม่ตกงาน แม้ว่านายจ้างไม่มีความสามารถจ่ายเงินเดือนให้พวกเขาก็ตาม

เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษแถลงเปิดตัวแพ็กเกจ สนับสนุนเงินกู้ 330,000 ล้านปอนด์แก่บริษัทต่างๆ ส่วนผู้ปล่อยสินเชื่อเพื่อการจดจำนองก็ตกลงจะยืดเวลาชำระเงิน 3 เดือนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัส

อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่ามีความจำเป็นที่ต้องปกป้องในส่วนบุคคลด้วย “รัฐบาลกำลังจะเข้าแทรกแซงช่วยจ่ายเงินเดือนของประชาชน”

ในส่วนของมาตรการอื่นๆ นั้น รัฐมนตรีคลังอังกฤษยังได้ประกาศผัดผ่อนการชำระภาษีการขาย (sales tax) สำหรับไตรมาสหน้าไปเป็นสิ้นเดือนมิถุนายน ซึ่งเขาบอกว่ามันจะช่วยอัดฉีดเงินเข้าสู่บริษัทต่างๆมูลค่ากว่า 30,000 ล้านปอนด์ หรือ 1.5% ของ GDP

นอกจากนี้แล้วจะมีการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงสวัสดิการอีก 1,000 ปอนด์ต่อปี ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวม 7,000 ล้านปอนด์และจะช่วยประชาชนได้มากกว่า 4 ล้านคน

สำหรับผู้มีอาชีพอิสระจะสามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการ Universal Credit ซึ่งจะจ่ายเต็มจำนวนในอัตาเทียบเท่ากับการใช้สิทธิลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างของพนักงานประจำ

นอกจากนี้แล้ว ซูนัก ยังจัดสรรเงิน 1,000 ล้านปอนด์สำหรับช่วยเหลือประขาชนที่ประสบปัญหาในการจ่ายค่าเช่าบ้าน ด้วยการเพิ่มเงินช่วยเหลือค่าที่อยู่อาศัย ครอบคลุมอย่างน้อย 30% ของตลาดให้เช่าที่พักอาศัย

Source

]]>
1269265
อังกฤษเล็งเปิด “ท่าเรือปลอดภาษี” 10 แห่ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลัง Brexit https://positioningmag.com/1263821 Mon, 10 Feb 2020 16:26:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263821 อังกฤษประกาศแผนจัดตั้งท่าปลอดภาษี (free port) สูงสุด 10 แห่งทั่วประเทศ โดยเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจภายหลังจากที่ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (อียู)

คณะรัฐมนตรีอังกฤษเปิดเผยว่า สินค้าที่ถูกส่งเข้ามายังท่าปลอดภาษีจะไม่ต้องผ่านพิธีศุลกากรจนกว่าจะเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ และจะไม่ถูกเก็บภาษีหากมีการส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆ ส่วนวัตถุดิบที่ถูกนำมาแปรรูปภายในพื้นที่เหล่านี้ก็จะถูกเก็บภาษีจากผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (end product) เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ท่าปลอดภาษีจะช่วยปลดปล่อยศักยภาพของเมืองท่าประวัติศาสตร์ที่เราภาคภูมิใจ ทั้งยังมีส่วนช่วยส่งเสริมและฟื้นฟูชุมชนริชี ซูนัก (Rishi Sunak) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังอังกฤษ ระบุ

ท่าเหล่านี้จะดึงดูดธุรกิจใหม่ๆ ขยายการจ้างงาน การลงทุน และโอกาสนี่คือหนึ่งในภารกิจของเราที่จะทำให้อังกฤษเป็นประเทศที่เปิดกว้าง มองไปข้างหน้า และสนับสนุนการค้าเสรีด้วยท่าปลอดภาษีที่มีชีวิตชีวา

รัฐบาลอังกฤษได้กำหนดระยะเวลาหารือ 10 สัปดาห์ ก่อนจะเปิดรับการเสนอชื่อท่าเรือและท่าอากาศยานต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาเพื่อกำหนดสถานะเป็นเขตปลอดภาษี โดยจะประกาศรายชื่อสถานที่ที่ได้รับเลือกในช่วงสิ้นปีนี้

