กรมส่งเสริมการส่งออก เผยยุทธศาสตร์ผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและร้านอาหารไทย เตรียมจัด “Franchise Square : City of Thai Cuisine” นำผู้ประกอบการร่วมโชว์ศักยภาพในงาน THAIFEX – World of food ASIA 2011 ตั้งเป้าขยายการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และผลักดันไทยเป็นผู้นำความร่วมมือธุรกิจแฟรนไชส์ในอาเซียน
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า แฟรนไชส์อาหารและร้านอาหารไทยเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพและโอกาสในการขยายตัวไปยังตลาดต่างประเทศ อาทิ จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่นและตะวันออกกลาง รัฐบาลจึงมีนโยบายในการส่งเสริมแนวทางสร้างเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศ โดยเน้นให้ความรู้ด้านตลาดแก่ผู้ประกอบการ จัดทำข้อมูลการค้า พัฒนาด้านโลจิสติกส์ รวมถึงจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและประชาสัมพันธ์ธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยให้ได้มาตรฐานสากล โดยตั้งเป้าหมายการขยายตัวของภาคการส่งออกร้อยละ 5 ต่อปี และเสริมสร้างความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวเป็นผู้นำความร่วมมือธุรกิจระบบแฟรนไชส์ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป
“งานแสดงสินค้าอาหาร 2554 หรือ THAIFEX – World of food ASIA 2011 ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 29 พฤษภาคมนี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ถือเป็นโอกาสดีในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจบริการดังกล่าว กรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและร้านอาหารไทย ภายใต้แนวคิด Franchise Square : City of Thai Cuisine โดยนำผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงศักยภาพและความหลากหลายของสินค้าและบริการ อาทิ ภัตตาคารอาหารไทยเต็มรูปแบบ ร้านกาแฟ และอาหารไทยสำเร็จรูปที่มีผู้นำเข้าสนใจให้ผู้ส่งออกอาหารจัดทำเป็นร้านแฟรนไชส์อาหารไทยในต่างประเทศ” นางนันทวัลย์ กล่าว
แฟรนไชส์ร้านไก่ทอดชิกกี้ชิก ภายใต้การบริหารของบริษัท เอ็มดี 97 เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทฯทำการตลาดในเครือของบริษัท พนัสโพลทรี่ จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไก่ครบวงจร ล่าสุดกลับมาบุก “แฟรนไชส์ร้านไก่ทอดชิกกี้ชิก” รูปแบบใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปท์ “ไก่ทอดสไตล์ใหม่” ที่เน้นความหลากหลายและไลฟ์สไตล์สำหรับทุกคน และพร้อมเปิดตัวการลงทุนในรูปแบบแรกคือ คีออสรถเข็น ที่ออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการลงทุน ใช้พื้นที่และงบประมาณน้อย เหมาะกับคนที่กำลังมองหาอาชีพที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก
คุณธนินวัฒน์ พรพัฒน์เดชอุดม ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท เอ็มดี 79 เทรดดิ้ง จำกัด เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไก่ทอดชิกกี้ชิก กล่าวถึงธุรกิจนี้ว่า “ชิกกี้ชิก เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่อยู่ภายใต้บริษัทหลัก คือ บริษัท พนัสโพลทรี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่เปิดดำเนินการเมื่อ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 ดำเนินธุรกิจผลิต ผลิตภัณฑ์ไก่ครบวงจรที่ทันสมัยที่สุด มีฟาร์มไก่ระบบปิดทั้งหมด, โรงอาหารสัตว์, โรงเชือด และโรงแปรรูป รวมทั้งมี R&D Center เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง ส่งออกตลาดต่างประเทศและขายภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังได้รับมาตรฐาน ISO 9002, HACCP, GMP และเครื่องหมายฮาลาล รวมทั้งเราไม่มีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต (Growth Promoter) และเลี้ยงไก่ด้วยธัญพืช ซึ่งปลอดสารเคมี
และที่ผ่านมา “ชิกกี้ชิก” เป็นแบรนด์ทีเคยเติมโตมาก่อนแล้วเมื่อปี2549 มีการขยายตัวไปสู่ผู้บริโภคและเป็นที่รู้จักในแบรนด์ระดับหนึ่งแล้ว ในฐานะที่ตัวผม คว่ำหวอดด้านการบริหารการจัดการและกลยุทธ์ด้านการตลาดมามากกว่า 20 ปี ตั้งเป้าหมายว่าจะผลักดันให้แฟรนไชส์ ชิกกี้ชิก เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพื่อให้เข้าถึงทั้งผู้บริโภคและผู้สนใจลงทุน มีแบรนด์ของเราเข้าไปอยู่ในความจดจำมากที่สุด ซึ่งก็ต้องคิดถึง “ชิกกี้ชิก(CHICKY CHIC)”ผู้บริโภคที่ชอบทานไก่ทอด “คิดถึงไก่ทอด คิดถึงชิกกี้ชิก อร่อยคุ้มค่า” ผู้ลงทุนสร้างอาชีพ “ทำงานง่าย ลงทุนน้อย ไม่เสี่ยง ผลตอบแทนดี ต้องชิกกี้ชิก”