ลอนดอนหวังว่าท่าปลอดภาษีทั้ง 10 แห่งจะสามารถเปิดดำเนินงานได้ภายในปี 2021

อังกฤษและสหภาพยุโรปมีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจนถึงสิ้นปีนี้เพื่อจัดทำข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ หลังจากที่สมาชิกภาพของอังกฤษในอียูได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการไปตั้งแต่วันที่ 31 .. ที่ผ่านมา

Source

]]>
1263821
ข่าวลือ “อังกฤษ” เตรียมอนุญาตให้ “หัวเว่ย” เข้าถึงระบบ 5G ได้ https://positioningmag.com/1251124 Sun, 27 Oct 2019 14:41:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251124 นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน เตรียมที่จะอนุญาตให้ “หัวเว่ย” สามารถได้รับชัยชนะในการเข้าถึงระบบเครือข่าย 5G ในอังกฤษได้สำเร็จ สนับสนุนการตัดสินใจของอดีตผู้นำหญิงอังกฤษคนก่อนหน้า

หนึ่งในแหล่งข่าวใกล้ชิดกับระดับสูงของรัฐบาลอังกฤษได้เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ซันเดย์ไทม์สของอังกฤษว่า ได้มีการประชุมหารือเพิ่มเติมร่วมกับหัวเว่ยในไม่กี่วันมานี้

เดลีเมล สื่ออังกฤษรายงานเพิ่มเติมว่า สภาความมั่นคงแห่งชาติของนายกฯ จอห์นสันมีกำหนดต้องตัดสินใจเป็นครั้งสุดท้ายในสัปดาห์นี้ว่า จะยอมอนุญาตให้หัวเว่ยเป็นบริษัทซัพพลายเออร์อุปกรณ์ให้กับระบบเครือข่ายข้อมูล 5G ของอังกฤษหรือไม่

ซึ่งก่อนหน้าในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงอังกฤษ เทเรซา เมย์ อ้างอิงจากการรายงานของหนังสือพิมพ์เซาท์มอร์นิงไชน่าโพสต์เมื่อวันที่ 24 เม.ย ต้นปีนี้พบว่า นายกรัฐมนตรีหญิงอังกฤษได้ออกคำสั่งให้แบนบริษัทหัวเว่ยจากการเป็นซัพพลายเออร์ “อุปกรณ์ส่วนสำคัญ” สำหรับระบบเครือข่าย 5G ของอังกฤษในอนาคต

โดยในเวลานั้นหนังสือพิมพ์ฮ่องกงกล่าวว่า หัวเว่ยจะได้รับอนุญาตให้สามารถเป็นซัพพลายเออร์สำหรับ “เทคโนโลยีในส่วนที่ไม่สำคัญ” ให้กับบริษัทโทรศัพท์อังกฤษเท่านั้น

เดลีเมลชี้ว่า หลังจากกลุ่มลับของคณะรัฐมนตรีระดับอาวุโสและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงจะประชุมหลังจากที่ได้มีการถกเถียงเบื้องต้นต่อคำแนะนำที่รวมไปถึง “บริษัทที่อื้อฉาว” จากมุมองหลักของเครือข่ายแล้ว

ซึ่งแหล่งข่าวรัฐบาลอังกฤษคาดว่า ทีมของนายกฯจอห์นสันจะทำการตัดสินใจเพื่ออนุญาตให้บริษัทที่เชื่อว่าคือ “หัวเว่ย” สามารถซัพพลายในส่วนอุปกรณ์ที่ไม่สำคัญ ได้แก่ เสาอากาศ ให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของโทรศัพท์มือถือ โดยทางซันเดย์ไทม์สชี้ว่า เป็นการตัดสินใจของจอห์นสันที่สนับสนุนแนวทางการตัดสินใจของเมย์ในอดีต

รอยเตอร์รายงานก่อนหน้าว่า บริษัทผู้ผลิตออกแบบชิป ARM ของอังกฤษจะยังคงป้อนสินค้าเทคโนโลยีให้กับหัวเว่ยต่อไปหลังจากที่ทางทีมกฎหมายของทางบริษัทได้ทำการประเมินว่า สินค้าชิปเทคโนโลยีมีต้นกำเนิดในอังกฤษ และไม่ได้ละเมิดข้อจำกัดของสหรัฐฯ ในการป้อนให้กับทางหัวเว่ย