คุณธนินวัฒน์ กล่าวต่อว่า เพื่อความชัดเจนในการทำงาน และเพื่อให้สอดคล้องต่อเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ เราได้มีการปรับนโยบายการบริหารการจัดการ รวมถึงกลยุท์ทางด้านการตลาด ให้กับคู่ค้าใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้จากการปรับตัวภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ในไตรมาสแรกของ ปี 54 เราได้เน้นปรับปรุงและตกแต่งร้านเดิมที่มีอยู่กว่า 150 จุด ให้อยู่ในคอนเซ็ปท์ที่ชัดเจน ภายใต้แบรนด์ของ “ชิกกี้ชิก” และให้ความสำคัญต่อการผลิต,การพัฒนาผลิตภัณฑ์,การจัดส่งสินค้า ให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะได้การบริโภคสินค้าที่มี “คุณภาพ,การบริการ,ความสะอาด และอร่อยคุ้มค่า” และนี้คือจุดแข็งที่ “ชิกกี้ชิก”มีอย่างชัดเจน อีกทั้งดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดมากขึ้น เพื่อให้คู่ค้าที่เข้าร่วมดำเนินธุรกิจมีความมั่นใจในการทำธุรกิจ”ชิกกี้ชิก(CHICKY CHIC)
“ชิกกี้ชิก(CHICKY CHIC)” พร้อมขยายทั่วประเทศ ด้วยการ 1.บริษัทเปิดดำเนินการเอง 2.แฟรนไชส์รายย่อย 3.การเปิดนโยบายตัวแทนต่างจังหวัด เพื่อเป็นสร้างพันธมิตรทางการค้าในการขยายธุรกิจในระยะยาว “ชิกกี้ชิก”จะทำการคัดเลือกผู้ที่สนใจทำธุรกิจร่วมกับบริษัทอย่างจริงจังและระยะยาว โดยจะให้คู่ค้าทำการดูแลตลาดในแต่ละจังหวัดไป ขณะนี้ก็ได้มีการตกลงในจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว และกำลังคุยอยู่อีกหลายจังหวัด ดังนั้นเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุน
ผลิตภัณฑ์หลักที่จำหน่ายที่ร้านชิกกี้ชิกในปัจจุบัน มี 8 ชนิด คือ ป๊อป ป๊อป, สไปซี่ ป๊อป, ชิก อบูริ, ชิกนักเก็ต, ชิก คาราเกะ, ชิก โกกอน, ชิก คัสซุ, แฟรนช์ฟราย โดยเป็นสูตรที่ได้รับการพัฒนาออกมาให้เหมาะสมกับการรสชาติที่ถูกปากของคนไทย และจะมีการพัฒนาคัดสรรผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นต่อไป
สำหรับรูปแบบการลงทุนในธุรกิจ ชิกกี้ชิก ปัจจุบันมี 3 รูปแบบ คือ ร้านคีออสรถเข็น แบบฟู้ดคอร์ส และ แบบซุ้มไก่ทอด ในปี54 นี้จะเน้นการเปิดในรูปแบบคีออสรถเข็นเป็นหลัก เนื่องจากเป็นรูปแบบที่คาดว่าจะขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ภายในปีนี้คาดว่าจะเปิดเพิ่มได้อีก 100 สาขา ทั่วประเทศ
คีออสรถเข็น(Kiosk CHICKY CHIC) ใช้งบการลงทุนเบื้องต้นดังนี้ 1.ค่าดำเนินการ 5,000 บาทต่อจุดขาย(ค่าการตลาด) 2.ค่าอุปกรณ์ย่อย 4,111บาท(สามารถเลือกซื้อเองได้หลายรายการ) 3.ค่าเช่าตู้แช่แข็ง 500บาทต่อเดือน(ไม่เอาตู้แช่ไม่ต้องจ่าย) 4.เงินประกันอุปกรณ์ 25,000 บาท (คืนเมื่อเลิกและคืนอุปกรณ์โดยหักค่าซ้อมแซมให้ใช่งานได้ปรกติ) 5.ค่าวัตถุดิบแรกเริ่ม(ตามยอดสั่งประมาณ8,000บาท) เป็นต้น
ส่วนเงื่อนไขอื่นๆ คือ 1.ระยะเวลาของสัญญาปีต่อปี 2.ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ 3.ซื้อและจำหน่ายสินค้าจากบริษัทฯเท่านั้น 4.ชำระค่าสินค้าเป็นเงินสดหรือโอนล่วงหน้า เท่านั้น ส่วนการดำเนินงานต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ค่าแรงงาน, ค่าเช่า, ค่าสาธารณูปโภค, ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
เงื่อนไขการสั่งสินค้า 1.สั่งขั้นต่ำ 30 กิโลกรัม ส่ง ณ จุดขาย (กรุงเทพฯ และปริมณฑล ไม่คิดค่าขนส่ง) 2.ส่งสินค้าพร้อมเก็บเงินสดหน้าร้านหรือโอนเข้าธนาคารล่วงหน้า 2 วัน และ 3.มีรอบการสั่งสินค้าสัปดาห์ละ 2 วัน โดยมีกำไรขั้นต้นประมาณ 40%-50% จากยอดขาย (หักจากต้นทุนไก่)”
นอกจากนี้ คุณธนินวัฒน์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ผู้ลงทุน จะได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ อาทิ การให้ยืมทรัพย์สินอุปกรณ์ คีออส(KIOSK), เตาทอดไฟฟ้า, ตู้โชว์ผลิตภัณฑ์, บริการซ่อมแซมอุปกรณ์หลักข้างต้น (คิดค่าใช้จ่ายตามจริง และมีอุปกรณ์ให้ใช่ทดแทนหากต้องเข้าศูนย์),บริการส่งสินค้าถึงที่ร้าน จัดอบรมและให้คำปรึกษาก่อนการดำเนินงาน ณ สำนักงานบริษัทฯ และติดตามผลตลอดอายุสัญญา ผู้สนใจรับสิทธิ์ขยายแฟรนไชส์ “ร้านไก่ทอดชิกกี้ชิก” ติดต่อได้ที่ 02-721-8180 หรือคุณธนินวัฒน์ 081-339-6295
แฟรนไชส์ร้านซักรีดจากฝรั่งเศส บุกตลาดไทย นักลงทุนไทยกระเป๋าหนักรายใดสนใจ เตรียมเงินไว้ 30 ล้านบาท เพื่อซื้อสิทธิ์เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์