ซึ่งก่อนหน้าเมื่อเดือนพฤษภาคมทางบริษัทผู้ออกแบบชิป ARM ที่มีธนาคารซอฟต์แบงก์ของญี่ปุ่นเป็นเจ้าของตัดสินใจยุติความสัมพันธ์กับหัวเว่ยชั่วคราวหลังสหรัฐฯ ได้สั่งขึ้นบัญชีดำกับหัวเว่ย

ในเวลานี้ทางบริษัทชิปอังกฤษยังคงให้ความร่วมมือกับหัวเว่ยสำหรับชิปรุ่น ARM v8-A และอีก 1 รุ่นหลังจากนั้นต่อไป ซึ่งโฆษกของบริษัท ARM ได้แถลงกับรอยเตอร์ในวันศุกร์ (25) ว่า ชิปรุ่น ARM v8 และ ARM v9 นั้นมีแหล่งต้นกำเนิดจากอังกฤษ

Source

]]>
1251124
‘Brexit’ ไอทีไทยไม่สะเทือน? https://positioningmag.com/1097397 Fri, 15 Jul 2016 00:50:45 +0000 http://positioningmag.com/?p=1097397 นอกจากความตกตะลึงในผลการลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษที่เกิดขึ้นไปทั่วโลกแล้ว ปรากฏการณ์ Brexit (British exit) ครั้งนี้ยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีซึ่งอังกฤษเปรียบได้กับศูนย์กลางของอุตสาหกรรมในสหภาพยุโรป

อัมสเตอร์ดัม แฟรงก์เฟิร์ต เวียนนา ดับลิน ปารีส ลักเซมเบิร์ก วอร์ซอร์ มิลาน และบาร์เซโลน่า เหล่านี้คือชื่อเมืองที่ถูกจัดอันดับขึ้นมาโดยบริษัทอินเด็กซ์ (Index) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การรวบรวมชื่อเมืองเหล่านี้เกิดขึ้นบนความหวังให้บรรดาเทคสตาร์ทอัปในอังกฤษ ที่กำลังมองหาที่ตั้งสำนักงานใหม่ได้พิจารณา

ทั้งนี้ การมองหาสำนักงานแห่งใหม่ที่ ‘ไม่ใช่ในอังกฤษ’ เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงมากเป็นลำดับต้น ๆ สำหรับผู้ประกอบการในแวดวงเทคโนโลยีหลังการลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพ ยุโรป เนื่องจากการถอนตัวนั้นเท่ากับว่า อังกฤษไม่มีสิทธิ์เข้าสู่ตลาดเดียวกับยุโรปได้อย่างสะดวกอีกต่อไป เพราะไม่ยอมรับกติกาเคลื่อนย้ายเสรีของสหภาพยุโรปนั่นเอง

การสูญเสียสิทธิดังกล่าวเป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีของอังกฤษโดยตรง เนื่องจากอนาคตของอุตสาหกรรมนี้ฝากเอาไว้กับแรงงานต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ โดยต่อจากนี้ วิศวกรฝีมือดีจากโรมาเนีย หรือโปแลนด์จะไม่สามารถเดินทางเข้ามาทำงานในอังกฤษได้อย่างสะดวกอีกแล้ว

สมองอาจไหล

ก่อนหน้าชัยชนะของฝ่ายสนับสนุน Brexit ด้วยคะแนนโหวต 52-48 การสำรวจความเห็นในวงการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีพบว่ากลุ่มคนในบริษัทเกิดใหม่ หรือสตาร์ทอัปราว 3 ใน 4 ของอังกฤษเลือกคัดค้าน Brexit ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการที่อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปอาจลดโอกาสที่สตาร์ทอัปไอที สัญชาติอังกฤษจะได้รับเงินสนับสนุนจากนักลงทุนในสหรัฐฯ

ผลสำรวจของธนาคารซิลิกอนวัลเลย์ (Silicon Valley Bank) สะท้อนว่าสตาร์ทอัปอังกฤษอาจอพยพออกจากบ้านเกิด เพื่อไปตั้งรกรากในดินแดนที่มีปัจจัยเกื้อหนุนที่ดีกว่า วิกฤติสมองไหลนี้เกิดขึ้นในขณะที่ภาคการศึกษาของอังกฤษถูกวิจารณ์ว่าไม่ สามารถผลิตแรงงานคุณภาพในวงการเทคโนโลยีได้มากพอ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความกังวลว่า Brexit จะทำให้อังกฤษสูญเสียหัวกะทิในวงการไอทีไปอย่างน่าเสียดาย

สื่อของอังกฤษอย่าง TheGuardian เคยให้ความเห็นว่า ระบบการศึกษาของอังกฤษลงทุนกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านเทคโนโลยีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และถึงแม้จะเริ่มมีคอร์สสอนเขียนโปรแกรมในโรงเรียนเกิดขึ้นบ้างแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถผลิตคนได้ทันกับความต้องการของวงการเทคโนโลยีที่เฟื่องฟูสุดขีดในนาทีนี้

ภาพก่อนการลงประชามติ กรุงลอนดอนในฐานะฮับของโลกเทคโนโลยีบนสหภาพยุโรปจึงเต็มไปด้วยมือดีจากทั่วทุกมุมโลกที่เข้ามาหางานทำ และทันทีที่เกิดปรากฏการณ์ Brexit ขึ้น สิ่งที่ผู้ประกอบการบริษัทเทคโนโลยีเรียกร้องรัฐบาลให้ช่วยเหลืออย่างรวดเร็วก็คือ ‘วีซ่าสำหรับทำงาน’ เพื่อรักษามือดีเหล่านั้นให้อยู่กับบริษัทต่อไป หรือไม่ก็คือการย้ายฐานออกจากอังกฤษนั่นเอง

เรื่องนี้ Taavet Hinrikus ผู้ก่อตั้งฟินเทคชื่อ TransferWise และเป็นผู้คัดค้านการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษถึงกับกล่าวว่า การที่อังกฤษเลือกโหวต Leave คือหายนะอย่างแท้จริง โดย Hinrikus เผยหลังการโหวตว่าการอนุมัติวีซ่าคือทางแก้ปัญหาทางหนึ่งที่วงการเทคโนโลยี ต้องการ เพราะหากไม่สามารถรับคนต่างประเทศเข้ามาทำงานได้แล้ว อังกฤษจะหยุดนิ่ง วีซ่าจึงเป็นชิ้นส่วนสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมและการทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไป

ด้าน Damian Kimmelman ผู้ก่อตั้ง DueDil ผู้ให้บริการข้อมูลทางธุรกิจก็ให้ความเห็นในลักษณะเดียวกับ Hirinkus ว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้รับผลกระทบจากการโหวต Leave อย่างแน่นอน เนื่องจากสตาร์ทอัปของอังกฤษอยู่ได้ด้วยการสนับสนุนจาก VC ต่างชาติ และแรงงานที่มีทักษะที่ต้องการวีซ่าเข้ามาทำงานเพื่อให้บริษัทเติบโตขึ้นไป สู่ระดับโลกได้ แต่ตอนนี้การพัฒนาเหล่านั้นล้วนหยุดชะงัก เนื่องจากติดปัญหาด้านการหาทีมงาน และเงินทุนสำหรับการขยายกิจการไปแล้ว

ขณะที่ Mike Butcher บรรณาธิการจาก TechCrunch ของอังกฤษก็ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยบอกว่าส่วนผสมสำคัญสำหรับสตาร์ทอัป นอกจากไอเดียก็คือ คน และเงิน เมื่อขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไป ความสำเร็จก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้

‘ลองนึกดูว่าถึงคุณสามารถระดมทุนได้ แต่ขาดคนที่มีความสามารถมาร่วมงาน ไอเดียของคุณจะไปได้ถึงไหน’ รายงานระบุ ‘การออกจากอียูคือการโยนความสามารถในการเสาะหาคนดีมีฝีมือจากทั่วยุโรปมาร่วมงานด้วยทิ้งไป โดยเฉพาะวิศวกรมากความสามารถจากโปแลนด์ หรือโรมาเนีย’