แฟรนไชส์ธุรกิจซัก รีด จากฝรั่งเศสในชื่อ 5aSec (แซ็งกะเซ็ค) เตรียมเปิดตลาดในไทยด้วยเริ่มต้นหามาสเตอร์แฟรนไชส์ในไทย เพื่อเป็นตัวแทนในการขยายแฟรนไชส์ และในเดือนเมษายน-พฤษภาคมปีนี้ บริษัทแม่จากฝรั่งเศสจะเข้ามาติดต่อกับผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สนใจจะเข้าร่วมกับบริษัท
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาแบรนด์ต่างประเทศ 5aSec ดีดิเย่ร์ ปิโลแน บอกว่า ในไทยบริษัทเล็งเห็นว่าตลาดบริการด้านซักแห้ง-ซักอบรีด มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก ด้วยบริการที่หลากหลาย มีคุณภาพและรวดเร็ว รวมทั้งราคาที่เป็นมาตรฐาน และบริการรับส่งสินค้านอกสถานที่ จึงมั่นใจว่าจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค นอกจากนี้ บุคคลากรในไทยยังมีศักยภาพและความสามารถในด้านการบริการและการจัดการที่ดีอีกด้วย
ผู้ประกอบการที่สนใจสมัครเป็นผู้บริหารสิทธิ์แฟรนไชส์ ต้องลงทุนขั้นต่ำประมาณ 21 ล้านบาท ถึง 33.6 ล้านบาท สำหรับการลงทุนใน 5 ร้านแรก ในจำนวนเงินลงทุนดังกล่าวข้างต้น แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนแรก 8.4 ล้านบาท เป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Entry Fee)
ส่วนที่สอง 12.6 ล้านบาท ถึง 25.2 ล้านบาท เป็นส่วนของค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ภายในร้าน การตกแต่งสำหรับห้าร้านแรก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน เงินก้อนดังกล่าวนี้ รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนที่จำเป็นแล้ว
ผู้ที่จะเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ จะต้องเปิดสาขาเบื้องต้น 5 สาขาภายในสองปีแรก เมื่อครบทั้งห้าร้านแล้ว ผู้ประกอบการดังกล่าวก็จะได้รับสิทธิ์ในการเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ในเมืองไทยแต่เพียงผู้เดียว สำหรับการขยายร้านต่อนั้นจะทำในลักษณะเป็นร้านของทางผู้บริหารสิทธิ์เอง หรือจะขายแฟรนไชส์ต่อให้กับผู้ประกอบการรายอื่นก็ได้
สำหรับแผนการตลาดระยะยาวนั้น ทาง 5aSec วางเป้าการขยายสาขาที่ประเทศไทยไว้ที่ประมาณ 100 สาขา ภายใน 10 ปีแรก โดยทาง 5aSec จะเป็นที่ปรึกษาและช่วยดูแลในการพัฒนาธุรกิจและการขยายแฟรนไชส์
5aSec ดำเนินธูรกิจมานาน 42 ปีมีสาขา 1,900 แห่ง ใน 27 ประเทศ อัตราการขยายสาขาที่โดยเฉลี่ย 1 สาขา ต่อทุกสามวัน ที่มาของชื่อ 5aSec มาจากภาษาฝรั่งเศส คำว่า a Sec แปลว่า ซักแห้ง ส่วนเลข 5 นั้นมาจากราคาของบริการในสมัยที่เปิดร้านใหม่ๆ ซึ่งในสมัยนั้นทางร้านได้จำแนกราคาออกเป็น 5 รายการ เพื่อให้ง่ายและชัดเจนสำหรับลูกค้า
นิตยสารโอกาสธุรกิจ แฟรนไชส์ ขอเชิญผู้สนใจการทำธุรกิจ เจ้าของกิจการ ผู้ที่มีธุรกิจค้าปลีก เจ้าของพื้นที่ร้านค้า ห้างสรรพสินค้าต่างๆ หรือผู้ที่กำลังจะเริ่มทำธกิจการ เข้าร่วมงานโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นงานแสดงบูท ธุรกิจกว่า 300 ประเภท เช่น แฟรนไชส์ , ไล่เซ่นส์ ,อุปกรณ์ สำหรับเปิดร้านกาแฟ,ร้านอาหาร,งานพิมพ์,สินค้าบริการสำหรับร้านค้าปลีก,สินค้าจากในประเทศ และจากต่างประเทศที่ต้องการตัวแทนจำหน่าย,สินค้าจำหน่ายส่ง เป็นต้น
งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2011 ที่กำลังจะถึงนี้ ที่ฮออล์ 3 อิมแพค เมืองทองธานี ผู้ที่ ลงทะเบียนเพื่อเข้าชมงานล่วงหน้า จำนวน 2,000 ท่านแรก จะได้รับ ฟรี ซีดีรายชื่อ และรายการสินค้า รวมทั้งข้อมูลแนะนำการทำธุรกิจ ณ.จุดลงทะเบียนก่อนเข้าชมงาน ผู้สนใจสามารถขอใบลงทะเบียนได้ที่ E-mail : [email protected]
หรือโทรสอบถามที่ 02-321-7701-4
การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น เปรียบเสมือนการขับเครื่องบิน มันเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะขับเครื่องบินเองได้โดยปราศจากการแนะนำ แต่ถ้าได้รับคำแนะนำแล้วละก้อ ระบบแฟรนไชส์ก็เหมือนเครื่องบินความเร็วสูง ที่พาคุณไปสู่การเติบโตทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
สมาคมแฟรนไชส์ เปิดอบรม “ระบบแฟรนไชส์ 10 ชั่วโมง” โดยการสนับสนุนของธนาคารกสิกรไทย และนิตยสารโอกาสธุรกิจแฟรนไชส์ ในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน และ วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2553 นี้ ที่ KSME Care Knowledge Center จามจุรีสแควร์ ชั้น 2