อีกทั้งในขณะนี้ ประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปก็เริ่มจัดแคมเปญเชิญชวนสตาร์ทอัปจากอังกฤษให้ย้ายถิ่นฐานไป อยู่ในประเทศของตนกันบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น TransferWise ที่เผยว่า ได้รับคำเชิญจากไอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ และอีกหลายประเทศให้ย้ายที่ทำการจากอังกฤษไปยังประเทศเหล่านั้นแทน หรือ ทางบริษัทเอฟดีพี (FDP) ของเยอรมัน ที่ได้มีการว่าจ้างรถโฆษณาขับไปทั่วกรุงลอนดอนพร้อมข้อความว่า ‘Dear startups, Keep calm and move to Berlin’ เพื่อจุดกระแสให้ผู้ประกอบการสตาร์ทอัปพิจารณาการย้ายสำนักงานไปที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี

559000007251203

ยักษ์ไอทีเริ่มขยับ

ไม่เฉพาะสตาร์ทอัป บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่อย่างโวดาโฟน (Vodafone) ก็ถูกจัดชื่อไว้ในกลุ่มบริษัทที่เริ่มมองหาที่ตั้งสำนักงานใหญ่แห่งใหม่นอกอังกฤษแล้วเช่นกัน เนื่องจากลูกค้ากว่า 462 ล้านคน พนักงานกว่า 108,000 คน และซัปพลายเออร์อีกกว่า 15,000 คนของโวดาโฟนนั้น ‘อยู่นอกอังกฤษ’

แถมรายได้ของโวดาโฟน ยังมาจากในอังกฤษเพียง 11% ส่วนอีก 55% นั้นมาจาก ‘สหภาพยุโรป’ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของอังกฤษถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเติบโตของโวดาโฟน ทั้งในเรื่องการย้ายถิ่นของแรงงาน เงินทุน ซึ่งการย้ายสำนักงานนี้หากเป็นจริงจะทำให้เกิดการว่างงานขึ้นประมาณ 13,000 ตำแหน่งเลยทีเดียว

ส่วนบริษัทที่แสดงจุดยืนไม่ย้ายออกจากอังกฤษ สถานการณ์ของบริษัทเหล่านี้ก็ใช่ว่าจะสวยหรู เนื่องจากการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปได้ทำให้ค่าเงินปอนด์ดิ่งเหวถึง 14% ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทเทคโนโลยีส่วนหนึ่งที่อิงอยู่กับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ หรือมีการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆ ที่อิงกับดอลลาร์สหรัฐต้องมีการปรับราคาสินค้าของตนขึ้นตั้งแต่ 6.5 – 20%

7 กรกฎาคม เจ้าพ่อไอทีอย่างเดลล์ (Dell) และบริษัท วันพลัส (OnePlus) บริษัทสมาร์ทโฟนจากแดนมังกร ประกาศขึ้นราคาสินค้าที่วางจำหน่ายในอังกฤษเพราะวิกฤติค่าเงินปอนด์ดิ่งเหวจากปรากฏการณ์ Brexit ถือเป็นข่าวระลอกแรกก่อนที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายอื่นจะขึ้นราคาสินค้าไอทีเช่นกัน

ค่าเงินปอนด์ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ในจุดที่ตกลงสูงสุดในรอบ 31 ปี เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 12% เมื่อเทียบกับวันก่อนมีการลงประชามติ

ไม่เพียงคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แต่อุปกรณ์เพื่อการถ่ายภาพ และกล้องดิจิตอลซึ่งมีฐานการผลิตนอกอังกฤษล้วนเข้าคิวปรับเพิ่มราคาสินค้า แม้จะมีกลไกป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินไว้แล้ว กลไกเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้ผู้จัดจำหน่ายต้องขึ้นราคาสินค้าโดยไม่จำเป็น แต่กรณีการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปนั้น เป็นเรื่องที่ส่งผลรุนแรงเกินกว่าสถานการณ์ปกติ

หากมองนอกพื้นที่สตาร์ทอัปสัญชาติอังกฤษที่ได้รับผลกระทบจากการ Brexit จะพบว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่างแอปเปิล (Apple) ก็จะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ Brexit ครั้งนี้ด้วย เมื่อมีการคาดการณ์จากสถาบันการเงินซิตี้ (Citi) ว่าตัวเลขการเปลี่ยนเครื่องไอโฟนของผู้ใช้งานชาวอังกฤษจะขยายเวลาออกไปจากเดิม เปลี่ยนเครื่องทุก ๆ 2 ปีเป็น 3 ปี ซึ่งอาจส่งผลต่อยอดขายไอโฟนในไตรมาสสองและสามของปีนี้ไปด้วย

ไอทีไทยกระทบ?

แม้การถอนตัวของอังกฤษจากสหภาพยุโรปจะไม่สะท้อนภาพผลกระทบต่อการเติบโตของไอทีไทยมากนัก แต่ต้องยอมรับว่าในมุมที่ไทยกำลังเดินเข้าสู่สังคม AEC ซึ่งเป็นประชาคมที่มีความแตกต่างทางความคิดไม่ตางจากอียู ก็ต้องมองว่าปรากฏการณ์ Brexit คือบทเรียนสำคัญที่ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อบริษัทสตาร์ทอัปในภูมิภาค

ในมุมนักลงทุนคนไทยที่เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบจาก Brexit ครั้งนี้โดยตรงเห็นจะหนีไม่พ้นอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีข่าวว่าได้ลงทุนใน บริษัท เซนทริกส์ อินฟอร์เมชั่น ซีเคียวริตี เทคโนโลยีส์ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัปเกี่ยวกับความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต ในประเทศอังกฤษ

ช่วงก่อนการลงคะแนน Brexit ไม่กี่วัน รายงานของสื่ออังกฤษระบุว่าทักษิณได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการบริษัท เซนทริกส์ อินฟอร์เมชั่นฯ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 โดยระบุว่าถือสัญชาติไทยและถิ่นพำนักที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) นอกจากทักษิณ ชินวัตร แหล่งข่าวของสำนักข่าวเทเลกราฟยังระบุว่าเทมาเส็ก กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ก็ได้ลงทุนในบริษัทนี้เช่นกัน

สำหรับ เซนทริกส์ อินฟอร์เมชั่นฯ เป็นบริษัทที่เตรียมระดมทุนครั้งใหม่ บนความหวังให้มูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้นเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดตัวโครงสร้างพื้นฐานใหม่เป็นครั้งแรก ปรากฏการณ์ Brexit อาจทำให้การระดมทุนของบริษัทนี้ไม่ราบรื่นอย่างที่นักลงทุนคาดกันไว้ แม้เซนทริกส์ฯ ได้ลงนามทำการค้าเป็นครั้งแรกกับบริษัทผู้ประกอบการรายใหญ่ในสิงคโปร์แล้วก็ตาม

ทั้งนี้ อังกฤษถือเป็นชาติแรกที่ลาออกจากประวัติศาสตร์ 60 ปีของอียู ด้วยการทำประชามติ ซึ่งผลรวมคะแนนทั้ง 382 เขต ประกาศผลการนับคะแนนในทุกเขตครบถ้วน ปรากฏว่า ผู้ออกเสียงที่เลือกแยกตัว ชนะผู้ที่ต้องการคงอยู่ในอียู 51.9% ต่อ 48.1% มีผู้โหวตให้ออกจากอียู 17.4 ล้านคน ส่วนผู้ลงคะแนนให้เป็นสมาชิกต่อไปมี 16.1 ล้านคน

ผลประชามตินี้ทำให้นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผลประชามติในครั้งนี้ และยกหน้าที่ในการดำเนินการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทน

ที่มา: http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000070212

]]>
1097397
บ.เทคโนในอังกฤษเตรียมย้ายฐาน หลังอังกฤษออกจากอียู https://positioningmag.com/1095589 Mon, 27 Jun 2016 01:10:15 +0000 http://positioningmag.com/?p=1095589 ผลการลงประชามติให้อังกฤษถอนตัวจากสหภาพยุโรปเริ่มส่งผลต่อบริษัทเทคโนโลยีในอังกฤษ โดยฟินเทค (Fintech) หรือกลุ่มผู้ประกอบการเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจการเงิน นั้นถือว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักสุด และเริ่มมีหลายบริษัทแสดงเจตจำนงว่าจะย้ายฐานออกจากอังกฤษแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น Taavet Hinrikus ผู้ก่อตั้งและผู้บริการของบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ TransferWise ได้เผยว่า “ผลการลงประชามติน่าจะกระทบต่อสองปัจจัยใหญ่ ๆ นั่นก็คือ ด้านตัวบทกฎหมายและการอพยพย้ายถิ่นของคนมีฝีมือ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่อาจกระทบต่อธุรกิจได้เลยทีเดียว ซึ่งข้อดีของการได้อยู่ใน EU คือทำให้ภาคธุรกิจหาคนมีฝีมือได้ง่ายกว่า เพราะคนทำงานสามารถโยกย้ายถิ่นฐานได้ภายใต้ EU อีกข้อหนึ่งคือ การทำธุรกิจในอังกฤษ ก็เท่ากับคุณทำธุรกิจได้ทั่วยุโรป ซึ่งหลังจากนี้เรายังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป”

ทั้งนี้ Hinrikus เป็นหนึ่งในซีอีโอที่ออกมาประกาศว่า หากผลการลงประชามติออกมาว่าอังกฤษจะออกจากอียู เขาจะย้ายสำนักงานใหญ่จากกรุงลอนดอนไปตั้งที่ประเทศอื่นของสหภาพยุโรปแทน ส่วนฐานที่มั่นในอังกฤษนั้น ถึงจะไม่ปิดตัว แต่ก็จะไม่ขยายตัวเพิ่มเติม

ด้าน Toby Coppel ผู้ก่อตั้งบริษัทเงินทุน Mosaic ได้ให้มุมมองในทิศทางเดียวกันว่า “การโหวตครั้งนี้จะส่งผลต่อธุรกิจเทคโนโลยีแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น บัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นนำเช่นในเยอรมนี แทนที่จะมุ่งหน้ามายังกรุงลอนดอน เพื่อมองหางานใน Fintech ทำ เขาอาจตัดสินใจอยู่ในกรุงเบอร์ลินแทนก็ได้”

โดย TechUK.org ได้เผยผลการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ประกอบการในธุรกิจเทคโนโลยีของอังกฤษพบว่ากว่า 70 เปอร์เซ็นต์ต่างเห็นพ้องให้อังกฤษอยู่ต่อ มีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่าควรถอนตัวจากอียู ส่วนในด้านพนักงานก็มีถึง 87 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่าควรอยู่ต่อ และมีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่าควรถอนตัว

Hinrikus จาก TransferWise กล่าวถึงการลงประชามติครั้งนี้ว่า เป็นการลงประชามติที่จะสร้างผลเสียต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีอย่างใหญ่หลวง และจะทำให้สหรัฐอเมริกาได้บทนำกลับไปอีกครั้ง

ทั้งนี้ ตามการรายงานของเดอะการ์เดียนพบว่า ในบรรดา 14 บริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐในอังกฤษนั้น ไม่มีสักบริษัทเดียวที่บอกว่า การออกจากอียูจะมีผลดีต่อธุรกิจของตนเอง

อย่างไรก็ดี จากข้อมูลของรอยเตอร์ระบุว่า กลุ่มฟินเทคในอังกฤษมีสถิติการจ้างงาน 60,000 คน และมีรายได้ 6.6 พันล้านปอนด์ในปี 2015 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนแบ่งที่น้อยมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมฟินเทคในระดับโลก ด้าน Rhydian Lewis ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ RateSetter แพลตฟอร์มให้ยืมเงินแก่รายย่อยเคยเผยกับรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ว่า ยังไม่มีฟินเทครายใดที่มีขนาดใหญ่พอที่จะต้องการตลาดอียูในตอนนี้ การโหวตให้ถอนตัวออกจากอียูจึงไม่น่าจะมีผลกระทบกับฟินเทค

จะกระทบหรือไม่ อีกไม่นานคงได้เห็นภาพชัดขึ้น

ที่มา: http://www.manager.co.th/cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000063865

]]>
1095589