ระบบแฟรนไชส์สำคัญมากต่อการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ เพราะมีการถ่ายทอดโนว์ฮาว-ฮาวทู และสืบทอดทางธุรกิจโดยคนอื่น แต่การทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจมาแล้วมากมาย แต่ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์
สมาคมแฟรนไชส์ไทย ได้พัฒนาหลักสูตร การอบรมระบบแฟรนไชส์ 10 ชั่วโมง เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจเรื่องแฟรนไชส์ ผู้ที่ต้องการเตรียมตัวสร้างระบบแฟรนไชส์ในอนาคต รวมทั้งผู้ที่ทำระบบแฟรนไชส์อยู่ต้องการความรู้เพิ่มเติม สามารถเข้าร่วมเข้าอบรมนี้ได้ โดยมีหัวข้อดังนี้
ข้อดี-ข้อเสีย การทำระบบแฟรนไชส์
เมื่อธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้ระดับหนึ่ง ควรขยายด้วยระบบแฟรนไชส์ดีหรือไม่ ข้อแตกต่างของการทำแฟรนไชส์ กับการทำธุรกิจในรูปแบบแบบอื่น ต่างกันอย่างไร
การทำแฟรนไชส์ไม่ได้เหมาะกับทุกธุรกิจ ข้อดีที่สุดของการทำแฟรนไชส์ก็คือ เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีทุนน้อยสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการขยายสาขาด้วยเงินลงทุนของผู้อื่น แต่ใช้ความชำนาญทางธุรกิจของบริษัทแม่ แต่ข้อเสียของการทำแฟรนไชส์ก็คือ จะต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมธุรกิจไปตลอดกาล ต่างจากระบบตัวแทน ที่ไม่ยุ่งยากในการขยายธุรกิจ แต่ตัวแทนก็มักจะมีอิสระในการขายสินค้าได้หลายยี่ห้อ ดังนั้นโอกาสที่สินค้าและบริการรายใหม่ หรือรายเล็กอาจจะหายไปจากท้องตลาด เพราะคู่แข่งขันเสนอผลตอบแทนให้ตัวแทนสูงกว่า หรือตัวแทนชอบขายเฉพาะสินค้าโฆษณามากกว่า ไม่แนะนำสินค้าใหม่ คุณก็หมดโอกาสที่จะเกิดเติบโตได้ในตลาด
ทุกระบบธุรกิจ มีข้อดี-ข้อดี ทั้งสิ้น แต่ละระบบแตกต่างกัน จำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องทำระบบแฟรนไชส์ การเรียนรู้เรื่องนี้ จะช่วยให้สามารถตัดสินใจ เลือกรูปแบบขยายกิจการที่เหมาะสมกว่า
การศึกษาความเป็นไปได้ ในทำแฟรนไชส์
ไม่ใช่ทุกธุรกิจเหมาะสมที่จะทำแฟรนไชส์ ระบบแฟรนไชส์ก็เหมือนกับการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ โดยประเมินปัจจัยต่างๆกว่า 20 ข้อ เพื่อทำให้แน่ใจว่า โอกาสของการทำแฟรนไชส์ จะปะสบความสำเร็จได้ในอนาคต เช่น เรื่อง อายุของธุรกิจ ถ้าธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์เพิ่งเกิดเพียง 1 ปี จะขาดความเป็นไปได้ในการทำระบบแฟรนไชส์ เพราะไม่มีความชำนาญในธุรกิจเพียงพอ ที่จะสอนผู้อื่นได้ ไม่สามารถแนะนำการแก้ปัญหาธุรกิจให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ ทำให้โอกาสล้มเหลวมีสูงมาก แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณอยู่ในวงการธุรกิจนั้นๆนานพอ อย่างน้อยมากกว่า 5 ปี จนเชี่ยวชาญ ผ่านปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย และรู้วิธีการแก้ไข แน่นอนการขายแฟรนไชส์ธุรกิจของคุณ ย่อมต้องมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า
เท่านั้นยังไม่พอเรื่อง ธุรกิจของคุณ มีกำไรหรือไม่ เป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาความเป็นไปได้ ใครก็ตาม ที่มีกิจการที่ขาดทุนอยู่ ไม่สามารถทำระบบแฟรนไชส์ได้ เพราะการขายแฟรนไชส์ ไม่ใช่การขายสินค้า การขายแฟรนไชส์ เป็นการขายระบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นหากธุรกิจของคุณยังไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าขายแฟรนไชส์ออกไป เท่ากับขายความล้มเหลวไปด้วย ธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์ จะต้องเป็นกิจการที่มีผลกำไรแล้ว
นอกจากนี้แล้ว ควรจะมี จำนวนสาขาที่มากกว่า 1 แห่ง นั่นเป็นเพราะ หากคุณขยายแฟรนไชส์ คุณต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการร้านสาขา และต้องมั่นใจว่า สินค้าและบริการของคุณมีความต้องการในเขตอื่นๆด้วย ไม่ใช่เฉพาะถิ่นของตัวเอง หากคุณมีสาขาอยู่แล้วมากเท่าไหร่ นั่นหมายความว่าคุณรู้เรื่องตลาดมากยิ่งขึ้น โอกาสสร้างความสำเร็จในระบบแฟรนไชส์ ก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน
การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำแฟรนไชส์ มีข้อที่ใช้ในการประเมินกว่า 20 ข้อ หากธุรกิจใดสอบผ่านทั้งหมด แน่ใจได้เลยว่า ลงมือทำระบบแฟรนไชส์ได้ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง แต่ถ้ายังไม่ผ่าน คุณก็ควรสร้างความพร้อมเสียก่อน แฟรนไชส์ที่ไปไม่รอดส่วนใหญ่ มักขาดคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ต้องหยุดขยาย และหันมาปรับปรุงกันใหม่ จะดีกว่าไหม ถ้าเราได้รับรู้กันก่อนว่า การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำระบบแฟรนไชส์ ต้องพิจารณาได้เรื่องอะไรบ้าง และควรมีคุณสมบัติอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ
ร้านต้นแบบ
มีเจ้าของโรงงานหลายคน มีประสบการณ์ในธุรกิจสูง และมั่นใจในความสามารถในการบริหารของตัวเอง และเห็นช่องทางที่จะขยายตลาดสินค้าช่องทางใหม่ ด้วยการคิดว่าจะขายแฟรนไชส์ร้านค้าปลีกเพื่อขายสินค้าจากโรงงานของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะล้มเหลว นั่นเป็นเพราะไม่มีร้านต้นแบบ
ร้านต้นแบบ คือตัวอย่างของรูปแบบที่จะขายแฟรนไชส์ ถ้าคุณจะขายแฟรนไชส์รูปแบบไหน คุณควรมีร้านต้นแบบ แบบนั้นแล้ว เช่น บางคนมีร้านอาหารที่ลงทุนระดับ 10 ล้าน แต่จะขายแฟรนไชส์ร้านอาหารในชื่อเดียวกัน ระดับ 3 ล้าน ก็ต้องมีร้านต้นแบบของตัวเองที่ลงทุนระดับ 3 ล้านบาท เพื่อศึกษาดูว่ารูปที่ต้องการจะขายแฟรนไชส์นั้น ต้องมีพนักงานกี่คน มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ต้องมีคนเข้าร้านกี่คน และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือตัวเลขบรรทัดสุดท้าย ในรูปแบบร้านที่จะขายแฟรนไชส์ จะทำกำไรได้ตามเป้าหมายได้จริงหรือไม่
ร้านต้นแบบ จะทำให้แน่ใจได้ว่า เมื่อคุณขายแฟรนไชส์แล้ว จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ที่เป็นเครือข่ายของธุรกิจคุณ ดำเนินธุรกิจได้ และมีผลกำไรได้ตามที่คาดหวัง
การจัดทำคู่มือ
คู่มือ คือ คัมภีร์ ในการทำงาน หากคุณต้องการเติบโตด้วยระบบแฟรนไชส์ การจัดทำคู่มือเป็นหัวใจสำคัญ ที่ช่วยควบคุมร้านสาขาให้ปฎิบัติงานได้มาตรฐานเดียวกันทุกสาขา ซึ่งคู่มือที่จัดทำขึ้นจะมาจากรูปแบบที่พิสูจน์ความสำเร็จมาแล้ว นอกจากนี้ต้องสร้างกระบวนการอบรม และบททดสอบ เพื่อทำให้มั่นใจว่า ร้านแฟรนไชซี่ที่คุณขายออกไปนั้น สามารถปฎิบัติงานได้ ตามมาตรฐานเทียบเท่าร้านเดิมที่เป็นที่ยอมรับของลูกค้า
การอบรบระบบแฟรนไชส์ ที่สมาคมแฟรนไชส์จัดขึ้นครั้งนี้ จะมีการอบรมครอบคลุม หัวข้อที่จำเป็นต้องรู้ สำหรับผู้ต้องการสร้างระบบแฟรนไชส์ในอนาคต นอกจากหัวข้อที่กล่าวถึงในข้างต้นแล้ว ยังมีเรื่องขั้นตอนการทำระบบแฟรนไชส์,เรื่องกฎหมายและสัญญาที่เกี่ยวข้อง,การสร้างแบรนด์,การสร้างระบบมาตรฐาน,กรณีศึกษาความสำเร็จและความล้มเหลวของแฟรนไชส์
โดยมีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เฉพาะด้านโดยตรงมาให้ความรู้ อาทิ วิทยากรจาก 7-อีเลฟเว่น,จากสมาคมแฟรนไชส์ไทย,จากผู้เชี่ยวชาญการบริหารแฟรนไชส์ร้านอาหาร,จากบริษัท ที่ปรึกษากฎหมายชั้นนำเบเคอร์ แอนด์ แมคแคนซี่,จากธนาคารกสิกรไทย และผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์สร้างการเติบโตมาจากระบบแฟรนไชส์โดยตรง
คุณชญานิธิ แบรดี้ เจ้าของแฟรนไชส์ ควอลิตี้คิดส์ กล่าวถึงประสบการณ์ในการสร้างธุรกิจขึ้นมาจากโรงเรียนพัฒนาทักษะสมองของเด็กเแห่งแรก จนมาถึงการมีแฟรนไชส์กว่า 20 สาขา ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาว่า “การที่ได้เข้ามาอบรมเรื่องแฟรนไชส์ในโปรแกรมนี้ นับว่าเป็นโอกาสทองของชีวิต ที่ทำให้ได้ประสบการณ์ทั้งด้านวิชาการ และด้านพันธมิตร ได้รู้จักกับคณาจารย์ที่ทรงความรู้ทั้งระดับในประเทศ และต่างประเทศ เนื้อหาที่อบรมก็ครอบคลุม นำมาประยุกต์เข้ากับกิจการได้อย่างแท้จริง”
สมาคมแฟรนไชส์ไทย มีวัตถุประสงค์ ต้องการเชิญชวน ผู้ที่สนใจเรื่องแฟรนไชส์ ได้มาเรียนรู้ เรื่องการสร้างการเติบโตทางธุรกิจด้วยแฟรนไชส์ จากโปรแกรม “อบรมระบบแฟรนไชส์ 10 ชั่วโมง” เพื่อกระจายความรู้ในวงกว้าง ที่จะส่งผลให้ระบบแฟรนไชส์ในประเทศเติบโต และส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ และพัฒนาผู้ประกอบการ ผู้ที่เข้าอบรม จะได้รับเอกสารการทำระบบแฟรนไชส์ และสมัครสอบ เพื่อรับใบรับรองความรู้จากสมาคมแฟรนไชส์ไทย
ผู้สนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-321-7701-4 หรือดูรายละเอียด และโหลดใบสมัคร ได้ที่ www.franchisefocus.co.th
ศูนย์การเรียนรู้อาชีพและธุรกิจ เป็นโครงการร่วมระหว่างนิตยสารโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ร่วมกับ ไอเพลสไลฟ์สเคปเซ็นเตอร์ ลาดกระบัง
โดยการสนับสนุนของสมาคมแฟรนไชส์ไทย ได้จัดอบรม อาชีพและธุรกิจ ระยะสั้น 1 วัน ซึ่งผู้เรียนจะได้รับฟรี ซีดีสาธิตภาพเคลื่อนไหว 30 อาชีพ (เช่นการทำกาแฟ, ปาท่องโก๋, งานพิมพ์ ,ค็อกเทลฯลฯ )
ในวันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553 เวลา 10.00-15.00 น. ณ ไอเพลสไลฟ์สเคปเซ็นเตอร์ ลาดกระบัง หัวข้อ “การเปิดร้านกาแฟ” เป็นการให้ความรู้เรื่องของ การรู้จักเมล็ดพันธุ์กาแฟ การเลือกใช้เครื่องให้เหมาะสม และการบริหารจัดการร้าน และการเรียนสูตรการทำกาแฟที่ขายในร้าน อันได้แก่ เอสเพลสโซ่ คาปูชิโน่ ลาเต้ สูตร ร้อน เย็น ปั่น ติดต่อที่ นิตยสารโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ 02 321 7701-4
หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.franchisefocus.co.th
หรือติดต่อผ่าน E-mail:[email protected]
จากความสำเร็จในการจัดงานมหกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งมีประชาชนผู้สนใจอยากมีอาชีพหลัก อาชีพเสริมเข้าร่วมงานอย่างล้นหลามกว่าวันละ 20,000 – 35,000 คน เกิดการลงทุนในธุรกิจ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชนในชุมชนที่จัดงาน สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่ต้องการการสนับสนุนให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่และมีอาชีพที่สามารถสร้างความกินดีอยู่ดี
ดังนั้นในปีนี้ บริษัท เกรท ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์ จำกัด จึงได้มีแนวคิดในการจัดงานแฟรนไชส์ในรูปแบบการโรดโชว์ไปยังห้างสรรพสินค้าในชุมชนใหญ่ๆ โดยเลือกจัดงาน มหกรรมแฟรนไชส์ครั้งที่ 3 ขึ้นที่ ชั้น G ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์บางแค ระหว่างวันที่ 18-24 มีนาคม 2553 ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้ามาใช้บริการในช่วงวันหยุดเฉลี่ยกว่าวันละ 90,000 -120,000 คน โดยจากการสำรวจผู้ที่เข้ามาใช้บริการพบว่า เป็นกลุ่มคนวัยทำงานที่มีกำลังซื้อระดับ B ขึ้นไป และเมื่อวิเคราะห์โอกาสการลงทุนในทำเลที่ตั้งของสถานที่จัดงานแห่งนี้พบว่า เป็นสุดยอดทำเลทองของผู้ประกอบการแฟรนไชส์และธุรกิจที่ร่วมออกบูธ
การจัดงานมหกรรมแฟนไชส์ สร้างอาชีพครั้งที่ 3 เกิดขึ้นภายใต้แนวความคิดที่อยากสร้างงาน เปิดโอกาสให้ผู้ต้องการลงทุนทำธุรกิจมีทางเลือกที่หลากหลาย สามารถเลือกอาชีพที่เหมาะกับตัวเอง เพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว ดึงเงินเก็บในกระเป๋าของนักลงทุนออกมาหมุนเวียนในระบบ กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนที่ยังไม่มั่นใจกับเสถียรภาพของประเทศในปัจจุบันให้ออกลงทุนผ่านระบบแฟรนไชส์ ธุรกิจของตัวเองที่จะมีพี่เลี้ยงมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา และความช่วยเหลือในทุกๆ เรื่อง
นายวีระเดช ชูแสงกิจ กรรมการผู้จัดการบริษัท เกรท ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์ จำกัด กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “มหกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพเกิดขึ้นจากแนวคิด การสร้างบรรยากาศของการลงทุน การซื้อขายให้เกิดขึ้นในทุกๆ พื้นที่ กระจายไปทั่วถึงในชุมชน อยากให้ทุกคนที่มาในงานมีช่องทางใหม่ๆ เอาใจคนทำงานที่อยากมีรายได้เสริม โดยไม่กระทบต่องานประจำ รวมถึงผู้ประกอบการที่มาออกบูธเองก็ต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต
งานมหกรรมแฟรนไชส์ ครั้งที่ 3 จึงตอบโจทย์ที่ตรงจุดสำหรับกลุ่มนี้โดยตรง ถ้าคนที่มาร่วมงานสามารถหาอาชีพที่เหมาะกับตัวเองมาสร้างรายได้ และผู้ประกอบการสามารถขายแฟรนไชส์ขยายธุรกิจได้ ถือเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคโดยตรง และเมื่อทุกคนมีงานก็จะเกิดการสร้างรายได้ เมื่อเกิดรายได้ต่อหัวที่มากขึ้น เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็จะดีขึ้น
ด้วยแนวคิดที่อยากให้คนที่มาร่วมงานเกิดไอเดียในการสร้างอาชีพ เพราะบางคนอาจจะพร้อมในเรื่องเงินแต่ไม่รู้จะลงทุนทำอะไร กิจกรรมในครั้งนี้จึงเป็นอีกช่องทางที่ได้รับความสนใจจากผู้ที่อยากเป็นเถ้าแก่ เพราะการลงทุนในระบบแฟรนไชส์เป็นธุรกิจกึ่งสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นการบริหารการตลาด การบริหารจัดการระบบร้าน การประชาสัมพันธ์ โดยจากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่ในวงการแฟรนไชส์มานาน การร่วมออกบูธกับหน่วยงานต่างๆ ทำให้บริษัทฯ เข้าใจ และทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ประกอบการ จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม
การที่บริษัทเลือกจัดงานในห้างสรรพสินค้า เนื่องจากการจัดงานตามฮอลล์ใหญ่ผู้ที่เข้าร่วมงานส่วนมากจะเป็นธุรกิจรายใหญ่ เกิดเป็นช่องว่างสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กๆ ที่เข้าร่วมงาน เพราะกลุ่มนักธุรกิจที่มาส่วนมากแค่มาดูงาน อัพเดทข้อมูลข่าวสาร และหาแนวคิดใหม่ๆ แต่ไม่ได้เกิดการลงทุน แต่หากงานที่จัดขึ้นสามารถเข้าหาประชาชนที่ต้องการหาอะไรทำเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมก็ถือว่างานนี้ที่เสมือนเป็นสื่อกลาง ให้ทั้งผู้ประกอบการแฟรนไชส์ได้พบกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และทำให้เกิดการสร้างงานที่แท้จริง
“ไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ ชอบเดินห้างทานข้าว ดูหนัง ช้อปปิ้ง ในวันเสาร์-อาทิตย์ เราจึงยกงานมาไว้ในห้าง เพื่อง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ โดยมองว่าน่าจะดึงความสนใจจากกลุ่มผู้ลงทุนใหม่ หรือกลุ่ม Blue Ocean ได้ ด้วยจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเราพบว่ายังมีกลุ่มคนที่มีความสนใจ และมีความพร้อมที่จะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์อยู่มาก แต่ยังไม่มีช่องทางการจัดงานที่น่าสนใจ เช่น ผู้ชมรายการสมาร์ทแฟรนไชส์&เอสเอ็มอี (ออกอากาศทางช่องเนชั่น ชาแนล) ก็จะโทรเข้ามาสอบถามเรื่องการลงทุนแฟรนไชส์ต่างๆ ที่ออกอากาศกันอย่างมากมาย โดยคนกลุ่มนี้บางคนไม่เคยอ่านนิตยสารแนวแฟรนไชส์ และไม่เคยติดตามข่าวสารด้านนี้มาก่อน แต่เมื่อเห็นรายการที่ออกอากาศก็สนใจอยากลงทุน ซึ่งเชื่อว่าจากการประชาสัมพันธ์ และด้วยศักยภาพของเดอะมอลล์บางแค ที่ถือเป็นแหล่งช้อปปิ้งแห่งใหญ่ในย่านนั้นจะสามารถดึงลูกค้าให้มาชมงานและเกิดการลงทุนได้อย่างแน่นอน”
ผู้ชมงานอีกกลุ่มคือ ลูกค้าที่ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงแฟรนไชส์อยู่แล้ว ซึ่งเราคิดว่าการจัดงานในห้างโดยเฉพาะบริเวณชั้น G ซึ่งเป็นจุดไฮไลท์จะสามารถดึงดูดผู้คนที่ผ่านไปมาให้แวะเข้าชมงานได้ นอกจากนี้ลูกค้าที่มายังสามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นต่อได้ ง่ายต่อการแวะเข้าชม ที่สำคัญเราอยากให้ผู้เข้าร่วมชมงานเดินทางสะดวก มีที่จอดรถ มีห้องน้ำ บริการ มั่นใจว่าการจัดงานครั้งนี้จะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าอย่างแน่นอน
ด้านแผนประชาสัมพันธ์ นายวีระเดช กล่าวว่า “แม้ว่างานของเราจะได้เปรียบงานแสดงแฟรนไชส์อื่นๆ ในเรื่องของทำเลการจัดงาน แต่เรื่องของการประชาสัมพันธ์งานเราก็ให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าสิ่งอื่น โดยวางแผนกระจายข่าวการจัดงานผ่านสื่อต่างๆ อย่างมากมาย อาทิ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ นิตยสารตั้งตัว นิตยสารสุขภาพดี หนังสือพิมพ์ต่างๆนอกจากนี้สื่ออย่างเว็บไซต์เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ยังไม่รวมสื่อณ สถานที่จัดงานที่เตรียมความพร้อมไว้อย่างเต็มที่ ทั้ง โปสเตอร์ ใบปลิว รถแห่ ณ เดอะมอลล์สาขาที่จัดงาน ฯลฯ
ผู้สนใจสามารถเข้าชมงานได้ฟรี อบรมอาชีพฟรี ตั้งแต่วันที่ 18-24 มีนาคม 2553 ณ ชั้น G เดอะมอลล์บางแค ตกงาน ว่างงาน อยากเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว อยากมีรายได้เสริม ผู้ประกอบการ เจ้าของสินค้า สนใจออกบูธในงานมหกรรมแฟรนไชส์ ครั้งที่3 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 184 8651-3, www.tangtuamag.com
กิจกรรมไฮไลท์ในงานมหกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ครั้งที่ 3
ฟรี! แจกแฟรนไชส์รถเข็นกาแฟโบราณ นมตรามะลิ และลูกชิ้นหมูปิ้งนายฮุยทุกวัน วันละ 2 แฟรนไชส์
ฟรี! เวิร์คช้อปอบรมอาชีพต่างๆ จากผู้ประกอบการตัวจริง
ฟรี! เสวนาธุรกิจทำงานแห่งปี อาทิ ลงทุนธุรกิจหยอดเหรียญอย่างไรให้ทำเงิน, เลือกแฟรนไชส์อย่างไรไม่ให้โดนหลอก, ธุรกิจกาแฟสดยังเวิร์คขนาดไหน, แฟรนไชส์อาหารหลักหมื่นทำเงินแสนได้อย่างไร, เริ่มธุรกิจเครื่องสำอางให้ไปได้สวย ฯลฯ
ฟรี! ฟังทอล์กโชว์จากคนดัง อาทิ อ.ลักษณ์ โหรฟันธงชื่อดัง
ฟรี! นิตยสารตั้งตัว 1 ฉบับ (ฉบับย้อนหลัง) และของที่ระลึกจากอ.ลักษณ์ ฟันธง เมื่อลงทะเบียนที่บูธนิตยสารตั้งตัว
เปิดตัวแฟรนไชส์ – ธุรกิจในดวงใจดารา ศิลปินชื่อดัง อาทิ พิงกี้ สาวิกา ไชยเดช, แพท นปภา ตันเจริญ ฯ เป็นต้น
ช้อปแฟรนไชส์ และธุรกิจพร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษตลอดงาน
นางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด เปิดเผยว่า ทางบริษัทฯ เตรียมจัดงานรวม โอกาสธุรกิจและธุรกิจแฟรนไชส์ ครั้งที่ 14 ในปี 2553 ระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ ที่ฮอลล์ 5 อิมแพคเมืองทองธานี โดยในปีนี้ ได้รับการตอบรับจากกลุ่มแฟรนไชส์แบรนด์เนม ตัดสินใจมาร่วมงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ ธุรกิจคาร์แคร์โมลิแคร์ ,ร้านโชคดีติ่มซำ,สถาบันความงามคริสตี้ฟรองซ์,บ้านใร่กาแฟ,บอดี้เชพคาเฟ,โรงงานแยกขยะเพื่อรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์,สถาบันสอนภาษาจีนมาเอ็ด ,ร้านผลิตภัณฑ์ความงามอีฟโรเช่ ,ร้านไอศกรีมเรดแมงโก้ ,ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าจะมีธุรกิจแฟรนไชส์และโอกาสธุรกิจทั้งรายใหม่และรายเดิม เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 500 กิจการ
และจากความสำเร็จของการจัดงานเป็นอย่างสูง ในการจัดงานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ครั้งที่ผ่านมา ณ.ศูนย์การแสดงสินค้าอิมแพคเมืองทองธานี ที่มีผู้เข้าชมงานนับหมื่นคน โดยผู้แสดงบูทกว่า 80% พึงพอใจในการจัดงานครั้งนี้มาก ซึ่งในการจัดงานโอกาสธุรกิจและแฟรนไชส์แต่ละครั้ง จะได้รับผลตอบรับจากการจัดงาน ที่สามารถสร้างผู้ประกอบการใหม่ได้ไม่ต่ำกว่า 500 ราย ภายหลังจากการจัดงานเสร็จสิ้นไปแล้ว 6 เดือน รวมไปถึงประชาชนที่มาร่วมงานจะได้รับความรู้ และข้อมูลเกี่ยวกับข้อแนะนำการทำธุรกิจต่างๆกว่า 100,000 คน โดยในการจัดงานครั้งที่ 14 นี้ ก็ตั้งเป้าหมายการจัดงานในตัวเลขนี้เช่นเดียวกัน”
สำหรับการจัดงานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ครั้งที่ 14 นี้ จะถือว่าเป็นงานศูนย์กลางการซื้อขายธุรกิจที่ยิ่งใหญ่แห่งปี ที่รวบรวมการแสดงสินค้าแฟรนไชส์ และ บริการร้านค้าทุกประเภทให้กับผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ หรือต้องการที่จะเริ่มทำธุรกิจส่วนตัว โดยการจัดงานในปีนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากผู้สนใจทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ โดยผู้จัดงานได้จัดเตรียมธุรกิจให้ผู้สนใจได้เลือกลงทุนหลากหลายประเภท หรือมากกว่า 500 คูหา อาทิ ธุรกิจอาหาร,ธุรกิจความงาม,ธุรกิจการศึกษา,ธุรกิจบริการ,ธุรกิจไอที,ธุรกิจค้าปลีก,ซอพท์แวร์เพื่อบริหารร้านสาขา,สินค้าหรือบริการเพิ่มรายได้,ธุรกิจหยอดเหรียญ ,บริษัทที่ปรึกษา หรือบริการออกแบบและการตกแต่งร้าน เป็นต้น โดยมีจุดประสงค์หลักในการจัดงานคือ การซื้อขายธุรกิจแฟรนไชส์ที่ยิ่งใหญ่และมากที่สุด,เป็นการสร้างกิจกรรมร่วมกันระหว่างงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งในปีนี้นับว่าเป็นปีที่สองที่ได้รับการสนับสนุนอีกครั้งจาก สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์กรมหาชน) สสปน. สนับสนุน และ ได้ทำการประชาสัมพันธ์งานผ่านสื่อต่างประเทศให้กับงานทั้งช่วงก่อนงานและระหว่างงาน นอกจากนี้การจัดงานแต่ละครั้งจะถือได้ว่าเป็นงานที่จะมีการนำเสนอสินค้า-บริการใหม่ สำหรับการเริ่มต้นหรือทำธุรกิจในประเภทต่างๆ อีกด้วย อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมธุรกิจเสริมรายได้ให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการหารายได้เสริม หรือผู้ประกอบการบางรายที่ต้องการอัพเกรดเพื่อปรับปรุงธุรกิจให้มีความทันสมัยและบริการที่รวดเร็ว”
บริษัท แฟรนไชส์ โฟกัส แจกฟรีไดเร็กทอรี่ “โอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์” ที่รวบรวมรายชื่อแฟรนไชส์ทั้งหมดในประเทศไทย และโอกาสในการทำธุรกิจต่างๆ กว่า 1,000 รายชื่อ สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ,ศูนย์การค้า,ผู้ค้าส่ง,ผู้ค้าปลีก,สมาคมกาค้า,ธนาคาร,เจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์,และผู้ที่ต้องการเริ่มทำธุรกิจใหม่
ผู้ที่สนใจ สามารถสมัครขอรับ“ไดเร็กทอรี่โอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์” ได้ฟรี!! พร้อมส่งซองขนาดใหญ่ติดแสตมป์ 20 บาท แนบที่อยู่ของตนท่านมายัง บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส จำกัด เลขที่ 19 ซอย 70/1 แยก 2 ประเวศ กรุงเทพ 10250 และสอบถามข้อมูลได้ที่ 02 3217701-4 หรือ www.fcfocus.co.th
น.ส. สมจิตร ลิขิตสถาพร พบปะผู้ประกอบการ 108 Shop คุณสุรจิต ซิงห์ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องแฟรนไชส์ระหว่างกัน พร้อมกับประชาสัมพันธ์งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี โดยการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 02-321-7701-4, www.franchisefocus.co.th